กระจกเงาของกษัตริย์-ขุนนางผู้ไม่ไว้หน้ากษัตริย์
ขุนนางผู้ไม่ไว้หน้ากษัตริย์
เว่ยเจิงถวายคำทัดทาน
กระจกเงาของกษัตริย์-ขุนนางผู้ไม่ไว้หน้ากษัตริย์
|
amphol007 |
#2 amphol007 [ 05-02-2009 - 21:15:23 ] |
|
หลังเหตุจลาจลที่ประตูเสวียนอู่ผ่านพ้นไป มีคนหลายคนต่างเตือนหลี่ซื่อหมินว่า: “เว่ยเจิงเคยเข้าร่วมกองทัพปฏิวัติของหลี่มี่และโต้วเจี้ยนเต๋อ หลังจากที่ทั้งสองพ่ายแพ้การต่อสู้ในครั้งนั้น เว่ยเจิงก็ทำงานให้กับรัชทายาทเจี้ยนเฉิง และเคยทูลให้เจี้ยนเฉิงกำจัดหลี่ซื่อหมิน” หลี่ซื่อหมินเรียกเว่ยเจิงเข้าพบ จากนั้นจึงถามเขาว่า “เหตุใดท่านจึงสร้างความร้าวฉานให้กับครอบครัวของเรากันเล่า?” เว่ยเจิงกราบทูลด้วยสีหน้าที่ไม่ยำเกรงว่า “น่าเสียดายที่ตอนนั้นรัชทายาทไม่ทำตามคำที่ข้าน้อยกราบทูล มิเช่นนั้นแล้ว วันนี้คงไม่ต้องตกอยู่ในชะตากรรมเช่นนี้” หลี่ซื่อหมินรู้สึกว่าเว่ยเจิงเป็นคนที่พูดจาตรงไปตรงมา และมีความกล้าหาญ เขาไม่เพียงแต่ไม่ฆ่าขุนนางผู้นี้ แต่หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งให้เขาทำหน้าที่เป็นขุนนางจอมทัดทานประจำราชสำนักอีกด้วย ทุกครั้งที่เว่ยเจิงมีความคิดเห็น เขาจะทูลต่อหน้ากษัตริย์ถังไท่จงอย่างตรงไปตรงมา พระองค์ทรงไว้พระทัยเขาเป็นอย่างมาก มักมีรับสั่งเรียกให้เข้าพบเพื่อฟังความเห็นในเรื่องราชกิจต่างๆ มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสถามว่า: “เหตุใดเจ้าแผ่นดินที่ผ่านมา จึงมีทั้งผู้ที่มีพระปรีชาฌานและผู้ที่เลอะเลือน?” เว่ยเจิงทูลตอบว่า: “กษัตริย์ที่รับฟังความคิดเห็นอย่างเปิดกว้าง ถือเป็นเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระปรีชาฌาน ส่วนกษัตริย์ที่รับฟังความเห็นเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถือเป็นเจ้าแผ่นดินที่เลอะเลือน” และมีครั้งหนึ่ง ขณะที่กษัตริย์ถังไท่จงทรงอ่านพงศาวดารของกษัตริย์สุยหยางตี้ พระองค์ทรงถอนใจและตรัสว่า: “ความรู้ความสามารถของกษัตริย์ผู้นี้ไม่น้อยทีเดียว แต่ทั้งๆ ที่ทราบพระทัยเป็นอย่างดีว่าเหยาซุนเป็นขุนนางซื่อสัตย์ ส่วนเจี๋ยโจ้วเป็นขุนนางคดโกง เหตุใดจึงนำพาประเทศไปสู่ความหายนะอย่างไม่น่าเชื่อเช่นนี้?” เว่ยเจิงกราบทูลว่า: “การเป็นเจ้าแผ่นดินจะเพียบพร้อมไปด้วยความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นคงมิได้ หากยังต้องรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอีกด้วย กษัตริย์สุยหยางตี้เป็นเจ้าแผ่นดินที่หยิ่งลำพองตน แม้ว่าจะฟังความเห็นของเหยาซุ่น แต่กลับปฏิบัติตามคำแนะนำของเจี๋ยโจ้ว ทำให้ตนเองก้าวสู่ความหายนะในท้ายที่สุด” เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์ถังไท่จงจึงสนับสนุนให้เหล่าขุนนางเสนอคำทัดทานให้มากๆ : “ตอนนี้ ดินแดนจงหยวนอยู่ในความสงบสุข อาณาจักรข้างเคียงต่างเข้าสวามิภักดิ์ ประชาราษฎร์อยู่อย่างร่มเย็น แต่ข้าก็ยังต้องการฟังความคิดเห็นของพวกท่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ มิเช่นนั้น คงยากที่จะดำรงความสงบสุขอย่างถาวรให้แก่ประเทศได้!” เว่ยเจิงกล่าวด้วยความดีใจว่า: “การที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสามารถคิดถึงภัยในยามที่บ้านเมืองสงบสุข นับเป็นโชคดีของพสกนิกรชาวต้าถังเป็นล้นพ้น!” เว่ยเจิงกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นอย่างไม่เกรงกลัวอาญาใดๆ เมื่อเขาพบว่ากษัตริย์ถังไท่จงทรงมีรับสั่งในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ก็จะถวายการทัดทานอย่างไม่ไว้หน้า ทำให้พระองค์กริ้วจนไม่รู้จะเอาพระพักตร์ไปไว้ที่ใด มีอยู่ครั้งหนึ่ง เว่ยเจิงโต้เถียงกับพระองค์ในท้องพระโรงจนหน้าดำหน้าแดง หลังจากกลับถึงพระตำหนัก พระองค์ทรงมีรับสั่งกับพระชายาว่า: “คงมีสักวัน ที่ข้าจะต้องตัดศีรษะขุนนางเก่าแก่อย่างเว่ยเจิง! เขาพูดจาไม่เคยไว้หน้าข้าแม้แต่น้อย ทำให้ข้าต้องอับอายต่อหน้าเหล่าขุนนางในท้องพระโรง!” |
amphol007 |
#3 amphol007 [ 05-02-2009 - 21:15:48 ] |
|
หลังจากพระมเหสีได้ฟังเช่นนั้น จึงรีบเปลี่ยนฉลองพระองค์มาอยู่ในชุดที่เป็นทางการ จากนั้นจึงก้มลงกราบกษัตริย์ถังไท่จงแล้วทูลว่า: “กระหม่อมขอแสดงความยินดีกับพระองค์ด้วยเพคะ! กษัตริย์ผู้ทรงมีพระปรีชาฌานเท่านั้นจึงสามารถมีขุนนางที่เถรตรงอยู่ข้างพระวรกาย การเป็นคนมีนิสัยเช่นนี้ของเว่ยเจิง แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาฌานยิ่งเพคะ!” เมื่อพระองค์ได้สดับฟังดังนั้น ความโกรธก็มลายหายไป ครั้นปี ค.ศ. 643 เว่ยเจิงถึงแก่อสัญกรรม กษัตริย์ถังไท่จงทรงเสียพระทัยอย่างมาก พระองค์ทรงตรัสว่า: “การใช้คันฉ่องทองเหลืองสามารถส่องดูการแต่งตัวได้ เฉกเช่นเดียวกับการนำประวัติศาสตร์มาเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและก ารล่มสลาย ดังนั้น การนำคนมาเป็นกระจกเงาสามารถทำให้ล่วงรู้ความถูกและความผิดได้เช่นกัน บัดนี้เว่ยเจิงได้เสียชีวิตไปแล้ว ข้าก็ถือว่ามีกระจกเงาน้อยลงไปอีกหนึ่งบาน” * หลี่ซื่อหมิน หลี่ซื่อหมิน (ปี ค.ศ. 598 - 649) เป็นพระนามเมื่อครั้งก่อนขึ้นครองราชย์ขององค์ถังไท่จง พระองค์ทรงใช้ชื่อรัชศกว่า “เจินกวน” องค์ชายหลี่ซื่อหมินทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อพระราชบิดา ผู้พระนามว่ากษัตริย์ถังเกาจู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังผู้ยิ่งใหญ่ และองค์กษัตริย์ถังไท่จงผู้นี้ก็ได้กลายเป็นกษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเสี ยยิ่งกว่าพระราชบิดานั่นเอง กษัตริย์ถังไท่จงถือเป็นเจ้าแผ่นดินที่ทรงมีพระอัจฉริยภาพเป็นที่เลื่องลือยิ่งอีกพร ะองค์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของจีน บ้านเมืองภายใต้การปกครองของพระองค์มีความมั่งคั่ง อาณาประชาราษฎร์เข้มแข็ง พระบารมีแผ่ไพศาลไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ถือเป็นยุคแห่งการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับราชวงศ์ถังอันรุ่งเรือง เครดิตโดย http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=xi...p=3&gblog=1 |
oคาระวะทั้งเเผ่นดินo |
#4 oคาระวะทั้งเเผ่นดินo [ 08-02-2009 - 06:39:25 ] |
|
ดีคับดี |
กระบี่มังกรน้อย |
#5 กระบี่มังกรน้อย [ 08-02-2009 - 12:24:35 ] |
|
ได้ความรู้ในการดู ฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินเพิ่มอีก ขอบคุณค่ะ |
กระบี่มังกรน้อย |
#11 กระบี่มังกรน้อย [ 08-02-2009 - 14:12:51 ] |
|
มะคืนลืมดูตอนจบ ใจเราเยงกันนิรันดรอ่ะ ตั้งนากาปลุกแล้วแท้ๆดันหลับต่อ เซงอย่างแรง |
|