ประเทศจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国 จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國 พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó อังกฤษ: People"s Republic of China (PRC) ; )
ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ชาวตะวันตกเรียกรวม ๆ ว่า China (จีน) ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก และมีขนาดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงรัสเซียและ แคนาดา
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพรมแดนติดกับ 14 ประเทศ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) คือ เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และ เกาหลีเหนือ
ตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน เกาะเผิงหู เกาะเอ้ห... (จีนกลาง: จินเหมิน) และหมู่เกาะม้าซู้ (จีนกลาง: หมาจู่) แต่ไม่ได้ปกครอง โดยที่เกาะเหล่านี้ปกครองโดยสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงไทเป (จีนกลาง: ไถเป่ย) ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่
คำว่า จีนแผ่นดินใหญ่ ใช้เรียกส่วนของจีน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ส่วนใหญ่จะยกเว้นเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า) บางคนนิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า จีนแดง (Red China) โดยเฉพาะผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจีนปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอํานาจในภูมิภาคเอเชียมีเศรษฐกิจและกําลังทางทหารใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6d/LocationPRChina.svg/250px-LocationPRChina.svg.png
พรรคกระยาจก เรื่องน่ารู้
ยาจกอุดร |
#22 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 14:32:17 ] |
|
ประวัติศาสตร์ สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน หลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิง ก็ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีน ก็ได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด ![]() เหมาเจ๋อตุงประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินและปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ 2. การปฏิวัติของจีนครั้งแรก ปี ค.ศ. 1911 เจียง ไคเช็ก เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 24922.1 ความสำคัญ การปฏิวัติจีนครั้งแรก เกิดในปี ค.ศ. 1911 เป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง ซึ่งชาวแมนจู โดยการนำของ ดร.ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด 2.2 สาเหตุการปฏิวัติครั้งแรกของจีน ปี ค.ศ. 1911 สรุปได้ดังนี้ (1) การคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตกแลญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู (2) ความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง จักรพรรดิแมนจูปกครองจนเป็นเวลา 268 ปี (ค.ศ. 1644 – 1912) ส่วนใหญ่ขาดความเข้มแข็งในการปกครอง มีการแย่งชิอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ (3) ความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ราษฎรส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากแผ่นดินจีน 2.3 ลัทธิไตรราษฎร์ของ ดร. ซุน ยัตเซ็น เพื่อให้การแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ประสบผลสำเร็จ ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ ได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีดังนี้ (1) ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ (2) ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน (3) สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร 2.4 ความสำเร็จในการปฏิวัติ ดร.ซุน ยัตเซน ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มราชวงศ์เช็งทำให้จักรพรรดิปูยี (Pu-Yi) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ต้องสละราชสมบัติในปีถัดมา 2.5 ความล้มเหลวของระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดย “หยวน ซือไข่” ผู้นำทางทหารได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เนื่องด้วยเป็นผู้ไม่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยคิดจะสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ จึงเกิดความแตกแกภายในประเทศ และประสบปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจตามมา 2.6 ผลกระทบขงการปฏิวัติจีนครั้งแรก ปี ค.ศ.1911 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ (1) ลัทธิชาตินิยม เกิดความตื่นตัวในกรแสความคิดชาตินิยมในหมู่ผู้นำปัญญา ชนในภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย เพื่อขับไล่อิทธิพลการครอบงำของชาติมหาอำนาจ (2) ลัทธิประชาธิปไตย เกิดความนิยมระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยต้องการยกเลิกระบบการปกครองแบบเก่า 3. การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อตุง ผู้นําปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์3.1 ความสำคัญ การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ 3.2 สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) สรุปได้ดังนี้ (1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (2) การเผยแพร่อุดมการคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน 3.3 ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949 สรุปได้ดังนี้ (1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เหมา เจ๋อตุง” รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของ เอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน (2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม (2) นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มี ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่ - ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน - ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า 3.4 ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ.1949 คือ (1) การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตง” เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง (2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” โดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ |
ยาจกอุดร |
#23 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 14:34:54 ] |
|
ยุคสละราชบัลลังก์ ยุคสละราชบัลลังก์ ยุคสละราชบัลลังก์ คือ ยุค กษัตริย์หยาว(Yao) ซุ่น(Shun) และอวี่(Yu) ตามที่บันทึกโบราณได้บันทึกไว้ หยาว นาม ฟั่งซวิน(Fang xun) เป็นกษัตริย์ที่เปรื่องปราดสามารถ และเปี่ยมล้นคุณธรรม กล่าวกันว่าพระองค์ไม่เคยใช้อำนาจระรานใคร เป็นห่วงราษฎรตลอดเวลา ประทับเพียงกระท่อมมุงหญ้า เสวยเพียงข้าวต้ม(น้ำมาก ข้าวน้อย)จืดชืดและเสื้อผ้าเนื้อหยาบ เป็นอยู่อย่างประหยัดและเรียบง่าย แม้หยาวจะเป็นกษัตริย์ที่ดี แต่โอรส “ตานจู”(Dan zhu) กลับเป็นลูกที่เกะกะระรานไม่เอาไหน หยาวจึงไม่ยกบัลลังก์ให้โอรส และคอยสืบดูว่า มีผู้เปรื่องปราดสามารถคนใด ที่เหมาะสมแก่การยกบัลลังก์ให้ ต่อมาหยาวสืบทราบว่า “ซุ่น” เป็นบุรุษหนุ่มที่เปรื่องปราดกตัญญู ทั้งยังเปี่ยมความสามารถ หยาวจึงได้เรียกประชุม ว่าจะสละบัลลังก์ให้แก่ซุ่น 4 ขุนเขา 12 เผ่าเลี้ยงสัตว์ พันธมิตรในอาณัติของเผ่าของหยาวล้วนเห็นชอบ หยาวจึงสืบทอดตำแหน่งแก่ซุ่น ซุ่นมีนามว่า “จ้งฮว๋า”(Zhong hua) แซ่หยาว(Yao)เป็นหลานรุ่นที่ 7 ของหวงตี้ ซุ่นครองราชย์ประมาณ 10 ปี ได้รับความรักใคร่จากประชาชนเป็นอันมาก ซุ่นเองก็มิได้ยกบัลลังก์ให้แก่โอรส “ซางจวิน”(Shang jun) ที่วันๆรู้จักแต่ร้องรำทำเพลง แต่กลับยกบัลลังก์ให้แก่ “อวี่” ผู้สร้างความดีความชอบอย่างมหาศาลในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และก็ได้รับความเห็นชอบจาก 4 ขุนเขา 12 เผ่าเลี้ยงสัตว์เช่นกัน ในยุคของหยาวและซุ่น ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ หยาวได้บัญชาให้หัวหน้าเผ่าเซี่ย นาม “กุ่น”(Gun) ทำการแก้ไขปัญหาอุทกภัย กุ่นใช้วิธีสร้างเขื่อนกั้นน้ำ แต่ไม่สามารถบรรเทาอุทกภัยได้ จึงถูกซุ่นสั่งประหาร จากนั้นซุ่นก็มีบัญชาให้ “อวี่”(Yu) บุตรชายของกุ่นทำการแก้ไขปัญหาอุทกภัยต่อไป อวี่ใช้วิธีขุดคูระบายน้ำที่ท่วมขัง และสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยได้เป็นผลสำเร็จ ด้วยผลงานครั้งนี้ ทำให้ซุ่นเสนออวี่เป็นทายาทผู้สืบบัลลังก์ ซึ่ง 4 ขุนเขา 12 เผ่าเลี้ยงสัตว์ต่างก็เห็นชอบด้วย ซุ่นจึงยกบัลลังก์ให้แก่อวี่ แต่ยุคของการสละบัลลังก์ก็จบลงเพียงนี้ เพราะอวี่ได้วางแผนจะยกบัลลังก์ให้แก่โอรส “ฉี่”(Qi) จึงได้ทำการวางรากฐานอำนาจแก่โอรสมาแต่แรก จากนั้น เมื่ออวี่แก่ตัวลง ก็เสนอ “อี้”(Yi) เป็นผู้สืบทอด และ “อี้” ผู้นี้ ก็แก่กว่าอวี่เสียด้วยซ้ำ เจตนาของอวี่จึงชัดเจนมาก 4 ขุนเขา 12 เผ่าเลี้ยงสัตว์ไม่เห็นด้วยกับการยกบัลลังก์ให้อี้ และสนับสนุนให้ “ฉี่” โอรสของอวี่สืบบัลลังก์แทน ฉะนั้น ฉี่จึงสังหารอี้ แล้วแย่งบัลลังก์มา นับแต่นั้นมา การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เริ่มต้น จาก : Linmou - 18/04/2004 07:44 |
ยาจกอุดร |
#24 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 14:36:52 ] |
|
ลำดับราชวงศ์จีน ลำดับราชวงศ์จีน 1. ราชวงศ์เซี่ย(Xia) ประมาณต้นศตวรรษที่ 21 – ต้นศตวรรษที่ 17 ก่อน ค.ศ. 2. ราชวงศ์ซาง(Shang) ประมาณต้นศตวรรษที่ 17 - ศตวรรษที่ 11 ก่อน ค.ศ. 3. ราชวงศ์โจว(Zhou) ประมาณศตวรรษที่ 11 – 256 ปีก่อน ค.ศ. 4. ราชวงศ์โจวตะวันตก(ซีโจว : Xi Zhou) ประมาณศตวรรษที่ 11 – 771 ปีก่อน ค.ศ. 5. ราชวงศ์โจวตะวันออกและยุคชุนชิว , จ้านกว๋อ 5.1. ราชวงศ์โจวตะวันออก(ตงโจว : Dong Zhou) 770 – 256 ปีก่อน ค.ศ. 5.2. ยุคชุนชิว(ชุนชิวสือไต้ : Chun qiu shi dai) 770 – 403 ปีก่อน ค.ศ. • แคว้นหลู่ • แคว้นฉี • แคว้นจิ้น • แคว้นฉิน • แคว้นฉู่ • แคว้นซ่ง • แคว้นเว่ย(เล็ก) • แคว้นเฉิน • แคว้นช่าย • แคว้นเฉา • แคว้นเยียน • แคว้นเจิ้ง • แคว้นอู๋ 5.3. ยุคจ้านกว๋อ(จ้านกว๋อสือไต้ : Zhan guo shi dai) 403 – 221 ปีก่อน ค.ศ. • แคว้นฉิน • แคว้นฉู่ • แคว้นฉี • แคว้นเว่ย(ใหญ่) • แคว้นเจ้า • แคว้นหาน • แคว้นเยียน 6. ราชวงศ์ฉิน(Qin) 221 – 206 ปี ก่อน ค.ศ. 7. ราชวงศ์ฮั่น(Han) 206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220 7.1. ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(ซีฮั่น : Xi han) 206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 25 7.2. ราชวงศ์ซิน(Xin) ของหวางหม่าง ค.ศ. 9 – 23 7.3. เกิงสื่อตี้ หลิวเสวียน(Geng shi di Liu xuan) ค.ศ. 23 - 25 7.4. ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(ตงฮั่น : Dong Han) ค.ศ. 25 – 220 8. ยุคสามก๊ก(ซานกว๋อ : San guo) ค.ศ. 220 – 280 • แคว้นเว่ย(Wei) ค.ศ. 220 – 265 • แคว้นสู่(Shu) ค.ศ. 221 – 263 • แคว้นอู๋(Wu) ค.ศ. 222 – 280 9. ราชวงศ์จิ้น(Jin : ค.ศ. 265 - 420)และราชวงศ์เหนือใต้(หนานเป่ยฉาว : Nan bei chao : ค.ศ. 386 – 589) 9.1. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก(ซีจิ้น : Xi Jin) ค.ศ. 265 - 317 9.2. ราชวงศ์จิ้นตะวันออก(ตงจิ้น : Dong Jin) ค.ศ. 317 - 420 9.3. ยุคสิบหกแคว้น(สือลิ่วกว๋อ : Shi liu guo) ค.ศ. 317 – 439 • แคว้นเฉิง(ฮั่น) • แคว้นฮั่น(เฉียนเจ้า) • แคว้นเฉียนเหลียง • แคว้นหร่านเว่ย • แคว้นเฉียนฉิน • แคว้นโฮ่วเจ้า • แคว้นไต้ • แคว้นเฉียนเยียน • แคว้นเป่ยเหลียง • แคว้นซีเหลียง • แคว้นโฮ่วเยียน • แคว้นเป่ยเยียน • แคว้นซีฉิน • แคว้นโฮ่วเหลียง • แคว้นเซี่ย • แคว้นซีเยียน • แคว้นหนานเหลียง • แคว้นโฮ่วฉิน • แคว้นหนานเยียน • แคว้นซีเหลียง 9.4. ราชวงศ์ใต้(หนานฉาว : Nan chao) ค.ศ. 420 - 589 • แคว้นซ่ง(Song) • แคว้นฉี(Qi) • แคว้นเหลียง(Liang) • แคว้นเฉิน(Chen) 9.5. ราชวงศ์เหนือ(เป่ยฉาว : Bei chao) ค.ศ. 439 - 581 • แคว้นเป่ยเว่ย(Bei Wei) • แคว้นตงเว่ย(Dong Wei) • แคว้นเป่ยฉี(Bei Qi) • แคว้นซีเว่ย(Xi Wei) • แคว้นเป่ยโจว(Bei Zhou) 10. ราชวงศ์สุย(Sui) ค.ศ. 581 - 618 11. ราชวงศ์ถัง(Tang) ค.ศ. 618 - 907 12. ยุคห้าราชวงศ์สิบแว่นแคว้น(อู่ไต้สือกั๋วสือไต้ : Wu dai shi guo shi dai) ค.ศ. 907 - 979 12.1. ห้าราชวงศ์(อู่ไต้ : Wu dai) ค.ศ. 907 - 960 • ราชวงศ์โฮ่วเหลียง • ราชวงศ์โฮ่วถัง • ราชวงศ์โฮ่วจิ้น • ราชวงศ์โฮ่วฮั่น • ราชวงศ์โฮ่วโจว 12.2. สิบแว่นแคว้น(สือกว๋อ : Shi guo) ค.ศ. 891 - 979 • แคว้นเฉียนสู่ • แคว้นอู๋ • แคว้นกวนเยว่ • แคว้นหมิ่น • แคว้นฉู่ • แคว้นโฮ่วสู่ • แคว้นหนานถัง • แคว้นหนานฮั่น • แคว้นหนานผิง • แคว้นเป่ยฮั่น 13. ราชวงศ์ซ่ง เหลียว จิน 13.1. เหลียว(Liao) ค.ศ. 907 – 1125 13.2. ราชวงศ์ซ่ง(Song) ค.ศ. 960 – 1279 13.2.1. ราชวงศ์ซ่งเหนือ(เป่ยซ่ง : Bei Song) ค.ศ. 960 – 1127 13.2.2. ราชวงศ์ซ่งใต้(หนานซ่ง : Nan song) ค.ศ. 1127 – 1279 13.3. ราชวงศ์จิน(Jin) ค.ศ. 1115 – 1234 13.4. ราชวงศ์ซีเซี่ย(Xi Xia) ค.ศ. 1038 – 1227 14. ราชวงศ์เหยวียน(Yuan) ค.ศ. 1206 – 1368 15. ราชวงศ์หมิง(Ming) ค.ศ. 1368 – 1644 16. ราชวงศ์ชิง(Qing) ค.ศ. 1616 - 1911 จาก : Linmou - 18/04/2004 07:22 |
ยาจกอุดร |
#25 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 14:40:23 ] |
|
อี้จิง คัมภีร์เก่าแก่ของจีนโบราณ อี้จิง หรือคัมภีร์อี้ หรือคัมภีร์อนิจจลักษณ์ เป็นคัมภีร์เก่าแก่ของจีนโบราณ ที่ว่าด้วยเรื่อง “เปลี่ยน” (อี้ แปลว่าเปลี่ยน, จิง แปลว่าคัมภีร์) ซึ่งปราชญ์ได้สร้างคัมภีร์เล่มนี้ขี้นไว้เพื่อให้ใช้เป็นคู่มือดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ สอดคล้องกับฟ้า-ดิน (สวรรค์-โลก) โดยอาศัยการ “เปลี่ยน” ไป-มาระหว่างอิม-เอี้ยง เป็นหลักสำคัญที่ใช้ในการพยากรณ์และวางแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตให้ราบรื่นมั่นคง เป็นหลักที่ชี้ว่า ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง เช่น จากอิมเป็นเอี้ยง และจากเอี้ยงเป็นอิม (จากแข็งเป็นอ่อน จากอ่อนเป็นแข็ง, จากทุกข์เป็นสุขและจากสุขเป็นทุกข์ ฯลฯ) ซึ่งหากมนุษย์สามารถเข้าถึงกฎนี้ได้ ชีวิตของมนุษย์ก็จะราบรื่นและดำเนินไปสอดคล้องกับธรรมชาติ (สอดคล้องกับเจตจำนงของสวรรค์-โลก (ฟ้า-ดิน) นั่นเอง) ![]() ธาตุในจักรวาลที่สำคัญและมีผลในการอธิบายปรากฏการณ์ของอิน-เอี้ยง คือ ธาตุดิน ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ รวมเรียงว่า เบญจธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ธาตุต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของการกำเนินและการดับสูญ การทำลายล้างซึ่งกันและกัน เริ่มต้นจากการให้กำเนิด ธาตุดินให้กำเนินทอง ธาตุทองให้กำเนิดธาตุน้ำ ธาตุน้ำให้กำเนิดธาตุไม้ ธาตุไม้ให้กำเนิดธาตุไฟ และธาตุไฟให้กำเนิดธาตุดิน เป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน วัฎจักรแห่งการทำลายล้างคือ ธาตุทองทำลายธาตุไม้ ธาตุไม้ทำลายธาตุดิน ธาตุดินทำลายธาตุน้ำ ธาตุน้ำทำลายธาตุไฟ ธาตุไฟทำลายธาตุทอง เป็นวัฏจักรแห่งการพิฆาตทำลายอีกวัฏจักรหนึ่งเช่นนี้เรื่อยไป ![]() หลักการเกิดและการดับของเบญจธาตุ (โหงวเฮ้ง) โดยตำราของฮวงจุ้ย ได้นำหลักในคัมภีร์ อี้จิง เรื่อง “โหงวเฮ้ง” มาเป็นหัวใจในการกำหนดกรรมวิธีในการคำนวณและในการพยากรณ์ เกี่ยวกับการหาทำเลที่อยู่อาศัยตั้งถิ่นฐานทำการค้า ทำมาหากิน รวมถึงการหาทำเลในการทำสุสาน เพื่อเก็บฝังบรรพบุรุษ และใช้ในการเซ่นไหว้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ความสำคัญ ความศรัทธาของชาวจีนที่มีต่อวิชาฮวงจุ้ยในเชิงการปฏิบัติ มีความเชื่อว่าหากบริเวณใด สถานที่หรือสภาพแวดล้อมใด ๆ ที่มีองค์ประกอบของธาตุทั้งห้าครบถ้วนคือ ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุดิน หรือ เป็นตัวแทนของโลหะ, ของเหลว, พืชพันธุ์สิ่งมีชีวิต, พลังงาน, และแผ่นดิน ตามลำดับ อยู่รวมกันในอัตราส่วนที่สมดุล ทั้งยังมีวัฎจักรของการกำเนิด และเสื่อมสลาย ทำลายล้างซึ่งกันและกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะสม่ำเสมอแล้ว บริเวณสถานที่นั้นจะเป็นทำเลชัยภูมิที่มีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งความเป็นศิริมงคล เป็นพลังแห่งฟ้า และพลังแห่งผืนแผ่นดิน พลังทั้งสองจะเกื้อกูลและห่อหุ้มให้สภาพแวดล้อมนั้นปรับปรุงแต่งเป็นสถานที่มงคล หากบุคคลใดอยู่ในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่สมดุล มีธรรมชาติที่ประกอบด้วยความร้อนหรืออุณหภูมิ กระแสความเร็วลม และความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสม ก็ยอ่มจะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “สภาวะน่าสบาย” ตามหลักของภูมิศาสตร์ ![]() หลักแห่งความสมดุลใน “เบญจธาตุ” นี้ยังถูกใช้ด้านโภชนาการ วิเคราะห์ทางด้านการแพทย์ การวางผังพิชัยสงคราม การวางผังเมือง การพยากรณ์ชะตาชีวิต การพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ หรือแม้แต่การหาทำเลสำหรับทำสุสานบรรพชน ![]() |
มือกระบี่ไร้นาม |
#26 มือกระบี่ไร้นาม [ 14-12-2007 - 16:46:26 ] |
|
อืมกระทู้มีสาระดีเยี่ยม ท่านยาจกอุดรนี่สุดยอดจริงๆ ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป อยากจะให้ช่วยหาเรื่องหอฟ้าเทียนถานและหยินหยางแบบลึกๆหน่อยครับ |
ศักดิ์ศรีจอมยุทธ |
#28 ศักดิ์ศรีจอมยุทธ [ 14-12-2007 - 18:56:14 ] |
|
คารวะท่านยาจกอุดร |
ยาจกอุดร |
#30 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 21:46:11 ] |
|
หยาง ความสว่าง ความเคลื่อนไหว การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต อารมณ์มั่นคง จิตใจปลอดโปร่งใส พระอาทิตย์ พลังที่แข็งแกร่ง ความร้อน ความอบอุ่น ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีชีวิตชีวา ![]() หยิน ความมืด ความเชื่องช้า หรือ หยุดพักอยู่กับที่ ความตาย อารมณ์ผันผวนปรวนแปร ความเศร้าหมอง โลก , พระจันทร์ ความหนาวเย็น อ่อนนุ่ม ความไม่ดี ความเศร้าหมอง ดำเนินชีวิตอย่างเฉื่อยชาเบื่อหน่าย |
ยาจกอุดร |
#31 ยาจกอุดร [ 14-12-2007 - 21:50:15 ] |
|
![]() หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่ และลานหยวนชิว เป็นต้น เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. ๑๔๒๐ ห่างจากปัจจุบัน ๕๐๐ กว่าปี เป็นรูปทรงกลมหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ไม่มีขื่อและอกไก่ อาศัยเสาไม้ ๒๔ ต้น เป็นโครงยึดไว้ซึ่งได้ชื่อว่า "ตําหนักไม่มีขื่อ" ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์ ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม ๓ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนาม"เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์" ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพงเบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง ก็จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม ได้เเล้วนะครับ |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#32 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 14-12-2007 - 23:00:31 ] |
|
![]() แล้วนอกจากนั้น หยาง (สีขาว)ก็ยังใช้เป็นตัวแทน บุรุษเพศ ส่วน หยิน ใช้แทนสตรีเพศ ด้วยขอรับ ![]() |
ดรรชนีสวรรค์ |
#33 ดรรชนีสวรรค์ [ 15-12-2007 - 01:30:58 ] |
|
ท่านยาจกอุดร ช่างเยี่ยมยอด ขอคาระวะ ![]() |
มือกระบี่ไร้นาม |
#34 มือกระบี่ไร้นาม [ 15-12-2007 - 12:01:43 ] |
|
เคยอ่านนิยายหวงอี้ เขาบอกว่าในเพศชายมีหยินแท้ในหยาง เพศหญิงก็มีหยางแท้ในหยิน จริงหรือเปล่าครับ |
ยาจกอุดร |
#35 ยาจกอุดร [ 15-12-2007 - 12:03:26 ] |
|
อืม มันก็น่าจะเป็นจิงนะครับ เพราะก็เคยอ่านผ่านตามาบ้างอยู่ ![]() |
จอมยุทธ์มังกรน้อย |
#36 จอมยุทธ์มังกรน้อย [ 15-12-2007 - 12:51:43 ] |
|
นี่ท่านพ่อจะเปิดโรงเรียนสอนประวัติศาตร์ประเทศจีนหรอครับเนี่ย ดีครับ ผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์พ่อคนแรกเลย ![]() |
จอมยุทธ์มังกรน้อย |
#37 จอมยุทธ์มังกรน้อย [ 15-12-2007 - 13:01:02 ] |
|
ต่อครับ ชีวประวัติสุมาอี้ ต้นตระกูลสุมา แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก ผู้รวบรวมแผ่นดินยุคสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ สุมาอี้เป็นชาวอำเภออุน เมืองเหอเน่ย ( โห้ลาย ) มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า ชงต๊ะ (Zhongda) มีบุคลิกลักษณะแปลกกว่าคนธรรมดา แววตาคมราวเหยี่ยว ท่าทางราวสุนัขจิ้งจอก เป็นคนฉลาดเฉียบแหลมแกมโกง ชำนาญพิชัยสงคราม และยังมีความสามารถในการแกล้ง ป่วยได้อย่าง แนบเนียนด้วย สุมาอี้นั้นถูกโจโฉเชิญให้มารับราชการ แต่สุมาอี้ไม่ชอบโจโฉ จึงอ้างว่าป่วย แต่โจโฉรู้ทัน จึงสั่งให้ทหารไปลากตัวมา สุมาอี้จึงจำต้องรับราชการอยู่กับโจโฉ ในช่วงแรกๆที่โจโฉยังมีกุยแกอยู่ สุมาอี้ไม่มีบทบาทอะไรมากนักเนื่องจากโจโฉไม่ไว้ใจ และสุมาอี้ก็ต้องไปเป็นอาจารย์ของโจผีลูกโจโฉ และในสมัยที่กุยแกและโจโฉยังอยู่ สุมาอี้รับราชการ เป็นแค่ สมุหบัญชีทหารเลว (ตามในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) มีหน้าที่แค่จดบันทึกจำนวนทหารที่เกณฑ์มาหรือฝึกหรือออกรบ แต่หลังจากสิ้นยุคโจโฉแล้ว สุมาอี้มีบทบาทเป็นอย่างมาก จนมักมีเรื่องว่าสุมาอี้ถูกใส่ร้ายป้ายสีอยู่เสมอ สุมาอี้นั้นเป็นคู่ปรับที่ร้ายแรงที่สุดของขงเบ้ง (สุมาอี้นั้นแก่กว่าขงเบ้ง2ปี) ทำให้ขงเบ้งไม่อาจเข้ายึดวุยก๊กได้ ทั้งๆที่ได้ใช้ความพยายามอย่างแสนสาหัส บางครั้งก็เกือบจะถูกสุมาอี้จับตัวได้ด้วยซ้ำ สุมาอี้เคยถูกโจซองหลานของโจยอยกลั่นแกล้งและหาทางปลดอยู่เสมอในสมัยพระเจ้าโจฮอง แต่สุมาอี้ก็แกล้งป่วยจนโจซองตายใจนึกว่าสุมาอี้กลายเป็นง่อยไปแล้ว และสุดท้ายสุมาอี้ก็สั่งเอาคืนอย่างจั๋งหนับและสามารถปราบปรามพรรคพวกของโจซองและประหารชีวิตได้สำเร็จ หลังจากนั้นสุมาอี้ก็กลายเป็นใหญ่ สุมาอี้นั้นมีบุตรสองคนคือ สุมาสู กับ สุมาเจียว ซึ่งฉลาดพอๆกันกับพ่อของตัวเอง และฉลาดแกมโกงพอกัน ตำแหน่งสุดท้ายของสุมาอี้คือเซงเสี่ยง( สมุหนายก ) กับได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้ง 9 ซึ่งเรียกว่า จิ่วซิ สุมาอี้วางแผนที่จะยึดราชวงศ์โจเกือบจะได้อยู่แล้ว แต่ดันเกิดป่วยหนักขึ้นมา และป่วยจริงๆไม่ได้แกล้งทำเหมือนเมื่อก่อน สุมาอี้สิ้นชีพที่เมืองลกเอี๋ยงด้วยโรคชรา ในปีคศ.251 ด้วยอายุได้ 73ปี หลังจากนั้นสุมาเอี๋ยนหลานชายแย่งราชบัลลังก์ได้จากพระเจ้าโจฮวน ตั้งตัวเป็นกษัตริย์แล้ว ได้สถาปนาสุมาอี้ขึ้นเป็นเซวียนตี้ (จักรพรรดิ) (เริ่มต้นราชวงศ์จิ้นตะวันตกตามประวัติศาสตร์จีน) *เกร็ดความรู้ สุมาอี้ มีโหงวเฮ้งหมาจิ้งจอก ซึ่งเป็นลักษณะของคนไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจใคร โจโฉ เคยเดินตามสุมาอี้ แล้วเรียกสุมาอี้ สุมาอี้หันหน้ามาโดยไม่ได้เอี้ยวตัว เป็นลักษณะของ คนมีโหงวเฮ้งหมาจิ้งจอก โจโฉจึงระวังสุมาอี้ตั้งแต่นั้นมา |
อั้งชิกง |
#39 อั้งชิกง [ 18-12-2007 - 12:46:56 ] |
|
"วัดเส้าหลิน" ถิ่นยอดกังฟูแดนมังกร วัดเส้าหลินวัดเก่าแก่กว่า 1,500 ปี ที่วันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองจีน หากเอ่ยนาม “วัดเส้าหลิน” หรือ “เสี้ยวลิ้มยี่” ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลายๆคนรู้จักชื่อเสียงของวัดนี้เป็นอย่างดี เพราะกว่าครึ่งของนิยายหนังจีนกำลังภายใน ล้วนแต่มีวัดเส้าหลินหรือไม่ก็หลวงจีนวัดเส้าหลินเข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ และส่วนใหญ่เหล่าหลวงจีนเส้าหลินก็มักจะสำแดงเพลงหมัดมวย หรือ“กังฟูเส้าหลิน”อันยอดเยี่ยมให้คอหนังและคอนิยายกำลังภายในได้ประจักษ์กันอยู่เสมอ เรียกได้ว่าในหนังและนิยายกำลังภายในนั้นเพลงหมัดมวยเส้าหลินไม่เป็นที่สองรองใคร ส่วนในโลกความจริงแห่งยุคโลกาภิวัตน์ เส้าหลินไม่เพียงแค่โดดเด่นเรื่องกังฟูเท่านั้น แต่วัดเส้าหลินยังถือเป็นวัดพุทธนิกายเซ็นอันดับหนึ่งในเมืองจีนอีกด้วย พลังกล้ามเนื้อเหล็กหนึ่งในยอดวิชากังฟูของเส้าหลิน วัดเส้าหลิน(Shaolin Temple) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน ในอำเภอเติงเฟิง (Dengfeng)แห่งมณฑลเหอหนาน(Henan) วัดนี้สร้างขึ้น ใน ค.ศ. 495 ในสมัยของเซี่ยวเหวินตี้ฮ่องเต้ (ครองราชย์ค.ศ. 471 – 499) แห่งราชวงศ์วุ่ย(เว่ย) ปัจจุบันวัดเส้าหลินมีอายุกว่า 1,500 ปี ซึ่งทางรัฐบาลจีนกำลังขอเป็นมรดกโลก สำหรับจุดประสงค์ของการสร้างวัดเส้าหลินนั้นก็เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระภิกษุจากอินเดียที่เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา และเมื่อพูดถึงวัดเส้าหลินและเพลงหมัดมวยแล้ว หากจะไม่พูดถึง “ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ” ข้าพเจ้าว่าดูจะกระไรอยู่ เพราะว่าถ้าไม่มีท่าน บางทีเสี้ยวลิ้มยี่อาจไม่มีเพลงหมัดมวยก็เป็นได้ ท่าน “ตั๊กม้อ”(ชื่อจีน) หรือ “ตะโม ภิกขุ”(ชื่ออินเดีย) หรือ “พระโพธิธรรม”(ชื่อไทย) เป็นพระภิกษุชาวชมพูทวีป(อินเดีย) ที่ว่ากันว่าท่านตั๊กม้อเป็นถึงโอรสกษัตริย์ที่ออกบวชเพราะซาบซึ้งในรสพระธรรม และท่านได้เดินทางจากอินเดีย มาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซ็นในเมืองจีน ราว ค.ศ. 527 ท่านตั๊กม้อผู้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสท่านแรกแห่งเส้าหลินไม่เพียงแต่ยอดเยี่ยมในทางธรรมเท่านั้น แต่ว่าในเรื่องของวิทยายุทธ์ท่านก็สุดยอดเหมือนกัน ครั้นเมื่อมายังวัดเส้าหลินเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในป่าที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย และการที่บรรดาหลวงจีนต้องนั่งสมาธินานๆโดยไม่ได้ออกกำลังกายก็ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมได้ง่าย ท่านตั๊กม้อจึงคิดท่าเต้นแอโรบิคขึ้นมา เอ้ย!!! ไม่ใช่ ท่านตั๊กม้อได้คิดเพลงหมัดมวยขึ้นมาเพื่อใช้ออกกำลังกาย และใช้ป้องกันตัวจากสัตว์ดุร้าย และนั่นก็คือต้นกำเนิดของกังฟูเส้าหลินอันลือลั่น ซึ่งในวันนี้กังฟูเส้าหลินถือเป็นหนึ่งในสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เคียงคู่มากับความเก่าแก่และสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง แห่งมณฑลเหอหนาน ซึ่งเมื่อเดินทางมาถึงเชิงเขาซงซานบริเวณที่ตั้งวัด ก็จะเห็นรูปปั้นสีดำทะมึนของหลวงจีนเส้าหลิน ยืนประสานมือต้อนรับนักท่องเที่ยว ในท่วงท่าที่คอหนังจีนกำลังภายในคงจะคุ้นกันดี ถัดจากรูปปั้นไปก็จะเป็นลานทางเดินขนาดใหญ่ 2 ข้างขนาบด้วยสถาปัตยกรรมจีนโบราณแต่ว่าเพิ่งสร้างใหม่ขึ้นมาหมาดๆ เพื่อไว้ขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว พ้นจากลานไปก็เป็นทางเดินสู่วัดเส้าหลินระยะทางกิโลเมตรกว่า ซึ่งใครใคร่เมื่อยก็เดิน ส่วนใครขี้เกียจก็นั่งรถกอล์ฟไปได้ในสนนราคาคนละ 5 หยวน แหม...วัดเส้าหลินนี่การตลาดไม่เบา อนึ่งในช่วงกลางระหว่างทางจะเป็นโรงเรียนสอนกังฟูเส้าหลินอันโด่งดังที่ในแต่ละวันจะเห็นอาจารย์มาสอนเด็กๆตัวน้อยฝึกกังฟูอยู่มากมาย บรรยากาศในวัดเส้าหลินยังคงขรึมขลังไม่สร่างซา และถ้าอยากรู้ว่ากังฟูเส้าหลินเยี่ยมยอดแค่ไหนก็ต้องตีตั๋วเข้าไปดูการแสดงกังฟูของนักเรียนในโรงเรียนนี้ที่จะแต่งกายเป็นเณรเส้าหลิน แล้วออกมาโชว์ยอดวิทยายุทธ์มากมายให้นักท่องเที่ยวชม ไม่ว่าจะเป็นวิชาเบสิค อย่างเพลงหมัดมวย เพลงดาบ เพลงทวน เพลงกระบอง จากนั้นก็ยกระดับฝีมือขึ้นเป็น วิชาหัวเหล็กที่โชว์การใช้หัวยืนต่างเท้า ใช้แผ่นเหล็กตีหัวเหล็กแล้วหัวอยู่ปลอดภัยแต่เหล็กหัก วิชากล้ามเนื้อเหล็ก ที่โชว์การวางตัวโดยใช้หน้าท้องทิ้งทั้งตัวไปบนคมหอก แถมเณรผู้ช่วยยังโชว์ความเก๋าด้วยการจับเพื่อนเณรกล้ามเนื้อเหล็กหมุนอีก 2-3 รอบ นอกจากนี้ก็ยังมีวิทยายุทธ์อีกมากมาย ที่ดูแล้วเพลินตา เพลินอารมณ์ดีแท้ จากโรงเรียนกังฟูทีนี้ก็เข้าสู่เข้าเขตวัด ซึ่งเมื่อผ่านซุ้มประตูไปก็จะสัมผัสได้กับบรรยากาศแห่งเสี้ยวลิ้มยี่อันขรึมขลัง โดยทางเดินที่ทอดยาวเบื้องหน้านั้น เรียงรายไปด้วยต้นแปะก๊วยโบราณที่ขึ้นขนาบอยู่ 2 ข้างทาง มีบรรพบุรษต้นแปะก๊วยอายุกว่า 1,200 ปี ขึ้นโดดเด่นอยู่ที่ปลายทางด้านขวามือ โดยทางเดินได้ทอดตัวสู่ “วิหารเทวราช” ซึ่งโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนโบราณ ส่วนด้านซ้ายมือเป็นหอกลอง ด้านขวามือเป็นหอระฆัง เมื่อไหว้พระประธานแล้วเดินผ่านลึกเข้าไปในเสี้ยวลิ้มยี่ที่ร่มครึ้มและมากไปด้วยนักท่องเที่ยว ก็จะได้พบกับอีกหนึ่งเสน่ห์ของวัดนี้ นั่นก็คือ ตัว“...ซี”ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิสิทธิ์ของคนจีน ตัวเป็นเต่าแต่มีหัวเป็นมังกร ซึ่งข้าพเจ้าคิดไปคิดมาก็คล้ายๆกับนักการเมือง ข้าราชการ ผู้สูงวัยหลายๆคนที่มีตัวเป็นคนแต่หัวเป็นงู(ฮา) ความพิเศษคนจีนโบราณเชื่อกันว่าเมื่อไปลูบคลำตรงหัว จะโชคดีไม่มีอดตาย หากลูบคอจะปลอดภัยไร้โรคา ส่วนลูบฟันจะถูกหวยรวยทรัพย์ และถ้าลูบหลังจะมีลูกดก ด้วยเหตุนี้ตัว...ซีส่วนใหญ่จึงถูกลูบคลำกันจนมันแผล็บ ไม่แพ้ถันนางอัปสราที่นครวัดเหมือนกัน แต่ว่านั่นก็เป็นความเชื่อของคนจีนรุ่นเก่า ส่วนรุ่นใหม่นั้นตัว...ซีคือแบบถ่ายรูปชั้นเยี่ยมที่นิยมไปยืนจุ้ยถ่ายรูปคู่กับ...ซี ส่วนที่หนักไปกว่านี้ก็คือเห็น...ซีเป็นเก้าอี้ชั้นดี ใช้นั่งใช้ขี่กันอย่างสนุก ส่วนข้าพเจ้านั้นเพื่อความชัวร์ก็ขอขอลูบ...ซีทั้งตัว เรียกว่าเอาแบบเต็มเวอร์ชั่นกันเลย เมื่อใครลูบ...ซีกันจนหนำใจแล้ว ก็ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ต่อการเดินสู่ไฮไลท์แห่งวัดเส้าหลิน ที่ “วิหารตั๊กม้อ” หรือ “วิหารเจ้าอาวาส” ซึ่งปรากฏเป็นฉากในหนังกำลังภายในและในยุทธจักรนิยายมากมาย ภายในวิหารนอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตามแบบมหายานแล้ว หากสังเกตดีๆที่พื้นในวิหารจะดูเป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งหากใครไม่รู้อาจจะนึกว่าพื้นทรุด แต่จริงๆแล้วที่นี่ในอดีตคือสถานที่ฝึกเพลงยุทธ์ของ 18 อรหันต์ทองคำวัดเส้าหลิน ที่ส่วนใหญ่มีกำลังภายในเหลือล้นจึงกระทืบพื้นวิหารเป็นหลุมเป็นบ่อทั่วไปหมด ส่วนสิ่งที่น่าสนใจอีก 2 จุดในวิหารตั๊กม๊อ ก็คือทางด้านซ้ายมือสุดจะมีรูปปั้น “หลวงจีนกั๊กเอี้ยง” ยืนโดดเด่น ท่านผู้นี้เป็นยอดหลวงจีนที่งำประกายตัวเองด้วยการเป็นพระพ่อครัว และเป็นผู้คิดค้นกระบวนท่า 18 อรหันต์ ก่อนที่จะพา “เตียซำฮง”อดีตศิษย์ตัวน้อยแห่งเส้าหลิน ออกไปฝึกปรือวิทยายุทธ์ จนท่านเตียซำฮง กลายเป็นยอดจอมยุทธ์และไปเปิด“สำนักบู๊ตึ้ง”อันลือลั่น(หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง“ดาบมังกรหยก”ของ”กิมย้ง”) ส่วนทางขวามือสุดยังมีรูปปั้นของท่านตั๊กม้อที่หน้าตาขึงขัง หนวดเคราครึ้ม ยืนสะพายง้าว และม้วนคัมภีร์โดดเด่นอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าเมื่อไปยืนสักการะท่านตั๊กม้อแล้วรู้สึกว่าท่านจากไปแค่ร่างกายเท่านั้น ส่วนชื่อของท่านและเรื่องราวที่กระทำยังคงอยู่ และจะคงอยู่คู่เส้าหลินไปจวบจนกาลปาวสาน... รูปปั้นท่านตั๊กม้อยืนโดดเด่นซึ่งพระเส้าหลินรุ่นปัจจุบันต่างก็ดำเนินตามแนวทางของท่าน ![]() ![]() |
อั้งชิกง |
#40 อั้งชิกง [ 18-12-2007 - 12:55:23 ] |
|
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น (กายบริหารแกว่งแขน บำบัดโรค) ครั้งหนึ่งในระหว่างการเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า ?ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ? ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของ่างกายอันได้แก่พลังและท่าทางของร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเอยร่างกายดังนั้นท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่ 1. 換筋功 คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น 2. 洗髄功 คัมภีร์ฟอกไขกระดูก 3. 十八羅漢禦 ฝ่ามือสิบแปดอรหันต์ และคัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ซึ่งคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้หมายถึง การบริหารแกว่งแขน คำว่า ?เปลี่ยนเส้นเอ็น? มิใช่หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจชองการแทพย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็นด้วยการออกกำลังกาย โดยวิธีแกว่งแขนซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด ต่อมา ?คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น? นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า ?กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค? เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตำราโบราณนึ้เป็นหนังสือวิชาที่เก่าแก่มีอายุถึง 1400 ปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีน อันมิอาจประมาณค่าได้ชิ้นหนึ่ง คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นมีประโยชน์อย่างไร คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น คือ กายบริหารแกว่งแขน เป็นวิธีออกกำลังเพื่อบริหารร่างกายที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่ง หลังจากได้มีการค้นพบ และเผยแพร่ตำรานี้ออกมาที่ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่าย ๆ นี้รักษาให้ให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จนแทนไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ กายบริหารแกว่างแขนนี้ ทำง่าย หัดง่ายและเป็นเร็ว นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำการบริหารแบบนี้ เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้ สิ่งที่เป็นปัญหาเกิดขัดแย้งกันภายในร่างกายของคนเรา จนก่อให้เกิดความไม่สบายแก่ร่างกายนั้น แพทย์จีนแผนโบราณกล่าวว่า เกิดจาก ?เลือดลม? เป็นต้นเหตุ หากเลือดลมภายในร่างกายของเราผิดปกติโรคต่าง ๆ มากมายก็จะเกิดขึ้นกับเราทันที เริ่มแรก จะทำให้เรา รับประทานอาหาร ได้น้อยลง นอนหลับน้อยลง ต่อไปก็จะกระทบกระเทือนถึงสภาพของร่างกาย คือทำให้ซูบผอมอ่อนแอเป็นต้น เมื่อเราทำให้เลือดลมเดินสะดวกไม่ติดขัดแล้วโรคร้ายทั้งหลายก็จะหายไปเอง โดยอาศัยหลักดังกล่าวนี้ การทำกายบริหารแกว่งแขน จึงสามารถแก้ไขเลือลมและเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย หากแก้ให้ถูกจุดสำคัญที่ขัดแย้งกันเสียก่อนได้ เมื่อนั้นปัญหาอื่น ๆ ก็จะแก้ได้ง่ายดายขึ้น ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่คนเราเกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อันเนื่องจากการคร่ำเคร่งปฏิบัติงานไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอริยาบถ จนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะชูแขน เหยียดขา ยืดตัวจนสุด อย่างที่คนทั่วไปเรียกว่า ?บิดขี้เกียจ? ทันทีหลังจากนั้นเราจะรู้สึกสบายตัว กระชุมกระชวยขึ้นอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งอาการเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือ ?การยืดเส้นเอ็น? ตามความหมายในคัมภีร์โบราณนั่นเอง การที่เส้นเอ็น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย มีโอกาสยืดขยายหรือถูนวดเฟ้น จะทำให้เลือดลมภายในสามารถกระจายไหลเวียนได้สะดวก อันเป็นเหตุให้เกิดความผ่อนคลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเกิดความกระ...กระเปร่าสดใสขึ้น และที่สำคัญ เลือดลมที่ไหลเวียน หล่อเลี้ยง ไปทั่วร่างกาย ได้อย่างสะดวกจะช่วยเปลี่ยนสภาพอวัยวะทีแข็งกระด้างซึ่งเป็นความผิดปกติให้กลับกลายเป็นอ่อนนิ่ม และจาพสภาพที่อ่อนแอ ไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลับคืนมาเป็นแข็งแรงและมีสมรรถภาพดีขึ้น แต่โดยทั่วไปคนเราได้ละเลย และมองข้ามความสำคัญของกายบริหารกายเพื่อยืดขยายเส้นเอ็นในร่างกาย จึงทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก และติดขัด เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ที่มีน้ำมันถูกส่งมาหล่อเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ ย่อมเป็นเหตุให้รถที่วิ่งไปมีการกระตุก ๆ ไม่ราบรื่น ร่างกาย ของคนเรา ก็เช่นกัน หาก เลือดลมติดขัด ก็จะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ สุขภาพจะทรุดโทรมย่ำแย่ลงไปเรื่อย ๆ อันที่จริงการเจ็บป่วย ไม่วาจะป่วยเป็นโรคชนิดใด ใช่ว่าจะเป็นเรื้อรังอยู่เช่นนั้นโดยไม่มีทางแก้ไขเยียวยาก็หาไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต่อสู้กับโรคชนิดนั้นหรือไม่ หากเราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่เกาะกินเราจนถึงที่สุดแล้ว แน่นอนเหลือเกิน เราจะต้อง ประสบชัยชนะ การบริหารร่างกายโดยวิธีแกว่งแขนนี้มีเหตุผลและหลักวิชาที่ลึกซึ้งแยบยล มิใช่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติไป โดยหลงงมงาย ขาดเหตุผลแต่อย่างใด ฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปรารถนาในความมีสุขภาพแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม ควรศึกษาและทำความเข้าใจ วิธีปฏิบัติ ไปตามลำดับโดยเริ่มตั้งแต่ 1. เรียนรู้หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น 2. เคล็ดวิชา 16 ประการ ของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น 3. เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น ลองดู อาจจะจิงก็เป็นได้ ![]() |