ผมอยากรวบรวมวรยุทธ์ของทุกสำนักมาไว้ที่นี่
คัมภีร์วรยุทธ์ครับ
|
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#1 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:04:39 ] |
|
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#2 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:07:48 ] |
|
"อย่ากระทำเมื่อ หิวจัด โกรธจัด เครียดจัด เศร้าจัด เซ็งจัด" "ตำรายืดหดเส้นเอ็น" นี้ ท่านต้กม้อโจวซือ (พระโพธิธรรมมหาเถระ) เป็นผู้นำมาจากชมพูทวีป ท่านตักม้อเป็นชาวอินเดีย ได้เขียนตำรายืดหดเส้นเอ็นและตำราล้างพิษไขกระดูก ไว้ที่วัดเส้าหลิน ในสมัยพระเจ้าถังไท้จงฮ่องเต้ เมื่อได้แปลตำราทั้งสอง ซึ่งเป็นภาษาบาลี มาเป็นภาษาจีนแล้ว ชาววัดเส้าหลินก็ฝึกเป็นการใหญ่ แต่เป็นตำราที่ฝึกยาก ต้องตั้งใจจริงๆ จึงจะประสบความสำเร็จได้ คำพูดของท่านตักม้อโจวซือพูดกับศิษย์ของท่านที่ฝึกว่า "คนนี้ได้แค่ผิวของเรา คนนี้ได้แค่เนื้อของเรา คนนี้ได้แค่กระดูกของเรา" และท่านอาจารย์พูดกับศิษย์ที่ชื่อฮุ่ยค้อของท่านว่า "เจ้าได้ไขกระดูกของเราไป" ความหมายที่ว่าเรียนยากก็เป็นเช่นนี้เอง ตำราว่าด้วยการยืดหดเส้นเอ็นนี้ มีด้วยกัน 2 กระบวนท่า คือ กระบวนท่ายืน กระบวนท่านั่ง ต่างมีทั้งหมด 12 กระบวนท่า เช่นกัน ตำรานี้ใช้สติเป็นที่ตั้ง อิริยาบถช้าๆ นุ่มนวล เป็นหัวใจของการบริหารลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆลึก และแผ่วเบา เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพอย่างสมดุล ทางเดินของพลัง การเคลื่อไหวปลายนิ้วมือและเท้า จะเกิดพลังชีวิตเป็นกระแสตรงไปสู่อวัยวะภายในอย่างเป็นระบบ มนุษย์จะสามารถใช้จิตที่ฝึกเป็นสมาธิดีแล้ว กระตุ้นพลังชีวิตนี้ นำเลือดไปหล่อเลี้ยงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังที่แพทย์จีนโบราณเรียกว่า "ชี่กง" การบริหารร่างกายจึงจำเป็นต้องฝึกจิตไปด้วย เพื่อนำมารักษาโรคบางโรคให้หายได้อย่างง่ายดาย เพราะพลังปลายนิ้วทั้งหมดกระตุ้นให้เลือดและลมปราณเดินสะดวก ท่าเหล่านี้ จึงเหมือนการคุ้มครองอวัยวะทั้งหมด ให้ชะลอการเสื่อมโทรมได้ตามความสามารถของผู้ฝึกแต่ละคน ที่หมั่นเพียรฝึกฝนไม่ย่อท้อ การบริหารท่านั่ง และท่ายืน ท่ายืน เน้นหนักการบริหารจากภายนอก รักษาอวัยวะภายในให้แข็งแรง ท่านั่ง เน้นหนักการใช้ลมปราณเดินให้ได้ครบวงจร ก็จะรักษาอวัยวะภายในให้แข็งแรงได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น วิธีการฝึกจึงต้องให้ตัวตั้งตรงเสอม ยิ่งไม่ไหวติงได้เท่าใดก็จะได้ผลมากเท่านั้น ส่วนอิริยาบถต้องช้าเหมือนการฝึกในกระบวนท่าที่หนึ่ง ลมหายใจก็เช่นกัน ต้องอย่าลืมว่าถ้าหายใจแรงๆเร็วๆ จะทำให้ลมปราณติดขัด บางครั้งหายใจไม่ออกทันที จะเกิดอาการเจ็บปวดมาก ควรปิดปากสนิท ขณะฝึก ฟันล่างและฟันบนชิดกัน ปลายลิ้นดุนฟันไว้เบาๆ จิตต้องเพ่งเข้าภายในสะดือ (ตันเถียนกลาง) ตลอดเวลา ยามเดินลมปราณในท่าต่างๆ การฝึกจิตของจีนโบราณ ท่านกำหนดศูนย์พลังแห่งชีวิต หรือลมปราณแล่นเข้าออกอยู่ 3 จุด โดยใช้ชื่อว่า - ตันเถียนบน อยู่หว่างกลางหัวคิ้วทั้งสองที่หน้าผาก - ตันเถียนกลาง อยู่ภายในสะดือลึกเข้าไป 2 นิ้ว - ตันเถียนล่าง อยู่ระหว่างทวารหนักและทวารเบา เป็นจุดสำคัญที่ของร่างกาย การฝึกที่ประสบความสำเร็จแล้ว สามจุดนี้จะมีพลังชีวิตมหาศาล เดินถึงกัน และทรงพลังตลอดชีวิต เมื่อฝึกครบวงจรแล้วก็ต้องกลับที่เดิมคือ จุดตันเถียนกลาง สติจะช่วยให้ผู้ฝึกไม่วอกแวก เกิดความสงบทางใจ ท่าเตรียมพร้อม - ยืนตรง หันหน้าทิศตะวันออก - แยกขาออก ให้ระยะเท่ากับความกว้างของไหล่ - ปลายเท้าและส้นเท้า ตรง อย่าเอียงเข้าหากัน - ทำจิตให้นิ่ง ไม่คิดอะไรให้วอกแวก ขุ่นมัว เลื่อนลอย - หน้าตรง คางเชิดนิดๆ - ฟัน ล่างและบนประชิดกันเบาๆ - ลิ้น กระดกไว้ที่เพดานปาก - นัยตา มองตรงนิ่ง ไม่กระพริบบ่อยนัก - อิริยาบถ ต้องช้าๆ จึงจะฝึกได้ผลดี - ริมฝีปาก ปิดสนิทยิ้มหน่อยๆ ใจจะเบิกบานเอง หายใจลึกๆ ช้าๆ ให้ถึงท้อง เมื่อจบแต่ละท่าหายใจลึกๆ อีก 3 ครั้ง จะไม่เหนื่อยเร็ว เมื่อจบท่าหนึ่ง จะเริ่มท่าต่อไป ต้องเริ่มตั้งท่าเตรียมพร้อมนี้ทุกครั้งก่อนเสมอ จนครบ 12 ท่า ฝึกท่าละ 49 ครั้งทุกท่า ยกเว้นท่า 11-12 |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#3 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:17:48 ] |
|
ฝ่ามือสยบมังกร 18 ท่า มีชื่อให้เรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น กำราบมังกร ปราบมังกร หรือแม้แต่ ฆ่ามังกรก็ยังได้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามี 18 ท่า มีแค่นี้เท่านั้น ขาดเกินไม่ได้ ถ้าขาดก็ไม่ต่อเนื่อง ถ้าเกินก็ไม่ต่อเนื่องอีกนั่นแหละ วิชานี้เน้นพลังครับ ไม่มีอะไรพลิกแพลง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็รำไปเรื่อย 18 ท่าวนไปวนมายิ่งรำยิ่งแรง ถ้าไม่มีแรงก็แพ้นะครับ วิชานี้เป็นของประจำตัวหัวหน้าพรรคยาจก ถ้าจะเป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงต้องฝึกวิชานี้ด้วย ยกเว้นกรณีพิเศษของอึ้งย้ง เพราะก้วยเจ๋งฝึกสำเร็จแล้ว อึ้งย้งก็ไม่จำเป็นต้องฝึก เอาไว้รุ่นถัดไปค่อยว่ากันอีกที คนที่ฝึกวิชานี้มีอยู่ไม่มากไม่น้อย เท่าที่รู้ก็คือ เคียวฟง (เซียวฟง) อั้งชิดกง ก้วยเจ๋ง และเอี้ยก้วย นอกนั้นไม่ค่อยมีบทบาท |
nesta |
#4 nesta [ 20-12-2007 - 10:18:21 ] |
|
น่าสนใจดีครับ เมื่อจบท่าหนึ่ง จะเริ่มท่าต่อไป ต้องเริ่มตั้งท่าเตรียมพร้อมนี้ทุกครั้งก่อนเสมอ จนครบ 12 ท่า ฝึกท่าละ 49 ครั้งทุกท่า ยกเว้นท่า 11-12 ที่ว่านี่ ท่าอะไรหรอครับ |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#5 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:20:05 ] |
|
ฝ่ามือเหล็กลอยน้ำ ฝ่ามือเหล็กลอยน้ำ หมายความว่าพลังฝ่ามือรุนแรงและแข็งแกร่งดุจเหล็กกล้า นอกจากนี้ยังมีวิชาตัวเบาเป็นเลิศอีกด้วย นี่เป็นวิชาของสำนักฝ่ามือเหล็ก เจ้าสำนักชื่อฮิ้วเชยยิ่ม มีฝาแฝดชื่อว่าฮิ้วเชยเยี่ยเป็นนักต้มตุ๋น |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#6 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:22:29 ] |
|
คัมภีร์เก้าอิม คัมภีร์เก้าอิม โผล่มาในทุกภาคของมังกรหยก โดยเฉพาะภาคก้วยเจ๋ง มีหลายชื่อ แล้วแต่คนแปล บางทีก็เรียกว่า คัมภีร์นพจันทรา คัมภีร์มารนพเก้า สรุปใจความได้ว่าคนที่คิดชื่อว่า อึ้งเซียง แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ อึ้งเอี๊ยซือ แต่อย่างใด บังเอิญแซ่เดียวกันเท่านั้นเอง เคล็ดวิชาในคัมภีร์นี้มีหลายแบบมาก ส่วนใหญ่จะเอียงไปทางไม่ดี เพราะออกแบบมาสำหรับฆ่าคนโดยเฉพาะ ที่แย่ที่สุดก็คือดันเขียนโดยใช้คำและประโยคแบบเต๋า สำหรับคนที่ไม่เคยศึกษาด้านเต๋ามาก่อนจะตีความผิด พาลให้ฝึกผิดไปโดยปริยาย |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#7 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:25:10 ] |
|
คัมภีร์เก้าเอี้ยง คัมภีร์เก้าเอี้ยง แต่งโดย ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ที่เดินทางจากชมพูทวีปมาเปิด วัดเส้าหลิน บางคนจะเรียกว่า คัมภีร์นพสุริยัน เนื้อหาส่วนใหญ่ในคัมภีร์นี้จะเน้นกำลังภายใน เป็นกำลังภายในแนวทางร้อน โผล่มาในมังกรหยกภาคเอี้ยก้วยเล็กน้อย และโผล่มากในภาคเตียบ่อกี้ ว่ากันว่า คัมภีร์เก้าเอี้ยง นี้ก็เป็นคัมภีร์เล่มเดียวกับ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น อันนี้ไม่แน่ใจครับ |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#8 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:29:55 ] |
|
ไท่เก๊ก 1. ฮือเล้งเตงแก่ (ซวีหลิงติ่งจิ้ง) คือ ศรีษะตั้งตรงจิตแล่นขึ้นบนกระหม่อม อย่าใช้กำลัง ถ้าใช้กำลังคอจะเกร็งแข็ง เลือดลมจะเดินไม่สะดวก ต้องใช้จิตที่เบาและคล่อง ถ้าไม่มีฮือเล้งเตงแก่ ย่อมไม่สามารถยกจิตให้มีสติได้ 2. ห่ำเฮงปวกป่วย (หันเซียงป๋าเป้ย) ห่ำเฮง คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ขี่ (ชี่) จมลงสู่ตังชั้ง (ตันเถียน) ห้ามการเบ่งอก เบ่งอกทำให้ขี่กักอยู่บริเวณหน้าอกมีผลให้ร่างกายส่วนบนหนักส่วนล่างเบา เมื่อยกเท้าขึ้นเตะร่างกายก็เบาลอย ปวกป่วย คือ การที่ขี่แล่นแนบติดกระดูกสันหลัง ถ้าสามารถทำห่ำเฮงได้ก็จะทำปวกป่วยได้โดยอัตโนมัติ สามารถปวกป่วยได้ก็จะสามารถส่งพลังออกจากหลังได้ทำให้ไร้คู่ต่อสู้ 3. ซงเอีย (ซงเอียว) คือการผ่อนคลายเอว เอวเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายเป็นอันดับแรก สามารถผ่อนคลายเอวภายหลังสองขาจึงจะมีกำลัง รากฐานมั่นคง ฮือซิก (ว่างและเต็ม) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอาศัยเอวเป็นตัวจักรสำคัญ ดั่งคำว่า “จิตสั่งงานเริ่มต้นที่เอว” มีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้องให้ปรับที่เอวและขาก่อน 4. ฮุงฮือซิก (เฟินซวีสือ) คือการแบ่งเต็มและว่าง ซึ่งเป็นหลักใหญ่อันดับแรกของมวยไท่เก๊ก ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาขวา เช่นนั้น ขาขวาคือเต็ม ขาซ้ายคือว่าง น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาซ้าย เช่นนั้นแล้วขาซ้ายคือเต็ม ขาขวาคือว่าง เมื่อสามารถแบ่งเต็มและว่าง เมื่อนั้นการเคลื่อนไหวและการหมุนตัวย่อมคล่องแคล่วไม่ต้องเสียกำลังแม้แต่น้อย ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อนั้นการก้าวเท้าก็จะหนักและฝืด ยืนไม่มั่นคงง่ายต่อการถูกผู้อื่นทำให้เซได้ 5. ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว (เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว) ติ่มโกย คือ การลดและผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่ หากไม่สามารถผ่อนคลายได้ สองไหล่ก็จะยกขึ้น เมื่อนั้นขี่ก็จะแล่นตามขึ้นข้างบน ทั้งร่างกายจะไม่มีพลัง ตุ่ยอิ้ว คือ การผ่อนคลายข้อศอกและให้ปลายข้อศอกคล้ายกับมีน้ำหนักถ่วงลงพื้น หากศอกยกขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถลดหัวไหล่ลงได้ ไม่สามารถตีคนให้กระเด็นออกไปไกลได้ 6. เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก (ย่งอี้ปู๋ย่งลี่) คือ การใช้จิตมาสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ใช้กำลังมาเคลื่อนไหว ในคัมภีร์ไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า “ ทั้งหมดนี้ คือ ใช้จิตไม่ใช้กำลัง” การฝึกมวยไท่เก๊ก ต้องผ่อนคลายทั้งร่างกาย ไม่ใช้กำลัง (ที่กระด้าง) แม้แต่น้อยนิด ซึ่งจะขัดขวางการเดินของเลือดลม ถ้าสามารถไม่ใช้กำลังได้เมื่อฝึกนานวันเข้าก็จะบรรลุถึความเบาคล่องสามารถหมุนและเปลี่ยนแปลงได้ดั่งใจต้องการ มีคำถามว่าหากไม่ใช้กำลังไฉนพลัง(ภายใน)จะก่อเกิดได้ คำตอบคือ ในร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณอยู่ทั้งร่าง เฉกเช่นสายน้ำ สายน้ำไม่ถูกอุดตันน้ำย่อมไหลไปได้ ฉันนั้นเมื่อร่างกายกล้ามเนื้อแข็งเกร็งขึ้นย่อมไปบีบรัดเส้นลมปราณทำให้เลือดลมไหวเวียนไม่คล่อง การเคลื่อนไหวย่อมไม่คล่องไปด้วย ถูกดึงแม้เพียงเส้นผมย่อมกระเทือนไปทั่วร่าง แต่หากว่าใช้จิตไม่ใช้กำลัง จิตถึงที่ใดลมปราณย่อมถึงที่นั้นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเมื่อฝึกทุกวันลมปราณเคลื่อนไปทั่วร่างกายไม่มีหยุดไหล ฝึก นานวันเข้าย่อมบรรลุถึงกำลังภายในอันแท้จริง ดั่งคัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า “อ่อนหยุ่นถึงที่สุด ภายหลัง(ย่อม)แข็งแกร่งถึงที่สุด” ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กจนบรรลุฝีมือแล้ว แขนคล้ายดังปุยนุ่นที่หุ้มเหล็กไว้ภายในและมีน้ำหนักมาก ผู้ที่ฝึกฝนมวยภายนอก เมื่อใช้กำลังย่อมปรากฎกำลังออกมาแต่ยามไม่ได้ใช้กำลังจะเบาลอยอย่างมาก สามารถเห็นกำลังนั้นเป็นกำลังที่อยู่ภายนอกอย่างชัดเจนไม่ใช้จิตแต่ใช้กำลังง่ายต่อการถูกชักนำให้เคลื่อน 7. เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย (ซ่างเซี่ยเซียงสุย) หมายถึง ส่วนบน(ของร่างกาย) และส่วนล่างเคลื่อนตามกัน คัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวว่า “รากนั้นอยู่ที่เท้า เคลื่อน(พลัง)จากขา ควบคุมด้วยเอว รูปลักษณ์ที่นิ้วมือจากเท้าไปยังขาสู่เอวทั้งหมดนี้ต้องสมบูรณ์ด้วยพลังเดียว(กัน) “ มือเคลื่อน , เอวเคลื่อน , ขาเคลื่อน สายตามองตามการเคลื่อนไหว เรียกว่า เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย มีส่วนใดไม่เคลื่อนย่อมสับสนไม่เป็นระเบียบ 8. ไหล่หงั่วเซียงฮะ (เน่ยไห้วเซียงเหอ) หมายถึงภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน มวยไท่เก๊กเน้นที่การฝึกจิตและสติ ดังคำกล่าว “สติคือแม่ทัพ ร่างกายคือทหาร”สามารถยกสติให้ตั้งอยู่ได้ การเคลื่อนไหวย่อมเบาคล่องเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าไม่ทิ้ง(หลัก) เต็มว่างและแยกรวม(ไคฮะ) ไค (แยก) นั้นไม่เพียงแต่มือเท้าเปิดจิตก็ต้องเปิดด้วย ฮะ(รวม) ไม่เพียงมือเท้ารวม จิตก็ยังต้องรวมด้วย 9. เซียงเลี้ยงปุกต๋วง (เซียงเหลียนปู๋ต้วน) คือการต่อเนื่องไม่ขาดสาย วิชาของมวยภายนอก พลังนั้นเป็นพลังหลังฟ้าที่กระด้าง คือมีขึ้นมีหยุด มีขาดมีต่อ แรงเก่าหมดไปแล้วแรงใหม่ยังไม่ก่อเกิด ในขณะนั้นเป็นการง่ายอย่างมากต่อผู้อื่นที่จะเข้ากระทำ มวยไท่เก๊กใช้จิตไม่ใช้กำลัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อเนื่องไม่ขาดสายวนครบรอบก็ขึ้นต้นใหม่หมุนวนไม่รู้จบ คัมภีร์กล่าวว่า “ดุจดั่งแม่น้ำสายใหญ่ไหลไม่มีวันหมด “ 10. ต๋งตังขิ่วแจ๋ (ต้งจงฉิวจิ้ง) คือความสงบในความเคลื่อนไหว วิชามวยภายนอก เวลาฝึกฝนเมื่อใช้พลังเต็มที่กระโดดโลดเต้นหลังฝึกฝนเสร็จย่อมเกิดอาการเหนื่อยหอบ มวยไท่เก๊กสงบในความเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหวแต่ว่าสงบ ดังนั้นการฝึกจึงยิ่งช้ายิ่งดี ช้าทำให้ลมหายใจยาวลึก ขี่จมสู่ตังซั้ง |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#9 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 10:38:29 ] |
|
วัดเส้าหลินครับรูปภาพ |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#10 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 20-12-2007 - 10:57:25 ] |
|
ได้ความรู้ดี แต่ว่า.......นี่ท่านคิดรวบรวมวรยุทธ์ ของสำนักอื่น มาเก็บไว้เป็นของตนเอง เรอะ... มิน่าล่ะ .....ท่านหายไปมาไหนตั้งนาน ฉลาดจริงจริง สมแล้วที่เป็นขันที ......... |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#11 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 20-12-2007 - 10:58:35 ] |
|
ว่าเเต่นั่นท่านขโมย วิชาประจำพรรคของท่านพ่อบุญธรรมข้า ไปทำไมกัน..........!! |
มือกระบี่ไร้นาม |
#12 มือกระบี่ไร้นาม [ 20-12-2007 - 11:00:17 ] |
|
รู้สึกว่ามันมีแต่ต้นตำหรับวิชานะ ไม่มีเคล็ดวิชาเลย |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#13 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 20-12-2007 - 11:01:08 ] |
|
ข้าน้อย คารวะ ท่านพี่หวิน ขอรับ........ |
มือกระบี่ไร้นาม |
#14 มือกระบี่ไร้นาม [ 20-12-2007 - 11:07:31 ] |
|
ครับ กำลังจะลงนิยายให้อยู่ |
อั้งชิกง |
#15 อั้งชิกง [ 20-12-2007 - 12:24:19 ] |
|
อืม มีเเต่ตำหรับ ตามตำรา ไม่มีกระบวนท่าน หรือ เคร็ดวิชารึ |
จอมยุทธ์มังกรน้อย |
#16 จอมยุทธ์มังกรน้อย [ 20-12-2007 - 13:35:05 ] |
|
น่านับถือ ท่านอุ้ยเสี่ยวป้อ จริงๆเลยนะครับ ที่มาถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ทุกคน |
อุ้ยเสี่ยวป้อ |
#18 อุ้ยเสี่ยวป้อ [ 20-12-2007 - 17:26:20 ] |
|
คัมภีร์ชี่กง การฝึกวิชา "ชี่กง" เป็นการออกกำลังกายโดยใช้การรวบรวมสมาธิ และการใช้จิต ผสมผสานกับท่าเฉพาะของวิชา "ชี่กง" ประโยชน์จากการฝึกวิชา "ชี่กง" ท่าแต่ละท่านั้น จะสามารถบำบัดโรคภัยไข้เจ็บมากมายหลายชนิดเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ โรคหลอเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหืดหอบ โรคสมรรถภาพของไตเสื่อม โรคไมเกรน โรคปวดหลัง ปวดบั้นเอว โรคเบาหวาน ตุ่มพุพองบนผิวหนัง โรครูมาทีซึม รอบเดือนผิดปกติ ต่อมลูกหมากโต เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว โรคกระเพราะและลำไส้ โรคหัวไหล่อักเสบ โรคปวดประสาทกระดูกสะโพก โรคประสาทอ่อนแอ และอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต้านทานโรค และภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของสมอง เพิ่มความจำ และเสริมสร้างพลังครุ่นคิดด้วย |
มือกระบี่ไร้นาม |
#19 มือกระบี่ไร้นาม [ 20-12-2007 - 18:52:27 ] |
|
อยากได้วิชาในบู๊ตึ๊งนะครับ |
|