เข้าระบบอัตโนมัติ

ท่านกิมย้งและท่านโก้วเล้ง


  • 1
  • 2
พญาเหยี่ยว
#1   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ต่อไปนี้เป็นคำแปลจากที่ท่าน Peking Man นำบทความมาลงไว้ในกระทู้เดิมนะครับ

---------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับการอธิบายงานเขียนของท่านกิมย้งนั้น ผมคิดว่าบทความต่อไปนี้เปรียบเทียบระหว่างท่านโก้วเล้งกับท่านกิมย้งได้น่าสนใจดี มันช่างเหมือนกับความฝันจริงๆครับ

จาก (http://www.white-collar.net/wx_hsl/jinyong/jin_029.htm) และเช่นดังเคย นี่เป็นการแปลของผมเองและมีการแก้ไขบ้าง ถ้ามีความผิดพลาดหรือแปลไม่แม่นยำบ้างก็โปรดอภัยนะครับ...เพราะไม่ได้หลับมาตั้งแต่ตอนตื่นขึ้นมาวานนี้ครับ

ท่านกิมย้งและท่านโก้วเล้ง:

ผู้เขียนบทความ: ไม่ระบุ

ไม่เป็นที่สงสัย ว่าโดยไม่มีปรากฏมาก่อน และก็บางทีไม่มีผู้ใดจะมาเปรียบความเป็นอัจฉริยะของสองท่านคือท่านกิมย้งและท่านโก้วเล้งว่าเป็นสองปรมาจารย์นักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน แม้ว่าตามความจริงแล้วนิยายของพวกเขาจะเขียนในแนวทางที่ต่างกันและมีคุณลักษณะคนละแบบ สำหรับนักอ่านแล้วงานของสองท่านนั้นกระตุ้นจิตวิญญาณและยากมากที่จะวิจารณ์ แต่ที่สำคัญกว่านั้น การเปรียบเทียบงานเขียนของนักเขียนสองท่านนี้กับนักเขียนท่านอื่นๆนั้นก็เช่นกับการเปรียบเทียบหยดน้ำหยดเดียวกับน้ำในมหาสมุทร ขณะที่นิยายจีนกำลังภายในของนักเขียนท่านอื่นนั้นมักอ่านกันเพื่อความบันเทิง งานเขียนของท่านกิมย้งและของท่านโก้วเล้งได้ข้ามผ่านระดับนี้ไปไกล งานเขียนของพวกเขาย่างเข้าสู่ขอบเขตและโดยของมันเองที่ "คลาสสิค" ความเห็นข้อนี้ แม้ว่าจะถูกปฏิเสธโดยผู้ที่เป็นนักปกป้องวรรณกรรมดั้งเดิมอย่างเต็มความสามารถ แต่สิ่งที่ผมมั่นใจคือนักอ่านนิยายกำลังภายในส่วนมากยึดถือว่านั่นเป็นความจริงข้อหนึ่งในชีวิตของนักอ่าน

แม้ทั้งสองท่านจะยอดเยี่ยมเช่นว่า แต่ก็ดังม้าสองตัวที่ออกวิ่งโดยพร้อมเพรียง ในท้ายที่สุดจะต้องมีผู้หนึ่งนำหน้า เกิดปัญหาข้อหนึ่งโดยเลี่ยงไม่ได้ ระหว่างสองท่านนี้ (ท่านกิมย้งและท่านโก้วเล้ง) ใครเหนือกว่า? กล่าวกับผู้อ่านตามตรง โดยส่วนตัวแล้วผมเคารพงานของทั้งสองท่าน และนั่นทำให้ยากที่ผมจะตัดสินใจว่านักเขียนท่านใดจะเหนือกว่าอีกท่านและเพราะเหตุใด แต่หลังจากได้อ่านเรียงความและบทความหลายชิ้นที่อธิบายแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคำถามนี้ ผมรู้สึกราวกับมีก้างปลาติดในลำคอและผมจำต้องดึงมันออกเพื่อให้ผมรู้สึกดีขึ้น ดังนั้นผมขอเสนอความเห็นสักเรื่องตามแต่กำลังที่ผมเขียนในหัวข้อนี้ ถ้าความเห็นของผมแตกต่างจากของผู้อ่านในทางใดก็ตามก็โปรดอย่าโกรธเคืองนะครับ

ผมมักเชื่อว่าการอ่านหนังสือนั้นก็เช่นการมีความฝัน การอ่านนิยายกำลังภายในก็มิใช่ข้อยกเว้น

งานเขียนของท่านกิมย้งและท่านโก้วเล้งนำเสนอความฝันสองเรื่องที่แตกต่างกันให้แก่ผม

(ยังมีต่อ)



มังกรเมา
#2   มังกรเมา    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ขอคาราวะด้วยใจจริงท่านพญาเหยี่ยวและท่าน Peking Man ที่นำสิ่งดีๆมาให้อีกแล้วครับ ข้าน้อยขอคาราวะ 1 จอก



โจโฉ เม้งเต้
#3   โจโฉ เม้งเต้    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

สุดยอดคับ ท่านพญาเหยี่ยว ท่าน Peking Man
1 จอก
m (_ _) m



พญาเหยี่ยว
#4   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

(ต่อ)



ในความฝันของท่านกิมย้ง เรารู้สึกได้ราวกับว่าความรู้สึกของพวกเราถูกโยนไป

รอบๆจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดขนานใหญ่หลายต่อหลายครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์

และสิ่งแวดล้อมอันงดงามและแปลกประหลาด ในความฝันเหล่านี้ เราพอใจกับการ

ซึมซับความฝันเหล่านี้ และเราก็รู้สึกพอใจจนตัวเราเองไม่ต้องการตื่นขึ้นมาจาก

ฝันนั้น แต่ในตอนท้าย ฝันทั้งหมดก็จบลง และเมื่อเราตื่นจากฝันของท่านกิมย้ง

เราก็ทราบว่านั่นเป็นเพียง "ความฝัน" ในแบบที่เรารู้สึกตัวตื่นจากฝันนั้นคือ "เจ้า

เด็ก! นั่นเป็นเพียงความฝัน" หรือบางทีคุณอาจจะยังเหลือความประทับใจดีๆหรือ

ความทรงจำของความฝันที่คุณเพิ่งจะมี



สำหรับความฝันของท่านโก้วเล้งนั้นเหมือนฝันร้าย หรือความทรงจำที่ไม่ชัดเจน

หรือไม่สมบูรณ์เสียมากกว่า ขณะที่มันอาจสวยงาม แต่มันไม่ใช่ความสุข ในฝัน

เหล่านี้ มันคล้ายกับเรากำลังฝันซ้อนฝัน เราไม่อาจเชื่อมั่นว่าเราตื่นขึ้นมาจริงๆหรือ

เรากำลังหลงทางในความฝันของเรา ความรู้สึกนี้แม้ว่าจะไม่ลึกล้ำและทรงพลัง

และดังนั้นก็ยังไม่เท่ากับงานหลายชิ้นของเช็คสเปียร์ แต่ผมเชื่อว่ามันก็ไม่ได้ล้า

หลังจนห่างไกลเกินไป



ปัญหาจริงๆข้อหนึ่งที่เราต้องเกี่ยวพันในความพยายามจะเข้าใจงานของทั้งสองคือ

เราที่เป็นมนุษย์ชอบที่จะมีแต่ฝันดีเท่านั้น นี่เพราะในชีวิตจริง ชีวิตนั้นเต็มไปด้วย

ปัญหา และก็การบาดเจ็บและความเจ็บปวดมากมายเกินไปอยู่แล้ว และความฝัน

เป็นที่ที่ดีที่สุดที่มนุษย์เราไปหาเพื่อหนีจากความจริง ไม่มีใครรักความเป็นจริง

มากขนาดที่แม้แต่ในฝันก็ยังอยากเข้าไปเกี่ยวข้องและรับผิดชอบกับมัน



เหตุผลที่ผมสร้างจุดนี้เป็นประเด็นคือผมต้องการชี้ว่าแนวโน้มตามธรรมชาติ

สำหรับมนุษย์ที่ต้องการฝันถึงสิ่งสวยงามและความสุขเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คน

จำนวนมากพบว่างานเขียนของท่านกิมย้งนั้นชอบได้โดยง่ายดายและว่างานท่านโก้

วเล้งนั้นไม่กระตุ้นให้เกิดความสนใจ



ขณะที่ผมไม่สนใจที่จะวิจารณ์แนวโน้มข้อนี้ มันปฏิเสธไม่ได้ว่าการรักต่อสิ่งสวย

งามและสิ่งดีๆนี้เป็นหนึ่งในแรงขับดันหลักโดยแท้ที่ผลักดันให้พัฒนาการของ

มนุษย์ก้าวไปข้างหน้า หลังจากนั้น เมื่อได้มีประสบการณ์และเผชิญความลำบาก

และอุปสรรคทั้งมวลในชีวิต เราทั้งหมดก็มีเหตุผลอันดีที่จะมองหาสรวงสวรรค์ของ

เราเองที่เราจะปลดปล่อยความตึงเครียดและความเหนื่อยล้าของเราจากประสาท

และอารมณ์



(ยังมีต่อ)



พญาเหยี่ยว
#5   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ขอบคุณท่านมังกรเมา ท่านโจโฉ เม้งเต้ และทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ



มารบูรพาน้อย
#6   มารบูรพาน้อย    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

นี่แหล่ะที่ทำให้วรรณกรรมคลาสสิคแตกต่างจากวรรณกรรมร่วมสมัย
ขอบคุณท่านพญาเหยี่ยว และท่าน Peking Manที่นำเสนอบทความที่น่าสนใจครับ
ว่าแต่ผมพึ่งเข้ามาบอร์ดอ่ะ เดิมอยู่นิยายจีน ไม่รู้ว่ามีใครเก็บบทความเก่าๆไว้บ้างมั้ย



พญาเหยี่ยว
#7   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

(ต่อ)

เราต้องกล่าวขอบคุณอย่างใหญ่หลวงต่อท่านกิมย้งที่ให้สถานที่อันดีเลิศเพื่อผ่อนคลาย
และปลดปล่อยแก่พวกเราที่ภายใน

ท่านโก้วเล้งนั้นไม่เป็นที่สงสัยว่ามองเห็นปัญหาข้อนี้เช่นกัน (การให้ความฝันแก่ผู้อ่าน)
เมื่อมนุษย์ทุกคนมักต้องการแรงขับเคลื่อนในการทำงานของตน ท่านโก้วเล้งต้องการ
เปลี่ยนสิ่งที่จะเสนอให้แก่ผู้อ่าน เพื่อที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์
ให้ดีขึ้นอีก ดังนั้นเขาได้ใส่คำคมและปรัชญาลงไปในงานเขียนของเขา เขายังใส่ตัว
ละครหญิงที่สวยสะคราญ และคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ลงในงานเขียนของเขา ในงาน
เขียนยุคต่อๆมาของเขา เราจะเห็นความฝันแบบสุขนิยมโดดเด่นออกมา การมีชีวิต
อยู่แบบโลกียชน ถูกเขียนออกมาในงานของเขา แต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ขาดไปนับแต่เริ่มต้น
ไปจนสิ้นสุดอาชีพนักเขียนของเขา นั่นคือความสุข ในบรรดางานเขียนของเขาทั้ง
หมดไม่มีเลย ไม่มีความสุขให้พบเห็น!

สุราและความรักทั้งหมดในงานเขียนของท่านโก้วเล้งไม่อาจปิดบังสำนึกอันลึกล้ำของ
ความเศร้าโศกและความเสียใจที่เขาเกิดมากับมันและอาศัยอยู่ลึกลงไปในจิต
วิญญาณของเขา ไม่ยากเย็นที่จะเชื่อว่าจริงๆแล้วเป็นธรรมชาติที่อารมณ์ทั้งสองอย่าง
นี้จะแพร่ซึมลงในงานเขียนของเขา นี่ไม่ต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมต่อปรากฏการณ์ที่น่า
สนใจมากๆในงานเขียนของท่านโก้วเล้ง: เมื่อเราอ่านถึงความสุขที่บรรยายในหลาย
หน้าของงานเขียนของเขา มันตัดกับอารมณ์ลึกๆ และช่างเศร้าเสียจริงที่เหมือนมัน
จะทิ่มแทงจิตใจและวิญญาณของเรา

ท่านโก้วเล้งไม่เคยมีชีวิตที่ดีอย่างท่านกิมย้ง ท่านกิมย้งไม่เคยต้องกังวลว่าอาหารมื้อ
ต่อไปของท่านจะมาจากที่ใด และท่านไม่เคยต้องเกี่ยวข้องกับความเศร้าโศกและ
ความเสียใจที่กัดกินอยู่ภายในตัวของท่านเอง ด้วยปากกาของท่าน แม้แต่โศก
นาฏกรรมก็แต่งเติมด้วยสำนึกแห่งความกล้าหาญและความเป็นวีรบุรุษ เฉกเช่นเสียง
ร้องอันหวนโหยของเหล่านักรบที่ต่อสู้จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นี่คือบางสิ่งที่ท่านโก้
วเล้งไม่อาจเปรียบเทียบได้กับท่านกิมย้ง

คำบรรยายของท่านกิมย้งต่อความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในงานเขียนของ
ท่านเป็นสิ่งที่อย่างที่สุดแล้วเราสามารถจัดระดับได้ว่าเป็นความ "โหดร้าย" ยกตัวอย่าง
เช่น เอี้ยก้วยต้องเสียแขนข้างหนึ่ง เซียวเหล่งนึ้งสูญเสียพรหมจรรย์ หรือเซียวฟงก
ระทำอัตวินิบาตกรรมโดยใช้ศรที่หักแทงหัวใจตนเอง ภายใต้ปากกาของเขา คุณจะไม่
ได้เห็นลี้คิมฮวงที่ไอออกมาเป็นโลหิตขณะที่เขากำลังยิ้มแย้ม หรือโป้วอั้งเสาะซึ่งลาก
ขาที่พิการข้างหนึ่งไปตลอดทาง เช่นกัน เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะได้เห็นตัวละครที่มี
ความสุขและโชคดีอย่างตวนอื้อปรากฏในงานเขียนของท่านโก้วเล้ง

(ยังมีต่อ)



พญาเหยี่ยว
#8   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ขอบคุณท่านมารบูรพาน้อยครับ



พญาเหยี่ยว
#9   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

(ต่อ)

ถึงจุดนี้ ผมรู้สึกว่าสำคัญที่ผมจะเสริมความเห็นข้างบนของผม บางท่านรู้สึกว่าตัว
ละครทั้งหมดของท่านโก้วเล้ง บุรุษต้องดื่มสุรา สตรีต้องเปลื้องผ้า และเรื่องของท่าน
จำกัดวงอยู่กับความที่ไร้รสนิยมและรับไม่ได้ ในความคิดของผม ผู้คนซึ่งมีมุมมองของ
ตนเองเช่นนี้ไม่มากก็น้อยมิได้เข้าใจถ่องแท้ถึงประเด็นที่มีผลต่อความสามารถใน
การซึมทราบเนื้อหา เพราะความไร้รสนิยมและความคิดว่ารับไม่ได้มิได้เกิดจากภาย
นอกตัวเราเอง แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดจากภายในตัวเราเองเสียมากกว่า

หรืออย่างน้อย ผมสามารถกล่าวว่าผมไม่เคยมองว่าการดื่มสุราและการเปลื้องผ้าใน
นิยายเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และ/หรือความไร้รสนิยม สิ่งที่ผมเห็นและรู้สึกเป็นสำนึกถึง
ความเจ็บปวดและความอ้างว้างเสียมากกว่า ผมยังเชื่อว่าผู้ที่อ่านนิยายของท่านโก้วเล้
งอย่างไม่ลำเอียงจะมีความคิดเช่นเดียวกับผมต่อเรื่องนี้

สำหรับผู้พเนจรคนหนึ่ง เขาหรือเธอไม่มีทางจะควบคุมว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรและ
บุคลิกภาพของพวกเขาเป็นเช่นไร กับที่พวกเขาโดดเดี่ยวลำพังโดยไร้คนใส่ใจและใน
เวลาเดียวกันพวกเขาไม่มีใครจะมาร่วมแบ่งปันความโดดเดี่ยว ความเจ็บปวด และ
ความยากลำบาก พวกเขามิใช่สุภาพชน พวกเขาเป็นเพียงคนธรรมดาที่เร่ร่อนและ
พยายามจะนำทางชีวิตของพวกเขาผ่านคลื่นมนุษย์ที่เราเรียกว่าชีวิตและความเป็นจริง
ทุกสิ่งในการมีอยู่ของพวกเขาคือธรรมชาติและจริงแท้ แม้ว่าผู้เขียนที่ต่ำต้อยนี้ไม่
เคยมีประสบการณ์แบบความเปลี่ยวเหงาและความเจ็บปวดอย่างที่ตัวละครของท่าน
โก้วเล้งต้องเผชิญ แต่ผมมั่นใจว่าตัวท่านโก้วเล้งเองมีประสบการณ์นี้ คำบรรยายของ
ความรู้สึกเหล่านี้ที่เป็นสิ่งแท้จริงของท่านได้กำเนิดเสียงดนตรีกังวานขึ้นในหัวใจของ
ผมที่เป็นคนออกจะไร้ความรู้สึกทางด้านนี้ด้วยซ้ำไป

ในทางกลับกัน ในฉากของงานเขียนท่านกิมย้ง ซึ่งอุ้ยเซี่ยวป้ออาศัยในซ่องคณิกา หรือ
ฮือเต๊กถูกกักในห้องน้ำแข็ง แม้ว่าที่จริงจะไม่ถึงกับเกินเลยไป แต่มันทำให้เกิดความ
รู้สึกเช่นว่าและก็ไม่จำเป็น หรือบางทีท่านกิมย้งกำลังพยายามจะถ่ายทอดความรู้สึกที่
โรแมนติคและแนวคิดแปลกแยกลงในงานของท่าน นั่นเป็นสิ่งที่พวกเราจะไม่ได้ทราบ
หรือหากท่านใดรู้ก็โปรดบอกผมด้วยครับ ไม่ว่าอย่างไรนี่ก็เป็นสิ่งที่ท่านจะไม่ได้พบ
เจอในงานเขียนของท่านโก้วเล้งครับ



พญาเหยี่ยว
#10   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

อ่านบทความนี้แล้วก็รู้สึกว่าท่านผู้เขียนมีแนวคิดคล้ายผมครับ
อดไม่ได้ที่จะนำหนังสือรวมคำคมของท่านโก้วเล้งมาอ่าน

นำมาลงในกระทู้นี้บ้างก็แล้วกันครับ

--------------------------------------------
หากท่านคิดเสพสุขอันหวานชื่นของความรัก
ก็ต้องกล้ำกลืนความกลัดกลุ้มและปวดร้าวซึ่งสืบเนื่องจากความรักด้วย

จากดาวตก ผีเสื้อ กระบี่



พญาเหยี่ยว
#11   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

เมื่อเสพรับความสุขของการอยู่ร่วมแล้ว
ไฉนไม่อาจกล้ำกลืนรับความปวดร้าวของการจำพราก?
หากไม่เคยเผชิญความปวดร้าวของการจำพราก?
ไหนเลยล่วงรู้ความสุขของการอยู่ร่วม?

จากเรื่องตาขอจำพรากครับ



พญาเหยี่ยว
#12   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

พลังจากรักแท้
เป็นสิ่งประโลมขวัญ
จรรโลงชีวิตผู้คนยั่งยืนนานชั่วนิจนิรันดร์

จากเรื่องจับอิดนึ้ง



พญาเหยี่ยว
#13   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

"มิใช่ความรัก"

(บทที่หนึ่ง)

ความรักคืออะไร?
รักจะเป็นจะตาย...
รักอย่างคลั่งไคล้...
รักโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ...
รักอย่างที่ที่ขาดท่านเราต้องตาย...
นอกจากท่านแล้ว
เราไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น
ไม่ต้องการรถยนต์...
ไม่ต้องการบ้านช่อง...
ไม่ต้องการชื่อเสียง...
ไม่ต้องการการงาน...
ไม่ต้องการสหาย...
ไม่ต้องการกระทั่งพ่อแม่พี่น้อง...
บุตรและสามีล้วนไม่ต้องการ
กระทั่งทรัพย์สินเงินทอง อัญมณีมีค่าล้วนไม่ต้องการ
ถึงกับกระทั่งมีชีวิตก็ไม่ต้องการได้

นี่นับเป็นความรักหรือไม่?
ย่อมนับได้...
หากกระทั่งความรู้สึกเช่นนี้ยังไม่นับเป็นความรัก...
ยังมีความรู้สึกอะไรนับเป็นความรักได้?
...แต่ความรักเช่นนี้สามารถคงอยู่ได้นานเท่าใด?



พญาเหยี่ยว
#14   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

การพลาดพลั้ง...
เพียงก้าวเดียวจะเป็นอย่างไร?
การล้มเหลวในวันนี้
ทำให้ภายหน้ายากยิ่งจะได้พบพานมันอีก

จากเรื่องราชายุทธจักร



พญาเหยี่ยว
#15   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ขอเพียงในหัวใจสว่างไสว
ไยต้องกลัวกับความมืด?

จากเรื่องจอมดาบหิมะแดง



พญาเหยี่ยว
#16   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ขอบคุณท่าน Peking Man และทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ครับ



vip
#17   vip    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

ซึมซับ ได้แค่ไหนแล้วครับท่าน
ระวังไฟธาตุแตกด้วยครับ
อิอิ ล้อเล่น นะครับระวังไว้เป็นดี
(ผมว่าผมอ่านหลายรอบ แต่ยังไม่มีมุมมองเท่าท่าน)
เยี่ยมจริงๆ



พญาเหยี่ยว
#18   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

อ่านหลายรอบเลยเหรอครับ ไม่อยากเชื่อ



พญาเหยี่ยว
#19   พญาเหยี่ยว    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

รอบทความต่อไปของท่าน Peking Man อยู่นะครับ
บทความนี้คงถือเป็นบทนำของ Jinology ก็น่าจะได้นะครับ



มังกรไฟ
#20   มังกรไฟ    [ 0000-00-00 - 00:00:00 ]    IP: 127.0.0.1

"มิใช่ความรัก"

(บทที่หนึ่ง)


เขาเรียกว่าละเมอเพ้อพก เสียมากกว่า



  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube