เข้าระบบอัตโนมัติ

ประวัติท่านเตียซำฮงหรือจางซานฟง


  • 1
จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#1   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:49:09 ]

ครับ ในที่สุดเรื่องเมื่อคืนก็จบเลยอยากให้กลับสู้แนวทางเดิมคือเรื่องกำลังภายในเลยเอาเรื่องเกี่ยวกับสำนักบู๊ตึ้งมาฝากให้อ่านกันเล่นๆครับ
เมื่อก่อนเคยลงแล้วแต่จำไม่ได้แล้วว่าใส่ไว้กระทูไหนเลยเอามาลงให้ใหม่ครับ
อ้างอิง
http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?newsID=4715344521403



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#2   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:49:41 ]

บู๊ตึ๊ง

สำนักบู๊ตึ๊ง เป็นสำนักวิชากำลังภายในที่มีชื่อเสียงในนิยายกำลังภายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้ง


ประวัติจากในนิยาย
ในเรื่องดาบมังกรหยก บู๊ตึ๊งเริ่มมาจากหลวงจีนในวัดเส้าหลิน ชื่อว่า จางซางฟงหรือเตียซำฮง ซึ่งเดิมมีชื่อว่า เตียกุนป้อ เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ กี๊กเอี้ยงซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ อาจารย์กั๊กเอี้ยงสั่งให้เตียกุนป้อลงจากเส้าหลินเนื่องเพราะวัดมีภัย โดยมีผู้บุกรุกนามว่า สามวิเศษเขาคุนลุ้น ซึ่งภายหลังกลายเป็นเรื่องเข้าใจผิด โดยถ่ายทอดวิชาในคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นให้ ซึ่งถือว่าเป็นยอดวิชาลมปราณหลังกำเนิด (คู่กับซือชวยเก็ง หรือคัมภีร์ชะล้างไขกระดูก อันเป็นลมปราณก่อนกำเนิด) หลังจากลงจากวัด ได้พบกับก๊วยเซียงและร่วมทางกันช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสำนักชื่อว่าสำนัก บู๊ตึ๊ง และเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น เตียซำฮง (ซำฮงหมายถึงยอดเขา 3ลูก) รับศิษย์รุ่นแรก 7 คน ซึ่งเป็นที่มีชื่อเสียงในยุทธภพมาก ชาวยุทธต่างขนานนามว่า 7 กระบี่บู๊ตึ๊ง หรือ 7 จอมยุทธบู๊ตึ๊ง วิชาที่โด่ดเด่นคือ วิชากระบี่และมวย โดยมีวรยุทธบางชุดของเส้าหลิน บางชุดดัดแปลง และมี ยอดวิชาของสำนักคือ กระบี่ไท่เก๊ก และมวยไท่เก๊ก ซึ่งเตียซำฮง บัญญัติขึ้นภายหลัง โดยสังเกตจากการต่อสู้ของ งูกับกระเรียน

ประวัติตามประวัติศาสตร์
ส่วนตามประวัติศาสตร์ อาจารย์ของเตียซำฮงเป็นนักพรตในลัทธิเต๋านามว่า ฮวยเหล็งจินหยิน และมวยบู๊ตึงกับเส้าหลินไม่ได้มีพื้นฐานเดียวกันอย่างเช่นในนิยาย เนื่องจากมวยไท่เก็ก เป็นภูมิปัญญาแบบจีนแท้ เน้นความอ่อนหยุ่น ธาตุหยิน ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ส่วนมวยเส้าหลินมีต้นกำเนิดมาจากแถบอินเดีย โดยมีรากฐานมาจากโยคะ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น ก็มีรากฐานมาจากวิชาโยคะ และศาสตร์ของพุทธมหายาน เน้นความแข็งกร้าว ธาตุหยาง

สำนักบู๊ตึ๊งมีความยิ่งใหญ่เทียบเคียงวัดเส้าหลิน ถือเป็นเสาหลักของยุทธภพ เตียซำฮงมีความสนิทกับก๊วยเซียงเจ้าสำนักง้อไบ๊

หลานศิษย์ของเตียซำฮง คือเตียบ่อกี้ ได้รับตำแหน่งประมุขนิกายเม้งก่า มีบทบาทในการขับไล่ชาวมองโกลในนิยายด้วย



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#3   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:50:21 ]

เทือกเขาบู๊ตึ๊ง
หมู่ตึกโบราณบนเขาบู้ตึ๊ง

เขาบู้ตึ๊ง หรือ อู่ตังซัน (ในภาษาจีนกลาง) มีอีกชื่อว่า ไท่เหอซัน เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญของลัทธิเต๋า ที่เล่าสืบมาว่า ปรมาจารย์เจินอู่ หรือเทพเจ้าเสวียนอู่(玄武神)ที่ศาสนาเต๋าเคารพนับถือ ได้บำเพ็ญตบะบนยอดเขาแห่งนี้ รู้สึกติดอกติดใจกับเทือกเขา ที่เสมือนเป็นแดนสุขาวดี ได้ใช้วิชาทั้งบุ๋นและบู้ต่อกรกับภิกษุหลายรูปของฝ่ายพุทธ จนได้รับชัยชนะ สามารถยึดเขาแห่งนี้เป็นที่พำนักสืบมา...

เขาบู้ตึ๊งได้กลายมาเป็นแหล่งฝึกวิชา และเข้าฌานของนักพรตลัทธิเต๋า หลายสำนักมาหลายยุคสมัย และยังเป็นที่กำเนิดสุดยอดวิชากังฟูที่โด่งดัง ตามที่เราเคยคุ้นหูคุ้นตาในนิยายกำลังภายในด้วย

เขตโบราณสถานบนเขาบู้ตึ๊ง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 321 ตร.กม. ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นหมู่ตึกโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และส่วนที่เป็นทิวทัศน์ธรรมชาติ อาทิ สระน้ำ บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำ หน้าผาและยอดเขา รวมกว่าร้อยแห่ง



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#4   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:51:05 ]


รูปสำริดเทพเจ้าเสวียนอู่ ในวิหารจินเตี้ยน

ทิวทัศน์และกลุ่มโบราณสถานบนเขาบู้ตึ๊ง

หมู่ตึกโบราณ และสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

บนเขาบู้ตึ๊ง มีสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่สมัยถัง ซ่ง หยวน หมิง และชิง โดยส่วนใหญ่ เป็นอารามหรือวิหารที่มีความสำคัญในศาสนาเต๋า ซึ่งโบราณสถานที่หลงเหลือมาจนทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์หมิง

ที่เป็นเช่นนี้สืบเนื่องมาจาก กษัตริย์เฉิงจู่จูตี้ (หย่งเล่อ) ทรงเคารพเลื่อมใสในศาสนาเต๋าอย่างแรงกล้า ในรัชสมัยของพระองค์โปรดให้มีการสร้างศาสนสถานของศาสนาเต๋าขึ้นมากมายนั่นเอง

โบราณสถานเก่าแก่ คือ ศาลเจ้าห้ามังกร (อู่หลงฉือ) จักรพรรดิถังไท่จง หลี่ซื่อหมิน แห่งราชวงศ์ถัง มีพระราชโองการรับสั่งให้สร้างขึ้น ระหว่างปี ค.ศ.627-649

ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เกิดกระแสเลื่อมใสศรัทธาเทพเจ้าเจินอู่(เสวียนอู่) ฐานของศานาเต๋าจึงเริ่มหยั่งรากขึ้นบนเขาบู้ตึ๊ง จนกระทั่งมาในสมัยราชวงศ์หมิง ศาสนาเต๋าเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนกลายเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางศาสนาเต๋าทั่วประเทศ และยังเป็นที่ตั้งของวัดแห่งราชสำนักหมิงที่สำคัญด้วย



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#5   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:51:31 ]


ภาพบนขวา-ทิวทัศน์บนยอดเขาเทียนจู้ บนซ้าย-ส่วนหนึ่งบนวิหารจินเตี้ยน ล่าง-วิหารจินเตี้ยน หลังคาทำด้วยทอง โดดเด่นดึงดูดสายตาผู้มาเยือน


ณ ยอดเทียนจู้ ยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,612 เมตร เป็นที่ตั้งของวิหารใหญ่แห่งศาสนาเต๋า จินเตี้ยน สร้างขึ้นเมื่อปีที่ 14 (ค.ศ.1416)ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง มีความสูง 5.5 เมตร กว้าง 5.8 เมตร ภายในวิหาร งามวิจิตรด้วยลวดลายบนเสาเอกและเพดานประดับมุข เป็นที่ประดิษฐานรูปสำริดของเทพเจ้าเจินอู่(เสวียนอู่) น้ำหนัก 10 ตัน ด้านนอกวิหาร เป็นกำแพงเมืองจื่อจินเฉิง มีความยาว 1,500 เมตร ก่อขึ้นเป็นรูปทรงภูเขา

นอกจากนี้ยังมีพระราชวังจื่อเซียว ที่สร้างขึ้นในสมัยหย่งเล่อ ปีที่ 11 (ค.ศ.1413) ที่สามารถอนุรักษ์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดมาจนถึงวันนี้



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#6   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:52:20 ]


สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

แหล่งธรรมชาติบนเขาบู๊ตึ๊ง มักมีชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์ และมีความเชื่อรวมถึงที่มาต่างๆกัน เช่น บริเวณรอบๆวิหารจินเตี้ยน เรียก ‘ลานแสวงบุญ’ เนื่องจากทุกปีในวันแรกของฤดูใบไม้ร่วง จะมีมดมีปีกจำนวนมากบินมาเกาะบริเวณดังกล่าว และไม่บินไปไหนจนกระทั่งตายหมดทั้งฝูง ชาวบ้านจึงเชื่อว่า มดมีปีกเหล่านี้บินมาสักการะเทพเจ้าเสวียนอู่ จึงให้ชื่อบริเวณนั้นตามเรื่องมหัศจรรย์ดังกล่าว

หรือเช่นบริเวณ ‘เขาอีการับอาหาร’ ‘เสือดำลาดตระเวนเขา’ มีเรื่องที่เล่าสืบมาว่า เมื่อครั้งพระอาจารย์เจินอู่เดินทางมาจาริกแสวงบุญบนเขาบู้ตึ๊ง มีเสือดำคอยเปิดทางขึ้นเขา และมีอีกาคอยนำทางให้ ช่วงเวลาที่ท่านบำเพ็ญตบะ อีกาจะคอยร้องเตือนบอกเวลา เมื่อถึงรุ่งสางของทุกวัน และเสือดำคอยป้องกันระวังภัยให้ เมื่อพระอาจารย์เจินอู่ สำเร็จวิชาบรรลุเป็นเทพเจ้า กาตัวนั้นจึงได้ยศเป็นทหารเทพ ส่วนเสือดำก็เป็นขุนศึกลาดตระเวนบนภูเขาแห่งนี้

ครั้นต่อมา เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของอุบาสก อุบาสิกาในศาสนาพุทธ ที่ว่า กาดำเป็นสัตว์อัปมงคล ชอบนำเรื่องร้ายมาสู่มากกว่าเรื่องดี ดังนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงโชคร้าย เมื่อพุทธศาสนิกชนได้มาที่เขาบู้ตึ๊งและเดินทางมาถึงบริเวณ ‘เขาอีกา’ จะโยนข้าว หรือข้าวโพดที่นำติดตัวมา ขึ้นไปบนอากาศ แล้วตะโกนว่า ‘อีกามารับอาหาร’ อีกาที่บินมาเป็นฝูง จะกางปีกอ้าปากรับอาหารที่คนโปรยให้ จึงเกิดเป็นชื่อเขาดังกล่าว




จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#7   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:53:06 ]

ปรมาจารย์กังฟูจางซันฟง กับวิชาหมัดมวยบู๊ตึ๊งอันโด่งดัง



รูปสลักทำจากทองแดง ปรมาจารย์กังฟูมวยบู้ตึ๊งจางซันเฟิง(เตียซำฮง) สูง 1.45 เมตร สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ปี ค.ศ.1417

ปรมาจารย์กังฟูจางซันฟง กับวิชาหมัดมวยบู๊ตึ๊งอันโด่งดัง

จางซันเฟิง(张三丰)ชื่อเดิม จางเฉวียนอี หรือจางจวินอี้ว์ นักบวชเต๋าแห่งเขาบู้ตึ๊ง ในปลายสมัยซ่งเหนือ ‘ซันเฟิง’ เป็นฉายาที่ใช้เมื่อออกบวช เกิดในปี ค.ศ.1247 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน บริเวณที่เป็นมณฑลเหลียวหนิงในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากฝีมือการช่วยเหลือคนเจ็บไข้ ด้วยหลักการรักษาโดยใช้กำลังภายใน

ปรมาจารย์จางซันเฟิงหรือเตียซำฮง ได้ให้กำเนิดหมัดมวยสำนักบู้ตึ๊ง ซึ่งโด่งดังเคียงคู่มากับหมัดมวยเส้าหลิน ของสำนักพุทธแห่งเขาซงซัน ท่านได้ คิดค้นมวยบู้ตึ๊ง จากการศึกษาทฤษฎีพื้นฐานของศาสตร์หยินและหยาง ศาสตร์เรื่องธาตุทั้งห้า และหลักการของแผนภูมิทั้งแปด (ปา กว้า八卦) โดยท่านสามารถสังเคราะห์แก่นแท้ของศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกัน และหลอมรวมมาเป็นทฤษฎีของหมัดมวยบู้ตึ๊ง

กังฟูสำนักบู้ตึ๊ง มีการกำเนิดเกี่ยวเนื่องลึกซึ้งกับศาสนาเต๋า ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ในระหว่างการบำเพ็ญตบะ นักบวชในศาสนาเต๋าจะต้องเรียนฝึกกังฟูไปพร้อมกันด้วย โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อฝึกปรือให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง การฝึกกังฟูของสำนักบู้ตึ๊งมีหลักการคือ ฝึกการควบคุมกำลังภายใน (Internal styles 内家拳派) ใช้ความนุ่มนวลสยบความแข็งแกร่ง ภายหลังมีการพัฒนาจนเป็นวิทยายุทธ์การต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่แกร่งกล้า และเป็นที่ยอมรับไปทั่ว




มวยบู้ตึ๊ง ประกอบด้วยมวยหลัก 3 สายวิชา ได้แก่ มวยไท่จี๋ (ไทเก็ก) มวยสิงอี้ (สิงอี้เฉวียน ท่าทางการต่อสู้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสัตว์ เช่น เสือ วานร มังกร เหยี่ยว นางแอ่น เป็นต้น) และฝ่ามือแปดทิศ (ปา กว้าจ่าง เคลื่อนไหวโดยการสืบเท้าเป็นรูปวงกลม และแปลงกระบวนท่าฝ่ามือเป็นท่าต่างๆ) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศจีน ที่โด่งดังและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#8   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 27-12-2008 - 16:53:34 ]

มวยไทเก๊ก
มวยไท่เก๊ก หรือ ไท้เก๊ก หรือ ไท่จี๋ หรือ ไท้จี๋ หรือบางคนเขียนเป็น ไทชิ, ไทจิ, ไทเก๊ก, ไทเก็ก, หรือแม้แต่ไท้กิ๊บก็มี ภาษาอังกฤษก็มีทั้งที่เขียนว่า taiji, taichi, t"aichi เป็นวิทยายุทธที่มีต้นกำเนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แตกแยกย่อยเป็นสายต่างๆ มากมาย จนแทบหาต้นตอที่แท้จริง ไม่ได้ หากแต่ละสายยังยึดหลักการเดียวกัน คือการเน้นความอ่อน เบา ต่อเนื่อง อาศัยจิตและสมาธิในการควบคุมพลังและกระบวนท่า การฝึกอาศัยความเบา ช้า กลม และสม่ำเสมอ เรียงร้อยกันเป็นกระบวนท่า

ปัจจุบันมวยไท่เก๊กที่นิยมฝึกกันอยู่มี 5 ตระกูลหลัก คือ เฉิน, หยาง, อู๋, อู่ และ ซุน

เคล็ด 10 ประการของมวยไท่เก๊ก

1. ฮือเล้งเตงแก่ (ซวีหลิงติ่งจิ้ง) คือ ศรีษะตั้งตรงจิตแล่นขึ้นบนกระหม่อม อย่าใช้กำลัง ถ้าใช้กำลังคอจะเกร็งแข็ง เลือดลมจะเดินไม่สะดวก ต้องใช้จิตที่เบาและคล่อง ถ้าไม่มีฮือเล้งเตงแก่ ย่อมไม่สามารถยกจิตให้มีสติได้


2. ห่ำเฮงปวกป่วย (หันเซียงป๋าเป้ย) ห่ำเฮง คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ขี่ (ชี่) จมลงสู่ตังชั้ง (ตันเถียน) ห้ามการเบ่งอก เบ่งอกทำให้ขี่กักอยู่บริเวณหน้าอกมีผลให้ร่างกายส่วนบนหนักส่วนล่างเบา เมื่อยกเท้าขึ้นเตะร่างกายก็เบาลอย ปวกป่วย คือ การที่ขี่แล่นแนบติดกระดูกสันหลัง ถ้าสามารถทำห่ำเฮงได้ก็จะทำปวกป่วยได้โดยอัตโนมัติ สามารถปวกป่วยได้ก็จะสามารถส่งพลังออกจากหลังได้ทำให้ไร้คู่ต่อสู้


3. ซงเอีย (ซงเอียว) คือการผ่อนคลายเอว เอวเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายเป็นอันดับแรก สามารถผ่อนคลายเอวภายหลังสองขาจึงจะมีกำลัง รากฐานมั่นคง ฮือซิก (ว่างและเต็ม) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอาศัยเอวเป็นตัวจักรสำคัญ ดั่งคำว่า “จิตสั่งงานเริ่มต้นที่เอว” มีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้องให้ปรับที่เอวและขาก่อน


4. ฮุงฮือซิก (เฟินซวีสือ) คือการแบ่งเต็มและว่าง ซึ่งเป็นหลักใหญ่อันดับแรกของมวยไท่เก๊ก ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาขวา เช่นนั้น ขาขวาคือเต็ม ขาซ้ายคือว่าง น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาซ้าย เช่นนั้นแล้วขาซ้ายคือเต็ม ขาขวาคือว่าง เมื่อสามารถแบ่งเต็มและว่าง เมื่อนั้นการเคลื่อนไหวและการหมุนตัวย่อมคล่องแคล่วไม่ต้องเสียกำลังแม้แต่น้อย ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อนั้นการก้าวเท้าก็จะหนักและฝืด ยืนไม่มั่นคงง่ายต่อการถูกผู้อื่นทำให้เซได้


5. ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว (เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว) ติ่มโกย คือ การลดและผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่ หากไม่สามารถผ่อนคลายได้ สองไหล่ก็จะยกขึ้น เมื่อนั้นขี่ก็จะแล่นตามขึ้นข้างบน ทั้งร่างกายจะไม่มีพลัง ตุ่ยอิ้ว คือ การผ่อนคลายข้อศอกและให้ปลายข้อศอกคล้ายกับมีน้ำหนักถ่วงลงพื้น หากศอกยกขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถลดหัวไหล่ลงได้ ไม่สามารถตีคนให้กระเด็นออกไปไกลได้


6. เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก (ย่งอี้ปู๋ย่งลี่) คือ การใช้จิตมาสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ใช้กำลังมาเคลื่อนไหว ในคัมภีร์ไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า “ ทั้งหมดนี้ คือ ใช้จิตไม่ใช้กำลัง” การฝึกมวยไท่เก๊ก ต้องผ่อนคลายทั้งร่างกาย ไม่ใช้กำลัง (ที่กระด้าง) แม้แต่น้อยนิด ซึ่งจะขัดขวางการเดินของเลือดลม ถ้าสามารถไม่ใช้กำลังได้เมื่อฝึกนานวันเข้าก็จะบรรลุถึความเบาคล่องสามารถหมุนและเปลี่ยนแปลงได้ดั่งใจต้องการ มีคำถามว่าหากไม่ใช้กำลังไฉนพลัง(ภายใน)จะก่อเกิดได้ คำตอบคือ ในร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณอยู่ทั้งร่าง เฉกเช่นสายน้ำ สายน้ำไม่ถูกอุดตันน้ำย่อมไหลไปได้ ฉันนั้นเมื่อร่างกายกล้ามเนื้อแข็งเกร็งขึ้นย่อมไปบีบรัดเส้นลมปราณทำให้เลือดลมไหวเวียนไม่คล่อง การเคลื่อนไหวย่อมไม่คล่องไปด้วย ถูกดึงแม้เพียงเส้นผมย่อมกระเทือนไปทั่วร่าง แต่หากว่าใช้จิตไม่ใช้กำลัง จิตถึงที่ใดลมปราณย่อมถึงที่นั้นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเมื่อฝึกทุกวันลมปราณเคลื่อนไปทั่วร่างกายไม่มีหยุดไหล ฝึก นานวันเข้าย่อมบรรลุถึงกำลังภายในอันแท้จริง ดั่งคัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า “อ่อนหยุ่นถึงที่สุด ภายหลัง(ย่อม)แข็งแกร่งถึงที่สุด” ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กจนบรรลุฝีมือแล้ว แขนคล้ายดังปุยนุ่นที่หุ้มเหล็กไว้ภายในและมีน้ำหนักมาก ผู้ที่ฝึกฝนมวยภายนอก เมื่อใช้กำลังย่อมปรากฎกำลังออกมาแต่ยามไม่ได้ใช้กำลังจะเบาลอยอย่างมาก สามารถเห็นกำลังนั้นเป็นกำลังที่อยู่ภายนอกอย่างชัดเจนไม่ใช้จิตแต่ใช้กำลังง่ายต่อการถูกชักนำให้เคลื่อน


7. เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย (ซ่างเซี่ยเซียงสุย) หมายถึง ส่วนบน(ของร่างกาย) และส่วนล่างเคลื่อนตามกัน คัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวว่า “รากนั้นอยู่ที่เท้า เคลื่อน(พลัง)จากขา ควบคุมด้วยเอว รูปลักษณ์ที่นิ้วมือจากเท้าไปยังขาสู่เอวทั้งหมดนี้ต้องสมบูรณ์ด้วยพลังเดียว(กัน) “ มือเคลื่อน , เอวเคลื่อน , ขาเคลื่อน สายตามองตามการเคลื่อนไหว เรียกว่า เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย มีส่วนใดไม่เคลื่อนย่อมสับสนไม่เป็นระเบียบ


8. ไหล่หงั่วเซียงฮะ (เน่ยไห้วเซียงเหอ) หมายถึงภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน มวยไท่เก๊กเน้นที่การฝึกจิตและสติ ดังคำกล่าว “สติคือแม่ทัพ ร่างกายคือทหาร”สามารถยกสติให้ตั้งอยู่ได้ การเคลื่อนไหวย่อมเบาคล่องเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าไม่ทิ้ง(หลัก) เต็มว่างและแยกรวม(ไคฮะ) ไค (แยก) นั้นไม่เพียงแต่มือเท้าเปิดจิตก็ต้องเปิดด้วย ฮะ(รวม) ไม่เพียงมือเท้ารวม จิตก็ยังต้องรวมด้วย


9. เซียงเลี้ยงปุกต๋วง (เซียงเหลียนปู๋ต้วน) คือการต่อเนื่องไม่ขาดสาย วิชาของมวยภายนอก พลังนั้นเป็นพลังหลังฟ้าที่กระด้าง คือมีขึ้นมีหยุด มีขาดมีต่อ แรงเก่าหมดไปแล้วแรงใหม่ยังไม่ก่อเกิด ในขณะนั้นเป็นการง่ายอย่างมากต่อผู้อื่นที่จะเข้ากระทำ มวยไท่เก๊กใช้จิตไม่ใช้กำลัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อเนื่องไม่ขาดสายวนครบรอบก็ขึ้นต้นใหม่หมุนวนไม่รู้จบ คัมภีร์กล่าวว่า “ดุจดั่งแม่น้ำสายใหญ่ไหลไม่มีวันหมด “


10. ต๋งตังขิ่วแจ๋ (ต้งจงฉิวจิ้ง) คือความสงบในความเคลื่อนไหว วิชามวยภายนอก เวลาฝึกฝนเมื่อใช้พลังเต็มที่กระโดดโลดเต้นหลังฝึกฝนเสร็จย่อมเกิดอาการเหนื่อยหอบ มวยไท่เก๊กสงบในความเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหวแต่ว่าสงบ ดังนั้นการฝึกจึงยิ่งช้ายิ่งดี ช้าทำให้ลมหายใจยาวลึก ขี่จมสู่ตังซั้ง

ระดับฝีมือ 5 ขั้นของมวยไท่เก๊ก


ขั้นที่ 1

การฝึกมวยไท่เก๊กต้องให้ร่างตั้งตรง , ให้พลังบนกระหม่อมเบาว่อง , ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตรง , เปิดสะโพกงอเข่า ฝึกจนพลังเคลื่อนต่ำลงและจมลงที่ตังชั้ง(ตันเถียน) แต่ผู้ที่เริ่มฝึกฝนยังไม่สามารถที่จะควบคุมหลักสำคัญเหล่านี้ได้หมด ต้องฝึกจากท่าเดี่ยวๆ เพื่อกำหนดทิศทาง , แง่มุม, ตำแหน่ง , ทิศทางการเคลื่อนของมือและเท้าให้ได้ ดังนั้น ในขั้นนี้ยังอย่าเพิ่งเน้นในเรื่องหลักของร่างกายมากเกินไป ควรเป็นไปแบบง่าย ๆ เช่น ศรีษะและร่างกายส่วนบนต้องมี ฮือเล้งเตงแก่ (พลังบนกระหม่อมเบาว่อง) , เก็บอกเอวตรง ในขั้นที่ 1 นี้เพียงต้องการให้ศรีษะตั้งตรงแบบธรรมชาติ , ร่างการตั้งตรง , ไม่เอนไปข้างหลังหรือก้มไปข้างหน้า , ไม่เอียงซ้ายหรือเอียงขวาก็ใช้ได้แล้ว เวลาฝึกมวยดูที่ร่างกายและแขนขา การเคลื่อนไหวแข็งกระด้าง , แข็งนอกในกลวง , มีการตีเร็ว พุ่งเร็ว,ขึ้นเร็ว , ลงเร็ว, มีพลังขาด , มีการค้ำ เหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงต้องการให้มุ่งมั่นในการฝึกฝนทุก ๆ วัน โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณครึ่งปี ก็จะคุ้นเคยกับท่ามวยทำให้การเคลื่อนไหวพัฒนาคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถค่อย ๆ ชักนำลมปราณในร่างกายให้เคลื่อนไหวตามร่างกายและแขนขาได้ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนของท่าร่างภายนอกชักนำลมปราณภายในได้ เมื่อชำนาญมากขึ้นยังสามารถค่อย ๆ เข้าสู่วิถีแห่งแรงรู้ได้ นี่คือฝีมือขั้นที่ 1


ในขั้นนี้ ความสามารถในการใช้ต่อสู้ยังจำกัดอย่างมาก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของร่างกายยังไม่สอดคล้องและรับกัน การเคลื่อนไหวยังไม่เป็นระบบ ท่าร่างยังไม่ได้มาตราฐานยังคงมีแรงกระด้างอยู่ , มีพลังขาด , แรงทิ้ง(ห่าง) , แรงค้ำ ท่ามวยยังมีจุดที่ยุบและนูนลมปราณภายในเพิ่งจะมีความรู้สึกได้ ไม่สามารถให้ลมปราณเคลื่อนอย่างปลอดโปร่งจนสามารถส่งพลังออกไปได้ พลังนั้นไม่ได้ขึ้นมาจากเท้าที่หยั่งรากขึ้นมาสู่ขา,ควบคุมโดยเอว แต่เป็นไปโดย เป็นพลังที่ไม่ได้รับมาเป็นทอดแต่เป็นการกระโดดจากข้อต่อหนึ่งสู่อีกข้อต่อหนึ่ง ดังนั้นในขั้นที่ 1 นี้ยังไม่สามารถใช้ในการต่อสู้ได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกยุทธ์ย่อมคล่องแคล่วกว่า ถึงแม้ว่าท่วงท่ายังไม่ปราดเปรียว แต่พอรู้หลักการผ่อนแรงและทำให้คู่ต่อสู้เสียหลักอยู่บ้าง จึงทำให้มีบางครั้งสามารถตีคู่ต่อสู้ได้แต่ตัวเองก็ยังยากที่จะสามารถรักษาความสมดุลย์ของร่างกายไว้ได้ ดังนั้นจึงเรียกขั้นนี้ว่า " 1 อิม 9 เอี๊ยง เหมือนท่อนไม้ " อะไรคืออิมเอี๊ยง(อินหยาง) ในหลักของมวยไท่เก็ก ว่างคืออิม , เต็มคือเอี๊ยง , รวมคืออิม , แยกคือเอี๊ยง , หยุ่นคืออิม , แกร่งคือเอี๊ยง อิมและเอี๊ยงคือสิ่งตรงกันข้ามที่เป็นสหภาพกัน ขาดอย่างหนึ่งไม่ได้ สองสิ่งนี้ต้องผสมผสานเข้าด้วยกัน เอาสองอย่างนี้(อิมเอี๊ยง) มาแบ่งเป็น 10 ส่วน ฝึกจนถึงขั้น อิมเอี๊ยงได้ดุลยภาพ กล่าวคือ อิม 5 ส่วน และ เอี๊ยง 5 ส่วน นี่คือฝึกฝนได้จนบรรลุความสำเร็จที่มาตราฐาน ขั้นที่ 1 นี้ " 1 อิม 9 เอี๊ยง " แกร่งมากหยุ่นน้อย อิมเอี๊ยงขาดดุลยภาพ ไม่สามารถใช้(ต่อสู้)ได้ดังใจนึก ดังนั้นผู้ฝึกที่อยู่ช่วงขั้นที่ 1 นี้อย่าเพิ่งไปสนใจกับการใช้ต่อสู้




ขั้นที่ 2

ตั้งแต่ปลายขั้นที่ 1 จนถึงช่วงต้นของขั้นที่ 3 ผู้ฝึกเริ่มจะมีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายใน นี่คือขั้นที่ 2 ในขั้นนี้สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือ ในขณะฝึกฝนสามารถที่จะขจัดความกระด้างของร่าง , การทิ้ง , การค้ำ , ความไม่กลมกลืนของท่าได้ทำให้ลมปราณภายในสามารถโคจรได้อย่างเป็นแบบแผน ภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน หลังจากสำเร็จขั้นที่ 1 มาแล้ว แม้ว่าจะคุ้นเคยกับหลักพื้นฐาน ของการฝึกฝนท่วงท่า มีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนของลมปราณในร่างกายได้ ซึ่งมีอยู่ 2 สาเหตุ

สาเหตุแรก คือ ยังไม่สามารถควบคุมองค์ประกอบของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานได้ เช่น เก็บอกเกินไปจนทำให้เอวงอหลังโกง เอวตรงเกินไปจนทำให้ก้นยื่นและอกเบ่งออก ด้วยเหตุนี้จำต้องพัฒนาอีกขั้นอย่างเข้มงวดให้สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นแบบแผนที่แน่นอน แก้ไขส่วนที่ขัดแย้งกันเองให้เป็นหนึ่งเดียว จนถึงขั้นสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย (สัมพันธ์มีสัมพันธ์ภายในและสัมพันธ์ภายนอกสัมพันธ์ภายในมี-จิตกับความตั้งใจสัมพันธ์,ลมปราณกับพลังสัมพันธ์ , เอ็นกับกระดูกสัมพันธ์ สัมพันธ์ภายนอกมี-มือกับเท้าสัมพันธ์ , ศอกกับเข่าสัมพันธ์ , ไหล่กับสะโพกสัมพันธ์ ) ทั้งภายในและภายนอก แยกพร้อมกัน ในแยกมีรวมอยู่ด้วยกัน , ในรวมมีแยก หนึ่งรวมหนึ่งแยก แยกและรวมรับกัน

สาเหตุที่ 2 คือ ในเวลาฝึกฝนมักจะเกิดการเอาใจใส่ในส่วนหนึ่งแต่ขาดการเอาใจใส่ในส่วนอื่น กล่าวคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง มีส่วนหนึ่งของร่างกายเคลื่อนไหวเร็วกว่า ผ่านไปแล้วเกิดแรงค้ำ อีกส่วนของร่างกายช้ากว่ายังไม่ถึงเกิดการทิ้งขาดช่วง ทั้ง 2 สาเหตุนี้ เป็นการละเมิดกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหว ของมวยไท่เก๊ก จุดสำคัญของมวยไท่เก๊กคือในการเคลื่อนไหวหนึ่ง ๆ จะไม่ทิ้ง ตี่ซีแก่(ฉันซือจิ้ง) ในทฤษฎีมวยกล่าวไว้ว่า " ฉันซือจิ้งมีต้นกำเนิดจากไต มีอยู่ในทุกส่วน(ของร่างกาย) ไม่มีเวลาไหนที่ไม่มี(ฉันซื้อจิ้ง) " ในแนวทางการฝึกมวยไท่เก็กอย่างเข้มงวดเพื่อบรรลุถึงฉันซื้อจิ้ง จุดสำคัญอยู่ที่ผ่อนคลายหัวไหล่ถ่วงศอก , เก็บอกเอวตั้งตรง, เปิดสะโพกงอเข่า เป็นต้น ใช้เอวเป็นแกนกลางข้อต่อแต่ละข้อรับกันเป็นช่วง ๆ มือหมุนเข้าข้างในใช้มือนำศอก, ใช้ศอกนำไหล่ , ใช้ไหล่นำเอว (แต่แท้จริงแล้วเอวยังคงเป็นหมุนหลักอยู่ดี) เวลามือหมุนออกข้างนอกใช้เอวผลักดันไหล่ , ใช้ไหล่ผลักดันศอก , ใช้ศอกผลักดันมือ ก่อให้เกิดการหมุนบิดของแขน และการหมุนบิดของขาเกิดการหมุนบิดของเอวและหลัง 3 ส่วน สัมพันธ์กันก่อให้เกิดการหยั่งรากที่เท้า ควบคุมด้วยเอวและรูปลักษณ์ที่นิ้วมือ ซึ่งมีการบิดเกลียวส่งมาเป็นทอด ๆ ในขณะที่ฝึกมวย ถ้าหากรู้สึกว่ามีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้อง หรือไม่มีพลัง ก็ให้ปรับเรื่องของฉันซือจิ้งในส่วนของเอวและขาก็จะแก้ไขได้ ดังนั้น การระมัดระวังและสนใจหลักสำคัญของร่างกาย ช่วยให้ตลอดร่างสัมพันธ์กัน การควบคุมหลักของฉันซือจิ้ง คือ หลักการในการฝึกในขั้น 2 เพื่อขจัดสิ่งขัดแย้งกันเองในร่างกายออกไปในตอนกลางของขั้นที่ 1xผู้ฝึกเริ่มการฝึกท่ามวยหลังจากคุ้นเคย และชำนาญในท่ามวย จะสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลมปราณภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ฝีมือขั้นที่ 2 ถึงตอนนั้นจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรแปลกใหม่ ในขณะเดียวกันก็มักจะเกิดการเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เข้ายึดถือในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ฝึกจนเกิดการผิดเพี้ยนอย่างมาก หรือมีบางคราวฝึกแล้วรู้สึกว่าราบรื่นอย่ายิ่ง รู้สึกถึงพลังแต่พอถึงเวลาผลักมือกลับใช้ไม่ออก เป็นสาเหตุให้เกิดความหงุดหงิด กลุ้มใจขาดความมั่นใจ และพาลเลิกเสียกลางคัน จึงต้องอาศัยจิตใจที่สู้ไม่ถอยเท่านั้น โดยทั่วไปต้องใช้เวลา 4 ปี จึงจะสำเร็จฝีมือในขั้นที่ 2 บรรลุถึงระดับพลังเดินทะลุทลวงทั่วร่าง ถึงเวลานั้นความมันใจเต็มร้อยยิ่งฝึกยิ่งเพลิดเพลินถึงขั้นเลิกไม่ได้แล้ว

ในการใช้ต่อสู้ ฝีมือช่วงต้นขั้นที่ 2 กับขั้นที่ 1 มีผลเช่นเดียวกัน ใชัจริงไม่ค่อยได้ผล ในตอนปลายขั้นที่ 2 ซึ่งใกล้จะเข้าขั้นที่ 3 แล้ว การใช้ต่อสู้เริ่มมีผลแล้ว ส่วนช่วงกลางของขั้นที่ 2 การใช้ต่อสู้เป็นดังต่อไปนี้ การฝึกมวยและการผลักมือเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เวลาฝึกมวยมีปัญหาเช่นไร เวลาผลักมือย่อมพบปัญหาเช่นนั้น สิ่งสำคัญของมวยไท่เก๊ก คือ ตลอดทั่วร่างทำงานสัมพันธ์กัน ต้องไม่เคลื่อนไหวส่งเดชสะเปะสะปะ สิ่งสำคัญเวลาผลักมือคือ " เพ้งลี่จี่อั่ง (เผิงลวี่จี่อั้น) ต้องจำให้แม่น , บนล่างสัมพันธ์กันผู้อื่นอยากจะบุก , ถ้าเขาใช้พลังมาตีฉัน , นำเขาให้เคลื่อนใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง " การฝึกพลังฝีมือขั้นสองนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังแล่นทั่วร่าง , ปรับท่าร่างให้ถูกต้อง, บรรลุถึงขั้นการส่งพลังรับกันเป็นทอด ๆ หมายถึงการแก้ไขท่าร่างที่สะเปะสะปะรำแบบส่งเดช เนื่องจากเวลาผลักมือ ยังไม่สามารถควบคุมฝ่ายตรงข้ามได้ดังใจ คู่ต่อสู้ยังสามารถมองหาจุดอ่อนได้ หรือพยายามล่อหลอกให้คุณเกิดจุดบกพร่อง คือ เต้ง (ติ่ง-ค้ำ) , ปิ้ง (เปี่ยน-แบน) , ติว (ติว-ทิ้งห่าง) , ขั่ง (คั่ง-ต้าน) จนสามารถเอาชนะคุณได้ เพราะว่า เมื่อเวลาที่ผลักมือคู่ต่อสู้บุกเข้ามาใช้จุดอ่อนของคุณ ให้เป็นประโยชน์ทำให้คุณเสียสมดุลย์ หรือบังคับให้ต้องก้าวถอยแล้วใช้กำลังของคุณเพื่อแก้ไขการบุกเข้ามานั้น สรุปคือ พลังฝีมือในขั้นที่ 2 ไม่ว่าจะบุกเข้ากระทำหรือจะแก้ไขการจู่โจม เป็นการกระทำแบบฝืน ๆ และมักจะเป็นไปในลักษณะลงมือก่อนย่อมเป็นต่อ (ซึ่งผิดหลักของมวยไท่เก๊ก) ในช่วงนี้ยังไม่สามารถถึงจุด ที่เรียกว่าทิ้งตนเองเข้าร่วมกับผู้อื่น , อาศัยจังหวะในการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะสามารถแก้ไขการบุกได้ แต่ยังคงปรากฎจุดบกพร่องในเรื่องของค้ำ,แบน,ทิ้งห่าง และต้าน ด้วยเหตุนี้ ในยามผลักมือไม่สามารถใช้เพ้ง,ลี่,จี่,อั่ง ให้เหมาะสมกับโอกาสได้ จึงเรียขั้นนี้ว่า "2 อิม 8 เอี๊ยงมือสับสน "



ขั้นที่ 3

"คิดจะฝึกมวยให้ดีได้ ต้องฝึกให้วงเล็กลง" การฝึกมวยไท่เก๊กตามขั้นคือ จากวงใหญ่สู่วงกลาง , จากวงกลางสู่วงเล็ก , จากวงเล็กสู่ไม่มีวง ที่เรียกว่า "วง" ไม่ได้หมายถึง วงของการเคลื่อนมือและเท้า แต่หมายถึงการโคจรของลมปราณภายใน พลังฝีมือขั้นที่ 3 เป็นขั้นของ "จากวงใหญ่สู่วงกลาง" คัมภีร์ไท่เก๊ก กล่าวไว้ว่า "จิตและลมปราณ คือ นาย เนื้อและกระดูกคือบ่าว" ดังนั้น การฝึกมวยไท่เก๊กจึงต้องเน้นในการ ใช้จิต เมื่อตอนอยู่ในขั้นที่ 1ความคิดและพลังความตั้งใจ (จิต) อยู่ที่การฝึกฝน และควบคุมท่าทางภายนอก ของมวย เมื่อมาขึ้นที่ 2 เป็นการใช้จิต เพื่อตรวจสอบและแก้ไขในการเคลื่อนไหวของแขนขา และร่างกายทั้งภายนอกและภายในที่ไม่ถูกต้องขัดแย้งกันเอง เพื่อให้บรรลุถึงลมปราณที่ทะลุทะลวงทั่วร่าง เมื่อเข้าสู่ฝีมือขั้นที่ 3 เนื่องจากลมปราณไหลเวียนไม่ติดขัดแล้ว จึงเน้นเรื่องการใช้จิตไม่ใช้กำลัง ,การเคลื่อนไหวเบาแต่ไม่ลอย ,จมแต่ไม่แข็งกระด้าง, ให้หยุ่นนอกแกร่งใน , ในหยุ่นแฝงความแกร่ง ,ตลอดร่างสัมพันธ์กัน , ไม่มีการเคลื่อนไหวที่สะเปะสะปะ แต่ต้องไม่คอยพะวง ว่าลมปราณจะเคลื่อนในร่างกายอย่างไร จนละเลยในท่วงท่า มิฉะนั้นแล้วจะก่อให้เกิดการเบลอของจิต ส่งผลไม่เพียงแต่ ลมปราณจะเคลื่อนไม่คล่องแล้วยังส่งผลเสียให้ท่าร่างและลมปราณกระจายไม่รวมตัว ดังคำกล่าวว่า "อยู่ที่สติไม่ใช่อยู่ที่ลมปราณอยู่ที่ลมปราณย่อมฝืด" ในช่วงระดับฝีมือขั้น 1 และ ขั้น 2 ถึงแม้ว่าท่ามวยจะชำนาญแล้ว แต่ว่าภายนอกและภายใน ยังไม่รวมเป็นหนึ่งเดียว มีบางครั้งควรหายใจเข้า แต่เนื่องจากท่วงท่ายังแข็งกระด้างทำให้หายใจเข้าไม่เต็ม , ที่ควรหายใจออก เนื่องจากภายนอกและภายในไม่สัมพันธ์ ทำให้หายใจออกไม่หมด ดังนั้นยามฝึกมวยต้องหายใจ ให้เป็นธรรมชาติเมื่อเข้าสู่ ระดับฝีมือขึ้นที่ 3 ท่วงท่าค่อนข้างกลมกลืน ภายนอกและภายในโดยพื้นฐานสัมพันธ์กัน โดยทั่วไปลมหายใจ และท่วงท่าผสาน กันได้ดีและเป็นธรรมชาติแต่กับท่าร่างที่รวดเร็ว,ซับซ้อนและละเอียดยังต้องอาศัยการเอาใจใส่ลมหายใจมากขึ้นเพื่อให้ผสาน กับท่าร่าง เพื่อให้ก้าวขึ้นอีกระดับหนึ่งของการผสานลมหายใจกับท่าร่างให้เป็นหนึ่งเดียวจนบรรลุถึงความเป็นธรรมชาติ
ฝีมือขั้นที่ 3 นี้ สามารถควบคุมกฎเกณฑ์สำคัญของมวยไท่เก๊กได้ทั้งภายนอกและภายใน มีความสามารถในการแก้ไขจุดบกพร่อง ให้ดีขึ้นด้วยตนเอง ท่วงท่าเป็นไปแบบสบาย ๆ ลมปราณภายในอยู่ในเกณฑ์สมบูรณ์ มาถึงตอนนี้เพื่อก้าวหน้าต่อไป ต้องทำความเข้าใจความหมายในการต่อสู้ของท่ามวยและหลักการใช้, ต้องฝึกผลักมือให้มาก, ตรวจสอบท่ามวย, พลังภายในและ การออกพลัง , รวมทั้งประสิทธิภาพในการสลายพลัง ถ้าหากว่าท่ามวยสามารถรับแรงต้านในเวลาผลักมือได้ นั่นย่อมหมายถึง สามารถควบคุมหลักสำคัญของท่ามวยได้แล้ว ก้าวอีกขึ้นหนึ่งคือจะต้องเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองให้เต็มร้อย ตอนนี้ควรฝึกอย่างอื่นเสริมอีก เช่น ดาบ,กระบี่,ทวน,พลอง เป็นต้น รวมทั้งฝึกการออกพลังของท่าเดี่ยวใช้เวลาฝึกในลักษณะนี้ 2 ปี โดยทั่วไปก็จะเข้าสู่ระดับฝีมือในขั้นที่ 4 ถึงแม้ฝืมือในขึ้นที่ 3 ลมปราณจะโคจรปลอดโปร่ง ท่วงท่าค่อนข้างกลมกลืน ไม่รับแรงกระทำจากภายนอก ในสถานะที่ฝึกฝนตัวคนเดียวสามารถทำให้ภายนอกและภายในสัมพันธ์เป็นหนึ่งได้ แต่ว่าในด้านลมปราณยังคงอ่อนอยู่ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในที่สัมพันธ์กันยังไม่ดีนัก ดังนั้นในการผลักมือและการใช้ต่อสู้ ถ้าพบกับคู่ต่อสู้ที่ช้ากว่าพลังน้อยกว่า บุกเข้ามาตนเองสามารถใช้หลักสละตนเอง เข้าร่วมกับผู้อื่นได้ , อาศัยจังหวะที่เหมาะสมมาเปลี่ยนแปลง , ใช้ท่วงท่าให้เป็นต่อ ,ใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่งได้ , หลบจุดแข็งเข้า ทำจุดอ่อนได้แบบสบาย แต่พอพบคู่ต่อสู้ที่แกร่งกว่าจะพบว่าเผ่งแก่ (เผิงจิ้ง) ไม่สมบูรณ์ ถูกกดดันจากฝ่ายตรงข้าม ไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้ดังใจนึก อีกทั้งยังไม่สามารถทำตามหลัก "ออกมือ(คู่ต่อสู้)ไม่เห็นมือ,(คู่ต่อสู้)เห็นมือ(ก็)ไม่สามารหลบได้แล้ว " การนำแรงและการทำให้คู่ต่อสู้ล้มหรือกระเด็นมักจะเกิดอาการกระด้างและฝืน ดังนั้นจึงเรียกขั้นนี้ว่า " 3 อิม 7 เอี๊ยง รู้สึกยังกระด้างอยู่"



ขั้นที่ 4

ฝีมือขั้นที่ 4 เป็นระดับที่พัฒนาจากวงกลางไปสู่วงเล็ก ฝีมือเข้าสู่ระดับสูงใกล้จะสำเร็จแล้ว ฝึกได้ครบทั้ง วิธีการฝึกฝนทั้งระบบ , จุดสำคัญของท่วงท่า , แนวทางการต่อสู้ , ลมปราณทีโคจร , สิ่งที่ต้องระมัดระวัง , ลมหายใจ กับท่าร่างผสานกัน เป็นต้น แต่การฝึกฝนยังต้องสนใจในเรื่องการร่ายรำต้องมีจิตในเรื่องของการต่อสู้ กล่าวคือ
ต้องสมมติว่า มีคู่ต่อสู้รายล้อมอยู่ กระบวนท่าต่อกระบวนท่าต่อเนื่องกันไป ทั้งรับทั้งบุกให้ลมปราณรั้งเข้าปล่อยออก ในยามฝึก "ไม่มีคนเหมือนมีคน " ดังหนึ่งพบคู่ต่อสู้จริง ,ยังต้องปลูกฝังถึงเรื่อง "ขวัญยิ่งกล้า ใจต้องยิ่งสุขุม" , และยังต้องฝึกถึง "มีคนเหมือนไม่มี" สาระทั่วไปในการฝึกยังคงเหมือนกับ ขั้นที่ 3 ขอเพียงไม่เกียจคร้านโดยปกติใช้เวลา
3 ปี ก็จะเข้าสู่ฝีมือขั้นที่ 5 ส่วนทางด้านการต่อสู้ ฝีมือในขั้น 4 แตกต่างกับ ฝีมือขั้นที่ 3 ห่างไกลกันมาก ฝีมือขั้นที่ 3 เป็นการสลายพลังและการบุกของคู่ต่อสู้ แก้ไขจุดขัดแย้งในตัวเอง ี่ 4 สามารถสลายพลัง และท่าร่างแล้วยังตีกลับคืนได้ เหตุผล คือ พลังภายในสมบูรณ์แล้ว จิตและพลังเปลี่ยนแปลงได้ว่องไว , ตลอดทั้งร่างสัมพันธ์กันเป็นระบบ
อยู่ในเกณฑ์ดี จึงเป็นการง่ายดาย ที่จะสลายพลังที่บุกมา ปรากฎให้เห็นถึงการคล้อยตามการเคลื่อนไหวของผู้อื่น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางไม่ทิ้งห่างไม่ค้ำ ภายในสมบูรณ์ทุก ๆ การเคลื่อนไหวจิตควบคุมต่อสู้ การเคลื่อนไหวเล็ก การปล่อยพลังเข้มแข็งแม่นยำ จึงเรียกขั้นนี้ว่า " 4 อิม 6 เอี๊ยงมือดี "



ขั้นที่ 5

ฝีมือขั้นที่ 5 จากวงเล็กไปสู่ไม่มีวง , มีรูปลักษณ์คืนสู่ไร้ลักษณ์ ช่วงปลายขั้นที่ 5 ท่าทางลื่นไหลอย่างมาก พลังภายในเต็มร้อย แต่ยังต้องฝึกฝนให้ช่ำชองและเข้าถึงแก่นยิ่งขึ้น การเสียเวลาฝึกฝน 1 วัน ย่อมปรากฎผลสำเร็จของ 1 วัน ร่างการจะเบาว่อง การเปลี่ยนแปลงไม่มีที่สิ้นสุด ภายในร่างเต็มและว่างมีการเปลี่ยนไปมาตลอด มองจากภายนอกไม่เห็น นี่คือการฝีมือ ขั้นที่ 5 ในการใช้ต่อสู้บรรลุถึงอ่อนหยุ่นและแกร่งกร้าวเสมอกัน , มีสปริง , ตลอดทั้งร่างกายทุกส่วนคือไท่เก๊ก หนึ่งเคลื่อนหนึ่งสงบรวมอยู่ด้วยกัน ทุก ๆ ส่วนของร่างกาย มีสัมผัสที่ว่องไว ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ไม่เหมือนมือ (คู่ต่อสู้)แตะถูกส่วนไหนก็ใช้ส่วนนั้นตี การสะสมพลังและปล่อยพลังเปลี่ยนแปลงไปมา ค้ำยันแปดทิศ จึงกล่าวว่า
"หากมี 5 อิม เท่ากับ 5 เอี๊ยง อิมเอี๊ยงสมบูรณ์เรียกว่า มือวิเศษ มือวิเศษหนึ่งการเคลื่อนไหวคือ หนึ่งไท่เก๊ก



สยบทั่วเเผ่นดิน
#9   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 27-12-2008 - 23:53:39 ]




หลี่ชิวสุ่ย
#10   หลี่ชิวสุ่ย    [ 28-12-2008 - 00:11:10 ]




  • 1
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube