เข้าระบบอัตโนมัติ

รับตอบปัญหากฏหมายจากชาวยุทธิ์ครับ


กระบี่เก้าเดียวดาย
#81   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 03-04-2010 - 21:42:30 ]

.....

ดันให้โผล่



กระบี่เก้าเดียวดาย
#82   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 03-04-2010 - 21:43:50 ]

ตอบท่านมังกรหลับ
ผมถามเอามันส์เท่านั้นล่ะครับ ... จริงๆ ผมถนัดกฎหมายธุรกิจมากกว่ากฎหมายมหาชนนะขอรับ ... ดังนั้นที่บอกว่า ไม่ตั้งใจเรียน ก็คงจะไม่จริง


ตอบท่านประจิมฯ
เหตุการณ์ของเอี้ยก้วยชัดเจน ว่ามีเจตนาฆ่าครับ แต่ไม่ได้บรรลุผลไปตลอดรอดฝั่ง ถ้าในข้อเท็จจริงรู้ถึงขั้นในจิตใจแบบนี้ ถือว่า เราสามารถระบุเจตนาในจิตใจได้ และต้องเป็น "การพยายาม" แล้วล่ะครับ แม้ว่าในความเป็นจริงเราจะต้องพิสูจน์การกระทำเพื่อมองหาเจตนาก็ตาม ที่เป็นแบบนี้ เพราะเราไม่สามารถที่จะวัดเจตนาของฝ่ายผู้ต้องหา/จำเลยได้เลย (มันอยู่ในจิตใจ) กฎหมายจึงต้องเขียนไว้แบบนี้ อันนี้คือเจตนารมย์ของกฎหมายนั่นเองครับผม



กระบี่เก้าเดียวดาย
#83   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 03-04-2010 - 22:22:56 ]

ตอบท่านมังกรหลับในเรื่องที่ถาม

ที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะระบบกฎหมายของประเทศเรามันหลวมครับ ไม่ใช่กฎหมาย(ในเชิงสารบัญญัติ)ไม่มีที่ใดดี มันก็มีดีบ้าง ผิดพลาดตามกาลเวลาบ้าง ผิดพลาดเพราะการบัญญัติบ้าง ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่กล่าวมา จึงเป็นเรื่องในทางปฎิบัติเสียส่วนใหญ่ ในเชิงวิชาการกฎหมายของเราก็จัดว่าดีอยู่ในระดับหนึ่ง (แม้มันจะมั่วๆ ก็ตาม ส่วนมันจะมั่วเพราะอะไร ผมก็ขี้เกียจอธิบาย ฮาฮา)

ลองคิดดูสิครับ ว่าคดีที่ได้รับการไขอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่เป็นเพราะอะไร? อันนี้ผมบอกให้ก็ได้ว่า ส่วนใหญ่เพราะแรงกระตุ้นของสังคมทั้งนั้น คดีนี้ดังอย่างนั้น อย่างนี้ พอคดีมันดังเจ้าหน้าที่ก็ต้องรีบทำ เพราะถูกผู้บังคับบัญชากำชับมาอีกที จนมันติดเป็นนิสัย คดีเล็กคดีน้อย พี่แกเลยปล่อยลอยแพหมด กว่าจะหาตัวคนผิดมาได้ สู้ไปสืบเองเสียยังดีกว่าด้วยซ้ำไป

มันก็มีบ้าง บางที่ที่ใส่ใจทุกเรื่องที่เข้าตัวเองมา นั่นก็ถือเป็นสิ่งดีสำหรับประชาชน แต่พอเป็นแบบนี้ เจ้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (เปิดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตาม) ก็แน่นอนว่างานยุ่งทั้งวันแน่ๆ แล้วคดีอีกหลายคดีก็กลายเป็นช้าลง ช้าลง กว่าจะส่งผ่านมาถึงอัยการกองเป็นกระตักๆ แทบจะเป็นเข่งด้วยซ้ำไป ... สรุปทั้งหมดที่พูดมา ผมอยากจะบอกว่า การจัดการระบบของเรายังไม่ได้มาตรฐานนั่นเองครับ



ประจิมคลุ้มคลั่ง
#84   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 04-04-2010 - 18:58:06 ]

ตอบเก้ากระบี่เดียวดาย คห.62

ประมวลไม่มีนะครับ แต่คิดว่าไม่สามารถหักลดหย่อนได้ เพราะนาย ก.ไม่มีหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี
ส่วนเสียภาษีนี่ร้อยละ 3 หรือเปล่าไม่แน่ใจเนื่องจากไม่มีประมวลเลยไม่รู้จะดูจากไหน กลัวตอบผิดเหมือนกัน แต่โอเค ผมว่าจะซื้อมาอยู่นะ แล้วจะมาเพิ่มเติมให้

คห.71 ตามหลักกฏหมายหมายล้มละลาย ธนาคารสามารถฟ้องนายสิทธิชัยได้ เพราะตามกฏหมายกำหนดการฟ้องล้มละลายได้ 1000,000 บาท สามารถฟ้องได้แล้ว
หลักการล้มละลาย
1.ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
2.ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้




ประจิมคลุ้มคลั่ง
#85   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 04-04-2010 - 18:58:49 ]

ตอบ กระบี่เก้าเดียวดาย

เราไม่สามารถระบุเจตนาในจิตใจของคนได้หรอกครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่วัดกันไม่ได้ นอกจากแสดงออกมาเป็นการกระทำ ผมพูดถูกไหม หรือจะบอกว่าแค่คิดไม่ดีกับคนอื่นก็ผิดกฏหมายแล้ว เอาอะไรมาวัดครับ ถ้างั้นคนทั้งโลกคงผิดกฏหมายทั้งหมดแล้วเพราะคนทั้งโลกก็ต้องมีบ้างที่คิดไม่ดีต่อคนอื่นเป็นบางครั้งบางคราว แต่การแสดงออกมาเป็นการกระทำตะหากที่ผิด เพราะมันโจ่งแจ้งอยู่แล้วว่าผิดเห็นๆ สามารถวัดได้ด้วยตา ซึ่งในกรณีของเอี้ยก้วยเองก็เช่นเดียวกัน

ถ้าเอี้ยก้วยคิดฆ่าก๊วยเจ๋งอยู่ในใจ แต่ยังไม่ลงมือกระทำถือว่าเอี้ยก้วยยังไม่ผิดกฏหมาย แต่ผิดในด้านคุณธรรมจริยธรรม(เรื่องภายในจิตใจ)

แต่ถ้าเอี้ยก้วยลงมือกระทำเมื่อไรไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม อันนี้ถือว่าผิดต่ามกฏหมายแล้ว

ผมถึงบอกไงว่าแค่คิดหน่ะไม่ผิดหรอก เพราะความคิดคนอาจจะกลับตัวกลับใจเมื่อไรก็ได้ตามความเป็นจริงซึ่งกรณีแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้หมด



ประจิมคลุ้มคลั่ง
#86   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 04-04-2010 - 19:08:31 ]

ตอบน้องมังกรหลับ

กฏหมายไม่ได้มีบัญญัติให้ชาวต่างชาติเป็นชั้นที่สูงกว่าหรอกครับ
แต่พี่คิดว่ามันมาจากปัจจัยหลายๆอย่าง คือ คนไทยฆ่ากันเอง เนี่ยมันเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะเหตุ หึง หวง จี้ ปล้น แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติมันจะเป็นจุดสนใจกว่าเดิมมากกว่า กระบวนการศาลระหว่างประเทศเรากับประเทศเขาก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นเหตุให้ถูกเพ่งเล็งอยู่เสมอ ศาลจึงต้องรีบดำเนินการ อย่างที่กระบี่บอกว่าบางทีขึ้นอยู่กับความกระตือรือล้นและแรงกระตุ้นสังคมด้วย จริงๆเรื่องแบบนี้มันซับซ้อน มันขึ้นอยู่กับศาล พี่ไม่ค่อยรู้อะไรมากเพราะเรื่องแบบนี้บางทีก็เป็นเรื่องของการรักษาหน้าหรือโชว์พาวพวกนี้มีส่วนหมด



กระบี่เก้าเดียวดาย
#87   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 05-04-2010 - 09:20:05 ]

.... โผล่มาสิ



กระบี่เก้าเดียวดาย
#88   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 05-04-2010 - 10:36:13 ]

ท่านประจิมฯ



ตอบ คห. 82

1. ภาษี ถ้าคำนวนเสร็จ ผมจะรอแล้วกัน ... ส่วนประมวลฯ เปิดในเว็บของกรมสรรพากรก็ได้ และอัตราภาษีก้าวหน้า (ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2553 ใช้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความประมวลกฎหมายรัษฎากร ฉบับที่ 470/2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้(ที่หักค่าลดหย่อนแล้ว) 150,000 บาทแรก) คือ

ส่วนที่เกิน 0 - 1.5 แสนบาท ยกเว้น
ส่วนที่เกิน 1.5 แสน - 5 แสนบาท อัตราภาษีร้อยละ 10
ส่วนที่เกิน 5 แสน - 1 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 20
ส่วนที่เกิน 1 ล้าน - 4 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 30
ส่วนที่เกิน 4 ล้านขึ้นไป อัตราภาษีร้อยละ 37

การหักค่าใช้จ่าย ในกรณีนี้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต้องหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 (40%) แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนการลดหย่อน เป็นการลดหย่อนตามกฎหมาย ซึ่งมีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ก็ให้ไปดูในประมวลฯ เอาเอง

ดังนั้น ที่ผมถาม มีในข้อสอบแน่นอนไม่ต้องห่วง

2. พ.ร.บ. ล้มละลาย ม.7 ประกอบ ม.9 ประกอบ ม.10 ตอบให้ครบประเด็นด้วยนะครับ ถ้าผมเป็นอาจารย์เนติฯ ผมให้ตก ถ้าตอบมาแค่นี้

ทั้งสองข้อที่ถามไป เป็นเรื่องง่ายๆ เพราะภาษี และล้มละลายแยกขากันในเนติฯ ดังนั้นคุณต้องตอบให้ครบ และสองข้อของกฎหมายนี้ มีอย่างน้อย 1 ข้อ ในทุกๆ ปี แม้ว่าในทุกๆ ปี คดีจริงจะเป็นคดีฟื้นฟูกิจการ (ในส่วนของข้อสอบล้มละลาย) ก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นข้อสอบเนติฯ ครั้งปัจจุบันก็ยังออกล้มละลายเหมือนเดิม ส่วนในข้อภาษีอากร เป็นการดูการคำนวนของคุณ ว่าคุณคำนวนได้หรือเปล่า?

ดังนั้น ผมไม่ได้ถามเล่นๆ เอามันส์แน่ๆ



ตอบ คห.83

จากคำพูดของท่าน "เราไม่สามารถระบุเจตนาในจิตใจของคนได้หรอกครับ" แสดงว่าเขาใจเหมือนกันนี่ครับ ... แล้วถ้าเราสามารถระบุข้อความในจิตใจได้ล่ะ นั่นล่ะครับ เจตนารมย์ของกฎหมาย ที่คุณเทียบ มันไม่ใช่คนจริงๆ แต่เป็นตัวละครในนิยาย อย่าลืมไปเสียก่อน ดังนั้นข้อความของท่านเอง ก็กำลังขัดแย้งกันเองอยู่ ในลักษณะแบบนี้ ทางตรรกะเรียกว่า fallacy หรือ ตรรกะผิดพลาด ผิดพลาดอย่างไร ... ผิดพลาดที่เอี้ยก้วยไม่ใช่ "คน" จริงๆ แต่เป็น "ตัวละคร" ในเรื่อง

ขั้นตอนของการประกอบอาชญากรรมประกอบด้วย

คิด > วางแผน > ตระเตรียมการ > ลงมือกระทำ > ความผิดสำเร็จ

ในขั้น "วางแผน" กับ "ตระเตรียมการ" เราไม่สามารถรับรู้ถึงความคิดที่จะกระทำความผิดนั้นๆ เลย (ของคนจริงๆ) แต่ในขณะที่ตัวละครที่มีชื่อว่า "เอี้ยก้วย" เราทราบถึงสภาพจิตใจได้เป็นอย่างดี และมีการวางแผนว่าจะทำอะไรบ้าง พร้อมทั้งตระเตรียมการเรียบร้อย แต่มาเปลี่ยนใจทีหลัง แบบนี้เรียกว่า "แต่กระทำไปไม่ตลอด"

ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 "ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด .... (บลาๆ)" ตรงนี้ต้องตีความให้แตก ซึ่งส่วนนี้ หมายถึง การกระทำที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรมตั้งแต่เริ่มขั้นตอนมา เราจะตัดเอาคำว่า "ความคิด" ออกไปก่อน เช่น เราคิดว่า เราได้ฆ่า นาย A ในความคิด แบบนี้ไม่ใช่การกระทำความผิด (แบบเดียวกับที่ท่านว่า) เพราะยังไม่มีการลงมือกระทำตามขั้นตอน (ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ วางแผน และตระเตรียมการ) แต่ถ้าหากมีการวางแผน และตระเตรียมการไว้ด้วย ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการกระทำอาชญากรรมนั่นเอง

ทางอาญา ส่วนใหญ่ไม่มีการคาดโทษไปจนถึงการวางแผน และตระเตรียมการมากนัก (โดยเฉพาะความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่เรากำลังถกกันอยู่) แต่ก็มีบ้าง เช่น ความผิดฐานกบฎ, ความผิดฐานปลงพระชนม์ เป็นต้น ความผิดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนน้อยของประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น ที่กล่าวถึงการระวางโทษเอากับกระบวนการ "วางแผน" และ "ตระเตรียมการ" ซึ่งไม่ทราบจิตใจเลย แค่วางแผน กับตระเตรียมการเท่านั้น ก็ถูกคาดโทษไว้แล้วเรียบร้อย

นั่นแสดงว่า กฎหมายต้องการเอาผิดตั้งแต่เริ่มกระบวนการอยู่แต่แรกแล้วครับ ไม่ใช่ว่า "ให้เอาผิดเฉพาะการลงมือกระทำผิดเท่านั้น" แต่เพื่อให้ยืนยันว่า เป็นการวางแผน+ตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดนั้นๆ จริง รวมถึงยืนยันเจตนาให้ชัดแจ้งต่างหากถึงจะลงโทษได้ จึงต้องมีการพิสูจน์ในชั้นศาล

เห็นเจตนารมย์ของกฎหมายหรือยัง? ครับ

ส่วนในกรณีของเอี้ยก้วย จริงๆ ผมก็สามารถจะหักล้างได้ตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ เพราะเอี้ยก้วย ทำไปแล้วครับ ไม่ใช่ยังไม่ได้ทำ กล่าวคือ เอี้ยก้วยลงมือวางแผน (ลวง) + ตระเตรียมการ (ลวง) เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้วโดยการร่วมมือกับคณะของมองโกล และแน่นอนมันมีการกระทำไปแล้ว กระทำยังไง? คือ ตั้งแต่ลวงก๊วยเจ๋งไปฆ่า (อย่าลืมว่า เอี้ยก้วยลวงก๊วยเจ๋งไปแล้วด้วย แม้จะฆ่าไม่สำเร็จก็ตาม) ตรงนี้คือ "เรื่องของตัวการ" อันต้องรับผิดในการกระทำผิดนั้นร่วมกัน แต่เอี้ยก้วยมาเปลี่ยนใจเอาในตอนหลัง

ปล1. จริงๆ ผมแค่ยกเรื่อง "ภายในจิตใจ" เข้ามาถกแก้ง่วงผมเท่านั้นแลฯ

ปล2. ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาถก ไม่ได้ถก นิติปรัชญา มาเป็นปีแล้ว

ปล3. ผมเดาไว้เลยว่า ท่านกำลังเรียนอยู่ชั้นปี 2 หรือ 3 นี่ล่ะ ใช่ไหมครับ ถ้าเป็นกรณีนี้ อย่าเพิ่งซื้อประมวลกฎหมายรัษฎากรมาเป็นอันขาด เพราะถ้าท่านรีบซื้อ แน่นอนว่า ในปีหน้า อาจจะมีการเปลี่ยนกฎหมายอีกก็ได้ กฎหมายภาษีอากรค่อนข้างเป็นกฎหมายที่เร็วมากในการปรับเปลี่ยน อย่ารีบซื้อครับ

ถ้ารีบซื้อมา อาจจะเจอประสบการณ์แบบผมก็ได้ เพราะผมเคยใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับเก่า ฉบับใหม่ของปี พ.ศ. 2551 ถ้าผมจำไม่ผิดพลาดนะครับ จากนั้นเป็นยังไงไม่ต้องบอกนะครับ วิชาดังกล่าว F กระจายเลยครับผม เซ็งมากๆ



อั้งชิกง
#89   อั้งชิกง    [ 05-04-2010 - 11:40:47 ]




กระบี่เก้าเดียวดาย
#90   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 05-04-2010 - 11:43:32 ]

....



บุปผาพิรุณโปรยปราย
#91   บุปผาพิรุณโปรยปราย    [ 06-04-2010 - 14:48:13 ]

ขออนุญาติถามเพือความรู้บ้างนะค๊ะ

ถ้าหากดิฉันกับเพื่อนๆราว7-8คน เจอผู้ชายหล่อๆคนหนึ่ง แล้วพวกเราล่อลวงเขาด้วยการหลอกให้ไปดื่มน้ำอัดลมใส่ยาสลบได้สำเร็จ จากนั้นลักพาตัวเขาไปกระทำชำเลาที่บ้านของเพื่อนคนหนึ่ง(ไม่ใช่บ้านของดิฉัน) ต่อมาพวกเราไม่รู้จะจัดการอย่างไรเพราะกลัวเขาจะไปแจ้งตำรวจเมื่อปล่อยตัวไปแล้ว ดิฉันกับเพื่อนๆจึงตัดสินใจจัดการฆ่าหั่นศพ แล้วส่งศพไปให้พ่อครัวภัตตาคารแห่งหนึ่ง พ่อครัวก็นำศพผู้ชายดังกล่าวไปทำสเต๊กแจกจ่ายลูกค้าVIP โดยที่ลูกค้าส่วนหนึ่งก็รู้เห็นเป็นใจรู้ว่านั่นเป็นศพ ส่วนลูกค้าอีกส่วนหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นชิ้นส่วนศพแต่ก็สั่งมากินเพราะในเมนูเขียนไว้ว่า "สเต๊กเนื้อละมั่ง"

อยากทราบว่า แต่ละคนจะโดนอาญาอย่างไรกันบ้างค๊ะ



บุปผาพิรุณโปรยปราย
#92   บุปผาพิรุณโปรยปราย    [ 06-04-2010 - 14:51:41 ]

ปล.แจกจ่ายตามความหมายของดิฉันก็คือ จำหน่าย ค่ะ



เด็กหญิงไร้นาม
#93   เด็กหญิงไร้นาม    [ 06-04-2010 - 15:50:20 ]

1 ทำไมตำรวจฆ่าคนร้าย ไม่ติดคุก ค่ะ

2. ประชาชนเห็นรถชนกันบาจเจ๊บ แต่ไม่ช่วย มีความผิดไหมค่ะ

3. ขับรถชนสุนัขชาวบ้าน มีความผิดหรือไม่ค่ะ


ขอบคุณค่ะ



กระบี่เก้าเดียวดาย
#94   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 06-04-2010 - 20:36:25 ]

ตอบ ท่านบุปผาฯ

1. ถ้าหากข้อเท็จจริงเป็น ชายอายุ 18 ปี ขึ้นไป นับเรียงกระทง เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ อันได้แก่ กักขังหน่วงเหนี่ยว, ข่มขืนกระทำชำเรา, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาปกปิดความผิดอื่น ไม่ว่าจะเรียงกระทงหรือไม่ก็ตาม โทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต ถ้าศาลเมตตาหน่อยก็จำคุกตลอดชีวิต

แต่ในกรณีนี้ เห็นว่า ถ้าผู้น้อยเป็นศาล จะลงโทษประหารชีวิตมากกว่าครับ (และคิดว่า ถ้าใครก็ตาม เป็นศาล ก็คงต้องลงโทษประหารอยู่ดี เหอๆ)

2. ถ้าพ่อครัวรู้อยู่แล้วว่า เป็นเนื้อมนุษย์ และได้มีเจตนาก่อให้เกิดการกระทำผิด ก็ถือว่าเป็น "ผู้ใช้" ต้องรับโทษเหมือนตัวการ แต่ถ้าไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนให้เกิดการฆ่า และหากไม่ได้เป็นแบบที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็มีความผิดฐานทำลายศพอยู่ดี ครับ (เนื่องจาก พ่อครัวรู้อยู่แล้วครับ ว่าเป็นศพ จากข้อเท็จจริงที่ท่านให้มา ถูกต้องไหมครับ ?)

3. ลูกค้าที่รู้เห็นเป็นใจว่าเป็นศพ และช่วยพ่อครัวทำลายเหตุแห่งการตาย ถือเป็น "ตัวการร่วม" ต้องรับผิดในความผิดฐานทำลายศพ ส่วนลูกค้าที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ก็ไม่มีความผิด แต่อาจจะอาเจียนเมื่อรู้ข่าวครับ





กระบี่เก้าเดียวดาย
#95   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 06-04-2010 - 20:45:34 ]

ตอบท่านเด็กหญิงไร้นาม

1. วิสามัญฆาตกรรม อ่านใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เรื่อง การจับ ขัง จำคุก ลักษณะ 5 หมวด 1

ถามแบบเหวี่ยงแหแบบนี้ ยาวครับ มันโยงหลายเรื่อง ผมขี้เกียจ บอกตามตรง !?

2. เชื่อไหมว่า "มี" .... !?

3. ทำให้เสียทรัพย์ ..... ตอนนี้ "มี" หรือยัง เอ่ย?



ประจิมคลุ้มคลั่ง
#96   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 07-04-2010 - 01:59:40 ]

ตอบกระบี่เก้าเดียวดาย

ในความเห็น 86

จริงๆเรื่องนี้เองไม่ได้เปิดประมวลเลย แต่รู้อยู่ว่าภาษีมีสูตรคำนวณอยู่ ส่วนล้มละลายนั้นขอโทษที่ตอบไม่ละเอียดซึ่งก็ไม่มีประมวลเช่นเดียวกัน แต่รู้หลักๆและคร่าวๆ อีกอย่างผมตอบให้ท่านฟังไม่ได้ไปตอบในเนติบัณฑิต ที่จริงท่านก็รู้อยู่แล้ว จะมาถามผมทำไม ผมเองไม่ได้เก่งทุกวิชากฏหมายแต่ผมจะพยายามเปิดประมวลแพ่งและพาณิชย์เท่าที่มีเพื่อที่มาตอบทุกคนในบอร์ด เพราะผมถือว่าเมื่อผมตั้งกระทู้นี้มา ฉนั้นผมเป็นเจ้าของกระทู้ ผมเองก็ต้องรับผิดชอบและทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เข้าใจนะครับ
ขอบคุณมากที่แนะนำเกี่ยวกับภาษีอากร

ส่วนกรณีเอี้ยก้วย อันนี้ผมไม่ได้คิดไปถึงเนื้อเรื่องในนวนิยายแบบท่าน แต่ผมคิดถึงหลักความเป็นจริง ซึ่งถ้าเทียบตามนวนิยายเอี้ยก้วยผมรู้อยู่แล้วว่าอย่างไงก็ผิด ถ้ามีเวลาจะมาถกด้วยนะครับ



ประจิมคลุ้มคลั่ง
#97   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 07-04-2010 - 02:06:53 ]

ตอบ บุปผาพิรุณโปรยปราย

มาตรา 276 วรรคหนึ่งและวรรคสาม "ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น (ผู้อื่นคือทั้งชายและหญิงรวมถึงเด็กชายเด็กหญิงด้วย) โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท)
วรรคสาม"ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำ โดยมี หรือ ใช้อาวุธปืน หรือ วัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง หรือ กระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิต"


ลักพาตัวผู้ชายไปกระทำชำเราหรือพูดง่ายๆว่าโทรมอันนี้ผิดครับ ตามมาตรา 276 ด้านบน

มาตรา 199 บัญญัติว่า “ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
มาตรา 84 ผู้ใด ก่อให้ ผู้อื่น กระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการ ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือ ยุยงส่งเสริม หรือ ด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็น ผู้ใช้ให้กระทำความผิด
วรรคสอง ถ้า ผู้ถูกใช้ ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ ต้องรับโทษ เสมือนเป็นตัวการ ถ้า ความผิด มิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ผู้ถูกใช้ ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือ เหตุอื่นใด ผู้ใช้ ต้องระวางโทษ เพียงหนึ่งในสาม ของโทษที่กำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น


จากนั้นเมื่อท่านตัดสินใจใช้ให้ภัตตาคารนำไปทำอาหารโดยภัตตาคารก็ตอบรับจะผิดฐานเป็นผู้ใช้ซึ่งรับโทษเสมือนตัวการอีกกระทง ตามมาตรา 84

มาตรา 83 ในกรณี ความผิดใด เกิดขึ้นโดย การกระทำของบุคคล ตั้งแต่ สองคน ขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิด ด้วยกันนั้น เป็นตัวการ ต้องระวางโทษ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น

ส่วนพ่อครัวและลูกค้าที่รู้เห็นด้วย จะผิดมาตรา 83และอาจจะ199ด้วย เพราะร่วมกันกระทำความผิดโดยการทำลายศพและลูกค้าเจตนากิน(โหดดีแท้ )โดยรู้เห็นเป็นใจกระทำโดย2คนขึ้นไปถือเป็นตัวการร่วม ส่วนคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ซวยไป ประมาณนี้ครับ

สรุป ท่านผิดฐานรุมโทรมผู้อื่นตามมาตรา 276 และ ผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตามมาตรา 84 อีกกระทง
เจ้าของภัตตาคารอาจะผิดฐานเคลื่อนย้ายศพ และมีส่วนทำลายตามมาตรา 199 และผิดฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 และลูกค้าที่รู้เห็นเป็นใจก็ผิดฐานตัวการร่วมเช่นเดียวกัน




ประจิมคลุ้มคลั่ง
#98   ประจิมคลุ้มคลั่ง    [ 07-04-2010 - 02:50:32 ]

ตอบ เด็กหญิงไร้นาม

1. ตำรวจวิสามัญไงครับ ไม่มีความผิด ทำตามหน้าที่เพื่อป้องกันตัว แล้วแต่กรณีนะ แต่อย่าคิดว่าตำรวจจะทำแบบนี้กับคนร้ายแล้วจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะครับ ตำรวจเองก็ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันต่อไป อยู่ในวิอาญา


2. ผิดครับ ตามมาตรา 374

มาตรา ๓๗๔ผู้ใด เห็นผู้อื่น ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่ง ตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตราย แก่ตนเอง หรือ ผู้อื่น แต่ไม่ช่วย ตามความจำเป็น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ



3 ขับรถชนหมาผิดไหม?

.ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 111"ห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ"

กฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 และวรรคท้าย
"กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์] และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่


ส่วนมากคนขับรถไม่ผิดครับถ้าขับอยู่บนถนนตามกฏหมาย แล้วชนหมาทำให้รถเป็นรอยบุบอันนี้หมาผิด แต่คนรับผิดชอบไม่ใช่หมา แต่เป็นเจ้าของหมาเพราะฉนั้นเรียกค่าเสียหายกับเจ้าของหมาได้ แต่ต้องพิจารณาดูอีกว่าเจ้าของหมาประมาทเลินเล่นเล่อปล่อยให้หมาออกมาหรือเปล่า ถ้าเป็นเพราะเจ้าของหมาประมาทก็เรียกได้เต็มที่
สรุป เจ้าของสุนัขจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามกฎหมายอาญามาตรา 358 ประกอมมาตรา 59 วรรค 4 และวรรคท้าย(ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) และปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 111 (ปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท)



กระบี่เก้าเดียวดาย
#99   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 07-04-2010 - 10:04:04 ]

.... ตอบท่านประจิมฯ

ที่ถามไป รู้อยู่แล้วถามทำไม?

- ไม่ใช่อะไรหรอกครับ แค่เทสระดับเท่านั้น ทุกมหาลัยหลักสูตรใกล้เคียงกัน บางเรื่องอาจจะไม่ได้เรียน แต่ส่วนมากเลย คือ ล้มละลาย กับ ภาษีอากรอยู่ช่วงหลังใกล้จบหลักสูตรทั้งนั้น จากลักษณะการตอบเลยทำให้ผมทราบว่า ท่านอยู่ในระดับชั้นปีไหน นั่นเองครับ ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากนักหรอก

ผมก็แค่อยากรู้เท่านั้นเอง ว่าต้องให้คำแนะนำแบบไหน? ในลักษณะนี้เห็นได้ชัดว่า ผมเป็นรุ่นพี่ในเชิงของนิติศาสตร์แน่นอน แต่จะแก่วัยวุฒิด้วยหรือเปล่า ผมไม่รู้ เพราะผมก็อายุ 24 ปีเข้าไปแล้ว ท่านอาจจะแก่กว่าผมก็อาจจะเป็นไปได้



กระบี่เก้าเดียวดาย
#100   กระบี่เก้าเดียวดาย    [ 07-04-2010 - 10:30:38 ]

ขอแนะนำในข้อ 3 ที่ตอบ คุณเด็กหญิงไร้นาม (ถือว่าเพิ่มเติมแล้วกันครับ)

- คำถามของเด็กหญิงไร้นามรายละเอียดของข้อเท็จจริงน้อยไปครับ จริงๆ ไม่จำเป็นต้องโยงกฎหมายจราจรมาด้วยซ้ำ เพราะบทกฎหมายนี้ไม่มีความจำเป็นกับเรื่องมากนัก

ยังไง?

เริ่มจากมาตรา 59 เพื่ออธิบายการประมาทนั้น พร้อมกับโยงอีกเรื่อง คือ "ทรัพย์" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็พอแล้ว (มาตรา 138+138)

และในการพิจารณา (อันนี้ คือ การพิจารณาจริงในชั้นศาล) เริ่มจาก "รถ" ก่อนเพื่อนเลย เน้นที่การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นหลัก เป็นหลักการค้นหาการประมาทตามระบบกฎหมายอังกฤษ ซึ่งไทยรับเอามา หากหยุดนิ่งจะไม่มีความประมาทเลย ส่วนถ้ามีการเคลื่อนที่จะต้องมีความประมาทรวมอยู่ด้วย

ในกรณีของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงตามหลักกฎหมายโบราณ ถือเป็นเพียง "ทรัพย์สิน" เท่านั้น (จนถึงปัจจุบันก็เป็นแบบเดียวกัน) และเราเรียกว่าเป็น "สังหาริมทรัพย์" (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้) ดังนั้นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเพิ่มอีกว่า เจ้าของทรัพย์ปล่อยปละสังหาริมทรีพย์ทรัพย์นั้นหรือไม่ ดูแลทรัพย์สินอย่างระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนหรือไม่

นี่จะเป็นการพิสูจน์ ในฝ่ายของเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า มีความประมาทหรือไม่? (ประเด็นของเรื่องประมาท) ซึ่งท่านก็อธิบายถูกแล้ว แต่มันยังไม่เคลียร์ในเรื่องที่ว่า สัตว์เลี้ยงมีนิติสัมพันธ์ใดกับเจ้าของกันแน่?

จากนั้นก็วกกลับมาเรื่องจะใช้บทกฎหมายใดลงโทษ
ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับกฎหมายจราจร
ทำไมถึงไม่จำเป็น อยู่ข้างล่างครับ

สรุป คือ ถ้าเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีในทางอาญา
ให้ใช้ข้อหาในประมวลกฎหมายอาญา ในเรื่อง "ประมาททำให้เสียทรัพย์"
(และด้วยความขี้เกียจของกระผม มักเขียนว่า "ทำให้เสียทรัพย์" อย่างเดียว)

ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็่ตาม แบบที่ผมตอบตอนต้นนั่นเอง
และเพราะอะไรผมถึงตอบแบบนั้น ก็อยู่ที่ข้างล่างเช่นกันครับ



จริงๆ คำถามนี้ สามารถเล่นกฎหมายใดก็ได้ คือ

- กฎหมายแพ่ง ในเรื่อง "ละเมิด" (ป.พ.พ. ม. 420 ประกอบ ป.อ. ม. 59)
- หรือ กฎหมายอาญา ในเรื่อง "ประมาททำให้เสียทรัพย์" (ลืมเลขมาตรา 555)

และในการพิสูจน์นั้น หากเป็นกฎหมายแพ่ง ทั้งคู่ต้องอ้างพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายว่า "ไม่ได้มีความประมาท" เพราะวัตถุหนึ่ง (รถ) ได้มีการเคลื่อนที่ (คือ มีความประมาทร่วมอยู่) และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ (สุนัข) นั้นเจ้าของมีการดูแลด้วยความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนหรือไม่ เพียงใด จากนั้นก็จะมีการเฉลี่ยความประมาทกันเกิดขึ้น ... ส่วนในทางกฎหมายอาญานั้น โจทก์ ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์เพียงฝ่ายเดียว เพราะเป็นผู้กล่าวหาจำเลย ต้องพิสูจน์ความผิดของจำเลย และไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ก็ตาม ทั้ง "รถ" และ "สัตว์เลี้ยง" (สุนัข) ก็เป็นทรัพย์สินมีเจ้าของด้วยกันทั้งคู่ ไม่ว่าฝ่ายใดจะผิด ก็ต้องข้อหาประมาททำให้เสียทรัพย์อย่างเดียว ถูกต้องไหมครับ ??

ส่วนกฎหมายจราจรที่ยกมานั้น เป็นกฎหมายมหาชน รัฐคือผู้เสียหาย ไม่ใช่คู่กรณี ด้วยเหตุนี้จึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับคู่กรณี หากมีการส่งฟ้อง อัยการจะเป็นผู้ยื่นคำฟ้องต่อศาล และคู่กรณีอีกฝ่ายที่ยื่นฟ้องในข้อหาประมาททำให้เสียทรัพย์นั้น ก็จะรวมพิจารณากับข้อหาในกฎหมายจราจรเพื่อลงโทษคู่กรณีไม่ได้ ตามวิธีพิจารณาความอาญา ...

ด้วยเหตุนี้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องเสียค่าปรับแก่รัฐ (คือ โดนทั้งคู่นั่นล่ะ) และไม่สามารถเรียกร้องให้ใช้หนี้ละเมิด (ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ) หรือ ลงโทษคู่กรณี (ตามประมวลกฎหมายอาญา) ด้วยกฎหมายจราจรได้นั่นเองครับ

ดังนั้น ที่ผมบอกว่า มันไม่จำเป็นนั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ถามมักจะไม่ได้ถามเรื่องที่ว่าต้องเสียค่าปรับ แก่รัฐหรือไม่ และมักจะต้องการรู้มากกว่าว่าจะถูกลงโทษจากคู่กรณี (โดยรัฐเป็นผู้ลงโทษ) ยังไงเสียมากกว่า

สังเกตไหมล่ะครับ ว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนกันเนี่ย คู่กรณีจะต้องไปเสียค่าปรับที่โรงพักด้วยกันทั้งคู่ทำไม ? นั่นคือ เรื่องของกฎหมายจราจรนั่นเอง ส่วนคู่กรณีจะฟ้องร้องกันเอง หรือจะร้องทุกข์ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายอาญา เป็นอีกเรื่องแยกต่างหากจากกัน

ส่วนบทลงโทษในกฎหมายจราจรนี้ ก็ถือเป็นภาษีชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นภาษีที่เกิดจากการกระทำผิด และจำต้องชดใช้ให้แก่รัฐ ตามความหมายของภาษี ที่มีนิยามอย่างง่ายๆ (ส่วนนิยามแท้จริงนั้น ก็ยังหาข้อสรุปยากอยู่) ว่า ภาษี คือ ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่จากภาคเอกชนมาสู่ภาคมหาชน (รัฐ) ครับผม

วกกลับมาภาษีได้ไงเนี่ย



วิจารณ์ธงคำตอบ

1. ขาดเรื่องนิติสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของ

2. ข้อเท็จจริงน้อยเกินไปที่จะฟันธงว่า เจ้าของสุนัขเป็นฝ่ายผิด ครับ

3. ในทางกฎหมายอาญา ไม่มีการเรียกร้องให้ชดใช้หนี้ กฎหมายอาญาเป็นเรื่องของการลงโทษ คำว่า "อาญา" มาจากคำว่า "อาชญะ" ที่แปลว่า "การลงโทษ" ส่วนที่บอกว่า "เรียกร้องได้เต็มที่" จึงไม่ถูกต้องมากนัก เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายแพ่ง อย่าเอาปนกัน ...

ส่วนกฎหมายแพ่ง ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นเรื่องหนี้ และนิติกรรมสัญญา ซึ่งมีที่มาจากระบบกฎหมายของอังกฤษ (Common Law Family) และหนี้ละเมิดก็เป็นหนี้ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งสามารถนับดอกเบี้ยนับแต่เมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น

ดังนั้น จึงควรที่จะบอกถึงเรื่องของกฎหมายแพ่งฯ (ในเรื่องค่าเสียหาย) ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เข้าไปด้วย นั่นเองครับ การพิจารณา สามารถพิจารณาแยกสำนวน หรือยื่นฟ้องไปด้วยกับคดีอาญาก็ได้ เรียกว่า "การฟ้องแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา"

4. เพิ่มอีกมาตรา จริงๆ ผมก็รู้แล้วล่ะ ว่ามันต้องมีมาตรานี้แน่นอน แต่กว่าจะหาได้ ยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร เหอๆ

มาตรา 43 (4) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถโดยประมาท หรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน (และบวกกับบทลงโทษในการฝ่าฝืนด้วย ผมขี้เกียจโยงอ้ะ)

สังเกตุ คำว่า "หรือ" ในประโยค หมายถึง

4.1 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถโดยประมาท อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
4.2 หรือ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถโดยน่าหวาดเสียว (เหมือนข้างบน)

ซึ่งหมายความว่า ฝ่าย "รถ" เองก็ต้องเสียค่าปรับให้กับรัฐ ตามกฎหมายจราจรด้วยนั่นเอง ไม่ใช่พ้นจากความผิดนะครับ เพราะความประมาทเกิดขึ้นตั้งแต่รถเคลื่อนที่แล้ว กรณีนี้จึงเป็นกรณีใกล้เคียงกับรถชนกันเอง เพียงเปลี่ยนคู่กรณีจากรถ (ไม่ว่าชนิดใด) ด้วยกัน เป็น "สัตว์เลี้ยง" แทน ... ดังนั้น การจ่ายเงินให้แก่รัฐในกรณีนี้ จึงไม่ใช่การเสียค่าธรรมเนียมเพื่อดำเนินคดี แต่เป็นการเสียค่าปรับตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั่นเองครับ





ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube