เข้าระบบอัตโนมัติ

ใครอยากฝึกวิชา เชิญนำเคล็ดวิชาของผมไปลองฝึกได้นะครับ (แต่ไม่มีภาพประกอบนะครับ ไม่รู้เอาลงไงดี)


เด็กชายไร้นาม
#1   เด็กชายไร้นาม    [ 09-08-2009 - 18:51:39 ]

การฝึกฝนมวยไท่เก๊กก็เหมือนกับการฝึกฝนเรียนรู้วิชาต่างๆ คือจะต้องทำความรู้จักกับวิชานั้นๆ ก่อน
ดังนั้นการเรียนมวยไท่เก๊กจึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักกับเงื่อนไขและปัจจัยของมวยไท่เก๊กเสียก่อน
เป็นข้อคิดว่า ถ้าคนที่เรียนมวยไท่เก๊ก แต่ไม่รู้ว่ามวยไท่เก๊กมีเงื่อนไขอะไรบ้าง คนๆ นั้นจะฝึกให้ดีได้
อย่างไร

มวยไท่เก๊ก เป็นการรวบรวมเอาวิชาโบราณเก่าแก่คือ วิชาเต้าอิ่น (เป็นวิชาที่ฝึกการชักนำพลังชี่ให้แล่น
ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย) วิชาถูน่า (เป็นวิชาฝึกการหายใจ โดยมีหลักว่าหายใจเข้าเอาพลัง
บริสุทธิ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบตัวเราเข้าบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกาย แล้วหายใจออกคายเอาของเสียใน
ร่างกายทิ้งออกไป) ประกอบกับ วิชาอี้จิง (คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง) โดยนำเอาทฤษฎีของ อิน-หยาง
รวมกับหลักวิชาของจิงลั่ว (ว่าด้วยเส้นลมปราณในร่างกาย) ของทฤษฎีแพทย์จีน ทั้งหมดนี้เอามารวม
กับวิชาหมัดมวย ทำให้ผู้ฝึกฝนต้องฝึกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

กระบวนท่ามวยที่บัญญัติขึ้นก็มีความสอดคล้องกับหลักสรีระของมนุษย์ อีกทั้งยังสอดคล้องกับกฎ
เกณฑ์การดำเนินของธรรมชาติ หลักสำคัญของมวยไท่เก๊กอยู่ที่มีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน แกร่ง
และหยุ่น เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา และมีสปริง มวยไท่เก๊กมีคุณค่าทั้งทางด้าน
เป็นวิชาต่อสู้ป้องกันตัว สามารถบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อีกทั้งยังให้ความเพลิดเพลิน ซึ่ง
มวยไท่เก๊กยิ่งมายิ่งได้รบความนิยมชมชอบจากทั้งประชาชนชาวจีน และประชาชนในประเทศต่างๆ
ทั่วโลก มวยไท่เก๊กมีระบบการฝึกฝนมากมาย จึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะฝึกฝนให้ดีได้

อาศัยหลักการฝึกฝนมวยของเหล่าอาจารย์มวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียง สามารถประมวลการฝึกออกได้เป็น
"3 ฝีก และ 3 ไม่ฝึก" คือมี 3 ประการที่ต้องฝึก และ 3 ประการที่ต้องไม่ฝึก ดังนี้

1. ฝึกหลักเกณฑ์ไม่ฝึกพละกำลัง

หลักเกณฑ์ในที่นี้หมายถึง หลักเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์ของมวยไท่เก๊ก ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ดั้งเดิม หลักการฝึก
ของมวยไท่เก๊กเป็นหลักอันเที่ยงตรง เป็นหลักแห่งการเปลี่ยนแปลงของไท้จี๋ อิน-หยาง คือ เมื่อเข้าสู่
ภาวะของหยางที่สุด ก็จะเข้าสู่ภาวะของอิน และเมื่ออินเข้าสู่ภาวะที่สุด ก็จะเข้าสู่ภาวะของหยาง
มวยไท่เก๊กในความแข็งแกร่งแฝงความหยุ่น ในความหยุ่นแฝงความแกร่ง แกร่งและหยุ่นเกื้อหนุนกัน
และกัน เมื่อภาวะว่างสุดก็จะเข้าสู่ภาวะความเต็ม ภาวะความเต็มสุดก็จะเข้าสู่ภาวะความว่าง เป็นการ
เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างความว่างและความเต็ม (ซวีสือ) เมื่อสมาธิรวมตัวแล้ว จิตก็สามารถชักนำ
พลังให้เคลื่อนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เข้าถึงจุดของการฝึก จิตถึง พลังถึง (ถึงส่วนของร่างกาย
ที่จิตกำหนด) ท่าทางของร่างกายก็คล้อยตาม (ท่วงท่าถึง) ทำให้สามารถฝึกถึงขั้นในหนึ่งความเคลื่อน
ไหว จะเคลื่อนไหวทั้งร่างกาย ทั่วทั้งร่างกายสอดคล้องรับกัน ภายในและภายนอกผสานกัน (ภายใน
หมายถึงสติ จิต ชี่ และพลัง ส่วนภายนอกหมายถึงท่วงท่าและสภาวะทางร่างกาย) ในการฝึกพลังฝีมือ
ต้องเป็นไปอย่างธรรมชาติ ดำเนินตามกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่าใจเร็วด่วนได้ ต้องการความสำเร็จไวๆ

ส่วนการฝึกพละกำลังก็คือการฝึกความแข็งแแกร่งของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ซึ่งพละกำลังแบบนี้ เป็น
กำลังที่มีความกระด้าง เป็นแรงปะทะ ขาดความคล่องตัว ผู้ฝึกฝนมวยไท่เก๊กต้องไม่ฝึกพละกำลังแบบนี้

2. ฝึกต้นไม่ฝีกปลาย

"ต้น" ในที่นี้หมายถึงต้นกำเนิด (ของพลัง) แหล่งกำเนิด (ของพลัง) อันหมายถึงพลังของไต ที่เรียกว่า
"หยวนชี่" รวมการฝึกปรือของรากฐานอันเป็นส่วนล่างของร่างกาย ไตเป็นอวัยวะภายในที่เก็บพลัง
อิน-หยางดั้งเดิม ซึ่งเป็นรากฐานที่มาจากก่อนฟ้า หรือก่อนกำเนิด เป็นแหล่งกำเนิดพลังชี่ในร่างกาย
หากพลังของไตสมบูรณ์ เมื่อนั้นอู่จั้ง อันได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ม้าม และไตก็จะได้รับการบำรุง สามารถ
ทำงานได้ตามหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์ (ตามทฤษฎีแพทย์จีน อวัยวะภายในแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ อู่จั้ง ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ม้าม และไต ซึ่งเป็นอวัยวะภายในตัน อีกประเภทหนึ่งคือ ลิ่วฝู่ ซึ่งได้แก่
กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำดี และซานเจียว อันเป็นอวัยวะภายในกลวง
ซานเจียวไม่ใช่ตัวอวัยวะภายในโดยตรง โดยปกติจะหมายถึงช่องอก และช่องท้องทั้งหมด แบ่งออก
เป็นสามส่วนด้วยกัน) เมื่อพลังของชี่ เลือด สารจำเป็น (จิง) สมบูรณ์ กำลังย่อมถึงพร้อม ปฏิกริยาโต้
ตอบว่องไว และละเอียดอ่อน สรีระทำงานสัมพันธ์กันดี นี่เป็นแง่มุมของชี่ ส่วนในแง่มุมของฐานราก
เมื่อร่างกายสมบูรณ์สามารถผ่อนคลาย (ซง) ตามหลักพื้นฐานได้แล้ว ชี่ก็จะถูกเก็บกักไว้ที่ตันเถียนและ
จมลงสู่หย่งเฉวียน (จุดหย่งเฉวียนอยู่ที่ประมาณกลางฝ่าเท้า ซึ่งอยู่ในเส้นลมปราณของไต) ส่งผลให้
ร่างกายส่วนบนมีความว่องไว ร่างกายส่วนกลางมีความคล่องตัว ร่างกายส่วนล่างมีความมั่นคง หยั่ง
รากลงสู่พื้น

สิ่งที่ต้องไม่ฝึกในข้อนี้คือ ไม่ฝึก "ปลาย" คำว่าปลายในที่นี้หมายถึงการมุ่งฝึกพละกำลังในแต่ละส่วน
ของร่างกาย อันเป็นกำลังภายนอก ซึ่งมีความกระด้าง มวยไท่เก๊กเป็นมวยพลังภายใน ฝึกฝนให้ภายใน
และภายนอกผสมผสานกัน ใช้การฝึกฝนพัฒนาต้นกำเนิดเดิมเป็นหลัก

3. ฝึกร่างกายไม่ฝึกการใช้

ฝึกร่างกายหมายถึง การฝึกฝนพลังฝีมือให้ทั่วร่างมีกำลังภายใน ฝึกการใช้หมายถึง การฝึกฝนวิธี
การใช้แต่ละกระบวนท่า แต่ละท่วงท่านำเอามาใช้เพื่อการต่อสู้ป้องกันตัว ผู้ที่เริ่มเรียนมวยไท่เก๊ก
ใหม่ๆ มักจะอยากรู้อยากเห็นวิธีการใช้เพื่อการต่อสู้ของแต่ละกระบวนท่า ถ้าหากพยายามทำความ
เข้าใจกับหลักการใช้ต่างๆ แล้ว ย่อมไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของมวยไท่เก๊กได้ การฝึกมวยไท่เก๊ก
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกการรำมวยทั้งชุดให้ช่ำชอง การเคลื่อนไหวต้องแม่นยำถูกต้อง ต้องผ่าน
กระบวนการกำจัดความกระด้าง สร้างความอ่อนหยุ่น ให้ร่างกายทำงานเคลื่อนไหวสอดคล้อง
รับกัน ภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน พลังภายในสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เหล่านี้เป็นพลังฝีมือที่ต้องฝึก
ให้มีขึ้นกับตนเอง จุดสำคัญของมวยไท่เก๊กคือ การฝึกฝนให้เกิดพลังขึ้นตลอดร่างกาย (พลังนี้เป็น
พลังภายใน ไม่ใช่พลังดั้งเดิมที่คนเรามีอยู่และใช้ในชีวิตประจำวัน) เมื่อยามเผชิญกับคู่ต่อสู้ก็อาศัย
ท่าทางของปรปักษ์ ใช้หลักสละตนเองเข้าร่วมกับปรปักษ์ เปลี่ยนแปลงตามโอกาส ไม่ใช่การที่ต้อง
ใช้กระบวนท่านี้เข้ารับกระบวนท่านั้นอย่างทื่อๆ โดยไม่มีการพลิกแพลงตามโอกาส
เมื่อฝึกจนพลัง ภายในสมบูรณ์แล้ว ตลอดทั้งร่างกายเสมือนลูกบอลที่อัดลมไว้จนเต็ม เมื่อถูกสัมผัสก็เกิดปฏิกริยา
แตะถูกส่วนไหนก็ใช้ส่วนนั้นโต้กลับ ดังวิพากษ์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า "เมื่อยามสำเร็จแล้ว ปรปักษ์
มาอย่างไรก็โต้ตอบกลับไปได้ ไม่ต้องคิดก็โต้ตอบไปได้โดยธรรมชาติ"

มีการปลูกฝังจิตใจ 5 ประการ

1. มีใจเคารพ

ปลูกฝังให้ใจมีคุณธรรม ให้เคารพต่อหน้าที่การงาน (วิชาที่ร่ำเรียน) และความเคารพต่อครูบา
อาจารย์ เฉินชิน อาจารย์มวยไท่เก๊กที่โด่งดังได้เขียนไว้ในหนังสือ "มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน"
ได้กล่าวถึงการมีใจเคารพว่า "การเรียนมวยต้องมีความเคารพนับถือ ถ้าหากขาดความเคารพ
ภายนอกย่อมเกิดความเย่อหยิ่งต่ออาจารย์และเพื่อนร่วมสำนัก ภายในย่อมทำใหเกียจคร้าน
หากไม่ปรับจิตใจได้ ไหนเลยจะสามารถร่ำเรียนวิชาได้

2. มีใจเชื่อมั่น

ความเชื่อมั่น กล่าวแยกได้สองประการ ประการแรก มีใจเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นตัวเองอย่างเต็ม
เปี่ยมว่าสามารถฝึกมวยไท่เก๊กให้ดีได้ ความเชื่อมั่นนี้เป็นแรงผลักดันในการฝึกฝนอย่างมาก
ประการที่สองคือ การมีศรัทธาปสาทะต่อมวยไท่เก๊ก มีความเชื่อมั่นต่อสิ่งที่อาจารย์มอบสอนให้

3. มีความตั้งใจที่แน่วแน่

การฝึกฝนมวยไท่เก๊ก ต้องตั้งเจตนารมณ์ให้แน่วแน่ลงไป เป็นปณิธานอันแน่วแน่ เมิ่งจื่อกล่าวว่า
"ปณิธานเป็นแม่ทัพของพลัง ตัดสินใจให้แน่วแน่ ไม่ถูกสิ่งภายนอกโยกคลอนสั่นไหวได้
มีความมั่นคงไม่เคลื่อนคลอน ไม่ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ไม่ยอมเลิกรา"

4. มีใจที่มั่นคง

การปลูกฝังให้มีใจที่มั่นคง ทำให้สามารถฝึกฝนมวยไท่เก๊กได้อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่
ยาวนานสักกี่ปี จนถึงกี่สิบปี ก็ดุจดั่งเวลาผ่านพ้นไปเพียงวันเดียว มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง การที่มี
จิตใจที่ไม่มั่นคง ทำให้ต้องเลิกล้มแต่กลางคัน ย่อมไม่ได้วิชาอะไรที่ลึกซึ้ง เฉินฟาเคอ ซึ่งเป็นรุ่น
ที่ 17 ของตระกูลเฉิน รำมวยวันละ 30 รอบ เป็นประจำทุกวัน ผ่านไปหลายสิบปีเสมือนผ่าน
ไปเพียงวันเดียว พลังฝีมือขึ้นถึงขั้นสูงสุด

5. มีใจอดทน

"ใจ" ทั้งสี่ข้อที่กล่าวมา มีเพียบพร้อมแล้ว ถ้าหากขาดใจอดทน ก็ยังไม่สามารถฝึกฝนมวย
ไท่เก๊กให้ดีได้ ในการฝึกพลังจากการร่ายรำมวยไท่เก๊ก ต้องอาศัยความสงบและผ่อนคลาย
อ่อนโยน ช้า ถ้าไม่ได้ทำความรู้จักกับมวยไท่เก๊กให้ดีพอเสียก่อนและทำใจให้ยอมรับ ก็ยาก
ที่จะมีใจอดทนได้
การฝึกมวยในสภาพที่ต้องใช้จิตใจที่สงบเยือกเย็น หากทำใจรับไม่ได้ก็จะเกิดอารมณ์หงุด
หงิดได้ง่าย (อาจเพราะรู้สึกว่าไม่สะใจ อยากได้อะไรที่มันเร็วๆ) สุดท้ายก็จะมีผลรับที่ไม่ดี
อีกประการหนึ่ง มวยไท่เก๊กต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ยาวนาน
จะใจร้อนเพื่อให้สำเร็จเร็วนั้น ย่อมทำไม่ได้ ต้องทำใจไม่ให้หงุดหงิด ไม่ให้เกิดความเบื่อ
หน่าย ต้องทำใจให้สงบสันติ ฝึกตามกฎตามเกณฑ์ ระหว่างที่ฝึกฝนด้วยการร่ายรำมวย
จะมีความสุขกับการเพาะสร้างจิตใจที่เที่ยงตรง บรรลุถึงการฝึกฝนทั้งทางร่างกายและ
จิตใจ การฝึกฝนด้วยควาาอดทน ย่อมสำเร็จฝีมือได้

สิ่งสำคัญ 3 ประการต้องเพียบพร้อม

1. สิ่งสำคัญอย่างแรกเลยคือ ต้องมีอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ที่สุด เป็นเงื่อนไขอันดับแรก การเรียนรู้โดยไม่มีอาจารย์ แล้วประสบความสำเร็จนั้น ยัง
ไม่เคยมีตัวอย่างให้พบเห็นมาก่อนเลย นอกจากพวกที่ฝึกเล่น ฝึกเป็นงานอดิเรก เพื่อความ
เพลิดเพลิน อันนี้ยกไว้ต่างหาก ถ้าคิดอยากเรียนมวยไท่เก๊กให้ได้ดี จำต้องได้อาจารย์ที่มี
คุณธรรมสูง มีศิลปะวิชาที่ลึกล้ำ รู้กำหนดกฎเกณฑ์ทะลุปรุโปร่ง มีหลักเกณฑ์ในการสอน
ที่ดี จึงจะสามารถชักนำให้ลูกศิษย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางที่ถูกต้องเที่ยงตรง ไม่ต้องเดินทางอ้อม
สามารถส่งให้เกิดผลสำเร็จได้ถึงครึ่งทีเดียว หากไม่มีอาจารย์ที่รู้จริงมาแนะนำ ย่อมเดิน
ผิดเส้นทาง ไม่สามารถเข้าสู่แก่นแท้ของมวยไท่เก๊กได้

2. สิ่งสำคัญประการที่สอง คือ พรสวรรค์ มีสติปัญญาดี รับรู้ได้รวดเร็ว ความคิดอ่าน
ชัดเจนแจ่มแจ้ง มีการตอบสนองที่ปราดเปรียว อาจารย์ยกตัวอย่างเพียงอย่างเดียวก็รู้
ทะลุไปถึงข้ออื่นๆ ทีใกล้เคียงกัน จุดที่มีความสำคัญลึกซึ้งในมวยไท่เก๊ก ไม่เพียงแต่ต้อง
อาศัยอาจารย์มาเป็นผู้ชี้แนะยังต้องอาศัยการทดลองด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า เอามาครุ่น
คิดพิจารณาทบไปทวนมา และที่กล่าวมานี้ต้องเป็นการรับรู้ด้วยใจ ไม่สามารถบอกกล่าว
ด้วยวาจาได้ มันมิใช่เป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้แต่อย่างใด แท้จริงนั้น เนื่องจากไม่
สามารถถ่ายทอดความพิสดารออกมาเป็นวาจาได้นั่นเอง (เหมือนกับที่เราบอกคนอื่นว่า
อาหารนี้มีรสชาติอร่อยหอมหวาน ถึงแม้เราจะพรรณาอย่างไรก็ตาม ผู้ฟังก็มิอาจรับรู้
ถึงรสชาตินั้นได้จริง มีเพียงแต่ลองลิ้มรสด้วยตนเองก็จะรู้ได้) มีเพียงแต่อาศัยพรสวรรค์
มีความสามารถสูงในการเข้าใจหรือมีความสามารถสูงในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รวม
กับเงื่อนไขอื่นๆ จึงจะสามารถเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ของมวยได้อย่างทะลุปรุโปร่งจนก้าว
สู่ระดับสูง มิฉะนั้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีอาจารย์ที่สามารถถ่ายทอดบอกกล่าววิชาให้ได้
ตนเองก็มีความมานะบากบั่นในการฝึกฝน แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถแทงทะลุ
จนเข้าถึงความลึกซึ้งได้ เพียงแค่สามารถมมีพลังฝีมืออยู่ในระดับเพียงสองส่วน และ
หยุดอยู่ตรงนั้นเอง เช่นเดียวกับการเรียนหนังสือ นักเรียนต่างมีความขยันขันแข็งเท่า
เทียมกัน แต่ความสำเร็จนั้นต่างกัน ตัวที่สร้างความแตกต่างก็คือพรสวรรค์หรือสติปัญญา
นั่นเอง

3. สิ่งสำคัญประการที่สาม คือ การฝึกฝนอย่างมานะบากบั่น เมื่อตนเองมีต้นทุนที่ดีอยู่
แล้ว คือมีอาจารย์ที่มีความรู้ดี ตนเองมีปัญญาไหวพริบดี ยังต้องมีความอดทนต่อความ
ยากลำบาก จึงจะสามารถฝึกฝนให้สำเร็จได้ ดังวิพากษ์มวยได้กล่าวว่า "รู้จักกฎเกณฑ์และ
แนวทางดีแล้ว ก็ยังไม่เป็น ต้องเพิ่มการฝึกฝนพลังฝีมือตลอดเวลา แม้ก้าวหน้าก็ไม่หยุดยั้ง
นานวันเข้าย่อมมีความสำเร็จ" มิใช่ก้าวเข้ามาแล้วก็จะสำเร็จ อีกทั้งไม่มีทางลัดใดๆ
มีเพียงแต่การฝึกฝนอย่างยากลำบาก จึงจะสามารถฝึกให้เกิดพลังฝีมือขึ้นมาได้ มีพลัง
ฝีมือติดตัว ภายใต้การสอนและชี้นำของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ำทการฝึกตามกฎเกณฑ์
อย่างแน่วแน่ อันความสามารถในการรับรู้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อได้ฝึกอย่างมานะบากบั่น
หากคิดว่าตนเองมีสติปัญญาดี ไม่ยอมลำบากในการฝึกฝน เกรงว่าแม้ล่วงเข้าวัยชรา
ก็ยังไม่ได้ลิ้มรสของความลึกล้ำและพิสดารของมวยไท่เก๊ก ได้แต่เดินวนเวียนอยู่นอก
ประตูของมวยไท่เก๊กเท่านั้นเอง แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีสติปัญญาด้อยอยู่บ้าง ต้องอาศัย
การฝึกให้หนักยิ่งขึ้นไป ต้องยอมทนกับความยากลำบากที่ทับทวีขึ้น ความขยันขัน
แข็งย่อมสามารถชดเชยด้านสติปัญญาที่ด้อยไป

แต่ทั้งนี้ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กเพื่อสุขภาพเพียงอย่างเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องทุ่มเทเท่ากับ
ผู้ที่ฝึกฝนเพื่อให้มีพลังฝีมือ แต่ถ้ามีความขยันขันแข็งก็เป็นเรื่องที่ดีต่อตนเองอย่าง
แน่นอน
























ผู้ที่เริ่มต้นในการฝึกฝนมวยไท่เก๊ก ไม่ว่าผู้นั้นจะผ่านการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อื่นใดมาก่อนหรือไม่
ในหลักต่างๆ ของขั้นต้นนี้ จะเป็นการดีที่สุด ถ้าผู้ฝึกค่อยๆ จับเอาหลักแต่ละหัวข้อมาฝึกฝนจน
ชำนาญ แล้วจึงเริ่มเอาหลักข้อต่อไปมาฝึกฝนต่อ อย่าเพิ่งจับรวมเอาทุกหลักมาฝึกฝนพร้อมกัน
เพราะจะทำให้สับสนเหมือนจับปูใส่กระด้ง เดี๋ยวจับเอาหลักนี้ เดี๋ยวจับเอาหลักนั้น เกิดความพะวง
สุดท้ายเอาดีเอาชำนาญสักหลักก็ไม่ได้

ในขั้นตอนของผู้เริ่มฝึกนี้ มีหลักอยู่ 4 หัวข้อ เพื่อใช้ในการร่ายรำมวยไท่เก๊ก

1.เบา

ในคัมภีร์มวยไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า "ในแต่ละการเคลื่อนไหว ตลอดทั้งร่างต้องเบาและ
คล่อง" นี่เป็นมาตรฐานของผู้ที่ฝึกฝนมวยไท่เก๊กจนชำนาญแล้ว สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกนั้น
ต้องเริ่มที่คำว่า "เบา" ก่อน เพื่อเข้าสู่ประตูของมวยไท่เก๊ก อย่าเพิ่งใจร้อนกับคำว่า "คล่อง"
โดยทั่วไปผู้ที่ผ่านการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้มาก่อนนั้น แม้ว่ามือเท้าและร่างกายอาจจะ
คล่องแคล่วอยู่บ้าง แต่ว่าจะติดนิสัยในการใช้กำลัง มักจะออกมาในรูปที่ว่าความคล่อง
แคล่วเกินระดับ แต่ความเบาไม่ถึงระดับ
แม้แต่ในบุคคลที่ไม่เคยผ่านการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ หรือกีฬาอื่นใดมาก่อนก็ตาม
ส่วนมากก็ยังมีความลำบากในการฝึกฝนในเรื่องความเบามากกว่าความคล่อง
ควรทราบว่าวิธีการฝึกมวยไท่เก๊ก เน้นที่การใช้จิตสติไปสร้างให้ประสาทสัมผัส
และการรับรู้เกิดความว่องไวและปราดเปรียว ซึ่วงวิธีนี้ใช้กำลังน้อย ไม่ได้เน้นการ
ฝึกการเคลื่อนไหว เพื่อให้มือเท้าและร่างกายเกิดความคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งต้องใช้
กำลังมาก

การใช้กำลังมากเกินจะกระทบต่อความว่องไวของประสาทสัมผัส เช่นการเกร็ง
กล้ามเนื้อ จะทำให้ความว่องไวของประสาทสัมผัสบริเวณนั้นลดลง สังเกตได้ว่า
เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อ เวลาถูกกระทบกระแทก ความรู้สึกเจ็บปวดจะลดน้อยกว่าปกติ

ดังนั้น เมื่อแรกเริ่มฝึกฝนมวยไท่เก๊ก จึงควรจะยิ่งใช้แรงยิ่งน้อยได้มากเท่าไร ก็ยิ่ง
ดีมากขึ้นเท่านั้น ส่วนความคล่องนั้น ค่อยมาฝึกฝนกันในภายหลัง ฝึกความเบาจน
เป็นพื้นฐานได้แล้ว จึงค่อยฝึกความคล่องมีคำกล่าวไว้ในคัมภีร์อีกตอนหนึ่งว่า "ขนนกอันหนึ่งก็ไม่สามารถเพิ่มได้ แมลงวัน
ไม่สามารถเกาะได้" อุปมาให้เห็นถึงประสาทสัมผัสอันว่องไว และปราดเปรียว
ของผู้ที่เป็นมวยไท่เก๊กในระดับสูง ถึงแม้ว่าความเบาจะไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมด
ของการฝึกประสาทสัมผัสอันว่องไวนั้น แต่ก็เป็นบันใดที่จะให้ผู้ฝึกฝนสามารถ
ไต่ระดับขึ้นไปจนถึงขั้นนั้นได้


2. ช้า

โดยทั่วไปก็ทราบกันว่าการเคลื่อนไหวของมวยไท่เก๊กเป็นไปอย่างช้าๆ ในคัมภีร์
มีกล่าวว่า "ในแต่ละการเคลื่อนไหว ตลอดทั้งร่างต้องเบาและคล่อง"
"เคลื่อนไหวเร็วก็โต้ตอบเร็ว เคลื่อนไหวช้าติดตามการเคลื่อนที่ช้านั้น"

จะเห็นได้ว่ามวยไท่เก๊กไม่ได้เน้นที่ต้องการความช้าอย่างเดียว โดยไม่คำนึง
ถึงความเร็ว ในคัมภีร์ยังกล่าวว่า "ต้องยกสติขึ้นมาให้ได้ จึงจะไม่มีข้อ
กังวลเรื่องความฝืดและหนัก ... จิตและลมปราณต้องเปลี่ยนได้คล่อง
แคล่ว จึงจะรับรู้ถึงรสชาติของความคล่องตัวที่เป็นทรงกลม"

จะเห็นได้ว่า มวยไท่เก๊ก ต้องการความคล่อง ความมีชีวิตชีวา แต่ไม่ต้องการ
ความฝืด และ ความหนัก อย่างไรก็ตาม ในท่อนหลังของคัมภีร์มีตอนหนึ่ง
กล่าวว่า "การเคลื่อนไหวดุจดั่งการสาวเส้นไหม" อันย่อมหมายถึงการเคลื่อน
ไหวที่เป็นไปอย่างช้าๆ แต่จุดประสงค์หลักของข้อความนี้ต้องการสอนให้
ผู้ฝึกใช้พลังดุจดั่งสาวเส้นไหม ที่ต้องใช้พลังที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่ออก
แรงโดยกระชากหรือพลังที่มีขาดตอน ไม่ต่อเนื่องอันจะทำให้เส้นไหมขาดได้

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ฝึกฝนใหม่ การรำมวยจึงยิ่งช้ายิ่งดี แต่มีข้อที่ต้องสังวรณ์
อยู่ประการหนึ่งคือ ถ้าช้าจนท่วงท่าไม่ปะติดปะต่อ นั่นย่อมใช้ไม่ได้แล้ว
เพราะขัดกับ "การเคลื่อนไหวดุจดั่งการสาวเส้นไหม" นั่นเอง

ความช้ามีผลดีต่อผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ อีกประการ เมื่อช้า ทำให้สามารถ
เก็บรายละเอียดต่างๆ ของหลักเกณฑ์ไว้ได้ ไม่ใช่รำมวยแบบผ่านๆ ไป
ด้วยความมักง่าย เพราะความเร็วจึงไม่สามารถควบคุมรายละเอียดต่างๆ
เอาไว้ได้

นอกจากนี้ เมื่อเคลื่อนไหวด้วยความช้า นานวันเข้ารย่อมเกิดความชำนาญ
ความชำนาญย่อมทำให้การรำมวยเป็นไปอย่างธรรมชาติ ก่อให้เกิดภาวะ
ที่ยิ่งฝึกยิ่งคล่องแคล่วปราดเปรียว

แต่อย่างไรก็ตาม เวลาฝึกฝนก็ยังต้องคงภาวะของความช้าเอาไว้ มิใช่
ยิ่งฝึกนับวันยิ่งเพิ่มความเร็วขึ้นซึ่งขัดกับหลักการเดิม

การฝึกมวยไท่เก๊กถึงระดับหนึ่งแล้ว ต้องมี "ความสงบในความ
เคลื่อนไหว" ความช้าเป็นบันไดอันนำไปสู่ฝีมือในขั้นนั้น จึงมองข้าม
ความช้า ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสำคัญไปมิได้


3. กลม

ในมวยไท่เก๊ก ไม่ว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตาม ต้องมีเส้นทางของการเคลื่อนไหว
ที่เป็นเส้นโค้ง ไม่เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง แม้ว่าฝีมือจะเข้าสู่เขตที่ลึกล้ำแล้วก็ตาม
ก็ยังคงต้องใช้การเคลื่อนไหวเป็นเส้นโค้งเช่นกัน เพียงแต่ว่า ในระดับของผู้
เริ่มฝึกฝนนั้น ต้องการให้ท่วงท่าเหยียดกว้าง ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวก็ต้องเป็น
ไปอย่างช้าๆ

ดังนั้นการเคลื่อนไหว จึงต้องเคลื่อนเป็นวงโค้งที่กว้างใหญ่ เพื่อให้เหมาะสมกับท่วง
ท่าที่เหยียดกว้าง ต่อเมื่อภายหลังฝืมือถึงขั้น ท่วงท่าค่อยๆ รัดกุมขึ้น การเคลื่อน
ไหวที่เป็นวงโค้งนั้นย่อมต้องเล็กลง เพื่อให้รับกันกับท่วงท่าที่แปรเปลี่ยนไป
จึงไม่มีความจำเป็นที่จะเคลื่อนไหวเป็นวงกว้างใหญ่เช่นตอนแรกเริ่ม




แต่ถึงแม้ว่าการเคลื่อนไหวนั้นจะเล็กและรัดกุมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ยังคงต้องรักษา
วงโค้งของการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ในปัจจุบันนี้ มีอาจารย์มวยไท่เก๊กบางท่านได้ดัดแปลงประยุกต์การสอนบางประการ
เพื่อให้ง่ายต่อการหัดท่วงท่าของศิษย์ใหม่ โดยการเอาแต่ละท่วงท่าเดิมหรือ
กระบวนท่าเดิมมาซอยออกเป็นการเคลื่อนไหวย่อยๆ ออกมาเป็นหลายขั้นตอน ทำให้
เมื่อร่ายรำกระบวนท่านั้นออกมาแล้ว มองไม่ออกว่าเคลื่อนไหวนั้นเป็นเส้นโค้ง
ควรทราบว่านี้เป้นวิธีการสอนแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า การเคลื่อนไหวของ
มวยไท่เก๊กไม่ต้องเคลื่อนไหวเป็นเส้นโค้ง





ดังนั้น เมื่อได้ร่ำเรียนกระบวนท่ามวยจนจบชุดแล้ว ยังต้องกระชับท่วงท่าหรือ
กระบวนท่าต่างๆ ให้เป็นการเคลื่อนไหวที่ร้อยเรียงกันจริงๆ ไม่ให้ท่วงท่ามีการ
ขาดตอน เนื่องจากการซอยกระบวนท่าออกไปให้เปลี่ยนการเคลื่อนไหวเป็นเส้นโค้ง

อันที่จริงการเคลื่อนไหวให้เป็นเส้นโค้ง และเป็นวงกลม ไม่ใช่เป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก
ที่ยากคือการเคลื่อนไหวท่วงท่าต่างๆ ให้เป็นธรรมชาติไม่แลดูเคอะเขินเก้งก้าง
การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องนั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องรับกันของทั้งร่างกาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับผู้ฝึกในขั้นต้นๆ

ดังนี้น ผู้ฝึกฝนใหม่ จึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ เพียงฝึกให้การเคลื่อนไหวของแขน
ให้มีแนวทางเป็นเส้นโค้งก็เพียงพอแล้ว ต่อเมื่อถึงขั้นที่จะฝึกให้ทุกๆ ส่วนของร่างกาย
เคลื่อนไหวสอดรับกัน จึงค่อยๆ ผสมผสานแต่ละส่วนจนรับกันเป็นธรรมชาติ ซึ่ง
เมื่อเป็นธรรมชาติ ความโค้ง ความกลม จะเป็นความกลมที่สมบูรณ์แบบ

มวยไท่เก๊กให้ความสำคัญในเรื่อง "สงบนิ่งในความเคลื่อนไหว ในความเคลื่อนไหวมีความ
สงบนิ่ง" ซึ่งหลักนี้ต้องอาศัยหลักการเคลื่อนไหวที่เป็นวงโค้งวงกลมมาเป็นบันไดขึ้นไปสู่
4. สม่ำเสมอ

คือการเคลื่อนไหวที่มีระดับความเร็วหรือช้าที่มีความสม่ำเสมอคงตัว ไม่ว่าการเคลื่อนไหว
จะค่อนข้างเร็ว หรือค่อนข้างช้าก็ตาม ต้องรักษาระดับนั้นให้สม่ำเสมอเป็นเอกภาพ คือ
ไม่เคลื่อนไหวเดี๋ยวเร็วเดี๋ยวช้า เนื่องจากมวยไท่เก๊กมีการเคลื่อนไหวที่ช้า ผู้ฝึกที่ยังใหม่
อยู่ จึงมักจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวให้อยู่ในระดับที่สม่ำเสมอได้ จึงต้องให้
ความสนใจในจุดนี้ให้มาก

จุดบกพร่องนี้จะเกิดได้ในสองกรณี คือ กรณีแรก ในท่วงท่าหนึ่งๆ กระบวนท่าหนึ่งๆ มี
การเคลื่อนไหวทั้งช้าและเร็วปะปนกัน อีกกรณีหนึ่ง คือ การร่ายรำในช่าวงต้นของชุดมวย
มีระดับความเร็วช้าอยู่ในระดับหนึ่ง แต่พอเข้าสู่ช่วงกลาง หรือช่วงหลังของชุดมวย
กลับมีระดับความเร็วช้าในอีกระดับหนึ่ง ที่พบเห็นได้มากก็คือ ช่วงต้นของชุดมวยมัก
จะรำอย่างช้าๆ แต่พอร่ายรำไปได้สักครึ่งชุดจะเริ่มเร็วขึ้น ซึ่งแม้แต่ผู้ร่ายรำเองก็ยังไม่
รู้สึกตัว จึงต้องใส่ใจให้มาก คอยสังเกตให้ดี ระดับของความช้านั้นต้องเป็นเอกภาพ
ตั้งแต่ท่าแรกถึงท่าสุดท้ายของชุดมวยต้องมีระดับความช้าที่เท่ากันโดยตลอด จึงจะ
สอดคล้องกับหลัก "เคลื่อนพลังดุจดั่งสาวเส้นไหม"







การพัฒนาความสมดุลของร่างกายและการหยั่งราก

การพัฒนาความสมดุลของร่างกายและการหยั่งรากให้อยู่ในระดับสูง เป็นขุมทรัพย์
ของมวยไท่เก๊กตระกูลอู๋ (โง้ว) ในทรรศนะของ หวังเหาต้า แห่งเซี่ยงไฮ้ ซึ่งปัจจุบัน
มีอายุเกือบ 80 ปีแล้ว เป็นศิษย์ในของ อาจารย์ หม่าเยี่ยเหลียง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มี
ชื่อเสียงด้านมวยไท่เก๊กตระกูลอู๋ โดยได้เป็นศิษย์ของอาจารย์หม่าตั้งแต่ปี ค.ศ.
1961-1982 ได้กล่าวไว้ว่า ศูนย์ถ่วง เป็นหัวใจของการหยั่งรากและรากของอาจารย์
หม่านั้นหยั่งลง ลึกมากจนผู้ที่ได้ผลักมือจากอาจารย์หม่าก็ไม่สามารถบอกได้ว่าราก
ของอาจารย์หม่านั้นหยั่งลึกลงไปเท่าใด




อาจารย์อู๋เจี้ยนเฉวียน (โหง่วก้ำจั๊ว)

ปรมาจารย์มวยไท่เก๊กตระกูลอู๋


อาจารย์หวังเน้นในการผสมอี้ (จิต) ชี่ (ลมปราณ) และลี่ (พลัง) เข้ากับการฝึกศูนย์
ถ่วงซึ่งเป็นจุดสำคัญของการฝึก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องผสมกลมกลืนกันอย่างปราณีต
จนกระทั่งสามารถใช้อี้ (จิต) ไปสั่งการเคลื่อนของชี่ (ลมปราณ) และการเคลื่อนไหว
ของร่างกายตามลำดับ ซึ่งสำหรับอาจารย์หวังแล้ว ให้ความสำคัญในสิ่งเหล่านี้มาก
กว่าจิ้ง (พลังที่ใช้ออกไปยังคู่ต่อสู้) เนื่องจากการใช้พลังมากเกินไป ทำให้คู่ต่อสู้รู้
ตัวและสามารถป้องกันและตอบโต้กลับคืนได้ อาจารย์กล่าวว่าท่านฝึกโดยเน้นไปที่
อั้นจิ้ง (พลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้) ซึ่งตรงกันข้าม
กับ หมิงจิ้ง (พลังที่ปรากฏออกมาจนสามารถมองเห็นได้)

จอร์จ ซู ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านศิลปะการต่อสู้ที่มีชื่อเสียงในซานฟรานซิสโก
สหรัฐอเมริกากล่าวว่า "คุณไม่สามารถเห็นจิ้งของอาจารย์หวังได้ มันดูลึกลับมาก
เพราะว่าเมื่อท่านสัมผัสถูกตัวคุณ คุณก็ปลิวออกไปแล้ว โดยไม่สามารถเห็นจิ้งของ
ท่านปรากฎออกมาเลย ในการฝึกถึงระดับนี้ จะต้องมีความหยุ่นและเบามากๆ ถ้าคุณ
มีความแข็งเกร็ง คุณจะไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ ถ้าคุณยังมีจิ้งที่สามารถมองเห็นได้
คุณย่อมถูกโต้กลับ เพราะมองเห็นหรือรู้สึกถึงพลังของคุณ" ดังในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า
"ไม่มีใครรู้ฉัน มีแต่ฉันที่รู้เขา" ถ้าตราบใดที่ยังเป็นจิ้งที่เห็นได้ คู่ต่อสู้ก็สามารถยืม
พลังนั้นมาใช้กลับคืนแก่คุณ ดังนั้นถ้าเป็นอั้นจิ้งหรือจิ้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้
เนื่องจากเป็นการใช้จิตเป็นตัวสั่งการ จึงเป็นการยากที่คู่ต่อสู้จะตรวจสอบพบและ
ตอบโต้กลับได้

วิธีของอาจารย์หวังคือ การคงสภาวะของความเบาและหยุ่น ขณะที่ตรวจสอบราก
ของคู่ต่อสู้ ทันใดที่ท่านพบรากและศูนย์ถ่วง ร่างของคู่ต่อสู้ก็กระเด็นออกไปหรือ
ลื่นไถลออกไปราวกับลื่นหกล้มบนลานน้ำแข็ง โดยที่อาจารย์หวังไม่ต้องใช้ความ
พยายามในการเอาชนะ ท่านเน้นที่สมาธิจิตมากกว่าความแข็งแกร่งของร่างกาย
โดยมุ่งเน้นให้ทั้งร่างกายภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน ท่านไม่ใช้ร่างกายในการ
นำท่วงท่า แต่ใช้จิตและลมปราณในการนำท่วงท่า โดยมีเคล็ดที่สำคัญอยู่ 4 คำ
คือ

ฟู (ฮู ภาษาแต้จิ๋ว) หมายถึง สภาพจิตที่เบาอย่างมาก สั่งออกมาครอบคลุมหรือปิด
คลุมพลังของคู่ต่อสู้เอาไว้ และส่งพลังนั้นลงสู่พื้นดิน การใช้จิตควบคุมชี่นั้นมี
สภาวะเหมือนกับแมวที่กำลังเล่นเหยื่ออยู่

ไก้ (ไก่ ภาษาแต้จิ๋ว) มีลักษณะคล้ายกับฟู แต่ใช้จิ้งมากขึ้นในการปิดคลุมพลังของ
คู่ต่อสู้

ตุ้ย (ตุ่ย ภาษาแต้จิ๋ว) ใช้เมื่อคู่ต่อสู้ใช้จิ้งออก ก็จะส่งอี้และชี่ไปยังเท้าของคู่ต่อสู้
แต่คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำได้เช่นนั้น ต้องใช้แรงกระด้างเข้าต้านทาน ดังนั้นสามารถ
ควบคุมคู่ต่อสู้และสามารถเปลี่ยนแปลงแรงของเขาได้อย่างง่ายดาย การที่สามารถ
เปลี่ยนจากเร็วเป็นช้า จากช้าเป็นเร็วในทันทีหรือบัดเดี๋ยวมี (พลัง) บัดเดี๋ยวไม่มี
(พลัง) เปลี่ยนไปได้ในทันทีทันใดไม่สามารถทำได้โดยอาศัยพลังจากร่างกาย
แต่ต้องอาศัยพลังแห่งจิตและความสงบนิ่ง

ทุน (ทุง ภาษาแต้จิ๋ว) หมายถึงการดูดกลืนอี้ (จิต) ชี่ (ลมปราณ) และจิ้ง (พลัง)
ของคู่ต่อสู้จนเขาไม่สามารถออกพลังได้


การฝึกฝนของอาจารย์หวังล้วนแต่เป็นการฝึกภายในทั้งสิ้น การฝึกมี 3 ระดับ คือ

1 ภายนอกขับเคลื่อนท่าร่าง แต่ภายในไม่เคลื่อนไหว นี่เป็นการเคลื่อนไหวของ
บุคคลธรรมดาทั่วไป

2 ภายนอกเคลื่อนและภายในเคลื่อน อันนี้ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ

3 ภายนอกไม่มีการขับเคลื่อน แต่การขับเคลื่อนมาจากภายใน นี่คือสิ่งที่อาจารย์
หวังได้รับมาจากอาจารย์หม่า

อาจารย์หวังเล่าถึงระดับกำลังภายในของอาจารย์หม่าว่า ท่าน (อาจารย์หม่า)
สามารถยืนด้วยขาเดียว แล้วให้คน 6 คนยืนเข้าแถวเรียงเดี่ยวรวมพลังกันผลัก
อาจารย์หม่า



เด็กชายไร้นาม
#2   เด็กชายไร้นาม    [ 09-08-2009 - 21:12:33 ]

มีใครสนใจฝึกมั่งครับ

ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจถามผมก็ได้นะครับ ถ้าผมอธิบายถูกจะอธิบายให้



ฤทธานุภาพ©
#3   ฤทธานุภาพ©    [ 09-08-2009 - 21:17:04 ]

คือ มวยไท้เก๊ก มันมีอยู่ 2 แบบครับ คือ

ฝึกแบบคนแก่ที่เราเห็นบ่อยๆอันนั้นเพื่อ
ให้ "ชี่" ในร่างกายเวียนเป็นกระแสครับ (ตามความเชื่อ)
แล้วก็เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวทุกส่วน

ส่วนฝึกแบบเป็น Martial Art
มันเป็นสายย่อยของวูซู (Wu Shu) ครับ เขาเรียกกันว่า Tai Chi / Tai Ji (ไท่จี๋)
มวยไท้เก๊กเกิดจากลัทธิเต๋าที่จริงจะเน้น หลักไม่กระทำนะครับ ดังนั้นดั้งเดิมแล้ว
มวยชุดนี้เหมาะเอาไว้ตอบโต้ มากกว่าใช้รุกไล่ ทำให้กระบวนการหลักแล้ว

คือ
1.) เคลื่อนไหวเชื่องช้าหลอกล่อก่อน
2.) ปิด ป่าย ปก ป้อง เมื่อเขาตอบโต้
3.) พยายามใช้วิธีถ่ายเทน้ำหนัก หมัด หรือ ลูกเตะก่อน
4.) เมื่อมีช่องก็จู่โจมแบบรวดเร็ว




ฤทธานุภาพ©
#4   ฤทธานุภาพ©    [ 09-08-2009 - 21:18:44 ]

ผมเป็นกระทู้เสริมนะท่าน พอดีเรื่อง Martial Art ไม่มีความถนัด
ร่างกายไม่บาลานซ์พอ เลยไม่กล้าฝึกพวกนี้ รอร่างกายแข็งแกร่งว่ากันอีกที



pumkin
#5   pumkin    [ 09-08-2009 - 21:19:14 ]

โอย
เปิดมาตาลาย
มึนงง



เด็กชายไร้นาม
#6   เด็กชายไร้นาม    [ 09-08-2009 - 21:29:35 ]

เหอๆ...



oคาระวะทั้งเเผ่นดินo
#7   oคาระวะทั้งเเผ่นดินo    [ 09-08-2009 - 22:33:14 ]

เเต่ถ้าจะฝึกไช้เพื่อป้องกันตัวคงต้องฝึกกันนานเลยคับถ้าจะไวป้องกันตัวผมว่าน่าจะลองมวยสายเเข่งๆดีกว่านะคับส่วนตัวนะเเต่ถ้าฝึกเพื่อสุขภายก็ดีมากเลยละคับ



oคาระวะทั้งเเผ่นดินo
#8   oคาระวะทั้งเเผ่นดินo    [ 09-08-2009 - 22:37:19 ]

มวยภายนอก
1 มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ระดับความเร็วไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดหรือการขาดของแรงในระหว่างท่าต่อท่า
2 การเคลื่อนไหวมักเป็นแนวที่เป็นเส้นตรงเสียเป็นส่วนใหญ่
3 ใช้พลังในการร่ายรำมาก
4 การหายใจเข้าออกในระหว่างการร่ายรำเร็ว และไม่ สม่ำเสมอ เมื่อรำจบมักมีอาการเหนื่อยหอบให้เห็น
5 จิตใจอยู่กับเป้าหมายภายนอกร่างกาย
6 ผู้อื่นสามารถมองเห็นจิตใจที่เน้น และมุ่งมั่นออกมาทาง สีหน้า
7 ใช้มือเท้าในการเคลื่อนไหวมาก
8 พลังที่ใช้เป็นพลังที่เห็นได้ทางภายนอก ใช้แรงแข็งแรงขาด
9 เน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดูก




เด็กชายไร้นาม
#9   เด็กชายไร้นาม    [ 09-08-2009 - 22:38:56 ]

นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ฝึกครับ ว่ามีความตั้งใจขนาดไหน แต่การฝึกไทเก๊กไม่ควรรีบร้อนครับ และความเข้าใจในเคล็ดวิชาครับ เพราะถ้าเข้าใจอย่างชัดเจนจะทำให้ฝึกง่ายขึ้นด้วยครับ...



oคาระวะทั้งเเผ่นดินo
#10   oคาระวะทั้งเเผ่นดินo    [ 09-08-2009 - 22:39:26 ]

มวยไท่เก๊ก

1 มีการเคลื่อนไหวเป็นไปแบบช้าๆ ระดับความช้า มีความสม่ำเสมอ (ยกเว้นมวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน (ตั๊ง) ที่ท่วงท่าโดยทั่วไปจะช้า แต่จะมีบางท่าบางจังหวะ ที่มีการเน้นการออกพลัง ซึ่งจุดนี้จะเพิ่มระดับความเร็ว) ไม่มี
การหยุดหรือการขาดตอนของพลังและท่วงท่า
2 การเคลื่อนไหวเน้นการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง หรือเป็น วงกลม
3 ใช้พลังในการร่ายรำน้อย
4 ใช้การหายใจที่ลึก ยาว และสม่ำเสมอ เมื่อรำจบ แล้วไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
5 จิตใจอยู่กับการผ่อนคลาย อยู่กับความอ่อนหยุ่น ภายในร่างกาย
6 มีสีหน้าที่ราบเรียบ ไม่แสดงสีหน้าอาการออกมา ให้บุคคลภายนอกได้เห็น
7 ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นหน่วยเดียวกัน
8 พลังที่ใช้มองไม่เห็นจากภายนอก (พลังภายใน) ใช้ พลังอ่อนหยุ่น พลังที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอน
9 เน้นการเสริมสร้างลมปราณ สติและจิตวิญญาณ



oคาระวะทั้งเเผ่นดินo
#11   oคาระวะทั้งเเผ่นดินo    [ 09-08-2009 - 22:40:31 ]

คับลองเปรียบเทียบกันดู



เด็กชายไร้นาม
#12   เด็กชายไร้นาม    [ 09-08-2009 - 22:45:16 ]

อืม...คห.7 ก็ยังนับว่าไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ เพราะผมเองก็ฝึกทั้งภายนอกและภายใน จนจับมารวมกันละครับ... อย่างข้อ 1 มันไม่จำเป็นต้องรวดเร็วก็ได้ไม่ใช่เหรอครับ เพียงแต่กระบวนท่าไม่จำเป้นต้องต่อเนื่องกันนิครับ

ข้อ 3 บางวิชาหรือบางท่า แทบไม่ได้ใช้กำลังเลยก็มีครับ

ข้อ 4 เน้นหายใจลึกครับ ถ้าหายเร็วจะไม่มีแรงในการออกท่าครับ

ข้อ 6 ถ้าใส่หน้ากากหรือทำหน้าตายล่ะครับ

ข้อ10 โดยมากปะทะโดยตรง (เติมให้)




nesta
#13   nesta    [ 11-08-2009 - 20:28:36 ]

ขอบคุณครับ ที่นำมาแบ่งปัน
แต่ทว่า....การจะฝึกได้ ต้องกระบวนด้วยหนิครับ มีแต่เคล็ดแล้วจะร่ายรำยังไงอะครับ?



oคาระวะทั้งเเผ่นดินo
#14   oคาระวะทั้งเเผ่นดินo    [ 11-08-2009 - 20:52:32 ]




เด็กชายไร้นาม
#15   เด็กชายไร้นาม    [ 11-08-2009 - 21:13:59 ]

ถึงท่าน NESTA นะครับ วิชาไทเก๊กนี้ไม่จำกัดท่ารำครับ เพียงตีความในเคล็ดวิชาได้ แล้วรำกระบวนท่าได้ตรงตามเคบ็ดบอกก็สามารถใช้ได้แล้วครับ เพราะเวลาใช้จริงๆวิชานี้เป็นการใช้กระบวนท่าโจ้นี่ครับ อย่างในเคล็ดวิชาบอกจู่โจมมาเราก็โต้กลับไปครับ สรุปงายๆคือเหมือนกับเราคิดท่ารำอยู่ตลอดเวลานั่นแหละครับ



นินจาโคงะ
#16   นินจาโคงะ    [ 12-08-2009 - 15:49:14 ]

ทำตามที่เจ้า จขกท บอกแล้วรำมวยไทยแทนได้ไหม ข้าจะได้เป็นจอมยุทธบ้าง



เด็กชายไร้นาม
#17   เด็กชายไร้นาม    [ 12-08-2009 - 15:51:48 ]

... แล้วแต่ชอบครับ...



นินจาโคงะ
#18   นินจาโคงะ    [ 12-08-2009 - 16:06:07 ]

ขอบคุณขอรับเจ้านาย



เด็กชายไร้นาม
#19   เด็กชายไร้นาม    [ 12-08-2009 - 17:42:30 ]

...



ซาวาดะ สึนะ
#20   ซาวาดะ สึนะ    [ 12-08-2009 - 21:11:40 ]

ข้าคงฝึกไท้เก๊กไม่ได้

ข้าฝึกบอลพลังจิตอยู่อ่ะ

ให้ข้าสำเร็จก่อน

ไท้เก๊กเป็นวิชาต่อไป




ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube