เข้าระบบอัตโนมัติ

กำ แพง เมือง จีน


  • 1
  • 2
vมังกรหลับv
#1   vมังกรหลับv    [ 26-02-2008 - 20:01:59 ]

ก็ว่าด้วยเรื่องกำแพงเมืองจีน และด่านต่างๆของกำแพงเมืองจีนหนะคับ ก็เราคงเคยรู้ๆประวัติกันมาบ้างแล้วคร่าวๆ แต่บทความที่ผมนำมานี้ค่อนข้างจะละเอียดคับ เลยอยากเอามาโพสให้ได้อ่านกัน

มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนที่หลายๆ คนยังไม่เคยทราบมาก่อน

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low Earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน (อ่านรายละเอียดเพิ่ม)

2. กำแพงเมืองจีนไม่ไช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ไว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฎภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตุการณ์ ี้ยังมีหอสังเกตุการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง

7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขี้น

8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ
บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า
กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน

9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ
ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจ ประกาศของรัฐบาลที่กำหนดให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ



vมังกรหลับv
#2   vมังกรหลับv    [ 26-02-2008 - 20:03:04 ]



..

..

ประวัติการสร้างกำแพงเมืองจีน

เมื่อพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงรวบรวม 6 เมืองรัฐเอกเอกเทศแล้ว และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ พ.ศ. 529 พระองค์ทรงใช้ขุนพล ม่งเถียน (ม่งเที้ยม) ยกกองทัพใหญ่สามสิบหมื่น ไปปราบปรามชนเผ่ากลุ่มน้อยนอกแผ่นดินใหญ่ ชนเผ่า ซงหนู แล้วพระองค์ก็ทรงมีพระราชโองการโปรดให้จัดซ่อมสร้างกำแพงใหญ่เก่าของเมืองรัฐ เยี่ยน (อี่), เมืองรัฐ จ้าว (เตียว), และเมืองรัฐ ฉิน (ชิ้ง) ขึ้นมาใหม่ เป็นการซ่อมสร้างให้กำแพงใหญ่เมืองเก่าทั้งสามได้เชื่อมติดต่อกัน กำแพงใหญ่มโหฬารนี้ทางทิศตะวันตกเริ่มแต่เมือง หนินเทา (นิ่มเชี้ยว) ในมณฑล กันซู ทางทิศตะวันออกตลอดทอดแนวยาวถึงมณฑล เหลียวหนิน ตะวันออก มีความยาวประมาณ 5,000 ลี้ แต่นักประวัติศาสตร์ให้ชื่อว่า กำแพงหมื่นลี้

กำแพงหมื่นลี้คือสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่และอัจฉริยะของคนจีนโบราณ ราชวงศ์ ฉิน ได้เกณฑ์คนงานหลายแสนคนไปร่วมกันซ่อมแซมก่อสร้าง กินเวลาก่อสร้างด้วยความทุกข์ยากลำบากอยู่หลายปี และสังเวยชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก จึ่งเป็นกำแพงเมืองจีนอันยิ่งใหญ่ได้

กำแพงหมื่นลี้อันยิ่งใหญ่ได้สร้างข้ามเนินเขาสูงใหญ่หลายสิบลูก ด้วยระดับความสูงใหญ่มิเท่ากัน มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 - 1,400 เมตร ระดับความสูงของตัวกำแพงเมืองนั้นตั้งแต่ 5 เมตรถึง 10 กว่าเมตรขึ้นไป เรียงรายตามระดับความสูงต่ำของภูเขาแต่ละลูก ระดับความสูงต่ำของตัวกำแพงเมืองจึ่งมิเท่ากัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ละสถานที่ตั้งของตัวกำแพงเมือง

ภายนอกของตัวกำแพงเมืองได้ใช้ศิลาสกัดก่อตั้งเรียงรายกัน ส่วนภายในกำแพงเมืองนั้นได้ใช้ดินและหินปูนฉาบไว้เหนียวแน่น เบื้องบนของตัวกำแพงเมืองจีน ยังก่อสร้างด้วยกำแพงเหนือยอดอีกชั้น อีกทั้งมีกำแพงชั้นในซึ่งเจาะช่องเป็นช่อง ๆ มองออกไปทะลุถึงกำแพงเมืองชั้นนอกได้ แต่ละช่องนั้นห่างไกลกันช่องละ 130 เมตร

และยังได้สร้างค่ายคูประตูหอรบขึ้นอีกชั้น เป็นที่สำหรับมองข้าศึกศัตรูและเป็นหอส่องจุดไฟสัญญาณ ตามสถานที่แต่ละแห่งเมื่อเห็นภัยร้ายเข้ามา ต่างสามารถจุดไฟส่งสัญญาณเตือนภัยกันล่วงหน้าได้ เพื่อประโยชน์การส่งกองทัพทหารเข้ามาปกป้องกันภัยจากข้าศึก ยามกลางวันนั้นจุดฟืนไฟส่งเป็นสัญญาณควัน ส่วนยามกลางคืนก็จุดฟืนไฟส่งสัญญาณเป็นแสงเพลิง

กำแพงเมืองจีนนั้นได้ถูกก่อสร้างขึ้นด้วยความยากเข็ญลำบากสาหัส มีบางแห่งตั้งอยู่ในทำแลท้องที่ที่คับขัน แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของคนจีน กำแพงเมืองจีนจึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยความยากเข็ญลำบาก เพียงเพื่อระวังป้องกันศัตรูจากภายนอกที่รุกรานเข้ามา และก็ใช้พื้นที่ทางธรรมชาติเป็นด่านป้องกันภัยอันตราย และเมื่อมองจากภายนอก จะรู้สึกว่าเป็นความยิ่งใหญ่อันน่าเกรงขามของคนจีน

ด้วยการขนวัสดุ ดิน, หิน, ศิลา, จำนวนมหาศาลขึ้นไปกองบนยอดเขา ก่อสร้างเป็นกำแพงเมืองจีน เป็นงานที่ลำบากและกินแรงงานของผู้คนจำนวนมากเป็นอย่างยิ่ง

ดั่งเช่น พ.ศ. 1098 สมัยราชวงศ์ เป่ยเจ้ (ปักเจ่) ฮ่องเต้ ทรงโปรดให้ก่อสร้างเพิ่มเติมตั้งแต่ด่าน กู่หยง (กูย้ง) ถึงเมือง ต้าถง (ไต่ตั่ง) นั้นกินกำแพงแนวยาวถึง 450 กิโลเมตร จำต้องใช้กำลังแรงคนถึง 1,800,000 คน

ณ ที่ป้อม ปาต้าหลิน (โป๊ยตักเหล็ง) มีป้ายศิลาบันทึกการสร้างกำแพงเมืองเมื่อสมัยราชวงศ์ หมิน (เม้ง) ว่า เมื่อ พ.ศ.2125 มีการซ่อมตัวกำแพงยาวเพียง 70 กว่าจ้าน (ตึ๋ง) ต้องใช้เหล่าทหารและชาวบ้านหลายพันคน

ดังนั้นจึ่งวาดภาพได้ว่า การก่อสร้างถาวรวัตถุของคนโบราณนั้น ใช้เครื่องทุ่นแรงด้วยเครื่องมือเครื่องไม้อันหยาบ ๆ เท่าที่มนุษย์สามารถค้นคิดมาได้เท่านั้น มิใช่ดั่งปัจจุบันซึ่งมีทั้งเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงอันทันสมัย

การทำงานนั้นจึงสุดแสนยากลำบาก อีกทั้งต้องขึ้นเขาปีนขึ้นปีนลงบนทำแลอันคับขัน โดยการขนอิฐหินดินทราบและศิลาขึ้นไปก่อกองทับถมเป็นตัวกำแพงเมือง ซึ่งต้องกินแรงงานและใช้คนงานจำนวนเหลือนับคณา อีกทั้งคนงานเหล่านี้จำต้องทนผ่านร้อนผ่านหนาว บางแห่งก็เต็มไปด้วยเมฆฝนหรือพายุหิมะอันหนาวเหน็บ

หากคิดคำนวณกันอย่างคร่าว ๆ ว่าการสร้างกำแพงนั้นมีความสูง 2 เมตร และกว้าง 1 เมตร จักสามารถล้อมรอบโลกได้รอบกว่า ๆ หากตัวกำแพงสูง 1 จ้าน 5 ฟุตจีน (ประมาณเกือบ 10 เมตร) และกว้าง 1 ฟุตจีน ก็จักสามารถล้อมรอบโลกได้ 3 - 4 รอบ

กำแพงเมืองจีนที่สร้างในสมัยราชวงศ์ ฉิน นั้น ปัจจุบันยังมีบางส่วนปรากฏให้เห็น ดั่งที่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง ต้าถง 10 ลี้ ในมณฑล ซานซี มีปรากฏร่องรอยของตัวกำแพงเป็นดินสีม่วงคล้ำ ผู้คนต่างเรียกว่า จี้ไส้ (จีสัก..ดินอุดตันสีม่วง) กล่าวกันว่าเป็นฝีมือการก่อสร้างของราชวงศ์ ฉิน

ที่ทางทิศตะวันตกของเมือง หมินเสี้ยน (มิ่งกุ่ย), เมืองไคเฉินเสี้ยน (ไคเซี่ยกุ่ย), และเมือง ฮว่ายเสี้ยน (ฮว่ายกุ่ย), ในมณฑล กันซู ทั้งแถบ ต่างก็มีปรากฏร่องรอยกำแพงเมืองของราชวงศ์ ฉิน

กำแพงเมืองจีนได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ทั้งลมแดดพายุและหิมะมาเป็นเวลาหลายพันปี จึ่งย่อมต้องมีการสึกหรอไปบ้างเป็นธรรมดา จึ่งต้องมีการสร้างซ่อมขึ้นมาใหม่ ซึ่งในยุคสมัยต่อมาในยุคราชวงศ์เหนือ - ใต้ ราชวงศ์ เป่ยเว่ย (ปักงุ่ย), ราชวงศ์ เป่ยเจ่ (ปักเจ๋), ราชวงศ์เป่ยโจว (ปักจิว), รวมทั้งราชวงศ์ สุย (ซุ้ย), ต่างก็ได้ผ่านการซ่อมสร้างกำแพงเมืองจีนมาแล้ว ด้วยความมุ่งหมายการป้องกันประเทศเช่นเดียวกับราชวงศ์ ฉิน

เมื่อราชวงศ์ หมิน ขับไล่ชนชาติ มงโกล ออกไปได้ จึ่งเห็นความสำคัญของกำแพงเมืองจีน เพราะว่าขณะนั้น เหล่าชนเผ่านอกเขตแดน จงหยวน มักรุกรานเข้ามาเสมอ ๆ ราชวงศ์ หมิน ได้ซ่อมสร้างกำแพงเมืองจีนถึง 3 ครั้ง 3 หน

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2043 การซ่อมสร้างกำแพงเมืองจีนโดยราชวงศ์ หมิน ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี กินบริเวณขอบเขตทางทิศตะวันตกตั้งแต่เมืองหน้าด่าน เจียยู่กวน (เกียหยูกวง) ทางทิศตะวันออกไปถีงจรดทะเลที่ด่าน ซานไห่กวน (ซัวไห่กวง) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านมณฑล หนิงเซี่ย (เล่งแห่), ซ่านซี (เฮียบไซ), เน่ยม่งกู่ (ไหล่โมวโก้ว..มงโกเรียใน), และ ซานซ๊ (ซัวไซ), ฯ ล ฯ

มันถูกสร้างอยู่ตามที่ราบและเนินเขาขึ้น ๆ ลง ๆ มีความยาวคร่าว ๆ ประมาณ 6,300 กิโลเมตร ตัวกำแพงเมืองนั้นทางด้านเหนือถูกสร้างอย่ามั่นคงเข็งแรง กำแพงเมืองทั้งด้านนอกและด้านในถูกเรียกว่ากำแพงหมื่นลี้ เป็นการแสดงถึงความมีสติปัญญาของคนจีน และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของคนจีน

เมื่อกล่าถึงกำแพงเมืองจีน มักมีนิยายปรำประรากล่าวถึงการร้องไห้กำแพงเมืองจีนของนาง เมิ่นเจียนหนี (เม่งเกียงนึ่ง) ตามตำนานกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งชื่อ ม่านจี้เหนียน (ม่างกี่เนี่ย) แต่งงานได้มินาน ก็ถูกพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ เกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีน ภรรยาของเขา เมิ่นเจียนหนี ได้ติดตามไปส่งเขาส่งเสื้อผ้ากันหนาวข้ามภูเขาข้ามน้ำข้ามทะเลไปหลายพันลูก

และเมื่อนางได้ข่าวว่าสามีของนางได้ถึงแก่กรรม ณ กำแพงหมื่นลี้ นางได้ร้องห่มร้องไห้ ณ กำแพงหมื่นลี้ 3 วัน 3 คืน เป็นที่สะท้านภพแก่เทพยดาและผีสางนางไม้ทั้งปวง นางได้ร้องไห้จนกระทั่งกำแพงหมื่นลี้พังลงมายาวถึง 40 ลี้ (20 กม.) ตามตำนานนี้ เหล่าประชาราษฎร์โจษท์ขานกันว่า พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงไร้น้ำใจ มองมิเห็นควาามทุกข์ยากของเหล่าประชาชี

แต่ก็มีผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่า ตำนานเรื่องนี้มาจากพงศาวดารเรื่อง ฉู่ต้วน (ฉ่อต่วง) ได้มีนายทหาร จี้เหนียน (กี่เนี่ย) ของเมืองรัฐ เจ้ (เจ่) ออกรบจนตัวตาย ลูกเมืยของเขาได้ร้องห่มร้องไห้ ตำนานนิยายเรื่องนี้ เมื่อก่อนหน้ายุคสมัยของพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ 300 กว่าปี เป็นเรื่องราวที่มิเคยปรากฏในราชวงศ์ ฉิน

..



..

เมื่อกล่าถึงประวัติการสร้างกำแพงเมืองจีน ก็อดที่จักกล่าวถึงพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ มิได้


ภาคผนวก ชีวประวัติของพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เมื่อ พ.ศ. 323 พระองค์ทรงรวบรวมประเทศจีนเป็นเอกภาพ ยุติการแก่งแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าบรรดาเมืองรัฐต่าง ๆ ในยุคสมัย ชุนชิว – จ้านกวอ (ชุงชิว – เจี้ยงกก..ฤดูใบไม้ผลิและฤดุใบไม้ร่วง – ยุคสงคราม หรือ เลียดก๊ก) ทรงรวบรวมอำนาจการปกครองมาสู่ส่วนกลางในยุคศักดินา พระองค์ทรงนำความเจริญมาสู่ชนชาติจีนในประวัติศาสตร์อันยาวนานแต่ละขั้นตอน

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า ยินเจิ้น (เอี่ยเจ่ง) เหตุเพราะพระองค์ทรงประสูติ ณ เมืองรัฐ จ้าว (เตียว) จึ่งมีอีกพระนามหนึ่งว่า จ้าวเจิ้น (เตียวเจ่ง)

เมื่อ พ.ศ. 297 พระองค์ในพระวัย 13 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้า ฉินหวาง ขณะนั้นอุปราช ลวี่ปุ๊เหวย (ลี่ปุกอุ้ย) และขันที เหลียวไอ่ (เลี่ยวไอ่) ครอบครองอำนาจในพระราชสำนักอย่างมิเป็นธรรม

และเมื่อพระเจ้า ยินเจิ้น ทรงมีอายุครบ 22 ปี ตามธรรมเนียมพิธีการปกครองของพระราชสำนัก ฉิน พระองค์ทรงสำเร็จราชการมีอำนาจเต็ม อุปราช ลวี่ปุ๊เหว่ย ก็หลอกใช้ เลียวไอ่ คิดโค่นล้มปฏิวัติ เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น

ฉินหวางยินเจิ้น ทรงจัดการโค่นล้มการปฏิวัติเสียแต่ต้นลม ทรงประหารขันที เหลียวไอ่ ลวี่ปุ๊เหว่ย ถูกถอดออกจากตำแหน่งอุปราช ภายหลัง ลวี่ปุ๊เหว่ย ฆ่าตัวตาย

เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น ทรงใช้ขุนนาง หลี่ซือ, เว่ยเลี่ยว, เป็นกุนซือดำเนินนโยบาย “เลี้ยงไกลพิชิตใกล้” ทรงใช้เวลาทำสงครามประมาณ 10 ปี จึ่งทรงรวบรวมเมืองรัฐ หาน, จ้าว, เยี่ยน, เว่ย, ฉุ่, และ เจ้, มาอยู่ในผังอาณาจักรของพระองค์ได้สำเร็จ

เมื่อ พ.ศ. 323 เมืองรัฐ ฉิน สามารถรวบรวมเมืองรัฐทั้งหลายในยุค จ้านกว๋อ ได้หนึ่งเดียวเป็นเอกเทศ ประเทศ ฉิน สามารถแผ่ขยายอำนาจไปถึงดินแดนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยึดได้ดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ 2 มณฑล 2 กว่าน

เริ่มรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายมากลายเป็นชนชาติ ฮั่น ในชั้นหลัง

เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น ทรงต้องการแยกแยะความยิ่งใหญ่อันเกรียงไกรของพระองค์ จึ่งทรงยกคำว่า หวาง (อ๊วง..แปลว่าเจ้า) และคำว่า ตี้ (ตี่..กษัตริย์) รวบรวมเป็นคำเดียวกัน เรียกว่า หวางตี้ (อ่วงตี่)

ซึ่งก็คือคำว่า ฮ่องเต้ ซึ่งคนไทยเชื้อสาย ฮกเกี้ยน ได้แปลจากเรื่อง สามก๊ก จนเกิดเป็นคำมรดกวัฒนธรรมของคนไทยตกทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้ เขาได้ฝันใฝ่ว่า ลูกหลานเหลนโหลนของพระองค์ต่อ ๆ มาเป็นหมื่น ๆ ชั่วโคตรจักสามารถสืบทอดตำแหน่งและการปกครองของพระองค์ได้ พระองค์จึ่งทรงสถาปนาพระองค์เองว่า ซี่หวางตี้ (สี่อ่วงตี่..แปลว่า ฮ่องเต้ พระองค์แรก)

แต่ทำไมนักประวัติศาสตร์สันชาติตะวันตก จึ่งใช้คำว่าจักรพรรดิมาตั้งแทนสรรพนามของ ฮ่องเต้ จีนแต่ละพระองค์ ทั้ง ๆ ที่ในประวัติศาสตร์ของจีนมิได้ใช้คำว่าจักรพรรดิมาเรียกเป็นสรรพนามของ ฮ่องเต้ นอกจากคนจีนรุ่นใหม่หรือคนต่างชาติที่มิรู้เรื่องได้ใช้คำว่าจักรพรรดิมาเรียก ฮ่องเต้ ของตนอย่างมิข่วยเขินอาย

คำว่า ฮ่องเต้ เป็นสรรพนามของผู้นำสูงสุดในการปกครองระบบศักดินา คนจีนเรียกกษัตริย์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศที่มาทำสัมพันธ์ไมตรีว่า หวาง (อ๊วง..อ๋อง) ทั้งนั้น เพราะไม่มีกษัตริย์ใดยิ่งใหญ่ไปกว่า ฮ่องเต้ ของจีน

ดั่งนั้น ฮ่องเต้ จึงเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน ทั้งด้านระบบการเมือง การเศรษฐกิจ การควบคุมอำนาจทางทหาร

คำสั่งหรือพระราชโองการของพระองค์ทรงใช้คำว่า เจ้า (เจียว) หรือ จื้อ (จี่) เพื่อทรงครอบคลุมอำนาจของพระองค์ทั่วทั้งประเทศ

และเหล่าบรรดาผู้นำต่าง ๆ ของจีนยุคต่อ ๆ กันมา ก็ทรงใช้คำว่า ฮ่องเต้ เรียกตามสรรพนามเช่นเดียวกับพระองค์ ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาชั่วลูกชั่วหลาน

ผู้ที่มีอำนาจสืบทอดต่อมาจาก ฮ่องเต้ เรียกว่า “ซานกงจิ่วคิน (ซำกงกิ่วเคง) เป็นระบบการปกครองควบคุมอำนาจสู่ส่วนกลาง

ซานกง หรือ สามก๋ง ก็คือผู้นำของเหล่าบรรดาขุนนางทั้งปวง

ตำแหน่ง เฉินเซี่ยน (เซ่งเสี่ยง) คือผู้นำทางฝ่ายพลเรือน

ตำแหน่ง ไท่เว่ย (ไท้เอว่ย) คือผู้นำทางฝ่ายทหาร

ส่วนตำแหน่ง จิ่วคิน (กิวเค็ง) เป็นผู้นำทำพิธีการเซ่นไหว้ในศาลเจ้าบรรพชน

ขุนนางที่มีหน้าที่เป็นองค์รักษ์ เฝ้าประตูพระราชวังต่าง ๆ เรียกว่า หลานจงหลิน (นึ่งตงเหล็ง)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมคุกราชทัณฑ์เรียกว่า ถินเว่ย (เท่งเอว่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมการคลังเรียกว่า ตี้มี่เน่ยไส้ (ตี้บี้ไหล่ไส่)

ขุนนางที่มีหน้าที่ติดต่อกับทางด้านต่างประเทศเรียกว่า เตี้ยนเค่อ (เตี้ยงเขะ)

ขุนนางที่มีหน้าที่จัดการควบคุมพระราชวังเรียกว่า จงเจิ้น (จงเจี่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมเหล่าองค์รักษ์ดูแลประตูหอรบเรียกว่า เว่ยเว่ย (เอว่ยเอว่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับโรงม้าราชรถเรียกว่า ไท่ผู่ (ไท้ผก)

และขุนนางที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลธรรมชาติและการฝีมือของประเทศเรียกว่า เส้าหู่ (เสี่ยวฮู่)

ขุนนางเหล่านี้รวมตัวกันเรียกว่า ซานกงจิ่วคิน ต่างคนต่างทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่มีอำนาจเหนือเหล่าประชาราษฎร ตั้งแต่เบื้องบนสุดถึงต่ำสุด

การแบ่งแยกดินแดนการปกครองของราชวงศ์ ฉิน โดยการแต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นต่าง ๆ ร่วมกันปกครอง เมือเริ่มแรกนั้นแบ่งเขตแดนเป็น 36 หัวเมืองขึ้น เรียกว่า กุน (กุ๋ง) แต่ครั้นถึงปลายราชวงศ์ ฉิน มีถึง 40 กว่า กุน

แต่ละ กุน มีเจ้าเมืองปกครอง มีอำนาจการปกครอง ส่วนอำนาจทางฝ่ายทหารนั้นมีนายทัพ เว่ย (เอว่ย) เป็นผู้ดูแลปกครอง และยังทรงแต่งตั้งขุนนางในตำแหน่ง กั่นอู้ไส้ (ก้ำง่อไส่) ดูแลการราชทัณฑ์และประเพณีการเซ่นไหว้

ใน กุน หนึ่งนั้นยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น เสี้ยน (กุ่ย) เสี้ยนใหญ่สามรถออกคำสั่งแก่ เสี้ยนเล็ก เสี้ยน เล็กก็ดำเนินตามคำสั่งของ เสี้ยนใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม เสี้ยน ทั้งหลาย ก็มีอำนาจควบคุมกองทัพกองทหารด้วย เสี้ยนเซี่ย (กุยเซี่ยง) หรือ เสี้ยนหลิน (กุ่ยเหล็ง) หรือ เสี้ยนฉาน (กุ่ยเจี้ยง) ดำเนินการปกครองตามนโยบายทางการเมือง ขุนนางผู้มีอำนาจเหนือกว่า เสี้ยน ต่างอบรมบัญชาการแก่เหล่า เสี้ยน ตามพระราชโองการที่ได้รับมอบหมายมา

จากตำแหนง เสี้ยน ก็มีผู้ปกครองลดหลั่นลงไปเรียกว่า เซียน (เฮีย), ถิน (เต๊ง), และ หลี่จี (หลี่กี), แต่ละ เซียน ก็มีผู้เฒ่าทั้งสาม อบรมสอนสั่งเหล่าชาวบ้านประชาชนให้เข้าใจในระเบียบพิธีกรรมต่าง ๆ และยังรับหน้าที่เป็นตุลาการผู้พิพากษา ตามเก็บภาษีที่ทางต่าง ๆ และให้ความอยู่เย็นเป็นสุขแก่เหล่าราษฎรทั่ว ๆ ไป

จาก เซียน ลงไปก็คือ ถิน (เต๊ง), แต่ละ ถิน ก็มีเจ้า ถิน ดำเนินการปกครองและเหล่าผู้ท่องเที่ยวไปมา และดูแลความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน จาก ถิน ลงมาก็คือ หลี่ (ลี้) หลี่เป็นตำแหน่งขุนนางที่เล็กที่สุด

แต่ก็ยังมีแบ่งแยกซอยลงไปอีก 10 ครัวเรือนเรียกว่า เสิ่ม (ซิ่ม), 5 ครัวเรือนเรียกว่า อู่ (โง่ว), ทั้ง เสิ่ม และ อู่ ต่างก็มีผู้นำเรียกว่าเจ้า เสิ่ม และเจ้า อู่ หากว่ามีครัวเรือนใดมีโทษความผิดมิกระจ่าง เจ้า เสิ่ม และ เจ้า อู่ ต้องร่วมฟังความพิจารณาโทษด้วย

ด้วยระบบการปกครองเช่นนี้ ตั้งแต่อำนาจรัฐบาลกลาง จนกระทั่งถึงอำนาจเบื้องปลาย เปรียบดั่ง ปิรามิด ส่งต่อลงไปเป็นทอด ๆ ซึ่งสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศจีนอย่างยิ่งในระบบการปกครองแบบศักดินา ซึ่งหลักการปกครองเช่นนี้ ในชั้นหลังของราชวงศ์ต่าง ๆ ต่างเอาแบบเป็นเยี่ยงอย่าง

การรวบรวมหนังสือจีนเป็นเอกภาพ


พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์จีนทีสำคัญพระองค์หนึ่ง ก่อนสมัย จ้านกว๋อ แต่ละท้องที่แต่ละท้องถิ่นต่างใช้ภาษจีนต่างรูปต่างแบบกัน

เมื่อราชวงศ์ ฉิน รวบรวมเมืองรัฐทั้ง 6 ได้ พระองค์ทรงใช้ หลี่ซือ และเหล่าขุนนางร่วมกันปฏิรูปภาษาจีน

เดิมที หลี่ซือ เป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เมื่อยามที่พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงเสด็จประพาสตามสถานที่ต่าง ๆ พระองค์มักทรงให้จารึกพระอักษรลงบนศิลา มีหลายแห่งจารึกด้วยลายมือของ หลี่ซือ ลายมือของ หลีซือ แพร่กระจายไปในประเทศจีนอย่างกว้างขวาง

เขาได้บรรจงคัดลายมือด้วยตัวของเขาเองจนลายมือของเขาเป็นเอกลักษณ์ของตัวหนังสือจีน ขณะเดียวกันก็บันทึกเรื่องราวเป็นตัวหนังสือใช้ประจำวัน และเผยแพร่ไปยังคนจีนใช้กันอย่างกว้างขวาง

ดั่งนั้นเขาได้ปฏิบัติการจนกระทั่งหนังสือจีนและตัวอักษรจีนเป็นของเคียงคู่กัน เป็นฝีมือการพัฒนาตัวหนังสือจีนให้ก้าวหน้าของ หลี่ซือ


การปริวัติเงินตราและหน่วยชั่งตวงวัด

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงวางรากฐานทางเศรษฐกิจของจีนให้มั่นคง เมื่อสมัย จ้านกวอ นั้น เงินตราของแต่ละเมืองรัฐต่างมีความใหญ่เล็กและมีมูลค่ามิเท่ากัน มีความแตกตางกันตามแต่ละเมืองรัฐ จึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยากพอสมควรสำหรับการค้าขายของแต่ละเมืองรัฐ

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงปริวัติเงินตราขึ้นใช้ใหม่แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ทรงบัญญัติให้ทองคำมีมูลค่าสูงสุด ทรงใช้หน่วย ยิ (เอ็ก..1 ยิ = 20 หรือ 24 ตำลึง) เป็นเครื่องคำนวณมูลค่า การใช้เงินเหรียญรูปทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมเป็นสกุลต่ำสุด มักมีมูลค่าเพียงครึ่งตำลึง

จึ่งทำให้การค้าขายแลกเปลี่ยนมีความสะดวกยิ่งขึ้น

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ยังมีพระราชโองการบัญญัติหน่วยชั่งตวงวัดให้เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียว โดยทรงกำหนดให้ความยาว 6 เชี๊ยะ (ฟุตจีน) เท่ากับ 1 ปู้ (โป่ว) 240 ปู้ เท่ากับ 1 หมู่ (โบ่ว)

ทรงบัญญัติให้ใช้หน่วยชั่งตวงตามที่ ซานยาน (เซียงเอียง) เคยกำหนดไว้ส่งไปใช้กันถ้วนทั่วทั้งประเทศ

ด้วยการปริวัติเงินตราและกำหนดหน่วยชั่งตวงวัดด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ย่อมทำความสะดวกแก่การค้าขายและการจัดเก็บภาษีอันแม่นยำ และยังส่งเสริมการใช้แรงงานและการฝีมือเจริญแพร่หลายไปทั่วทั้งประเทศ

ปริวัติการใช้รถราเคียงคู่กับการใช้ถนนหนทาง


เพื่อเป็นการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของการคมนาคม พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงบัญญัติกำหนดความกว้างของรถแต่ละคันไม่เกินคันละ 6 เชี๊ยะ ใช้กันทั่วประเทศเหมือน ๆ กันหมด

พระองค์ทรงมีโองการให้ทำลายสิ่งกีดขวางการจราจรลงทั้งหมด จัดซ่อมสร้างถนนหนทางใหม่ โดยยึดเมืองหลวงนคร เสี้ยนหยาน (ห่ำเอี้ยง) เป็นจุดศูนย์กลาง

ทางหนึ่งไปทางทิศตะวันออกตรงไปถึงดินแดน เยี่ยนเจ้ (อี่เจ่) ทางหนึ่งไปทางทิศใต้ตัดผ่านถึงดินแดนเมืองรัฐเก่าเมืองรัฐ อู๋ (โง่ว) และ ฉู่ (ฉ่อ) ถนนสายสำคัญนี้ถูกสร้างอย่างมั่นคงเข็งแรงมีความกว้างถึง 50 ปู้ ที่ข้างทางเว้นช่วงแต่ละช่วงยาว 3 จ้าน ถูกปลูกด้วยต้นสนเขียวร่มรื่น

ต่อมาภายหลัง พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงมีรับสั่งให้แม่ทัพ ม่งเถียน สร้างทางสายตรงจากเมือง จิ่วหยวนกุน (กิ่วง่วงกุ๋ง) ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของนคร เปาโถว (เปาเท้า) ตรงไปถึงเมืองหลวง เสี้ยนหยาน มีความยาวถึงกว่า 1,800 ลี้

และยังทรงมีรับสั่งให้ ฉานอาน (เซี่ยอัง) สร้างทางหลวง อู่ชิเต้า (โง่วเชี๊ยะเต๋า) จากเมือง กุ้ยโจว (กุ้ยจิว) ในมณฑล ยูนนาน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่แถบดินแดน หูหนาน, เจียนซี, ทรงโปรดให้ตัดสร้างถนนสายใหม่ ตัดขวางเพื่อสะดวกแก่การคมนาคมระหว่างดินแดน กว่าน ทั้งสอง (หมายถึง กว่านซี, และ กว่านจง)

สำหรับการคมนาคมทางน้ำ พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ขุดลอกคลองคูต่าง ๆ ให้ทะลุถึงกัน แม่น้ำ จี้ (จี่), ลั่ว (ลก), เว่ย (เอว่ย), และ ซื่อ (สี่), ล้วนทะลุถึงกันสามารถไปมาหาสู่กันได้ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเขื่อนกั้นน้ำต่าง ๆ กาคมนาคมทางน้ำระหว่างแม่น้ำ เซี่ยนสุ่ย (เซี่ยงจุ้ย), หนินสุ่ย (นิ่มจุ้ย), และ จูเจี้ยน (จูกัง), สามารถถึงกันได้หมด

การเป็น ฮ่องเต้ นักพัฒนาดั่งพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ เมื่อสมัยก่อนยังมิเคยปรากฏ แม้นว่าจักต้องใช้แรงงานและเลือดเนื้อของเหล่าราษฎรจำนวนมากเท่าไหร่ก็ตาม

..







vมังกรหลับv
#3   vมังกรหลับv    [ 26-02-2008 - 20:03:42 ]

..

ข้อสงสัยทางประวัติศาสตร์


นาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้กำแพงเมืองจีนพัง มีตัวตนในประวัติศาสตร์หรือไม่


ตำนานนิทานชาวบ้านเรื่องนาง มิ่นเจียนหนี ร้องไห้บนกำแพงเมืองจีนนี้ เป็นที่รู้ ๆ กันและโด่งดังของคนจีนโบราณ แต่ก็มีผู้รู้หลาย ๆ ฝ่ายต่างพากันสงสัยกันว่าเป็นไปมิได้

ด้วยเหตุที่ว่าตำแหน่งที่นาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้บนกำแพงเมืองจีน ถูกกำหนดไว้ ณ ปลายสุดของกำแพงเมืองจีน ณ ด่าน ซานไห่กวน ซึ่งถูกก่อสร้างโดยราชวงศ์ ฉินเมื่อภายหลัง แม้นว่าการก่อสร้างกำแพงเมืองจีนเพิ่มเติมไปทางเหนืออีกเป็นร้อยลี้ถึงด่าน ซานไห่กวน จักมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่การที่นาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้จนกำแพงเมืองจีนถล่มนั้น

ได้มีการร่ำลือกันก่อนหน้านี้แล้วก่อนที่ราชวงศ์ ฉิน พิชิตยึดเมืองรัฐทั้ง 6 ก่อนหลายปี ดั่งนั้นเรื่องนาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้บนกำแพงเมืองจีน จึ่งมิเกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์ใด ๆ กับพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ตามตำนานกล่าวว่า

ในรัชสมัยของพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ มีผัวเมียคู่หนึ่งพึ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ กำลังข้าวใหม่ปลามัน แต่คุณสามีนามว่า ม่านซี่เหลียน (มั่งฮี่เลี้ยง) คุณภรรยานามว่า เมิ่นเจียนหนี เมื่อแต่งงานกันเพิ่งได้ 3 วัน คุณสามี ม่านซีเหลียน ถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีน มินานก็สิ้นชีพด้วยทนภูมิอากาศความหนาวเย็นและการใช้แรงงานมิไหว

นาง เมิ่นเจียนหนี ได้พยายามตามหาสามีมาถึงกำแพงหมื่นลี้ จนกระทั่งสืบเสาะว่าสามีของนางได้ตายจากไป นางได้ร้องห่มร้องไห้เป็นการใหญ่ จนกระทั่งกำแพงเมืองจีนทนมิได้ ได้ล้มพังถล่มทลายไปถึง 800 ลี้

ชาวบ้านต่างพากันเชื่อเรื่องนาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้กำแพงเมืองจีนพัง จึ่งได้ร่วมใจกันสร้างศาลเจ้าเซ่นไหว้นาง เมิ่นเจียนหนี ณ กำแพงเมืองจีนด้านด่าน ซานไห่กวน

แต่ทว่าประวัติการร้องไห้กำแพงเมืองจีนก็มีบันทึกในประวัติศาสตร์จีน แต่คนละหน้ากัน หน้าแรกที่พบเห็นปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง

< ฉู่ต้วน (ฉ่อต่วง) >

คือในสมัยเริ่มยุคประวัติศาสตร์ ชุนชิว ในรัชสมัยของเจ้า เจ่จวนกง (เจ่จวงกง)

ชาวเมือง เจ้ จี้เหนียน (กี่เนี่ย) ได้บุกโจมตีเมือง ลวี่ (ลื่อ) ปัจจุบันคือเมือง ลวี่เสี้ยน ในมณฑล ซานจง จี้เหนียน มิมีบุตร ได้ถูกฆ่าตายกลางสนามรบ ภรรยาได้มากอดศพร้องห่มร้องไห้ใต้กำแพงเมือง นางร้องห่มร้องไห้อยู่นาน 7 วัน 7 คืน จนกระทั่งตัวกำแพงเมืองถล่มทลายลงมา

ต่อมาในภายหลังเหล่าบรรดานักเล่าประวัติศาสตร์ต่างพากันเล่ากันเป็นตุเป็นตะว่า จี้เหนียน นั้น แซ่ม่าน แต่ยังมิมีการเอ่ยนามของนาง เมิ่นเจียนหนี

ต่อเมื่อถึงยุคสมัยราชวงศ์ ถัน จึงปรากฏบทกวีกล่าวเป็นครั้งแรกว่า นาง เมิ่นเจียนหนี ได้ตามส่งเสื้อผ้ากันหนาวให้แก่สามี

ต่อเมื่อถึงราชวงศ์ ซ่ง เริ่มเล่าขานกันว่า จี้เหนียน เริ่มจักมีแซ่ แต่เล่าขานมิตรงกัน บ้างก็ว่า จี้เหนียน แซ่ม่าน บ้างก็ว่า จี้เหนียน แซ่ฟาง (แซ่ปึง) ชื่อนั้นก็เรียกเพี้ยนเป็น จี้หลาน (กี่นึ้ง) บ้างก็เรียกว่า ซี่เหลียน (ฮี่เลี้ยง)

ดังนั้น จักเห็นได้ว่าเรื่องราวของนาง เมิ่นเจียนหนี ร้องไห้กำแพงเมืองจีน นั้นเพี้ยนหรือประยุกต์มาจากการร้องไห้ของภรรยาของ จี้เหนียน นั่นเอง

..

ผลงาน ใน คห.1 และ คห.2 เป็นของท่าน อาไพรัฐ เฮงตระกูลสิน คับ ซึ่งแกได้เสียชีวิตไปเร็วๆนี้เอง



vมังกรหลับv
#4   vมังกรหลับv    [ 26-02-2008 - 20:07:22 ]

เล่าเรื่องสนุกเกี่ยวกับด่านกำแพงเมืองจีน

ในบริเวณที่เป็นจุดอันตรายของกำแพงเมืองจีนจะมีการสร้างด่านขึ้นเกือบทุกที่ ในจำนวนนั้น ที่มาของชื่อด่านที่มีชื่อเสียงจำนวนมากล้วนมีเรื่องราวเล่าขานที่เปี่ยมไปด้วยความส
นุกสนาน

ด่านซานไห่กวนซี่งได้ฉายาว่าเป็น“ด่านแรกของกำแพงเมืองจีน”ตั้งอยู่ที่แหล่งเชื่อมมณ
ฑลเหอเป่ยและมณฑลเหลียวหนิง เป็นจุดเริ่มต้นของกำแพงเมืองจีน ด้านเหนือของด่านซานไห่กวนติดภูเขาเยียนซาน ด้านใต้ติดทะเลป๋อไห่ น้ำใสเขาสวย ทิวทัศน์สวยงามมาก เวลาขึ้นไปอยู่บนด่านมองออกไปไกลๆ จะเห็นทิวทัศน์ทั้งภูเขาและทะเลอันแสนสง่างาม ด่านนี้ก็เลยได้ชื่อว่าด่านซานไห่กวน(ซานแปลว่าภูเขา ไห่แปลว่าทะเล)

ผู้ริเริ่มก่อสร้างด่านซานไห่กวนคือนายพลสวีต๋า ผู้มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หมิง ตอนนั้นนายพลท่านนี้ได้ก่อสร้างด่านซานไห่กวนที่นี่เพื่อควบคุมทั้งภูเขาและทะเลด้วย
วิสัยทัศน์ทางการทหารอันยอดเยี่ยมของเขา ด่านนี้มีประตูทั้งหมดสี่บาน บนหอเหนือประตูตะวันออกได้แขวนป้ายขนาดใหญ่ เขียนว่า “ด่านที่หนึ่งของโลก” แผ่นป้ายยาว5.9เมตร กว้าง1.6เมตร ตัวหนังสือสูง1.45เมตร กว้าง1.09เมตร เซียวเสี่ยน นักอักษรศิลป์ ผู้มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หมิงเป็นผู้เขียน แต่บนป้ายนั้นไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนไว้ เล่ากันว่า ตอนที่เซียวเสี่ยนเขียนป้ายนี้ เขาได้เขียนรวดเดียวโดยไม่หยุด แต่พอเขียนเสร็จ เขามองดูตัวอักษรที่ตัวเองเขียน แล้วรู้สึกไม่พอใจตัวอักษรที่เป็นเลข“หนึ่ง” แม้ว่าจะเขียนแล้วเขียนอีกหลายครั้ง ก็ยังไม่พอใจอยู่ดี เขาเลยหยุดพักและลงไปพักผ่อนดื่มเหล้าที่ร้านขายเหล้าใต้ด่าน ครุ่นคิดอยู่ไปมา ขณะนั้น พอดีมีพนักงานในร้านมาทักทาย และหยิบผ้าขนหนูที่พาดไว้บนไหล่ลงมาลากผ่านหน้าโต๊ะ ทำให้เกิดรอยทางน้ำที่ผ้าลากผ่านบนโต๊ะทางหนึ่ง พอเซียวเสี่ยนได้เห็นรอยน้ำเส้นนี้ ก็รีบลุกขึ้นร้องว่า“ดีมาก ดีมาก” รอยน้ำเส้นนี้พอดีเป็นตัวเลข“หนึ่ง”ที่มีรูปลักษณะสวยงามมาก เซียวเสี่ยนได้เลียนแบบรอยน้ำเส้นนี้อย่างละเอียดลงบนกระดาษ แล้วกลับไปเขียนไว้บนแผ่นป้ายอีกที และก็คือแผ่นป้ายที่เราเห็นในวันนี้ ด้วยเหตุนี้ เซียวเสี่ยนจึงไม่ยอมลงนามตัวเองบนแผ่นป้าย ทำให้ป้ายแผ่นนี้กลายเป็นแผ่นป้ายที่ไม่มีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ ซึ่งมีน้อยมากในแผ่นป้ายชื่อทั้งหลาย

ด่านเจียอวี้กวนเป็นจุดเริ่มต้นด้านตะวันตกของกำแพงเมืองจีน ตั้งอยู่ที่เมืองเจียอวี้กวน มณฑลกานซู่ ก่อสร้างขึ้นในปี1372สมัยราชวงศ์หมิง เนื่องจากด่านนี้สร้างขึ้นบนภูเขาเจียอวี้ เลยได้ชื่อว่าด่านเจียอวี้กวน และเนื่องจากด่านนี้ไม่เคยผ่านศึกสงคราม เลยได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าด่านสันติภาพหรือด่านเหอผิงกวน

ด่ายเหนียงจื่อกวนที่ตั้งอยู่ที่อำเภอผิงติ้งของมณฑลซานซี เป็นทำเลที่ตั้งที่อันตรายมาก เฝ้าง่ายเข้าตียาก เลยได้ฉายาว่าเป็น“ประตูของซานซี” ด่านนี้เดิมชื่อด่านเหว่ยเจ๋อกวน เมื่อต้นสมัยราชวงศ์ถาง เจ้าหญิงผิงหยาง ธิดาของจักรพรรดิ์หลี่ยวนเคยนำทหารกว่าหมื่นคนมาประจำที่ด่านนี้ เจ้าหญิงผิงหยางเก่งวิทยายุทธ ทหารของเธอได้ชื่อว่าเป็นทหารหญิง ด้วยเหตุนี้ ผู้คนเลยเปลี่ยนชื่อด่านนี้เป็นด่านเหนียงจื่อกวน(เหนียงจื่อแปลว่าผู้หญิง) ปัจจุบันบนประตูตะวันออกของด่านเหนียงจื่อกวนยังมีตัวหนังสือห้าตัวคือ“จื๋อ ลวี้ เหนียง จื่อ กวน”หลงเหลืออยู่

ด่านอวี้เหมือนกวน(ประตูหยก)ที่ตั้งอยู่ในเมืองเสี่ยวฟางผัน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอตุนหวงของมณฑลกันซู่ ด่านนี้ได้ชื่อเพราะเวลาขนส่งหินหยกที่ขุดจากเหอเถียนของมณฑลซินเกียงในสมัยโบราณไปย
ังภายในประเทศจะต้องเดินทางผ่านด่านนี้

ด่านจวียงกวนตั้งอยู่บนเทือกเขาจื่อจิ้นหลิ่งของอำเภออี้ มณฑลเหอเป่ย ตอนที่สร้างกำแพงเมืองจีนส่วนนี้ ฝ่ายราชการเคย“ขังสามัญชนคน ธรรมดา”ไว้ที่นี่ พอสร้างเสร็จ ก็เลยตั้งชื่อด่านนี้ว่าด่านจวูยองกวน(จวูแปลว่าขัง ยองแปลว่าคนสามัญธรรมดา)

ด่านเพียนโถวกวนตั้งอยู่ที่อำเภอเพียนโถว มณฑลซานซี ชื่อของด่านนี้ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ เพราะว่าที่ตั้งทำเลของด่านนี้มีความสูงไม่เท่ากัน ฝ่ายตะวันออกสูงกว่า ฝ่ายตะวันตกต่ำกว่า และเอียงไปเล็กน้อย เลยได้ชื่อที่แปลกๆว่าด่านเพียนโถวกวน(เพียนโถวแปลว่าศีรษะเอียง)

ส่วนด่านเอี้ยนเหมินกวนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาของอำเภอไต้มณฑลซานซี มีลักษณะยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างยิ่ง เทือกเขาที่อยู่ทั้งสองฝ่ายมีลักษณะสูงชะโงกเงื้อม ห่านป่าที่บินผ่านมาถึงที่นี่จะไม่สามารถบินผ่านไปได้ ได้แต่บินหลบต่ำลงไปหุบเขา ผ่านหน้าด่าน ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงตั้งชื่อด่านนี้ว่าด่านเยี่ยนเหมินกวน(เยี่ยนแปลว่าห่านป่า เหมินแปลว่าประตู)

นำมาจาก : http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter14/chapter140502.htm






มู่เนี่ยมชื้อ
#5   มู่เนี่ยมชื้อ    [ 19-04-2008 - 20:00:26 ]

vมังกรหลับv อยากทราบว่าสร้างตรงกับสมัยใดของประเทศไทยคะ



vมังกรหลับv
#6   vมังกรหลับv    [ 19-04-2008 - 20:23:43 ]

ยังไม่มีประเทศไทยและประเทศไทยยังไม่เกิดคับ อีกประมาณ 1400ปี ต่อจากยุคฉินซี ถึงจะมีอาณาจักรสุโขทัยคับ



รักคือสิ่งใด
#7   รักคือสิ่งใด    [ 19-04-2008 - 23:46:00 ]

ขอบคุณที่หาอะไรดีๆมาให้อ่านคร่าาา



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#8   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 20-04-2008 - 12:56:39 ]

ความจริงกําแพงเมืองจีนสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวแล้ว แล้วฉินซีฮ้องเต้ก็สร้างเพิ่มเติมให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมครับ

นี้คือเกร็ดความรู้ของกําแพงเมืองจีน ที่บางคนอาจยังไม่รู้



เทพธิดา
#9   เทพธิดา    [ 21-04-2008 - 17:43:21 ]

มีความยาวประมาณ 5,000 ลี้

พอจะทราบไหมคะ ยาวกี่กิโลเมตรคะ



จิราภรณ์
#10   จิราภรณ์    [ 02-05-2008 - 10:39:39 ]

ใช้คนสร้างทั้งหมดกี่คน ตายไปกี่คน และ งบประมาณสร้างเท่าไร



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#11   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 02-05-2008 - 13:45:38 ]

นั่นนะสิ ผมก้อยากรู้ แต่รู้ว่าเกินแสนคนแน่



๐วีรบุรุษสวนท้อ๐
#12   ๐วีรบุรุษสวนท้อ๐    [ 02-05-2008 - 14:38:33 ]

เอ่อ.. แล้วมาน ล้อมประเทศจีนเลยไหมหะ



vมังกรหลับv
#13   vมังกรหลับv    [ 02-05-2008 - 14:40:54 ]

ใช้คนสร้างทั้งหมดกี่คน ตายไปกี่คน และ งบประมาณสร้างเท่าไร
คนบันทึกคงจะไม่บันทึกละเอียดที่หยิ่บขนาดนั้นหนะคับ อาจจะใช้ตัวเลขเป็นการประมาณเอา

เอ่อ.. แล้วมาน ล้อมประเทศจีนเลยไหมหะ
ไม่คับ อยู่เฉพาะทางโซนเหนือ ของประเทศ



vมังกรหลับv
#14   vมังกรหลับv    [ 02-05-2008 - 21:46:47 ]

มีความยาวประมาณ 5,000 ลี้

พอจะทราบไหมคะ ยาวกี่กิโลเมตรคะ


ไมได้ยาว 5 พันลี้คับ แต่ยาวเป็นหมื่นลี้ จำได้ประมาณ 6000 กม.



มู่เนี่ยมชื้อ
#15   มู่เนี่ยมชื้อ    [ 02-05-2008 - 22:50:33 ]

มีป้อมปราการสักกี่ป้อมคะ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#16   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 04-05-2008 - 13:31:20 ]

ป้อมไม่รู้ว่ามีกี่ป้อม แต่รู้ว่ามีป้อมหนึ่งชื่อว่า หนึ่งในใต้หล้า ครับ ซึ่งเขาถือกันว่า ใครเดินผ่านป้อมนี้ ก็จะประสบความสัเร็จในกิจการทุกชนิดครับ

ปล. มาจากเรื่อง อิมซังอ็ก ครับ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#17   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 04-05-2008 - 13:31:20 ]

ป้อมไม่รู้ว่ามีกี่ป้อม แต่รู้ว่ามีป้อมหนึ่งชื่อว่า หนึ่งในใต้หล้า ครับ ซึ่งเขาถือกันว่า ใครเดินผ่านป้อมนี้ ก็จะประสบความสัเร็จในกิจการทุกชนิดครับ

ปล. มาจากเรื่อง อิมซังอ็ก ครับ



แฟนหยางมี่
#18   แฟนหยางมี่    [ 08-05-2008 - 13:08:52 ]

ไม่ทรราบว่ากรุงสุโขทัยเกิดหลังสมัยเรื่องมังกรหยกนิดๆใช่หรือป่าวคับ



แฟนหยางมี่
#19   แฟนหยางมี่    [ 08-05-2008 - 13:11:27 ]

เพราะผมไปอ่านประวัติพระเจ้าชัยวรมันที่7มา
บอกว่า
หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ขอมก็ตกเปนของมองโกลภายใต้การนำของกุบไลข่าน
แล้วอีกไม่นานพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองก็สร้างอาณาจักรสุโขทัย
แต่พ่อขุนผาเมืองเปนราชบุตรเขยของชัยวรมันที่7 จึงครองสุโขทัยไม่ได้
พ่อขุนบางกลางหาวจึงครองราชย์เถลิงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์



vมังกรหลับv
#20   vมังกรหลับv    [ 08-05-2008 - 13:45:22 ]

ใช่คับ



  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube