วิพาก วิจารย์ มังกรหยก
|
เหยียบเทพ |
#1 เหยียบเทพ [ 18-01-2008 - 01:52:14 ] |
|
เชิญชวนแฟนมังกรหยกทุกท่าน ร่วมโพสรูป แสดงความคิดเห็น และลงข้อมูลด้านต่างๆ ของมังกรหยก คับ |
เหยียบเทพ |
#2 เหยียบเทพ [ 18-01-2008 - 02:20:21 ] |
|
มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน ยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี |
อั้งชิกง |
#4 อั้งชิกง [ 18-01-2008 - 11:54:07 ] |
|
นิยายมังกรหยก เป็นนิยายนึง ของท่าน กิมย้ง ที่ประสบความสำเร็จ อย่างมากไนเวดวง นิยายกำลังภายใน (จะเป็นนิยายรักก็ได้ไม่เเพ้หนังเกาหลีหรอ) เหอๆ สำหรับภาค2นะ มังกรหยก 1-2 ถือเป็น นิยายสุดคราสสิก เป็นผลงานชิ้นเองของท่านกิมย้ง ผมจำไม่ได้ว่าท่านเเต่ตอนอายุเท่าไหร่ ถ้าท่านได้รู้โปรด เสริมด้วยนะครับ รวมๆเเล้วเป็น นิยายที่ดีครับ สุดยอด นักเเต่งนิยายจีน อีกอย่างที่ทำไห้นิยายจีนมีเสน่อ่านไม่งง (สำหลับผมนะ) ก็คือ ในเเต่ละภาค จะมี ตัวบรรจบ ระหว่งภาค เชื่อมกันอยู่ ทำไห้ผู้อ่าน เชื่องเหตุการได้ โดย ง่าย อืม ก็เขียนเพียงเท่านี้นะครับ ใครมีอะไรจะเเย้งจะเสริมยังไงตามสบายครับ |
หวินตงเปียน |
#5 หวินตงเปียน [ 18-01-2008 - 16:34:28 ] |
|
ยังงงเลย |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#6 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 18-01-2008 - 16:36:20 ] |
|
กิมย้งโด่งดังก็เพราะผลงานชิ้นนี้....... ข้าน้อยไม่เคยอ่านด้วยสิ |
เหยียบเทพ |
#7 เหยียบเทพ [ 18-01-2008 - 16:58:07 ] |
|
สวัดดีจอมยุทรทุกท่าน ที่มาเยียมเยื่อน ข้าน้อยมีความรู้แค่ภาคดาบมังกรหยก อยากจะทราบเกียวกับภาค1-2ด้วย วิพากวิจารญกันให้เต็มที่เลยนะคับ |
เหยียบเทพ |
#8 เหยียบเทพ [ 18-01-2008 - 17:18:51 ] |
|
ประวัติปรามาจารย์ เตียซำฮง เตียซำฮงเป็นเจ้าสำนักของสำนักบู้ตึ๊ง ผู้คิดค้นวิชาไท้เก้ก มีชื่อเดิมว่าเตียกุนป้อ เป็นเด็กวัดของสำนักเสี้ยวลิ้ม (เส้าหลิน)มีหน้าที่คอยดูแลหอพระธรรมร่วมกับกักเอี้ยงไต้ซือผู้เป็นอาจารย์ กุนป้อและกักเอี้ยงไต้ซือได้มีโอกาสได้ฝึกพลังนวภพ(พลังเก้าเอี้ยง)จากคัมภีร์นวภพ(ค ัมภีร์เก้าเอี้ยง)ที่ปรมาจารย์ตักหม้อบัญญัติไว้ โดยทั้งคู่คิดเพียงว่าเป็นวิชาช่วนเสริมความแข็งแรงของร่างกายเท่านั้น และนอกจากพลังนวภพแล้วกุนป้อก็ไม่ได้ฝึกพลังการต่อสู้อื่นเลย ต่อมาเซียวเซียงจื้อและอีเคอซีแห่งมองโกลได้ใช้แผนชั่วร้ายเข้ามาในวัดและขโมยคัมภีร ์นวภพออกไป กุนป้อและ กักเอี้ยงไต้ซือได้ออกตามหา จนเกิดการต่อสู้กัน ด้วยการชี้แนะจากเอี้ยก่วยบวกกับพลังปราณนวภพภายในตัวทำให้สามารถเอาชนะได้อย่างปาฏิ หาริย์ แต่ปรากฏว่าไม่พบคัมภีร์นวภพที่ทั้งคู่ สองศิษฐ์อาจารย์จึงต้องกลับวัดไปมือเปล่า กักเอี้ยงไต้ซือโดนลงโทษโดยต้องแบกนำขึ้นลงจากวัดทุกวัน หลายปีต่อมา ฮ่อจกเต๋า หรือฉายาสามศักดิ์สิทธิ์คุนลุ้น ได้เดินทางมายังเสี้ยวลิ้ม เพื่อบอกว่า อีเคอซีและเซียวเซียงจื้อเดินทางมาถึงยอดเขาคุนลุ้น เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งคัมภีร์นวภพกันจนล้มตายทั้งคู่ ก่อนตายอีเคอซีได้ฝากฮ่อจกเต๋ามาบอกเสี้ยวลิ้มว่า "คัมภีร์อยู่ในน้ำมัน" แต่เนื่องจากเกิดการขัดคอกัน ฮ่อจกเต๋าจึงคิดจะรับคำชี้แนะจากเสี้ยวลิ้ม กุนป้อได้มีโอกาสต่อสู้ และด้วยพลังนวภพที่ฝึกมาหลายปีบวกกับกระบวนท่าที่ได้รับมาจากเอี้ยก่วยอีกเล็กน้อย ทำให้กุนป้อเอาชนะฮ่อจกเต๋าได้ แต่เนื่องจากกฏของเสี้ยวลิ้มห้ามให้ศิษฐ์ในวัดห้ามแอบฝึกวิชาโดยไม่ได้รับอนุญาติ กุนป้อจึงกลายเป็นศิษฐ์ทรยศ ด้วยความช่วยเหลือจากกักเอี้ยงไต้ซือ กุนป้อจึงหนีรอดมาได้ คืนนั้น ก่อนที่กักเอี้ยงไต้ซือจะมรณภาพ ได้ถ่ายทอดพลังนวภพให้กับกุนป้อ,ก๋วยเซียง และบ้อเส็กเซียงสือแห่งเสี้ยวลิ้มที่ฟังอยู่ด้านข้าง ต่งคนต่างจำได้คนละส่วน หลังจากนั้นก็มรณภาพ ไม่นานหลังจากนั้น กุนป้อก็เดินทางไปถึงภูเขาแห่งหนึ่ง เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็นเตียซำฮงและก่อตั้งสำนักบู๊ตึ๊งขึ้น ส่วนก๋วยเซียงซึ่งได้รับฟังเคล็ดพลังนวภพจากกักเอี้ยงไต้ซือเช่นกันก็ได้บวชเป็นชี และก่อต้งสำนักง่อไบ๊ขึ้นเช่นกัน ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%...%B8%A2%E0%B8%81 |
vมังกรหลับv |
#9 vมังกรหลับv [ 18-01-2008 - 18:29:25 ] |
|
หึ หึ หึ |
แฟนหยางมี่ |
#10 แฟนหยางมี่ [ 18-01-2008 - 20:25:58 ] |
|
ผมก็มีอันนี้ เอามาจากวีกิพีเดีย ระวังนะครับทุกท่าน ในนี้ผมจะถามในข้อ 6 ในงานกระตุ้นความจำ |
ประมุขหอดารา |
#11 ประมุขหอดารา [ 19-01-2008 - 17:43:28 ] |
|
เสริมนิดนึงนะครับ คัมภีร์ลมปราณนวภพ หรือ คัมภีร์เก้าเอี้ยง ในนวนิยายระบุเอาไว้ว่า ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อไม่ใช่คนบัญญัตินะครับ แต่ท่านคัดลอกมาจากคัมภีร์เล่มนึงที่เป็นภาษาสันสกฤตมาจากชมพูทวีปแล้วเอามาแปลเป็นภาษาฮั่นโดยเขียนคั่นอยู่ระหว่างบรรทัดของ พระคัมภีร์ลังกาอวตารสูตร น่าจะประมาณนี้แหละครับ |
๐คุณชายไร้เงา๐ |
#12 ๐คุณชายไร้เงา๐ [ 19-01-2008 - 20:28:19 ] |
|
แล้ว ระหว่าง ก๊วยเซียง กับเตียซำฮง ใครจำวิชาในคำภีร์นวภพได้มากกว่ากันอะ |
สยบทั่วเเผ่นดิน |
#13 สยบทั่วเเผ่นดิน [ 19-01-2008 - 20:32:17 ] |
|
ประวัติท่านเตียซำฮงที่ข้าน้อยเคยอ่าน รู้สึกจะไม่ใช่แบบนั้นนะ.......... |
๐คุณชายไร้เงา๐ |
#14 ๐คุณชายไร้เงา๐ [ 19-01-2008 - 20:35:56 ] |
|
ผมก็ว่าไม่ใช่ แต่อันนี้คงเป็นประวัติที่ท่านกิมย้งแต่งขึ้นมั้งคับ |
เหยียบเทพ |
#15 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 00:53:22 ] |
|
ดีคับทุกท่าน ขอบคุณจอมยุทรทุกท่านที่เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ขอรับ ไครทราบปะวัติไคร ไนมังกรหยกก็ลงข้อมูลกันนะคับ |
เหยียบเทพ |
#16 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 02:39:20 ] |
|
เก้าอิมเก้าเอี๊ยง มีปรากฎอยู่ใน มังกรหยก ไตรภาค นวนิยายกำลังภายในอันลือลั่นของกิมย้ง สับสนนิดหน่อยว่ามันคืออะไร แต่พอจะสรุปได้ว่า เก้าอิมจินเก็ง --> ผู้คิดค้น อึ้งท้ง (อึ้งเซี้ยง) ซึ่งได้รวบรวมวิชาจากลัทธิเต๋าทั้งหมด 72 วิชา เพื่อนำมาแก้แค้นให้ครอบครัว แต่ภายหลังเมื่อผู้อาวุโสท่านสำเร็จยุทธแล้วออกมาจากการเก็บตัวฝึกวิชาเพื่อแก้แค้น ปรากฏว่า ศัตรูท่านได้ล้มตายไปหมดแล้ว เนื่องด้วยกว่าจะคิดค้นสำเร็จนั้น เวลาก็ได้ผ่านไปเนิ่นนานแล้ว ท่านคิดเสียดาย จึงได้นำมาบันทึกเป็นคัมภีร์ เก้าอิมจินเก็ง (คัมภีร์สัจจะเเห่งเก้าปี) และได้เป็นชนวนแห่ง พิธีวิจารณ์กระบี่เขาฮั้วซัวนั่นเองขอรับ ซึ่งคัมภีร์จะปรากฎอยู่ในภาคของก๊วยเจ๋งและเอี้ยก้วย ที่มา http://noter.exteen.com/20050920/entry-1 |
เหยียบเทพ |
#17 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 02:40:51 ] |
|
เก้าเอี๊ยงจินเก็ง ---> ผู้คิดค้น ปรมาจารย์ตั๊กม้อ เดิมเป็นพระสูตรลังกา แต่ได้สอดแทรกวิทยายุทธอันดับเลอเลิศสุดเปรียบประมาณเข้าไปในแต่ละบทของพระสูตร ภายหลังอยู่ในหอไตรของวัดเส้าหลิน กักเอี๊ยงไต้ซือ ผู้ดูแลหอไตรของวัด บังเอิญได้อ่านพระสูตรเข้าไป แต่ด้วยนิสัยอันซื่อตรง (Innocent) เข้าใจว่าเป็นการฝึกวิทยายุทธเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงเท่านั้น จึงได้ฝึกสืบไปเป็นระยะเวลานาน ภายหลังพวกของ ซิ่งเตียวไต้เฮี๊ยบ เอี้ยก้วย และก๊วยไต้เฮี๊ยบ ได้บังเอิญเห็นท่านรับมือศัตรูถึงกับต้องตกตะลึง เพราะเป็นลมปราณที่แข็งแกร่งชนิดที่มิเคยได้พบพานมาก่อน จนภายหลังที่ท่านกักเอี๊ยงมรณะภาพ ได้ท่องเคล็ดวิชาออกมาส่วนหนึ่ง และผู้ที่อยู่กับท่านและได้ยินก็คือ ก๊วยเซียง (บุตรีคนรองก๊วยเจ่ง) แห่งง้อไบ๊ บ่อเส็กเซียงซือ แห่งเส้าหลิน และเตียกุนป้อ หรือเตียซำฮง จากบู๊ตึ้งนั่นเอง ซึ่งทั้งสามได้แบบไม่เต็มไป เพราะใช้จำเพียงรอบเดียว แต่ตัวคัมภีร์จริงถูกขโมยไปตั้งแต่ภาคเอี้ยก้วยตอนท้ายๆ เรื่อง ซึ่งมันถูกซ่อนไว้ที่ตัววานรขาว ต่อมาเตียบ่อกี้พบโดยบังเอิญอันเป็นแบบแผนทั่วไปของนิยาย และก้อจิวจี้เยี๊ยกก้อได้ฝึกด้วย แต่ใช้เวลาฝึกน้อยและยังฝึกผิดวิธีด้วย เพราะใช้หัวกระโหลกฝึกนิ มันเป็นวิธีเดียวกับคู่ลมพิฆาต (มังกรหยกภาค 1) ซึ่งจิวแปะทงหรืออึ้งเยียะซือคนใดคนนึงผมไม่แน่ใจ ที่บอกว่าเป็นวิธีฝึกไม่ถูกต้องเนื่องจากพอขโมยคัมภีร์ไปแล้วตี ความออกม่ายหมด ที่มา http://noter.exteen.com/20050920/entry-1 |
เหยียบเทพ |
#18 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 02:48:12 ] |
|
เพิ่มเติม คัมภีร์มารนพเก้า(เก้าอิมจินเก็ง)(เพิ่มเติมน่ะคราบ) เป็นวิชาอึ้งเซียะ รวบรวม72วิชาสำนักเต๋าเเละพุทธ เน้นการฝึกพลังส่วนหยิน ถ้าอ่านหลายๆเรื่องเกี่ยวกับเก้าอิมจินเก็งเเล้วสามารถจำเเนกได้ทั้งหมดออกเป็น2ประเภท คือ 1 สายกำลังภายใน โดยผู้ฝึกจะต้องไม่มีพื้นฐานกำลังภายในจึงจะฝึกได้เป็นอย่างดีอย่าง สำหรับผู้มี่มีกำลังภายในจากที่อื่น จะต้องทำความเข้าใจอย่างดี ก่อนจะฝึกมิฉนั้นจะเกิดธาตุไฟเเตกได้ง่ายกว่าคนไม่มีพื้น ถ้าฝึกถูกจะทำให้พลังวัตรสูงขึ้นด้วย การฝึกกำลังภานใน จะเน้นการฟื้นฟูพลังวัตรอย่างรวดเร็ว รวมทั้งดึงพลังมหาศารออกมา ซึ้งถ้าผู้ฝึกสามารถฝึกได้ทั้งเก้าขั้นน่าจะเทียบได้กับเก้าเอี๊ยง 2 สายกระบวนท่า จะประกอบด้วย หมัด ฝ่ามือ กรงเล็บ กระบี่ เป็นหลักในการฝึก ซึ่งวิชาสายกระบวนท่านี้ อึ้งเซียะได้ศึกษา รวมทั้งคิดค้นดัดเเปลงมาจาก72สำนักเต๋าในราชวงฮั่น เเละเมื่อฝึกทั้ง2สายอย่างครบถ้วนจึงกลายเป็นเก้าอิมจินเก็งที่ร้ายกาจ เก้าอิมจินเก็งเป็นยอดวิชาที่หาได้ยาก เเม้จะฝึกเพียงเสี่ยวเดียวของคำภีร์ก็ทำให้เป็นยอกฝีมือได้ เเต่หางเร่งรัด ทำให้ตีความ.ยของวิชาผิดจะทำให้เดินทางมารอย่างไม่รู้ตัว เช่น กรงเล็กกระดูกขาวเกิดจากการตีความผมายในคำภีร์ผิด เเละผู้ฝึกไม่มีพื้นเก้าอิ่ม |
เหยียบเทพ |
#19 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 02:52:40 ] |
|
วิชาที่สุดยอดที่สุดในมังกรหยก พระโพธิธรรม หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วมักเรียกว่า ตั๊กม้อ โจ้วซือ คือ ปรมาจารย์องค์แรก ที่เดินทางจารึกจากประเทศอินเดีย เพื่อนำ พระพุทธศาสนิกายเซ็น (ณาน) สู่แผ่นดินจีน เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1067 พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 หากนับจากอินเดีย พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ผู้ซึ่งได้รับ การถ่ายทอดธรรมะ ด้วยวิธีแห่ง ?จิตสู่จิต? พร้อมด้วย บาตร จีวร และสังฆาฏิของบรมศาสนาดสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการสืบต่อ กันลงมา โดยลำดับในแต่ละสมัย พระประวัติเดิม พระองค์เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของกษัตริย์ แห่งแคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ พระชนม์มายุยังเยาว์ ก็ทรงแตกฉานในคัมภีร์ของทุกศาสนา วรรณคดีรวมทั้งอักษรศาสตร์โบราณ และการแพทย์ นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์เอกแห่งยุคเลยทีเดียว ในคราวที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ ท่าได้นั่งเข้าฌานสมาบัติ ชั้นสูงอยู่เฝ้า ณ เบื้องหน้าและพระบรมศพนานถึง 7 วัน หลังจากนั้น พระองค์ได้ไปศึกษาธรรมะอยู่กับ พระปรัชญาตาระเถระ ผู้ซญึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยับลูกแก้วชูขึ้นให้พระโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น พระองค์ก็เกิดความสว่างไสว ได้บรรลุธรรมที่ยังสงสัยอยู่ทั้งหมด สามารถไขปัญหา แยกแยะข้อธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ครั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระปรัชญาตาระเถระพิจารณาเห็นปัญญาบารมีอันสูงยิ่งขอวพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมสงฆ์สาวกทั้งปวงประกาศให้พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 เพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนา โดยรับมอบ บาตร จีวร และสังฆาฏิ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้ออกเดินทางจากอินเดียมุ่งสู่แผ่นดินจีน ตามคำบัญชาของพระอาจารย์ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีจึงได้มาถึงเมืองกวางตุ้ง ในสมัยของพระเจ้าเหลียง บู้ตี้ (ประมาณ พ.ศ. 1070) ได้มีบันทึกไว้ว่า ขณะที่พระโพธิธรรม เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำแยงซี ทรงตั้งใจจะข้ามแม่น้ำแต่หาเรือไม่ได้ จึงได้ถอนต้นอ้อต้นหนึ่ง โยนลงไปในลำน้ำ ที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนบนต้นหญ้าเล็ก ๆ นั้นลอยข้ามไป (ผู้ที่เข้าไปไหว้พระในวัดจีนบ่อย ๆ มักพบเห็น ภาพพระภิกษุมีหนวดเคราดก นัยน์ตาโต ใช้จีวรคลุมศีรษะยืนอยู่บนต้นอ้อลอยข้ามน้ำ ก็คือ พระโพธิธรรมนั่นเอง) ต่อมาพระโพธิธรรมพร้อมด้วยลูกศิษย์นามว่า เสิน กวง ได้เดินทางไปยังภูเขา ซงซัว และพำนักอยู่ที่วัด เส้าหลิน (เซี้ยวลิ้มยี่) ณ สถานที่แห่งนี้พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ปฏิบัติสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี เพื่อค้นหาวิธีที่จะนำพาเวไนยสัตว์ออกไปพบกับแสงสว่าง หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ครั้นเมื่อพระโพธิธรรม ถ่ายทอดวิถีธรรมด้วย จิต สู่ จิต ให้แก่ ?พระเสินกวง? เพื่อสืบทอด ตำแหน่ง เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 2 แล้ว ก็ได้เดินทางต่อไปกับรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและพำนักอยู่ ณ วัด ไซ เซี่ย ยี่ เมือง อู๋มึ้ง จนกระทั้งถึงวันมรณภาพ พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ณ วัดแห่งนี้ โดยประทับนั่งอยู่ในสมาธิฌานสมาบัติ รวมมี พระชนม์มายุได้ 150 พรรษา ครั้งหนึ่งในระหว่างการเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า ?ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ? ที่มา http://community.buddhayan.com/index.php?topic=72.msg209 |
เหยียบเทพ |
#20 เหยียบเทพ [ 20-01-2008 - 02:54:14 ] |
|
ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของ่างกายอันได้แก่พลังและท่าทางของร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเอยร่างกายดังนั้นท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่ 1. 換筋功 คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น 2. 洗髄功 คัมภีร์ฟอกไขกระดูก 3. 十八羅漢禦 ฝ่ามือสิบแปดอรหันต์ และคัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ซึ่งคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้หมายถึง การบริหารแกว่งแขน คำว่า ?เปลี่ยนเส้นเอ็น? มิใช่หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจชองการแทพย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็นด้วยการออกกำลังกาย โดยวิธีแกว่งแขนซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด ต่อมา ?คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น? นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า ?กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค? เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตำราโบราณนึ้เป็นหนังสือวิชาที่เก่าแก่มีอายุถึง 1400 ปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีน อันมิอาจประมาณค่าได้ชิ้นหนึ่ง ที่มา http://community.buddhayan.com/index.php?topic=72.msg209 |
|