
เพลงเจ้านาง ขับร้องโดย จรัล มโนเพ็ชร์
ใจฝันใฝ่หมายจะหาความรักมาทดแทน
กลับเจอความเจ็บแค้นบาดใจ จนฝังจำ
ไว้เป็นรอยบอบช้ำและยากเกินจะเลือน
ทำทุกอย่างเพียงบอกย้อนรอยแค้นสนองคืน
อาจบางคราวต้องฝืนแต่ใจคอยย้ำเตือน
ทั้งวิญญาณเสมือนสิงด้วยปีศาจทราม
* แต่ความรักไม่สลาย แม้จนวันสุดท้ายจึงเกิดคำถาม
กรรมอาจย้อนติดตาม คนเขาประณามเกลียดชังไร้ค่า
ทนเจ็บทนความเหว่ว้า เช็ดน้ำตาปลอบขวัญตัวเองต่อไป (ซ้ำ *)
http://www.imeem.com/people/EB9EZ9l/music/FjRlR1IY//
ลิงค์ฟังเพลงค่ะ
________________________________________________
เรื่องราว เจ้านาง นี้เคยถูกสร้างเป็นละครทีวี ช่อง 5
ถ้าท่านผู้อ่านอายุประมาณ20 กว่าๆน่าจะเคยได้ดูผ่านๆตามาบ้างแล้ว
แต่ละอองคำรู้สึกประทับใจเรื่องนี้มาก
ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งกายในยุคนั้นของเจ้าชาวเหนือ.
..เพลงประกอบเรื่องราว ที่คุณจรัญ มโนเพชร ได้ขับร้องไว้.......
ไพเราะมากค่ะ...ยากที่จะลืมได้ลง...
ก่อนจะไปอ่านเรื่องราวของปอบเจ้านาง ละอองคำมีเกร็ดความรู้เรื่อง
การบูชาผีปู่ย่า (ปู่จาผีป้อหม่อนแม่หม่อน) มาฝากค่ะ จะได้เพิ่มอรรถรส
...


คนเหนือ มักจะเรียกตัวเองว่า คนเมือง งั้นละอองคำขอเรียกเผ่าพันธุ์ตัวเองว่าคนเมืองนะค่ะ

คนเมือง เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมจากดินแดนยูนนานทางตอนใต้ของจีน
โดยตรง ดังนั้นประเพณีบางอย่างที่ปรากฏจึงละม้าย คล้ายกับประเพณี
ของชนชาวจีน เช่นการใหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษของจีนในวันปีใหม่
หรือที่เรารู้จักกันดีคือ ตรุษจีน
คนเมืองเชื่อว่าในแต่ละสกุลจะมีผีปู่ย่าคุ้มลูกคุ้มหลานอยู่
โดยผู้ที่จะไหว้สาผีปู่ย่า หรือคนยกขัน นั้นจะต้องเป็นลูกสาวคนโตของ
ตระกูล โดยจะสืบทอดขันดอกกันรุ่นต่อรุ่น
แต่หากลูกสาวคนโตไปไหว้สาผีอื่น หรือพูดง่ายๆ ก็คือไปเป็นม้าทรง
ของผีอื่น............ผีปู่ย่าจะไม่รับให้ยกขัน ดังนั้นต้องเป็นลูกสาวคนรอง
ทำหน้าที่ต่อไป
หากผีปู่ย่าแรง คนยกขันอาจได้เป็นถึงขั้น ม้าทรงผีปู่ย่า
..

ในรูปคือหอผีปู่ย่า ที่จะมีในบ้านของคนยกขัน (ผู้สืบทอด)
หากตระกูลใหญ่เกินไป จะมีการแบ่งผีปู่ย่าเพื่อไปไหว้สาสืบไป
ในบางตระกูล ผีปู่ย่าอาจจะเป็นผีกะ (ผีปอบ) แต่จริงๆแล้ว
ผีกะถือว่ามีอาคมสูงกว่าผีปอบ ยิ่งถ้าเป็นผีกะยักษ์ยิ่งแล้ว
หากตระกูลใดมีผีปู่ย่าเป็นผีกะ ผู้สืบทอดเท่านั้นจะล่วงรู้ เก็บเป็นความลับ
และต้องไหว้สาบูชาด้วยไข่ดิบ หรือเลือด ทุกวัน มิให้หิวโหย
เพราะหากผีปู่ย่าหิวโหย ก็จะไปสิงสู่กินตับไตชาวบ้าน และแจกจ่ายชื่อ
ลูกหลานให้ได้รับความอับอาย
หรือหากผู้สืบทอดโกรธ เกลียดใครมากๆ ผีกะก็จะไปสิงสู่คนๆนั้น
แต่หากเลี้ยงดี ผีกะจะให้คุณ ข้าวในนาจะงอกงามไม่มีแมลงรบกวน
น้ำท่าจะสะอาด บ้านเรือนจะร่มเย็น นับว่าเป็นผลตอบแทนที่คุ้ม
ในแต่ละปีจะมีการไหว้ผีปู่ย่าหนึ่งครั้ง อารมณ์เดียวกันกับตรุษจีน
โดยจะเป็นเดือนไหนนั้น ก็แล้วแต่ว่าผีจะลงมาเดือนไหน
อย่างผีปู่ย่าของละอองคำนั้นจะเลี้ยงกันเดือนสี่ (มกราคม) กินไก่
ก็ต้องมีการเชือดไก่บูชาผี (แต่ผีปู่ย่าข้าเจ้าไม่ได้เป็นผีกะนะ)
ต่อไปจะเป็นเนื้อเรื่องของภาพยนต์ไทย ในอดีต เรื่อง "เจ้านาง" ค่ะ