เข้าระบบอัตโนมัติ

ประวัติท่านจางซานฟง ปรมาจารย์มวยไท่เก๊ก


  • 1
จอมยุทธ์แห่งรัก
#1   จอมยุทธ์แห่งรัก    [ 28-08-2009 - 08:43:36 ]

ไม่มีใครรู้ครับว่าประวัติที่แท้จริงของมวยไท่เก๊กเป็นอย่าง ไรกันแน่ แต่ส่วนมากแล้วจะอ้างว่านักพรตจางซานฟงหรือเตียซำฮง ที่เคยเห็นอยู่ในหนังเรื่องดาบมังกรหยก คนที่เป็นอาจารย์ปู่ของพระเอกจอมยุทธ์เตียบ่อกี้นั่นแหละ เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการบังเอิญเปิดหน้าต่างบ้านออกมาแล้วก็บังเอิญเห็น นกกระเรียนตีกันกับงูอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นนกดุเหว่าตีกับงู แต่เอาเป็นว่านกตีกะงูละ ท่านก็ให้ปลาบปลื้มปิติ ปิ๊งเป็นวิชามวยขึ้นมา จริงๆ แล้วมวยจีนหลายๆ แขนงก็มักจะอ้างว่าคิดขึ้นมาจากกระเรียนมั่ง งูมั่ง หรือไม่ก็ทั้งคู่นี่แหละ นัยว่าเป็นสัตว์ยอดฮิตสำหรับการคิดมวยจีนนอกจากนี้ก็มีที่คิดมาจากเสือ หมี ลิง ตั๊กแตน นกอินทรี ที่แปลกๆ เช่นหมา หรือเป็ดก็มี หรือที่ยิ่งใหญ่ๆ มากๆ อย่างมังกรก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกัน


ตำนานไม่ได้บอกว่ากระเรียนกับงูที่เป็นอาจารย์สอนมวยให้ท่าน จาง หรือผลการสู้กันใครเป็นฝ่ายชนะ หรือเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อ แต่คาดว่าคงไม่ได้โดนท่านจางจับย่างกินเป็นแน่ เพราะท่านเป็นนักพรตเต๋า ก็ถือศีลกินเจครับ




รูปที่ 1 ท่านจางซานฟง ทราบว่าท่านอายุยืนมาก รูปที่เห็นส่วนมากผมเผ้าหนวดเคราจะเป็นสีดำครับ แสดงว่าหนุ่มอยู่เสมอ



รูปที่ 2 รูปท่านจางซานฟงพิจารณานกกระเรียนกัดกับงูแล้วคิดออกมาเป็นมวยไท่เก๊กได้ จิตกรที่วาดรูปนี้ก็จินตนาการเอาว่ามันมาตีกันอยู่ในสวนบ้านท่าน



รูปที่ 3 นกกระเรียนตัวเป็นๆ หน้าตาอย่างนี้


ท่านนักพรตจางซานฟงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อจางจวินเป่า หรือเตียกุนป้อ เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่าเคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะ หนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม




รูป 4 รูปท่านตักม้อ หรือท่านโพธิธรรม ผู้คิดค้นมวยเส้าหลินขึ้นมาจนเป็นมวยประจำชาติจีน สังเกตุว่าหน้าท่านจะไม่ค่อยหมือนคนจีนเพราะท่านเป็นพระอินเดียเดินทางมาเผย แผ่ศาสนาพุทธในประเทศจีน จิตรกรที่วาดรูปท่านมักจะวาดให้ยืนอยู่บนปล้องอ้อ นัยว่าท่านเหยียบปล้องอ้อข้ามน้ำมา
บางตำนานก็ว่าท่านเคยสอบได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัย ฮ่องเต้ไท่จง แต่เบื่อราชการงานเมือง ก็เลยลาออกจากราชการ ชื่อฮ่องเต้ไท่จงนี่รู้สึกจะมีหลายพระองค์ครับอันนี้คือไท่จงของหยวน ก็เรียกว่าหยวนไท่จง คือฮ่องเต้ชื่อไท่จงนี้จะใช้กับฮ่องเต้ที่เป็นต้นราชวงศ์ ทีนี้ท่านจางลาออกแล้วก็เดินทางท่องเที่ยว เขาว่าท่านมีโอกาสได้ฝึกมวยเส้าหลินสำเร็จในช่วงที่เดินทางนี่เอง ซึ่งอันนี้โดยส่วนตัวผมว่าออกจะขัดแย้งอยู่บ้าง คือหากท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่เมื่อลาออกมาก็คงอายุไม่น้อยแล้ว ขณะที่มวยเส้าหลินนั้นจะต้องฝึกกันตั้งแต่อายุยังน้อย หากกลับกันคือท่านฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน แล้วไปรับราชการทีหลังยังจะน่าเชื่อกว่า

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่เอง เล่ากันว่าท่านมีโอกาสได้พบกับนักพรตหั่วหลงเจินเหริน หรือนักพรตมังกรไฟ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาอมตะของเซียนในลัทธิเต๋าให้กับท่าน อันวิชาอมตะนี้ก็มีปรากฏอยู่ในนิยายจีนอยู่เนืองๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของท่านหวงอี้ ยาวเฟื้อย อ่านสนุกมาก ด้วยความเป็นอัจฉริยะท่านก็ฝึกวิชาอมตะสำเร็จอีก ก็เลยมีอายุยืนยาว อยู่มาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1654) สำหรับคนไทยอ้างอิงกับนิยายดูจะง่ายกว่า ราชวงศ์หมิงหรือเหม็งนี่ก็คือพรรคเม้งก่าในดาบมังกรหยกของกิมย้งไงครับ ในนิยายหลังจากพรรคเม้งก่ารวมกำลังชาวฮั่นก่อการล้มล้างราชวงศ์หยวนซึ่งก็ คือชาวมองโกลได้สำเร็จก็ตั้งเป็นราชวงศ์เหม็งขึ้น โดยขุนศึกจูหยวนจางขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ ในนิยายเตียบ่อกี้ เป็นหัวหน้าพรรคเม้งก่าก็น่าจะได้เป็นฮ่องเต้ ท่านก็แต่งให้โดนจูหยวนจางหักหลังตอนจบไงครับ แต่ตอนหลังฉบับปรับปรุงใหม่ท่านกิมย้งคงไม่อยากให้ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงก ลายเป็นคนไม่ดี ก็เลยแก้บทให้เตียบ่อกี้ยกอำนาจให้กับจูหยวนจางเองโดยอ้างว่าปรมาจารย์สั่ง ไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมือง




รูปที่ 5 ฮ่องเต้ไทจูหรือจูหยวนจางครับ


นอกเรื่องไปไกล กลับมาที่ประวัติท่านจาง เขาว่าท่านก็กลัวจะถูกเรียกกลับไปรับราชการอีก ก็เลยทำตัวสติเฟื่องไปพักหนึ่ง จนคิดว่าปลอดภัยแน่แล้วก็ไปอาศัยอยู่บนเขาอู่ตังหรือบู๊ตึ๊ง ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 1407 ฮ่องเต้เฉิงจู่ ได้ส่งข้าราชการไปเยี่ยมท่านที่เขาอู่ตังแต่ไม่พบ ก็เลยถือโอกาสสร้างอารามใหญ่โตไว้บนเขาเอาไว้ให้ จนในปี ค.ศ. 1459 ฮ่องเต้อิงจงก็พระราชทานฉายาอมตะให้ จากนั้นชื่อของท่านก็ค่อยๆ จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ซึ่งถ้านับกันแล้วก็จะพบว่าท่านมีอายุเท่าที่รู้ๆ กันก็เกิน 200 ปี ระหว่างนั้นก็มีชื่อท่านปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะ จนนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นคนละจาง อยู่กันคนละสมัยแต่บังเอิญมีชื่อพ้องกัน ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน



รูปที 6 ฮ่องเต้เฉิงจู่ คนนี้ละครับที่สร้างอารามให้ท่านจางซานฟงบนเขาอู่ตัง



รูปที่ 7 ฮ่องเต้อิงจง ท่านบังเอิญพระราชทานฉายาให้กับท่านจางก็เลยมีชื่อติดอยู่ในทำเนียบผู้เกี่ยวข้องกับมวยไท่เก๊กไปกับเขาด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าท่านเป็นผู้คิดค้นมวยไท่เก๊กขึ้นมา บางตำราว่ามวยไท่เก๊กเกิดมาก่อนท่าน เพียงแต่บังเอิญว่าท่านจางเป็นผู้มีชื่อเสียงเอามากๆ แล้วท่านก็ดูเหมือนจะฝึกมวยไท่เก๊ก รวมทั้งสอนให้คนอื่นด้วย ก็เลยโมเมเอาว่ามวยนี้คิดขึ้นมาโดยท่านจางผู้ยิ่งใหญ่ดีกว่าที่จะให้เป็นมวย ที่คนไร้ชื่อเสียงเรียงนามบัญญัติขึ้นครับ เรื่องนี้ก็พอมีเค้าครับ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังยอมรับ และยกให้ท่านจางเป็นผู้รวบรวมมวยไท่เก๊กขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว เป็นปฐมปรมาจารย์มวยไท่เก๊กอยู่ดี เอาว่าใครฝึกมวยไท่เก๊กแล้วเวลาตั้งโต๊ะไหว้ปรมาจารย์ ก็ไหว้ท่านจางนั่นแหละครับ ไม่ผิดแน่


มีบันทึกว่าท่านจางซานฟงมีศิษย์อยู่ 7 คน ที่ปรากฏในนิยายด้วยนั่นแหละ ก็คือ ซ่งหย่วนเฉียว(ซ่งเอี๋ยงเกี๊ย), อวี๋เหลียนโจว (หยู่เหน่ยจิว), อวี๋ไต้เอี๋ยน(หยู่ไต่ง้ำ), จางสงซี (เตียส่งโคย) ,จางชุ่ยซัน(เตียชุ่ยซัว), อินลี่ถิง(ฮึงหลีเต๊ง), และมั่วกู่เซิง(หมกกกเซีย) ในภายหลังยังมีบันทึกของท่านซ่งหย่วนเฉียวเรื่องมวยไท่เก๊กตกทอดมาถึง ปัจจุบันในหมู่ลูกหลานตระกูลซ่ง

จริงๆ แล้วก่อนสมัยท่านจางก็มีอยู่หลายมวยที่มีหลักการคล้ายๆ หรือมีท่วงท่าที่เหมือนๆ กับมวยไท่เก๊ก หรือมีชื่อท่าซ้ำกันกับมวยไท่เก๊กที่รู้จักกันในปัจจุบันโดยเฉพาะมวยไท่เก๊ก ของตระกูลหยางซึ่งหลายๆ ท่านเชื่อกันว่าเป็นมวยไท่เก๊กชุดที่ถูกถ่ายทอดมาแต่เดิมจริงๆ และมีการดัดแปลงน้อย แต่เท่าที่รู้ก็มีแค่ความคล้ายคลึงเท่านั้นยังไม่อาจเรียกว่าเป็นมวยไท่เก๊ก ได้ ที่นับว่าใช่ก็ตั้งแต่สมัยท่านจางซานฟงมานี่เอง

มีบางท่านเชื่อกันว่า ที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กต่างๆ สายโน้นสายนี้ที่ฝึกๆ กันอยู่ หรือทะเลาะกันอยู่ว่าใครของแท้ไม่แท้นี่เป็นคนละมวยกับมวยไท่เก๊กดั้งเดิม ของท่านจาง ซึ่งมวยเดิมนั้นน่าจะสาบสูญไปแล้ว ที่มีอยู่ก็เพียงแต่อาศัยว่าท่านจางไม่ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อมวยไว้ก็เลยตั้ง ชื่อซ้ำกันขึ้นมา อาศัยความดังของท่านว่างั้นเถอะ แต่ความเชื่อนี้ก็ค่อนข้างจะไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้ฝึกเองก็อยากมีเครดิตว่าฝึกมวยเก่าของแท้ดั้งเดิม แต่อีกนัยหนึ่งก็คือว่าวิชาที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กนี้แม้มีหลายสาย หลายสำนัก ท่วงท่าก็ไม่ค่อยเหมือนกัน หรือบางทีใช้ชื่ออื่นไปแล้วด้วยซ้ำเช่นมวยยาว มวย 13 ท่า มวยสำลี ฯลฯ แต่ผู้คนก็ยังรู้อยู่ว่านี่แหละที่เรียกว่ามวยไท่เก๊ก เพราะไม่ว่าจะหน้าตาอย่างไร หรือใช้ชื่ออะไร แต่เคล็ดความนั้นยังเป็นอันเดียวกัน หลักวิชาเดียวกัน

ซึ่งหลักที่คลาสสิคที่สุดที่มักจะนำมาอ้างกันคือคัมภีร์ที่ เขียนขึ้นโดยท่านหวังจง หรือหวังจงเย่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิษย์ของท่านจางสงซี หนึ่งในเจ็ดศิษย์รักของท่านจางซานฟงนั่นเอง มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำว่า “ภายหลังยุคของซานฟงยังมีหวังจง”

ในปัจจุบันมวยมีมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงอยู่หลายตระกูล รวมทั้งที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกนับไม่ถ้วน ที่ค่อนข้างแพร่หลายหน่อยก็มีอยู่ห้าสำนัก คือสำนักตระกูลเฉิน (ตั๊ง) หยาง (เอี๊ย) อู๋ (โง้ว) อู่ (บู้) และซุน (ซึง) ซึ่งมวยทั้งห้าตระกูลนี้ก็มีสายสัมพันธ์กันค่อนข้างแน่นแฟ้น สืบสาวประวัติการเกี่ยวข้องดองกันออกมาได้ชัดเจน

คำภีร์อ้างอิงจาก http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=19885

ขอคำชี้แนะด้วย



  • 1
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube