ประเทศจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国 จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國 พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó อังกฤษ: People"s Republic of China (PRC) ; )
ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ชาวตะวันตกเรียกรวม ๆ ว่า China (จีน) ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก และมีขนาดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงรัสเซียและ แคนาดา
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) คือ เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน สิกขิม เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และ เกาหลีเหนือ
ตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน เกาะเผิงหู เกาะเอ้ห... (จีนกลาง: จินเหมิน) และหมู่เกาะม้าซู้ (จีนกลาง: หมาจู่) แต่ไม่ได้ปกครอง โดยที่เกาะเหล่านี้ปกครองโดยสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงไทเป (จีนกลาง: ไถเป่ย) ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่
คำว่า จีนแผ่นดินใหญ่ ใช้เรียกส่วนของจีน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ส่วนใหญ่จะยกเว้นเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า) บางคนนิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า จีนแดง (Red China) โดยเฉพาะผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจีนปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอํานาจในภูมิภาคเอเชียมีเศรษฐกิจและกํลังทางทหารใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
บทนำ
ประเทศที่มีประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี
ประเทศที่มีประชากรมากสุดในโลก ประมาณ 1,300 ล้านคน
ประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยถึง 55 ชนชาติ (ที่ทางการจีนยอมรับ)
ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก (รองจากรัสเซีย และ แคนาดา)
ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับเพื่อนบ้านถึง 15 ประเทศ
ประเทศที่มีอัตราเติบโต ทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่องยาวนาน (ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก)
ประเทศที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีได้เผยแผ่ไปทั่วโลก
ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีอาหารที่หลากหลายชนิดแห่งหนึ่งของโลก
ประวัติศาสตร์
สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน
หลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิงก็ได้ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีนจึงได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด
การปฏิวัติ
การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีหัวข้อดังนี้
ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร
3. การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949
3.1 ความสำคัญ การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
3.2 สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) สรุปได้ดังนี้
(1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
(2) การเผยแพร่อุดมการคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน
3.3 ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949 สรุปได้ดังนี้
(1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เหมา เจ๋อตุง” รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของ เอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
(2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม
(2) นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มี ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่
- ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน
- ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า
3.4 ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 คือ
(1) การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตง” เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
(2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” โดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ
เมืองหลวงของจีน
ราชวงศ์ชาง อิน (殷) 1350 ปีก่อน ค.ศ. - 1046 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันตก เฮา (鎬) 1046 ปีก่อน ค.ศ. - 771 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) 770 ปีก่อน ค.ศ. - 256 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฉิน เสี้ยนหยาง (咸陽) 221 ปีก่อน ค.ศ. - 206 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ฉางอาน (長安) 206 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 9
ราชวงศ์ซิน ฉางอาน (長安) พ.ศ. 551 - 566 (ค.ศ. 8 - 23)
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 568 - 763 (ค.ศ. 25 - 220)
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 808 - 859 (ค.ศ. 265 - 316)
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก เจียนขั่ง (建康) พ.ศ. 860 - 963 (ค.ศ. 317 - 420)
ราชวงศ์สุย ต้าซิง (大興) พ.ศ. 1124 - 1161 (ค.ศ. 581 - 618)
ราชวงศ์ถัง ฉางอาน (長安) พ.ศ. 1161 - 1450 (ค.ศ. 618 - 907)
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ไคฟง (開封) พ.ศ. 1503 - 1670 (ค.ศ. 960 - 1127)
ราชวงศ์ซ่งใต้ Lin"an (臨安) พ.ศ. 1670 - 1822 (ค.ศ. 1127 - 1279)
ราชวงศ์หยวน ต้าตู (大都) กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1264 - 1368)
ราชวงศ์หมิง หนานจิง (南京) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1368 - 1420)
ราชวงศ์หมิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1420 - 1644)
ราชวงศ์ชิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2187 - 2454 (ค.ศ. 1644 - 1911)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2455 - 2471 (ค.ศ. 1912 - 1928)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2471 - 2480 (ค.ศ. 1928 - 1937)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 อู่ฮั่น (武漢) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1934 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2480 - 2488 (ค.ศ. 1937 - 1945 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 หนานจิง (南京) พ.ศ. 2488 - 2492 (ค.ศ. 1945 - 1949)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 กว่างโจว (廣州) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ไทเป (臺北) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน
สาธารณรัฐประชาชนจีน ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน
เขตพื้นที่และสภาพแวดล้อม
แผนกการเมืองตามประวัติศาสตร์
เขตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีนแผนกการเมืองระดับบนสุดของจีนได้ดัดแปลงเป็นการบริหารที่เปลี่ยนแปลงระดับบนสุดที่รวมถึงวงจรและจังหวัดข้างล่างจังหวัดนั้นที่นั่นได้คือหน่วยงาน เขต และจังหวัด แผนกเมื่อไม่นานยังรวมถึง อํนาจหน้าที่เขตปกครอง - เมืองระดับ เมืองระดับจังหวัด เมืองและ โดยทั่วไปราชวงศ์จีนส่วนมากถูกในยอดยกมา heartlands ของจีนรู้เป็นจีนเหมาะสมราชวงศ์ต่างๆยังขยายเข้าไปในเขตพื้นที่อุปกรณ์เสริมชอบภายใน มองโกเลีย แมนจูเรีย ซินเจียง และทิเบต ราชวงศ์ชิง ที่ชาวแมนจูตั้งและผู้สืบทอด สาธารณรัฐจีน และ สาธารณรัฐประชาชนจีนรวบรวมเขตพื้นที่เหล่านี้เข้าไปในจีนจีนเหมาะสมถูกคิดให้ถูกโดยกำแพงที่ยิ่งใหญ่และขอบของ ที่ราบสูง ชาวทิเบต แมนจูเรีย และภายใน มองโกเลีย ถูกค้นพบเพื่อทิศเหนือของกำแพงที่ยิ่งใหญ่ของจีนและแนวแบ่งเขตระหว่างพวกเขาสามารถอันใดอันหนึ่งถูกใช้เป็นพรมแดนของขวัญระหว่างภายในมองโกเลีย
การเมือง
ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตการปกครองของจีนนั้น ตามรัฐธรรมนูญของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล (省) และรัฐบาลจีนยังถือไต้หวัน/ไถวาน (台湾) เป็นมณฑลที่ 23 (มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีน) รัฐบาลจีนยังอ้างสิทธิเหนือเกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากมณฑลแล้วยังมีเขตปกครองตนเอง (自治区) 5 แห่งซึ่งมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก เทศบาลนคร (直辖市) 4 แห่งสำหรับเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเขตบริหารพิเศษ (Special Administrative Regions, SARs) (特别行政区) ที่จีนเข้าไปปกครอง โดยการแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นดังนี้
มณฑล
อันฮุย (安徽)
ฝูเจี้ยน (福建) (ฮกเกี้ยน)
กานซู (甘肃)
กว่างตง (กวางตุ้ง)
(广东)
กุ้ยโจว (贵州)
ไห่หนาน (ไหหลำ)
(海南)
เหอเป่ย์ (河北)
เฮย์หลงเจียง (黑龙江)
เหอหนัน (河南)
หูเป่ย์ (湖北)
หูหนาน (湖南)
เจียงซู (江苏)
เจียงซี (江西)
จี๋หลิน (吉林)
เหลียวหนิง (辽宁)
ชิงไห่ (青海)
ส่านซี (陕西)
ชานตง (山东)
ชานซี (山西)
ซื่อชวน (เสฉวน) (四川)
หยุนหนาน (ยูนนาน) (云南)
เจ๋อเจียง (浙江)
เขตปกครองตนเอง
กว่างซีจ้วง (กวางสี) (广西壮族)
มองโกเลียใน (内蒙古)
หนิงเซี่ย หุย (宁夏回族)
ซินเจียงอุยกูร์ (新疆维吾尔族)
ทิเบต (西藏)
เทศบาลนคร
เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) (北京)
ฉงชิ่ง (จุงกิง) (重庆)
ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) (上海)
เทียนจิน (เทียนสิน) (天津)
เขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ฮ่องกง/เซียงกั่ง (香港)
มาเก๊า/เอ้าเหมิน (澳門)
ภูมิศาสตร์
ตั้งอยู่ในเอเซียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดาประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ถึง 15 ประเทศ ด้วยมีความยาวถึง 22,800 กม. ข้ามทะเลไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มี เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แผ่นดินใหญ่จีนถูกขนาบทางตะวันออกไปทางใต้ด้วยทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีพื้นที่น้ำรวม 4.73 ล้านตาราง กิโลเมตร ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ เป็นส่วนประกอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยถึง 5,400 เกาะ จึงทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตทางทะเลที่ใหญ่มาก เกาะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ 36,000 ตาราง กิโลเมตร คือ ไต้หวัน ตามด้วยเกาะไหหลำ 34,000 ตาราง กิโลเมตร เกาะ Diaoyu กับเกาะ Chiwei ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวันเป็นเกาะตะวันออกสุดของจีนเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงหินโสโครก และ ฝูงปลา ในทะเลจีนใต้ เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็นตงชา ซีชา จงชา และหนานชา รวม 4 กลุ่ม
ภูมิอากาศ
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมภาคพื้นทวีปที่มีหลากหลายรูปแบบ ลมเหนือจะมีอิทธิพลสูงในฤดูหนาว ในขณะที่ลมใต้จะมีบทบาทในฤดูร้อน มีผลถึง 4 ฤดู ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีฤดูฝนปนอยู่กับฤดูร้อน ภูมิอากาศที่ซับซ้อน และหลากหลายของจีน มีผลให้สามารถแบ่งแถบอิงอุณหภูมิ กับแถบอิงความชื้นของภาคพื้นของประเทศจีนได้ คือแบ่งแถบอิงอุณหภูมิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือเป็น แถบเส้นศูนย์สูตร ร้อนชื้น กึ่งร้อนชื้น อบอุ่น และแถบหนาวเย็น และแบ่งแถบอิงความแห้ง - ชื้น จากตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแถบความชื้นสูง
ประชากร และ ชนเผ่า
ชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศจีนคือ ชนเผ่าฮั่น 92 % ของประชากรทั้งหมด อื่นๆอีก 55 ชนเผ่า 8 % ของประชากรทั้งหมด เช่น
ที่ ชนเผ่า ประชากร เขตปกครอง
1. จ้วง 16 ล้านคน เขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง ฯลฯ
2. แมนจู 10 ล้าน
3. หุย 9 ล้าน เขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ฯลฯ
4. ม้ง 8 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน ฯลฯ
5. อุยกูร์ 7 ล้าน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ฯลฯ
6. อี๋ 7 ล้าน มณฑลยูนนาน ฯลฯ
7. ตูเจีย 5.75 ล้าน
8. มองโกล 5 ล้าน เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ฯลฯ
9. ทิเบต 5 ล้าน เขตปกครองตนเองทิเบต ฯลฯ
10. ปู้ยี 3 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว ฯลฯ
11. เกาหลี 2 ล้าน
เศรษฐกิจ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากภายใต้นโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก เป็นรองแต่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเน้นผลผลิตทางการเกษตรให้พอเพียงสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็จะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีระดับสูงด้วย
ในขณะที่จีนเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้เพียง 5 ปี ในปี 2549 จีนได้มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 9.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.7 สูงถึง 20.94 ล้านล้านล้านหยวน หรือ 2.68 ล้านล้านล้านดอลลาร์ สูงที่สุดในรอบ 11 ปี [1]
ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ทำให้รัฐบาลจีนออกมาตรการต่างๆ เพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปริมาณการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือจีนนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา 4 ปีแล้ว [2]
จีนมีคู่ค้าสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนี
เงินตราสกุลเงินของจีนนั้นเรียกว่า “เหรินหมิน...” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元)
1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.70 หยวน (2550)
1 ยูโร เท่ากับ 10.46 หยวน (2550)
1 หยวน เท่ากับ 4.53 บาท (2550)
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 1,515 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549) (ปี 2546 เป็นปีแรกที่สูงเกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
GDP ประมาณ 2,720,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549) ถือว่าเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เยอรมนี)
ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 1.20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2548)
การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน
เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ
เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก
นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส
กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี
ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้
ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง
สำหรับประเทศไทยที่ได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหลายแขนงมาเป็นเวลานาน แต่ยังต้องนำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบและเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งที่มีผู้ประกอบการและนักวิชาการในอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ ที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ อาจเป็นเพราะว่าเรายังขาดอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอุตสาหกรรมหนัก ทำให้อุตสาหกรรมที่ยังขาดหายในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เกษตร และอาหาร
ช่วงวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2550 โครงการส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน มีแผนศึกษาโอกาสการลงทุนที่นครเสิ่นหยางและนครต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมหนักของจีน โดยเน้นอุตสาหกรรมต่อเรือ เครื่องจักรกล และยานยนต์ จึงขอเชิญชวนร่วมคณะเพื่อหาโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมหนักของไทยในอนาคต โดยสามารถติดต่อได้ที่โครงการส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน โทรศัพท์ 02-9369914
จึงน่าจะถึงเวลาที่เราควรรวมพลังของนักวิชาการและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างรากฐานและเชื่อมต่อห่วงโซ่ที่ขาดหายไปเหล่านี้ให้สมบูรณ์ ก็จะสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถพึ่งตนเองแบบครบวงจรในอนาคต
เมืองใหญ่
ดูรายชื่อทั้งหมดที่รายชื่อเมืองในจีนเรียงตามจำนวนประชากร อันดับเมืองขนาดใหญ่ 20 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร
อันดับ เมือง มณฑล ประชากร อันดับ เมือง มณฑล ประชากร
เซี่ยงไฮ้
ปักกิ่ง
ฉงชิ่ง
1 เซี่ยงไฮ้ - 14,530,000 11 เฉิงตู เสฉวน 3,750,000
2 ปักกิ่ง - 10,300,000 12 ฉงชิ่ง - 3,270,000
3 เซินเจิ้น กวางตุ้ง 11,820,000 13 ชิงเต่า ซานตง 3,200,000
4 กวางโจว กวางตุ้ง 7,050,000 14 ถางซาน เหอเป่ย์ 3,200,000
5 ฮ่องกง - 6,840,000 15 นานกิง เจียงซู 3,110,000
6 ตงกว่าง กวางตุ้ง 6,450,000 16 ซีโบ ซานตง 2,900,000
7 เทียนจิน - 5,190,000 17 ฝูโจว ฝูเจี้ยน 2,600,000
8 อู่ฮั่น หูเป่ย์ 1,105,289 18 ฉางซา หูหนาน 2,520,000
9 ฮาร์บิน เฮย์หลงเจียง 4,754,753 19 หนานชาง เจียงซี 2,440,000
10 เฉิ่นหยาง เหลียวหนิง 4,420,000 20 อู๋ซี เจียงซู 2,400,000
กองทัพ
ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 กองทัพของประเทศจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วกองทัพเรือ ตำรวจมีอาวุธในข้อตกลงที่แท้จริงของกองทัพแดง ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งอาวุธที่มีนั้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศรัสเซีย จีนเพิ่มกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 4 ของโลก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สถานะของยุคหลังสงครามโลก หรือที่เรียกกันว่ายุคสงครามเย็นได้ยุติลง ได้ส่งผลให้ขั้วของการเป็นมหาอำนาจได้เปลี่ยนแปลงไปสหรัฐอเมริกาเองปรารถนาที่จะเป็นขั้วอำนาจขั้วเดียวในโลกโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่มุ่งไปสู่ความเป็นมหาอำนาจชาติเดียว ในขณะเดียวกันประเทศที่ศักยภาพอย่างจีนได้พยายามที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ประเทศมหาอำนาจ โดยการเร่งพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และที่ขาดไม่ได้นั่นคือ การพัฒนาให้กองทัพมีศักย์ในการดำเนินสงครามโดยการปรับปรุงให้กองทัพให้มีความทันสมัยในช่วง 10 ปี แรกนั้น ภัยคุกคามหลักของจีนนั้น
มุ่งไปที่สหภาพโซเวียต ในขณะที่ปัญหาไต้หวันยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับต่ำ ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2538 – 2539 (ค.ศ. 1995 – 1996) ปัญหาเกิดขึ้นบริเวณเกาะไต้หวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้ทิศทางของการพัฒนากองทัพมุ่งไปสู่การรองรับภัยคุกคามที่เกิดจากการพยายามแยกตัวของไต้หวันตั้งแต่ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เป็นต้นมา กองกำลังทางบกได้รับอาวุธและยุทโธปกรณ์พิเศษที่ใหม่ และหลากหลายที่จีนผลิตเองเข้าประจำการ เช่น รถถังหลัก รถถังสะเทินน้ำสะเทินบก รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่อัตตาจร อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ กล้องมองกลางคืน อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าอาวุธจากรัสเซีย เช่น อากาศยานปีกหมุน และ ระบบนำวิถี โดยอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้มีการนำมาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ เมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ที่ผ่านมา ปัจจุบันสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ “Chinese Defense Today Website” อย่างไรก็ตามเนื่องจาก PLA เป็นเป็นกองทัพที่ใหญ่ ดังนั้นการนำเอาอาวุธใหม่เข้าประจำการพร้อมกันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ทำให้หลายหน่วยยังคงใช้อาวุธเก่าอยู่จนกว่าจะได้รับของใหม่เข้าประจำการ นอกจากนี้ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักนิยมการรบร่วม (Joint Operations Doctrine) จากที่กล่าวนั้นจะเห็นได้ว่ากองทัพจีนนั้นมีการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยซึ่งได้พัฒนากันมานานนับ 10 ปี แต่ก็เป็นการพัฒนาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะเป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังพลจำนวนมากถึง 2.3 ล้านคน มีขอบเขตหรือดินแดนที่ต้องรับผิดชอบอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งทางบกและทางทะเล การพัฒนาต่างๆ คงจะต้องดำเนินต่อไป โดยมีหน่วยงานเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Forces: SOF) การพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล การพัฒนากองกำลังทางเรือ การพัฒนาหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบก
การขนส่ง
การขนส่งในแผ่นดินใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนของคนได้ปรับปรุงตั้งแต่ในปี1990 เป็นส่วนของความพยายามการปกครองเพื่อเชื่อมชาติทั้งหมดผ่านชุดของทางด่วนที่รู้เป็นระบบทางหลวงลำตัวแห่งชาติ (NTHS) ความยาวรวมของทางด่วนคือ45,000 กม.ในปี2006ที่เท่านั้นเพื่ออเมริการถส่วนตัว เจ้าของกรรมสิทธิ์กำลังเพิ่มที่อัตราประจำปีของ15%,แม้มันยังไม่ทั่วไปเพราะว่านโยบายการปกครองซึ่งทำรถ เจ้าของกรรมสิทธิ์ราคาแพงเช่น ถนนภาษีและค่าใช้จ่าย การเดินทางอากาศได้เพิ่มแต่ยังคงไม่ต้องแปลแพงเกินไปการขนส่งระยะยาวยังถูกเด่นโดยระบบรถบัสทางรถไฟและแผนภูมิกว่า ทางรถไฟยังคือรถขนส่งที่สำคัญยิ่งในจีนและจนกระทั่งไอน้ำปีนี้ถูกคิดว่าบางคนยังอยู่ในการใช้โดยเฉพาะบนเครือข่ายแห่งอุตสาหกรรมเมือง เช่นปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้คือตึกระบบรางที่สว่าง
นโยบายทางชนชาติของจีน
จีนเป็นประเทศเอกภาพที่มีหลายชนชาติ รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายทางชนชาติที่ให้ ชนชาติต่าง ๆ มีความเสมอภาค สมานสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและขนบธรรมเนียมของชนชาติส่วนน้อยระบบปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นระบบการเมืองอันสำคัญอย่างหนึ่งของจีน คือ ให้ท้องที่ที่มีชนชาติส่วนน้อยต่าง ๆ อยู่รวม ๆ กันใช้ระบบปกครองตนเอง ตั้งองค์กรปกครองตนเองและใช้สิทธิอำนาจปกครองตนเอง ภายใต้การนำที่เป็นเอกภาพ ของรัฐ รัฐประกันให้ท้องที่ที่ปกครองตนเองปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของรัฐตามสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่นของตน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ บุคลากรทางวิชาการและ กรรมกรทางเทคนิคชนิดต่าง ๆ ของชนชาติส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก ประชาชน ชนชาติต่าง ๆ ในท้องที่ที่ปกครองตนเองกับประชาชนทั่วปแระเทศรวมศูนย์กำลังดำเนิน การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัย เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในท้องที่ที่ ปก ครองตนเองให้เร็วขึ้นและสร้างสรรค์ท้องที่ที่ปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยที่สมานสามัคคีกันและเจริญรุ่งเรือง ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ระหว่างการปฏิบัติเป็นเวลาหลายสิบปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ของจีนได้ก่อรูปขึ้นซึ่งทรรศนะและนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาทางชนชาติหลายประการที่สำคัญได้แก่
การกำเนิด การพัฒนาและการสูญสลายของชนชาตินั้นเป็นกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัญหาชนชาติจะดำรงอยู่เป็นเวลานาน
ระยะสังคมนิยมเป็นระยะที่ชนชาติต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาและเจริญรุ่งเรือง ปัจจัย ร่วมกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ลักษณะพิเศษและข้อ แตกต่างระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะดำรงอยู่ต่อไป
ปัญหาชนชาติเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั่วสังคม มีแต่แก้ปัญหาทั่วสังคมให้ลุล่วง ไปเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติจึงจะได้รับการแก้ไขอย่างมีขั้นตอน มีแต่ในภารกิจร่วมกัน ที่สร้างสรรค์สังคมนิยมเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติของจีนในปัจจุบันจึงจะได้รับการ แก้ไขอย่างมีขั้นตอนได้
ชนชาติต่าง ๆ ไม่ว่ามีประชากรมากหรือน้อย มีประวัติยาวหรือสั้นและมีระดับ การพัฒนาสูงหรือต่ำ ต่างก็เคยสร้างคุณูปการเพื่ออารยธรรมของปิตุภูมิ จึงควรมีความ เสมอภาคทั้งนั้น ควรเสริมสร้างความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ระหว่างประชาชนชนชาติต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและรักษาเอกภาพแห่งชาติ
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่เป็นภาระหน้าที่มูลฐานแห่งสังคมนิยม และก็ เป็นภาระหน้าที่มูลฐานของงานชนชาติของจีนในขั้นตอนปัจจุบัน ชนชาติต่าง ๆ ต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุซึ่งความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
การปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต่อทฤษฎีชนชาติของลัทธิมาร์กซ และเป็นระบอบมูลฐานในการแก้ปัญหาชนชาติของจีนการพยายามสร้างขบวนเจ้าหน้าที่ชนชาติส่วนน้อยขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีทั้งคุณธรรม และขีดความสามารถเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการทำงานทางชนชาติให้ดีและแก้ปัญหาทางชนชาติให้ลุล่วงไปปัญหาทางชนชาติกับปัญหาทางศาสนามักจะผสมผสานอยู่ด้วยกันในท้องที่บาง แห่ง ขณะจัดการกับปัญหาทางชนชาติ ยังต้องสังเกตปฏิบัติตามนโยบ
เมืองจีน
|
อิตเต็งไต้ซือ |
#1 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 22:41:28 ] |
|
อิตเต็งไต้ซือ |
#2 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:10:42 ] |
|
ประวัติศาสตร์จีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์ฉิน (ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกได้ดังนี้ ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว(yuanmou man)มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว ยุคโบราณ ราชวงศ์เซี่ย บทความหลัก ราชวงศ์เซี่ย เขตแดนราชวงศ์เซี่ย " ติ่ง " ภาชนะดินเผาใช้ในการหุงหาอาหารเริ่มประมาณ 2,205-1,766 ปีก่อนคริสตกาล มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซียนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานถึง 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ยซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์ ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณหกร้อยปี คือ ตั้งแต่ 1223-579 ปีก่อนพุทธศักราช ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจ้วหวัง ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้...มโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของพวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 579 ปีก่อนพุทธกาล ราชวงศ์โจว นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือ ยุคชุนชิว หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ.หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง ยุคเลียดก๊ก ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัฐเว่ย และ รัฐเจ้า ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน ราชวงศ์ฉิน นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน) พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น ราชวงศ์ฮั่น เมื่อหลิวปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า จัดรพรรดิฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของหวังมั่งมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ราชวงศ์จิ้น ซือหม่าเอี๋ยน (司马炎) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน(刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ(汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀) เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ ราชวงศ์เหนือใต้ หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ เพิิ่มเติมทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่าง้งียบ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อน ก่อนก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังค์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี ราชวงศ์สุย สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร ราชวงศ์ถัง หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และไ้ด้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก)ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน เเสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงเเล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องเเละเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานเเม่ทัพชายเเดนจึงก่อกบฎเเละยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งเเต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแน่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี ราชวงศ์ซ่ง ปีค.ศ. 960 เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง ราชวงศ์หยวน ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งเเรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น เเต่ไม่ประสบความสำเร็จ สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนเเรง จนเกิดกบฎ เเละสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ เเละขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากเเผ่นดินจีนได้สำเร็จ ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง(จักรพรรดิหงหวู่)ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911)เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที" จีนยุคใหม่ หลังจากพระเจ้าปูยี ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติและเข้าไปอยู่ภายใต้การคุ้มครองของญี่ปุ่นซึ่งเข้าครองดินแดนบางส่วนของจีนและกดขี่ข่มเหงคนจีนจำนวนมาก กลายเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่นเมื่อถูกสถาปนาขึ้นเป็นฮ่องเต้ของดินแดนแมนจูกัวซึ่งญี่ปุ่นยึดครองไว้ ต่อมาต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมาเจ๋อตุง และถูกจับเข้าค่ายเพื่ออบรมเปลี่ยนแนวความคิดตามหลักการของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ฮ่องเต้พระเองค์นี้รอดตายและมีพระชนม์ชีพจนแก่ชราและสวรรคตด้วยโรคภัยของชายชราทั่วไป ถือเป็นการสิ้นสุดจีนโบราณและก้าวเข้าสู่ยุคจีนใหม่ซึ่งเป็นการต่อสู้ชิงอำนาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมา เจ๋อ ตุง กับพรรครัฐบาล ของ นายพล เจียง ไค เช็ค ยุคสาธารณรัฐ ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายชนะ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#3 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:12:37 ] |
|
[ ![]() ซุนจื่อปิงฝ่า”หรือ”ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อ” ซุนจื่อปิงฝ่า”เป็นบทนิพนธ์ทฤษฎีการทหารยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณของจีน และก็เป็นหนึ่งในหนังสือโบราณของจีนที่มีบทบาท ต่อโลกมากที่สุดและกว้างขวาง ความคิดในการวางแผนกุศโลบาย และความคิดทางปรัชญาที่บรรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ได้นำไปใช้ในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจและด้านอื่นๆอย่างกว้างขวาง “ซุนจื่อปิงฝ่า”เขียนในสมัยที่ห่างจากปัจจุบัน 2,500 ปีก่อน จึงถือได้ว่าเป็นบทนิพนธ์เกี่ยวกับทฤษฎีการทหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับ”On War” หนังสือทฤษฎีการทหารที่เขียนโดยนายคราว์เซวิทส์ นักการทหารชาวยุโรป “ซุนจื่อปิงฝ่า”มีประวัติยาวนานกว่าถึง 2,300 ปี นายซุนอู่ ผู้เขียน“ซุนจื่อปิงฝ่า” เป็นนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ ในสมัยชุนชิวจั้นกั๋วของจีน เขาได้รับการยกย่องเป็น”ปรัชญาเมธี การทหาร” สมัยนั้น ประเทศจีนยังไม่ได้รวมตัวเป็นเอกภาพ ยังแบ่งเป็น ก๊กใหญ่น้อยต่างๆหลายก๊ก เพื่อหนีภัยสงคราม ซุนอู่ได้เดินทางไปอยู่ก๊กอู๋ กษัตริย์ก๊กอู๋แต่งตั้งให้เขาเป็นแม่ทัพใหญ่ ซุนอู่ ผู้มีความสามารถพิเศษด้านการทหาร ได้บัญชาทหารก๊กอู๋ เพียง 3 หมื่นคนสามารถเอาชนะทหารรุกรานของก๊กสู่ที่มีจำนวนถึง 2 แสนคนได้ ได้สร้างชื่อเสียงและอิทธิพลอย่างสูงในบรรดาก๊กต่างๆ ต่อมา ซุนอู่ได้รวบรวมและบรรยายสรุปประสบการณ์การทหารและการทำศึกสงครามของสมัยก่อนและสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว เขียนเป็น “ซุนจื่อปิงฝ่า”ขึ้น อธิบายกฎเกณฑ์การทหารทั่วไป สร้างเป็นระบบทฤษฎีการทหารที่สมบูรณ์ขึ้นทั้งชุด “ซุนจื่อปิงฝ่า”มีตัวอักษรจีนทั้งหมดกว่า 6,000 ตัว แบ่งเป็น 13 บท แต่ละบทมีความคิดหลักหนึ่งประการ เช่น บท”กลยุทธ์”ได้บรรยายเงื่อนไขในการทำสงครามว่า ภายใต้สภาพเช่นใดจึงจะดำเนินการรบได้ เขาได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสงครามกับการเมืองและเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง และสรุปว่า ปัจจัย 5 ประการที่จะทำให้แพ้หรือชนะสงครามคือ การเมือง เวลา ความได้เปรียบทางภูมิประเทศ แม่ทัพผู้บัญชาการและระบบกฎหมาย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือปัจจัยด้านการเมือง บทว่าด้วย”การทำศึก ” บรรยายว่าควรจะดำเนินการรบอย่างไร บทว่าด้วย“กลวิธีการรุก ” แนะนำว่าจะเข้าโจมตีดินแดนข้าศึกอย่างไร ซุนอู่เห็นว่าช่วงชิงชัยชนะและ ความสำเร็จมากที่สุดด้วยค่าทดแทนที่น้อยที่สุด คือใช้กลยุทธ์ชนะสงครามโดยไม่ต้องรบ พิชิตเมืองของข้าศึก โดยไม่ต้องใช้กำลังเข้าตีหักโหม และกำจัดข้าศึกโดยไม่ต้องใช้เวลานาน เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซุนอู่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ การใช้กลยุทธ์ในการเอาชนะสงคราม เขาชี้ว่า กลยุทธ์ดีที่สุดในการบัญชากองทหาร ก็คือการสามารถเอาชนะด้วยกุศโลบายทางการเมือง รองลงไปคือใช้วิธีการทางการทูต ถัดจากนั้นจึงจะเป็นการใช้กำลังอาวุธ ส่วนกลยุทธ์ที่ด้อยที่สุดคือยกทัพตีเมือง การที่จะใช้กลยุทธ์ในการโจมตีอย่างได้ผล ไม่เพียงแต่ต้องตระหนักดีถึง กำลังที่แท้จริงของตนเองเท่านั้น หากยังจะต้องรู้สภาพของฝ่ายตรงข้าม ในบทว่าด้วย”การใช้จารชน ” ซุนอู่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าอยากรู้สภาพข้าศึก ก็ต้องสันทัดในการใช้จารชนแบบต่างๆไปรวบรวมสะสมข่าวกรองให้ได้มากที่สุด ซุนจื่อปิงฝ่า”ได้รวบรวมเอาความคิดทางปรัชญาอันล้ำค่ามากมาย เช่นสำนวน”รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” กลายเป็นสำนวนติดปาก ชาวจีน “ซุนจื่อปิงฝ่า”เป็นตำราพิชัยสงครามที่เต็มไปด้วย ความคิดวิภาษวิธี หนังสือได้บรรยายถึงสภาพที่เป็นปฏิปักษ์และการเปลี่ยนแปลงของคู่ความขัดแย้งต่างๆ เช่น ข้าศึกกับตนเอง เจ้าภาพกับผู้มาเยือน กำลังมากกับกำลังน้อย ฝ่ายเข้มแข็งกับฝ่ายอ่อนแอ ฝ่ายโจมตีกับฝ่ายตั้งรับ ชัยชนะกับพ่ายแพ้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งเป็นภัยเป็นต้น “ซุนจื่อปิงฝ่า”ได้กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีบนพื้นฐานของการค้นคว้าศึกษาความสัมพันธ์ของคู่ความขัดแย้งและเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ความคิดวิภาษวิธีใน“ซุนจื่อปิงฝ่า”เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาของปรัชญาวิภาษวิธีของจีน “ซุนจื่อปิงฝ่า”ตำรงพิชัยสงครามเล่มนี้ เป็นคลังที่รวมแห่ง”กลยุทธและกุศโลบาย” นักการทหารแต่ละยุคสมัยได้นำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ชื่อกลยุทธ์ ตำนาน เรื่องราวต่างๆในตำราเล่มนี้ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวจีนทั้งหลาย แม้กระทั่งเด็กและสตรีก็พูดกันติดปาก ระบบความคิดการทหารและระบบปรัชญาอันละเอียดรอบคอบ หลักตรรกะที่ลึกซึ้ง และยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่พลิกแพลงผันแปรไม่สิ้นสุดใน“ซุนจื่อปิงฝ่า”มีอิทธิพลกว้างขวางและยาวไกลต่อแวดวงความคิดทางการทหารในขอบเขตทั่วโลก ตำราพิชัยสงครามโบราณที่มีชื่อเสียงโด่งดังเล่มนี้แปลเป็นภาษาต่างๆถึง 29 ภาษา เช่นภาษาอังกฤษ รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่นและภาษาอื่นๆเป็นต้น เผยแพร่ไปในประเทศต่างๆทั่วโลก มีหลายประเทศ ได้กำหนดให้“ซุนจื่อปิงฝ่า”เป็นตำราสอนของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยการทหาร แหล่งข่าวแจ้งว่า ในระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียที่เกิดขี้นในปี 1991 คู่สงครามต่างได้ศึกษาวิจัย“ซุนจื่อปิงฝ่า” เพื่อนำความคิดทางการทหารอันล้ำค่าไปใช้เป็นหลักการศึกสงคราม “ซุนจื่อปิงฝ่า”ได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงสังคม วงการค้าและด้านอื่นๆ วิสาหกิจและนักธุรกิจทั้งจีนและต่างประเทศจำนวนมาก ได้ประยุกต์แนวความคิดของ“ซุนจื่อปิงฝ่า”ในการบริหารธุรกิจ และการตลาดอย่างได้ผล |
อิตเต็งไต้ซือ |
#4 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:13:23 ] |
|
หนังสือ“สื่อจี้” หรือ ”บันทึกประวัติศาสตร์” หนังสือ“สื่อจี้” หรือ”บันทึกประวัติศาสตร์” เป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ชิ้นยิ่งใหญ่ของจีน ได้บันทึกประวัติศาสตร์โดยผ่านชีวประวัติของบุคคลสำคัญต่างๆ เป็นหนังสือที่มีบทบาทและอิทธิพลกว้างไกลและลึกซึ้งต่อ การวิจัยค้นคว้าประวัติศาสตร์และวรรณคดีในสมัยหลัง “สื่อจี้”ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกห่างจากปัจจุบัน 2,100 ปี โดยได้บันทึกสภาพการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในระยะเวลา 3,000 ปีตั้งแต่บรรพกาลจนถึง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นหนังสือประวัติศาสตร์รวมหลายยุคสมัย เล่มแรกที่ใช้แนวเขียนโดยอาศัยชีวประวัติของบุคคลสำคัญเป็นแกนกลาง นับได้ว่า เป็นการริ่เริ่มวรรณกรรมประเภทบันทึก ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ก่อนที่จะบรรยายคุณค่าของ“สื่อจี้”ที่มีต่อการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์และวรรณคดี ขอแนะนำซือหม่าเชียน นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ประพันธ์หนังสือ“สื่อจี้”เล่มนี้ก่อน ซือหม่าเชียนเป็น นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกของจีน บิดาของเขาเป็นขุนนาง ทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ในราชสำนัก ซือหม่าเชียนเป็น คนช่างคิดตั้งแต่เด็ก เขามักจะมีความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเอง เกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญสมัยก่อนในตำนานต่างๆ เมื่อเขายังหนุ่ม เขาเคยออกเดินทางไปทัศนาจรทั่วประเทศ เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ขนบธรรมเนียม สภาพสังคม เศรษฐกิจและเกษตรกรรม เยี่ยมเยือนสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในท้อง ถิ่นต่างๆของจีน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคลและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ต่อมา ซือหม่าเชียน ได้สืบต่อตำแหน่งของบิดาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ สมัยนั้น การบันทึกประวัติศาสตร์ของยุคก่อน ส่วนใหญ่จะแต่งขึ้นในสมัยที่จีนยังแบ่งเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย มีอำนาจรัฐแตกแยกกระจัดกระจาย ดังนั้น บรรดาผู้ประพันธ์จึงมักจะยึดถือทัศนะทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน นอกจากนั้น ในขณะที่รวบรวมเรียบเรียงหนังสือของคนยุคก่อน ซือหม่าเชียนเตรียมตัวจะประพันธ์หนังสือประวัติศาสตร์เล่มสมบูรณ์ด้วยตนเอง แต่เคราะห์ร้ายที่เขาถูกจักรพรรดิสั่งลงโทษด้วยการตัด อวัยวะเพศเนื่องจากสาเหตุทางการเมือง ซือหม่าเชียนถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส แม้ว่าต่อมาราชสำนักจะกลับแต่งตั้งเขาให้เป็นขุนนางชั้นสูงในภายหลัง แต่สภาพความคิดจิตใจของเขาเปลี่ยนแปลงไป อย่างมาก เขาเห็นว่า ความหมายเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้เขามี ชีวิตอยู่ต่อก็คือ เขียน“สื่อจี้”ให้เสร็จสมบูรณ์ “สื่อจี้” หนังสือเล่มยิ่ง ใหญ่เล่มนี้ ซือหม่าเชียนใช้เวลาเขียนถึง 13 ปี ทั้งเล่มประกอบด้วย 103 บทใช้ตัวอักษรกว่า 5 แสนตัว “สื่อจี้”แบ่งเป็นเปิ่นจี้ เปี่ยว ซู สื้อเจียและเลี่ยจ้วน 5 ภาค “สื่อจี้”ได้อาศัยชีวประวัติของจักรพรรดิและบุคคลสำคัญอื่นๆในประวัติศาสตร์เป็นโครงสร้างการประพันธ์ “เปิ่นจี้”เป็นการบันทึกสภาพความ เจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมทรุดของจักรพรรดิองค์ต่างๆและเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์ “เปี่ยว”เป็นตารางที่แสดง เหตุการณ์สำคัญต่างๆของแต่ละยุคสมัยตามลำดับเวลา “ซู”คือบทความเกี่ยวกับด้านต่างๆเช่น ดาราศาสตร์ ปฎิทิน การชลประทาน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเป็นต้น “สื้อเจีย”ได้ บรรยายประวัติ เรื่องราวและกิจกรรมของบรรดา เจ้าผู้ครองนครรัฐ ส่วน”เลี่ยจ้วน”เป็นชีวประวัติของบุคคลที่มีอิทธิพล ของชนชั้นต่างๆในแต่ละยุคสมัย และยังมีบทความบางบทได้บันทึกความเป็นมาและประวัติ ของชนชาติส่วนน้อยด้วย ภาค“เปิ่นจี้ สื้อเจียและเลี่ยจ้วน”เป็น 3 ภาคที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ทั้ง 3 ภาคนี้ล้วนเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์โดยผ่านเรื่องราวชีวประวัติบุคคล ด้วยเหตุนี้ ซือหม่าเชียนจึงเป็นผู้คิดค้น รูปแบบการ ประพันธ์หนังสือประวัติศาสตร์แนวใหม่ที่เรียกกันว่า”จี้จ้วนถี่” ซึ่งแปลว่า บันทึกประวัติศาสตร์ด้วยชีวประวัติของบุคคลสำคัญ ในสายตาของคนจีน “สื่อจี้”เป็นหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ ตามสภาพความเป็นจริง สมัยก่อน ขุนนางจะถืองานการปรับปรุง เพิ่มเติมเรื่องราวประวัติศาสตร์เป็นการสรรเสริญเยินยอคุณงามความดีของจักรพรรดิผู้ทรงปรีชาสามารถและเสนาบดีผู้จงรักภักดี หรือเป็นการชื่นชมสภาพความมั่งคั่งของรัชกาลของตนอย่างพงศาวดาร แต่ซือหม่าเชียนไม่ได้เลียนแบบคนสมัยก่อน เขาจะประพันธ์ โดยเน้นสภาพความเป็นจริง เขาได้เชื่อมโยงการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและวัฒนธรรม ตลอดจนดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์และ ประเพณีนิยมให้เข้าด้วยกันเป็นองค์เอกภาพ สร้างโลกประวัติศาสตร์ที่มีสีสันและมีชีวิตชีวาแก่ผู้อ่าน เนื่องจากตน มีประสบการณ์ถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม ซือหม่าเชียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อพลังชีวิต และคุณค่าของตัวบุคคล ดังนั้น “สื่อจี้”จึงต่างกันกับหนังสือ พงศาวดารของราชวงศ์สมัยก่อนตรงที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความชังที่เด่นชัด ในหนังสือนอกจากจะเขียนโจมตีและเสียดสี ชนชั้นปกครองของสังคมศักดินา โดยเฉพาะราชสำนักฮั่น ยังได้บันทึกการเคลื่อนไหวของประชาชนในการต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการและทารุณกรรม ได้กล่าวชื่นชมบุคคลชั้นต่ำที่มีคุณความดีอย่างกระตือรือร้น และได้วาดภาพอันยิ่งใหญ่ให้ วีรบุรุษผู้มีจิตใจรักชาติ เหตุการณ์จำนวนมาก ถ้าพิจารณาด้วยทัศนะของราชสำนักและ แนวคิดทางจริยธรรมแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ในสายตาของซือหม่าเชียน กลับเป็นเหตุการณ์ที่มีคุณค่าและควรแก่การบันทึกไว้ทั้งนั้น “สื่อจี้”มีคุณค่าสูงยิ่งทางด้านวรรณคดี ได้อาศัยสภาพความจริงในประวัติศาสตร์สร้างภาพบุคคลขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา เช่น ภาพชาวนาที่องอาจกล้าหาญก่อการกบฏต่อต้าน การปกครองเผด็จการ ภาพวีรบุรุษที่มีอุดมคติกว้างไกลแต่ดูท่าทางอ่อนแอ ภาพบุคคลที่มีความสามารถประเสริฐแต่ปลีกตัวออกจากราชการ แม่ทัพที่มีวิสัยทัศน์และรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง มือมีดที่ชื่อสัตย์ที่ยอมเสียชีวิตเพื่อประเทศชาติ ปัญญาชนแสนฉลาดที่เป็นนักวางแผนกุศโลบายสุดยอด ตลอดจนหญิงสาวสวยงามที่หนีตามชายชู้ไปเป็นต้น ภาพลักษณ์ของบุคคลดังกล่าวที่มีชีวิตชีวา เป็นส่วนที่มีสีสันและสำคัญที่สุดของ”สื่อจี้” “สื่อจี้”ได้เล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องตามความจริง เขียนเป็นระบบชัดเจน ใช้ภาษารวบรัดและสละสลวย เข้าใจง่าย สไตล์การบันทึกมีความหนักแน่นและสนุกสนาน ถือว่าเป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสำเร็จสูงสุดของจีน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#5 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:14:13 ] |
|
ยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์จีน ในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,000 ปีแห่งสังคมศักดินาของจีน มีสมัยที่เจริญรุ่งเรืองมากอยู่หลายช่วง คนปัจจุบันเรียกว่า”เซิ่งซื่อ” แปลว่า”สมัยที่เจริญรุ่งเรือง” เช่น”เหวินจิ่งจือจื้อ”ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก “เจินกวนจือจื้อ”จนถึง “ไคหยวนเซิ่งซื่อ”ในราชวงศ์ถัง “หย่งซวนจือจื้อ”ในราชวงศ์หมิง และ”คังยงเฉียนเซิ่งซื่อ”ในราชวงศ์ชิง นอกจากนั้น ยังมี”จั้นกั๋วเซิ่งซื่อ”ที่ไม่เป็นที่รู้จักกัน ในบรรดา”สมัยที่เจริญรุ่งเรือง”ดังกล่าว “ไคหยวนเซิ่งซื่อ”และ “คังยงเฉียนเซิ่งซื่อ”เป็น”สมัยที่เจริญรุ่งเรือง”ที่สร้างความมั่งคั่งร่ำรวยและประทับใจชาวจีนมากที่สุด. ”สมัยที่เจริญรุ่งเรือง”ทั้ง 5 สมัย ล้วนเกิดขึ้นหลังจากผ่าน ความปั่นป่วนในช่วงก่อนหน้าแต่ละสมัย และสร้างความเจริญถึงระดับสูงสุดใน ช่วงพัฒนาของราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก่อร่างสร้างตัวขึ้นบน ซากปรักหักพังของราชวงศ์ฉิน ภายหลังการบูรณะฟื้นฟูเป็นเวลา 170 ปี จึงได้เจริญรุ่งเรืองทั่วทุกด้าน “ไคหยวนเซิ่งซื่อ”เกิดขึ้นหลังจากความวุ่นวายของราชวงศ์สุยสงบเรียบร้อยลง ใช้เวลาสร้างความมั่งคั่งเกือบ 100 ปี ราชวงศ์หมิงได้ขับไล่ทหารมองโกลของราชวงศ์หยวนจนออกนอกกำแพงเมืองจีนไป กำจัดอิทธิพลต่างๆให้หมดสิ้นและรวมจีน เป็นเอกภาพ ใช้เวลาบูรณะสร้างสรรค์ประมาณครึ่งศตวรรษ จึงเข้าสู่ระยะ”หย่งซวนจือจื้อ”ที่เจริญรุ่งเรือง ตั้งแต่รัชlสมัยว่านลี่เป็นต้นมา สังคมเริ่มปั่นปวน จนถึงรัชกาลฉงเจิน อันเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ผูกพระศอสิ้นพระชนม็แล้ว ราชวงศ์หมิงสิ้นสุดลง และทหารแมนจูของราชวงศ์ชิงเข้ายึดกรุงปักกิ่ง ความวุ่นวายของสังคมกินเวลานานกว่า 50 ปี จากนั้นราชวงศ์ชิงต้องยกทัพไปปราบปรามทหารชาวนาของหลี่จื้อเฉิงและของจางเซี่ยนจงเป็นเวลาอีกเกือบ 20 ปี นับได้ว่า ราชวงศ์ชิงได้สร้างอาณาจักร ขึ้นบนพื้นฐานความปั่นป่วนตั้งแต่ปลายราชวงศ์หมิงเกือบ 70 ปีจึงได้เกิดสังคมที่มั่งคั่ง ส่วนระยะเจริญรุ่งเรืองในสมัยจั้นกั๋วนั้นลักษณะแปลกออกไป คือสมัยนั้นประเทศจีนยังแบ่งเป็นก๊กใหญ่น้อยหลายก๊กอยู่รวมกัน เกิดความรุ่งเรืองชั่วคราวในช่วงเวลาที่ค่อนข้างยาวช่วงหนึ่ง แต่สงครามขยายดินแดนระหว่างก๊กไม่มีวันสงบ ในที่สุด ก๊กฉินของจินซีฮ่องเต้ได้รวมประเทศจีนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงเข้าสู่ยุคพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ ยุคสมัยที่รุ่งเรืองแต่ละสมัยมีลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกันคือ ประเทศเป็นเอกภาพ เศรษฐกิจคึกคัก การเมืองมีเสถียรภาพ สังคมสงบสุข ศักยภาพโดยรวมของประเทศ เข้มแข็งเกรียงไกร และวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง ในสมัยยุคชุนชิว ขนบธรรมเนียม สังคมเสื่อมจนไม่มีบทบาทในการบริหารปกครอง ปรัชญาเมธีขงจื๊อเห็นว่า สังคมสมัยนั้น”มีความปั่นป่วน” ระบบการปกครองแบบเก่าจะล่มสลาย ระบบใหม่กำลังก่อตัวขึ้นพอเข้าสู่ยุคจั้นกั๋ว หลี่หลีดำเนินการปฏิรูปในก๊กเว่ย อู๋ฉีปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในก๊กฉู่ กระทั่งเข้าสู่ช่วงปลายสมัย ก๊กฉิน ก๊กหาน ก๊กฉี ก๊กเจ้าและก๊กเอี้ยนปฏิรูปภายในก๊กตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปภายในก๊กฉินที่ซางเอียนเป็นผู้ดำเนินการมีประสิทธิผลมากที่สุด ทำให้ก๊กฉินมีความเข้มแข็งเกรียงไกรกว่าก๊กอื่นๆ แม้ว่าผลการปฏิรูปของแต่ละก๊กจะแตกต่างกัน แต่ล้วนเกิดบทบาทสำคัญในการก้าวจากสังคมทาสมาสู่สังคมศักดินาในที่สุด ต่อมา ก๊กฉินใช้กำลังทหารผนวก 6 ก๊กที่เหลือตามเป็นลำดับ รวมจีนเป็นปึกแผ่น ยกเลิกระบอบเจ้าผู้ครองเมืองแบบ สมัยก่อน ใช้ระบอบมณฑลและเมืองเข้าแทน รวมอำนาจรัฐอยู่ที่จักรพรรดิองค์เดียว ทำให้ทฤษฏี”รวมดินแดนทั้งหมดเป็นเอกภาพ”ที่เสนอขึ้นในสมัยชุนชิว กลายเป็นความจริงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การพิจารณาว่าประเทศเป็นเอกภาพหรือแบ่งแยกเป็นแคว้นต่างๆ แบบไหนเป็นสิ่งถูกต้องจะต้องพิจารณาจากพลังการผลิตและความก้าวหน้าของสังคม แม้ราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งจะปกครองมานานหลายร้อยปี หากการเมืองทุจริตเน่าเฟะ พลังการผลิตย่อมถูกขัดขวาง ประชาชน เดือดร้อนทุกข์ยาก ก็จะทำให้ชาวนาก่อกบฏขึ้นเพื่อโค่นล้มการปกครองที่เผด็จการทำให้ประเทศที่เป็นปึกแผ่นต้องแบ่งแยกออกอีกครั้ง แต่เมื่อสภาพการณ์แตกแยกยืดเยื้อมานาน ในที่สุดก็จะกลับรวมเป็นเอกภาพอย่างที่พูดกันว่า ”เฟินจิ่ว...เหอ”แปลว่าแยกตัวนานก็ต้องรวมกันอีก อันเป็นกฎ การพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของจีน การยกย่อง”ต้าอีถ่ง”หรือ”รวมดินแดนทั้งหมดเป็นเอกภาพขนาดใหญ่”นั้น ก็เพราะว่าความเป็นเอกภาพดังกล่าวจะเป็นสิ่งแวดลอมทางสังคมสงบสุข เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและพลังการผลิต และยกคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะฉะนั้น ระดับความสมบูรณ์ของความเป็นเอกภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าสมัยนั้นๆเป็นสมัยที่เจริญรุ่งเรืองหรือไม่ ตั้งแต่ปี 179 จนถึงปี 87 ก่อนคริสต์กาล เป็นระยะที่ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกแผ่ขยายดินแดน ยกทัพไปทางเหนือเพื่อโจมตี ชาวซงหนู ชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ ทำสงครามยืดเยื้อเป็นเวลาถึงกึ่งศตวรรษ และได้ขับไล่ชนเผ่าซงหนู ให้ออกไปไกลถึงเขตทะเลทรายทางเหนือ และผนวกเอาเขตภาคใต้ของทะเลทราย ที่ชนเผ่าซงหนูเคยยึดครองไว้ ตลอดจนฉนวนเหอซี(เขตรอยต่อซึ่งอยู่ ทางตะวันตกของแม่น้ำเหลือง)เข้าไว้ในผืนแผ่นดินของราชวงศ์ฮั่น ทิศตะวันตก ซึ่งก็คือทางตะวันตกของด่านอวี้เหมินกวน ภาคใต้ของเขตซินเจียงในสมัยนั้นเรียกว่า“ซีอวี้” ก็ยอมภักดีต่อ ราชวงศ์ฮั่น ทางทิศตะวันออก ทหารฮั่นได้พิชิตเกาหลีและผนวกที่ราบ เหลียวตงเข้าเป็นดินแดนของราชวงศ์ฮั่น ส่วนทางทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ เขตแดนของ ชนชาติส่วนน้อยต่างๆในมณฑลกวางตุ้ง ยูนนาน เจ้อเจียงและ ฮกเกี้ยนก็ยอมรับการปกครองของราชวงศ์ฮั่น การรวมดินแดนทั้งหมดเป็นเอกภาพ ของราชวงศ์ฮั่นมีความรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าราชวงศ์ฉินมาก “การรวมดินแดนทั้งหมดเป็นเอกภาพ ”ที่สร้างขึ้นในราชวงศ์ถังนั้น ขยายขนาดใหญ่ยิ่งกว่าของราชวงศ์ฮั่นอีก ราชวงศ์ถังยกทัพไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและพิชิตชนเผ่าทูเจวี๊ยะ โจมตีเกาหลีทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนพ่ายแพ้ถึงที่สุด แล้วก่อตั้งที่ว่าการในเขตทั้ง 2 ก่อตั้งที่ว่าการของมณฑลเฮยหลงเจียง เพื่อปกครองภาคอีสานของจีน “ไคหยวนเซิ่งซื่อ”ของราชวงศ์ถังได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเมื่อเทียบกับสมัยก่อน อาณาเขตของจีนในราชวงศ์ถังกว้างขวางกว่าของราชวงศ์ฮั่นมาก ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ถังได้สร้างความเป็นเอกภาพของประเทศจีนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็น 2 ยุคสมัยสำคัญ ทำให้อาณาเขตจีนขยาย กว้างขวางออกไป ในรัชสมัยหย่งเล่อ ซวนเต๋อของราชวงศ์หมิง ทหารหมิงได้ ปราบปรามทายาทของราชวงศ์หยวนที่อยู่ทางทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ และเข้าควบคุมภาคใต้และภาคเหนือของทะเลทราย แล้ว ตั้งระบบปกครองโดยแต่งตั้งหัวหน้าเผ่าชนขึ้นในเขตแดนภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้(ได้แก่ยูนนาน กุ้ยโจวและเสฉวนในปัจจุบัน) ส่วนในภาคอีสานของแผ่นดินจีน สมัยนั้น ประเทศรอบข้างของจีน เช่นอันนัม สยาม เกาหลี เป็นต้นล้วนเป็นประเทศในอาณัติของราชวงศ์หมิง แต่ต่อมาภายหลัง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกกำแพงเมืองจีนกลับถูกชนชาติมองโกลยึดครองไป ราชวงศ์หมิงกับชนชาติมองโกลทำศึกกันบ้างสงบศึกบ้าง อาณาเขตของราชวงศ์หมิงแคบลง จนถึง”คังยงเฉียนเซิ่งซื่อ”ในราชวงศ์ชิง อาณาเขตของจีนจึงกลับกว้างใหญ่อีกครั้งหนึ่ง อันที่จริงพรมแดนตะวันตกของจีนสงบราบคาบลงจริงๆ ก็เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ได้ 24 ปีแล้ว มณฑลชิงไห่ เขตซินเจียงและเขตทิเบตจึงขั้นอยู่กับ การปกครองจากส่วนกลางของราชวงศ์ชิง อาณาเขตของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง ภาคตะวันตกครอบคลุมถึงฝั่งตะวันออกของทะเลสาบปาเอ่ อร์เคอสือหู ภาคเหนือรวมเขตทะเลทรายทั้งเหนือใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือถึงทางเหนือของภูเขาซิงอันหลิ่ง ภาคตะวันออกจรดปากแม่น้ำอูซูหลี่เจียงซึ่งรวมทั้งเกาะซัคฮาลิน ภาคตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงเกาะไต้หวัน ส่วนภาคใต้ครอบคลุมถึงหมู่เกาะหนันซา และเขตพื้นที่บริเวณดังกล่าวทั้งหมด ราชสำนักชิงได้แต่งตั้งขุนนางระดับผู้ว่าราชการมณฑลไปบริหาร และส่งแม่ทัพทหารลงไปประจำพื้นที่ สมัยนั้น มีกว่า 50 ชนชาติที่ อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง ตั้งแต่รัชกาลจักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิงได้ยุติการสร้างและบูรณะกำแพงเมืองจีน เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างชนชาติฮั่นกับชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ทางเหนือของจีน ขจัดหมดไปแล้ว เป็นการปูพื้นฐานให้กับอาณาเขตในปัจจุบันและความเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ(อาณาเขตจีนปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 3 ใน 4 ของอาณาเขตจีนในรัชกาลจักรพรรดิคังซี) ยุคสมัยที่รุ่งเรืองทุกสมัย ต่างตั้งอยู่บนเงื่อนไขของ”การรวมดินแดนทั้งหมดให้เป็นเอกภาพ” ที่สังคมสงบสุขเรียบร้อย พลังการผลิตพัฒนาอย่างมั่นคง ทั่วประเทศมีธัญญาหารเพียงพอ สภาพการคลังเข้มแข็ง อาทิเช่น สมัยรัชกาลเฉียนหลง จีนมั่งคั่งร่ำรวยมากที่สุด ทั่วประเทศมีธัญญาหารและเงินสำรองจำนวนมหาศาล ราชสำนักชิงเคยประกาศยกเลิกการเก็บภาษีอากรด้านการเกษตรจากชาวไร่ชาวนาถึง 4 ครั้ง สะสมเงินแท่งได้ถึง 120 ล้านตำลึง คลังของรัฐมีเงินสำรองประมาณ 80 ล้านตำลึง แม้กระทั่งเกิดสงคราม คลังของรัฐยังคงมีเงินสำรองไม่เคยต่ำกว่า 20 -30ล้านตำลึง |
อิตเต็งไต้ซือ |
#6 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:15:06 ] |
|
ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางสายไหม เส้นทางสายไหมเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย เส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆนั้นหมายถึงเส้นทางบกที่ จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้น เริ่มต้นจากเมืองฉางอาน ทางทิศตะวันออกจนถึงกรุงโรม ทางทิศตะวันตก เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแย กสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือ เส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวน ผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่น ไปถึงต้าเย่ซื่อ(แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ(คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน)ซี่งอยู่ทางตะวันตก สุดท้ายไปถึงอาณาจักรโรมัน ส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวน ผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่น ผ่านต้าหว่าน คางจวี (อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก” นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่งคือ“เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี จนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วิน ไปถึงมอพาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อจากนั้น เลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหมสายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปี ได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้น มีไม้เท้าทองที่ยาว142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ”ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหมสายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อน เส้นทางสายไหมอีกสายหนึ่งคือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย(ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา (ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางเส้นนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหมทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกเป็นต้นยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล”สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน “เส้นทางสายไหมทางทะเล”ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น“เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โค โปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกัน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#7 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:15:47 ] |
|
เล่าเรื่องสนุกเกี่ยวกับชื่อของด่านกำแพงเมืองจีน ในบริเวณที่เป็นจุดอันตรายของกำแพงเมืองจีนจะมีการสร้างด่านขึ้นเกือบทุกที่ ในจำนวนนั้น ที่มาของชื่อด่านที่มีชื่อเสียงจำนวนมากล้วนมีเรื่องราวเล่าขานที่เปี่ยมไปด้วยความสนุกสนาน ด่านซานไห่กวนซี่งได้ฉายาว่าเป็น“ด่านแรกของกำแพงเมืองจีน”ตั้งอยู่ที่แหล่งเชื่อมมณฑลเหอเป่ยและมณฑลเหลียวหนิง เป็นจุดเริ่มต้นของกำแพงเมืองจีน ด้านเหนือของด่านซานไห่กวนติดภูเขาเยียนซาน ด้านใต้ติดทะเลป๋อไห่ น้ำใสเขาสวย ทิวทัศน์สวยงามมาก เวลาขึ้นไปอยู่บนด่านมองออกไปไกลๆ จะเห็นทิวทัศน์ทั้งภูเขาและทะเลอันแสนสง่างาม ด่านนี้ก็เลยได้ชื่อว่าด่านซานไห่กวน(ซานแปลว่าภูเขา ไห่แปลว่าทะเล) ผู้ริเริ่มก่อสร้างด่านซานไห่กวนคือนายพลสวีต๋า ผู้มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หมิง ตอนนั้นนายพลท่านนี้ได้ก่อสร้างด่านซานไห่กวนที่นี่เพื่อควบคุมทั้งภูเขาและทะเลด้วยวิสัยทัศน์ทางการทหารอันยอดเยี่ยมของเขา ด่านนี้มีประตูทั้งหมดสี่บาน บนหอเหนือประตูตะวันออกได้แขวนป้ายขนาดใหญ่ เขียนว่า “ด่านที่หนึ่งของโลก” แผ่นป้ายยาว5.9เมตร กว้าง1.6เมตร ตัวหนังสือสูง1.45เมตร กว้าง1.09เมตร เซียวเสี่ยน นักอักษรศิลป์ ผู้มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หมิงเป็นผู้เขียน แต่บนป้ายนั้นไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนไว้ เล่ากันว่า ตอนที่เซียวเสี่ยนเขียนป้ายนี้ เขาได้เขียนรวดเดียวโดยไม่หยุด แต่พอเขียนเสร็จ เขามองดูตัวอักษรที่ตัวเองเขียน แล้วรู้สึกไม่พอใจตัวอักษรที่เป็นเลข“หนึ่ง” แม้ว่าจะเขียนแล้วเขียนอีกหลายครั้ง ก็ยังไม่พอใจอยู่ดี เขาเลยหยุดพักและลงไปพักผ่อนดื่มเหล้าที่ร้านขายเหล้าใต้ด่าน ครุ่นคิดอยู่ไปมา ขณะนั้น พอดีมีพนักงานในร้านมาทักทาย และหยิบผ้าขนหนูที่พาดไว้บนไหล่ลงมาลากผ่านหน้าโต๊ะ ทำให้เกิดรอยทางน้ำที่ผ้าลากผ่านบนโต๊ะทางหนึ่ง พอเซียวเสี่ยนได้เห็นรอยน้ำเส้นนี้ ก็รีบลุกขึ้นร้องว่า“ดีมาก ดีมาก” รอยน้ำเส้นนี้พอดีเป็นตัวเลข“หนึ่ง”ที่มีรูปลักษณะสวยงามมาก เซียวเสี่ยนได้เลียนแบบรอยน้ำเส้นนี้อย่างละเอียดลงบนกระดาษ แล้วกลับไปเขียนไว้บนแผ่นป้ายอีกที และก็คือแผ่นป้ายที่เราเห็นในวันนี้ ด้วยเหตุนี้ เซียวเสี่ยนจึงไม่ยอมลงนามตัวเองบนแผ่นป้าย ทำให้ป้ายแผ่นนี้กลายเป็นแผ่นป้ายที่ไม่มีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ ซึ่งมีน้อยมากในแผ่นป้ายชื่อทั้งหลาย ด่านเจียอวี้กวนเป็นจุดเริ่มต้นด้านตะวันตกของกำแพงเมืองจีน ตั้งอยู่ที่เมืองเจียอวี้กวน มณฑลกานซู่ ก่อสร้างขึ้นในปี1372สมัยราชวงศ์หมิง เนื่องจากด่านนี้สร้างขึ้นบนภูเขาเจียอวี้ เลยได้ชื่อว่าด่านเจียอวี้กวน และเนื่องจากด่านนี้ไม่เคยผ่านศึกสงคราม เลยได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าด่านสันติภาพหรือด่านเหอผิงกวน ด่ายเหนียงจื่อกวนที่ตั้งอยู่ที่อำเภอผิงติ้งของมณฑลซานซี เป็นทำเลที่ตั้งที่อันตรายมาก เฝ้าง่ายเข้าตียาก เลยได้ฉายาว่าเป็น“ประตูของซานซี” ด่านนี้เดิมชื่อด่านเหว่ยเจ๋อกวน เมื่อต้นสมัยราชวงศ์ถาง เจ้าหญิงผิงหยาง ธิดาของจักรพรรดิ์หลี่ยวนเคยนำทหารกว่าหมื่นคนมาประจำที่ด่านนี้ เจ้าหญิงผิงหยางเก่งวิทยายุทธ ทหารของเธอได้ชื่อว่าเป็นทหารหญิง ด้วยเหตุนี้ ผู้คนเลยเปลี่ยนชื่อด่านนี้เป็นด่านเหนียงจื่อกวน(เหนียงจื่อแปลว่าผู้หญิง) ปัจจุบันบนประตูตะวันออกของด่านเหนียงจื่อกวนยังมีตัวหนังสือห้าตัวคือ“จื๋อ ลวี้ เหนียง จื่อ กวน”หลงเหลืออยู่ ด่านอวี้เหมือนกวน(ประตูหยก)ที่ตั้งอยู่ในเมืองเสี่ยวฟางผัน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอตุนหวงของมณฑลกันซู่ ด่านนี้ได้ชื่อเพราะเวลาขนส่งหินหยกที่ขุดจากเหอเถียนของมณฑลซินเกียงในสมัยโบราณไปยังภายในประเทศจะต้องเดินทางผ่านด่านนี้ ด่านจวียงกวนตั้งอยู่บนเทือกเขาจื่อจิ้นหลิ่งของอำเภออี้ มณฑลเหอเป่ย ตอนที่สร้างกำแพงเมืองจีนส่วนนี้ ฝ่ายราชการเคย“ขังสามัญชนคน ธรรมดา”ไว้ที่นี่ พอสร้างเสร็จ ก็เลยตั้งชื่อด่านนี้ว่าด่านจวูยองกวน(จวูแปลว่าขัง ยองแปลว่าคนสามัญธรรมดา) ด่านเพียนโถวกวนตั้งอยู่ที่อำเภอเพียนโถว มณฑลซานซี ชื่อของด่านนี้ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ เพราะว่าที่ตั้งทำเลของด่านนี้มีความสูงไม่เท่ากัน ฝ่ายตะวันออกสูงกว่า ฝ่ายตะวันตกต่ำกว่า และเอียงไปเล็กน้อย เลยได้ชื่อที่แปลกๆว่าด่านเพียนโถวกวน(เพียนโถวแปลว่าศีรษะเอียง) ส่วนด่านเอี้ยนเหมินกวนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาของอำเภอไต้มณฑลซานซี มีลักษณะยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างยิ่ง เทือกเขาที่อยู่ทั้งสองฝ่ายมีลักษณะสูงชะโงกเงื้อม ห่านป่าที่บินผ่านมาถึงที่นี่จะไม่สามารถบินผ่านไปได้ ได้แต่บินหลบต่ำลงไปหุบเขา ผ่านหน้าด่าน ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงตั้งชื่อด่านนี้ว่าด่านเยี่ยนเหมินกวน(เยี่ยนแปลว่าห่านป่า เหมินแปลว่าประตู) |
อิตเต็งไต้ซือ |
#8 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:16:54 ] |
|
ราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ศักดินาแรกของจีน ในปี221ก่อนค.ศ. หลังจากได้ผ่านสังคมระบอบทาสที่ดำเนินมานานกว่า2000ปีแล้ว ราชวงศ์ฉินซึ่งเป็นราชวงศ์ศักดินา มีระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเป็นเอกภาพราชวงศ์แรกได้สถาปนาขึ้น มีความหมายสำคัญเป็นพิเศษต่อประวัติศาสตร์ของจีน ในช่วงระหว่างปี255-222ก่อนค.ศ. เป็นสมัยจั้นกั๋วของจีน และเป็นช่วงปลายของสังคมระบอบทาสของจีน ในสมัยนั้น จีนมีก๊กเล็กก๊กน้อยที่เป็นอิสระจำนวนมาก ก๊กเหล่านี้กลืนกิน ในที่สุด เหลือแต่ก๊กที่ค่อนข้างใหญ่ทั้งหมด7ก๊กซึ่งถูกเรียกกันว่า”ชีสง(เจ็ดผู้ยิ่งใหญ่)”ได้แก่ ฉิน ฉี ฉู่ เว่ย เอียน หานและเจ้า ในบรรดา7ก๊ก ก๊กฉินที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินการปฎิรูปทางการทหารและการเกษตรค่อนข้างเร็ว กำลังประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วใน ปี247ก่อค.ศ. หยิงเจิ้งผู้มีอายุเพียง13ปีได้รับช่วงตำแหน่งเจ้าก๊กฉิน เมื่อ พระองค์มีพระชนม์มายุครบ22ปีและเข้าบริหารประเทศแล้ว ก็เริ่มกลืนอีก6ก๊กและรวมจีนเป็นเอกภาพ เจ้าก๊กฉินอิ๋งเจิ้งระดมหาบุคลากรอย่างกว้างขวาง ขอเพียงแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถก็จะมีโอกาสได้รับเป็นข้าราชการ ทั้งสิ้น อาทิ เคยแต่งตั้งให้เจิ้งกั๋วผู้เป็นจารชนของก๊กหานไปขุดลอก”คูคลองส่งน้ำเจิ้งกั๋ว” จนทำให้ที่ดินที่มีสารเกลือมากจำนวนกว่า40000เฮกตาร์ของก๊กฉินกลายเป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์เกิดเป็นปัจจัยทางวัตถุที่เพียงพอแก่การรวมจีนเป็นเอกภาพของก๊กฉิน ในช่วงเวลาไม่ถึง10ปีตั้งแต่ปี230-221ก่อนค.ศ. เจ้าก๊กฉินหยิงเจิ้งได้กลืนก๊กหาน เจ้า เว่ย เอียน ฉู่และฉีทั้งหมด6ก๊กตามลำดับและรวมจีนเป็นเอกภาพสำเร็จ จีนก็ สิ้นสุดสภาพการแบ่งแยก และมีราชวงศ์ฉินที่เป็นเอกภาพและใช้ระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐทางเผด็จการ เจ้าก๊กฉินก็กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน เรียกว่า”สื่อหวงตี้”หรือจิ๋นซีฮ่องเต้หมายความว่าจักรพรรดิองค์แรก การที่ฉินรวมจีนเป็นเอกภาพได้นั้นนับเป็นคุณูปการและมีความหมายยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน ในด้านการเมือง จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ยกเลิกระบบแต่งตั้งเจ้าประเทศราชผู้ครองแคว้น กลับใช้ระบบจังหวัดและอำเภอ แบ่งทั่วประเทศเป็น36จังหวัด จังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ ข้าราชการของรัฐบาลกลางและหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นล้วนแต่งตั้งและถอดถอนโดยองค์จักรพรรดิเอง ไม่มีการสืบต่อทางวงศ์ตระกูล ระบบจังหวัดและอำเภอที่ราชวงศ์ฉินเริ่มใช้ในสมัยนั้นได้กลายเป็นระบบปกครองของราชวงศ์ต่างๆในยุคหลัง ปัจจุบัน ชื่อของอำเภอจำนวนมากของจีนก็เริ่มกำหนดโดยราชวงศ์ฉินเมื่อกว่า2000ปีก่อน ส่วนผลงานสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของฉินก็คือได้รวมตัวหนังสือของจีนให้เหลือเพียงแบบเดียว ก่อนราชวงศ์ฉิน ก๊กต่างๆต่างก็มีตัวหนังสือของตน แม้ตัวหนังสือเหล่านี้จะมีแหล่งที่มาเดียวกันและไม่แตกต่างในด้านการสะกดนักก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการแพร่ขยายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หลังจากฉินรวมจีนเป็นเอกภาพแล้ว ได้กำหนดให้ตัวหนังสือ”เสี่ยวจ้วน”ของก๊กฉินเป็นตัวหนังสือที่ใช้ทั่วประเทศ หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงตัวหนังสือจีนเริ่มมีระเบียบ ซึ่งมีความหมายชนิดที่ไม่อาจประเมินค่า ได้ต่อการก่อรูป ของประวัติศาสตร์จีนและการสืบทอดวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ จิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้กำหนดมาตราชั่งตวงวัดของจีนให้เป็นเอกภาพ เช่นเดียวกับตัวหนังสือ ก่อนหน้านี้ มาตราชั่งตวงวัดของก๊กต่างๆมีความแตกต่างกัน เป็นอุปสรรคกีดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตราชั่งตวงวัด จิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้กำหนดเงินตราและกฎหมายเพื่อสร้างเงื่อนไขแก่การเติบโตของเศรษฐกิจประชาชาติ ทั้งได้เสริมสร้างฐานะของรัฐบาลกลางอย่างมาก เพื่อเสริมสร้างการปกครองในด้านความคิด เมื่อปี213ก่อนค.ศ. จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สั่งการให้เผาหนังสือประวัติศาสตร์ของก๊กต่างๆนอกจากประวัติศาสตร์ของก๊กฉินและทฤษฎีของลัทธิเต๋า และถึงกับประหารชีวิตผู้คนที่แอบเก็บและแพร่กระจายหนังสือเหล่านี้ พร้อมกันนี้ เพื่อป้องกันการรุกรานจากรัฐของชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สั่งการให้บูรณะซ่อมแซมกำแพงที่ก๊กฉิก๊กเจ้าและก๊กเอียนในอดีตเป็นต้นก่อสร้างขึ้น เชื่อมต่อเป็นกำแพงเมืองจีนหมื่นลี้ตั้งแต่ทะเลทรายทางตะวันตกไปสู่ริมฝั่งทะเลทางตะวันออก ฉิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้สั่งการก่อสร้างเป็นการใหญ่ เกณฑ์ชาวบ้านจำนวนกว่า7แสนคน และลงทุนจำนวนมหาศาลก่อสร้างสุสาน ตั้งอยู่ใต้ภูเขาหลีซัน เป็นสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้และหุ่นทหารกับม้าซึ่งเป็นมรตกทางวัฒนธรรมของโลกในปัจจุบัน จิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นเอกภาพ สิ้นสุดสภาพแบ่งแยกกันเป็นเวลายาวนานของจีน สถาปนาประเทศศักดินาหลายชนชาติที่เข้มแข็งเกรียงไกรโดยมีชนชาติฮั่นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ของจีนก็ก้าวหน้าสู่ยุคใหม่ |
อิตเต็งไต้ซือ |
#9 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:17:47 ] |
|
ราชวงศ์เซี่ย-ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของจีน ราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีน อยู่ระหว่างประมาณศตวรรษที่21-16ก่อนค.ศ. มีกษัตริย์14ชั่ว17องค์ กินเวลาประมาณ500ปี ศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์เซี่ยอยู่ที่บริเวณภาคใต้ของมณฑลซันซีและภาคตะวันตกของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน พระเจ้าอวี่ ผู้สถาปนาของราชวงศ์เซี่ยเป็นวีรบุรุษที่แก้ปัญหาแม่น้ำล้นหลากและสร้างความสงบให้ประชาชน เล่ากันว่าเพราะ เขาได้แก้ปัญหาแม่น้ำเหลืองที่เคยเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งจนสำเร็จจึงเป็นที่ยกย่องสนับสนุนจากประชาชน ในที่สุดก็สถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น การสถาปนาราชวงศ์เซี่ยนั้นนับเป็นสัญลักษณ์ที่สังคมกรรมสิทธิ์ได้เข้ามา แทนที่สังคมดึกดำบรรพ์ที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สังคมระบอบทาส ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์เซี่ย การเมืองมีความวุ่นวาย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาพระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะ กษัตริย์สุดท้ายของเซี่ยเมื่อขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ก็ไม่สนใจบริหารประเทศ เย่อหยิ่งฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตเละเทะ ใช้เงินเป็นเบี้ย พระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะเอาแต่เสวยน้ำจัณฑ์สนุกสนานกับพระสนมคนโปรดชื่อเม่ยสี ไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชน ถ้าขุนนางผู้ใหญ่ทูลทัดทาน พระองค์ก็ประหารขุนนางผู้ใหญ่เหล่านั้นเสีย ด้วยเหตุนี้ นครรัฐต่างๆในราชวงศ์เซี่ยก็พากันเป็นกบฏ นครรัฐซังที่ขึ้นกับราชวงศ์เซี่ยก็ถือโอกาสโจมตีเซี่ยจนทำให้เซี่ยแตก พ่าย พระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะหนีออกจากเมืองหลวงในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองหนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงสิ้นสุดลง ปัจจุบัน ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยน้อยมาก ในประวัติศาสตร์จีนมีราชวงศ์เซี่ยจริงหรือไม่นั้น วงการวิชาการก็สรุปไม่ได้ แน่นอน แต่หนังสือ”สือจี้ เซี่ยเปิ่นจี้”ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนได้บันทึกระบบสืบช่วงวงศ์กษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ยไว้ชัดเจน นักโบราณดคีก็หวังอย่างยิ่งว่าจะใช้วิธีการทางโบราณคดีค้นหาพยานหลักฐานของวัฒนธรรมทางวัตถุสมัยราชวงศ์เซี่ยเพื่อพิสูจน์ประวัติศาสตร์ราชวงศ์เซี่ย ตั้งแต่ปีค.ศ.1959เป็นต้นมา วงการโบราณคดีของจีนเริ่มสำรวจ”ซากโบราณวัตถุเซี่ย”เป็นการเปิดฉากค้นหาวัฒนธรรมราชวงศ์เซี่ย ปัจจุบัน นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ซากวัตถุโบราณเอ้อหลี่โถวในเมืองเอี้ยนซือของมณฑลเหอหนานขึ้นชื่อว่าเป็น”วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว”เป็นสถานที่เป้าหมายสำคัญที่สุดที่ต้องค้นหาวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ย ตามการตรวจสอบ เวลาก่อรูปขึ้นของซากวัตถุโบราณแห่งนี้อยู่ในช่องประมาณปี1900ก่อนค.ศ.ซึ่งน่าจะตรงกับสมัยราชวงศ์เซี่ย ปัจจุบัน แม้จะยัง ค้นไม่พบพยานหลักฐานโดยตรงที่สามารถสรุปได้ว่าซากวัตถุโบราณแห่งนี้เป็นวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ยก็ตาม แต่ข้อมูลสมบูรณ์ที่ค้นพบจากสถานที่แห่งนี้มีส่วนทำให้งานค้นหาวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ยก้าวหน้ายิ่งขึ้น เครื่องมือการผลิตที่ค้นพบที่ซากเอ้อหลี่โถวยังคงเป็นเครื่องมือหินเป็น หลัก เครื่องมือกระดูกและเขาสัตว์และเครื่องมือเปลือกหอย บนฐานรากของบ้านเรือน เตียงดินและผนังของสุสานได้ค้นพบรอยขุดดินด้วยเครื่องมือที่ทำจากไม้ ประชาชนในสมัยนั้นใช้ความขยันหมั่นเพียรและสติปัญญาของตน ปรับพื้น ฐานทำการเพาะปลูกด้วยเครื่องมือที่ค่อนข้างล้าหลัง แม้จนถึงปัจจุบันจะ ยังไม่เคยค้นพบเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ในซากปรักหักพังสมัยราชวงศ์เซี่ยก็ตาม แต่เคยค้นพบเครื่องมือ อาวุธและภาชนะที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ชนิดต่างๆเช่น มีด สว่าน ขวานมือ สิ่ว ลั่ม ง้าว ภาชนะใส่เหล้าดื่มเป็นต้น นอกจากนี้ยัง ค้นพบซากโบราณของเตาเผาหล่อทองสัมฤทธิ์ ค้นพบแม่พิมพ์หล่อเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ทำด้วยดินเผา กากทองสัมฤทธิ์และเศษหม้อสำหรับหล่อทองสัมฤทธิ์ นอกจาก นี้ยังค้นพบเครื่องหยกที่มีเทคนิคผลิตค่อนข้างสูงจำนวนมาก มีเครื่องประดับที่ฝังอัญมณี ยังมีเครื่องดนตรีชนิดต่างๆเช่นฉิ่งหินเป็นต้น เทคนิคการผลิตหัตถกรรมและการจัดงานภายในได้พัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่ง ในด้านการบันทึกภาษาโบราณ สิ่งที่น่าสังเกตที่สุดก็คือปฎิทินของราชวงศ์เซี่ย บทความเรื่อง”เซี่ยเสี่ยวเจิ้ง”ในหนังสือ”ต้าไต้หลี่จี้”ก็เป็นหนังสือสำคัญเกี่ยวกับ”ปฎิทินเซี่ย”ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แสดงว่า ผู้คนในสมัยนั้นสามารถกำหนดเดือนด้วยทิศทางของดาวไถ ปฎิทินเซี่ยนับเป็นปฎิทินที่โบราณที่สุดของจีน บทความเรื่อง”เซี่ยเสี่ยวเจิ้ง”ได้บันทึกปรากฎการณ์ของดวงดาว ปรากฎการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาและปรากฎการณ์ของสรรพสิ่งตลอดจนกิจการทางการเกษตรและการเมืองที่ผู้คนควรจะต้องทำตามลำดับ12เดือนในปฎิทินเซี่ย ปฎิทินเซี่ยได้แสดงระดับการผลิตทางการเกษตรของราชวงศ์เซี่ยและบันทึกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่โบราณที่สุดและค่อนข้างมีค่าของจีน |
อิตเต็งไต้ซือ |
#10 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:18:17 ] |
|
ราชวงศ์ซัง-ราชวงศ์โบราณที่สุดของจีนที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ วงการประวัติศาสตร์ของจีนมักจะเห็นว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่ โบราณที่สุดของจีน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยส่วนใหญ่เป็นบันทึกในหนังสือยุคหลังทั้งสิ้น จนถึงปัจจุบันก็ยังค้นไม่พบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางโบราณคดี ส่วนราชวงศ์แรกที่มีพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้และได้จากการค้นพบทางโบราณคดีของจีนก็คือราชวงศ์ซัง ราชวงศ์ซังสถาปนาขึ้นประมาณศตวรรษที่16ก่อนค.ศ. สิ้นสุดลงเมื่อศตวรรษที่ 11ก่อนค.ศ. กินเวลาประมาณ600ปี ช่วงแรกราชวงศ์ซังเคยย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ในที่สุดได้ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่กรุงยิน(บริเวณเมืองอันหยางของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พยานหลักฐานทางโบราณดคีพิสูจน์ได้ว่า ในช่วงราชวงศ์ซัง อารยธรรมจีนได้พัฒนาไปถึงระดับสูงพอสมควร สัญลักษณ์ที่สำคัญคือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์ การค้นพบตัวอักษรโบราณบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์นั้นเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญมาก เมื่อต้นศตวรรษที่20 ชาวหมู่บ้านเสี่ยวถุนทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอันหยางมณฑลเหอหนานเอากระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่เก็บได้มาขายเป็นยาแผนโบราณจีน มีนักวิชาการได้พบเห็นโดยบังเอิญ จึงรู้ว่าบนกระดองและกระดูกเหล่านี้สลักตัวอักษรโบราณไว้ และใช้ความพยายามค้นหา ไม่นานนัก นักวิชาการด้านตัวอักษรโบราณของจีนก็ได้ข้อสรุปอย่างแน่นอนว่า ตัวอักษรเหล่านี้เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ซัง และก็ได้ลงความเห็นว่าหมู่บ้านเสี่ยวถุนก็คือที่ตั้งของกรุงยินเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์ซัง การค้นพบและขุดค้นของกรุงยินนั้นเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่20ของจีน ตั้งแต่ปีค.ศ.1928ที่เริ่มขุดค้นเป็นต้นมา ได้พบโบราณวัตถุที่มีค่าจำนวนมากซึ่งรวมทั้งตัวอักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์ และเครื่องทองสัมฤทธิ์ ตัวอักษรกระดองเต่าและกระดูกสัตว์เป็นตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ ในสมัยราชวงศ์ซัง ไม่ว่ากษัตริย์จะทรงทำเรื่องใดก็จะต้องเสี่ยงทายก่อนเสมอ กระดองเต่าและกระดูกสัตว์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสี่ยงทาย ปัจจุบัน ได้ค้นพบกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่เมืองยินเก่าเป็นจำนวนกว่า 160000ชิ้น ในจำนวนนี้ บางชิ้นยังมีสภาพสมบูรณ์ บางชิ้นเหลือแต่เศษที่มีไมกี่ตัวอักษร ตามสถิติ ตัวอักษรชนิดต่างๆบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์เหล่านี้มีจำนวนกว่า4000ตัว ในจำนวนนี้ นักวิชาการศึกษาวิจัยได้ประมาณ3000ตัว มีจำนวนกว่า1000ตัวที่นักวิชาการเห็นเป็นเอกฉันท์ ส่วนที่เหลือบ้างก็ยากที่จะอ่านออก บ้างก็มีความเห็นแย้งกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการศึกษาวิจัยตัวอักษรโบราณจำนวนกว่าพันตัวนี้ คนปัจจุบันก็สามารถรับทราบสภาพต่างๆในสมัยนั้นเช่นการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของราชวงศ์ซังอย่างคร่าวๆ เช่นเดียวกับกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่สลักตัวอักษร เครื่องทองสัมฤทธิ์ก็เป็นโบราณวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษของ ราชวงศ์ซัง เทคนิคการถลุงเครื่องทองสัมฤทธิ์ของราชวงศ์ซังได้พัฒนาถึงระดับสูง พอสมควรแล้ว เครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ค้นพบบริเวณเมืองยินเก่ามีจำนวนหลายพันชิ้น ในจำนวนนี้ มีติ่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ภาชนะที่ใช้สำหรับหุงหาอาหารซือหมู่อู้ที่ค้น พบที่ซากวัตถุโบราณยินในปีค.ศ.1939 มีน้ำหนักถึง875กิโลกรัม สูง1.33เมตร ยาว1.1เมตรและกว้าง0.78เมตร มีรูปแบบสง่างาม เป็นผลงานยอดเยี่ยมของวัฒนธรรมเครื่องทองสัมฤทธิ์ในสมัยโบราณ ของจีน การขุดค้นทางโบราณคดีและการวิจัยทางศึกษาวิชาการพิสูจน์ว่า ในสมัยราชวงศ์ซัง มีประเทศเกิดขึ้นแล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยอารยธรรม |
อิตเต็งไต้ซือ |
#11 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:19:55 ] |
|
ลำดับราชวงศ์กษัตริย์ในประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์จีน ช่วงเวลา(คริสต์ศักราช) ก่อนประวัติศาสตร์ 3 ล้านปี-ศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช(B.C.) เซี่ย (夏) ศตวรรษที่21-17 B.C. ซาง (商) ศตวรรษที่17-11 B.C. โจว (周 )-โจวตะวันตก(西周) ศตวรรษที่11 B.C.-771 B.C. ชุนชิว(春秋时代)-จ้านกั๋ว (战国时代) 770-221 B.C. ฉิน (秦) 221-202 B.C. ฮั่น ( 汉) 202 B.C.- 220 ฮั่นตะวันตก(西汉) - ซิน 202 B.C.- 25 ฮั่นตะวันออก(东汉) 25-220 ยุคสามก๊ก (三国) 220-280 จิ้นตะวันตก(西晉) 265-316 จิ้นตะวันออก(东晉) 317-420 ยุค 16 แคว้น(十六国) 304-439 ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (南朝-北朝) 420-589 สุย(隋) 581-618 ถัง (唐) 618-907 ยุค 5 ราชวงศ์(五代) และยุค 10 แคว้น (十国) 907-960 ราชวงศ์เหลียว(辽) 916-1125 ซ่งเหนือ(北宋) 960-1127 จิน (金) 1115-1234 สุ้งใต้(南宋) 1127-1279 หยวน(มองโกล) (元) 1271-1368 หมิง (明) 1368-1644 ชิง(清) 1644-1911 สาธารณรัฐแห่งชาติจีน(中华民国) 1912- สาธารณรัฐประชาชนจีน(中华人民共和国) 1949- |
อิตเต็งไต้ซือ |
#12 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:22:11 ] |
|
ตั้งแต่เมื่อประมาณ 1.7 ล้านปีก่อนโน้น ก็ได้มีมนุษย์บุพกาลดำรงชีวิตอยู่ในอาณาเขตจีนแล้ว “มนุษย์ปักกิ่ง”(北京猿人) ซึ่งห่างจากปัจจุบัน 4-5 แสนปี สามารถทำและใช้เครื่องมือหยาบ ๆ และง่าย ๆ ได้ และรู้จักใช้ไฟ หลังจากผ่านสังคมบุพกาลมาเป็นเวลายาวนานเมื่อประมาณ 2100 ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์เซี่ย(夏)ก็ได้สถาปนาขึ้น และเป็นการเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมทาส ในราชวงศ์ซาง(商)และราชวงศ์โจวตะวันตก(西周)ซึ่งสืบต่อจากราชวงศ์เซี่ยนั้น ระบบทาสได้พัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง ต่อจากนั้นก็เป็นสมัยชุนชิว(春秋)และสมัยจ้านกั๋ว(战国)(ราชวงศ์โจวตะวันออก东周)ระยะนี้โดยทั่วไปเห็นกันว่า เป็นระยะที่ผ่านจากสังคมทาสเข้าสู่ศักดินา เจ้าผู้ครองแคว้นที่ตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นในระยะนี้ ได้สร้างประเทศเล็ก ๆ ขึ้นมากมายในอาณาเขตจีน ในที่สุดเมื่อ 221 ปีก่อน ค.ศ. พระจักรพรรดิฉินสื่อหวง(秦始皇)(พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้) ได้รวมจีนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสถาปนาราชวงศ์ฉิน(秦) อันเป็นศักดินาซึ่งรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางรัฐแรกขึ้นในประวัติศาสตร์จีน ต่อจากนั้น ก็ผ่านราชวงศ์ฮั่น(汉) ราชวงศ์สามก๊ก(三国) ราชวงศ์จิ้น(晋)(เว่ย魏) ราชวงศ์ใต้(南)และราชวงศ์เหนือ(北) ราชวงศ์สุย(隋) ราชวงศ์ถัง(唐) สมัยห้าราชวงศ์(五代) ราชวงศ์ซ่ง(宋) ราชวงศ์เหลียว(辽) ราชวงศ์จิน(金) ราชวงศ์หยวน(元) ราชวงศ์หมิง(明) และราชวงศ์ชิง(清) จนถึงสงครามฝิ่นใน ค.ศ. 1840 ในระยะดังกล่าวนี้จีนอยู่ในสังคมศักดินาเรื่อยมา เป็นเวลา 2000 กว่าปี จีนเคยเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาก่อนที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เมื่อ 5000-6000 ปีก่อนโน้น ประชาชนตามลุ่มน้ำหวงเหอ(แม่น้ำเหลือง) ตอนกลางและตอนปลายได้ทำการเพาะปลูกเป็นสำคัญ และเลี้ยงสัตว์ด้วย ในสมัยราชวงศ์ซาง เมื่อ 3000 ปีก่อน ประชาชนจีนได้รู้จักเทคนิคถลุงสำริดและรู้จักใช้เหล็ก เวลานั้น การทอไหมก็เจริญมากได้ปรากฏเทคนิคการทอผ้าไหมที่เก่าก่อนที่สุดในโลก ในสมัยชุนชิว ได้ปรากฏเทคนิคการถลุงเหล็กกล้า มาถึงสมัยจ้านกั๋ว คู่ขนานไปกับการพัฒนาเกษตรกรรม การทดน้ำเข้ามาก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สิ่งก่อสร้างชลประทานตูเจียงแย่น(都江堰) ในมณฑลซื่อชวน(四川)(เสฉวน) ที่เลื่องลือชื่อในโลกก็สร้างขึ้นในสมัยนี้เอง ในสมัยราชวงศ์ฮั่น กสิกรรม หัตถกรรมและการค้าได้พัฒนาอย่างมาก จางเชียน(张骞)ราชทูตแห่งราชวงศ์ฮั่นได้ไปเยือนประเทศทางตะวันตกของจีน ซึ่งเป็นการบุกเบิกเส้นทางการค้าที่เริ่มต้นจากฉางอาน(长安)(นครซีอาน西安มณฑลส่านซี陕西ในปัจจุบัน) ผ่านซินเจียง(新疆)ไปทางตะวันตกจนถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน(地中海) ตั้งแต่นั้นมา สิ่งทอด้วยไหมอันสวยงามของจีนก็ส่งไปขายยังประเทศตะวันตกเรื่อย ๆ โดยทางที่เรียกกันว่า “เส้นทางแพรไหม”(丝绸之路) (เส้นทางสายไหม) สมัยราชวงศ์ถังเป็นสมัยที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองอีกสมัยหนึ่งถัดจากราชวงศ์ฮั่น ในสมัยราชวงศ์นี้ ปรากฏเมืองที่เป็นศูนย์รวมทางหัตถกรรมและการค้าขึ้นมากมาย เวลานั้นจึงได้สร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางกับหลายประเทศ อันได้แก่ ญี่ปุ่น(日本) เกาหลี(朝鲜) เปอร์เซีย(波斯) อาหรับ(阿拉伯) อินเดีย(印度) ฯลฯ ในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หยวน ก็ได้พัฒนาเทคนิคขึ้นอีกขั้นหนึ่ง และแพร่หลายไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น อาหรับและยุโรป(欧洲)ตามลำดับ ในสมัยราชวงศ์หมิง การไปมาหาสู่กันฉันมิตรระหว่างจีนกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย(亚洲)และแอฟริกา(非洲)พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ต้นสมัยราชวงศ์หมิง เจิ้งเหอ(郑和)ได้นำขบวนเรือออกทะเลไปถึง 7 ครั้ง ได้ไปยัง 30 กว่าประเทศ ที่ไกลที่สุดเคยไปถึงโซมาลี(索马里)ซึ่งอยู่บนฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน จีนได้สร้างวัฒนธรรมอันรุ่งโรจน์ และได้ปรากฏนักคิด นักวรรณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักการทหารที่ดีเยี่ยมขึ้นมากมาย นักคิดที่มีชื่อเสียงได้แก่ เล่าจื้อ(老子) ขงจื้อ(孔子) เม่อตี๋ ซางเยียง หานเฟย หวางชง ฟ่านเซิ่น หลี่จื้อ หวังฟูจือ เป็นต้น นักวรรณคดีและนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซีหยวน ซือหม่าเชียน หลี่ไป๋ ตู้ฝู่ หานอี้ หลิวจงหยวน ซูสื้อ ซินฉี้จี๋ ลู่อิ๋ว กวานฮั่นชิง เฉาเสียะฉิน เป็นต้น นักการทหารที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซุนหวู่ ซุนปิน เป็นต้น ในด้านการแพทยศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ จีนในสมัยโบราณก็มีผลสำเร็จอันรุ่งโรจน์เช่นกัน หนังสือเรื่อง “กานสือซิงจง”(干时星钟) (ตำราดาราศาสตร์) ได้บันทึกชื่อดาวฤกษ์ 800 กว่าดวง ในจำนวนนี้ที่ได้วัดระยะที่ตั้งแล้วมี 120 ดวง ได้ทำตารางที่ตั้งของดาวฤกษ์ไว้เก่าก่อนที่สุดในโลก จางเหิง ในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้คิดประดิษฐ์หุ่นเทียนอี๋ สำหรับค้นคว้าปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ และคิดประดิษฐ์เครื่องวัดแผ่นดินไหว จูชงจือ ในสมัยราชวงศ์ใต้เหนือได้คำนวณอัตราส่วนระหว่างความยาวของเส้นรอบวงกลมกับเส้นผ่าศูนย์กลางได้ผลลัพธ์ 3.1415926 -3.1415927 เป็นผู้ที่ได้ผลลัพธ์อันแม่นยำเช่นนี้คนแรกในโลก พระภิกษุอี้สิง ในสมัยราชวงศ์ถังได้เผยให้เห็นปรากฏการณ์เคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ซึ่งก่อนการค้นพบของฮัลเลย์(哈雷)ชาวอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1712 นั้นพันกว่าปี เสิ่นคว่อ ในสมัยราชวงศ์ซ่งทำการค้นคว้าอย่างมีผลในปริมณฑลวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากมาย “เมิ่งซีปี่ถาน” (孟溪笔谈) (บันทึกในสวนเมิ่งซี)ที่เขาเขียนนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นสารานุกรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของ วิทยาศาสตร์และเทคนิคในสมัยโบราณ เภสัชศาสตร์(药理学)และวิชาฝังเข็ม(针灸学)และรมยา(用药熏)ของจีนเป็นสมบัติอันล้ำค่าในประวัติแพทยศาสตร์ของโลก จีนมีตำราแพทยศาสตร์เก่าแก่ก่อนที่สุด คือ “หวงตี้เน่ยจิง” (黄帝内径) (ตำราแพทยศาสตร์) เมื่อ 500 ปีก่อน ค.ศ. ตำรา “เปิ่นเฉ่ากังมู่” (本草纲目) (บันทึกยาสมุนไพรและตำรายา) ที่แต่งโดยหลี่สือเจิน(李时珍)ในศตวรรษที่ 16 นั้นเป็นหนังสือเกี่ยวกับเภสัชศาสตร์ที่สำคัญ ต่อมาได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา หลังสงครามฝิ่น เนื่องจากการรุกรานของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม จีนจึงค่อย ๆ ตกเป็นสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ภายใต้การกดขี่ของจักรวรรดินิยมและศักดินานิยม ทำให้การพัฒนาของเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมประสบอุปสรรคอันหนักหน่วง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ยากจนข้นแค้นแสนสาหัส เพื่อคัดค้านการกดขี่ของศักดินานิยมและการรุกรานจากต่างประเทศ ประชาชนจีนได้ดำเนินการต่อสู้อย่างองอาจกล้าหาญเป็นเวลายาวนาน การปฎิวัติซินไฮ่(辛亥革命)เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น(孙中山)ได้โค่นการปกครองของราชวงศ์ชิงลง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้น ต่อมาระยะหนึ่ง ประเทศจีนตกอยู่ในภาวะชุลมุนวุ่นวายอันเนื่องมาจากขุนศึกหลายกลุ่มรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกัน สังคมจีนในระยะนั้นยังคงอยู่ในลักษณะกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ประชาชนจีนซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนและเหมาเจ๋อตุง(毛泽东)ได้ดำเนินการต่อสู้อย่างทรหดอดทนมาเป็นเวลา 28 ปี ผ่านระยะสงครามปราบขุนศึกภาคเหนือ สงครามปฏิวัติที่ดิน สงครามต่อต้านญี่ปุ่น(抗日战争)และสงครามปลดแอก(解放战争)ทั่วประเทศรวม 4 ระยะ ในที่สุดก็ได้โค่นการปกครองของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง(国民党)ลง วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ซึ่งแสดงว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยแผนใหม่ของจีนได้รับชัยชนะ และเริ่มต้นระยะสังคมนิยม |
vมังกรหลับv |
#13 vมังกรหลับv [ 07-05-2008 - 23:28:34 ] |
|
โห่ๆ ขยันจริงๆ สุดยอดไปเลยคับ |
อิตเต็งไต้ซือ |
#14 อิตเต็งไต้ซือ [ 07-05-2008 - 23:30:50 ] |
|
หัวข้อ นี้ ท่านมังกรหลับ คงชอบ นะครับ เห็น ชอบ ประวัติศาส จีน ![]() |
มือกระบี่ไร้นาม |
#15 มือกระบี่ไร้นาม [ 08-05-2008 - 11:07:22 ] |
|
เอามาจากไหนนะครับ ผมต้องไปอ่านเป็นภาษาอังกฤษเอา ไม่รู้เรื่องเลยนะครับ |
อิตเต็งไต้ซือ |
#16 อิตเต็งไต้ซือ [ 08-05-2008 - 11:42:57 ] |
|
อาตมาเอามาจาก เวป ประวัตศาสต์ ครับ รวมๆมาจากหลายเวป ![]() |
เจ้าตำหนักหลิงจิ้ว |
#17 เจ้าตำหนักหลิงจิ้ว [ 08-05-2008 - 20:00:40 ] |
|
ปู่ผมมาจากซัวเถาอ่ะคับ แล้วมันอยู่มณฑลไหนเนี่ย |
vมังกรหลับv |
#18 vมังกรหลับv [ 08-05-2008 - 20:41:11 ] |
|
ซัวเถาเป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลกวางตุ้งคับ อยู่ติดทะเล |
มือกระบี่ไร้นาม |
#19 มือกระบี่ไร้นาม [ 08-05-2008 - 20:43:47 ] |
|
ผมอยากรู้ว่าจีนมีกี่สำเนียงครับ |
vมังกรหลับv |
#20 vมังกรหลับv [ 08-05-2008 - 20:47:36 ] |
|
มีอยู่หลักๆรู้สึกจะประมาณ7 ซอยย่อยๆลงไปผมก็ไม่ทราบคับ |
|