เข้าระบบอัตโนมัติ

ข้อถกเถียงหลักศิลาจารึก อาจเป็นของปลอม


  • 1
มหาราช
#1   มหาราช    [ 06-02-2009 - 21:37:20 ]

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ผู้ที่รวบรวมศิลาจารึกสุโขทัยเป็นคนแรกก็คือ พระวชิรญาณมหาเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฎขณะผนวช) ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯให้มีการตรวจค้นและรวบรวมศิลาจารึกตามหัวเมืองเหนือมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ จารึกส่วนใหญ่ George Coedes จะเป็นผู้แปลและรวมรวม

สำหรับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1) George Coedes กล่าวว่าพระวชิรญาณมหาเถระ ทรงพบพร้อมๆกับจารึกพระมหาธรรมราชาลิไท ภาษาเขมร (หลักที่ 4) และพระแท่นมนังคศิลาบาท
แต่ในหนังสืออภินิหารย์กาลประจักษ์ ซึ่งนิพนธ์โดยสมเด็จกรมพระยาปวเรศวชิราลงกรณ์ คนร่วมสมัยที่คาดว่าน่าจะเสด็จฯไปด้วยกับพระวชิรญาณมหาเถระครั้งนั้น กลับเล่าว่า สิ่งที่ทรงพบและนำกลับมากรุงเทพฯด้วยมีเพียง 2 สิ่งเท่านั้นคือ จารึกพระมหาธรรมราชาลิไท ภาษาเขมร (หลักที่ 4) และพระแท่นมนังคศิลาบาท
และต่อมาตอนท้ายก็ว่าข้อกล่าวถึงจารึกเมื่อแรกตั้งหนังสือไทย ความสับสนของข้อความเหล่านี้จึงทำให้ไม่สามารถบอกเรื่องราวที่แท้จริงของการพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ได้
อย่างไรก็ตามเมื่อ Coedes ผู้เป็นที่ยกย่องนับถือของชาวสยาม เชื่อมั่นว่าศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ ให้มีการสลักโดยพ่อขุนรามคำแหง ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จริงๆ คนอื่นๆก็พร้อมที่จะเชื่อตาม

ต่อมาศิลาจารึกหลักนี้ก็ถูกทำให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มงกุฎราชกุมาร ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงในปี ค.ศ. 1908
หลังจากเสด็จประพาสเมืองเหนือซึ่งหมายถึง พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร และอุตรดิตถ์ ในการเสด็จฯครั้งนั้น ทรงอ่านคำแปลของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นหนังสือนำชม ในหนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงนี้ทรงพยายามที่จะกำหนดรูปแบบและอายุเวลาให้กับโบราณวัตถุสถานที่ทรงพบเห็น
โดยมีวิธีการกคือ จะเสด็จฯ ไปตามทิศทางที่บอกไว้ในจารึก เมื่อพบโบราณสถานใดที่คล้ายกับลักษณะที่บรรยายไว้ในจารึกก็สรุปได้ทันทีว่า โบราณวัตถุสถานนั้น สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน
รูปแบบทางศิลปะก็เป็นศิลปะ ‘สมัยสุโขทัย’ ตัวอย่างเช่น ในศิลาจารึกนั้นกล่าวว่า “ที่กลางเมืองสุโขทัยมี วิหารอันใหญ่ มีพระพุทธรูปทอง มีพระ อัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพระมีวิหาอันใหญ่ มีวิหารอันราม” เมื่อเสด็จฯไปถึงกลางเมืองก็พบวัดที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดมหาธาตุ ทรงพบวิหารใหญ่ พระพุทธรูป และพระอัฏฐารศ ก็ทรงสันนิษฐานทันทีว่าวัดนี้สร้างโดยพ่อขุนรามคำแหง อย่างแน่นอน

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ทรงมั่นพระทัยว่าเป็นของเก่าแท้แน่นอนก็คือ ภาพสลักลายปูนปั้นที่ประซุ้มประตูทางด้านทิศใต้ของปรางค์ทิศซึ่งอยู่สภาพที่สมบูรณ์และมีความงามวิจิตรมาก
เนื่องจากทรงมีแนวคิดว่า ฝีมือช่างในสมัยสุโขทัยนั้นดีเยี่ยมจึงสารถสร้างงานที่มีความงามและความคงทนได้ ช่างในยุคสมัยของพระองค์นั้นฝีมือด้อยกว่านี้มาก นอกจากจะไม่งามแล้วยังไม่มีความคงทนอีกด้วย
อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงนี้ทำให้ทั้งศิลปะสุโขทัยและศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นที่สนใจศึกษากันอย่างแพร่หลาย
ผู้ที่พูดถึงศิลปะสมัยสุโขทัยต่างพูดไปในทำนองเดียวกันว่า เป็นศิลปะที่สมบูรณ์และงดงามที่สุด, เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของคนไทย และศิลปะเหล่านี้ก็ถูกใช้ยืนยันในความเจริญและยิ่งใหญ่ของสุโขทัย
ทั้งยังสนับสนุนการสร้างประวัติศาสตร์และภาพลักษณ์ในกับ ‘อาณาจักรสุโขทัย’ จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ของชาติที่มีทั้งอำนาจความเจริญรุ่งเรือง และกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ปราศจากศิลปะเหล่านี้แล้วสุโขทัยอาจกลายเป็นแค่เมืองๆหนึ่งที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจเท่านั้น

ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยที่มีกษัตริย์ผู้ปรีชาสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรก

สำหรับข้อผิดพลาดในวิธีการกำหนดอายุเวลาโบราณสถานของพระบรมโอรสาธิราชในแง่การใช้เอกสารมากำหนดอายุเวลาโดยไม่สนใจพิจารณารูปแบบทางศิลปะ
อีกทั้งยังใช้อัตวิสัยส่วนพระองค์ในการกำหนดว่างามและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ต้องเก่านั้น

จะไม่ขอกล่าวเพิ่มเติมอีกในที่นี้เนื่องจากความผิดพลาดนั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว
แต่ประเด็นที่จะกล่าวต่อไปก็คือเอกสารที่ทรงใช้ประกอบการพิจารณากำหนดอายุเวลานั้น มีความถูกต้องมากน้อยเพียงไร



นานาทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับข้อถกเถียงที่ว่า ‘ใครเป็นผู้ให้สลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง



ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 นักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างมีความเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าใครเป็นผู้ให้สลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ศิลาจารึกหลักนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน

ประเสริฐ ณ นคร ให้ความเห็นว่าส่วนที่ 2 น่าจะสลักขึ้นหลังจากสมัยของพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากมีประโยคที่ว่า ‘เมื่อชั่วพระยารามราช’ ซึ่งเป็นการพูดถึงสมัยของพ่อขุนรามที่เป็นอดีต

มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เชื่อว่าส่วนที่ 2 และ 3 น่าจะสลักขึ้นทีหลังสมัยพ่อขุนรามเป็นระยะเวลานานพอสมควรทีเดียวเนื่องจากลักษณะของตัวอักษรนั้นต่างจากตัวอักษรของส่วนที่ 1 อย่างมาก




มหาราช
#2   มหาราช    [ 06-02-2009 - 21:39:16 ]

ม.ร.ว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ กล่าวว่าน่าจะเป็นเฉพาะส่วนที่ 3เท่านั้นที่สลักขึ้นภายหลัง เพราะลักษณะการเขียนต่างกับ 2 ส่วนแรก

มจ. จันจิรายุ รัชนี เป็นอีกผู้หนึ่งที่เชื่อว่าบางส่วนของจารึกมีการสลักขึ้นภายหลัง เนื่องจากมีการกล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง ในลักษณะที่เป็นบุรุษที่สาม

แสง มนวิทูรเป็นคนแรกที่ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งและให้สลักจารึกหลักนี้ขึ้น

Michael Vickery เป็นคนแรกที่เสนอข้อสงสัยในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1987 ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (The Australian National University) กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ผลงานที่เขาเสนอนั้นเสดงในเห็นว่าเขามั่นใจมากว่าศิลาจารึกนี้ถูกสลักขึ้นภายหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงนานมาก โดยเปรียบเทียบตัวอักษร คำศัพท์ เนื้อหา ฯลฯ กับศิลาจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆว่ามีความแตกต่างกันมาก

พิริยะ ไกรฤกษ์ ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า ‘จารึกพ่อขุนรามคำแหง การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ’ ผลการศึกษาของเขาได้ผลสรุปว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ไม่ได้ถูกสลักในสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลย แม้แต่ตอนเดียว หากแต่จารึกหลักนี้เป็นวรรณกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างปี ค.ศ. 1833-1855 และยังตั้งสมมติฐานว่าอาจจะเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

เหตุผลที่ทำให้สันนิษฐานว่าศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงไม่น่าจะสลักขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่น่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ขนาดของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง สูงเพียง 45 เซนติเมตร ต่างกันมากกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 200 เซนติเมตร แต่กลับมีขนาดพอๆกับศิลาจารึกสมัยต้นรัตนโกสินทร์เช่นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

2. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีเนื้อหาที่แปลกกว่าศิลาจารึกหลักอื่นๆ คือไม่มีการระบุชื่อสถานที่เลย ในขณะที่จารึกสุโขทัยหลักอื่นจะให้รายละเอียดชัดเจน เป็นต้นว่า วัดนี้ชื่ออะไรใครสร้าง สร้างอุทิศให้ใคร

3. มีการใช้ภาษาที่ไม่สอดคล้องกับศิลาจารึกหลักอื่นๆเช่น
- คำว่า พระรามคำแหงไม่ปรากฏในจารึกหลักอื่นๆเลย จารึกหลักที่ 2 ซึ่งจะกล่าวถึงพระนามกษัตริย์สุโขทัยก็ไม่ปรากฏพระนามรามคำแหง
- ชื่อช้าง: ช้างขุนสามชนในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงชื่อมาสเมือง และช้างของพ่อขุนรามคำแหงชื่อ รูจาครี ในขณะที่ชื่อช้างในจารึกหลักที่ 2 คือ อีแดงพะเลิง จะเห็นว่าภาษาที่ใช้นั้นอยู่คนละโลกทัศน์ แต่กลับมาพ้องกับชื่อ มิ่งเมือง ช้างของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย และชื่อช้างในพระราชนิพนธ์เรื่อช้างเผือกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ คีรีเมฆ เทพคีรี และจันทรคีรี
- คำว่าพนมดอกไม้ไม่ปรากฏในจารึกหลักอื่นๆเลย พบเฉพาะที่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
- คำว่าพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏเฉพาะในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและในพระราชสาส์น ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ในจารึกหลักอื่นจะมีแต่คำว่า พระศาสนา ศาสนาพระพุทธ และศาสนาพระเจ้า
- คำว่าตระพังโพยศรีก็เช่นกัน พบเฉพาะที่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉนับบริติชมิวเซียม ซึ่ง John Hay ได้ไปจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. ลักษณะการเขียนที่เอาพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ไว้ในบรรทัดเดียวกันไม่พบในภาษาไทยที่ไหนอีกเลย นอกจากตัวอักษรอริยกะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์จะให้ใช้

5. ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึง ตรีบูร (กำแพงเมือง3 ชั้น) ซึ่งมีความยาว 3400 วา(เท่ากับประมาณ 6800 เมตร) เมื่อกรมศิลปากรเข้าไปทำการขุดค้น ก็พบแนวกำแพงเมือง 3 ชั้น และมีรายงานว่า ชั้นในสุดเท่านั้นที่สร้างในสมัยสุโขทัย ส่วนชั้นกลางและชั้นนอกสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างสมัยสมเด็จพระนเรศวร นอกจากนี้ผลการวัดความยาวของแนวกำแพงปรากฏดังนี้ ชั้นใน 6100 เมตร ชั้นกลาง 6510 เมตร และชั้นนอกสุด 6800 เมตร จึงเป็นที่น่าสนใจว่าหากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงสลักขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจริง ทำไมจึงมีการพูดถึงกำแพง 3 ชั้นและเหตุใดจึงวัดความยาวของแนวกำแพงได้ประมาณ 6800 เมตร ซึ่งเท่ากับความยาวของกำแพงชั้นนอกสุด ที่ยังไม่ได้สร้างในสมัยสุโขทัย




มหาราช
#3   มหาราช    [ 06-02-2009 - 21:40:05 ]

6. ความผิดพลาดในเรื่องศักราช
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นคนแรกที่พูดถึงศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในพระราชสาส์นถึง John Bowring ว่ากำลังจัดส่งสำเนาของจารึกหลักนี้ไปให้ ซึ่งเป็น อักษรไทยที่เก่าที่สุด สลักขึ้นในปี ค.ศ. 1284 แต่ในพระราชหัตถเลขาอีกฉบับหนึ่งเขียนว่าหนังสือสยาม ซึ่งประดิษฐ์ในเมืองเหนือของสยาม ในปีค.ศ. 1282 ซึ่งมีความต่างกันอยู่ 2 ปี
- ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งมีข้อความว่า ‘1207 ศักราชปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออก’ แต่แท้จริงแล้วมหาศักราช 1207 คือปีระกา ส่วน 1209 จึงจะเป็นปีกุน จะเห็นความพลาดเรื่องศักราชไป 2 ปีเช่นกัน พ่อขุนรามคำแหง จะไม่ทรงทราบเชียวหรือว่าปีที่พระองค์ให้ขุดพระธาตุออกมานั้นเป็นศักราชอะไร หรือเป็นปีนักษัตรอะไร
- สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ บอกวิธีเปลี่ยน มหาศักราชในจารึกให้เป็นพุทธศักราชว่าให้บวกด้วย 621 แต่ภายหลังสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็มาแก้ให้บวกด้วย 623 จึงจะถูกต้องลงตัวกับปีนักษัตร ถือเป็นความคลาดเคลื่อนไป 2 ปีอีก

5. จะเป็นความบังเอิญเกินไปหรือไม่ที่พ่อขุนคำแห่งขึ้นครองราชย์สมบัติในปี พ.ศ. 1851 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัติในปี ค.ศ. 1851



จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้พิริยะค่อนข้างมั่นใจว่าศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าเป็นพระราโชบายในการปรับปรุงประเทศ เนื่องจากพระมหากษัตริย์นั้นไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงประเพณีใดๆหากไม่มีการอ้างว่ามีกษัตริย์องค์อื่นทำมาก่อนแล้ว เช่น
- ทรงคิดจะให้ใช้ตัวอักษรอริยกะ ก็เพราะต้องการให้ใช้ภาษาไทยกับเครื่องพิมพ์ดีดได้ เพราะเครื่องพิมพ์ดีดที่เข้ามาแรกเริ่มทำเพื่อใช้กับภาษาตะวันตกซึ่งเขียนสระและพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกัน
- ทรงต้องการให้ประชาชนสามารถถวายฎีกากับพระองค์โดยตรง จึงทรงตั้งกลองเภรีวินิจฉัยไว้ โดยอ้างการที่พ่อขุนรามคำแหงแขวนกระดิ่งไว้ ให้ประชาชนที่เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้
- ต้องการงดภาษีปากเรือให้แก่ชาวอังกฤษเพราะเกรงสงคราม จึงทรงอ้างว่า พ่อขุนราม ‘บ่เอาจกอบนายไพร่’
- ต้องการให้ประชาชนเข้าเฝ้า และมองพระพักตร์พระมหากษัตริย์ได้ ก็ทรงอ้างถึงพ่อขุนรามคำแหงที่อนุญาตให้ประชาชนไปดูกษัตริย์เผาเทียนเล่นไฟได้ เป็นต้น

การปรับปรุงประเทศครั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้มหาอำนาจตะวันตกเห็นว่าเราเป็นชาติที่เจริญแล้วไม่ใช่ชาติป่าเถื่อน หากเป็นเช่นข้อสันนิษฐานของพิริยะแล้ว จะเห็นว่าความพยายามของพระองค์นั้นประสบความสำเร็จใหญ่หลวงในการปกป้องบ้านเมืองไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจของประเทศจักรวรรดินิยมใดๆ John Bowring มีจดหมายไปยังกรุงลอนดอนว่า สยามเป็นประเทศที่เป็นอารยะแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นอาณานิคม แต่ในขณะที่ความพยายามนี้สามารถปกป้องประเทศได้สำเร็จ แต่ก็ได้ก่อให้เกิดภาพลวงตาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ ‘ชาติไทย’และ ‘ประวัติศาสตร์ศิลปะสุโขทัย’ อันจะทำให้ถูกลบเลือนไปได้อย่างยากยิ่ง


จบแล้วววว ยาวเหมือนกันแฮะ จะเชื่อหรือไม่ แล้วแต่วิจารณญาณ



เจ้านางละอองคำ
#4   เจ้านางละอองคำ    [ 08-02-2009 - 22:36:42 ]

เคยได้ยินมาเหมือนกัน ว่าเป็นของปลอม

ประมาณว่า

สมัยร.4 พวกฝรั่งดั้งขอชอบมารุกรานแสวงอาณานิคม

โดยอ้างว่าประเทศล้าสมัย ไม่มีอารยธรรม

ร.4 เลยสร้างขึ้นมา เพื่อโก่งว่ากระเทศไทยมีประวัติมายาวนานแต่สมัยสุโขทัย



  • 1
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube