ศาลไคฟง
ปัจจุบันอยู่ในอำเภอไคฟงหรือไคเฟิงเดิมจมน้ำไปแล้ว เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เป็นศาลที่ในสมัยก่อนเปาบุ้นจิ้นเคยตัดสินคดีที่นี่ โดยปัจจุบันในเวลา 9 นาฬิกา จะมีเปาบุ้นจิ้นตัวปลอม ออกมาการแสดงเปิดศาลไคฟงและออกมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และเครื่องประหารทั้ง 3 (หัวมังกรสำหรับเชื้อพระวงศ์ หัวพยัคฆ์ใช้ประหารขุนนางและข้าราชการ ส่วนหัวสุนัขเอาไว้ประหารคนทั่วไป) จะจัดแสดงไว้ที่หน้าห้องตัดสินคดีความ ด้านในจะมีหุ่นขี้ผึ้งของคนในศาลไคฟง บริเวณด้านหลังที่ทำการจะมี "ชิงซินโหลว" หรือ "บ้านใจบริสุทธิ์" เป็นหอสูง 4 ชั้น ที่ว่ากันว่าบ้านหลังนี้ คือบ้านของเปาบุ้นจิ้น โดยในหอชั้นที่ 1 จะมีรูปปั้นเปาบุ้นจิ้นอยู่ รูปปั้นนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 3.8 เมตร หนัก 5.6 ตัน นับเป็นรูปปั้นที่หนักที่สุดในเมืองจีน
เปาบุ้นจิ้น
เปาบุ้นจิ้น (ภาษาจีน: 包拯; พินอิน:Bāo Zhěng หรือ 包青天; Bao Qingtian เปาชิ่งเทียน) เป็นบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน กล่าวกันว่าเคยมีชีวิตอยู่จริงระหว่างปี ค.ศ. 999 - 1062(บางตำราบอกว่าค.ศ. 1104) รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพในฐานะเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม
ชื่อ
มีชื่อจริงว่า เปาเหวินเจิ่ง (包拯) ชาวจีนเรียกว่า เปากง (หมายถึง ปู่เปา) ส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นคำในสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เปาอุ๋นเจิ่ง หน้าสุสานบันทึกไว้ว่า เปาเซี่ยวซู่[1]
[แก้] ประวัติ
มีประวัติเล่าว่าเปาบุนจิ้นรับราชการเป็นเวลา 45 ปี ในฝ่ายบริหาร เริ่มตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เจ้าเมืองไคฟง เสนาบดีการคลัง เป็นต้น ประวัติของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่เน้นที่การตัดสินความ แม้ว่าความจริงแล้ว เปาบุ้นจิ้นไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่อง และคอยร้องทุกข์ต่อเปาบุ้นจิ้นเสมอ
เปาบุ้นจิ้นมีหลักในการบริหารว่า "จิตใจสะอาด บริสุทธิ์ คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้ อย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้"
นอกเหนือจากการตัดสินคดีอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เปาบุ้นจิ้นก็ยังมีชื่อเสียง ในฐานะข้าราชการตงฉิน ไม่เคยรับสินบนใดๆ แม้จะเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม
มีการเขียนยกย่องเปาบุ้นจิ้นไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์จีน ว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลว แต่ท่านก็มิใช่เป็นคนดุร้าย ท่านเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา ท่านไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง เสื้อผ้า เครื่องใช้และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นคนสามัญธรรมดาเลย เปาบุ้นจิ้นนับว่าเป็นคนที่มีอายุยืนยาวคนหนึ่ง เปาบุ้นจิ้นมีอายุถึง 105 ปีก่อนจะสิ้นใจ
ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นนี้มีปรากฏการบันทึกไว้เพียงเล็กน้อย แต่มีการแต่งไว้ในเรื่องพื้นบ้าน นิทาน หรือละครมากมาย ซึ่งนับได้ว่าเรื่องราวการสอบสวนคดีของเปาบุ้นจิ่น ถือเป็นนิยายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่องแรกของโลกด้วย ไม่ว่าจะเรื่องราวเหล่านั้นแปลกออกไปเพียงใด เนื้อแท้ก็คงยังต้องการสะท้อนความจริงที่ว่าสังคมยังต้องการยกย่องคนทำดี และมีความชื่นใจที่คนทำชั่วได้รับผลกรรม
ปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นได้รับการเคารพยกย่องเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนโพ้นทะเล และชนชาติอื่นๆ แม้กระทั่งชาวไทย และมีการสร้างเรื่องราวเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง
รูปเคารพที่ว่ากันว่าสร้างหลังจากเปาบุ้นจิ้นถึงแก่อนิจกรรมได้นำมาไว้ในเมืองไทยโดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) ใกล้กับวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
เมืองต้าหลี่
|
อิตเต็งไต้ซือ |
#21 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 20:24:28 ] |
|
อิตเต็งไต้ซือ |
#22 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 20:24:52 ] |
|
อาตมาหาไห้ เเล้ว ถ้า ขาดตกอ่ะไรไป ขอ อภัยด้วย |
อิตเต็งไต้ซือ |
#23 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:13:32 ] |
|
ประเทศจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国 จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國 พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó อังกฤษ: People"s Republic of China (PRC) ; ) ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ชาวตะวันตกเรียกรวม ๆ ว่า China (จีน) ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก และมีขนาดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงรัสเซียและ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) คือ เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน สิกขิม เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และ เกาหลีเหนือ ตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน เกาะเผิงหู เกาะเอ้ห... (จีนกลาง: จินเหมิน) และหมู่เกาะม้าซู้ (จีนกลาง: หมาจู่) แต่ไม่ได้ปกครอง โดยที่เกาะเหล่านี้ปกครองโดยสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงไทเป (จีนกลาง: ไถเป่ย) ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ คำว่า จีนแผ่นดินใหญ่ ใช้เรียกส่วนของจีน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ส่วนใหญ่จะยกเว้นเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า) บางคนนิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า จีนแดง (Red China) โดยเฉพาะผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจีนปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอํานาจในภูมิภาคเอเชียมีเศรษฐกิจและกํลังทางทหารใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย บทนำ ประเทศที่มีประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี ประเทศที่มีประชากรมากสุดในโลก ประมาณ 1,300 ล้านคน ประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยถึง 55 ชนชาติ (ที่ทางการจีนยอมรับ) ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก (รองจากรัสเซีย และ แคนาดา) ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับเพื่อนบ้านถึง 15 ประเทศ ประเทศที่มีอัตราเติบโต ทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่องยาวนาน (ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก) ประเทศที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีได้เผยแผ่ไปทั่วโลก ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีอาหารที่หลากหลายชนิดแห่งหนึ่งของโลก ประวัติศาสตร์ สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน หลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิงก็ได้ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีนจึงได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด การปฏิวัติ การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีหัวข้อดังนี้ ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร 3. การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 3.1 ความสำคัญ การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ 3.2 สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) สรุปได้ดังนี้ (1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (2) การเผยแพร่อุดมการคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน 3.3 ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949 สรุปได้ดังนี้ (1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เหมา เจ๋อตุง” รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของ เอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน (2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม (2) นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มี ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่ - ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน - ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า 3.4 ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 คือ (1) การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตง” เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง (2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” โดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ |
อิตเต็งไต้ซือ |
#24 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:14:54 ] |
|
เมืองหลวงของจีน ราชวงศ์ชาง อิน (殷) 1350 ปีก่อน ค.ศ. - 1046 ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์โจวตะวันตก เฮา (鎬) 1046 ปีก่อน ค.ศ. - 771 ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์โจวตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) 770 ปีก่อน ค.ศ. - 256 ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์ฉิน เสี้ยนหยาง (咸陽) 221 ปีก่อน ค.ศ. - 206 ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ฉางอาน (長安) 206 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 9 ราชวงศ์ซิน ฉางอาน (長安) พ.ศ. 551 - 566 (ค.ศ. 8 - 23) ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 568 - 763 (ค.ศ. 25 - 220) ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 808 - 859 (ค.ศ. 265 - 316) ราชวงศ์จิ้นตะวันออก เจียนขั่ง (建康) พ.ศ. 860 - 963 (ค.ศ. 317 - 420) ราชวงศ์สุย ต้าซิง (大興) พ.ศ. 1124 - 1161 (ค.ศ. 581 - 618) ราชวงศ์ถัง ฉางอาน (長安) พ.ศ. 1161 - 1450 (ค.ศ. 618 - 907) ราชวงศ์ซ่งเหนือ ไคฟง (開封) พ.ศ. 1503 - 1670 (ค.ศ. 960 - 1127) ราชวงศ์ซ่งใต้ Lin"an (臨安) พ.ศ. 1670 - 1822 (ค.ศ. 1127 - 1279) ราชวงศ์หยวน ต้าตู (大都) กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1264 - 1368) ราชวงศ์หมิง หนานจิง (南京) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1368 - 1420) ราชวงศ์หมิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1420 - 1644) ราชวงศ์ชิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2187 - 2454 (ค.ศ. 1644 - 1911) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2455 - 2471 (ค.ศ. 1912 - 1928) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2471 - 2480 (ค.ศ. 1928 - 1937) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 อู่ฮั่น (武漢) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1934 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2480 - 2488 (ค.ศ. 1937 - 1945 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 หนานจิง (南京) พ.ศ. 2488 - 2492 (ค.ศ. 1945 - 1949) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 กว่างโจว (廣州) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน) สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน) สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ไทเป (臺北) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#25 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:21:20 ] |
|
เขตพื้นที่และสภาพแวดล้อม แผนกการเมืองตามประวัติศาสตร์ เขตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีนแผนกการเมืองระดับบนสุดของจีนได้ดัดแปลงเป็นการบริหารที่เปลี่ยนแปลงระดับบนสุดที่รวมถึงวงจรและจังหวัดข้างล่างจังหวัดนั้นที่นั่นได้คือหน่วยงาน เขต และจังหวัด แผนกเมื่อไม่นานยังรวมถึง อํนาจหน้าที่เขตปกครอง - เมืองระดับ เมืองระดับจังหวัด เมืองและ โดยทั่วไปราชวงศ์จีนส่วนมากถูกในยอดยกมา heartlands ของจีนรู้เป็นจีนเหมาะสมราชวงศ์ต่างๆยังขยายเข้าไปในเขตพื้นที่อุปกรณ์เสริมชอบภายใน มองโกเลีย แมนจูเรีย ซินเจียง และทิเบต ราชวงศ์ชิง ที่ชาวแมนจูตั้งและผู้สืบทอด สาธารณรัฐจีน และ สาธารณรัฐประชาชนจีนรวบรวมเขตพื้นที่เหล่านี้เข้าไปในจีนจีนเหมาะสมถูกคิดให้ถูกโดยกำแพงที่ยิ่งใหญ่และขอบของ ที่ราบสูง ชาวทิเบต แมนจูเรีย และภายใน มองโกเลีย ถูกค้นพบเพื่อทิศเหนือของกำแพงที่ยิ่งใหญ่ของจีนและแนวแบ่งเขตระหว่างพวกเขาสามารถอันใดอันหนึ่งถูกใช้เป็นพรมแดนของขวัญระหว่างภายในมองโกเลีย การเมือง ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี การแบ่งเขตการปกครอง เขตการปกครองของจีนนั้น ตามรัฐธรรมนูญของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล (省) และรัฐบาลจีนยังถือไต้หวัน/ไถวาน (台湾) เป็นมณฑลที่ 23 (มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีน) รัฐบาลจีนยังอ้างสิทธิเหนือเกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากมณฑลแล้วยังมีเขตปกครองตนเอง (自治区) 5 แห่งซึ่งมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก เทศบาลนคร (直辖市) 4 แห่งสำหรับเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเขตบริหารพิเศษ (Special Administrative Regions, SARs) (特别行政区) ที่จีนเข้าไปปกครอง โดยการแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นดังนี้ มณฑล อันฮุย (安徽) ฝูเจี้ยน (福建) (ฮกเกี้ยน) กานซู (甘肃) กว่างตง (กวางตุ้ง) (广东) กุ้ยโจว (贵州) ไห่หนาน (ไหหลำ) (海南) เหอเป่ย์ (河北) เฮย์หลงเจียง (黑龙江) เหอหนัน (河南) หูเป่ย์ (湖北) หูหนาน (湖南) เจียงซู (江苏) เจียงซี (江西) จี๋หลิน (吉林) เหลียวหนิง (辽宁) ชิงไห่ (青海) ส่านซี (陕西) ชานตง (山东) ชานซี (山西) ซื่อชวน (เสฉวน) (四川) หยุนหนาน (ยูนนาน) (云南) เจ๋อเจียง (浙江) เขตปกครองตนเอง กว่างซีจ้วง (กวางสี) (广西壮族) มองโกเลียใน (内蒙古) หนิงเซี่ย หุย (宁夏回族) ซินเจียงอุยกูร์ (新疆维吾尔族) ทิเบต (西藏) เทศบาลนคร เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) (北京) ฉงชิ่ง (จุงกิง) (重庆) ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) (上海) เทียนจิน (เทียนสิน) (天津) เขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง/เซียงกั่ง (香港) มาเก๊า/เอ้าเหมิน (澳門) ภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในเอเซียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดาประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ถึง 15 ประเทศ ด้วยมีความยาวถึง 22,800 กม. ข้ามทะเลไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มี เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แผ่นดินใหญ่จีนถูกขนาบทางตะวันออกไปทางใต้ด้วยทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีพื้นที่น้ำรวม 4.73 ล้านตาราง กิโลเมตร ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ เป็นส่วนประกอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยถึง 5,400 เกาะ จึงทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตทางทะเลที่ใหญ่มาก เกาะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ 36,000 ตาราง กิโลเมตร คือ ไต้หวัน ตามด้วยเกาะไหหลำ 34,000 ตาราง กิโลเมตร เกาะ Diaoyu กับเกาะ Chiwei ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวันเป็นเกาะตะวันออกสุดของจีนเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงหินโสโครก และ ฝูงปลา ในทะเลจีนใต้ เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็นตงชา ซีชา จงชา และหนานชา รวม 4 กลุ่ม ภูมิอากาศ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมภาคพื้นทวีปที่มีหลากหลายรูปแบบ ลมเหนือจะมีอิทธิพลสูงในฤดูหนาว ในขณะที่ลมใต้จะมีบทบาทในฤดูร้อน มีผลถึง 4 ฤดู ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีฤดูฝนปนอยู่กับฤดูร้อน ภูมิอากาศที่ซับซ้อน และหลากหลายของจีน มีผลให้สามารถแบ่งแถบอิงอุณหภูมิ กับแถบอิงความชื้นของภาคพื้นของประเทศจีนได้ คือแบ่งแถบอิงอุณหภูมิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือเป็น แถบเส้นศูนย์สูตร ร้อนชื้น กึ่งร้อนชื้น อบอุ่น และแถบหนาวเย็น และแบ่งแถบอิงความแห้ง - ชื้น จากตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแถบความชื้นสูง ประชากร และ ชนเผ่า ชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศจีนคือ ชนเผ่าฮั่น 92 % ของประชากรทั้งหมด อื่นๆอีก 55 ชนเผ่า 8 % ของประชากรทั้งหมด เช่น ที่ ชนเผ่า ประชากร เขตปกครอง 1. จ้วง 16 ล้านคน เขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง ฯลฯ 2. แมนจู 10 ล้าน 3. หุย 9 ล้าน เขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ฯลฯ 4. ม้ง 8 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน ฯลฯ 5. อุยกูร์ 7 ล้าน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ฯลฯ 6. อี๋ 7 ล้าน มณฑลยูนนาน ฯลฯ 7. ตูเจีย 5.75 ล้าน 8. มองโกล 5 ล้าน เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ฯลฯ 9. ทิเบต 5 ล้าน เขตปกครองตนเองทิเบต ฯลฯ 10. ปู้ยี 3 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว ฯลฯ 11. เกาหลี 2 ล้าน เศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากภายใต้นโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก เป็นรองแต่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเน้นผลผลิตทางการเกษตรให้พอเพียงสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็จะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีระดับสูงด้วย ในขณะที่จีนเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้เพียง 5 ปี ในปี 2549 จีนได้มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 9.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.7 สูงถึง 20.94 ล้านล้านล้านหยวน หรือ 2.68 ล้านล้านล้านดอลลาร์ สูงที่สุดในรอบ 11 ปี [1] ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ทำให้รัฐบาลจีนออกมาตรการต่างๆ เพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปริมาณการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือจีนนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา 4 ปีแล้ว [2] จีนมีคู่ค้าสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนี เงินตราสกุลเงินของจีนนั้นเรียกว่า “เหรินหมิน...” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元) 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.70 หยวน (2550) 1 ยูโร เท่ากับ 10.46 หยวน (2550) 1 หยวน เท่ากับ 4.53 บาท (2550) รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 1,515 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549) (ปี 2546 เป็นปีแรกที่สูงเกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) GDP ประมาณ 2,720,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549) ถือว่าเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เยอรมนี) ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 1.20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550) อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2548) การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้ ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง สำหรับประเทศไทยที่ได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหลายแขนงมาเป็นเวลานาน แต่ยังต้องนำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบและเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งที่มีผู้ประกอบการและนักวิชาการในอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ ที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ อาจเป็นเพราะว่าเรายังขาดอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอุตสาหกรรมหนัก ทำให้อุตสาหกรรมที่ยังขาดหายในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เกษตร และอาหาร ช่วงวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2550 โครงการส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน มีแผนศึกษาโอกาสการลงทุนที่นครเสิ่นหยางและนครต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมหนักของจีน โดยเน้นอุตสาหกรรมต่อเรือ เครื่องจักรกล และยานยนต์ จึงขอเชิญชวนร่วมคณะเพื่อหาโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมหนักของไทยในอนาคต โดยสามารถติดต่อได้ที่โครงการส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน โทรศัพท์ 02-9369914 จึงน่าจะถึงเวลาที่เราควรรวมพลังของนักวิชาการและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างรากฐานและเชื่อมต่อห่วงโซ่ที่ขาดหายไปเหล่านี้ให้สมบูรณ์ ก็จะสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถพึ่งตนเองแบบครบวงจรในอนาคต เมืองใหญ่ ดูรายชื่อทั้งหมดที่รายชื่อเมืองในจีนเรียงตามจำนวนประชากร อันดับเมืองขนาดใหญ่ 20 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร อันดับ เมือง มณฑล ประชากร อันดับ เมือง มณฑล ประชากร เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ฉงชิ่ง 1 เซี่ยงไฮ้ - 14,530,000 11 เฉิงตู เสฉวน 3,750,000 2 ปักกิ่ง - 10,300,000 12 ฉงชิ่ง - 3,270,000 3 เซินเจิ้น กวางตุ้ง 11,820,000 13 ชิงเต่า ซานตง 3,200,000 4 กวางโจว กวางตุ้ง 7,050,000 14 ถางซาน เหอเป่ย์ 3,200,000 5 ฮ่องกง - 6,840,000 15 นานกิง เจียงซู 3,110,000 6 ตงกว่าง กวางตุ้ง 6,450,000 16 ซีโบ ซานตง 2,900,000 7 เทียนจิน - 5,190,000 17 ฝูโจว ฝูเจี้ยน 2,600,000 8 อู่ฮั่น หูเป่ย์ 1,105,289 18 ฉางซา หูหนาน 2,520,000 9 ฮาร์บิน เฮย์หลงเจียง 4,754,753 19 หนานชาง เจียงซี 2,440,000 10 เฉิ่นหยาง เหลียวหนิง 4,420,000 20 อู๋ซี เจียงซู 2,400,000 กองทัพ ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 กองทัพของประเทศจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วกองทัพเรือ ตำรวจมีอาวุธในข้อตกลงที่แท้จริงของกองทัพแดง ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งอาวุธที่มีนั้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศรัสเซีย จีนเพิ่มกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 4 ของโลก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สถานะของยุคหลังสงครามโลก หรือที่เรียกกันว่ายุคสงครามเย็นได้ยุติลง ได้ส่งผลให้ขั้วของการเป็นมหาอำนาจได้เปลี่ยนแปลงไปสหรัฐอเมริกาเองปรารถนาที่จะเป็นขั้วอำนาจขั้วเดียวในโลกโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่มุ่งไปสู่ความเป็นมหาอำนาจชาติเดียว ในขณะเดียวกันประเทศที่ศักยภาพอย่างจีนได้พยายามที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ประเทศมหาอำนาจ โดยการเร่งพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และที่ขาดไม่ได้นั่นคือ การพัฒนาให้กองทัพมีศักย์ในการดำเนินสงครามโดยการปรับปรุงให้กองทัพให้มีความทันสมัยในช่วง 10 ปี แรกนั้น ภัยคุกคามหลักของจีนนั้น มุ่งไปที่สหภาพโซเวียต ในขณะที่ปัญหาไต้หวันยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับต่ำ ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2538 – 2539 (ค.ศ. 1995 – 1996) ปัญหาเกิดขึ้นบริเวณเกาะไต้หวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้ทิศทางของการพัฒนากองทัพมุ่งไปสู่การรองรับภัยคุกคามที่เกิดจากการพยายามแยกตัวของไต้หวันตั้งแต่ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เป็นต้นมา กองกำลังทางบกได้รับอาวุธและยุทโธปกรณ์พิเศษที่ใหม่ และหลากหลายที่จีนผลิตเองเข้าประจำการ เช่น รถถังหลัก รถถังสะเทินน้ำสะเทินบก รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่อัตตาจร อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ กล้องมองกลางคืน อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าอาวุธจากรัสเซีย เช่น อากาศยานปีกหมุน และ ระบบนำวิถี โดยอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้มีการนำมาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ เมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ที่ผ่านมา ปัจจุบันสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ “Chinese Defense Today Website” อย่างไรก็ตามเนื่องจาก PLA เป็นเป็นกองทัพที่ใหญ่ ดังนั้นการนำเอาอาวุธใหม่เข้าประจำการพร้อมกันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ทำให้หลายหน่วยยังคงใช้อาวุธเก่าอยู่จนกว่าจะได้รับของใหม่เข้าประจำการ นอกจากนี้ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักนิยมการรบร่วม (Joint Operations Doctrine) จากที่กล่าวนั้นจะเห็นได้ว่ากองทัพจีนนั้นมีการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยซึ่งได้พัฒนากันมานานนับ 10 ปี แต่ก็เป็นการพัฒนาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะเป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังพลจำนวนมากถึง 2.3 ล้านคน มีขอบเขตหรือดินแดนที่ต้องรับผิดชอบอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งทางบกและทางทะเล การพัฒนาต่างๆ คงจะต้องดำเนินต่อไป โดยมีหน่วยงานเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Forces: SOF) การพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล การพัฒนากองกำลังทางเรือ การพัฒนาหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่ง การขนส่งในแผ่นดินใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนของคนได้ปรับปรุงตั้งแต่ในปี1990 เป็นส่วนของความพยายามการปกครองเพื่อเชื่อมชาติทั้งหมดผ่านชุดของทางด่วนที่รู้เป็นระบบทางหลวงลำตัวแห่งชาติ (NTHS) ความยาวรวมของทางด่วนคือ45,000 กม.ในปี2006ที่เท่านั้นเพื่ออเมริการถส่วนตัว เจ้าของกรรมสิทธิ์กำลังเพิ่มที่อัตราประจำปีของ15%,แม้มันยังไม่ทั่วไปเพราะว่านโยบายการปกครองซึ่งทำรถ เจ้าของกรรมสิทธิ์ราคาแพงเช่น ถนนภาษีและค่าใช้จ่าย การเดินทางอากาศได้เพิ่มแต่ยังคงไม่ต้องแปลแพงเกินไปการขนส่งระยะยาวยังถูกเด่นโดยระบบรถบัสทางรถไฟและแผนภูมิกว่า ทางรถไฟยังคือรถขนส่งที่สำคัญยิ่งในจีนและจนกระทั่งไอน้ำปีนี้ถูกคิดว่าบางคนยังอยู่ในการใช้โดยเฉพาะบนเครือข่ายแห่งอุตสาหกรรมเมือง เช่นปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้คือตึกระบบรางที่สว่าง นโยบายทางชนชาติของจีน จีนเป็นประเทศเอกภาพที่มีหลายชนชาติ รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายทางชนชาติที่ให้ ชนชาติต่าง ๆ มีความเสมอภาค สมานสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและขนบธรรมเนียมของชนชาติส่วนน้อยระบบปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นระบบการเมืองอันสำคัญอย่างหนึ่งของจีน คือ ให้ท้องที่ที่มีชนชาติส่วนน้อยต่าง ๆ อยู่รวม ๆ กันใช้ระบบปกครองตนเอง ตั้งองค์กรปกครองตนเองและใช้สิทธิอำนาจปกครองตนเอง ภายใต้การนำที่เป็นเอกภาพ ของรัฐ รัฐประกันให้ท้องที่ที่ปกครองตนเองปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของรัฐตามสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่นของตน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ บุคลากรทางวิชาการและ กรรมกรทางเทคนิคชนิดต่าง ๆ ของชนชาติส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก ประชาชน ชนชาติต่าง ๆ ในท้องที่ที่ปกครองตนเองกับประชาชนทั่วปแระเทศรวมศูนย์กำลังดำเนิน การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัย เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในท้องที่ที่ ปก ครองตนเองให้เร็วขึ้นและสร้างสรรค์ท้องที่ที่ปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยที่สมานสามัคคีกันและเจริญรุ่งเรือง ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระหว่างการปฏิบัติเป็นเวลาหลายสิบปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ของจีนได้ก่อรูปขึ้นซึ่งทรรศนะและนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาทางชนชาติหลายประการที่สำคัญได้แก่ การกำเนิด การพัฒนาและการสูญสลายของชนชาตินั้นเป็นกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัญหาชนชาติจะดำรงอยู่เป็นเวลานาน ระยะสังคมนิยมเป็นระยะที่ชนชาติต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาและเจริญรุ่งเรือง ปัจจัย ร่วมกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ลักษณะพิเศษและข้อ แตกต่างระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะดำรงอยู่ต่อไป ปัญหาชนชาติเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั่วสังคม มีแต่แก้ปัญหาทั่วสังคมให้ลุล่วง ไปเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติจึงจะได้รับการแก้ไขอย่างมีขั้นตอน มีแต่ในภารกิจร่วมกัน ที่สร้างสรรค์สังคมนิยมเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติของจีนในปัจจุบันจึงจะได้รับการ แก้ไขอย่างมีขั้นตอนได้ ชนชาติต่าง ๆ ไม่ว่ามีประชากรมากหรือน้อย มีประวัติยาวหรือสั้นและมีระดับ การพัฒนาสูงหรือต่ำ ต่างก็เคยสร้างคุณูปการเพื่ออารยธรรมของปิตุภูมิ จึงควรมีความ เสมอภาคทั้งนั้น ควรเสริมสร้างความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ระหว่างประชาชนชนชาติต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและรักษาเอกภาพแห่งชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่เป็นภาระหน้าที่มูลฐานแห่งสังคมนิยม และก็ เป็นภาระหน้าที่มูลฐานของงานชนชาติของจีนในขั้นตอนปัจจุบัน ชนชาติต่าง ๆ ต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุซึ่งความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน การปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต่อทฤษฎีชนชาติของลัทธิมาร์กซ และเป็นระบอบมูลฐานในการแก้ปัญหาชนชาติของจีนการพยายามสร้างขบวนเจ้าหน้าที่ชนชาติส่วนน้อยขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีทั้งคุณธรรม และขีดความสามารถเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการทำงานทางชนชาติให้ดีและแก้ปัญหาทางชนชาติให้ลุล่วงไปปัญหาทางชนชาติกับปัญหาทางศาสนามักจะผสมผสานอยู่ด้วยกันในท้องที่บาง แห่ง ขณะจัดการกับปัญหาทางชนชาติ ยังต้องสังเกตปฏิบัติตามนโยบายทางศาสนา ของรัฐอย่างทั่วด้านและถูกต้องนอกจากนี้ ในขณะเดียวกันกับที่พยายามส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาตลอดจนภารกิจอื่นๆ ของเขตชนชาติส่วนน้อย ยกระดับชีวิตทาง วัตถุและวัฒนธรรมของประชาชนชนชาติส่วนน้อยอันไพศาลซึ่งรวมทั้งชาวศาสนาด้วยให้สูงขึ้น รัฐบาลจีนยังสนใจเคารพความเชื่อถือทางศาสนาของชนชาติส่วนน้อยและรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติส่วนน้อยเป็นพิเศษ สำรวจ เก็บสะสม ศึกษา จัดให้เป็น ระเบียบและจัดพิมพ์จำหน่ายมรดกทางวัฒนธรรมและศิลปะพื้นเมืองของชนชาติต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวัฒนธรรมทางศาสนาด้วย รัฐบาลยังได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อซ่อมแซม วัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาอันสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในเขตชนชาติส่วนน้อย สภาพทางการทูตโดยสังเขป นโยบายทางการทูตของจีน นโยบายทางการทูตของจีน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอเมริกา ญี่ปุ่น และรัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างจีนรัสเซีย องค์การระหว่างประเทศกับจีน อาเซียนกับจีน องค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้กับจีน สหประชาชาติกับจีน องค์การเอเปกกับจีน องค์การการค้าโลกกับจีน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการเมือง ทางการไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศดำเนินมาด้วยความราบรื่นบนพื้นฐานของความเสมอภาค เคารพซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน และอยู่ภายใต้หลักการของผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาค ความร่วมมือกันของทั้ง 2 ได้ดำเนินมาอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นเมื่อจีนสามารถได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนทุกประเทศแล้ว ความสำคัญของประเทศไทยต่อจีนในทางยุทธศาสตร์ได้ลดลงไปจากเดิม ความสัมพันธ์ในปัจจุบันจึงได้เน้นด้านการค้าและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของผลประโยชน์ต่างตอบแทนเป็นหลัก ไทยและจีนไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ ที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์ การไปมาหาสู่ของผู้นำระดับสูงสุดก็ได้เป็นไปอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะการเสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2543 การเสด็จฯ เยือนจีนของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของสองประเทศอีกด้วย ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย - จีน มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในทุกด้าน ทั้งกรอบทวิภาคี พหุภาคี และเวทีภูมิภาค เช่น การประชุมอาเซียนและจีน อาเซียน + 3 ARF ASEM เป็นต้น ในการเยือนจีนเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ทางไทยและจีนต่างเห็นพ้องที่จะมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์และขอบข่ายความร่วมมือระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในลักษณะของความเป็นหุ่นส่วนทางยุทธศาสตร์ การเยือนจี]ของนายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จหลายด้าน เช่น ความร่วมมือด้านยาเสพติด ด้านการเงิน การคลัง พาณิชย์นาวี รวมทั้งได้ลงนามความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย - จีน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย - จีน เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างปไทยและจีน ทั้งสองประเทศจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกันเป็นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้นำ โดยนายกรัฐมนตรีไทย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเยือนจีน อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อร่วมฉลองในกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลไทย และรัฐบาลจีนร่วมกันจัดขึ้นที่ประเทศจีน การจัดกิจกรรมฉลองร่วม การจัดทำหนังสือที่ระลึก การจัดงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน และการแลกเปลี่ยนเยาวชน เป็นต้น ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนนครหนานหนิง เมื่อวันที่ 30 - 31 ตุลาคม 2549 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ที่จัดขึ้นในโอกาสที่อาเซียนและจีนฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 15 ปี โดยได้พบหารือกับผู้นำระดับรัฐบาลและระดับท้องถิ่นของจีน รวมถึงผู้นำอีก 9 ประเทศของอาเซียน ซึ่งการเยือนประสบผลสำเร็จอย่างดี ด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ได้มีการลงนามความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย -จีน ซึ่งช่วยลดอุปสรรคด้านภาษีในการค้าสินค้าผักและผลไม้ (สินค้าพิกัดภาษี 07 08) ทั้งประเทศไทย และ จีน มีความพร้อมในการลดภาษีอยู่แล้ว ซึ่งได้มีผลยกเว้นภาษีสำหรับสินค้า 116 รายการ ในพิกัดภาษี 07 08 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 การค้าไทย และ จีน ในปี 2548 มีมูลค่า 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.31 ประเทศไทยส่งออก 9,183.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 11,159.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าไทย และ จีน ในปี 2549 มีมูลค่า 25,154.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 ประเทศไทยส่งออก 11,708.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 13,445.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ทางการจีนนำเข้าจากไทยที่สำคัญมากที่สุดคือ สายอากาศและเครื่องสะท้อนสัญญาณทางอากาศ พลาสติก มันสำปะหลัง คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า ไม้ที่เลื่อยแล้ว ส่วนสินค้าที่จีนส่งออกมาไทยที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แผ่นเหล็กรีดร้อน เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เงิน ตะกั่ว การลงทุนของไทยในจีนเมื่อปี 2548 ไทยลงทุนในจีนรวม 95.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ธัญพืช ฟาร์มสัตว์ มอเตอร์ไซค์ โรงแรม ร้านอาหาร การนวดแผนไทย ส่วนการลงทุนของจีนในไทยในปีเดีวกัน จีนลงทุนในไทยรวม 2,286 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก และอุตสาหกรรมโลหะพื้นฐานการลงทุนที่จีนได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจีนมีจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ ประกอบด้วยกิจการก่อสร้าง การค้า ธนาคาร การแปรรูปโลหะ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ สายการบิน เครื่องจักร ร้านอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วัฒนธรรม |
อิตเต็งไต้ซือ |
#26 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:25:04 ] |
|
ภาพยนตร์จีน ภาพยนตร์จีน คือภาพยนตร์ที่พูดภาษาจีน แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ภาพยนตร์ฮ่องกง ภาพยนตร์ไต้หวัน และ ภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ สำหรับในประเทศไทยภาพยนตร์จีนมักหมายถึงภาพยนตร์ฮ่องกง ภาษาจีนในภาพยนตร์จีน ส่วนใหญ่เป็น ภาษาจีนแมนดารินและภาษาจีนกวางตุ้ง สิ่งที่ทำให้หนังทั้งสองภาษาแตกต่างกันมากที่สุด ก็คือจุดประสงค์ในการสร้าง ขณะที่หนังแมนดารินนั้น มีเป้าหมายส่วนหนึ่งในการทำเพื่อฉายวงกว้าง ทั้งตลาดทั่วทั้งเอเซีย และอาจจะไปไกลได้มากกว่านั้นอีก เพราะศักยภาพของภาษาแมนดาริน ที่เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลายในทั่วโลก ตรงกันข้ามหนังกวางตุ้งนั้นมีคนดูที่จำกัดเฉพาะอยู่ในกลุ่มผู้พูดภาษากวางตุ้ง หรือ อาจจะพูดได้ว่าเป็นหนัง ของคนฮ่องกงที่ทำเองดูเอง ก็ว่าได้ เมื่อจุดประสงค์ในการสร้างต่างกัน เงินทุน และความทะเยอทยาน ในหนังทั้งสองแบบก็ต่างกันตามไปด้วย ประวัติ อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงนั้นเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากผู้สร้างหนังจากจีนแผ่นดินใหญ่ พากันอพยพหนีสงครามกลางเมือง และสงครามระหว่างจีน กับญี่ปุ่น ในช่วงปี 1946 เข้าสู่ฮ่องกง จนกระทั่ง ปี 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสท์จีน ได้รับชัยชนะในการแย่งชิงอำนาจ นั้นทำให้ศูนย์กลางหนังภาษาจีนย้ายจาก เซียงไฮ้สู่ฮ่องกง แต่หลังสงครามช่วงยุค 50 ทั้งบริษัทสร้างหนังจากทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึง นักลงทุนจากเอเซีย เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างข้ามมาลงทุนที่ฮ่องกง ภายในเวลาอันไม่นานหนังฮ่องกงกลายเป็นสินค้าที่ส่งไปทั่วโลกทั้ง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงแทรกซึมไปสู่ชาติตะวันตก ผ่านการฉายตามไชน่าทาวน์ แห่งเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น ในนิวยอร์ก ลอนดอน ซิดนีย์ ภาษาจีนแมนดาริน ภาษจีนแมนดาริน หรือ จีนกลาง เป็นหนึ่งในภาษาพูด ที่นิยมใช้พูดกันในภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง และเป็นภาษาราชการของ ทั้งจีน ไต้หวัน รวมถึงสิงค์โปร์ ทำให้แมนดาริน กลายเป็นภาษาจีน ที่คนใช้มากที่สุด หนังภาษาแมนดาริน ที่นิยมสร้างกันมีหลากหลายแนวทั้ง หนังงิ้ว หนังเพลงแนวมิวสิกคัล เน้น เสื้อผ้าหรูหรา และฉากเต้นรำที่ตะการตา ตามแบบหนังอเมริกัน หนังรักโรแมนติดที่ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อดัง หนังย้อนยุคงานสร้างยิ่งใหญ่อลังการ และหนังกำลังภายใน หนังฮ่องกงที่พูดแมนดารินนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นการเสนอภาพของ ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประเพณีที่เคร่งครัด และแนวคิดทางสังคม ของความเป็น "จีน" แบบแท้ๆ โดยไม่ได้มีความเป็น "ฮ่องกง" เข้ามาเกี่ยวข้อง ภาพยนตร์ภาษาแมนดาริน รุ่งเรืองระหว่างปี 1967 - 1972 ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษากวางตุ้ง เป็นภาษาที่นิยมพูดกันในแถบภาคใต้ของจีน โดยครอบคุมประชากรถึง เกือบ 70 ล้านคน ในฮ่องกงเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้ง หนังกวางตุ้งที่สร้างกันในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่ ก็เป็นหนังงิ้วกวางตุ้งที่เน้นเพลง และดารางิ้วชื่อดัง เพื่อตลาดในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีหนังจำพวกอิทธิฤทธิ์ อภินิหาร ที่เน้นจุดขายเรื่องเทคนิคพิเศษตื่นตาตื่นใจ มากกว่าเนื้อเรื่องในแบบภาพยนตร์กำลังภายใน และที่ลืมไม่ได้ก็คือหนังกังฟูหวงเฟยหงที่สร้างกันกว่าร้อยตอน หนังกวางตุ้ง อีกประเภทที่นิยมสร้างกันก็คือหนังชีวิต แต่เป็นหนังชีวิตประเภทที่ มีความแตกต่างจากหนังแมนดารินอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังชีวิตภาษากวางตุ้ง นั้นมีลีลาทางเมโลดราม่าเพ้อฝันน้อยกว่า แต่มุ่งสะท้อนภาพชีวิต จิตใจของคน ฮ่องกงโดยเฉพาะ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือหนังเรื่อง The Great Devotion ของผู้กำกับ ฉูหยวน หนังกวางตุ้งที่มีลักษณะสะท้อนสังคมยังถูกสร้างอย่างต่อเนื่อง ในยุคปลายยุค 60 เป็นหนัง muj แสดงออกถึงวิญญานอิสระของคนทำหนังฮ่องกงในขณะนั้น ที่ผู้กำกับส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของระบบสตูดิโอ ที่เข้มงวด มุ่งทำหนังเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว หนังภาษากวางตุ้งที่ทำหน้าที่สะท้อนสังคม เรื่องอื่นๆ ได้แก่ ผลงานของผู้กำกับ หลงกง (Lung Kong) ในระหว่างปี 1967 - 1972 หนังกวางตุ้งถูกสร้างออกมาน้อยมาก |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#27 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 07-05-2008 - 22:25:19 ] |
|
ท่านอา ขอรับ เหตุใด ท่านไม่แยกไปสร้าง เมืองจีน ตะหากซะเลย ![]() |
อิตเต็งไต้ซือ |
#28 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:27:29 ] |
|
![]() |
อิตเต็งไต้ซือ |
#29 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:30:00 ] |
|
![]() เจงกิสข่าน:มหาจักรพรรดิของโลกชาวมองโกเลีย ประวัติโดยย่อ จักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เกิดเมื่อปี คศ. 1167 แต่ตามประวัติศาสตร์ของ มองโกล จะระบุว่าเขาเกิดในปี ค.ศ.1162 อย่างไรก็ตามประวัติของ เจงกิสข่าน ก่อนเป็นจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่พบได้น้อยมากชื่อเดิมของท่านคือ เทมูจิน ( Temujin ) จนมาถึงช่วงที่อายุ 9 ขวบก็พอจะทราบได้ว่า บิดาของท่านได้เสียชีวิตลง(ด้วยเหตุอันใดยังไม่ทราบแน่ชัด) หลังจากนั้นมารดาของท่านก็นำครอบครัวที่เหลือไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณทะเลทรายของมองโกเลีย เอาตัวรอดอยู่ด้วยธัญญาหารต่างๆ ระหว่างนั้นมาราดาของเจงกิสข่าน ได้สอนวิธีการยังชีพในสภาพแวดล้อมที่กันดารเช่นนั้นให้ท่านด้วย ด้านรัฐศาสตร์ เจงกิสข่านสามารถรวมเผ่ามองโกล ที่มีอยู่ มากมายหลายเผ่าเข้าเป็นสมาพันธ์ชาวเผ่าได้ตั้งแต่มีวัยเพิ่ง แตกพาน นับเป็นสมาพันธ์แห่งแรกของโลกก็ว่าได้ และต่อมามีการรวมตัวสมาพันธ์ดังกล่าว เข้าเป็นอาณาจักร เดียวกัน โดยมีเจงกิสข่านเป็นกษัตริย์องค์แรก มีการขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ จนอาณาเขตด้านตะวันออก จดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มองโกเลียกลาย เป็นมหาจักรวรรดิขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากการขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างไกลแล้ว ยังรวบรวมช่างฝีมือ และผู้มีศิลปวิทยาการด้านต่างๆ ส่งกลับมายังมองโกเลียด้วย นอกเหนือจากทรัพย์สินเงินทองที่ยึดมาได้จากการบุกโจมตีอาณาจักรต่างๆ ด้านการศาสนา โดยปรกติชาวมองโกเลีย นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิ "เต็งกรี" หรือ ลัทธิบูชาเทพ ชาวมองโกเลียนับถือเจงกิสข่าน เป็นเทพองค์หนึ่ง เป็นเทพชั้นราชาแห่งสวรรค์ แต่พระองค์ก็ไม่ขัดขวาง หรือกดขี่ศาสนาอื่น ดังนั้น ในมองโกเลียจึงมีทุกศาสนา ไม่ว่าพุทธ อิสลาม คริสต์ หรือลัทธิเต็งกรี แม้แต่ในพระบรมราชวงศ์ ของเจงกิสข่านยังมีผู้นับถือศาสนา กันเกือบทุกศาสนา ด้านการทหาร ในยุคของเจงกิสข่าน ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า โลกได้รับความยับเยิน จากภัยสงครามมากกว่ายุคใดในสมัยโบราณ ไม่ว่าสงครามครูเสด สงครามรวมอาณาจักรจีน สงครามในเอเชียกลางไม่มีครั้งไหน ที่บ้านเมืองจะถูกทำลายยับเยิน และผู้คนจะเสียชีวิตมากมายเท่าครั้งนี้ การรบของเจงกิสข่านไม่เหมือน จักรพรรดิองค์ใดในโลก ตามปรกติหากยอมอ่อนน้อมโดยดีก็จะมีการกำหนด ให้ส่งราชบรรณาการทุกปี แต่สำหรับเจงกิสข่านนั้น นอกจากเครื่องราชบรรณาการแล้ว ยังมีการเกณฑ์ไพร่พล เข้าร่วมในกองทัพด้วย จะเห็นได้ว่าในการเข้าตีกรุงแบกแดดเมื่อปี ค.ศ.1208 กองทัพเจงกิสข่าน ประกอบด้วยทหารจากจอร์เจีย อาร์เมเนีย และเปอร์เซียรวมอยู่ด้วย และหากบ้านเมืองใดต่อสู้ขัดขืน ก็จะตะลุยตีจนยึดเมืองได้ จากนั้นก็จะมีการสำรวจ ดูว่าชาวเมืองคนใด เป็นช่างฝีมือ และมีความรู้ความสามารถ ทางวิทยาการต่างๆ จะถูกส่งกลับไปมองโกเลีย ที่เหลือจะ ถูกสังหารหมด ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ สตรีหรือคนชรา แม้ว่าเจงกิสข่านจะนับถือศาสนาทุกศาสนา แต่ก็ไม่ละเว้นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาใด หากปรากฏว่ามีศัตรูเข้า ไปซ่อนตัวอยู่จะสั่งเผาทันที มีการบันทึกไว้ว่า เมื่อบุกตะลุยเข้าไปใน ดินแดนรัสเซีย เจ้าผู้ครองนครชาวรัสเซียหนีเข้าไปซ่อนตัวในโบสถ์ ด้วยคิดว่าเจงกิสข่านจะไม่ทำอันตราย แต่เจงกิสข่านก็สั่งให้เผาโบสถ์ให้ไฟคลอกจนสิ้น พระชนม์ทั้งเป็นทั้งหมด เจงกิสข่านบอกว่า ที่เผาโบสถ์ไม่ใช่เพราะลบหลู่พระเจ้า แต่เพราะคนเลวไปทำให้โบสถ์มัวหมองจึงต้องทำลายทิ้ง วีรกรรมยิ่งใหญ่ หากพิจารณาตามพื้นเพเดิมแล้ว เจงกิสข่านเป็นเพียงหัวหน้าเ ผ่ามองโกลเร่ร่อนเผ่าเล็กๆ เท่านั้น อาศัยอยู่ในเต็นท์ ไม่มีบ้านเมืองของตนเอง แต่สามารถปราบปรามจักรวรรดิต่างๆได้ราบคาบอย่างง่ายดาย ถือเป็นวีรกรรมที่ควรจะยกย่อง วีรกรรมที่จัดว่ายิ่งใหญ่นั้นได้แก่ การบุกตะลุยเข้าตีเมืองซามาร์คาน จนแตกกระเจิงโดยใช้เวลาไม่มากนัก ซามาร์คาน เป็นนครหลวงระดับ มหานครของจักรพรรดิ ชาห์ มูฮัมหมัด แห่งมหาจักรวรรดิ "ควาริตซึ่ม" ซามาร์คานต้องเรียกว่ามหานคร เพราะมีพลเมืองถึง 200,000 คน ภายในกำแพงเมือง จักรวรรดิ "ควาริตซึ่ม" ต้องเรียกมหาจักรวรรดิ เพราะครอบคลุมประเทศใหญ่ๆ ในปัจจุบันไว้ร่วมสิบประเทศ รวมทั้งอัฟกานิสถานและอิหร่าน พรมแดนด้านตะวันตก จดทะเลสาบแคสเปียน ด้านใต้จดมหาสมุทรอินเดียภายในมหานครซามาร์คาน มีทหารประจำการพร้อมรบอยู่ถึง 110,000 คน เจงกิสข่านเคลื่อนพล 8 หมื่น ส่วนมากเป็น กองม้าบุกเข้าตีจนแตกพ่าย เมื่อยึดซามาร์คาน ได้ก็มีการสั่งเผาเมืองทั้งเมือง และไล่ฆ่าผู้คนตายนับแสน เหลือไว้เฉพาะช่างฝีมือ และผู้มีความรู้เพียง 30,000 คน และส่งคนเหล่านี้ไปมองโกเลีย เพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป เจงกิสข่านเกือบครองโลก นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นตรงกันว่า หากรุกไปถึงชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อไหร่ เจงกิสข่าน จะได้ ชื่อว่าเป็น มหาจักรพรรดิองค์แรก และองค์เดียวที่ครองโลกได้ โลกในยุคนั้นมีแค่จากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แถวเมืองจีนไล่ไปถึงฝั่ง มหาสมุทรแอตแลนติก เท่านั้น เพราะเป็นเขตที่มีการตั้งอาณาจักร มีวัฒนธรรมกัน กองทัพเจงกิสข่านตะลุยยึดได้รัสเซียกว่าค่อนประเทศ บุกถึงยุโรปกลางและเยอรมันเตรียมบุกยึดเกาะอังกฤษอยู่แล้ว แต่เปลี่ยนใจเดินทางกลับบ้านเมืองเสียก่อน นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า หากเดินทัพต่อไปจริงๆ ก็คงยึดได้ไม่ยาก กองทัพประหลาด และกลยุทธ์ผ่าเหล่า เจงกิสข่านจัดรูปแบบ กระบวนทัพแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เดินทัพไปเลี้ยงสัตว์พวกวัวควาย และแพะ ตลอดจน ม้าศึกไปด้วย เมื่อสั่งบุกโจมตี ก็สามารถรวมพลได้เร็วและสามารถเข้าตีได้อย่างสายฟ้าแลบ กำลังหลักของเจงกิสข่านจะมีประมาณ 100,000 คน แบ่งออกเป็นสิบ "ทูเมน" หรือกองพลมีกําลังรบ 10,000 นาย แต่ละกองพลจะมีผู้ติดตามทหารอีก นายละ 4 คน โดยเฉลี่ย ดังนั้น ในแต่ละกองพล จะมีผู้คนติดตาม ขบวนทหารอีกประมาณ 4 หมื่นคน เมื่อเข้าตี ขบวนครอบครัวผู้ติดตามทหารมา จะต้องถอยห่างออกไปทางด้านหลังแนวรบ หน่วยรบจะได้รับการฝึกปรือเพลงอาวุธ ทุกประเภทอย่างเจนจบ ศึกษายุทธศาสตร์ต่างๆจากหลายชาติ เช่น เปอร์เซีย อาหรับ และจีน ในการเดินทัพ "ทูเมน" หรือกองพลต่างๆ จะจัดกระบวนทัพ เป็นแนวหน้ากระดานกว้าง 50 ไมล์ โดยมีทัพหลวงอยู่ตรงกลาง เจงกิสข่านพร้อมกับพระมเหสีและพระสนมจะประทับอยู่ในเต็นท์เดียวกัน เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ ติดล้อเพื่อให้เคลื่อนที่ได้ ในตอนกลางวันเต็นท์หลวง จะทําหน้าที่เป็นที่ออกขุนนาง และรับราชทูต ส่วนกลางคืนใช้เป็นที่ประทับ ซึ่งประทับในเต็นท์เดียวกันหมด ทั้งพระมเหสี พระสนม พระโอรสและธิดา เต็นท์ถัดไปข้างหลัง จะเป็นของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งจะเคลื่อนไปข้างหน้า ตามลําดับความสําคัญ ของฐานานุรูป โดยใช้วัวนับสิบตัวลาก ในขบวนทัพจะมีม้าสํารอง ไว้คอยเปลี่ยนเป็นจํานวนมาก นอกจากนั้นยังมีฝูงแกะแพะติดตาม ไปด้วยทุกกองพล เพื่อใช้เป็นแหล่งเสบียง เนื่องจากชาวมองโกลนิยม ดื่มนมสัตว์เป็นอาหารหลัก และยังได้เนื้อเป็นอาหารอีกด้วย การเคลื่อนทัพไปในยามปรกต ิใช้ความเร็วตํ่ามากเพียง 5 ไมล์ต่อวันเท่านั้น และจะมีการหยุดพักการเดินทาง วันละ 4 ครั้ง เพื่อรีดนมสัตว์เป็นอาหาร เมื่อจะเข้าทําการโจมตี กองพลทั้งสิบจะเข้ารวมตัว กับทัพหลวงอย่างรวดเร็ว แล้วพุ่งไปข้างหน้าราวสายฟ้าแลบ จะเห็นได้ว่า เจงกิสข่าน ตะลุยไปแล้วทั่วโลก บุกเกาหลี ข้ามทะเลไปตีถึงญี่ปุ่น ลุยมาถึงฮานอย ในอดีต และเหยียบไปถึงเมืองพุกามในพม่า นอกจากมีความสามารถ ในการรบอย่างสุดยอดแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม เนื่องจากให้เสรีใน การนับถือแก่ ทุกศาสนาในโลก โดยไม่กดขี่หรือกีดกัน เจงกิสข่านพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ไม่ใช่คนเถื่อน เพราะยังมีใจรักอารยธรรมและวัฒนธรรม แม้ จะนิยม การเผาบ้านเมือง และถาวรวัตถุของศัตรู แต่ก็เป็นไปด้วยเหตุผล ทางยุทธศาสตร์ประการเดียว และยังมีการไว้ชีวิต ช่างฝีมือ และผู้มีความรู้ด้านศิลปวิทยาการต่างๆ และส่งกลับมองโกเลีย ด้วยหวังว่าจะได้สอน ชาวมองโกเลียให้มีความก้าวหน้า ในศิลปวิทยาการต่างๆ บ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใด การที่เจงกิสข่านสามารถ ตะลุยปราบหัวเมืองต่างๆ ไปได้เกือบทั่วโลกโดยไม่มีใครต้าน พลานุภาพได้ และไม่มีใครทําได้สําเร็จเช่นนี้ ตลอดช่วงสหัสวรรษเดียวกันนี้ ก็พอเพียงที่จะได้รับการยกย่อง แล้วว่า เป็นมหาบุรุษได้อย่างไม่มีข้อกังขา. |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#30 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 07-05-2008 - 22:31:21 ] |
|
หากเป็นข้า แยกไปสร้าง ได้หลายหัวข้อแล้ว ล่ะขอรับ ![]() -ศาลไคฟง/ เปาบุ้นจิ้น - เมืองจีน -ต้าหลี่ -เจงกีข่าน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#31 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:37:00 ] |
|
![]() |
|