เข้าระบบอัตโนมัติ

การฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน


  • 1
  • 2
เตียบ่อกี้
#1   เตียบ่อกี้    [ 21-01-2008 - 22:53:16 ]

ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
วิธีการฝึกลมปราณนี้ เป็นวิธีฝึกการหายใจให้เกิดความเคยชิน และสืบเนื่องจนเป็นนิสัยที่ดีของการหายใจ เพื่อใช้นำการหายใจในการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตทุกๆครั้ง และหลังจากออกจากสมาธิแล้ว
อนึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึก “ลมปราณ ” พร้อมทั้งข้อปฏิบัติระหว่างฝึกนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกปฏิบัติจิตด้วย
ส่วนท่าฝึกใช้ร่วมกันได้
ด้วยเหตุนี้ จึงได้เขียนรวมไว้ในที่นี้
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
ก่อนอื่น ใจเย็นๆ นั่งลงหายใจตามปรกติก่อน สัก 1 หรือ 2 นาที ถ้าเหนื่อยมาจากงาน หรือเพิ่งเดินทางมาถึง นั่งพักสักครู่ก่อน เพื่อให้ใจสงบลงพร้อมที่จะฝึกต่อไป
จากนี้ เลือกท่าฝึกที่เหมาะสมกับสังขารท่านท่าใดท่าหนึ่ง
โดยปกติคนเราจะหายใจช่วงสั้นและตื้น
ไม่ได้ใช้ความสามารถของปอดที่สามารถขยาย และหดอย่างเต็มที่ จึงทำให้ปอดไม่ได้หายใจเอาอากาศดีเข้าและขับอากาศเสียออกจากร่างกายอย่างเต็มที่ ปอดจึงไม่สามารถฟอกโลหิตให้สดใสสมบูรณ์ดีเท่าที่ควรเป็นผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย
การฝึก “ ลมปราณ ” ต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและรักษาท่านหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
ฝึกลมปราณก็ต้องอาศัยการฝึกจิตให้สงบก่อน
การฝึกนี้ไม่ต้องใจร้อนรีบเร่ง ไม่ฝืนสังขารและฝืนจิตใจ ทำใจสบายๆ ค่อยๆฝึก และฝึกจนจิตรวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการฝึกลมปราณต่อไป

1. ทำใจให้สงบแล้วค่อยๆหลับลง หุบปากแล้วใช้ปลายลิ้นคํ้า แตะเพียงเบาๆที่เพดาน
2. หายใจตามปรกติวิสัยจนกว่าจะสงบ รวมจิตเป็นหนึ่งก่อน แล้วจึงหายใจเข้าค่อยๆ ลึกขึ้นด้วย วิธีถอนหายใจลึกเข้าๆจนสุดแรงดูดลม ลมหายใจนั้นจากหยาบให้ค่อยๆปรับให้ละเอียดมากขึ้น จากการหายใจตื้นให้ค่อยๆ ลึกจากการหายใจช่วงสั้นให้ค่อยๆเป็นช่วงยาวขึ้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละขั้นอย่างช้าๆ ตามลำดับ
แล้วค่อยๆผลักดันนำส่งลมหายใจที่ดูดเข้ามานั้นให้ตำลงๆ จนกว่าจะเลยสะดือลงไป 3 นิ้วเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”
การนำล่องลมหายใจให้ตำนี้ ไม่ควรจงใจใช้แรงบีบเกร็งกล้ามเนื้อให้ดันลมหายใจตำลงไป แต่เป็นการทำงานที่เรียกว่าจิตสำนึกว่า ความรู้สึกของจิตใจไปจับที่กองลม จึงสมมุติว่าเห็นกองลมที่หายใจเข้านั้นเป็นกลุ่มลมสีขาวกำลังถูกนำผ่านรูจมูก ผ่านหลอดลม ผ่านปอดแล้วผ่านช่องท้องและลงตํ่าจนถึงท้องน้อย ซึ่ง
ที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”เมื่อลมหายใจถึงจุด “ ตั้งช้าง ” แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ช่วงที่ลมหายใจเข้าและออก จะต้องฝึกให้ใช้ระยะเวลายาวเท่าๆกัน จิตใจก็จะค่อยๆสงบลงมา
การหายใจเข้าออกตามวิธีนี้ จะต้องเป็นลักษณะธรรมชาติ หายใจไม่มีเสียง ไม่ใจร้อนรีบเร่ง การหายใจเป็นไปอย่างมั่นคง เชื่องช้า ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ละเอียดนิ่มนวล ลึก ยาว
ลักษณะการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง คือหายใจแล้วไม่รู้สึกลำบากและเหนื่อย ประสาทผ่อนคลายความตึงเครียด จิตใจสงบว่างเปล่า จึงเป็นการถูกต้อง
3. เมื่อฝึกลมหายใจแบบนี้ผ่านไประยะหนึ่งจะ รู้สึกว่าลมหายใจเข้านั้น มีกระแสลมพัดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องตำจนถึงจุด “ ตั้งช้าง ” เหตุที่รู้สึกว่ามีกระแสลมนั้นก็เพราะว่าเวลาถอนหายใจเข้านั้น กล้ามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงให้ยกขึ้นและบานออก ทรวงอกจะพอกโตขึ้นช้าๆ ท้องน้อยก็จะค่อยๆหดเข้าช่วงนี้ปอดก็จะขยายพองตัวออกดูดอากาศดีเข้าเต็มที่
หน้า83
ปอดจึงขยายตัวพองโตตั้งแต่ใต้ขั้วปอดลงมาจนถึงปลายกีบของปอด และที่ใต้ปอดนั้นมี “ กระบังลม ” ที่มีโครงสร้างคล้ายพังผืดกั้นขวางระหว่างทรวงอก กับ ช่องท้อง เมื่อปอดขยายตัว ก็จะผลักดันให้กระบังลมหดตัวขยับลดตำลงมา พอตอนที่ปอดคลายลมหายใจออกนั้น กล้ามเนื้อซี่โครง และกระบังลมจะคลายตัวออกก็จะแฟบลงท้องน้อยก็จะพองคืนสู่สภาพปรกติ
การหายใจเข้าและออกเช่นนี้ จึงเกิดการบีบรัดและผ่อนคลายของอวัยวะภายในทรวงอก และที่ช่องท้องเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวภายในมากขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นกระแสลมวิ่งตามลมหายใจที่เรียกว่า “ กระแสพัดพาภายในร่างกาย ”นั้น การเคลื่อนไหวเช่นนี้จึงเป็นการบริหารภายในร่างกาย
กำลังภายในเคลื่อนไหวภายในร่างกาย
หลังจากฝึก ลมปราณ หรือ ฝึก สมาธิ ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะรู้สึกว่าท้องน้อยที่เป็นที่ตั้งของจุด " ตั้งช้าง " มีกลุ่มความร้อนเกิดขึ้น

ระยะเวลาที่ฝึกแล้วจะเกิดกลุ่มความร้อนนี้ใช้เวลาไม่เท่ากันทุกคน ต้องแล้วแต่ความสมบูรณ์ของสังขารและความพร้อมของจิตใจที่ได้ฝึกมาถูกต้อง เข้าหลักได้ดี เพียงใดก็จะเกิดผลเร็วเพียงนั้น บางท่านฝึกไปในทางจิตสงบ หลายท่านตั้งแต่เริ่มฝึกใหม่ๆ จนถึงขั้นจิตสงบอาจจะไม่มีกลุ่มความร้อนนี้เกิดขึ้นก็ได้
กลุ่มความร้อนนี้เราเรียกกันว่า “ กลุ่มกระแสกำลังภายใน ” เป็นพลังงานที่เกิดจากการฝึก ลมปราณ
กลุ่มความร้อนนี้เมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ อาจจะเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่งหรือเกิดความรู้สึกเพียงบางครั้งบางคราวของการฝึก แต่เมื่อใดที่เราจับจุดที่จะเกิดความสำเร็จนี้ได้แล้ว เมื่อคราวใดที่เกิด “ กลุ่มความร้อน ”นี้แล้วใจเย็นๆ อย่าเพิ่งลุกจากที่ ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไม่เสียใจ ที่เพิ่งจะสำเร็จ ทำใจสบายๆ วางตัวเป็นกลาง คงฝึกลมปราณธรรมดาต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มแรงบีบรัดกดดันหรือว่า เกร็งบีบประสาท ไม่ช้า กลุ่มความร้อนนั้นก็จะร้อนมากพอสมควรที่เรียกว่า “ ไออุ่น ” (แต่ไม่ใช่รู้สึกว่าความร้อนมากจนกระวนกระวาย)

วิธีนำส่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ให้พัดพาโคจรไปทั่วร่างกาย
“ กลุ่มไออุ่น ” นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีโอกาสโคจรไปตามร่างกายเอง โดยเราไม่ต้องนำพาก็ได้ แต่เขียนไว้เป็นลักษณะแผนที่ การเดินทาง ของกลุ่มไออุ่น เพื่อว่าถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นที่ใดและจุดใดแล้ว ควรที่ทำอย่างไรต่อไป จะได้ไม่ต้องตกใจ ถ้าประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ
เมื่อเกิด “ กลุ่มไออุ่น ” ที่จุด “ ตั้งช้าง ” แล้วยังคงฝึกลมปราณไปตามปรกติ
ตั้งสมมุติฐานจินตนาการว่า เมื่อฝึกลมปราณจนกระแสกำลังภายในทับถม เสริม เพิ่มเติม ที่กลุ่ม ไออุ่น มากขึ้นๆ กลุ่มไออุ่นก็เพิ่มจำนวนหนาแน่นรวมกลุ่มให_่มากขึ้นหนักขึ้น (ทั้งนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้นไม่ใช่แสร้งออกแรงบีบรัดบังคับกล้ามเนื้อ)หลังจากนั้นจึงรวบรวมความสนใจเพื่อใช้เสริมความรู้สึกมากขึ้น จะมีอาการคล้ายๆกับ กำลังถ่ายอุจจาระอยู่ และเมื่อฝึกไปๆอาจจะรู้สึกว่ากำลังถ่ายออกมาจริงๆ ขอให้อั้นกลั้นไว้

ก่อนฝึกต่ออีกระยะหนึ่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ก็จะไหลผ่านจุด “ ฝีเย็บ ” (ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างช่องถ่ายเบากับทวารหนัก) มีข้อสังเกต คือ มีกลุ่มไออุ่นไหลผ่านต่อเนื่องหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าไหลกระโดด ข้ามทวารหนัก อยู่ตลอด เวลาไปสู่จุดก้นกบ (ตำแหน่งนี้อยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง) เมื่อกลุ่มไออุ่น รวมถึงจุดก้นกบแล้ว ก็จินตนาการต่อว่า นำกลุ่มไออุ่น ส่งต่อขึ้นไปกระดูกสันหลัง (การนำส่งช่วงนี้ จะรู้สึกว่า มีอาการหดช่องทวารหนักขึ้นไป) กระแสกลุ่มไออุ่นก็จะผลักดันขึ้นสันหลังเอง (โดยไม่ต้องแสร้งชักนำ)
ระหว่างที่ไออุ่น ยังเคลื่อนไหวโคจรไปสู่ทั่วร่างกายนั้น ก็ยังคงหายใจฝึกลมปราณเสริมทับถมให้กับจุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป เหมือนกับว่า เรากรอกนํ้าเติมใส่ที่กรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นการผลักดันนํ้าที่ไหลไปก่อน และนํา(กลุ่มไออุ่น) นั้นก็จะไหลไปตามท่อ คือ ผ่านตามจุดต่างๆของร่างกาย “ กลุ่มไออุ่น ” ก็ไหลขึ้นตามกระดูกสันหลัง ผ่าน “ จุดบั้นเอว ” ผ่านขึ้นไปที่ “ จุดคอพับ ” (จุดนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังช่วงระหว่าง กระดูกต้นคอต่อกับไหล่พอดี สังเกตได้จากเวลาพับคอ จะมีกระดูกนูนขึ้นมาตรงจุดนั้น ) ขึ้นผ่าน “ จุดท้ายทอย ” (จุดที่กระดูกคอต่อกับหัวกะโหลก) ขึ้นไปสู่"จุดกระหม่อม" (ตรงกลางของหัวกะโหลกตำแหน่งนี้สังเกตได้จากตอนที่เด็กยังอ่อนๆอยู่ กลางกระหม่อมนั้น จะผุดขึ้นลงตามกระแสผลักดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดขึ้นมา หล่อเลี้ยงจุดนั้น) จากนั้น ก็เคลื่อนผ่านกระหม่อม มายัง “ จุดหน้าผาก ” (กึ่งกลางระหว่างคิ้ว) ลงสู่ “ จุดลิ้นไก่ ” (จุดนี้อยู่รอยต่อระหว่างโคนลิ้นกับลิ้นไก่ที่เพดานปาก )และไหลผ่านลงมา “จุดกึ่งกลางของกระดูกหน้าอก ” (อยู่กึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าหรือเรียกว่าใต้จุดคอหอย)ลงสู่จุดกลางอก (จุดผ่ากลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) ผ่านสะดือและลงสู่ “ จุดตั้งช้าง ” อีกครั้ง โคจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาที่นั่งฝึกอยู่
ยังมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่า “ กระแสขวาง ”หรือเรียกว่า “ กระแสเข็มขัดรัดเอว” ฝึกลมปราณไปพักหนึ่งแล้ว อาจจะเกิดกระแสขวางนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ คือเมื่อเริ่มมี “ กลุ่มไออุ่น ” นั้น บางครั้งไม่วิ่งขึ้นสู่ศีรษะ

แต่กลับจะวิ่งเป็นแนวขวางบั้นเอว ครบรอบเป็นลักษณะ เข็มขัด ซึ่งบางครั้งก็จะวิ่งอ้อมจากซ้ายไปขวา บางครั้ง ก็จะวิ่งจากขวาไปซ้ายอย่างมีระเบียบโดยประมาณวิ่งรอบครั้งละ36 รอบ
และเมื่อฝึกไปอีกระยะหนึ่ง กระแสไออุ่นก็จะกระจายไปทั่วถึงปลายเท้า ปลายมือ
การเคลื่อนโคจรของไออุ่นนี้ อาจจะเคลื่อนโคจรผ่านไปทีละจุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงสามารถผ่านอีกจุดหนึ่งจนถึงขั้นโคจรครบทุกจุดทั่วกาย
บางท่านฝึกเป็นปีๆ จึงจะสามารถโคจรครบรอบกาย
ในระหว่างที่ “ กลุ่มไออุ่น ” จากลมปราณกำลังโคจรผ่านจุดต่างๆ ของร่างกาย อยู่นั้น เกิดมีความจำเป็นต้องออกจากสมาธิในขณะที่ไออุ่นยังโคจรไม่ครบรอบใดรอบหนึ่ง ก็ค่อยๆ คลายออกสมาธิได้
และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ควรหาโอกาสฝึกต่ออีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงได้ยิ่งดีซึ่งก็เท่ากับเริ่มต้นใหม่ เพื่อเดินลมปราณให้คล่องสะดวก

ฝึกลมปราณที่ไหนก็ได้
การฝึกลมปราณนี้ก็คล้ายกับการฝึกสมาธิ ซึ่งฝึกจนคล่องตังแล้ว ชำนา_ในการเจริ_ก็สามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งรถเดินทางหรือยามที่ว่าง
ต่างกันเพียงแต่ฝึกสมาธิทั่วไป ไม่ได้เน้นหนักให้หายใจลึก
แต่ฝึกลมปราณ เน้นหนักให้หายใจลึกๆ ด้วยใจที่เป็นสมาธิ
พอมีจังหวะ 5-10 นาที เราก็สามารถเดินลมปราณ โดยไม่จำเป็นต้องหลับตาเพียงแต่ค่อยๆ ถอนหายใจให้ลึกตามแบบฝึกลมปราณด้วยสมาธิ อันจดจ่อกับลมหายใจเข้าออก
เมื่อฝึกจนคล่องตัวแล้ว เวลาอากาศหนาวๆ เราก็เดินลมปราณสักครู่หนึ่ง ก็จะเพิ่มความอบอุ่นในร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นหวัดได้ง่ายด้วย
การฝึกลมปราณอยู่เสมอ ยังเป็นการรักษาโรคปวดเมื่อยตามเอ็นตามข้อ




เครดิตคุณ กระเจียว




เตียบ่อกี้
#2   เตียบ่อกี้    [ 21-01-2008 - 23:02:04 ]

วิธีแก้ไขอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกลมปราณและฝึกสมาธิ

1. อาการเจ็บท้องน้อย แน่นหน้าอก
ท่านที่ฝึกใหม่ๆนั้น ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่าปวดเสียวหน้าอกเกร็งหน้าท้อง แต่พอผ่านพ้นการปฏิบัติ 3 ครั้งแล้วท่านจะรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วโล่งอก ร่างกายสดชื่น

ขณะเดียวกัน ระหว่างหายใจเข้าออกนั้น จิตใจรีบเร่งใช้แรงบีบประสาทเกร็งกล้ามเนื้อเบ่งอกอย่างแรง เมื่อหายใจเข้ารวมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อท้องน้อยตึงอย่างกับหน้ากลองแล้ว จะเกิดอาการแน่นหน้าอกปวดชายโครงทั้งสองข้าง ศีรษะมึนชา เหน็ดเหนื่อยง่าย

วิธีแก้ไข ขอให้ท่านผ่อนคลายการบีบเกร็งกล้ามเนื้อ หายใจตามปรกติสักครู่หนึ่ง ก็จะหายจากอาการปวด และรอจนกว่าหายจากอาการเครียดทางประสาทก่อนจึงปฏิบัติต่อไป



ต้องเข้าใจว่า การฝึกลมปราณนี้ มีพื้นฐานจากการฝึกสมาธิให้ใจสงบ และใช้กระแสความนึกคิดเป็นสื่อชักนำอากาศเข้าออกอย่างมีระเบียบ ไม่ได้ใช้แรง(กำลังคน ) ชักดึงลาก โดยมีสูตรว่า ใช้กระแสจิตแห่งความนึกคิดชักนำลมหายใจ โดยให้กระแสจิตแห่งความนึกคิด ผสม ผสานกลมกลืน ร่วมกับลมหายใจกรอกเติมสู่จุด “ ตั้งช้าง ”

2. เหงื่อออก
ระหว่างที่ฝึกสมาธิเริ่มเข้าสู่ความสงบ หรือ ระหว่างฝึกลมปราณ กระแส “ กลุ่มไออุ่น ” โคจรนั้นธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายได้ปรับจนเริ่มเสมอกันและจะขับเหงื่อออกมา หลายท่านจึงรู้สึกเหงื่อออก เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังขึ้นไปจนถึงศีรษะ ถ้าฝึกจนครบรอบการโคจรการหมุนเวียนของลมปราณหลายรอบแล้ว จะมีเหงื่อออกท่วมทั่วตัวและในการฝึกจิตให้สงบ ก็อาจจะมีเหงื่อออกเหมือนกัน ร่างกายจะรู้สึกอบอุ่นสบาย มีไออุ่นระเหยออกรอบตัว จนรู้สึกตัวเบาเย็นสบาย นี้ เป็นการปรับธาตุจนสามารถขับโรคออกได้ เมื่อออกจากการฝึก ปฏิบัติจิตแล้ว ต้องเช็ดเหงื่อทั่วตัวให้แห้ง รอจนกว่าอุณหภูมิร่างกายปรับคืนสู่สภาพปรกติ กลมกลืนกับอากาศภายนอกก่อน จึงจะออกไปสัมผัสต้องลมได้ มิฉะนั้นจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายๆ

3. เกิดอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
บางท่านฝึกสมาธิถึงขั้นสงบจุดหนึ่ง จะเหมือนกับการฝึกลมปราณ เมื่อสงบถึงจุดอิ่มตัวจุดหนึ่งที่เรียกว่า “ท่ามกลางความสงบจะเกิดอาการเคลื่อนไหวท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีจิตสงบที่มีสมาธิ ” เลือดลมจะเดินผ่านจุดต่างๆตามเอ็น ตามข้อ ในร่างกายเกิดอาการเนื้อเต้น เอ็นกระตุก

“ ท่านที่ฝึกแนวสมาธิเพื่อจิต” จะเกิดอาการโยกซ้าย โยกขวา หรือ โยกหน้า โยกหลัง การหายใจก็จะแรงขึ้นและหยาบ ขอให้ท่านทำใจสบายๆตามอาการไปเรื่อยๆ แล้วหลังจากเกิดอาการประมาณ 15-30 ครั้ง หรือนานกว่านี้ อาการก็จะหายไปเอง แต่ถ้าท่านเบื่อหน่ายกับอาการเขย่าเช่นนี้ ขอให้ท่านพิจารณาจนรู้ถ่องแท้กับอาการนี้ ว่ามีอาการกระทำอย่างไรแล้วจึงเริ่มสะกดตัวให้อยู่ในท่าปรกติได้ด้วยการใช้สติค่อยๆ ควบคุมลมหายใจให้สงบละเอียดลงมาอาการโยกย้ายของร่างกายก็จะหยุดลงได้

“ ท่านที่ฝึกแนวลมปราณ ” นั้น จากการที่นำส่งกระแสพลังลมปราณทับถมเติมที่จุด “ ตั้งช้าง ” ตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวมากขึ้น บางครั้งสั่นโยกรุนแรงถึงกับกางแขนออกว่าเป็นท่ามวยจีนแบบต่างๆอย่างมีระเบียบ การเคลื่อนไหวจะสัมพันธ์ กับลมหายใจที่เข้าออก ซึ่งการเคลื่อนไหวเองโดยที่เราไม่ได้จงใจหรือแกล้งให้ร่ายรำ การเคลื่อนไหวอย่างนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 36 วัน อาจจะมีเสียงกระดูกลั่นไปทั่วร่างกาย แล้วร่างกายก็จะค่อยๆกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เวลานั้น จะรู้สึกว่า ตัวเบา เหมือนนกพร้อมที่จะบิน และเมื่อเดินทางจะก้าวไวคล่องเหมือนวิ่งอย่างไม่เหนื่อย

ในระหว่างเกิดการเคลื่อนไหวอยู่นั้น ไม่ต้องตกใจ ยังคงทำใจให้สงบ (สำหรับฝึกแนวจิตสงบ ) และยังคงนำส่งพลังลมหายใจเข้าสู่จุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป ที่เรียกว่า ท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีสมาธิอยู่

อาการเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นเมื่อใดหรือว่าจะหยุดเมื่อใด หรือว่าเคลื่อนไหวท่าใดนั้น จะเกิดไม่เหมือนกันทุกคน แต่เขียนไว้เพื่อเตือนสติไม่ให้ตกใจถ้ามีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น

หลังจากเกิดอาการเคลื่อนไหวสั่นโยกแล้ว จิตใจจะไม่ค่อยปรกติ คือ ใจสั่นหายใจแรง ควรที่จะเข้าสมาธิปรับจิตใจสบายแล้ว จึงค่อยคลายออกจากสมาธิจะได้ไม่สะเทือนกายทิพย์

4. รักษาอาการช้ำใน
บางท่านที่เคยพลัดตกหกล้ม หรือถูกตีช้ำในที่ใดที่หนึ่ง เลือดก็จะคั่งค้างเป็นก้อนอยู่ที่จุดนั้น เวลาอากาศเปลี่ยนแปลงจะมีอาการเจ็บปวดมากตรงจุดนั้น (คนหนุ่มสาวอาการอาจจะยังไม่กำเริบส่วนมากจะมาเป็นตอนที่มีอายุมากขึ้น หรือว่าสังขารเสื่อมลง ) แต่เมื่อฝึกลมปราณเดินทั่วผ่านไปยังจุดที่ช้ำในนั้น ก็จะพยายามทำลายเลือดคั่งค้างก้อนนั้น จึงเกิดอาการปวดมากกว่าเก่าอยู่พักหนึ่ง เป็นการพยายามเดินผ่านของลมปราณ และแล้ว เมื่อผ่านไปได้ ก็จะเป็นการรักษาให้ท่านหายขาดจากโรคช้ำใน

5. เกิดอาการตัวพองโตและเบาอยากจะลอย
เมื่อฝึกสมาธิหรือฝึกลมปราณจนจิตสงบ อาจจะมีความรู้สึกว่า ตัวเองกำลังพองโตๆ มากขึ้น จนตัวโต ยันตึก และกำลังพองจนเกือบจะระเบิดออก หรือบางทีรู้สึกว่า ตัวเองเบาอย่างไร้น้ำหนัก กำลังลอยขึ้นจากที่นั่งจนร่างอยู่ไม่ติดที่ และจะลอยออกไปนอกบ้าน ขอให้ท่านทำใจสบายๆ ไม่ต้องตกใจ เพราะที่จริงแล้วร่างท่านไม่ได้พอง ไม่ได้ลอยเลย เพียงแต่ว่า ภาวะนั้น จิตเริ่มสงบ และธาตุทั้ง 4 เริ่มปรับตัวจนรวมตัวเสมอกัน ลมหายใจก็จะละเอียดเหมือนไม่ปรากฏ จิตของท่านได้ตกภวังค์สติไม่อยู่กับตัว ตามระลึกไม่ทันกับความสงบนั้น สติคลายออกจากสมาธิชั่วแวบหนึ่งไม่ได้จับอยู่กับตัว จึงเกิดอาการอุปาทานรู้สึกเป็นอาการเหล่านี้ได้

6. วิธีปรับถ่ายเทธาตุไฟให้หายปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้
บางท่านรู้สึกว่า หัวแม่มือที่จรดชนกันอยู่นั้นร้อนมากจนรู้สึกว่าคล้ายจะลุกเป็นไฟ และ ศีรษะก็ร้อน ประสาทตึงเครียด ปวดขมับ แม้ว่าจะพยายามปลงตกข่มเวทนาว่า กายนี้สักแต่กาย จะเจ็บจะปวดก็เรื่องของกายจิตใจไม่เจ็บปวด ไม่สนใจ ด้วยขันติ ความอดทนอย่างเต็มที่แล้ว อาการธาตุไฟยังคงกำเริบโชติช่วงร้อนไปทั่วสรรพางค์กาย ยังปวดหัวไม่หายแทบจะระเบิดอยู่ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้อาการดังนี้

วิธีแก้ไข

ค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิอย่างช้าๆ และคลายความนึกคิด ที่รวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่ง ที่ตั้งความรู้สึกอยู่ที่ศีรษะนั้นออก เรียกว่า

“ ไม่คิดอะไรอีกที่จะรวมจิต ” แล้วค่อยๆลืมตาขึ้นมองราดต่ำลงที่พื้น หายใจให้สบายๆตามปรกติก่อน แล้วค่อยๆถอนหายใจลึกๆช้าๆ และคลายมือที่ซ้อนกันนั้นออกมากุมที่หัวเข่าทั้งสองข้าง พอหายใจเข้า ก็เอาจิตใจไปจับที่กองลมที่ดูดเข้ามาแล้วผลัก แผ่ซ่านคลายออก ไปทั่วทั้งตัวพร้อมกับลมหายใจที่ปล่อยออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นหนักในการคลายออกทางฝ่ามื้อทั้งสองข้าง ก็จะรู้สึกว่า “ มีลมร้อนวิ่งออกทางปลายนิ้ว ”

นี่คือ “ การคลายธาตุไฟออกจากร่างกาย ”

ปฏิบัติอย่างนี้ประมาณ 15-30 นาที ก็หายปวดหัว และตัวไม่ร้อนเป็นไข้อีก

7. อาการคัน
ระหว่างฝึก เมื่อธาตุปรับตัวหรือปรับจนเริ่มจะเสมอนั้น จะมีอาการคันเหมือนแมลงตอมหรือปลาตอด สร้างความรำคา_รบกวนสมาธิ ท่านไม่ต้องกลัว และไม่สนใจอาการนั้น สักประเดี๋ยวก็จะหายไปเอง

8. เกิดอาการท้องเสีย
บางท่านที่ฝึกลมปราณแล้ว อาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ให้ย้ายความสนใจจากที่จุด “ ตั้งช้าง ” เคลื่อนย้ายลงไปที่ปลายหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อดึงความสนใจไปที่หัวแม่เท้าแล้ว อาการท้องเสียก็จะหายได้

ทั้งนี้ด้วยเหตุว่า การตั้งจุดอยู่ที่จุด “ ตั้งช้าง ” นั้นบางท่านเกิดการบีบรัดทางประสาทรู้สึกว่า เครียดหรือว่าเป็นการบีบรัดลำไส้มากไป เมื่อย้ายความสนใจไปที่จุดอื่นเสีย ก็ทำให้อาการท้องเสียหายได้

9. อาการกลืนน้ำลาย
ระหว่างฝึกสมาธิหรือว่าฝึกลมปราณใหม่ๆ ที่จิตยังไม่สงบ อาจจะมีน้ำลายออกมามากพอสมควร ควรที่จะค่อยๆ กลืนเข้าไปอย่างช้าๆ ไม่ต้องบ้วนทิ้ง เพื่อจะได้ช่วยเป็นน้ำย่อยอาหารด้วย และเมื่อจิตสงบแล้วจะรู้สึกว่า น้ำลายนั้นไม่ไหลออกมาอีก จนเราไม่ต้องคอยพะวงกลืนน้ำลาย แต่พอจิตคลายออกจากสมาธิเมื่อใด น้ำลายก็จะเริ่มไหลท่วมทั่วปากอีก


เครดิตคุณ กระเจียว



ประมุขหอดารา
#3   ประมุขหอดารา    [ 22-01-2008 - 00:12:17 ]

ชื่อเจ้าของ บทความน่าหวาดเสียว นัก



หวินตงเปียน
#4   หวินตงเปียน    [ 23-01-2008 - 16:40:43 ]

ตามหลักการฝึกกังฟูหรือฝึกลมปราณ ไม่มีการเรียกว่าอาการธาตุไฟเข้าแทรกเลย



มารไร้เงา
#5   มารไร้เงา    [ 19-03-2008 - 12:11:59 ]

ฝึกเพื่อรักษาอาการต่างๆหรือขอรับ
ด้วยคารวะ



2536
#6   2536    [ 27-05-2014 - 19:35:19 ]    IP: 49.230.156.250

แล้วจะนำไปใช้ยังไงครับ



ขุนโจร
#7   ขุนโจร    [ 04-06-2014 - 17:25:24 ]    IP: 101.51.209.45

ขอต้นฉบับ เป็นไฟล์ pdf หรือ doc บอกเวป มาเลย อย่าก๊อปมา อ่านยาก
ในนี้ไม่มีใครเขาเอาไปฝึกสักคนหรอก ขอต้นฉบับ เป็นไฟล์ pdf หรือ doc บอกเวป มาเลย อย่าก๊อปมา อ่านยาก
ในนี้ไม่มีใครเขาเอาไปฝึกสักคนหรอก



mokey
#8   mokey    [ 25-06-2014 - 03:57:18 ]    IP: 115.87.167.23

ขอบพระคุณเจ้าค่ะ จะนำไปฝึกดู

ฝากแฟนเพจชื่อ www.facebook/jomyutt หรือจอมยุทธ

อยากแนะนำท่านผู้รู้ต่างๆช่วยมาชี้แนะ พอดีสงสัยดหนังจีนมากไปหน่อย



yeen
#9   yeen    [ 26-05-2015 - 22:53:45 ]    IP: 49.237.11.185

ผมทำตามคับแล้วมันร้อนทั้งตัวมีร้ินสุดที่เอวนะคับทำไงต่อ



??????
#10   ??????    [ 25-07-2015 - 14:14:25 ]    IP: 171.100.146.118

กระแสไออุ่นข้านั้นมีมาแต่เด็กแม้เพียงชั่วคราวเท่านั้นพอข้าน้อยลองมาฝึกแบบจริงๆก็ได้เกิดปัญหาใหญ่หลวงขึ้น
ไม่รู้สิ่งที่ท่านว่านั้นมันอยู่ตรงไหนออกจากการฝึกไม่ได้ อันตัวข้านั้นรู้สึกอุ่นที่ท้องน้อยตลอดเวลา ช่างน่าสมเพชยิ่งนัก




องคืรักษ์ฝ่ายซ้าย
#11   องคืรักษ์ฝ่ายซ้าย    [ 17-08-2015 - 14:49:34 ]    IP: 1.1.181.69

มันยากเเฮะมีวีธีอื่นอื่นอีกใหมที่เหมือนการฝึลมปราน เเต่อาจจะเเตกต่างกว่านี้



เย่ตี่
#12   เย่ตี่    [ 17-08-2015 - 15:01:08 ]

มีใครทำได้บ้าง




ไซซี
#13   ไซซี    [ 05-01-2016 - 11:06:07 ]    IP: 75.135.69.91

อันตัวข้าก็บ้าหนังจีน ชอบการแพทย์แผนจีน ชอบหลายอย่างที่เป็นจีน คิดอยากจะฝึกลมปรานแบบเนี๊ยเพราะเคยได้ยินในหนังจีน แต่ตัวข้าเคยตกกะได ก้นกบแทบพังจนไม่อยากจะบรรยายว่ามันเจ๊บบ..แค่ไหน จนชาไปทั้งตัว เมื่อสี่ปี่ที่แล้ว ถ้าเดินลมปรานแล้วมันเจ็บขึ้นมาอีก มันจะเจ็บเท่าตอนที่เราตกกะไดไหม แล้วคนมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเดินลมปรานได้หรือเปล่า(ครอเลสเตอรอลสูงอ่ะ)



ไซซี
#14   ไซซี    [ 05-01-2016 - 11:11:50 ]    IP: 75.135.69.91

จะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากไหนน้อท่านเตียบ่อกี้



น๊อต
#15   น๊อต    [ 16-05-2016 - 20:53:38 ]    IP: 182.53.55.146

ลองทำดูมันอุ่นเกือบร้อนเหงื่อออก
ไม่รู้ทำถูกรึป่าว



กวิน
#16   กวิน    [ 03-10-2016 - 22:58:31 ]    IP: 49.229.59.3

จะลองฝึกดูครับ
ผมนี้บ้าหนังจีนเต็มขั้นเลยทีเดียว



มิกกี้เมาท์
#17   มิกกี้เมาท์    [ 20-07-2018 - 11:22:50 ]    IP: 223.27.217.18

คนที่อยากฝึกลมปราณเหมือนในหนังจีน
ผมแนะนำให้ฝึกมวยไทยครับได้ผลดีกว่าไม่งั้นจีนคงชนะนักชกไทยทุกคน
ส่วนทำสมาธิปรับสภาพร่างกายและจิตใจดีใจด้วยครับ



แมวมอง
#18   แมวมอง    [ 17-04-2019 - 12:29:06 ]    IP: 134.236.244.44

หนังสือนี้เคยเห็นปี สองแปด ตอนนี้มีแต่คนรุ่นเก่าที่เก็บหนังสือนี้ไว้ น่าจะแต่งโดยพระที่อยู่วัดแถวจังหวัดนครราชสีมา นะ ที่บอกมานี่ ขาดท่านั่งขัดสมาธิ มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจดกันอะไรประมาณนี้ครับ



sompien2
#19   sompien2    [ 24-06-2019 - 20:04:04 ]

วิชาลมปราณนี่เป็นของดีจริงๆนะครับถ้ใคร
คิดว่าไมจริงเป็นเรื่องตลก คุณรองทำความเข้าใจและ
สังเกตดูเวลาคุณหวัดแล้วหายใจไม่ออกมันย่ำแย่ขนาดไหนแขนขาไม่มีแรงอย่างหนักแทบไม่มีแรงเดิน
แต่คุณรองคิดกลับกันการเดิมลมปราณคือผลตรงข้ามทำให้คุณอัดลมหายใจจนเกินกำล้งผลมันจะดีขนาดไหน
รองทำดู ๆ สิว่ามพูดจริง ไม
คนเราเวลาไม่ป่วยจะไม่รู้สึกถึงการมีสุขภาพดีมันดีขนาดไหน



sompien2
#20   sompien2    [ 25-06-2019 - 13:17:06 ]


ผมยังอ่านของเขาไม่จบนะ
เวลาปกติ เราจะหายใจคล่อง แต่พอเราเป็นไข้หวัด
เราจะหายใจไม่ออก จะเป็นจะตายให้ได้เพราะเราหายใจเข้าออกน้อยลงมากมาย
ทำให้เราไม่มีแรง เหมือนตอนร่างกายปกติหายใจคล่อง
แต่การเดินลมปราณ นี่ ถ้าเราฝึกเคล่งๆมันจะช่วยให้เราหายใจได้เกินขีดปกติ
รองวิธีของผมไม ในตำราจริงเขากั๊กความรู้ไว้ แต่ผมฝึกมานานจึงได้เคล็ดลับตัวนี้
มาแบบง่ายหายใจไปตามจุดแล้วกัน
-หายใจสู่ใต้สะดือ4นิ้ว
ทวารหนัก
กระดูกก้นกบ
ไล่ตามกระดูกสันหลัง
ต้นคอ
กลางกระบาล
หน้าผาก
หว่างคิวทั้ง2
สันและปลายจมูก
ริมฝึกปากบนล่าง
คาง
ลูกกระเดือก
หัวใจ
ลงสู่จุดศูนย์
***********ทำแบบนี้วนไป10รอบแล้วค่อยหายใจออก คนฝึกใหม่ๆเอารอบเดียวก่อนแล้วพัฒนาตามสภาพ1-2-3-4-5
จนถึง10
แรกๆอย่าฝืนจะยอกหน้าอก
เวลาเป็นไข้หวัดคนฝึกใหม่อย่าทำ มันจะปวดร้าวไปทั้งตัว
ฝึกจนคร่องแล้วชินแล้ว อยากได้แรงดี ๆ ฝึกพร้อมยกดัมเบลหนักๆจะใช่เพิ่มประสิทธภาพร่างกายอย่างสูงลิบ
เดินไปไหนมาไหนตัวเบาหวิ แต่มันได้แค่ความรู้สึกนะเพราะกล้ามเนื้อส่วนต่างแข็งแรงขึ้นเกินคาด แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้วิชาตัวเบาได้
รองดูง่ายๆแค่นี้เอง สอนหลายคนแล้วมีแต่คนบอกว่าฝึกเดินลมปราณรอบเดียวก็จะตายให้ได้แล้วมาบังคับให้ฝึก10รอบตายแน่ๆ
ผมขอบอกว่า คุณยังไม่เข้าใจเทคนิค ตัวผมทำได้ถึง30รอบ ร่างกายดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก



  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube