เข้าระบบอัตโนมัติ

พระโพธิ์ธรรม ปรมาจารย์ตั๊กม้อ


  • 1
  • 2
จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#1   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:50:03 ]

ในกระทู้นี้ผมจะรวมเกี่ยวกับประวัติของปรมาจารย์ตั๊กม้อและวิชาต่างๆรวมทั้งหลักธรรมของท่านครับ

อ้างอิง
http://board.agalico.com/showthread.php?t=11441 http://agalico.com/board/showthread.php?t=381
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8374&view=previous&sid=b4b6a9d4b72115060ab19a0837d34599





จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#2   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:53:09 ]



พระโพธิธรรม หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วมักเรียกว่า ตั๊กม้อ โจ้วซือ คือ ปรมาจารย์องค์แรก ที่เดินทางจารึกจากประเทศอินเดีย เพื่อนำ พระพุทธศาสนิกายเซ็น (ณาน) สู่แผ่นดินจีน เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1067

พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 หากนับจากอินเดีย พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ผู้ซึ่งได้รับ การถ่ายทอดธรรมะ ด้วยวิธีแห่ง ?จิตสู่จิต? พร้อมด้วย บาตร จีวร และสังฆาฏิของบรมศาสนาดสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการสืบต่อ กันลงมา โดยลำดับในแต่ละสมัย

พระประวัติเดิม พระองค์เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของกษัตริย์ แห่งแคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ พระชนม์มายุยังเยาว์ ก็ทรงแตกฉานในคัมภีร์ของทุกศาสนา วรรณคดีรวมทั้งอักษรศาสตร์โบราณ และการแพทย์ นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์เอกแห่งยุคเลยทีเดียว
ในคราวที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ ท่าได้นั่งเข้าฌานสมาบัติ ชั้นสูงอยู่เฝ้า ณ เบื้องหน้าและพระบรมศพนานถึง 7 วัน หลังจากนั้น พระองค์ได้ไปศึกษาธรรมะอยู่กับ พระปรัชญาตาระเถระ ผู้ซญึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยับลูกแก้วชูขึ้นให้พระโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น พระองค์ก็เกิดความสว่างไสว ได้บรรลุธรรมที่ยังสงสัยอยู่ทั้งหมด สามารถไขปัญหา แยกแยะข้อธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

ครั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระปรัชญาตาระเถระพิจารณาเห็นปัญญาบารมีอันสูงยิ่งขอวพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมสงฆ์สาวกทั้งปวงประกาศให้พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 เพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนา โดยรับมอบ บาตร จีวร และสังฆาฏิ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
หลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้ออกเดินทางจากอินเดียมุ่งสู่แผ่นดินจีน ตามคำบัญชาของพระอาจารย์ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีจึงได้มาถึงเมืองกวางตุ้ง ในสมัยของพระเจ้าเหลียง บู้ตี้ (ประมาณ พ.ศ. 1070) ได้มีบันทึกไว้ว่า ขณะที่พระโพธิธรรม เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำแยงซี ทรงตั้งใจจะข้ามแม่น้ำแต่หาเรือไม่ได้ จึงได้ถอนต้นอ้อต้นหนึ่ง โยนลงไปในลำน้ำ ที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนบนต้นหญ้าเล็ก ๆ นั้นลอยข้ามไป (ผู้ที่เข้าไปไหว้พระในวัดจีนบ่อย ๆ มักพบเห็น ภาพพระภิกษุมีหนวดเคราดก นัยน์ตาโต ใช้จีวรคลุมศีรษะยืนอยู่บนต้นอ้อลอยข้ามน้ำ ก็คือ พระโพธิธรรมนั่นเอง)
ต่อมาพระโพธิธรรมพร้อมด้วยลูกศิษย์นามว่า เสิน กวง ได้เดินทางไปยังภูเขา ซงซัว และพำนักอยู่ที่วัด เส้าหลิน (เซี้ยวลิ้มยี่) ณ สถานที่แห่งนี้พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ปฏิบัติสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี เพื่อค้นหาวิธีที่จะนำพาเวไนยสัตว์ออกไปพบกับแสงสว่าง หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ครั้นเมื่อพระโพธิธรรม ถ่ายทอดวิถีธรรมด้วย จิต สู่ จิต ให้แก่ ?พระเสินกวง? เพื่อสืบทอด ตำแหน่ง เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 2 แล้ว ก็ได้เดินทางต่อไปกับรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและพำนักอยู่ ณ วัด ไซ เซี่ย ยี่ เมือง อู๋มึ้ง จนกระทั้งถึงวันมรณภาพ
พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ณ วัดแห่งนี้ โดยประทับนั่งอยู่ในสมาธิฌานสมาบัติ รวมมี พระชนม์มายุได้ 150 พรรษา


ครั้งหนึ่งในระหว่างการเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า ?ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ?

ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของ่างกายอันได้แก่พลังและท่าทางของร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเอยร่างกายดังนั้นท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่

1. 換筋功 คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
2. 洗髄功 คัมภีร์ฟอกไขกระดูก
3. 十八羅漢禦 ฝ่ามือสิบแปดอรหันต์

และคัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ซึ่งคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้หมายถึง การบริหารแกว่งแขน

คำว่า ?เปลี่ยนเส้นเอ็น? มิใช่หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจชองการแทพย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็นด้วยการออกกำลังกาย โดยวิธีแกว่งแขนซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด

ต่อมา ?คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น? นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า ?กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค? เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ตำราโบราณนึ้เป็นหนังสือวิชาที่เก่าแก่มีอายุถึง 1400 ปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีน อันมิอาจประมาณค่าได้ชิ้นหนึ่ง


คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นมีประโยชน์อย่างไร

คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น คือ กายบริหารแกว่งแขน เป็นวิธีออกกำลังเพื่อบริหารร่างกายที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่ง หลังจากได้มีการค้นพบ และเผยแพร่ตำรานี้ออกมาที่ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่าย ๆ นี้รักษาให้ให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จนแทนไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ กายบริหารแกว่างแขนนี้ ทำง่าย หัดง่ายและเป็นเร็ว นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำการบริหารแบบนี้

เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้

สิ่งที่เป็นปัญหาเกิดขัดแย้งกันภายในร่างกายของคนเรา จนก่อให้เกิดความไม่สบายแก่ร่างกายนั้น แพทย์จีนแผนโบราณกล่าวว่า เกิดจาก ?เลือดลม? เป็นต้นเหตุ หากเลือดลมภายในร่างกายของเราผิดปกติโรคต่าง ๆ มากมายก็จะเกิดขึ้นกับเราทันที เริ่มแรก จะทำให้เรา รับประทานอาหาร ได้น้อยลง นอนหลับน้อยลง ต่อไปก็จะกระทบกระเทือนถึงสภาพของร่างกาย คือทำให้ซูบผอมอ่อนแอเป็นต้น เมื่อเราทำให้เลือดลมเดินสะดวกไม่ติดขัดแล้วโรคร้ายทั้งหลายก็จะหายไปเอง โดยอาศัยหลักดังกล่าวนี้ การทำกายบริหารแกว่งแขน จึงสามารถแก้ไขเลือลมและเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย หากแก้ให้ถูกจุดสำคัญที่ขัดแย้งกันเสียก่อนได้ เมื่อนั้นปัญหาอื่น ๆ ก็จะแก้ได้ง่ายดายขึ้น

ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่คนเราเกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อันเนื่องจากการคร่ำเคร่งปฏิบัติงานไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอริยาบถ จนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะชูแขน เหยียดขา ยืดตัวจนสุด อย่างที่คนทั่วไปเรียกว่า ?บิดขี้เกียจ? ทันทีหลังจากนั้นเราจะรู้สึกสบายตัว กระชุมกระชวยขึ้นอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งอาการเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือ ?การยืดเส้นเอ็น? ตามความหมายในคัมภีร์โบราณนั่นเอง การที่เส้นเอ็น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย มีโอกาสยืดขยายหรือถูนวดเฟ้น จะทำให้เลือดลมภายในสามารถกระจายไหลเวียนได้สะดวก อันเป็นเหตุให้เกิดความผ่อนคลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเกิดความกระ...กระเปร่าสดใสขึ้น และที่สำคัญ เลือดลมที่ไหลเวียน หล่อเลี้ยง ไปทั่วร่างกาย ได้อย่างสะดวกจะช่วยเปลี่ยนสภาพอวัยวะทีแข็งกระด้างซึ่งเป็นความผิดปกติให้กลับกลายเป็นอ่อนนิ่ม และจาพสภาพที่อ่อนแอ ไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลับคืนมาเป็นแข็งแรงและมีสมรรถภาพดีขึ้น

แต่โดยทั่วไปคนเราได้ละเลย และมองข้ามความสำคัญของกายบริหารกายเพื่อยืดขยายเส้นเอ็นในร่างกาย จึงทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก และติดขัด เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ที่มีน้ำมันถูกส่งมาหล่อเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ ย่อมเป็นเหตุให้รถที่วิ่งไปมีการกระตุก ๆ ไม่ราบรื่น ร่างกาย ของคนเรา ก็เช่นกัน หาก เลือดลมติดขัด ก็จะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ สุขภาพจะทรุดโทรมย่ำแย่ลงไปเรื่อย ๆ

อันที่จริงการเจ็บป่วย ไม่วาจะป่วยเป็นโรคชนิดใด ใช่ว่าจะเป็นเรื้อรังอยู่เช่นนั้นโดยไม่มีทางแก้ไขเยียวยาก็หาไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต่อสู้กับโรคชนิดนั้นหรือไม่ หากเราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่เกาะกินเราจนถึงที่สุดแล้ว แน่นอนเหลือเกิน เราจะต้อง ประสบชัยชนะ การบริหารร่างกายโดยวิธีแกว่งแขนนี้มีเหตุผลและหลักวิชาที่ลึกซึ้งแยบยล มิใช่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติไป โดยหลงงมงาย ขาดเหตุผลแต่อย่างใด

ฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปรารถนาในความมีสุขภาพแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม ควรศึกษาและทำความเข้าใจ วิธีปฏิบัติ ไปตามลำดับโดยเริ่มตั้งแต่

1. เรียนรู้หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
2. เคล็ดวิชา 16 ประการ ของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
3. เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

อ้างอิง http://board.agalico.com/showthread.php?t=11441



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#3   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:54:07 ]

หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล
2. ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่างเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหน้า
3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ
4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรกเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้
5. สายตาทั้ง 2 ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น
6. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า ?ว่างและเบา? แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง? สอง? สาม? ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า ?แน่นหรือหนัก? แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา


สรุป แล้วก็คือ ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง


****รายละเอียดต่าง ๆ ไปขออ่านได้ที่หนังสือกายบริหารแกว่งแขน(คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น) ที่วัดโพธิ์แมนคุณาราม
อ้างอิง http://board.agalico.com/showthread.php?t=11441



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#4   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:54:31 ]

คำอธิบายเคล็ดวิชา 16 ประการ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง หมายถึง ส่วนบนของร่างกาย คือ ศีรษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่า อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ
2. ส่วนล่างควรให้แน่น หมายถึง ส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า ?ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น? จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหารหากไม่สามารถข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว
3. ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะของท่าต้องปล่อยสบาย ๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ จะต้องปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เร็ง ไม่ควรโน้มศีรษะไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้าง ๆ ต้องมองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า
4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ไม่ควรหุบปากแน่น หรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขนไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น
5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือกล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย
6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยแผนหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ
7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง
8. ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ
9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้าง ไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยตามธรรมชาติ
10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้างนั้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน
11. สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนนั้นฝ่ามือด้านในหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกำลังพายเรือ
12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น
13. ช่วงขาผ่อนคลาย หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา
14. บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ระหว่างทำกายบริหารนั้น ต้องหดกันคือ ขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปในลำไส้
15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ขณะที่ยืนนั้นปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง
อ้างอิง http://board.agalico.com/showthread.php?t=11441



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#5   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:54:47 ]

เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

ข้อพิเศษของคัมภีร์คือ ?บนสาม ล่างเจ็ด? ส่วนบน ?ว่างและเบา? เรียกว่า ?บนสาม? แต่ส่วนล่างแน่นและหนัก เรียกว่า ?ล่างเจ็ด? การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง

ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะส่วนบนแข้งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุมกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคพัยทั้งหายในร่างกายถูกขจัดออกไปเองจนหมด

อธิบายเคล็ดลับพิเศษ ?บนสาม ล่างเจ็ด?

คำว่า ?บนสาม ล่างเจ็ด? หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย
?บน? คือส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ
?ล่าง? คือ ส่วนบ่างของร่างกาย หมายถึง เท้า
?สาม? หมายถึง ใช้แรงสามส่วน
?เจ็ด? หมายถึง ใช้แรงจ็ดส่วน
เคล็ดวิชาคำว่า ?บนสาม ล่างเจ็ด? มีความหมาย 2 ประการ คือ

ประการที่ 1 ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน

ประการที่ 2 ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึง ถ้านับกันทั้งตัวการออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบ คือ บน : ล่าง เท่ากับ 3 : 7 (บนต่อล่าง เท่ากับสามต่อเจ็ด) คือแกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง 3 ต่อ 7 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากแกว่งมือแรง เท้าก็ต้องอกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า ?ส่วนบนว่าง ส่วนล่างเบา? หรือ ?บนสามบ่างเจ็ด? ถ้าแขนออกแรงแต่เท้าไม่ออกแรงเป็นการบริหารที่ไม่สมบูรณ์แบบ คือรู้จักใช้แต่แขนลืมใช้เท้า กรณีนี้จะทำให้ยืนได้ไม่มั่นคง ทำให้รู้สึกคล้าย จะหงายหลังล้ม การที่ไม่ต้องการให้ออกแรง มิใช่ว่าจะปล่อยเลยทีเดียว การที่ให้ออกแรงก็มิใช่ว่าให้ออกแรงจนสุดแรงเกิด การปล่อยให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายโดยไม่ออกแรงเลยจนนิดเดียวก็จะไม่ได้ผล เพราะผิดหลัก ผิดอยู่ที่อัตราส่วนเนื่องจากแรงที่เท้าน้อยไป คือ ออกแรงเท้าเท่ากับส่วนบนนั่นเอง หรือหากแขนจะออกแรงมากไปสักหน่อยก็จะกลับตาละปัตร กลายเป็นว่าส่วนล่างว่างส่วนบนแน่น

การแกว่างแขน ข้อสำคัญต้องระวังที่แขนให้มาก เมื่อต้องการให้ออกแรงก็มักจะคิดแต่การออกแรงที่แขน ลืมไปว่ายังมีเท้า ยังมีเอวที่จะต้องมีส่วนช่วยการเคลื่อนไหวเหมือนกัน

การเคลื่อนไหวออกแรงของเท้าและเอวนี้สำคัญมากกว่าแขนเสียอีก การที่กล่าวเช่นนี้บางท่านอาจไม่เข้าใจ หากเคยฝึกมวยจีน ไทเก็กหรือศึกษาหลักการแพทย์จีนสมัยโบราณเกี่ยวกับเส้นเอ็นและชีพจนแล้วก้จะเข้าใจได้ไม่ยากนัก แขนที่แกว่งนั้นจะแกว่งไปจากเอวของเรา แต่รากฐานของเอวอยู่ที่เท้าเมื่อเป็นเช่นนี้หากส่วนบน (แขน) ออกแรงแกว่งสะบัด แต่ส่วนล่าง (เท้า) ไม่ออกแรงยึดเกาะพื้นไว้ ให้มั่นคงเราก็จะเสียการทรงตัว ขาดความสมดุลย์กัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนไม่น้อย ก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลย์ เป็นอัมพาตก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลย์เช่นกัน ความดีเด่นของการแกว่งแขนที่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดก็คือ สามารถช่วยแก้ไขและปรับความไม่สมดุลย์ต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง

เมื่อเราจะแก้ไขและปรับความสมดุลย์ของร่างกายแล้ว ทำไมจะต้องออกกำลังเท้าด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่ฝ่าเท้าของคนเรามีจุด ซึ่งทางแพทย์จีนเรียกว่า ?จุดน้ำพุ? จุดนี้ติดต่อไปถึงไต หากหัวใจเต้นแรงหรือนอนไม่หลับ ถ้าทีการบีบนวด ตรงจุดน้ำพุน ี้ก็สามารถ ทำให้ประสาทสงบ ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้ ตามตำรายังกล่าวไว้ว่า ?ที่ฝ่าเท้ามีจุดอีกหลายจุด เกี่ยวโยงไปถึง อวัยวะภายในของคนเรา? เมื่อเราทราบตำแหน่งของจุดนั้น ๆ แล้วก็จะสามารถรักษาโรคซึ่งเกิดกับอวัยวะเหล่านั้นได้เช่นกัน

ดังนั้นการออกกำลังโดยวิธีแกว่งแขนก็คือการปรับร่างกายให้สมดุลย์ ซึ่งเป็น ?การบำบัดรักษาโรคนั่นเอง?

การที่มีคำกล่าวว่า ?โรคร้อยแปดอาจรักษาให้หายได้ด้วยเข็มเพียงเล่มเดียว? หลายคนคิดว่าออกจะเป็นการอวดอ้างเกินความจริง แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้แตกฉานในวิธีฝังเข็มรักษาโรคย่อมได้ประจักษ์แจ้งความจริงด้วยตนเองแล้ว ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่า การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได้ร้อยแปดนั้น จึงพูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการอวดอ้างเกินความจริงแน่ เพราะวิชากายบริหารแกว่งแขนนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในตัวเองอยู่แล้ว



มือกระบี่ไร้นาม
#6   มือกระบี่ไร้นาม    [ 05-08-2008 - 20:55:05 ]

ดีครับ



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#7   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:55:19 ]

การจับชีพจร

การจับชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ?แมะ? นั้นเป็นการค้นพบ ที่สำคัญอย่างยิ่ง ของแพทย์จีนแผนโบราณ แพทย์จีน ในสมัยโบราณ ได้ศึกษาเกี่ยวกับ หลักการเต้นของชีพจร ไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และมีผลงาน เป็นเกียรติประวัติ เป็นที่แพร่หลายกว้างขวาง จากการเฝ้าสังเกต การเปลี่ยนแปลง ของชีพจร ทำให้สามารถ รู้ถึงสภาพของร่างกาย ว่าแข็งแรง หรืออ่อนแอประการใด เหตุที่การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได ้ก็เพราะการแกว่งแขน สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข สภาพของร่างกาย เมื่อแก้ไขสภาพของร่างกายได้ ผลสะท้อน ก็จะแสดงออกไปยังชีพจรด้วย

ตัวอย่างเกี่ยวกับการจับชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรค

1. โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปชีพจรจะลอยสูงเน้นเร็วเกินไป ความดันโลหิตยิ่งสูง ชีพจรก็จะยิ่งเต้นเร็วเป็นเงาตามตัว ดังนั้นโรคหัวใจกับความดันโลหิตสูง จึงเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ชีพจรของคนปกติจะเต้นอยู่ระหว่าง 60 ? 80 ครั้งต่อนาที มีการเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอเต้นอย่างลึก ๆ และอย่างมีแรง ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจผู้สูงอายุ และผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การเต้นของชีพจรจะอยู่ในระหว่าง 60 ครั้งต่อนาที แต่เต้นอ่อน และผู้ป่วยที่เป็นโรความดันโลหิตต่ำการเต้นของชีพจรก็จะมีกำลังอ่อนเช่นกัน

2. โรคประสาท โรคจิต โรคไต ชีพจรจะเต้นเร็วบ้างช้าบ้างไม่สม่ำเสมอ

3. โรคเกี่ยวกับโลหิต เกี่ยวกับน้ำเหลือง ชีพจรเต้นช้ามีแรงอ่อนมาก จนกระทั่งบางรายคลำดูไม่รู้สึกว่าเต้น บางราย ชีพจรทางซ้ายกับขวาเต้นไม่เหมือนกัน เมื่อชีพจรทางซ้ายและขวาขัดกันเช่นนี้ การหมุนเวียนของโลหิตก็จึงติดขัด

4. โรคอัมพาต คนที่เป็นลม มักมีชีพจรทั้ง 2 ข้างต่างกัน บางรายการเต้นของชีพจรแต่ละข้างต่างกันถึง 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเกี่ยวโยง กับโรคไขข้ออักเสบเหมือนกัน เมื่อข้างหนึ่งทางเดินของเลือดติดขัดไม่สะดวก อีกข้างหนึ่งก็จะมีกำลังกดดันมากขึ้น

โรคดังกล่าว เหล่านี้ล้วนสามารถรักษาให้หายได้โดยการฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

กายฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นสามารถควบคุมการเต้นของชีพจรให้เป็นปกติได้อย่างไร

โรคชีพจรเต้นเร็ว การที่ชีพจรเต้นเร็วก็เพราะ โลหิตในร่างกายของเรา ไม่สามารถบังคับการไหลของโลหิตให้เป็นปกติ เมื่อบังคับและควบคุมไม่ได้ ลมก็เสีย สาเหตุเนื่องจากปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน จะทำให้ สามารถเสริมสร้างบำรุงโลหิต และยังบังเกิดผลในการบังคับควบคุมได้ด้วย

การออกำลังด้วยการบริหารแบบนี้ สามารถบำรุงและเสริมสร้างโลหิตได้ก็เพราะ เมื่อกระเพาะและลำไส้ ได้รับการออกกำลัง จึงเสมือนกับได้รับการนวดเฟ้น ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทำให้กระเพราะอาหาร และลำไส้ สามารถรับเอาอาหารไปบำรุงร่างกาย ได้อย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ ก็เพราะการหมุนเวียน ของโลหิตติดขัด และปริมาณของโลหิตไม่เพียงพอ การบริหารแกว่งแขนจะทำให้มือและเท้าได้รับการบริหาร และหลังของเรา จะพลอยได้รับการเคลื่อนไหวด้วย สิ่งกีดขวางทางเดิน ของเลือดลมในทรวงอก และช่องท้องจะถูกขจัดไป โลหิตที่คั่งก็จะกระจายหายคั่ง เมื่อนั้นชีพจรจึงจะเต้นเป็นปกติ

การแก้ไขชีพจรให้ดีได้ ก็โดยถือหลักของแพทย์จีนแผนโบราณที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ?ชีพจรขึ้นมาจากส้นเท้า? เวลาทำกายบริหารแกว่งแขน น้ำหนักการทรงตัวทั้งหมดอยู่ที่เท้า เมื่อเท้าได้รับการออกแรงก็เปรียบเหมือนต้นไม่ที่ใช้รากยึดเกาะถึงพื้นดิน และคล้ายกับการตอกเสาเข็มซึ่งตอกลึกลงไป ๆ ทำให้เกิดมีอาการบีบนวดเลือดลมที่บริเวณเท้า แล้วส่งกระจายออกไปทั่วร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระดูก ไขข้อ ก็จึงไม่ยากที่จะแก้ไขได้
ดังนั้นกายบริหารแกว่งแขน จึงมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคภัยเรื้อรังและร้ายแรงต่าง ๆ ได้อย่งเกินความคาดฝันทีเดียว

กายบริหารแกว่งแขน เพื่อรักษาโรคอัมพาต

โรคอัมพาตหรืออาการที่ตายไปครึ่งตัว เป็นลม ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ ส่วนมากโรคเหล่านี้ มักจะเกี่ยวเนื่องกัน เกิดขึ้นเพราะ เลือดลมภายในร่างกาย ขาดความสมดุลย์ ซึ่งกระทบกระเทือนการไหลเวียนแจกจ่ายของเลือดลม และทำให้ชีพจร กล้ามเนื้อ และกระดูกไขข้อ เกิดการแปรปรวนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏว่าชีพจรทั้งสองข้างเต้นไม่เท่ากัน คือข้างหนึ่งเต้นเร็วอีกข้างหนึ่งเต้นช้า การเต้นของชีพจรบางครั้งต่างกัน 10 ? 20 ครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาโดยมือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการรู้สึกปวดเมื่อย หรือชา ขาดความรู้สึก ที่จริงส่วนบนกับส่วนล่างก็มักมีปัญหาเช่นกัน ได้แก่ ส่วนบนเลือดคั่ง แต่ส่วนล่างเลือดกลับเดินไม่ถึงเช่นนี้

เหตุใดการออกกำลังโดยการแกว่งแขนจึงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างชะงัด

การออกกำลังแบบนี้ มิเพียงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้ แต่ยังสามารถป้องกันการเป็นลมอีกด้วย การที่คนเราเกิดเป็นลมขึ้นมา ก็เพราะการไหลเวียนของโลหิต ทั้งสองด้านของร่างกายขัดแย้งกัน ดังนั้นชีพจรจึงแสดงการไม่สมดุลย์กันออกมาให้ปรากฏ
แพทย์จีนแผนโบราณให้คำอธิบายไว้ว่า ?ชีพจรนั้นได้เริ่มจากส้นเท้า? การทำกายบริหารแกว่งแขนมีประโยชน์ก็เพราะหลังจากแกว่งแขนแล้ว ชีพจรจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติ ชีพจรเป็นเสมือนตัวแทนของอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา สาเหตุของโรคอัมพาตก็คือ ศีรษะหนักเท้าเบา ซึ่งเท่ากับส่วนบนหนัก ส่วนล่างว่าง กรณีเช่นนี้จึงเป็นความผิดปกติอย่างยิ่งเพราะที่ถูกต้องร่างกายของคนเราส่วนบนต้องเบา และส่วนล่างต้องหนัก

กายบริหารแกว่งแขนเพื่อพิชิตโรคมะเร็ง

สมุตติฐานของโรคมะเร็งคืออะไร

ตามหลักการแพทย์จีนโบราณ มะเร็งและเนื้องอกเป็นผลจากการรวมตัวเกาะกันเป็นก้อนของเลือดลม และเส้นชีพจรติดขัด ระบบ การขับถ่ายของเสีย ไม่ทำงาน การหมุนเวียนของโลหิตไม่สะดวก และโลหิตไหลช้าลง นำเหลือง น้ำดี น้ำเมือก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ เมื่อการหมุนเวียนของโลหิตขาดประสิทธิภาพ และทำงานไม่เต็มที่ พลังงานหรือความร้อนก็ไม่เพียงพอ จึงทำให้ระบบขับถ่าย และระบบ ย่อยอาหารไม่ทำงาน แต่เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขนแล้วจะช่วยให้เจริญอาหาร เม็ดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างได้รับการออกกำลัง อาการเกร็งซึ่งแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาก็จะหายไป เยื่อบุช่องท้องจะได้รับการบริหารขึ้น ๆ ลง ๆ ตื่นตัวอยู่เสมอ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากระตุ้นและบีบบังคับลม เคลื่อนไหวระหว่างไต เมื่อโลหิตสามารถผลิตความร้อน ก็จะเกิดพลังในการรับของใหม่ แล้วถ่าย ของเก่าออก เช่นนี้แล้ว จึงมีประโยชน์ทางบำรุงเลือดลมด้วย

อนึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่งดบริโภคเนื้อสัตว์ หันมารับประทานอาหารพืชผัก อาหารมังสวิรัต อาหารเจ ซึ่งมีปริมาณใยมาก จะช่วยให้เลือดในกายสะอาด สามารถขับพิษออกจากร่างกายได้เร็ว และส่งผลให้การแกว่งแขนบำบัดโรคประสบผลเร็วยิ่งขึ้น

กายบริหารแกว่งแขนกับการรักษาโรคตา

การทำกายบริหารแกว่งแขน มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคตา มีบางท่านใช้แว่นสายตาหนามาก แต่เมื่อได้ทำกายบริหารแกว่งแขน ระยะหนึ่ง กลับไม่ต้องใช้แว่นอีกเลย มีบางคนอ่านหนังสือพิมพ์รู้สึกลำบาก มองไม่ค่อยจะเห็น อ่านแต่ละตัวต้องเพ่งแล้วเพ่งอีก หนังสือ (เน่ยจัง) คัมภีร์แพทย์เล่มแรกของจีนกล่าวไว้ว่า ?ตาเมื่อได้รับเลือดหล่อเลี้ยงจึงสามารถมองเห็น? แสดงว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่เลือด เมื่อเลือด เดินไปไม่ทั่วถึง ทุกส่วนของร่ายกายก็จะเกิดโรคต่าง ๆ อย่างแน่นอน ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั่วร่างกายมีส่วนสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชีพจร เส้นเลือด ทางลม หากเลือดหมุนเวียนทั่วทุกส่วน เราก็จะรู้สึกสบาย ไม่เจ็บป่วย ถ้าใครคิดว่า ดวงตานั้นมีระบบอยู่อย่างเอกเทศ ตัดขาด จากกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้เมื่อเราได้ทำกายบริหารแกว่งแขนทั่ว ๆ ไป จะรู้สึกเจริญอาหาร เดินกระฉบับกระเฉง นอนหลับสบาย ท้องก็ไม่ผูก ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า ระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกาย (METABLISM) นั้นทำงานดี

กายบริหารแกว่งแขนรักษาโรคตับ

กายบริหารแกว่งแขน สามารถรักษาโรคตับแข็ง และโรคท้องมานให้หายขาดได้ ถ้าเป็นตัวบวมหรือตับอักเสบ การแกว่งแขน ก็จะยิ่งรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าตัวการที่ทำให้เกิดโรคประเภทนี้ก็คือ เลือดลมเช่นกัน การที่เลือดลมผิดปกติ จะทำให้ตับเกิดปฏิกริยา เกิดมีน้ำขังและไม่สามารถขับถ่ายออกได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะรู้สึกจุกแน่น อึดอัดจนกระทบกระเทือนไปถึงกระเพาะ ม้าม และถุงน้ำดีด้วย เมื่อเราทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะขจัดปัญหาเหล่านี้ไปได้ เป็นต้นว่า เมื่อลงมือทำการแกว่งแขนจะมีอาการเรอ สะอึด ผายลม อาการเหล่านี้เป็นสิ่งดีอันเนื่องจากผลทางการรักษาโรค ทั้งนี้ก็เพราะเข้ากฎเกณฑ์ตามตำราจีนแผนโบราณที่ว่า ?เลือดลมผ่านตลอดทั้งสามจุด?

?จุดสามจุด? ตามตำราแพทย์จีนโบราณหมายถึง 1 ทางข้าว 2. ทางน้ำ 3. เนินที่เริ่มต้น และจุดที่สิ้นสุดของลม ได้แก่ จุดบน อยู่ที่ปากกระเพาะด้านบน มีหน้าที่รับเข้าไม่รับออก จุดล่าง คือ ภายในส่วนกลางของกระเพาะ มีระดับไม่สูงไม่ต่ำ มีหน้าที่ย่อยข้าวน้ำ จุดต่ำ อยู่เหนือกระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่แบ่งแยกสิ่งสะอาดและสิ่งสกปรกออกจากัน และมีหน้าที่ขับถ่าย

เมื่อตับเกิดอาการแข็ง ส่วนที่แข็งคือส่วนที่ต้องตายไป อาการแข็งเป็นเรื่องของวัตถุธาตุซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสมรรถภาพที่เสื่อมถอย ไม่มีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังมีสิ่งขัดแย้งเป็นปัญหาอีกก็คือ เลือดที่เสียคั่งค้างไม่เดิน เพราะแรงขับดันเคลื่อนไหวไม่พอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะกระตุ้นให้เลือดลมตื่นตัวหมุนเวียนเร็วขึ้น และจะทำให้เจริญอาหาร ช่วยเพิ่มเม็ดเลือด เปิดทวารทั้งเก้าและรูขน ตับที่อยู่ในสภาพเกาะติด จนแข็ง ก็จะเริ่มฟื้นตัวมีชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ตับที่แข็งก็จะกลายเป็นอ่อน นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างหนึ่ง

เมื่อเรากล่าวถึง สภาพการแข็งตัวก็คือการต่อสู้ระหว่างพลังใหม่กับพลังเก่า จากผลของการต่อสู้ หากพลังเก่าได้ชัยชนะ โรคก็จะกำเริบ หนักขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากพลังใหม่มีอำนาจเหนือพลังเก่า สิ่งที่อยู่ในสภาพแข็งตัวก็จะค่อย ๆ อ่อนลง การแกว่งแขนนั้น ให้คุณประโยชน์ ทางเสริมสร้างพลังใหม่ ให้สามารถต่อสู้กับสภาพแข็งตัวของตับได้ ความรู้ที่ค้นพบนี้นับว่า เป็นอัจฉริยะ ชิ้นโบว์แดง ในวงการแพทย์จีนโบราณทีเดียว

อ้างอิง http://board.agalico.com/showthread.php?t=11441



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#8   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:57:05 ]

นี่คือปรัชญาเซนของท่านครับ

คำสอนเซ็น


โพธิธรรมคำสอน...(ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)

พุทธยานันทภิกขุ แปลและเรียบเรียง

วันที่ 5 มีนาคม 2547 มีโอกาสไปทอดผ้าป่าที่วัดป่าโสมพนัส บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร ได้ทราบว่าคณะญาติธรรมวัดป่าโสมพนัสกำลังเตรียมต้นฉบับ เพื่อจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนเซ็น โพธิธรรมคำสอน...(ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย พุทธยานันทภิกขุ

ความตั้งใจของคณะญาติธรรมวัดป่าโสมพนัส คือ พิมพ์เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน พระมหาปัญโญภิกขุได้กรุณาให้นำต้นฉบับมาเผยแพร่ในลานธรรมเพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาให้ข้อเสนอแนะก่อนจัดพิมพ์เป็นหนังสือต่อไป


คำปรารภการแปล
ข้าพเจ้าได้รับต้นฉบับคำสอนของท่านโพธิธรรมที่เป็นภาษาจีน และภาษาอังกฤษจากคุณรณชัย เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าชอบมาก เลยลงมือแปลเล่น ๆ เพื่อให้เพื่อนนักปฏิบัติกรรมฐานร่วมกันในขณะนั้นได้อ่านเพื่อการศึกษา เพราะแนวคำสอนหลัก ๆ ตรงกับแนวคำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ที่พวกเราสมาทานปฏิบัติกันอยู่ แม้ท่านปรมาจารย์ทั้งสองท่าน จะมีชีวิตห่างกันกว่า 2 พันปีแล้วก็ตาม แต่แนวความคิดและคำสอนตรงกันอย่างน่าประหลาด จึงนึกถึงคำพูดของหลวงพ่อเทียนที่ว่า “ ธรรมะแท้เป็นสิ่งเดียวกัน ” ไม่ว่าจะต่างกันกี่พันปีก็ตาม


ดังนั้น เมื่อปลายปี 2546 พระอาจารย์สุริยา มหาปัญโญ ได้นำต้นฉบับที่ข้าพเจ้าแปลไว้ให้กลับมาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง เพราะมีผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะพิมพ์เผยแพร่ให้ได้อ่านกันกว้างขวางต่อไป แม้ข้าพเจ้าจะไม่ค่อยมีเวลามากนัก แต่เล็งเห็นประโยชน์ของสาระคำสอน ที่จะสร้างสรรค์สืบทอดนักปฏิบัติจิตตภาวนารุ่นต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจึงตกลงทำการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง


เป็นธรรมดาว่า คำพูดของคนเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว จะนำมาสื่อความหมายกับคนปัจจุบันโดยตรงเป็นเรื่องยากมาก แต่อาศัยว่าท่านได้ใช้ภาษาจิต เป็นหลักการสอน ภาษาจิตเป็นภาษาที่อยู่เหนือกาลเวลา สามารถสื่อกันรู้เรื่องได้ ทุกยุคทุกสมัย คือภาษาธรรมะเป็นภาษาที่ไม่ล้าสมัย ด้วยความเข้าใจเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงได้แปลและเรียบเรียงขยายความ ผสมผสานกัน จนสื่อความหมายได้ระดับหนึ่ง ดังนั้น ลักษณะของการเขียนจึงมี 4 ลักษณะด้วยกัน
1. การแปลโดยตรง
2. ขยายความ ( ในวงเล็บ – ผู้แปลไทย )
3. ข้อสังเกต
4. เรียบเรียงความไม่ชัดให้ชัดขึ้น
แต่รับรองได้ว่าเนื้อหาสาระ และความหมายยังคงเดิมทุกประการไม่ผิดเพี้ยน แต่ท่านต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณาหลาย ๆ รอบ จึงจะเข้าใจได้ครบถ้วน แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ผู้อ่านต้องมีพื้นฐานการเจริญวิปัสสนามาก่อน พอสมควร มิฉะนั้นแล้ว ก็ยากจะเข้าใจได้ครบถ้วนและแจ่มแจ้ง เพราะผู้พูดพูดด้วยคารมการวิปัสสนา ผู้แปลก็แปลด้วยสำนวนวิปัสสนา ดังนั้น ผู้อ่านก็ต้องอ่านด้วยอารมณ์วิปัสสนา ถึงจะสื่อความหมายถูกต้องและตรงกัน ถ้าผู้อ่านจะอ่านหนังสือเล่มนี้ให้เข้าใจ ต้องไปปฏิบัติวิปัสสนาให้เข้าใจเสียก่อน มิฉะนั้น ท่านจะงุนงง สับสนในการอ่านเป็นอันมาก เช่น สำนวนท่านพูดว่า
“คนบูชาย่อมไม่รู้ คนรู้ย่อมไม่บูชา” ( Those who worship don’t know, and those who know don’t worship.) เป็นต้น ข้อความเดิมเป็นเช่นนี้ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไรหรือข้อความต้นฉบับที่ว่า
“But why shouldn’t we worship Buddha and Bodhisattava?”
“แล้วทำไมเราจะต้องบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กันอีกละ ?”


ข้อความเหล่านี้ล้วนท้าทายชาวพุทธเถรวาท ให้พิสูจน์ พิจารณากันทั้งสิ้น ตลอดทั้งเล่ม จะมีข้อความเหล่านี้เยอะมาก จึงใคร่ขอให้ผู้อ่านอย่าเพิ่งรับและปฏิเสธ หรือตั้งข้อรังเกียจใด ๆ แต่ขอให้พิจารณาและปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อพิสูจน์ความจริงกันต่อไป


จึงขอบคุณพระอาจารย์สุริยา ที่มีวิริยะอุตสาหะขวนขวายเก็บต้นฉบับแปลไทยเอาไว้ ซึ่งข้าพเจ้าลืมไปแล้วและเมื่อข้าพเจ้าต้องการต้นฉบับภาษาอังกฤษ ท่านก็ขวนขวายมาจนได้อีก ก็นับว่าพระคุณท่านเริ่มเห็นด้วยกับคำสอนของท่านโพธิธรรมบ้างแล้ว และก็หวังว่าผู้อ่านอีกหลาย ๆ ท่านก็เห็นความจริงตามท่านปรมาจารย์โพธิธรรม มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นหมายถึงมิติใหม่แห่งพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นมหายานได้อย่างถูกต้องและกลมกลืนที่สุด เพื่อจะได้เข้าสู่วิถีแห่งวัชรยานในศตวรรษต่อไป


ขอขอบคุณทุกท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและช่วยกัน ทำหนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมาสู่สายตาของสาธุชน ขอท่านทั้งหลายจงเจริญสติสัมปชัญญะ อย่างถูกต้อง จริงจัง ต่อเนื่อง จนเข้าถึงกระแสแห่งพุทธภาวะด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#9   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:57:29 ]

สารบัญ

คำปรารภ ( INTRODUCTION )

บทที่ 1 หลักการปฏิบัติธรรม (OUTLINE OF PRACTICE)
- หลักการปฏิบัติธรรม

บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด (BLOOD STREAM SERMON)
- ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด (โลหิตสูตร)
- จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด
- การตัดเวรตัดกรรมคือการตัดความคิดปรุงแต่ง
- การศึกษาภายนอกมากเกินไป ทำให้ลืมการศึกษาภายใน
- คนตาบอดย่อมไม่รู้จักคนตาบอด
- เพราะตัณหาเกิด ทุกข์ก็เกิด เพราะตัณหาดับ ทุกข์ก็ดับ
- การถ่ายทอดธรรม คือการถ่ายทอดจิตสู่จิต

บทที่ 3 เสียงปลุก ( ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON ) - เสียงปลุก

บทที่ 4 บรรลุธรรม (ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON )
- บรรลุธรรม
- สิ่งที่ท่านเรียกว่า “ วัด ”
- การก่อเจดีย์
- การจุดธูปบูชา
- การบูชาพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง
- ประทีปที่ติดไว้ตลอดเวลา
- การอดอาหาร
- การบูชา
- ห้องน้ำ (อุทกฆรสูตร)

เชิงอรรถบทที่ 1
เชิงอรรถบทที่ 2
เชิงอรรถบทที่ 3
เชิงอรรถบทที่ 4

มดเอ๊ก:


คำปรารภ
INTRODUCTION

พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ประเทศจีนเป็นเวลากว่า 2,000 ปีมาแล้ว ประมาณหลังปี พุทธศักราช 65 คณะสงฆ์แห่งพระพุทธศาสนาตามบันทึกกล่าวว่า ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากกษัตริย์ ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเกียงซู ( Kiang Su ) อันตั้งอยู่ไม่ไกลจากภูมิลำเนาของท่านขงจื้อ คณะสงฆ์กลุ่มแรก น่าจะเดินทางมาถึงก่อนหน้านี้แล้วหลายร้อยปี


ดังนั้น พระภิกษุชาวอินเดียและเอเชียกลาง จำนวนหลายพันรูปได้เดินทางมาสู่ประเทศจีน ทั้งทางบกและทางเรือ ในบรรดาพระสงฆ์ที่นำพระพุทธศาสนามาสู่ประเทศจีนเหล่านี้ ไม่มีใครโดดเด่นเทียบเท่าท่านโพธิธรรมได้เลย


แต่ในยุคของท่าน ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก นอกจากสานุศิษย์ของท่านเพียงไม่กี่คน ท่านโพธิธรรมเป็นสังฆราชแห่งนักบวชเซ็น ( มหายาน ) และนักศึกษากังฟูรวมแล้วหลายล้านคน ท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในพงศาวดารหลายแห่ง


นอกจากลัทธิเซ็นและการฝึกกังฟูแล้ว ท่านโพธิธรรมยังได้นำเอาชามาสู่ประเทศจีนด้วย ตามที่ปรากฏในพงศาวดารคือการแก้ง่วง ( แบบพิสดาร ) ในขณะที่ท่านปฏิบัติกรรมฐาน คือท่านได้เฉือนเอาหนังตาออก เหลือแต่ลูกตา และในสถานที่ที่ท่านทิ้งหนังตานั้นเองปรากฏต้นชาเกิดขึ้นมาแทน


ดังนั้น ใบชาจึงกลายมาเป็นเครื่องดื่ม ไม่เพียงแต่พระเท่านั้นแต่รวมทั้งชนชาวตะวันออกด้วย ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อการกระทำของท่านนั้น นักจิตรกรรมมักจะแกะสลักภาพท่านโพธิธรรมที่มีแต่ลูกตาไม่มีหนังตาเสมอ


มักเป็นเรื่องธรรมดาที่ปรากฏในพงศาวดาร คือ ไม่สามารถแยกเรื่องจริงออกจากเรื่องนิยายได้ ( เรื่องจริง อิงนิยาย ) กาลเวลาในยุคของท่านไม่ค่อยแน่นอน ความจริงแล้ว ข้าพเจ้ารู้จักนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาอย่างน้อยก็ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ท่านโพธิธรรมมีอยู่จริงหรือเปล่า ?


แต่ก็เป็นการเสี่ยงที่จะเขียนถึงคนที่ไม่มีชีวิตอยู่จริง ข้าพเจ้าเองได้ตรวจสอบกับอัตตชีวประวัติที่คล้ายคลึงกันโดยอาศัยบันทึกที่มีอยู่สมัยแรกๆ และจากการคาดคะเนของข้าพเจ้าเองบ้าง และได้จากการจัดรวบรวมหลักฐานที่ปรากฏในธรรมเทศนาของท่านบ้าง


ท่านโพธิธรรม ถือกำเนิดประมาณปีพุทธศักราช 440 ในเมืองกันจิ ( Kanchi ) อันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรปัลลวะ ( Pallava ) ทางอินเดียตอนใต้ ท่านนับถือศาสนาพราหมณ์โดยกำเนิด และเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิงหวรมัน(Simhavarman) เมื่อท่านโตเป็นหนุ่ม ท่านได้หันมานับถือพุทธศาสนา


และกาลต่อมา ท่านได้รับการสอนธรรมะจากท่านปรัชญาตาระ ( Prajnatara ) ซึ่งเป็นครูที่พระบิดาท่านได้นิมนต์มาจากดินแดนสำคัญทางศาสนา คือเมืองมคธและท่านปรัชญาตาระนี้เองที่เป็นผู้แนะนำท่านโพธิธรรมให้เดินทางมาสู่ประเทศจีน แต่การเดินทางไปต่างประเทศตามระเบียบแล้วจำกัดให้เฉพาะพวกฮั่น (Huns : ชนชาวฮั่น) แต่ด้วยชนชาวปัลลวะมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านโพธิธรรมจึงได้โดยสารเรือมาขึ้นใกล้ ๆ กับท่ามหาปัลลิปุรัม ( Mahaballipurum )


หลังจากนั้น ก็ได้เดินลัดเลาะมาตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียมาทางเกาะมาเลย์เป็นเวลา 3 ปี ในที่สุดท่านก็มาถึงจีนทางภาคใต้ ประมาณปีพุทธศักราช 475


ในสมัยนั้นประเทศจีนตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็น 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ ไว่ (Wei) และราชวงศ์หลิวซ่ง ( Liu – Sung ) ต่อมาประเทศจีนถูกแบ่งเป็นราชวงศ์ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยเริ่มจากศตวรรษที่สามและเรื่อยมา


ต่อมาก็กลับมาเข้าร่วมกันใหม่ ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซุย ( Sui ) มาถึงตอนปลายของศตวรรษที่หก ในช่วงแห่งการแบ่งแยกและต่อสู้ชิงกันนี้ พระพุทธศาสนาแบบอินเดียก็พัฒนาผสมผสานเข้ากันเป็นพุทธศาสนาแบบจีน ประชาชนฝ่ายเหนือมีจิตใจฝักใฝ่การปกครองแบบทหาร จึงมีแนวโน้มการทำกรรมฐานเพื่อให้เกิดอำนาจขลังศักดิ์สิทธิ์มากกว่า ส่วนประชาชนฝ่ายใต้ฝักใฝ่เหตุผลและสติปัญญา จึงชอบการวิเคราะห์ด้วยหลักปรัชญาและหลักปรีชาญาณตามคำสอนของศาสนา


เมื่อท่านโพธิธรรมมาถึงประเทศจีน ซึ่งอยู่ในช่วงหลังของศตวรรษที่ห้า มีวัดในพระพุทธศาสนาประมาณ 2,000 วัด และมีพระประมาณ 36,000 รูป ทางตอนใต้


ทางตอนเหนือ ตามที่สำรวจในปี พ.ศ. 477 มีวัดประมาณ 6,500 วัด และมีนักบวชเกือบ 80,000 รูป ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าอีก 50 ปี ต่อมา


ที่สำรวจกันอีกแห่งหนึ่งที่ทำไว้ ทางตอนเหนือมีวัดเพิ่มจำนวนมากถึง 3,000 วัด และมีพระมากถึง 2,000,000 รูป หรือประมาณ 5 % ของประชากรทั้งหมด


แน่นอนว่าสถิตินี้ คงจะรวมเอาประชาชนที่พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี , พวกหนีการเกณฑ์ทหาร หรือพวกแสวงหาการคุ้มครองจากทางศาสนาและลัทธิอื่น ๆ อีกทั้งเหตุผลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องศาสนาด้วย


แต่เป็นที่แน่ชัดว่า พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้าสู่สามัญชน ทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซีเกียง ทางตอนใต้พุทธศาสนายังเผยแพร่อยู่ในกลุ่มของผู้ดีมีการศึกษา จนกระทั่งมาถึงศตวรรษที่ 6


เมื่อท่านโพธิธรรมมาถึงท่าเรือหนานไห่ (Nanhai) อาจเป็นได้ว่า ท่านได้รับนิมนต์จากศูนย์พุทธศาสนาทางตอนใต้ของจีนและเริ่มศึกษาภาษาจีน เมื่อเดินทางมาจากอินเดีย ยังไม่ได้ศึกษาภาษาจีนมาก่อนเลย
ตามบันทึกของท่านเต้าหยวน (Tao-Yuan) ในหนังสือชื่อว่า “ Transmission Of The Lamp” (การถ่ายทอดประทีปธรรม) ซึ่งบันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 1002 ระบุว่า ท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึงตอนใต้ของจีน อย่างช้าประมาณ พ.ศ. 520 และได้รับนิมนต์ให้พักอยู่ที่เมืองหลวงชื่อว่า เฉียนกัง (Chienkang) เพื่อแสดงธรรมตามคำนิมนต์ของพระจักรพรรดิหวู ( Wu) แห่งราชวงศ์เหลียง ในการพบปะกันครั้งนี้ พระเจ้าจักรพรรดิได้ตรัสถามถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทาน ในพุทธศาสนาท่านโพธิธรรมได้ตอบตามหลักคำสอนว่าด้วยความว่าง (หรือตอบด้วย สำนวนปรมัตถ์ )ปรากฏว่าพระจักรพรรดิไม่สามารถเข้าใจคำตอบของท่านได้ ท่านโพธิธรรมก็จากไป แต่บันทึกยุคแรก ๆ มิได้เอ่ยถึงการพบปะของบุคคลทั้งสองไว้เลย


จะอย่างไรก็ตาม ท่านโพธิธรรมได้ข้ามมาทางแม่น้ำแยงซี , ตามตำนานที่บันทึกไว้ในเรื่อง Hollow Reed ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศ ระบุว่า ครั้งแรกท่านได้พักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเมืองไว่ (Wei) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นปิงเซ็ง(Ping-Cheng)


ในปี พ.ศ. 494 เมื่อจักรพรรดิ เฉา – เวน (Hsiao – Wen ) ได้ย้ายเมืองหลวงจากทางใต้ ไปอยู่ที่โลหยาง (Loyang) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งด้านเหนือของแม่น้ำโล พระสงฆ์ส่วนมากที่อาศัยอยู่เมือง ปิงเซ็ง ( PingCheng ) ก็ย้ายตามไปด้วย และท่านโพธิธรรมก็อาจจะย้ายตามพระสงฆ์กลุ่มนี้ไปด้วย


ตามบันทึกของท่านเต้าส่วน (Tao – Hsuan) ชื่อว่าชีวิตพระผู้เป็นแบบอย่างในอนาคต (Further lives of exemplary monk) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ท่านได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 645 บอกว่าท่านโพธิธรรมได้ให้การอุปสมบทแก่พระรูปหนึ่งชื่อว่า เช็ง–ฟู (Sheng-Fu) เมื่อเมืองหลวงถูกย้ายมาอยู่ที่ โลหยาง ท่านเช็ง- ฟู ก็ย้ายไปทางใต้ ตามปกติเมื่อบวชแล้วต้องฝึกฝนตนเองอยู่กับอาจารย์ถึง 3 ปี แต่ท่านโพธิธรรมก็ยังพักอยู่ทางตอนเหนือของเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 490 และสนทนาเป็นภาษาจีนได้บ้างแล้ว


ห้า – หกปีต่อมา ประมาณ พ.ศ. 496 พระเจ้าจักรพรรดิ ได้รับสั่งให้สร้างวัดเส้าหลินขึ้น ซึ่งอยู่ติดกับภูเขา ซ่ง (Sung) ที่จังหวัด โหหนาน (Honan) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโลหยาง ปัจจุบันนี้วัดนั้นก็ยังมีอยู่ ( เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวชอบไปกันมากที่สุด ) ซึ่งสร้างไว้เป็นที่พักของอาจารย์กรรมฐานรูปอื่น มิใช่ท่านโพธิธรรม วัดนี้เป็นวัดที่พระสงฆ์เซ็น แวะเวียนมาอยู่พักอาศัยตั้งแต่อดีตเป็นเวลา 1,500 ปีมาแล้ว


ท่านโพธิธรรม เป็นพระเพียงองค์เดียว ที่นักประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนานำมาโยงเข้ากับประวัติของวัดเส้าหลิน


ณ ที่ยอดเขาเฉาฉือ (Shaoshih) ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของภูเขาซ่ง ( Shung) ตามประวัติกล่าวว่า ท่านโพธิธรรม ได้ใช้เวลาบำเพ็ญกรรมฐาน ณ ที่ตรงนี้ ถึง 9 ปี โดยนั่งสมาธิแล้ว หันหน้าสู่กำแพงหินของถ้ำ ห่างจากวัดเส้าหลินไปเพียง 1 ไมล์ ต่อมาวัดเส้าหลินกลายเป็นสำนักฝึกกังฟูของพระสงฆ์ และท่านโพธิธรรมก็ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้ง ศิลปะกังฟูด้วย ด้วยเหตุที่ท่านเดินทางมาจากอินเดีย ( อันเป็นดินแดนลือชื่อเกี่ยวกับศิลปะการฝึกโยคะ ) แน่นอนว่า ท่านคงได้ฝึกฝนหลักการทำโยคะให้แก่สานุศิษย์ ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างก็ได้ แต่ในบันทึกชั้นต้น ๆ ไม่ได้เอ่ยถึงการสอนกังฟู หรือการออกกำลังกายและศิลปะแบบตะวันออกใด ๆ เอาไว้เลย

มดเอ๊ก:



ผ่านมาถึง พ.ศ. 500 เมืองโลหยาง กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ซึ่งมีประชากรมากกว่าครึ่งล้าน เมื่อจักรพรรดิซุนหวู (Hsuan – Wu) สวรรคตลงในปี พ.ศ. 516 จากนั้นพระจักรพรรดินีหลิง (Ling) ผู้เป็นพระชายาก็ส่งทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล บทบาทต่อพุทธศาสนาอันดับแรกของเธอ ก็คือ สั่งให้สร้างอาราม ชื่อว่าย่ง – หนิง ( Yung – Ning) ได้สร้างพระเจดีย์สูงถึง 400 ฟุต ทรัพย์สินในท้องพระคลังถูกใช้จ่ายไปในการก่อสร้างเกือบหมดสิ้น ตามบันทึกของวัดโลหยาง กล่าวไว้ ในปี พ.ศ. 547 โดยท่าน หยางฉวนฉี่ ว่า “ระฆังทองที่แขวนไว้ตามระเบียงโบสถ์ ก็สามารถได้ยินไกลออกไปถึง 3 ไมล์ และยอดพระเจดีย์สูง สามารถมองเห็นได้ระยะไกลเกินกว่า 30 ไมล์” บันทึกของท่านหยางฉวนฉี่ รวมทั้งข้อคิดเห็นของพระที่มาจากตะวันตก เชื่อว่า ท่านโพธิธรรมได้กล่าวไว้ว่า “ วัดนี้มีโครงสร้างที่โดดเด่นสง่างามมากที่สุดเท่าที่เห็นมา” วัดนี้ยังสร้างไม่สำเร็จ มาจนถึงปี พ.ศ. 516 และต่อมาก็ถูกไฟไหม้ ในปี พ.ศ. 534


ท่านโพธิธรรม ก็ยังอยู่ที่เมืองหลวงมาถึงราว พ.ศ. 520 บันทึกยุคแรก ๆ บอกว่า ท่านเดินผ่านอาณาจักรโลหยาง ไป – มา บริเวณนี้ในบางโอกาส ที่เมืองแห่งนี้ ท่านได้พักประจำอยู่ที่วัด ย่ง – หมิง ( Yung – Ming ) อย่าจำสับสนกับวัด ย่ง – หนิง ( Yung – Ning ) วัดย่ง - หมิง ได้สร้างมาก่อนวัด ย่ง - หนิง คือประมาณต้น ๆ ศตวรรษที่ 6 โดยพระเจ้าจักรพรรดิซุนหวู เพื่อเป็นสำนักที่พักพิงของสงฆ์ชาวต่างประเทศก่อนหน้าที่จะมีการอพยพครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงของการล่มสลาย ของอาณาจักรไว่ ทางตอนเหนือ ในปี พ.ศ.534 ตามรายงานบอกว่า วัดนี้มีพระสงฆ์ซึ่งมาจากประเทศต่าง ๆ ตลอดถึงประเทศซีเรีย ถึง 3,000 องค์


แม้ว่าพุทธศาสนิกในประเทศจีน ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม ท่านโพธิธรรมก็ได้สานุศิษย์ที่แท้จริงเพียง 2-3 ท่าน คือ ท่านเช็งฟู ผู้ซึ่งต่อมาได้ย้ายลงมาอยู่ทางตอนใต้ หลังจากอุปสมบทแล้วไม่นานสานุศิษย์องค์อื่น ๆ ที่ถูกเอ่ยถึงอีก 2 รูป ก็คือท่านเต้าหยู ( Tao-yu ) และท่านฮุ้ยค้อ ( Hui- Ko )


ท่านทั้งสองที่กล่าวถึงนี้ ได้อยู่ศึกษากับท่านโพธิธรรมเป็นเวลา 5-6 ปี ท่านเต้าหยูที่พูดถึงนี้แม้ท่านเข้าใจธรรมะแต่ก็ไม่เคยสอน


สำหรับท่านฮุ้ยค้อ ท่านโพธิธรรมได้มอบบาตรและจีวรให้รับช่วงเป็นธรรมทายาทแทน แต่ฉบับแปลของท่านคุณาภัทระ (Gunabhadra) ในเรื่องลังกาวตารสูตรกล่าวว่า ท่านโพธิธรรมได้มอบตำแหน่งธรรมทายาทให้แก่ท่านเต้าส่วน


ในธรรมเทศนานี้ แม้ท่านโพธิธรรมแสดงไว้ ส่วนมากนำมาจาก นิรวาณสูตร, อวตังสกสูตรและวิมิลกีรติสูตร (วิมิลกีรติ) และไม่ใช่ลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนลังกาวตารสูตร บางทีอาจเป็นเทศนาของท่านฮุ้ยค้อ ( ไม่ใช่ของท่านโพธิธรรม ) ผู้ซึ่งพิจารณาพระสูตรนี้ไว้อันดับสูงสุด


ในเรื่องนี้ว่าด้วยเรื่อง “การถ่ายทอดประทีปธรรม” ของท่านเต้าหยวน (Tao-Yuan) กล่าวว่าไม่นานหลังจากท่านได้มอบตำแหน่งสังฆปรินายกแก่ทายาทของท่านคือท่านฮุ้ยค้อ ท่านโพธิธรรมก็มรณภาพ ในปี พ.ศ. 528 ตรงกับวันที่ 5 เดือน 12 ซึ่งถูกวางยาพิษจากพระที่อิจฉาท่าน


ชีวะประวัติของท่านโพธิธรรมฉบับแรก ๆ ของท่านเต้าหยวน กล่าวเพียงว่า “ท่านมรณภาพบนฝั่งแม่น้ำโล (Lo-River)” และไม่ได้เอ่ยถึงวันเวลาและสาเหตุของการมรณภาพ ตามบันทึกของท่านเต้าหยวน กล่าวถึงว่า เมื่อท่านโพธิธรรมยังมีชีวิตอยู่ได้เข้าไปเมืองโลหยาง ที่วัดติงหลิน ( Tinglin Temple ) ใกล้ภูเขาหูหมี ( Bear ear Mountain )


ท่านเต้าหยวนกล่าวว่า “สามปีต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทางการพบท่านโพธิธรรมกำลังเดินไปตามภูเขาแถบเอเชียกลาง ท่านกำลังนำคณะเดินไปพร้อมกับรองเท้าข้างเดียว และท่านก็บอกแก่เจ้าหน้าที่ว่าท่านกำลังเดินทางกลับประเทศอินเดีย”


จากข่าวการได้พบท่านโพธิธรรมนี้เอง ก็ทำให้พระภิกษุรูปอื่น ๆ ต้องการทราบข้อเท็จจริง ในที่สุดก็ตกลงกันที่จะเปิดดูหลุมฝังศพท่านโพธิธรรม ( เมื่อเปิดแล้ว ) ทุกอย่างที่ท่านเหล่านั้นพบก็คือมีรองเท้าข้างเดียวอยู่ในหลุม


ดังนั้นภาพของท่านโพธิธรรมที่ถูกวาดต่อมาก็คือ ภาพของท่านที่กำลังนำคณะจาริกไปพร้อมกับรองเท้าข้างที่หายไป


เมื่อจักรพรรดิเฉียวหวู่ ( Shio Wu ) ถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี พ.ศ. 534, ราชวงศ์ไว่ ฝ่ายเหนือได้แตกกันเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายตะวันตกและฝ่ายตะวันออกและอาณาจักรโลหยางก็ถูกโจมตี


เมื่อตระกูลเคียว ( Kao ) แห่งราชวงศ์ไว่ฝ่ายตะวันออกมีอำนาจก็ได้กลับมาฟื้นฟูอุปถัมภ์อุปัฏฐากพระพุทธศาสนาอีก


พระภิกษุที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรโลหยาง มีเป็นจำนวนมากรวมทั้งท่านฮุ้ยค้อ ด้วย ก็ได้ย้ายมาอยู่กับราชวงศ์ไว่ ฝ่ายตะวันออกอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นเย้ ( Yeh )


ณ ที่นั้นท่านฮุ้ยค้อ ได้พบกับท่านภิกษุตันหลิน ( Tan – Lin ) บ่อยครั้ง ท่านภิกษุตันหลินท่านมีผลงานเผยแพร่ครั้งแรกที่โลหยาง และต่อมาที่แคว้นเย้ ท่านได้เขียนคำปรารภและคำอธิบายการแปลครั้งใหม่ของพุทธพจน์


หลังจากท่านได้พบกับท่านฮุ้ยค้อ ท่านก็เกิดความสนใจการเข้าถึงพุทธธรรมของท่านโพธิธรรม และเพิ่มบทนำว่าด้วยหลักของการปฏิบัติธรรม (Outline Of Practice)


ในบทนำท่านกล่าวว่า ท่านโพธิธรรมมาจากอินเดียใต้ และเดินทางมาถึงจีน ท่านได้พบสาวกคนสำคัญเพียงสองท่าน คือท่านฮุ้ยค้อ และท่านเต้าหยู และท่านกล่าวอีกว่า ท่านโพธิธรรมสอนกรรมฐานกำแพง ( Wall Meditation ) และหลักปฏิบัติ 4 ประการ ซึ่งอธิบายไว้ใน Outline of Practice


ถ้าเรื่องทั้งหมดนี้ทำให้เรารู้จักท่านโพธิธรรม ( ก็ไม่มีอะไรมาก ) แต่ทำไมท่านจึงมีชื่อเสียงมากที่สุด ในจำนวนพระตั้งหลายล้านรูป ซึ่งให้การศึกษา และสอนธรรมะในประเทศจีน ?


เหตุผลก็คือว่า ท่านเป็นพระเพียงรูปเดียวที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้นำเซ็นมาสู่จีน แน่นอน “ เซ็น ” ในฐานะเป็นกรรมฐานแบบหนึ่ง ซึ่งได้มีการสอนและปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีก่อนที่ท่านโพธิธรรมจะมาถึงประเทศจีน และสิ่งที่ท่านนำมาสอนส่วนมากก็เกี่ยวข้องกับคำสอนที่มีการสอนกันมาก่อนแล้ว เช่น ท่านเต้าเซ็ง ( Tao – Sheng ) เป็นต้น ก็สอนกันมาหลายร้อยปีแล้ว


แต่การเข้าถึงเซ็นของท่านโพธิธรรมนั้นพิเศษกว่า เช่นตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ในพระธรรมเทศนาเหล่านี้ว่า “ การเห็นธรรมชาติของตัวท่านเองคือเซ็น…. ไม่คิดถึงอะไรคือเซ็น…ทุกสิ่งที่ท่านทำคือเซ็น ” ( Seeing your nature is Zen ….. Not thinking about anything is Zen...Everything you do is Zen… )

ขณะที่ท่านอาจารย์ท่านอื่น ๆ เห็นว่าเซ็นเป็นธรรมะ สำหรับชำระจิตหรือเป็นขั้นตอนไปสู่เส้นทางแห่งพุทธภาวะ แต่ท่านโพธิธรรมเห็นเซ็นเสมอด้วยพุทธภาวะ และเห็นพุทธภาวะเสมอด้วยจิต คือจิตธรรมดาสามัญ แทนที่จะบอกให้สาวกของท่านชำระจิตของตน ท่านกลับชี้ให้ศิษย์หันหน้าสู่กำแพงหิน ชี้ให้ดูการเคลื่อนไหวของเสือและนกกระเรียน ชี้ให้ดูไม้อ้อที่กำลังลอยไปตามแม่น้ำแยงซี ( เกียง ) ชี้ให้ดูรองเท้าข้างเดียว


เซ็นของท่านโพธิธรรมเป็นเซ็นแบบมหายาน ไม่ใช่เซ็นแบบหินยาน คือดาบแห่งปัญญา ไม่ใช่กรรมฐานแบบเบาะนุ่มๆ ท่านก็สอนสาวกของท่านแบบเดียวกับอาจารย์อื่นๆ สอนอย่างไม่ต้องสงสัย คือสอนหลักพุทธธรรมกรรมฐาน และคำสอนอันเป็นหลักทฤษฎี แต่ท่านได้ใช้ดาบที่ท่านปรัชญาตาระได้มอบให้แก่ท่าน คือ ตัดใจเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์, จากฌานและคัมภีร์

แม้ดาบเช่นนั้นจะยากแก่การจับและการใช้ก็ตาม แต่ก็ประหลาดเล็กน้อยที่ธรรมทายาทเพียงคนเดียวของท่านคือท่านฮุ้ยค้อ กลับเป็นคนมีแขนข้างเดียว


แต่ความเข้าใจ เซ็นดั้งเดิมไม่ได้เกิดมาจากท่านโพธิธรรม หรือท่านปรัชญาตาระ แต่ท่านกล่าวว่า วันหนึ่งพระพรหม เทพเจ้าผู้สร้างโลก ได้ถวายดอกบัวแก่พระพุทธเจ้าและอาราธนาให้ทรงเผยแพร่ธรรมะ เมื่อพระองค์ทรงชูดอกบัวขึ้น พระสาวกของพระองค์ก็เกิดความงุนงง ยกเว้นพระมหากัสสปะซึ่งได้ยิ้มออกมา


นี่คือมูลฐานว่า เซ็นได้เริ่มต้นอย่างไร นี้คือวิธีถ่ายทอด ( เซ็น ) ด้วยดอกไม้ ด้วยกำแพงหิน ด้วยการตะโกน,(เพื่อแสดงให้เห็นว่า) การเข้าถึงเซ็นด้วยวิธีนี้ ท่านโพธิธรรมได้ทำให้เป็นที่รู้จักมาแล้วครั้งหนึ่ง และธรรมทายาทของท่านได้ทำการปฏิวัติความเข้าใจและการปฏิบัติพุทธศาสนาในประเทศจีน


การเข้าถึงเซ็นเช่นนี้ ไม่อาจพานพบได้ด้วยการอ่านหนังสือ แต่ในหนังสือของท่านเต้าส่วน ชื่อ “ FURTHER LIVES OF EXAMPLARY MONKS ” กล่าวไว้ว่าคำสอนของท่านโพธิธรรมที่บันทึกไว้ นักปราชญ์ ส่วนมากเห็นว่า “ OUTLINE OF PRACTICE ” เป็นบันทึกชิ้นหนึ่ง แต่แนวความคิดได้แยกไว้ในธรรมเทศนาอีก 3 กัณฑ์ที่นำมาแปลในที่นี้ และเทศนาทั้งหมด 3 กัณฑ์นี้ เชื่อว่าเป็นของท่านโพธิธรรม ( แท้ ๆ )


แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผู้รู้หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า เทศนาเหล่านั้นน่าจะเป็นงานเขียนของสาวกรุ่นหลัง ๆ เช่น ท่านยานาจิตะ ( Yanagita ) ได้อ้างว่า “ ธรรมะดุจสายเลือด ” เป็นส่วนหนึ่งของนิกาย OXHEAD ZEN ซึ่งเจริญรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 7 – 8 และท่านคิดว่าเทศนาชื่อ “ ปลุกให้ตื่น ( WAKE- UP ) ” เป็นงานเขียนในศตวรรษที่ 8 ของนิกายเซ็นฝ่ายเหนือและเทศนาชื่อ “ บรรลุธรรม ( BREAK-THROUGH) ” เป็นเทศนาของท่านเช็นสู ( Shen – Hsiu ) ซึ่งเป็นสังฆปรินายกแห่งนิกายเซ็นฝ่ายเหนือในศตวรรษที่ 7


น่าเสียดายว่าหลักฐานที่จะนำมาพิสูจน์ หรือหักร้างเหตุผลที่ยกมาอ้างเดิม ๆ นั้นยังอ่อนอยู่ จนกระทั่งมาถึงศตวรรษนี้ ฉบับคัดลอกที่เป็นที่รู้จักกันในยุคแรก ๆ ของธรรมเทศนาเป็นคำแปลของราชวงศ์ถัง ในศตวรรษที่ 14 ( 618 – 907 ) ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการรวบรวมของพุทธสมาคมของญี่ปุ่น แต่ต้นฉบับของพุทธธรรมได้ถูกค้นพบโดยราชวงศ์ถังมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีแล้ว


มาถึงศตวรรษนี้ คัมภีร์นี้ได้ถูกค้นพบในถ้ำ ตุน –ฮวง ( Tun – Huang Caves ) ในประเทศจีน บัดนี้มีต้นฉบับที่ได้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7- 8


แน่นอนว่า ธรรมเทศนาเหล่านี้ ได้รับการรวบรวมมาแต่ยุคแรก ๆ โดยพระที่ปฏิบัติตามอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ต่อมาจากท่านโพธิธรรม ถ้าไม่ใช่ท่านฮุ้ยค้อ หรือสาวกรูปใดรูปหนึ่งของท่านแล้ว บางทีอาจเป็นท่านตันหลินเป็นผู้เขียนก็ได้


จะด้วยเหตุใดก็ตาม เมื่อไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่จะทำให้เชื่อถือได้มาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุผลว่าต้นฉบับเหล่านี้ จะไม่ถูกยอมรับว่าเป็นธรรมเทศนาของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งคำสอนของท่านถูกอ้างอิงมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี มาแล้ว


สาวกของท่านโพธิธรรมมีเพียงไม่กี่รูป และธรรมเนียมเซ็นที่ถือปฏิบัติตามกันมาแต่บรรพบุรุษจนมาถึงท่าน ก็ไม่ได้เริ่มต้นด้วยดอกไม้บาน จนกระทั่งผ่านมาเกือบ 200 ปี หลังจากการมรณกรรมของท่าน การเข้าถึงธรรมก็ให้เป็นไปเอง ไม่สนับสนุนการเข้าถึงเซ็นโดยวิธีการของท่านโพธิธรรม


มันเป็นการง่ายที่จะเห็นว่า เพราะเหตุใดธรรมเทศนาเหล่านี้ จึงไม่เป็นที่นิยมของอาจารย์เซ็นที่มีสัญชาติจีนในเวลาต่อมา


ด้วยการเปรียบเทียบกับธรรมเทศนา ของท่านโพธิธรรมแล้วดูเหมือนจะพบว่าเพราะท่านเป็นพระต่างด้าวและไม่มีอะไร


ข้าพเจ้าได้พบเรื่องนี้ด้วยตัวเองโดยบังเอิญ คือในการรวบรวมงานเขียนของท่านฮวงโป ว่าด้วยเรื่อง ESSETIALS ON THE TRANSMISSION OF MIND ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี มาแล้ว


แต่ข้าพเจ้ารู้สึกติดอกติดใจมาก ในเรื่องกระดูกเซ็น ( BARE BONES ZEN ) และข้าพเจ้าแปลกใจว่าทำไมพวกอาจารย์เซ็นของจีนจึงไม่ชอบ


แต่จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ในเรื่องนี้จะนำมากล่าวอีกครั้ง ก่อนที่มันจะเ***่ยวแห้งเป็นผงธุลีอยู่ใต้ถุนโบสถ์ หรือห้องสมุดต่อไป


กรุณาอ่านหนังสือเล่มนี้ให้จบอีกสักครั้งหรือสองครั้ง และเลือกสรรเอาสิ่ง ๆ หนึ่ง ที่ท่านโพธิธรรมนำมาสู่ประเทศจีน จงค้นหาร่องรอยของจิตเถิด

สนแดง RED PINE
ทะเลสาปไม้ไผ่, ไต้หวัน BAMBOO LAKE , TAIWAN
ฤดูหนาวจัด, ปีเสือ BIG COLD , YEAR OF TIGER.

(จบคำปรารภ)
ต้นฉบับจัดเตรียมโดย จันทโชโตภิกขุ
พิสูจน์อักษรโดย มหาปัญโญภิกขุ




จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#10   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:57:45 ]

บทที่ 1 หลักการปฏิบัติธรรม OUTLINE OF PRACTICE

ถนนหลายสายย่อมนำไปสู่มรรค 1* แต่โดยพื้นฐานแล้ว ย่อมมีทางเพียง 2 ทางเท่านั้น คือภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การเข้าถึงทฤษฎี หมายถึงการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเนื้อหาสาระในการสอน และความเชื่อที่ว่าสรรพชีวิตย่อมรวมอยู่ในธรรมชาติอันเดียวกัน แต่ความเข้าใจตามหลักทฤษฎีนี้ ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งชัดเจน เพราะเราถูกห่อหุ้มด้วยอำนาจแห่งเวทนา และความหลง


สำหรับบุคคลที่ขจัดความหลงออกได้ ย่อมพบความจริง คือบุคคลที่เพ่งพินิจต่อกำแพงธรรม2* ( สุญญตาธรรม ) อยู่เสมอ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในตนเองและผู้อื่น ย่อมรวมความเป็นปุถุชนและพุทธะเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคงไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับอำนาจคัมภีร์ตำรา


บุคคลเช่นนั้น ย่อมประสบกับความสำเร็จ และไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีด้วย การไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับหลักทฤษฎี เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเข้าสู่กระแสธรรม


การเข้าสู่กระแสธรรมโดยการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติที่ประกอบไปด้วยหลัก 4 ประการ ( อริยสัจแบบมหายาน ) เหล่านี้คือ
1. การกำหนดรู้ทุกข์
2. การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ
3. การไม่มีความทะเยอทะยาน
4. การเจริญภาวนาธรรม ( อริยมรรค )


ประการที่ 1. การกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อแสวงหาอริยมรรค ย่อมเผชิญกับความยากลำบาก ผู้แสวงหาย่อมคิดถึงตัวเอง ( ด้วยความท้อถอยว่า ) “ ในกัป กัลป์ที่ผ่านไป อันกำหนดนับไม่ได้นี้ ฉันได้ใช้ชีวิตสิ้นเปลืองไปกับสิ่งไร้สาระ และเวียนว่ายไปในภพภูมิต่าง ๆ มากมาย บ่อยครั้งที่เราโกรธอย่างไร้เหตุผล และละเมิดฝ่าฝืนทำสิ่งผิดนับครั้งไม่ถ้วน


มาบัดนี้ แม้จะไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เราก็ต้องถูกลงโทษด้วยอดีตกรรม เมื่อกรรมชั่วให้ผลตอบสนอง ทั้งเทวดาและมนุษย์ก็ไม่อาจมองเห็น ฉันจะก้มหน้ารับผลกรรมอันนี้ด้วยจิตใจที่เปิดเผย และจะไม่คร่ำครวญพร่ำบ่นถึงความไม่เป็นธรรม”


พระสูตรกล่าวว่า “ เมื่อท่านพบกับความทุกข์ยากลำบาก อย่าเสียใจ เพราะมันจะทำให้เกิดอุปาทาน ” เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ชื่อว่าท่านทำถูกต้องกับทฤษฎี และการกำหนดรู้ทุกข์ย่อมทำให้ท่านเข้าสู่กระแสแห่งอริยมรรค


ประการที่ 2. การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ ในฐานะเราเป็นสัตว์ที่ต้องตาย เราถูกสังขารธรรมทั้งหลายครอบงำ ไม่ใช่ตัวเราเอง ความทุกข์ความสุขที่เราได้รับล้วนเกิดจากสังขาร ( การปรุงแต่งกาย – ใจ ) เราจะไม่มีความรู้สึกเป็นสุข


ถ้าเราประสบโชคอันยิ่งใหญ่ เช่น ชื่อเสียง โภคทรัพย์ เป็นต้น อันเป็นผลของบุญกุศลอันเราได้บำเพ็ญไว้ในอดีตกาล เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงโชคลาภก็หมดไป


ทำไมเราต้องยินดีพอใจในชีวิตเช่นนั้นด้วยเล่า ? เมื่อความสำเร็จและความล้มเหลวต่างก็เป็นสังขารธรรมทั้งนั้น จึงไม่ควรปล่อยจิตใจให้ฟู – แฟบไปกับสังขารเหล่านั้น ผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับกระแสแห่งความสุข , ความทุกข์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคอย่างเงียบ ๆ


ประการที่ 3. การไม่มีความทะเยอทะยาน คนในโลกนี้ถูกความหลงครอบงำ พวกเขาจึงมักหมกมุ่นมัวเมาอยู่กับโลกธรรม ด้วยความหลงละเมอทะเยอทะยาน แต่ผู้รู้ ( วิญญูชน ) ย่อมตื่นตัว ท่านเหล่านั้นย่อมเลือกทำตามเหตุผลมากกว่าความเคยชิน และมีโยนิโสมนสิการ คือ ทำทุกสิ่งไว้ด้วยใจอันแยบคาย และปล่อยร่างกายให้เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล


ปรากฏการณ์ ( รูป – นาม ) ทุกอย่างเป็นของว่างเปล่า ไม่มีคุณค่าควรแก่การทะยานอยาก ความเสื่อมกับความเจริญ 4* เกิดขึ้น และดับไปสลับกันอยู่ตลอดเวลา ความยินดีพอใจอยู่ในภพทั้งสาม 5* เป็นเสมือนการอาศัยอยู่ในเรือนที่ไฟกำลังไหม้อยู่ การมีกายนี้จึงเป็นทุกข์


มีใครบ้างที่อาศัยกายนี้แล้ว พบกับความสงบสุข บรรดาผู้ที่เข้าใจสัจจธรรมข้อนี้ ย่อมถ่ายถอนตนเองออกจากภพทั้งปวง และหยุดการปรุงแต่ง หรือทะยานอยากในสิ่งใด ๆ


พระสูตรกล่าวว่า “ การแสวงหาด้วยความทะยานอยากย่อมเป็นทุกข์ , การไม่แสวงหาด้วยความอยากย่อมเป็นสุข ” เมื่อไม่ทะยานอยาก ท่านดำรงอยู่ในกระแสแห่งอริยมรรค


ประการที่ 4. การเจริญภาวนาธรรม 6* คำว่า ธรรม หมายถึงปรมัตถสัจจะซึ่งถือว่าธรรมชาติทั้งปวงเป็นสิ่งบริสุทธิ์ด้วยธรรมสัจจะนี้ ปรากฏการณ์ทั้งปวงจึงเป็นความว่างกิเลส,ตัณหาและอุปาทาน ทั้งที่เป็นอัตตวิสัยและภาวะวิสัยเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่จริง


พระสูตรกล่าวว่า “ ธรรมะ ” เป็นนิชชีวะ คือ มิใช่สัตว์บุคคลเพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายจากสัตว์บุคคล และธรรมะเป็นอนัตตาเพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายแห่งความเป็นตัวตน ( ที่จะปฏิบัติตาม )


บุคคลผู้นั้นย่อมอุทิศทั้งกายชีวิต ตลอดถึงทรัพย์สมบัติให้เป็นทานโดยไม่เสียดายและไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จากการให้ ไม่ว่าเป็นวัตถุข้าวของเงินทองและไม่มีความลำเอียงยึดติดในการให้ทาน และช่วยสั่งสอนให้ผู้อื่นได้ขัดเกลากิเลส โดยไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ


ดังนั้นเมื่อตนเองปฏิบัติได้สำเร็จแล้ว ก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้เขาได้เข้าถึงธรรมได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน เพราะการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นก็เป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมไปด้วย และเมื่อบำเพ็ญบารมีธรรมทั้ง 6 ประการ 7* นั้นก็ช่วยกำจัดความหลงของตนเองไปด้วย ซึ่งไม่ต้องไปบำเพ็ญคุณธรรมอย่างอื่น ๆ อีก (นอกจากบารมีธรรม 6 ประการ )


เมื่อตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ต้องปฏิบัติธรรมอันอื่นอีกก็ได้ นี้ความหมายของคำว่า “ การปฏิบัติธรรม ”

( จบบทที่ 1 )

เชิงอรรถบทที่ 1
1* เมื่อพระพุทธศาสนามาสู่ประเทศจีน “ เต๋า ” เคยถูกแปลว่า “ ธรรม ” และ “ โพธิ ” ที่ถูกมองเช่นนี้เพราะพุทธศาสนาถูกมองว่า เป็นศาสนาจากต่างด้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเต๋า ในธรรมเทศนา กล่าวว่า “ มรรค คือ เซ็น ”

2*หลังจากที่ท่านมาถึงจีน ท่านโพธิธรรมได้ใช้เวลา 9 ปี โดยการนั่งกรรมฐานหันหน้าสู่กำแพงหิน ณ ถ้ำใกล้ ๆ วัดเส้าหลิน คำว่ากำแพงตามความหมายของท่านโพธิธรรม คือความว่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งตรงข้ามทุกสิ่ง รวมทั้งตนเองและผู้อื่น , คนพาลหรือบัณฑิต

3* อริยสัจมีความแตกต่างกันคือ ก.ทุกชีวิตถูกครอบงำด้วยความทุกข์ (ทุกขสัจจ์ ) ข. ทุกข์เกิดแต่เหตุ ( สมุทัยสัจจ์ ) ค. เหตุแห่งทุกข์สามารถทำให้หมดได้ ( นิโรธสัจจ์ ) ง. ทางให้ถึงความดับทุกข์คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาเซ็น ( สัมมาสมาธิ )

4* เทพเจ้าทั้งสอง สามารถให้ผลตอบสนองทั้งโชคร้ายและโชคดีตามลำดับ เรื่องนี้มีอยู่ในบทที่ 12 ของนิพพานสูตร

5* ความเหมือนระหว่างจิตวิทยาพุทธศาสนาและไตรภูมิ ของจักรวาลวิทยา ในศาสนาพราหมณ์ คือการใช้คำเหล่านี้ ภูระ , ภูวะ , และ สวระ หรือโลก , บรรยากาศและสวรรค์ ไตรภูมิในพระพุทธศาสนารวมเอากามธาตุเข้าด้วย หรือเรียกว่า กามจรภูมิ - นรก หรือภูมิทั้ง 4 ของมนุสสโลก และสัตว์โลกและสวรรค์หกชั้นแห่งอิฏฐารมณ์ รูปธาตุหรือรูปาวจรภูมิสวรรค์ 4 ชั้น ของสมถะและอรูปธาตุหรือ อรูปาวจรภูมิของวิสุทธิจิต คือความว่าง 4 ระดับ อรูปฌาน 4 สภาวะรวมกันเข้าแล้ว ภูมิทั้งสามเป็นองค์ประกอบของภพสามในบทที่สามของ ปุณฑริกสูตร ( LOTUS SUTRA ) ภูมิสามปรากฏเสมือนบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้ดังนั้นการอาศัย ภพทั้งสาม ( กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ ) ก็เหมือนอาศัยอยู่ในบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้

6* ศัพท์สันสกฤตคำว่า ธรรมะ มาจาก “ ธฺรี ” (Dhri) ธาตุ หมายถึง การทรงไว้, ถือไว้ และหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ถือว่าเป็นความจริงซึ่งแสดงความหมายในทางดีหรือสูงสุด

7* คำว่า ปารมิตา หมายถึง ฝั่งอีกฝั่งหนึ่ง คือ ทาน ศีล ขันติ จาคะ สมาธิและปัญญา ธรรมทั้ง 6 ประการทั้งหมดนี้จะต้องปฏิบัติเพื่อถ่ายถอนออกจาก มิจฉาทิฏฐิ กรรม และวัตถุกามทั้งหลาย เพื่อขจัดโมหะ



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#11   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:58:10 ]

บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร ) BLOOD STREAM SERMON

ทุกสิ่งที่ปรากฏในภพทั้งสามล้วนเกิดจากจิต1* ดังนั้น พระพุทธเจ้า2* ทั้งในอดีตและอนาคต ย่อมสอนด้วยวิธีจิตสู่จิต โดยไม่ยึดรูปแบบตายตัวใด ๆ3*
“ แต่ถ้าไม่ใช่รูปแบบตายตัว พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจะใช้จิตโดยวิธีใด ? ”
“ สิ่งที่ท่านถามนั้นแหละคือจิตของท่าน ”
“ สิ่งที่ฉันตอบนั้นแหละคือจิตของฉัน ”
“ ถ้าฉันไม่คิดฉันจะตอบได้อย่างไร ”
“ ถ้าท่านไม่คิดท่านจะถามได้อย่างไร ”
“ สิ่งที่ท่านถามก็คือความคิด ( จิต ) ของท่าน ”


ตลอดกัปกัลป์4* อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ ท่านทำสิ่งใดก็ตามอยู่ที่ไหนก็ตาม สิ่งนั้นคือจิตที่แท้จริงของท่าน สภาวะนั้นคือพระพุทธเจ้าที่แท้จริงของท่าน จิตนี้คือพุทธะ5* ท่านกล่าวว่าเป็นสิ่งเดียวกัน นอกเหนือจากจิตนี้แล้วท่านจะพบพระพุทธเจ้าที่อื่นไม่ได้เลย


การแสวงหาโพธิ6* ( การบรรลุธรรม ) หรือนิพพาน7* นอกจากจิตนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ ความเป็นจริงของธรรมชาติของท่านเอง8* ที่เป็นสภาพที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็เกิดมาจากจิตด้วย เพราะภาวะแห่งนิพพานมีอยู่แล้วในจิตของท่าน ท่านอาจคิดเอาเองก็ได้ว่าท่านสามารถค้นพบพระพุทธเจ้าหรือโพธิอยู่นอกจิตนี้ แต่สถานที่เช่นนั้นจะไม่มีอยู่จริงได้เลย


ความพยายามค้นหาพระพุทธเจ้า หรือค้นหาการบรรลุธรรม ก็เหมือนการจับฉวยเอาอากาศ ซึ่งมีแต่ชื่อแต่ไร้ตัวตน มันไม่ใช่สิ่งที่ท่านจะสามารถหยิบขึ้นหรือวางลงได้ และท่านไม่สามารถจะจับฉวยมันได้ พระพุทธเจ้าเกิดจากจิตของท่าน แล้วจะค้นหาพระพุทธเจ้านอกจิตนี้ไปทำไม ?


พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคตล้วนแต่กล่าวถึงจิตนี้เท่านั้น ดังนั้น จิตนี้จึงคือพุทธะ และพุทธะก็คือจิตนั่นเอง


นอกเหนือจากจิตไม่มีพุทธะ และนอกเหนือพุทธะก็ไม่มีจิต ถ้าท่านคิดว่ามีพุทธะที่เหนือจิตนี้แล้ว พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนกันล่ะ


ดังนั้น จึงไม่มีพระพุทธเจ้านอกเหนือจากจิต ทำไมเราไม่เผชิญหน้ากับพระองค์ ตราบใดที่คุณหลอกตัวเองอยู่ คุณก็ไม่สามารถรู้จักจิตที่แท้จริงของตัวเอง


ตราบใดที่คุณยังหลงติดอยู่ในรูปที่ไร้ชีวิต ( หมายถึงรูปกับนามไม่ได้อยู่ด้วยกัน กายอยู่ที่หนึ่งแต่จิตคิดไปอีกที่หนึ่ง ) คุณก็ยังไม่มีอิสระ ถ้าไม่เชื่อคำกล่าวนี้ คุณก็หลอกตัวเองอย่างช่วยไม่ได้ มันไม่ใช่ความผิดของพระพุทธเจ้า


แม้ประชาชนเองก็ถูกหลอก พวกเขาไม่เคยรู้จักว่า จิตของตนเองนั้นแหละคือพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นไม่ต้องแสวงหาพระพุทธเจ้านอกจิตของตนเอง


พระพุทธเจ้าย่อมไม่ดูแลรักษาพระพุทธเจ้าด้วยกันเอง หมายความว่า ถ้าท่านใช้จิตของท่านหาพุทธะ ท่านก็จะไม่เห็นพุทธะ (การใช้ความคิดดูจิตย่อมไม่เห็นจิต ใช้สติดูจิตจึงจะเห็นจิต ) ตราบใดที่ท่านหาพระพุทธเจ้าภายนอกตนเอง ท่านก็ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ภายในจิตของท่านเอง


อย่าใช้พระพุทธเจ้าบูชาพระพุทธเจ้า ( ผู้ที่รู้จักตนเองย่อมไม่หลงบูชา สิ่งอื่น ) อย่าใช้จิตปลุกพระพุทธเจ้า9* พระพุทธเจ้าย่อมไม่สวดมนต์10* พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาศีล11* พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาวินัย และไม่ต้องละเมิดวินัยใด ๆ พระพุทธเจ้าไม่ต้องทำดีหรือชั่ว ( จิตเข้าถึงพุทธะย่อมอยู่เหนือสมมติ และโลกธรรมทั้งปวง )


การค้นหาพุทธะท่านต้องค้นหาตนเองให้พบก่อน ใครก็ตามที่เห็นตนเอง ชื่อว่าเห็นพุทธะ12* ถ้ายังไม่เห็นตนเอง,การทำพุทธาภิเษก ,การท่องบ่นพระสูตร,การบำเพ็ญทาน และการรักษาศีล ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ การปลุกเสก การสวดมนต์อ้อนวอนพระพุทธเจ้า อาจส่งเสริมให้สร้างกุศลกรรม การท่องจำพระสูตรอาจเป็นผลให้มีความทรงจำดี,การสมาทานรักษาศีลอาจเป็นผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี และการบำเพ็ญทานเป็นผลให้ได้รับความสุข แต่ไม่ส่งผลให้เป็นพุทธะได้


ถ้าท่านไม่เข้าใจคำสอนด้วยตัวของท่านเองท่านก็ต้องไปพบกับครูผู้มีความเข้าใจลุ่มลึกและลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและความตาย13* ผู้ไม่เห็นธรรมชาติของตนเองนั้นยังเป็นครูไม่ได้


ถึงแม้เขาจะสามารถ ท่องพระไตรปิฎกได้จบถึงสิบสองรอบก็ตาม14* เขาก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารได้15* เขาย่อมเป็นทุกข์อยู่ในภพทั้งสาม ( กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ ) โดยไม่มีหวังที่จะปลดเปลื้องทุกข์ได้เลย


นานมาแล้ว มีพระรูปหนึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป16* เป็นผู้สามารถท่องพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่ท่านก็ไปไม่พ้นจากวัฏฏสงสาร เพราะท่านไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง* ( *ผู้เห็นธรรมชาติของตน เข้าใจว่าเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือได้ธรรมจักษุ นับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป … ผู้แปลไทย)


เพราะเข้าใจกันว่าการท่องพระสูตรเป็นเหตุให้มีชื่อเสียง17* ดังนั้นศาสนิกทุกวันนี้จึงชอบท่องพระสูตรหรือคาถาไว้มากบ้างน้อยบ้าง และคิดว่าการได้ท่องพระสูตรได้เป็นการรู้ธรรมะ

ความเข้าใจเช่นนั้นเป็นเรื่องที่โง่เขลา เว้นไว้แต่คนที่รู้จักจิตของตนเอง การสาธยายพระสูตรหรือท่องคาถาภาษิตได้นั้น นับได้ว่าเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์


การจะค้นพบพระพุทธเจ้า สิ่งที่ท่านต้องทำก่อนคือการค้นตนเองให้พบเพราะ ธรรมชาติของตนเองนั่นแหละคือพุทธะ พบพุทธะภาวะซึ่งเป็นภาวะที่อิสระ คืออิสระจากพิธีกรรม อิสระจากอุบายต่าง ๆ และอิสระจากการปรุงแต่งวิตกกังวล


ถ้าท่านยังไม่เห็นตนเอง ย่อมวนเวียนแส่ส่ายหาแต่สิ่งภายนอกตัวเรื่อยไปเพราะสัจจธรรมมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่มีความจำเป็นต้องค้นหาอีก แต่การเข้าถึงปัญญาเช่นนั้นได้ ท่านจำเป็นต้องใช้ความเพียรพยายาม เพื่อทำให้ตนเองเข้าใจตนเอง ( ทำความเข้าใจในตนเองได้ )


ชีวิตและความตายเป็นสิ่งสำคัญ อย่าทำตนเองให้เป็นทุกข์กับสิ่งที่ไร้สาระ การหลอกลวงตนเองไม่ได้ทำให้ท่านก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้เลย แม้ท่านจะมีเพชรเม็ดโตเท่าภูเขา และมีบริวารมากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ตาม


เมื่อท่านเห็นความจริงเหล่านี้ ดวงตาของท่านก็สว่างไสว แต่ดวงตาของท่านปิดเพราะอะไร และปิดตั้งแต่เมื่อไหร่ ท่านต้องรู้และเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพราะทุกสิ่งที่ท่านเห็นมันเป็นเสมือนความฝัน หรือภาพลวงตา


ถ้าท่านไม่รีบพบครูโดยเร็ว ท่านก็จะมีชีวิตอยู่อย่างไร้สาระประโยชน์ ความจริงก็คือว่า ท่านมีพุทธภาวะอยู่แล้ว แต่เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากครู ( กัลยาณมิตร ) ท่านจึงไม่รู้จักพุทธภาวะนั้น แต่ก็มีเพียงหนึ่งในล้านคนที่จะบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยครู


ถ้าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าหมายถึงอะไร เข้าใจความปรุงแต่งของสังขารทั้งหลาย ( ขันธ์ห้า ) บุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องมีครู เพราะคนเช่นนั้นมีสติสัมปชัญญะสูงมาแต่กำเนิด ใครจะสอนสิ่งใดเขาก็เข้าใจได้ทันที สำหรับท่านที่สร้างสมบารมีมามาก ศึกษาปฏิบัติมาด้วยความยากลำบาก ท่านเหล่านี้เพียงอาศัยการสอนเท่านั้นก็เข้าใจได้


คนที่ไม่เข้าใจธรรมะถ่องแท้ และคิดว่าตนเองเข้าใจ โดยปราศจากการศึกษาและปฏิบัติ (อย่างถูกต้อง) คนเช่นนั้นก็ไม่แตกต่างไปจากคนหลงทาง หลงตนเองไม่สามารถจะแยกขาวต่างจากดำได้18* ย่อมประกาศพุทธธรรมอย่างผิด ๆ เช่นนั้นย่อมชื่อว่า กล่าวตู่หรือดูหมิ่นพระพุทธเจ้า และชื่อว่าเป็นผู้ลบล้างพระธรรม


เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขากำลังทำฝนให้ตก แต่ที่จริงคนเช่นนั้นกำลังแสดงธรรมของมาร ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครูของพวกเขาก็คือพญามาร19* และสาวกของเขาก็คือบริวารของพญามาร คนที่หลงงมงายทำตามคำสอนเช่นนั้น ย่อมจมลงในทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ


ศาสนิกจะสามารถเรียกตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกได้อย่างไร หากพวกเขาเป็นคนโกหกหรือมุสา ซึ่งหลอกลวงผู้อื่นให้ก้าวไปสู่ภพภูมิแห่งมาร ( อบายภูมิ ) นอกจากคนที่เห็นตนเองแล้ว การแสดงธรรมของคนผู้ที่เรียนแต่พระไตรปิฎกได้ถึง 12 หมวด ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรนอกจากเป็นการแสดงธรรมของมาร


ความเลื่อมใสก็เป็นความเลื่อมใสต่อมาร ไม่ใช่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าไม่อาจแยกขาวออกจากดำได้ เขาจะหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร ผู้ใดเห็นธรรมในตนผู้นั้นชื่อว่าเป็นพุทธะ (เห็นพุทธะ) ผู้ใดยังไม่เห็นธรรมในตน ผู้นั้นชื่อว่ายังเป็นปุถุชน* ( *คือผู้ที่ต้องตายด้วยความประมาท เพราะความประมาทคือความตาย… ผู้แปลไทย)


ถ้าท่านค้นพบพุทธภาวะของตนเอง อันต่างไปจากความเป็นปุถุชน สภาพเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ตรงไหน ปุถุชนภาวะของเราก็คือพุทธภาวะของเราเช่นกัน นอกจากปุถุชนภาวะก็ไม่มีพุทธภาวะเช่นกัน พุทธภาวะก็คือธรรมชาติของเรา ไม่มีพุทธะนอกเหนือไปจากธรรมชาติ และไม่มีธรรมชาตินอกเหนือไปจากพุทธภาวะ


“ สมมติว่าฉันยังไม่เห็นธรรมชาติของฉัน ฉันไม่สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการปลุกพุทธะ , สาธยายพระสูตร , ให้ทาน , รักษาศีล , อุทิศส่วนบุญหรือทำกรรมดีใด ๆ ได้เลยหรือ ? ”
“ ไม่ ท่านยังบรรลุธรรมไม่ได้ ”
“ ทำไม จึงไม่ได้ ”
“ ถ้าท่านเข้าถึงได้ในสิ่งหนึ่ง มันก็เป็นเพียงสังขาร ( เป็นการคิดเอา ) ซึ่งทำให้ต้องทำกรรมต่อไป ทำกรรมนั้นก็ให้ผลสนองตอบต่อไป ผลกรรมนั้นก็ทำให้ต้องเวียนว่ายในวัฏฏสงสารอยู่เรื่อยไป ตราบใดที่ท่านยังต้องทำกรรมที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ท่านก็ยังจะบรรลุธรรมไม่ได้ เพราะการบรรลุธรรมได้ ท่านต้องเห็นธรรมชาติของตนเองก่อน เมื่อเห็นธรรมชาติในตนเองแล้ว การพูดถึงเหตุปัจจัยทุกอย่างเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ พระพุทธเจ้าจะไม่ทำในสิ่งเหลวไหลไร้สาระ เพราะพระองค์เป็นอิสรภาพจากกรรม20* และเป็นอิสรภาพจากเหตุปัจจัย ”


การกล่าวว่า ตนได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ( ถ้าไม่เป็นจริง ) ถือว่าเป็นการกล่าวตู่ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า คนเช่นนั้นจะบรรลุธรรมอะไรได้ ? แม้แต่การสำรวมจิต การมีพลังสำนึก , ความเข้าใจและความเห็นที่ถูกต้องต่อพระพุทธองค์ยังไม่มีเลย


พระพุทธเจ้าไม่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งจิตของพระองค์ มีความว่างเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ความสะอาดหรือสกปรก พระองค์เป็นอิสระจากการปฏิบัติและการรู้แจ้ง เป็นอิสระจากเหตุปัจจัย


พระพุทธเจ้าไม่ได้สมาทานศีล , ไม่ได้ทำความชั่วอีก ไม่ได้เป็นคนขยันหรือขี้เกียจ พระองค์ไม่ได้ทำอะไรต่อไปอีก ไม่ได้ระวังจิตเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า และพระองค์ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าท่านไม่เห็นสิ่งที่ท่านกำลังพูด ท่านก็ยังไม่รู้จักใจของตนเอง


คนที่ยังไม่เห็นตนเอง แต่คิดเอาว่าเห็นตนเองและปฏิบัติด้วยจิตว่างตลอดเวลานั้นเป็นเรื่องโกหกและโง่เขลาด้วย เขาย่อมตกไปสู่ห้วงเหวอเวจีได้ เหมือนคนเมาไม่อาจแยกดีออกจากชั่วได้ ถ้าท่านใส่ใจที่จะฝึกฝนอบรมการปฏิบัติให้เข้าใจตนเอง ท่านต้องเห็นตนเองเสียก่อน แล้วท่านจึงจะทำลายความคิดปรุงแต่งให้สิ้นสุดได้ การบรรลุธรรมโดยไม่เห็นธรรมชาติของตนเองก่อนย่อมเป็นไปไม่ได้


ถ้ายังประกอบกรรมทำชั่วชนิดต่าง ๆ อยู่ แล้วอ้างว่ากรรมที่ทำไม่มีผล เมื่อทุกสิ่งเป็นความว่าง ทำกรรมชั่วแล้วคิดว่าไม่ผิด ความเข้าใจเช่นนั้นยังมีอันตรายอยู่มาก คนเช่นนั้นย่อมตกนรกในอเวจี โดยไม่มีหวังจะปลดเปลื้องได้เลย แต่ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่เข้าใจเช่นนั้น


“ แต่ถ้าทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมาจากจิตทั้งหมด ทำไมเมื่อกายและจิตนี้แตกดับเราจึงไม่รู้ ? ”
“ จิตนี้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ท่านไม่ดูจิตต่างหากเล่า ! ”
“ แต่ถ้าจิตเป็นปัจจุบันเสมอ ทำไมฉันจึงไม่เห็นจิต ? ”
“ ท่านเคยฝันบ้างไหม ? ”
“ เคยแน่นอน ”
“ เมื่อท่านฝัน ความฝันนั้นเป็นท่านใช่ไหม ? ”
“ ใช่ เป็นข้าพเจ้า ”
“ และในฝันนั้น ท่านกำลังทำ กำลังพูดอะไร มันต่างไปจากตัวท่านหรือไม่ ? ”
“ ไม่ ไม่แตกต่างอะไรเลย ”
“ แต่ ถ้าไม่แตกต่าง กายนี้เป็นธรรมกายของท่าน และกายของท่านก็เป็นใจของท่านด้วย ” จิตนี้ได้ผ่านกาลเวลามาหลายกัปหลายกัลป์ ไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่มีการเริ่มต้น และไม่เคยแปรเปลี่ยน , มันไม่เคยอยู่และไม่เคยตาย ,ไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป , ไม่ได้สะอาดหรือสกปรก , ไม่ดีหรือไม่ชั่ว , ไม่ได้เป็นอดีตหรืออนาคต , ไม่ถูกหรือผิด , จริงหรือเท็จ , ไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย , ไม่ใช่เป็นพระหรือฆราวาส , ไม่ใช่สามเณรหรือพระเถระ , ไม่ใช่นักปราชญ์หรือคนพาล , ไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรือปุถุชน เป็นความเพียรที่ไม่ต้องการรู้แจ้ง เป็นทุกข์โดยไม่ต้องการสร้างกรรม ไม่มีภาวะแข็งหรืออ่อน


มันเป็นเสมือนอากาศ ท่านไม่สามารถจะเป็นเจ้าของหรือทำลายมันได้ ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของสภาวะนี้ด้วยแรงแห่งภูเขา , แม่น้ำ , หรือกำแพงหิน พลังอำนาจของสิ่งนี้ ( พุทธภาวะ ) มีอำนาจเจาะทะลุภูเขาแห่งขันธ์ห้า21* อย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ และสามารถข้ามโอฆะสงสารได้22* ไม่มีกรรมใด ๆ สามารถควบคุม ธรรมกาย ( กายแท้หรือนามรูปล้วน ๆ ) นี้ได้ แต่จิตเป็นภาวะละเอียดอ่อนยากที่จะมองเห็น มันไม่เหมือนจิตที่รู้สึกนึกคิดได้ ( จิตตสังขาร ) ทุกคนต้องการเห็นจิตนี้


คนที่เคลื่อนไหวมือและเท้า โดยอาศัยความชัดเจนของความรู้สึกชนิดนี้ให้ได้มากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา แต่เมื่อถามถึงลักษณะของความสว่างไสวของจิตชนิดนี้ ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันเป็นเหมือนหุ่นกระบอก คนที่ใช้เท่านั้นย่อมรู้ ทำไมคนดูจึงไม่เห็นล่ะ ?


พระพุทธเจ้าตรัสว่า สรรพสัตว์ถูกอวิชชาครอบงำ นี้คือเหตุผลที่ว่า เมื่อใดทำกรรมเมื่อนั้นย่อมเข้าไปสู่กระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และเมื่อใดเขาพยายามออกจากกระแส ก็ดูเหมือนดิ่งจมลึกลงไปอีก เพราะคนเหล่านั้นไม่เห็นตนเอง

ถ้าสรรพสัตว์ไม่ถูกครอบงำ ทำไมเขาจึงถามเรื่องธรรมะ ทั้ง ๆ ที่ธรรมะก็ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเขานั้นเอง


ไม่มีใครเข้าใจความเคลื่อนไหวของมือ และเท้าของตนเองเลยพระพุทธเจ้าไม่ได้ผิด แต่เพราะมนุษย์ถูกความหลงครอบงำ จึงทำให้ไม่รู้จักว่าตนเองเป็นใคร เป็นสิ่งที่ยากแก่การหยั่งรู้ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้สิ่งที่คนอื่นรู้ได้ยาก นอกจากผู้มีปัญญาเท่านั้นจะรู้จักจิตนี้ จิตนี้จึงถูกเรียกว่าธรรมชาติบ้าง อิสรภาพบ้าง ไม่ว่าชีวิตหรือความตายไม่อาจควบคุมหรือหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของจิตนี้ได้


ไม่มีอะไรยั้งจิตได้เลยจริง ๆ แม้พระตถาคต23* ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้เช่นกัน คือเป็นภาวะที่เข้าใจยาก , เป็นอัตตาที่ศักดิ์สิทธิ์ , ไม่รู้จักตาย ( ตายไม่เป็น ) , เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ จิตนี้จึงมีชื่อต่าง ๆ กันไป ไม่มีสาระที่แน่นอน พุทธภาวะก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ไม่ทอดทิ้งจิตของตนเอง


ศักยภาพของจิตนี้ไร้ขอบเขต การปรากฏตัวของจิต เป็นภาวะที่ไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส บทบาททุกอย่างล้วนออกมาจากจิตของตนทั้งสิ้น ในทุก ๆ ขณะจิตของเราสามารถไปได้ทุกหนทุกแห่ง ที่มีสื่อภาษาให้ไปถึงได้ ( สมมติ ) และไปเหนือภาวะที่ไร้ภาษา ( ปรมัตถ์ )

(ยังมีต่อ)

** วันที่ 13 มีนาคม 2547 พระอาจารย์มหาดิเรกมาบรรยายและนำฝึกปฏิบัติการเจริญสติแนวการเคลื่อนไหว ตามแบบหลวงพ่อเทียน ในกิจกรรม มอบรักด้วยธรรม 2 ได้กราบเรียนท่านเรื่องนำเรื่อง โพธิธรรมคำสอน ลงเผยแพร่ในลานธรรม ท่านกล่าวว่าเป็นเรื่องที่อ่านสนุก ดิฉันได้กราบเรียนท่านว่า อ่านไม่เข้าใจ ท่าน ตอบเหมือนใน คำปรารภการแปล ว่า ผู้พูดพูดด้วยคารมการวิปัสสนา ผู้แปลก็แปลด้วยสำนวนวิปัสสนา ดังนั้น ผู้อ่านก็ต้องอ่านด้วยอารมณ์วิปัสสนา ถึงจะสื่อความหมายถูกต้องและตรงกัน



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#12   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:58:34 ]

พระอาจารย์มหาดิเรกได้บันทึกไว้ใน เจตนาปรารภ ของหนังสือ คู่มือการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว พิมพ์ครั้งที่ :๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ ความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้า ปวารณาไว้เสมอว่า หากการเผยแพร่ของตนเองและคณะผิดพลาดบกพร่องตรงไหน ก็ยินดีที่จะรับความเมตตา ตักเตือน และท้วงติงจากท่านผู้รู้ โดยหวังความเจริญต่อกัน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะหลวงพ่อเทียน กล่าวไว้เสมอว่า ให้ช่วยกันปฏิบัติ เมื่อผู้ใดรู้แล้วให้ช่วยกันเผยแพร่ต่อไป “

ในส่วนของดิฉันผู้คัดลอกก็พยายามที่จะคัดลอกให้ถูกตรงตามต้นฉบับ ซึ่งขั้นตอนในการคัดลอกคือ จะลอกจากไฟล์เอกสารต้นฉบับทีละหน้า จากนั้นจัดหน้าให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านได้สบายตาจากการอ่านทางจอคอมพิวเตอร์ แล้วเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็นตัวหนา ตัวเอียงตามต้นฉบับ อ่านดูความถูกต้องถือเป็นโอกาสได้อ่านเนื้อหาไปด้วย จากนั้นทดลองส่งในหน้าแสดงตัวอย่างของกระดานลานธรรม เมื่อถูกต้องแล้วจึงส่งข้อความลงในกระทู้ คิดว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ในระหว่างขบวนการจัดทำนี้ ถ้ามีช่วงไหนที่อ่านแล้วสะดุด ก็ขอให้ผู้อ่านแจ้งข้อผิดพลาด เสนอแนะ ท้วงติง ต่าง ๆ ได้

ขอขอบคุณ ผู้อ่าน ทุก ๆ ท่าน ที่ทำให้ดิฉันได้เผยแพร่ธรรมะเป็นทาน ค่ะ

คุณดรณ์1 ซึ่งต้องการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนเซ็น โพธิธรรมคำสอน...(ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) นี้ กรุณาติดต่อ พระอาจารย์สุริยา มหาปัญโญ วัดป่าโสมพนัส บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โทรศัพท์ 0-4298-1000 ได้ค่ะ

(ต่อจากกระทู้ก่อน)
เนื่องจากบทที่ 2 มี เชิงอรรถถึง 45 เชิงอรรถ ดังนั้นจึงขอเสนอเชิงอรรถ หมายเลข 1* ถึง 23* ก่อน เพื่อให้ง่ายในการอ่านทางหน้าจอ

เชิงอรรถบทที่ 2
1*พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดตนเองว่ามีพระพุทธเจ้าองค์เดียว เข้าใจกันว่ามี พระพุทธเจ้านับไม่ได้ แท้จริงแล้วทุกคนมีพุทธภาวะ มีพุทธะในทุก ๆ โลก (ทุกๆ หนแห่ง) เหมือนมีความรู้สึกตัวอยู่ในทุกความคิด คุณสมบัติสำคัญสำหรับพุทธภาวะ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่สมบูรณ์ ( สติสัมปชัญญะเต็มเปี่ยม)


2* หลังจากที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านโพธิธรรมได้ใช้เวลา 9 ปี โดยการพึ่งกรรมฐานหันหน้าเข้ากำแพงแห่งถ้ำ ใกล้กับวัดเส้าหลิน คำว่า กำแพงตามความหมายของท่านโพธิธรรม ก็คือความว่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่ตรงข้ามทุกสิ่ง รวมทั้งตนเองและ ผู้อื่น คนพาลหรือบัณฑิตก็ตาม


3* ไม่มีขอบเขตในการถ่ายทอดธรรม เป็นเครื่องทดลองแบบหนึ่งของพุทธศาสนานิกายเซ็น ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการไม่ใช้คำพูดเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นก็มิได้จำกัดรูปแบบในการถ่ายทอด การแสดงอาการ ( บอกใบ้ ) เป็นการถ่ายทอดพอ ๆ กับการใช้คำพูด


4*กัลป์เป็นช่วงจากการสร้างโลกไปจนความวินาศของโลกชื่อ กัลป์หนึ่ง


5* นี้คือพุทธศาสนาแบบมหายาน มีเรื่องเล่าไว้สั้น ๆ ว่า ครั้งหนึ่งพระรูปหนึ่งถามปุโรหิตท่านหนึ่งว่า “ท่านมัชสุ ( MATSU ) สอนเขาว่าอย่างไร ?” ปุโรหิตตอบว่า “ จิตคือพุทธะ” พระนั้นตอบว่า “ปัจจุบันท่านมัชสุสอน (ไหม) ว่า สิ่งใดไม่ใช่จิตสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธะ” ปุโรหิตนั้นจึงตอบว่า “ ขอให้ท่านมีสิ่งที่ทั้งไม่ใช่จิตและไม่ใช่พุทธะ” เมื่อท่านมัชสุได้ยินเรื่องนี้จึงกล่าวว่า “ลูกพลัมสุกแล้ว” (BIG PLUM=ปุโรหิต แปลจากปทีปสูตรบทที่ 7)


6* โพธิเมื่อจิตหลุดพ้นจากโมหะจึงเรียกว่า “ มีแสงสว่างเต็มรอบ ” เสมือนพระจันทร์ไม่มีเมฆหมอกบดบังอีกต่อไป เป็นการประสบกับการเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง คนที่บรรลุโพธิแล้วย่อมถึงพระนิพพาน เพราะโพธิทำให้หมดกรรม การได้ยินได้ฟัง ( สุตะ ) เป็นหน้าที่อันดับแรก แต่การเห็นเป็นความเคยชินของมนุษย์ ซึ่งเป็นแหล่งหรือบ่อเกิดความรู้เกี่ยวกับความจริง ดังนั้น การใช้อุปมาอุปไมยกับสิ่งที่เห็นจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ในพระสูตรก็พูดถึงโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสอน โดยความรู้สึกทางกลิ่นด้วยเช่นกัน ( ฆานสัมผัส )


7* ผู้แปลภาพจีนครั้งแรก พยายามจะใช้ภาษาจีนประมาณ 40 คำก่อน ในที่สุดก็ใช้จนจบ และคำนี้ก็แปลมาจากคำสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การไม่หายใจ” แต่มัน ก็จำกัดว่าเป็นความสงบเท่านั้น คนส่วนมากก็เข้าใจว่าเหมือน “ความตาย” แต่การนิพพานแบบพุทธหมายถึง การไม่เกี่ยวข้องว่าลมหายใจมีหรือไม่มี ตามหลักของท่านนาคารชุน ว่า “ เมื่อมีอัตตาที่รับกรรมอยู่ สังสาระก็มี เมื่อไม่มีอัตตาที่รับกรรมอีกต่อไปก็เป็นนิพพาน” ( มัธยามิกสูตร บทที่ 25 คาถาที่ 9 ไตรปิฎกมหายาน)


8* สภาวะสิ่งที่เป็นเช่นนั้นเอง สภาวะไม่ได้อาศัยอะไร คือภาวะทั้งถาวร,ชั่วคราว หรือว่าง ๆ ดุจอากาศ , สภาวะไม่มีปรากฏการณ์ที่อยู่รวมกันหรือแยกกัน สภาวะเป็นความว่างจากรูปลักษณ์ รวมทั้งความว่างเอง และสภาวะยังจำกัดความจริงด้วย


9* การอ้อนวอน ( หรือการอธิษฐาน ) รวมทั้งการจินตนาการถึงพุทธะและกล่าวพระนามของพุทธะบ่อยๆ จุดประสงค์โดยทั่วไปของการแสดงความจงรักภักดีคือ อมิตาพุทธะซึ่งเป็นพุทธเจ้าสากล การแสดงความจงรักภักดีแบบหมดชีวิตจิตใจต่ออมิตาพุทธะ เป็นหลักประกันผู้ภักดีว่าจะได้ไปเกิดใหม่ในสวรรค์ด้านตะวันตก ซึ่งเป็นสภาพที่จะได้บรรลุธรรมได้ง่ายกว่าที่กล่าวไว้ในโลกนี้ * ( *คติของพุทธแบบหินยาน หรือเถรวาท อาจจะได้แก่โลกพระศรีอริยเมตไตย …. ผู้แปลไทย )


10* พระสูตรหมายถึงเส้นด้าย คือพระสูตรย่อมร้อยเรียงเอาพระพุทธพจน์เข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่


11* ศีล การรักษาศีลแบบชาวพุทธ ได้รวมเอาข้อห้ามไว้จำนวนหนึ่งด้วย โดยทั่วไปศีล 5 สำหรับ ฆราวาส ศีล 227 หรือเกือบ 250 สำหรับพระ และศีล 350 ถึง 50 อันมาจากที่ต่าง ๆ สำหรับภิกษุณี


12* เห็นธรรมชาติของท่านเองจะเรียกว่า SELF – NATUER หรือ BUDDHA – NATUER ก็ได้ ธรรมชาติของเราคือธรรมกายของเรา ( กายจริง ) และมันก็รวมถึงกายเทียม ( รูปกาย – รูปสมมติ ) ของเราด้วย ธรรมกายของเรา มิใช่อัตตาภาวะที่จะไปเกิดหรือตาย ปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่กายเทียมของเรายังอยู่ในภาวะที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อเห็นธรรมชาติของตนเอง ธรรมชาติของเราก็เห็นตัวมันเองด้วย เพราะความหลงและความรู้สึกตัวมิได้ต่างกัน สำหรับการปรากฏขึ้นของสภาวะนี้ ให้ไปดูหนังสือของท่าน D.T.SUZUKI ชื่อ ZEN DOCTRINE OF NO MIND .


13* การออกเรือนบวชของพระศากยมุนี เพื่อแสวงหาการออกจากวัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันไม่มีสิ้นสุด ใครที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ก็ต้องทำเช่นเดียวกับพระองค์ เมื่อคราวที่มีการมอบจีวรและบาตรเพื่อสืบทอดทายาททางธรรมของเซ็น ท่านรัง -เจน (Hung-jen) สังฆปรินายกเซ็นองค์ที่ 5 ได้เรียกสาวกของท่านมารวมกัน และบอกว่า “ ไม่มีอะไรสำคัญมากกว่าชีวิตและความตาย แต่แทนที่จะค้นหาทางออกจากทะเลแห่งชีวิตและความตาย พวกท่านกลับใช้เวลาทั้งหมดของพวกท่าน แสวงหาทางแห่งบุญ ถ้าท่านยังใบ้บอดต่อธรรมชาติของตนเอง บุญจะมีประโยชน์อะไร ? จงใช้ปัญญาของท่าน ธรรมชาติแห่งปัญญามีอยู่แล้วในใจของท่าน ขอให้ทุกท่านจงเขียนโศลกธรรมแก่ฉันคนละหนึ่งโศลก ” สูตรแห่งสังฆปรินายกองค์ที่หก ( บทที่ 2 )


14* คัมภีร์ 12 หมวด สิบสองหมวดของคัมภีร์ที่พุทธศาสนามหายานยอมรับ สิบสองหมวดเหล่านี้ที่ทำการแยกส่วนต่าง ๆ และแยกเป็นหัวข้อ ๆ รวมลงพระสูตร – สุตตะ = ธัมมเทศนาของพระพุทธเจ้า, พระเคยยะ = พระพุทธพจน์ที่ซ้ำ ๆ กัน , คาถา = บทสวดและโศลกธรรม , นิทาน = คำบรรยายทางประวัติศาสตร์ , ชาดก = เรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต , อิติวุตตกะ = เรื่องราวในอดีตของพระสาวก , อัพภูตธรรม = ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า , อาทาน = นิทานเปรียบเทียบ , อุปเทศ = การสนทนาธรรม , อุทาน = บทธรรมที่แสดงโดยไม่มีการอาราธนา ( คำอุทาน ) เวปุลละ = คำขยายอธิบายพระสูตรและไวยากรณ์ = คำทำนายการบรรลุธรรมหรือพุทธพยากรณ์ * ( *คำสอนทั้งหมดตามคัมภีร์ของหินยาน -เถรวาท เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ แต่คัมภีร์ของมหายานมี 12 หมวด อาจเรียกเสียใหม่ว่า “ ทวาทสังคสัตถุศาสน์ ” … ผู้แปลไทย )


15* วัฏฏจักรแห่งการเกิดใหม่ ซึ่งผู้มีได้บรรลุพุทธภาวะเท่านั้น จึงจะหลีกหรือพ้นได้


16* ในบทที่ 33 แห่งนิพพานสูตร Good Star กล่าวกันว่าเป็นพระราชกุมารองค์หนึ่งในบรรดาพระราชกุมาร 3 พระองค์ ของพระศากยมุนีและดูเหมือนพระราหุลจะเป็นพี่ชายของท่าน ต่อมาก็ได้บวชเป็นพระ ท่านสามารถอธิบายและสาธยายพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ได้หมด ตลอดชีวิตของท่าน และเข้าใจว่าตัวเองบรรลุพระนิพพาน ที่จริงท่านเข้าถึงเพียงฌานที่ 4 อันเป็นรูปฌานและด้วยอำนาจแห่งกรรมนั้น ท่านกลับไปเกิดในนรกแห่งวัฏฏะ อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้


17* Surtras คือ พระสูตรอันเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า Shastras คือพระสูตรของพระมหาสาวก เช่นของพระสารีบุตร ( เถระคาถา ) เป็นต้น


18* หลักฐานยืนยันที่มาของศาสนาพุทธ เหมือนกับศาสนาขงจื้อหรือลัทธิเต๋า ซึ่งได้กล่าวไว้ ในข้อเขียนของท่านฮุย – หลิน ( Hui – Lin ) ที่เขียนเป็นเรื่องราวถึง 435 เรื่อง ซึ่งเขาเรียกว่า ความจริงเสมอกันของลัทธิขงจื้อและพุทธศาสนา ในข้อเขียนเหล่านี้ เขาได้ปฏิเสธถึงการให้ผลของกรรม หลังจากการตายแล้วด้วย


19* ปีศาจ ชาวพุทธก็เหมือนกับศาสนิกของศาสนาอื่น ๆ คือ รู้จักแยกแยะเป้าหมาย ( จุดประสงค์ ) ของตน คือการหลีกเลี่ยงที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง มารซึ่งเป็นผู้นำกองทัพปีศาจอันมหาศาล ซึ่งถูกพระพุทธเจ้าทรงปราบปรามให้พ่ายแพ้ ในคืนวันตรัสรู้ของพระองค์เอง


20* กรรม คือ ดุลยภาพแห่งธรรมชาติ เป็นกฎแห่งเหตุและผลของกรรม ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร และก่อให้เกิดความทุกข์ แม้แต่การทำดีหรือกุศลกรรม ก็นำไปสู่สังสารวัฏนี้เช่นกัน ส่วนเป้าหมายของการปฏิบัติแบบพุทธนั้น คือต้องการทำให้ตนเองพ้นไปจากวัฏฏสงสารดังกล่าวนี้ เป็นการตัดกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ต้องทำ (อโหสิกรรม) โดยไม่หวังว่าจะได้ไปเกิดอีกในภูมิที่ดีกว่าต่อไปอีก


21* เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การปรุงแต่งทางจิต ( จิตตสังขาร ) หรือนามรูป คือรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ


22* หมายถึง กระแสของความต่อเนื่องของเหตุปัจจัย ( อิทัปปัจจยตา ) เป็นวัฏฏะแห่งความสิ้นไป คือความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันของการเกิดและการตายที่ไม่จบสิ้น


23* เป็นพระนามหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าใช้เรียกพระองค์เอง พุทธะ คือ สติ ตถาคต คือ การเกิดขึ้นของพุทธะ เป็นนิรมานกายซึ่งแยกจากสัมโภคกายและธรรมกาย ฉะนั้นคำว่า ตถาคต จึงเป็นผู้สอนธรรมทั้งปวง

มดเอ๊ก:



ในพระสูตรกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีที่สุด และรูปกายเช่นนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์ ความเปลี่ยนแปลงที่ไร้ขอบเขตของรูปเป็นผลที่เนื่องมาจากจิต จิตสามารถที่จะแยกแยะทุกสิ่งได้ การเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถใด ๆ ก็ตาม เกิดมาจากความรู้สึกทางจิตของเราทั้งสิ้นแต่จิตก็ไม่มีรูป ความรู้สึกของจิตก็ไม่ใช่ขอบเขตดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีขอบเขต รูปนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์นั่นเอง (ธรรมกาย)


รูปกายอันประกอบด้วยธาตุ 4 (24*) เป็นทุกข์ และเป็นที่ตั้งของความเกิดและความตาย แต่ธรรมกาย ( รูปแท้จริงหรือกายดั้งเดิม ) ดำรงอยู่โดยไม่แสดงตัวเพราะธรรมกายของพระตถาคตไม่เคยเปลี่ยนแปลง ( ความรู้สึกตัว )
( เชิงอรรถ 24* คือ องค์ประกอบทั้ง 4 ของวัตถุทั้งปวง รวมทั้งร่างกายนี้ด้วย ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ และ ลม )


พระสูตรกล่าวว่า “ บุคคลควรรู้จักธรรมชาติของพุทธภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ” พระคุณเจ้ามหากัสสปะ เป็นบุคคลแรก ( นอกจาก พระพุทธเจ้า ) ที่รู้แจ้งธรรมชาติของตน


ธรรมชาติของเราก็คือจิต จิตก็คือธรรมชาติของเรา ธรรมชาติก็เหมือนกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ 25* พระพุทธเจ้าทั้งอดีตและอนาคต อุบัติมาเพียงเพื่อถ่ายทอดจิตชนิดนี้ นอกจากจิตชนิดนี้แล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าในที่ไหนเลย
( 25* พระมหากัสสปะ หรือพระมหากัสสปเถระ เป็นพระสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งในเหล่าสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และได้เป็นผู้ยอมรับนับถือยกย่องให้ดำรงตำแหน่ง พระสังฆปรินายกองค์แรกของเซ็น ในประเทศอินเดีย ในคราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชูดอกไม้ขึ้น แล้วตรัสถามปัญหา ท่านกัสสปเถระได้ตอบโดยการยิ้ม และนั้นเป็นการสื่อความหมายแบบเซ็นเป็นครั้งแรก )


แต่ปุถุชนที่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ย่อมไม่รู้จักจิตของตนเองว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะเขามัวแต่แสวงหาแต่พระพุทธเจ้าภายนอก และถามอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใดหนอ ?


อย่าหลงเพลินไปในจินตนาการอันหลอกหลอนเช่นนั้นอีกเลย ให้มารู้จักจิตของตนเองเท่านั้น นอกเหนือจากจิตนี้แล้วไม่มีพุทธะในที่อื่นเลย พระสูตรกล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่มีรูปล้วนเป็นมายาหลอกลวง ” ท่านกล่าวไว้อีกว่า “ ท่านอยู่ที่ใดพุทธะก็อยู่ที่นั้น ” เพราะจิตของท่านก็คือพุทธะ อย่าใช้พุทธะบูชาพุทธะ


หากแม้พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ 26* บังเอิญปรากฏขึ้นต่อหน้าท่านไม่จำเป็นต้องทำความเคารพ เพราะจิตของเรานี้เป็นความว่าง และไม่บันทึกรูปใด ๆ เอาไว้
( 26* พระโพธิสัตว์ เป็นอุดมคติของฝ่ายมหายาน หมายถึง ผู้ที่วางเงื่อนไข ความหลุดพ้นของตนเองไว้กับสรรพสัตว์ ส่วนพระอรหันต์นั้น เป็นอุดมคติของฝ่ายหินยาน หมายถึง ผู้ที่แสวงหาความหลุดพ้นด้วยตนเอง แทนที่จะนำจิตเข้าสู่สุญญตภาวะเหมือนพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์กลับแผ่ขยายไปสู่ชีวิตอื่น ๆ อย่างไม่มีขอบเขต นั้นเป็นเพราะเขาเข้าใจแจ่มแจ้งว่าทุกชีวิตมีพุทธภาวะเหมือนกันหมด )


บรรดาบุคคลที่ยึดถือเอาตามปรากฏการณ์คือปีศาจ พวกเขาย่อมหลุดไปจากทางอริยมรรค จะหลงบูชามายาที่เกิดจากจิตอยู่ทำไม ? คนบูชาย่อมไม่รู้ คนที่รู้ย่อมไม่บูชา เพราะการบูชานั้นท่านต้องตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร


ฉันชี้ให้เห็นจุดนี้ เพราะเกรงว่าท่านจะไม่รู้สึกตัว*
( *คนที่มัวเคารพบูชาสิ่งภายนอกตัว มักจะหลงลืมความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง ไม่ให้ความสำคัญความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง …..ผู้แปลไทย)


เพราะธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของพุทธะ ไม่มีรูปใด ๆ อยู่เลย*
( *มโนภาพหรือจินตนาการเป็นภาวะแปลกปลอมที่เกิดขึ้นทีหลัง เหมือนรูปปรากฏขึ้นในกระจก …. ผู้แปลไทย)


จงรักษาความรู้สึกตัวนี้ไว้กับจิตเสมอ แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะดูไม่เหมาะสมก็ตาม ก็จงอย่ายึดติดอย่าเกิดความขี้ขลาดหวาดกลัว อย่าสงสัยเลยว่าจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะมีห้อง ( หัวใจ ) ห้องไหนว่างสำหรับรูปเช่นนั้นอีก ?


ขณะเดียวกันเมื่อภูตผีปีศาจหรือเทวดา 27* ปรากฏขึ้นก็อย่าคิดเคารพหรือหวาดกลัว เพราะจิตของท่านเป็นจิตว่างมาแต่เดิม ปรากฏการณ์ทั้งปวงล้วนเป็นมายาภาพ อย่ายึดมั่นถือมั่นเอาตามปรากฏการณ์
( 27* หมายถึง ชีวะที่แยกออกจากร่างกาย Demons คือเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งเทพบนฟ้า (เทวดา ) ในทะเล (นาค ) และบนพื้นพิภพ ( ยักษ์ ) Devine Being คือ พระอินทร์ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระพรหมคือผู้สร้างสรรพสิ่ง )


เมื่อท่านได้พบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ 28* และคิดจะเคารพท่านเหล่านั้น ท่านก็ผลักไสตนเองไปสู่ภูมิปุถุชน
( 28* หมายถึง องค์ประกอบทั้งสามประการ อันเป็นที่พึ่งของชาวพุทธ เรียกว่าพระรัตนตรัย พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลที่ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้น เรียกว่าพระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ ตามทัศนคติฝ่ายมหายาน )


ถ้าท่านแสวงหาความไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นก็ตาม ท่านจะประสบความสำเร็จ


ฉันไม่มีคำแนะนำอย่างอื่น พระสูตรกล่าวว่า “ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นมายาภาพ มายาภาพเหล่านี้ไม่มีภพที่แน่นอน ไม่มีรูปที่ถาวร เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ ( อนิจจัง ) อย่ายึดมั่นกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย แล้วท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ ”


พระสูตรกล่าวว่า “ สิ่งซึ่งเป็นอิสรภาพจากรูปทั้งปวง คือพุทธภาวะ ”


แต่ทำไมเราจึงบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กันอีกเล่า ?


ภูตผีปีศาจเป็นเจ้าของอำนาจแห่งปรากฏการณ์ อำนาจเหล่านี้สามารถสร้างมโนภาพพระโพธิสัตว์ให้ปรากฏขึ้นด้วยรูปจำแลงชนิดต่าง ๆ แต่ก็เป็นพระโพธิสัตว์ปลอม ไม่มีใครเป็นพุทธะจริง ( ด้วยมโนภาพ ) เพราะพระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือจิตของเราเอง อย่านำการบูชาของท่านไปในทางที่ผิด


พุทธะ เป็นศัพท์สันสกฤตแทนคำที่ท่านเรียกว่า “ สติสัมปฤดี ” คือ ตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ คือ อาการยินยอมน้อมรับด้วยความรู้สึกตัวในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การพับตา เลิกคิ้ว เคลื่อนไหวมือและเท้า ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติแห่งการตื่นอย่างปาฏิหาริย์ของท่าน และธรรมชาตินี้ก็คือจิต จิตนี้ก็คือพุทธะ และพุทธะก็คือมรรค มรรคก็คือเซ็น 29*
( 29* คำว่า เซ็น เดิมใช้ว่า ธฺยาน ซึ่งเป็นศัพท์กรรมฐานในภาษาสันสกฤต ท่านโพธิธรรมได้รับรองว่า เป็นเซ็นที่ปราศจากรูปแบบของการปฏิบัติเป็นการใช้คำเหมือน ( ไวพจน์ ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เซ็นเป็นจิตที่ซื่อ ๆ ตรง ๆ เป็นจิตที่นั่งโดยไม่ต้องนั่ง และทำโดยไม่ต้องทำ )


แต่คำว่าเซ็นเป็นเพียงคำเดียว ที่ยังความพะวงสงสัยให้เกิดแก่ปุถุชนและนักปราชญ์ เมื่อเฝ้าดูธรรมชาติของตนก็คือเซ็น เมื่อท่านได้เห็นธรรมชาติของตนเองแล้วมันก็ไม่ใช่เซ็น *
( *คำว่า “ เซ็น “ มาจากคำว่า “ฌาน” ในภาษาบาลี แปลว่า การเพ่งพินิจหรือการเฝ้าดูจิต การเผาผลาญความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ อันเกิดจากการปรุงแต่ง ภาวะที่ทำงานเช่นนั้นเรียกว่า เซ็น ตามภาษาญี่ปุ่น … ผู้แปลไทย)


แม้ท่านจะสามารถอธิบายพระสูตร ได้หลายพันสูตรก็ตาม 30* เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของท่าน ที่ยังเป็นธรรมชาติของอัตตาอยู่ การเห็นตัวเอง* ที่ยังเป็นอัตตาอยู่เช่นนั้น ยังเป็นคำสอนของปุถุชน ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
( 30* เป็นหมวดหมู่แห่งคำสอนของพุทธศาสนาในจีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระไตรปิฎก แต่งขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 6 เท่าที่ปรากฏมีจำนวนถึง 2,213 เล่ม และในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ เป็นพระสูตร 1,600 เล่ม และมีหลายสูตรที่เพิ่มเข้าในพระไตรปิฎกในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคัมภีร์จะมีเป็นจำนวนมากมาย ก็ยังมีการสูญหายไปบ้างมิใช่น้อย ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีจำนวน 1,662 เล่ม )
( *การเห็นตัวเองตามความเป็นจริง หมายถึงการเห็นที่ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นมิใช่เห็นด้วยความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตน … ผู้แปลไทย . )


มรรคที่แท้จริงคืออริยมรรค อริยมรรคไม่สามารถจะสื่อกันได้ด้วยภาษา แล้วตำราหรือคัมภีร์จะมีประโยชน์อะไร ?


คนที่พบเห็นตนเองแล้ว ย่อมพบทางแห่งอริยมรรค แม้เขาจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ตาม คนที่เห็นธรรมในตนเองก็คือพุทธะ และธรรมกายของพุทธะเป็นกายที่บริสุทธิ์ ไม่มีมลทินโดยแท้จริง ทุกสิ่งที่ท่านตรัสก็เป็นสิ่งที่แสดงออกมาจากใจอันบริสุทธิ์ของท่าน


เมื่อพุทธะเป็นความว่างมาแต่เดิมแล้ว พุทธะก็ไม่อาจค้นพบได้ในคำพูดหรือคำสอนในคัมภีร์ใด ๆ อันมีถึงสิบสองหมวดก็ตาม (พระไตรปิฎกมหายาน)


อริยมรรคเป็นมรรคที่สมบูรณ์มาแต่เดิม ไม่ต้องการความสมบูรณ์ใด ๆ อีก อริยมรรคไม่มีรูปหรือเสียง เป็นสภาพที่ละเอียดประณีต และยากแก่การเข้าใจ เหมือนกับท่านดื่มน้ำ ท่านย่อมรู้เองว่าความร้อนความเย็นเป็นอย่างไร แต่ท่านไม่อาจจะบอกผู้อื่นได้


ในบรรดาสภาพธรรมเหล่านั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้นทรงรู้ มนุษย์และเทวดายังเข้าใจไม่ได้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชนยังไม่สมบูรณ์ ตราบใดที่เขายังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับปรากฏการณ์ เขาก็ยังไม่รู้ว่าจิตของเขาเป็นความว่างและเพราะการยึดติด ตามปรากฏการณ์ของทุกสิ่งอย่างผิด ๆ พวกเขาจึงหลงทาง


ถ้าท่านทราบว่าทุกสิ่งล้วนออกมาจากจิต ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อใดท่านหลงยึดถือก็ย่อมหลงลืมตัวเองเมื่อนั้น เมื่อใดท่านเห็นธรรมชาติของตัวเองเมื่อนั้นคัมภีร์ธรรมะทั้งหมดก็กลายเป็นเพียงคำพูดธรรมดา ๆ


พระสูตรและคาถาเป็นจำนวนหลาย ๆ พันสูตร เป็นประโยชน์เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือชำระจิต ความเข้าใจเกิดจากคำพูดเป็นสื่อกลาง แล้วคำพูดคำสอนที่เป็นสื่อกลางแบบไหนล่ะ ? ที่เป็นคำสอนที่ดี


ปรมัตถสัจจะ ย่อมอยู่เหนือคำพูด คำสอนเป็นเพียงคำพูด คำสอนจึงไม่ใช่อริยมรรค มรรคไม่ใช่คำพูด คำพูดเป็นมายาภาพ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏในความฝันของท่านในเวลากลางคืน ซึ่งท่านอาจฝันเห็นปราสาท ราชวัง ราชรถหรือวนอุทยาน หรือทะเลสาปหรือพระราชฐานอันโอ่อ่า อย่าหลงติดใจกับสิ่งที่เป็นความฝัน เพราะทั้งหมดเป็นเหตุให้สร้างภพใหม่ จงตั้งใจให้ดีเท่านั้น ขณะที่ท่านใกล้ตาย


จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด

อย่าหลงติดใจในปรากฏการณ์ แล้วท่านจะผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตทั้งปวงได้ ความไม่แน่ใจแต่ละขณะ จะทำให้ท่านตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร ธรรมกายของท่าน ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์หนักแน่น แต่เพราะโมหะธรรมจึงทำให้ท่านหลงลืมกายนั้น ( สติ – สัมปชัญญะ )เพราะเหตุนี้ท่านจึงทุกข์ เพราะความหลงทำให้ท่านทำในสิ่งที่ไร้สาระ เมื่อใดท่านหลงเกิดความยินดีพอใจ 31* ท่านก็ถูกผูกมัด ( ด้วยอุปาทาน ) แต่เมื่อใดท่านตื่นรู้ต่อกายใจดั้งเดิมของท่าน ( รูป – นาม ) ท่านก็ไม่ถูกผูกมัดด้วยอุปาทานต่อไป
( 31* ร่างกาย คือ ธาตุ 4 จิตใจคือขันธ์ 5 ที่มีการแสดงตัวในลักษณะต่าง ๆ แต่ท่านโพธิธรรมกล่าวว่า ได้แก่ตัวพุทธะนั้นเอง )


ใครก็ตาม ยังไม่ละเลิกความติดยึดในกามคุณ ซึ่งปรากฏในหลากหลายรูปแบบ ( รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) เขาก็ยังเป็นปุถุชนอยู่


พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่ค้นพบอิสรภาพ คือเป็นอิสระจากโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย การค้นพบเช่นนั้นเป็นอำนาจของพระองค์ ที่ทำให้กรรมไม่อาจติดตามทันได้ ไม่ว่ากรรมชนิดใดก็ให้ผลต่อพระองค์ไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงกรรมได้ สวรรค์และนรก 32* ก็ไม่มีผลอะไรต่อพระองค์ แต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชน เป็นภาวะที่คลุมเครือ เศร้าหมอง เมื่อเปรียบเทียบกับของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก
( 32* พุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าใจเรื่องสวรรค์เป็นรูปธรรมว่ามี 4 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งออกได้อีก 16 – 18 ชั้น และที่ไม่มีรูปอีก 4 ชั้น ซึ่งตรงข้ามกับสังสารวัฏ คือ นรกร้อน 8 ขุม และนรกเย็นอีก 8 ขุม แต่ละขุมก็มีบริวารอีกขุมละ 4 มีนรกพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง คือนรกมืดและทุกข์ตลอดกาล )


ถ้าท่านไม่แน่ใจอย่าพึ่งทำอะไร เมื่อท่านทำลงไป ก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิด และเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่พึ่ง ความทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้น เพราะความคิดผิด (มิจฉาทิฏฐิ ) การเข้าใจสภาวะจิตเช่นนี้ ท่านต้องทำแบบไม่ทำ* ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจะทำให้ท่านเห็นทุกสิ่งจากญาณทัศนะของพระตถาคต
( *คือทำสักแต่ว่าทำ หมายถึงการมีสติปัญญากำหนดรู้ใน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมตลอดเวลา เมื่อกรรมถูกกำหนดรู้อย่างเท่าทัน กรรมนั้นจะดับด้วยพลังของ ญาณปัญญา, อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไม่อาจเข้าไปแทรกแซง ปรุงแต่ง แต่เป็นกรรมได้ เรียกว่า ทำแบบไม่ทำ … ผู้แปลไทย )


แต่เมื่อท่านเข้าปฏิบัติตามมรรคครั้งแรก ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านยังไม่มีจุดรวม ท่านก็เห็นทุกสิ่งเป็นเรื่องแปลก เหมือนภาพในฝัน แต่ท่านอย่าสงสัยว่า ความฝันทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตของท่านเอง ไม่ได้เกิดจากที่อื่น


ถ้าท่านฝันว่าท่านเห็นแสงสว่างเจิดจ้ายิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ ( นั้นเป็นนิมิตหมายว่า ) อุปาทานของท่านที่ยังเหลืออยู่ก็จะหมดไปโดยเร็ว และธรรมชาติของสัจจธรรมก็ปรากฏตัวขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนั้นจะเป็นเครื่องช่วยเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุธรรม แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่อาจอธิบายให้ผู้อื่นทราบได้


หรือหากท่านกำลังยืน เดิน นั่ง หรือนอนในป่าอันสงัดวิเวก ท่านอาจเห็นแสงสว่าง ( อันเกิดจากนิมิต ) ไม่ว่าเป็นนิมิตที่แจ่มใส หรือคลุมเครืออย่าบอกเรื่องนั้นแก่ผู้อื่น และอย่ากำหนดจดจำนิมิตเช่นนั้นไว้ เพราะมันเป็นภาวะที่สะท้อนออกมาจากธรรมชาติภายในของท่านเอง


ถ้าท่านกำลังยืน เดิน นั่งหรือนอน ในที่สงบเงียบ และมืดในยามกลางคืน ( นิมิตปรากฏให้ท่านเห็น ) ทุกสิ่งปรากฏเสมือนกลางวัน ก็อย่าตกใจ เพราะปรากฏการณ์นั้นเกิดจากจิตของท่านเอง ที่ต้องการ เปิดเผยตัวมันเอง


การตัดเวรตัดกรรม คือการตัดความคิดปรุงแต่ง

ถ้าท่านฝันในเวลากลางคืน ทำให้ท่านเห็นพระจันทร์และดวงดาวสว่างทั่วท้องฟ้า นั้นเป็นนิมิตหมายว่า การบำเพ็ญเพียรทางใจของท่านใกล้ถึงที่สุด แต่อย่าบอกนิมิตนั้นแก่คนอื่น


ถ้าความฝันของท่านไม่ชัดเจนเหมือนท่านกำลังเดินในที่มืด นั่นเป็นเพราะจิตของท่านถูกครอบคลุมไปด้วยความวิตกกังวล ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องกำหนดรู้เท่านั้น


ถ้าท่านเห็นธรรมชาติของตน (เห็นตัวเอง) ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านพระสูตรหรืออ้อนวอนพระพุทธเจ้า ความเป็นผู้คงแก่เรียนหรือมีความรู้ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งไร้สาระเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่บดบังความรู้สึกตัวของท่านเองด้วย ธรรมะหรือคำสอนเป็นเพียงสิ่งชี้นำให้รู้จักจิตเท่านั้น เมื่อท่านเห็นจิตของตนเองอยู่เสมอแล้ว ทำไมต้องไปสนใจคำสอนอีกเล่า ?


การก้าวจากความเป็นปุถุชน ไปสู่ความเป็นพุทธะ ทำให้ท่านสิ้นกรรม จงดูแลรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านให้ดี * และยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต (ตามความเป็นจริง )
( *เจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ… ผู้แปลไทย)


ถ้าท่านเป็นคนมักโกรธ ความโกรธนั้นจะเป็นอุปสรรคขัดขวางตัวท่านไม่ให้บรรลุมรรคผล การหลอกลวงตัวเองไม่ทำให้ท่านก้าวหน้าได้เลย พระพุทธเจ้าผ่านพ้นความเกิดและความตายอย่างอิสระ จะอุบัติหรือจุติได้ตามความตั้งใจ กรรมไม่อาจหยุดยั้งท่านได้ แม้ภูตผีปีศาจและมารก็ไม่อาจเอาชนะท่านได้


เมื่อใดปุถุชนเห็นธรรมชาติของตนเอง (เห็นตนเอง ) อุปาทานทั้งปวงก็หมดไป ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไม่ใช่สิ่งลึกลับ แต่ท่านสามารถพบมันได้ในปัจจุบันขณะ (ตลอดกาล) มันเป็นปัจจุบันธรรม
(ยังมีต่อ)




จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#13   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:58:53 ]

การศึกษาข้างนอกมากเกินไป ทำให้ลืมการศึกษาภายใน

ถ้าท่านต้องการพบมรรคจริง ๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ เมื่อใดท่านถึงที่สุดแห่งกรรม ( สิ้นกรรม ) จงดำรงรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านไว้ อาสวะใด ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็ค่อย ๆ หมดไป


ความเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ท่านไม่ต้องสร้างความพยายามใด ๆ แต่ความหลงใหลคลั่งไคล้ 33* ไม่ได้ทำให้เข้าใจ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน


ถ้าพยายามที่จะรู้ธรรมะ ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะรู้ขึ้นไปอีกต่อไป พวกเขาก็จะได้แต่จดจำเอาความรู้ของพวกนักปราชญ์เท่านั้น ( จำธรรมะไม่ใช่รู้ธรรมะ )


ตลอดเวลาอันยาวนานที่พวกเขาอ้างพระพุทธเจ้า และสาธยาย พระสูตร ( ติดคัมภีร์ ) เขาก็ยังใบ้บอดต่อธรรมชาติอันเป็นทิพย์ของตนเอง และไม่อาจพ้นไปจากวัฏฏสงสารได้เลย


พระพุทธเจ้าคล้ายเป็นคนขี้เกียจ เพราะพระองค์ไม่ได้วิ่งตามลาภสักการะและโลกธรรมทั้งหลาย ที่สุดแล้วโลกธรรมมันมีอะไรดีเล่า ?


บุคคลที่ยังไม่เห็นตนเอง ได้แต่คิดและอ่านแต่พระสูตร อ้อนวอนแต่พระพุทธเจ้า จะศึกษายาวนานเพียงใด ปฏิบัติจริงจังทั้งเช้าจรดเย็น จนไม่หลับไม่นอน หรือได้ความรู้ทางธรรมมามากมายก็ตาม ก็ยังชื่อว่าลบหลู่ดูหมิ่นพระธรรมอยู่


พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ทรงกล่าวถึงการเห็นธรรมชาติของท่านเท่านั้น ( การเห็นตนเอง ) การปฏิบัติทุกอย่างยังไม่แน่นอน เว้นแต่ว่าเขาได้เห็นตนเอง คนที่อ้างว่าได้บรรลุธรรมอันเลิศ 34* สำเร็จหมดแล้วเป็นคนมุสา


ในบรรดาพระสาวกองค์สำคัญที่สุด 10 องค์ของพระศากยมุนี 35* พระอานนท์ 36* เป็นสาวกผู้เลิศในการเรียนรู้ แต่ท่านก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ( ตามความเป็นจริง ) ท่านเป็นผู้ศึกษาและจดจำทุกอย่างได้เท่านั้น


พระอรหันต์ทั้งหลาย 37* ก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้าทั้งหมด ที่ท่านรู้จัก คือ การปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้งให้มากเท่านั้น และท่านก็ถูกดักไว้ด้วยเหตุผล สภาพเช่นนั้นเป็นกรรมของปุถุชน ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเกิด และการตายได้ คนที่ทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาตั้งใจ คนเช่นนั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้า การฆ่ามิจฉาทิฏฐิไม่มีความผิด

เชิงอรรถ
33* ในระหว่างเหล่าสาวกทั้งหลาย ทั้งชาวพุทธและต่างนิกาย ส่วนมากได้รับการตำหนิติเตียนว่าเป็นเหมือนคนบ้า เป็นผู้ที่หลงใหลในการบำเพ็ญทุกรกิริยา และการทรมานตนให้ลำบาก หรือเป็นผู้ทำตามตัวหนังสือโดยไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้นั้นเอง

34* หมายถึง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ ให้ดูความเป็นมาใน ระตะนะสูตร

35* ศากยะ เป็นราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า มุนี คือนักบวชโคตมะ เป็นนามแห่งตระกูลของพระองค์ และมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ ส่วนกาลเวลานั้นมีกล่าวไว้หลากหลาย แต่ที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นคือ ก่อนคริสตศักราช 557– 487 หรือในราว ๆ นั้น

36* พระอานนท์ เป็นพระญาติของพระศากยมุนี ซึ่งเกิดในคืนวันที่พระพุทธองค์ทรงได้ตรัสรู้ และ 25 ปี ต่อมา ท่านก็ได้บวชในพุทธศาสนาและได้ทำหน้าที่เป็นผู้อุปัฏฐาก หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ท่านได้รับหน้าที่เป็นผู้สาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้า ( วิสัชชนาพระสูตร ) ในคราวที่ทำปฐมสังคายนาด้วย

37* พระอรหันต์ คือบุคคลที่เป็นอิสระจากการเกิดใหม่ เป็นเป้าหมายสูงสุดของสาวกฝ่ายหินยานหรือยานเล็ก ในขณะที่พระอรหันต์เป็นผู้ไกลจากกิเลส เขาก็เป็นผู้ไกลจากความกรุณาที่จะให้กับผู้อื่นไปด้วย เขาไม่เข้าใจว่าความตายล้วนเป็นธรรมชาติที่เสมอกันของสรรพสิ่ง และนั่นคือไม่มีพุทธะอื่นอีกแล้ว นอกจากพุทธะของคนทุกคน


คนตาบอดย่อมไม่รู้จักคนตาบอด

พระสูตรกล่าวว่า “พวกที่เป็นอิจฉันติกะ 38 (มิจฉาทิฏฐิ) ไม่สามารถทำให้เกิดความเชื่อเลื่อมใสได้ ดังนั้นการฆ่ามิจฉาทิฏฐิจึงไม่ผิด ยกเว้นคนมีศรัทธาถูกต้อง ย่อมเข้าถึงพุทธภาวะได้”


เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของตนเองแล้ว ก็ไม่ควรเที่ยววิพากษ์วิจารณ์ความดีของผู้อื่น การหลอกลวงตัวเองไม่ได้ทำให้ท่านก้าวหน้าเลย ความดีและความชั่วเป็นสภาพที่แตกต่างกัน เหตุและผลเป็นสภาวะที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง สวรรค์และนรกเป็นสิ่งที่ปรากฏเฉพาะหน้าของท่านเอง


แต่คนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่มีศรัทธาย่อมตกไปสู่นรกอเวจีอันมืดมิด ไม่อาจรู้พุทธภาวะนี้ได้ สิ่งที่เข้ามาบดบังความเชื่อเลื่อมใสของเขาก็คือ กรรมอันหนักหน่วงของเขานั้นเอง พวกเขาเหมือนคนตาบอดที่ไม่เชื่อว่าจะมีแสงสว่างเช่นนั้น หากท่านอธิบายเรื่องแสงสว่างให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เชื่อ เพราะพวกเขาเป็นคนตาบอด พวกเขาจะสามารถแยกแสงสว่างได้อย่างไร


สำหรับคนโง่ที่ยึดถือความจริงในทางผิด ย่อมตกอยู่ในภพภูมิชั้นต่ำ 39* อันได้แก่พวกที่มีชีวิตยากจนและเป็นทุกข์ พวกเขาไม่อาจมีชีวิตหรือไม่อาจตายได้ และในสถานที่เป็นทุกข์ทรมานเช่นนั้น ถ้าท่านถามเขา เขาก็จะบอกว่าเขามีความสุขเหมือนเทวดา ปุถุชนทุกคนเขาคิดว่าเขาเกิดมาดีแล้ว เพราะความไม่รู้จักชีวิต เขาจึงมีกรรมอันหนักหน่วง คนโง่เช่นนั้นไม่อาจสร้างความเชื่อในพุทธภาวะได้และไม่สามารถพบอิสรภาพอันแท้จริงได้เลย*
( * ความสุขของปุถุชน ก็เหมือนความสุขของหนอนที่อยู่ในส้วม มีกินมีใช้ทุกอย่าง แต่เป็นความสุขที่ไม่ประเสริฐ…. ผู้แปลไทย)


บุคคลที่เห็นจิตของตนเองเป็นพุทธะแล้ว ไม่จำเป็นต้องโกนผมห่มผ้าเหลืองก็ได้ 40* อุบาสกก็เป็นพุทธะได้เช่นกัน เว้นแต่คนที่ไม่เห็นตนเอง ( ตามความเป็นจริง ) แล้วไปโกนผมห่มผ้าเหลือง นับเป็นความหลงใหลคลั่งไคล้ธรรมดา ๆ นั่นเอง แต่อุบาสกที่แต่งงานแล้วยังไม่เลิกจากกาม พวกเขาจะเป็นพุทธะอย่างไร?


ฉันพูดถึงการเห็นตนเองเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงเรื่องกาม ก็เป็นธรรมดาเพราะท่านยังไม่เห็นตนเองเมื่อใดท่านเห็นตนเอง ก็เห็นว่ากามเป็นเพียงนามรูปขั้นต่ำ แล้วท่านก็จะเบื่อหน่ายไปเอง*
( * เหมือนเด็ก ที่ชอบเล่นของสกปรก เมื่อเขาโตขึ้นก็ย่อมเลิกเล่นไปเอง มนุษย์เมื่อจิตยังต่ำย่อมหมกมุ่นในกาม เมื่อพัฒนาจิตสูงขึ้นก็เบื่อหน่ายไปเอง… ผู้แปลไทย)

เชิงอรรถ
38* คือชีวิตอีกแบบหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องมัวเมาในกามสุขอันวิเศษ ซึ่งความเชื่อในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องยุ่งยากและไกลตัว พวกเขาละเมิดข้อห้าม ( ศีล ) และไม่ยอมรับผิดหรือรับโทษที่จะตามมา ในคัมภีร์จีน นิพพานสูตรตอนแรกกล่าวปฏิเสธว่า อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะ โดยอ้างว่าศีลของชาวพุทธนั้นต่อต้านการฆ่าเป็นเจตนาที่จะป้องกันการฆ่าผู้ที่มีความสามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้ การฆ่าอิจฉันติกะนั้นจึงไม่น่าตำหนิ นี้เป็นเพียงทัศนะในหลักทฤษฎี อย่างไรก็ตาม การแปลความหมายในพระนิพพานสูตรตอนหลัง ๆ มา ก็ได้แก้ไขข้อความตอนนี้ใหม่ โดยกล่าวว่า แท้จริงแล้ว อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่

39* ได้แก่ ภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เปรต และสัตว์นรก

40* เมื่อพระศากยมุนีเสด็จออกจากพระราชวังของพระบิดา ในยามราตรี เพื่อเสาะแสวงหาความหลุดพ้นนั้น พระองค์ได้ตัดพระเกศาที่ยาวปกไหล่ ด้วยพระขรรค์เสีย พระเกศาที่เหลืออยู่ก็กลายเป็นรูปทักษิณวัฏฏ์ ( หมุนเป็นวงกลมไปทางขวามือเหมือนก้นหอย ) โดยไม่ต้องตัดอีกต่อไป ต่อมาเหล่าพระสาวกของพระองค์ ก็ได้เริ่มปลงผมของพวกเขาเพื่อให้ดูต่างออกไปจากนิกายอื่น ๆ ในยุคนั้น


เพราะตัณหาเกิด ทุกข์ก็เกิด เมื่อตัณหาดับ ทุกข์ก็ดับ

กามจะสิ้นสุดตามความพอใจของท่าน ( เมื่อท่านพอใจจะเลิก ) แม้ว่าราคานุสัยบางอย่างยังเหลืออยู่ มันก็ไม่เป็นอันตรายแก่ท่าน เพราะธรรมชาติจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน แม้จะยังอาศัย รูปธาตุ 4 อยู่ก็ตาม


ธรรมชาติของท่านก็ยังมีความบริสุทธิ์อยู่ ธรรมกาย ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์โดยพื้นฐาน มันไม่ถูกทำให้เศร้าหมองได้ง่าย กายดั้งเดิมของท่านสะอาดบริสุทธิ์มาแต่เดิม ธรรมกายของท่าน ไม่มีความรู้สึกทะยานอยาก ไม่มีความหิวกระหาย , ไม่อุ่นหรือเย็น , ไม่เจ็บไม่ป่วย , ไม่รักไม่ชัง , ไม่สุขไม่ทุกข์ , ไม่ดีไม่ชั่ว , ไม่สั้นไม่ยาว , ไม่อ่อนไม่แข็ง จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเลย เพราะเรายึดติดรูปกายนี้เท่านั้น จึงทำให้ทุกสิ่งมีคือมีหิวกระหาย มีอุ่นมีเย็น มีเจ็บมีป่วยปรากฏขึ้น*
( *เมื่อมีอุปาทาน ธรรมชาติเป็นของคู่ก็มี… ผู้แปลไทย)


เมื่อใดท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามหน้าที่ของมัน ท่านก็จะพ้นจากความเกิด และความตาย ท่านจะเปลี่ยนแปลงไปทุกอย่าง ( จิตเปลี่ยน ) ท่านจะเป็นนายของจิต 41* คือมีกำลังใจ ซึ่งไม่มีอะไรจะมาขัดขวางได้ ท่านจะพบกับความสงบสุขทุกหนทุกแห่ง


ถ้าท่านยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ ท่านก็ยังไม่เห็นตนเองอย่างแท้จริง ท่านไม่ต้องทำอะไรเลยจะดีกว่า เพราะถ้าท่านทำลงไป ท่านก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้


เมื่อใดท่านเห็นธรรมในตนเอง ท่านก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แม้ท่านจะเป็นพ่อค้าเนื้อก็ตาม แต่คนค้าเนื้อสร้างกรรมโดยการฆ่าสัตว์เขาจะเป็นพุทธะได้อย่างไร ?


ฉันพูดถึงการเห็นธรรมชาติในตนเอง ไม่ได้พูดถึงการสร้างกรรม ถ้าไม่ยึดติดกับสิ่งที่เราทำ กรรมก็ไม่ติดตามเรา แม้ตลอดกัปอันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ มันเป็นเพราะเราไม่เห็นตนเองเท่านั้น จึงทำให้เราต้องไปสิ้นสุดกันที่ขุมนรก

เชิงอรรถ
41* พุทธศาสนิกชนพึงสำเหนียกถึงพลังหรืออำนาจวิเศษ 6 ประการ คือความสามารถในการเห็นรูปทั้งปวง ความสามารถในการฟังเสียงทั้งปวง ความสามารถในการดมกลิ่นทั้งปวง ความสามารถในการรับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ความสามารถในการระลึกรู้อดีตของตนและผู้อื่น ความสามารถในการที่จะอยู่ที่ไหนทำอะไรอย่างตั้งอกตั้งใจ และความสามารถในการที่จะรู้จักความสิ้นสุดลงแห่งการเวียนว่ายตายเกิด* ( *หมายถึง ญาณทั้ง 3 ที่ทำให้ได้ตรัสรู้นั่นเอง.... ผู้แปลไทย )


การถ่ายทอดธรรม คือการถ่ายทอดจิตสู่จิต

ตราบใดที่คนยังสร้างกรรมอยู่ เขาก็ต้องวกวนไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป เมื่อใดคนได้รู้ประจักษ์แจ้งในธรรมชาติของตนเอง เขาก็หยุดสร้างกรรม ถ้าเขาไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง ก็อ้อนวอนพระพุทธเจ้าเรื่อยไป


ซึ่งไม่อาจปลดเปลื้องตนเองออกจากกรรมได้เลย แม้ว่าเขาจะเป็นคนขายเนื้อก็ตาม แต่เมื่อใดเขาประจักษ์แจ้งในตนเอง ความสงสัยทั้งปวง ก็หมดไป แม้กรรมของการค้าเนื้อก็ไม่มีผลแก่คนขายเนื้อนั้น


ในอินเดียมีสังฆปรินายกถึง 27 องค์ 42* ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตหรือพุทธจิต 43* ฉันมาสู่ประเทศจีน ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือ การถ่ายทอดการรู้ธรรมแบบฉับพลัน ( อึดใจเดียว ) ของมหายาน 44* ( คำกล่าวของท่านโพธิธรรม )


“ จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล, การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบมีดเหยียบหนาม รับประทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพพจน์ชั่วคราวไม่ยั่งยืน เมื่อใดท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์”


พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึง การถ่ายทอดเรื่องจิต พระองค์ไม่ได้สอนเรื่องอื่นเลย ถ้าผู้ใดเข้าใจคำสอนนี้ได้ แม้เขาจะไม่รู้หนังสือเลย เขาก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่เห็นตนเองไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ของตนเอง ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้า แม้ท่านจะปฏิบัติกรรมฐานไปจนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงก็ตาม 45*


พระพุทธเจ้าคือธรรมกายของท่าน คือ ใจดั้งเดิมของท่าน จิตนี้ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีเหตุหรือผล ไม่มีเอ็นหรือกระดูก มันเป็นเสมือนอวกาศ ไม่อาจจับต้องได้ มันไม่ใช่จิตของพวกวัตถุนิยม หรือวิญญาณนิยม นอกจากพระตถาคตแล้ว ปุถุชนหรือคนหลง ไม่มีใครจะสามารถหยั่งรู้ความจริงอันนี้ได้


แต่จิตนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกกายภายนอก ในธาตุ 4 ถ้าปราศจากจิตนี้ เราก็ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ กายที่ไม่มีความรู้สึกตัว ก็เหมือนกับต้นไม้หรือก้อนหิน กายที่ไม่มีจิตจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตนี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวได้


ภาษาและพฤติกรรม สัญญาและเจตนาล้วนเป็นหน้าที่ของจิต การเคลื่อนไหวทั้งปวง ล้วนเป็นการเคลื่อนไหวของจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต ปราศจากจิตก็ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวไม่ใช่จิต และจิตก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว*
( * ข้อสังเกต “ หลวงพ่อเทียน น่าจะเป็น…ปรมาจารย์เซ็นในประเทศไทย ”
การเคลื่อนไหวโดยพื้นฐานไม่ใช่จิต และจิตโดยพื้นฐานก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากจิต และจิตก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากการเคลื่อนไหว และไม่มีการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต และหน้าที่ของจิตก็คือความเคลื่อนไหว
ทฤษฎีของท่านโพธิธรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว มาตรงกับวิธีการที่ชี้นำสู่ตัวพุทธธรรม โดยวิธีการของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ได้อย่างสอดคล้องกัน ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้กล่าวถึงการยกมือสร้างจังหวะ หรือเดินจงกรมก็ตาม และถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีชีวิตอยู่ห่างกันถึงเกือบ 2,000 ปีก็ตาม แต่การชี้นำเข้าสู่พุทธธรรมของท่านผู้รู้ทั้งสองท่าน เกือบตรงกันทุกเรื่อง ถึงแม้สำนวนภาษาดูไม่เหมือนกันก็ตาม แต่โดยสาระแทบจะเป็นอันเดียวกัน
ดังนั้น น่าจะกล่าวได้ว่า แนวการบรรลุธรรมของท่านทั้งสองไม่ต่างกัน แต่วิธีการ การถ่ายทอดอาจต่างกันไปตามยุคตามสมัย ดังนั้น ถ้าท่านโพธิธรรมเป็นผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนามหายานแบบเซ็นในประเทศจีน หลวงพ่อเทียนก็อาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้ให้กำเนิดมหายานแบบเซ็นที่แท้จริงแก่ประเทศไทย ได้เช่นกัน… ผู้แปลไทย)


เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่ทั้งการเคลื่อนไหวหรือการทำหน้าที่เพราะสาระสำคัญในหน้าที่ของจิตคือความว่าง และความว่างโดยเนื้อแท้ก็ไม่มีการเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวก็เป็นอันเดียวกันกับจิต และจิตโดยเนื้อแท้แล้วก็ไม่มีการเคลื่อนไหว

เชิงอรรถ
42* พระสังฆราชองค์แรกของวงศ์เซ็นคือพระกัสสปะ พระอานันทะเป็นองค์ที่ 2 พระปรัชญาตาระเป็นองค์ที่ 27 พระโพธิธรรมเป็นองค์ที่ 28 และเป็นสังฆราชองค์ที่ 1 ในประเทศจีนด้วย

43* รอยประทับจิต คือการเข้าสู่จิตแบบเซ็น จะมีสภาวะที่เหมือนกันทุกประการ ซึ่งสามารถทำการพิสูจน์กับของจริงได้เสมอ และเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานและต้องทำให้มั่นคงดุจตราประทับเลยทีเดียว

44* มหา แปลว่า ใหญ่ ยานะ แปลว่า ยานพาหนะ เป็นรูปแบบที่ทรงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในเอเชียฝ่ายเหนือ เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศัพท์ว่า หินยาน จึงถูกนำมาใช้เรียก นิกายฝ่ายเถรวาทด้วย

45*Atom* ในยุคแรก พุทธศาสนานิกายสรวัสติกวาทิน ได้กล่าวถึงเรื่องของอนุภาคปรมาณูเอาไว้ว่า ปรมาณูเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ด้วยสมาธิเท่านั้น และอนุภาคทั้ง 7 เหล่านี้ ก่อให้เกิดปรมาณูต่าง ๆ ขึ้นมา และปรมาณูทั้ง 7 ก็ก่อให้เกิดอนูขึ้น ซึ่งจะมองเห็นได้ก็เฉพาะผู้ที่มีโพธิจักษุเท่านั้น นิกายสรวัสติกวาทิน กล่าวอ้างว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดมาจากอนูต่าง ๆ ถึง 84,000 84,000 มักนำมาใช้กับปริมาณที่นับไม่ได้อยู่บ่อย ๆ (*ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา , ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม …ในพระบาลี )



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#14   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:59:18 ]

บทที่ 3 เสียงปลุก ภัทเทกรัตตสูตร : WAKE-UP SERMON

สาระสำคัญของมรรค คือการปลดปล่อยตนเอง เป้าหมายของผู้ปฏิบัติคือ หลุดพ้นจากปรากฏการณ์ภายนอก* ( *คำว่า ปรากฏการณ์ภายนอก สำนวนที่ใช้หมายถึงการไม่มีอุปาทานสำคัญมั่นหมายในอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่มากระทบ คือ เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน รู้สักว่ารู้ เรียกว่าหลุดพ้นจากปรากฏการณ์ภายนอก … ผู้แปลไทย )


พระสูตรกล่าวว่า “ การปลดปล่อยตนเองออกจากอุปาทาน คือการบรรลุธรรม เพราะมันลบล้างปรากฏการณ์ได้ ” * ( * มโนภาพที่ปรากฏ เพราะอาศัยอายตนะภายในภายนอก ได้แก่ มายาภาพของจิต ดังนั้นถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ในที่นี้ทุกครั้ง ให้เข้าใจว่า เป็นมายาภาพของจิตที่ต้องสลัดทิ้งไปเสมอ… ผู้แปลไทย)


พุทธภาวะ หมายถึง ความรู้สึกตัว จิตของปุถุชนที่รู้สึกตัวแล้วย่อมเข้าถึงมรรคผลได้ ดังนั้น จึงเรียกว่า พุทธะ “ ปรากฏการณ์ภายนอกเหมือนไม่ใช่ปรากฏการณ์ เพราะไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถรู้ได้ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ใครก็ตามได้ยินและเชื่อคำสอนนี้ ได้ชื่อว่าลงสู่ยานพาหนะใหญ่ 1* หรือมหายาน และสามารถออกจากภพทั้ง 3 ได้”


ภพทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง การออกจากภพทั้ง 3 หมายถึง การออกจากความโลภ ความโกรธ และความหลง กลับเข้าสู่ศีล สมาธิและปัญญา เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่มีธาตุแท้ของตนเอง ภพทั้ง 3 อาศัยจิตปุถุชนเป็นที่อยู่ และใครสามารถใช้การไตร่ตรองพิจารณา(ในภพทั้ง 3) ย่อมได้ปัญญา รู้ว่าสภาพความโลภ – โกรธ - หลง ก็เป็นพุทธภาวะด้วย เหนือความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่มีพุทธภาวะ


พระสูตรกล่าวว่า “ พระพุทธเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะอาศัยอยู่กับอสรพิษทั้ง 3 และรักษาบำรุงพระองค์เองด้วยธรรมอันไม่บริสุทธิ์ ” อสรพิษทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นเอง


มหายาน เป็นยานใหญ่ที่สุดกว่ายานทั้งปวงมันเป็นยานพาหนะของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งใช้ทุกสิ่งโดยไม่ต้องใช้สิ่งใด และผู้ท่องเที่ยวไปทุกวันโดยไม่ต้องท่องเที่ยว ยานเช่นนั้นเป็นยานของพระพุทธเจ้าด้วย


พระสูตรกล่าวว่า “ไม่มียานใด เป็นยานของพระพุทธเจ้า”


ใครก็ตามรู้แจ้งชัดว่า อายตนะทั้ง 62* ไม่ใช่ของจริง ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาพลวงและรู้แจ้งชัดว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถตั้งอยู่ได้ในกายนี้ คนนั้นย่อมเข้าใจภาษาของพระพุทธเจ้า


พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้ำคือขันธ์ 5 3* ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ )ก็คือห้องกรรมฐานของผู้ปฏิบัติเซ็น การเปิดตาในได้ ( ธรรมจักษุ ) ชื่อว่าเปิดประตูแห่งมหายานได้ ” จะมีอะไรชัดเจนไปกว่านี้อีกหรือ ?


จิตไม่ปรุงแต่งถึงสิ่งใด ๆ ก็คือเซ็น ทุกครั้งที่ท่านกำหนดรู้อิริยาบถสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอนและ อิริยาบถย่อยต่าง ๆ อย่างชัดเจน ชื่อว่าเป็นการทำเซ็น การรู้จักจิตนี้ว่า จิตคือความว่าง ชื่อว่าเป็นการเห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ ไม่มีจิต4* การเห็นความไม่มีจิตเป็นการเห็นพุทธะ


การสลัดทิ้งอัตตาของตนเองโดยไม่มีความเสียใจใด ๆ เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การไปเหนือความเคลื่อนไหวและความนิ่ง เป็นการทำกรรมฐานที่สูงสุด ปุถุชนยังเคลื่อนไหวอยู่ แต่พระอรหันต์ย่อมหยุดนิ่ง 5* แต่สมาธิขั้นสูงสุดย่อมล่วงพ้นทั้งความเป็นปุถุชนและอรหันต์


บุคคลผู้เข้าถึงความเข้าใจเช่นนั้น (ยถาภูตญาณ) ย่อมปลดปล่อยตนเองออกจากปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยปราศจากความพยายามและรักษาโรคทั้งปวงโดยไม่ต้องรักษา อำนาจเช่นนั้นเป็นอำนาจแห่งเซ็นอันยิ่งใหญ่


การใช้จิตเฝ้าดูจิต ที่แท้เป็นความหลงผิด* ( * หลักการของหลวงพ่อเทียน ไม่ให้เอาจิตเฝ้าดูจิตเช่นกัน แต่เน้นให้ใช้สติปัญญาญาณเฝ้าดูจิต ถ้าใช้จิตเฝ้าดูจิตจะสับสนและหลงทางได้ง่าย การใช้จิตเฝ้าดูจิต หมายถึง การใช้จิตที่ยังมีอุปาทานที่เกิดจากอัตตาตัวตน แต่สติและปัญญาญาณนั้น ได้รับการพัฒนามาจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้อง ย่อมเข้าดูจิตได้ถูกต้องและชัดเจน … ผู้แปลไทย )


ไม่ใช้จิตค้นหาความจริงแต่ใช้สติปัญญาค้นหา การปลดปล่อยตนเองให้พ้นจากคำพูดและภาษา คือ อิสรภาพ การดำรงจิตไว้ ไม่ให้มีมลทินจากธุลีแห่งเวทนา คือการดูแลรักษาพระธรรม
“ การไปเหนือชีวิตและความตาย คือการออกจากเรือน6* ( การออกเนกขัมมะเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ ) ”
“ การไม่เป็นทุกข์กับเรือนของคนอื่น เป็นการเข้าถึงมรรค ( การมีสติและอุเบกขา อย่างบริสุทธิ์ ) ”
“ การไม่สร้างความหลงให้เกิดอีก คือ โพธิ ”
“ การไม่เกี่ยวข้องกับอวิชชาคือญาณปัญญา ”
“ การพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก คือ พระนิพพาน”
“ การหลุดพ้นจากมายาจิต คือการเข้าถึงฝั่งแห่งวิมุติ ”


เมื่อท่านถูกอวิชชาครอบงำ ท่านก็ยังอยู่ฝั่งนี้ เมื่อท่านรู้ตื่น เบิกบาน ท่านก็ไม่อยู่ฝั่งนี้ ปุถุชนทั้งหลายก็ยังพักอยู่ฝั่งนี้ แต่บุคคลผู้ค้นพบบรมญาณทั้งหมดไม่ได้อยู่ฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น ท่านเหล่านั้นสามารถทิ้งฝั่งทั้งสองไปได้ บุคคลที่เห็นฝั่งโน้นแตกต่างจากฝั่งนี้ ชื่อว่ายังไม่เข้าใจเซ็น


ความหลงเป็นคุณสมบัติของปุถุชน ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นคุณสมบัติของพุทธภาวะ ความทั้ง 2 อย่างไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่แตกต่างกัน มันดูเหมือนคนทั่วไปแยกโมหะออกจากสัมปชัญญะ ( ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ) เมื่อเราถูกอวิชชาครอบงำ ดูเหมือนว่าเราหลีกไปอยู่อีกโลกหนึ่ง เมื่อเรารู้สึกตัวดูเหมือนว่าเราไม่ได้หลีกไปไหน


แสงสว่างแห่งความเสมอภาค ทำให้ปุถุชนไม่แตกต่างไปจากนักปราชญ์ พระสูตรกล่าวว่า “ อมตธรรมเป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าถึงไม่ได้ และนักปราชญ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่อมฤตธรรมถูกปฏิบัติตามโดยพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าเท่านั้น ”


การเฝ้าดูชีวิตเฉย ๆ เสมือนว่าต่างจากความตาย หรือการเฝ้าดูการเคลื่อนไหวเสมือนต่างจากความนิ่ง นั่นเป็นการแบ่งแยก


การไม่แบ่งแยก หมายถึง การเฝ้าดูทุกข์เสมือนว่าไม่ต่างจากพระนิพพาน เพราะธรรมชาติของทั้งสองอย่างเป็นความว่างเหมือนกัน การเข้าถึงที่สุดทุกข์ และการเข้าสู่พระนิพพาน ก็เป็นเพียงความคิด และพระอรหันต์ก็ยังต้องติดกับดักของพระนิพพาน แต่พระโพธิสัตว์รู้ชัดว่า ความทุกข์โดยสาระแล้วคือความว่าง การดำรงจิตของตนเองอยู่ในความว่างก็คือ ดำรงอยู่ในพระนิพพาน


พระนิพพาน หมายถึง ความไม่เกิดและไม่ตาย มันเป็นภาวะที่อยู่เหนือการเกิดและการตาย และอยู่เหนือพระนิพพานด้วย


เมื่อจิตหยุดการเคลื่อนไหว จิตก็เข้าสู่พระนิพพาน นิพพานก็คือจิตว่างอย่างหนึ่ง โมหะไม่มีอยู่ที่ใด พระพุทธเจ้าก็เข้าสู่นิพพานที่นั้น โรคภัยไข้เจ็บความทุกข์ ความเดือดร้อนไม่มีในที่ใด พระโพธิสัตว์ก็เข้าตรัสรู้ธรรมที่นั้น7*


สถานที่ที่ไม่น่าอยู่อาศัย8* คือสถานที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง* ( * ธรรมดาปุถุชนคนทั่วไป ต้องคลุกคลีอยู่กับกิเลสทั้งสาม ถ้าไม่มีกิเลสทั้งสามตัวนี้ พวกเขาก็อยู่ไม่ได้ ต้องพากันแสวงหามาไว้เสมอ เหมือนแมลงวัน ที่แสวงหาของเน่าเหม็นอยู่เสมอ ดังนั้น สถานที่ใดไม่มีความโลภ ความโกรธ และความหลง คนธรรม***็อยู่ไม่ได้ ไม่น่าอยู่ด้วย เช่น สถานที่บำเพ็ญสมณธรรมเพื่อการขัดเกลากิเลสจริง ๆ ไม่ค่อยมีคนเข้าไปอยู่อาศัยทั้ง ๆ ที่มีอะไรพร้อมบริการเสมอ แต่ถ้าในสถานที่แหล่งอบายมุขหรือสนุกสนาน สถานเริงรมย์ทั้งหลายจะมีผู้คนเข้าไปมากมาย … ผู้แปลไทย ) ความโลภเป็นภูมิแห่งความทะยานอยาก (กามภพ ) ความโกรธเป็นภูมิแห่งรูป ( รูปภพ ) ความหลงเป็นภูมิแห่งอรูป ( อรูปภพ )


เมื่อความคิดปรุงแต่งเริ่มเกิด คุณก็เข้าไปสู่ภูมิทั้งสาม เมื่อความคิดหยุด คุณก็ออกมาจากภพทั้งสาม การเริ่มหรือการหยุดภพทั้งสาม ขึ้นอยู่กับจิตไม่ว่าจะเป็นอัตตาหรืออนัตตาอันใดก็ตาม จิตนี้เข้าไปได้ทุกสิ่ง แม้วัตถุอันไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหินหรือท่อนไม้ก็ตาม


ใครก็ตามที่รู้ว่าจิตเป็นมายาภาพ และไม่สามารถหาความจริงใด ๆ ที่จะมาพิสูจน์ให้รู้ว่า จิตของตนไม่ใช่มีอยู่หรือไม่ใช่ไม่มีอยู่ เพราะปุถุชนชอบปรุงแต่งจิต จึงอ้างว่าจิตมีอยู่ และพระอรหันต์ปฏิเสธการปรุงแต่งจิต จึงอ้างว่าจิตนี้ไม่มีอะไร ( ว่าง )


แต่พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า ทั้งไม่ปรุงแต่งและไม่ปฏิเสธการปรุงแต่งจิต สภาวะเช่นนี้ จึงหมายถึงจิตที่ไม่ใช่มีอยู่หรือไม่ใช่ไม่มีอยู่ สภาวะเช่นนี้ จึงถูกเรียกว่า “ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง ) ” 9*


ถ้าท่านใช้จิตของท่านศึกษาสัจจะ ถ้าท่านศึกษาสัจจะโดยไม่ใช้จิต ท่านจะเข้าใจทั้งสัจจะและจิต คนที่ยังไม่มีปัญญาญาณ ก็ยังไม่เข้าใจสัมมาทิฏฐิ คนที่เกิดปัญญาญาณแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าใจสัมมาทิฏฐิ คนที่รู้จักจิตนี้เป็นความว่าง คือคนที่เกิดปัญญาญาณแล้ว คนเหล่านั้นย่อมอยู่เหนือทั้งปัญญาญาณและการขาดปัญญาญาณ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ


เมื่อท่านเห็นด้วยปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ รูปก็ไม่ใช่รูปธรรมดา เพราะรูปต้องอาศัยจิต จิตก็ไม่ใช่จิตธรรมดา เพราะจิตก็ต้องอาศัยรูป ทั้งจิตและรูปเป็นตัวสร้างและทำลายซึ่งกันและกัน สิ่งที่มีอยู่อาศัยสิ่งที่ไม่มีเกิดขึ้น และสิ่งที่ไม่มีก็อาศัยสิ่งที่มีอยู่เกิดขึ้น นี้คือสัมมาทิฏฐิที่ถูก ต้องอาศัยสัจจทัศน์นี้ จึงไม่มีสิ่งใดที่ถูกเห็น และไม่มีสิ่งใดที่ไม่ถูกเห็นด้วย


ทัศนะเช่นนี้ย่อมแจ่มแจ้งไปทั่วทั้งสิบทิศโดยไม่ต้องดู เพราะไม่มีที่ถูกเห็นและไม่มีการเห็นที่ถูกเห็น เพราะการเห็นไม่ใช่การดู สิ่งที่ปุถุชนเห็นคือ โมหะ ( ภาพลวงตา ) เพราะการเห็นนั้นไม่ประกอบด้วยสัมมาญาณทัศนะ


จิตและโลกมักจะตรงกันข้ามกันเสมอ การรู้เห็นเกิดจากการพบเห็น เมื่อจิตไม่เพ่งกลับมาดูด้านใน โลกภายนอกก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อโลกและจิตทั้งสองอย่างปรากฏ แจ่มแจ้งเสมอกัน การเห็นแบบนี้เป็นสัมมาญาณ และความเห็นความเข้าใจเช่นนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิที่แท้จริง


การไม่เห็นสิ่งใด คือการเข้าใจมรรค และการไม่เข้าใจสิ่งใด คือการเข้าใจธรรมะ เพราะการเห็นที่แท้ไม่ใช่การเห็นหรือการไม่เห็น และการเข้าใจที่แท้จริง ไม่ใช่ทั้งการเข้าใจและไม่เข้าใจ การเห็นที่ไม่ต้องดู คือสัมมาทิฏฐิ


การเข้าใจโดยไม่ต้องเข้าใจคือสัมมาสังกัปปะ* ( * ทั้งหมดเป็นภาษาใจ ถ้าเราไม่รู้ภาษาใจเราก็อาจงง แต่ถ้าเรารู้ภาษาใจ ทุกอย่างจะเข้าใจไม่ยาก เช่น เราเกิดทุกขเวทนาในกายของเรา เราย่อมเห็นของเราว่าเจ็บตรงไหน คนอื่นจะมาเห็นด้วยไม่ได้ถ้าไม่บอก ดังนั้น การเห็นที่แท้จริงในความตอนนี้ คือการเห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตาหรือความจำ … ผู้แปลไทย)


สัมมาทัศนะ ไม่ใช่เพียงเห็นการเห็นเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นที่ไม่ต้องดูด้วย และสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง มิใช่เห็นด้วยสติปัญญาเท่านั้น แต่เป็นความเข้าใจในความไม่เข้าใจด้วย ถ้าท่านไม่เข้าใจเรื่องใด เรื่องที่ยังไม่เข้าใจก็ยังมีอยู่ด้วย แต่เมื่อท่านได้เข้าใจ ความไม่มีอะไร ( ความว่าง ) นั้นเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ( สัมมาทิฏฐิ ) สัมมาทัศนะจึงมิใช่ทั้งความเข้าใจและความไม่เข้าใจ


พระสูตรกล่าวว่า “การไม่ปล่อยวางด้วยปัญญาก็คือความโง่เขลา”


เมื่อท่านเข้าใจ ความจริงก็อาศัยท่าน ,เมื่อท่านไม่เข้าใจ ท่านก็อาศัยความจริง , เมื่อความจริงอาศัยท่าน สิ่งที่ไม่จริงก็กลายเป็นความจริง , เมื่อท่านอาศัยความจริง สิ่งที่เป็นจริงก็กลายเป็นเท็จ , เมื่อท่านอาศัยความจริงทุกสิ่งก็เท็จ , เมื่อความจริงอาศัยท่าน ทุกสิ่งก็จริง* ( * ข้อสังเกต ความตรงนี้คล้ายเป็นเหตุผลทางตรรกะ ซึ่งถ้าไม่ได้อ่านอย่างพินิจพิจารณาก็อาจงงและไม่เข้าใจ ความตรงนี้เราอาจเข้าใจอย่างนี้ว่า เมื่อเราปฏิบัติตามจนเข้าใจธรรมะแล้ว เราก็พึ่งปรมัตถ์สัจจะ แต่เมื่อเรายังไม่เข้าถึงธรรม เราก็พึ่งสมมติไปก่อน ตราบใดที่เรายังพึ่งสมมติอยู่ จิตของเราจะคิดอะไรก็ยังเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้อยู่ ไม่ว่าคิดถูกหรือคิดผิด แต่เมื่อเราปฏิบัติจนเข้าถึงปรมัตถ์แล้ว สิ่งที่คิด ไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็จะไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกต่อไป เพราะเรารู้วิธีแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิได้ หรือท่านผู้ใดจะเห็นต่างไปจากนี้ก็ไม่เป็นไร …. ผู้แปลไทย )


ดังนั้น นักปราชญ์จึงไม่ใช้จิตของท่านค้นหาสัจจธรรม หรือใช้สัจจธรรมค้นหาความจริงของท่าน หรือใช้จิตค้นหาจิต หรือใช้ความจริงค้นหาความจริง เพราะจิตของท่านไม่ได้ทำให้เกิดความจริง และความจริงก็ไม่ได้ทำให้เกิดจิตขึ้น และเพราะทั้งจิตและความจริงของท่านเป็นภาวะที่นิ่งเงียบ ดังนั้น ท่านจึงเจริญสมาธิอยู่เสมอ 11*


เมื่อโมหะเกิดขึ้น พุทธจิตก็ดับ เมื่อโมหะดับ พุทธจิตก็เกิด เมื่อจิตเกิด ความจริงก็ดับ เมื่อจิตดับ ความจริงก็เกิด


ใครก็ตาม เมื่อรู้ว่าไม่มีอะไรอาศัยกัน เขาย่อมได้มรรค และใครก็ตามเมื่อรู้ว่าจิตขึ้นอยู่กับความไม่มีอะไร ( อนัตตา ) เขาย่อมได้พบเส้นทางแห่งการตรัสรู้อยู่เสมอ


เมื่อท่านไม่เข้าใจ ท่านก็ผิด เมื่อท่านเข้าใจ ท่านก็ไม่ผิด นี้เป็นเพราะธรรมชาติของความผิดเป็นความว่าง เมื่อท่านไม่เข้าใจ ถูกก็เหมือนผิด เมื่อท่านเข้าใจ ความผิดก็ไม่ผิด เพราะความผิดไม่มีอยู่จริง (เป็นสิ่งสมมติ ) พระสูตรกล่าวว่า “ไม่มีธรรมชาติอันใด ที่เป็นตัวของมันเอง (ทุกสิ่งเป็นอนัตตา)”


จงทำแต่อย่าถาม เมื่อท่านถามท่านก็ผิด เพราะความผิดเป็นผล ของการถาม เมื่อท่านเข้าใจถึงความจริงเช่นนั้น การทำผิด ( กรรมชั่ว ) ในอดีตของท่านก็ถูกลบทิ้งไป


เมื่อท่านถูกอวิชชาครอบงำ ( ยังโง่อยู่ ) อายตนะทั้ง 6 และขันธ์ทั้ง 5 ของท่าน ย่อมสร้างความทุกข์และความตายให้แก่ท่าน เมื่อท่านรู้สึกตัวทั่วพร้อม อายตนะทั้ง 6 และขันธ์ทั้ง 5 12* ของท่าน ก็สร้างนิพพานและอมฤตธรรมให้แก่ท่าน


คนแสวงหามรรคที่ไม่มองข้ามตนเอง ย่อมรู้ว่าจิตคือมรรค แต่เมื่อเขาพบจิต เขากลับไม่พบอะไร และเมื่อเขาพบมรรค เขาก็ไม่พบอะไรเช่นเดียวกัน


ถ้าท่านคิดว่าท่านใช้จิตค้นหามรรคได้ ท่านก็หลงทาง เมื่อท่านหลงทาง พุทธภาวะก็ยังมีอยู่ เมื่อท่านรู้สึกตัวความหลงก็หายไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ความรู้สึกตัวคือพุทธภาวะ


ถ้าท่านค้นหามรรค มรรคก็จะไม่ปรากฏ จนกว่าร่างกายของท่านจะแตกดับไป มันเหมือนกับการปลอกเปลือกไม้จากต้นไม้ กายอันเกิดแต่กรรมนี้ ย่อมประสบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิตย์ มันกำหนดจดจำความจริง อะไรไม่ได้ จงปฏิบัติตามอุดมคติของท่าน โปรดอย่ารังเกียจชีวิตและความตาย หรืออย่าหลงรักชีวิตและความตาย


จงปลดเปลื้องความคิดทุกความคิดของท่านออกจากความหลง ท่านจะฉลาดในการเริ่มต้นเพื่อไปสู่นิพพานในชีวิตนั้น13* และในเวลาตายท่านจะได้หลักประกันชีวิต14* คือการไม่ต้องเกิดอีก


การเห็นรูป แต่จิตไม่เศร้าหมองเพราะรูป การได้ยินเสียง จิตไม่เศร้าหมองเพราะเสียง ชื่อว่าจิตหลุดพ้น ตาที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูป ชื่อว่าเป็นประตูแห่งเซ็น หูที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในเสียง ก็เป็นประตูแห่งเซ็นด้วย


กล่าวโดยสรุป บุคคลที่ยอมรับชีวิตและธรรมชาติตามปรากฏการณ์นั้น นั่นชื่อว่าจิตหลุดพ้น บุคคลที่ได้รับเอาปรากฏการณ์ภายนอกเข้ามา* ( * โดยจิตไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น และจิตไม่เศร้าหมอง … ผู้แปลไทย ) ชื่อว่าเป็นความเมตตาของผู้นั้น การไม่ทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ชื่อว่าเป็นปัจจัยแห่งการหลุดพ้น ไม่มีการหลุดพ้นในที่อื่นนอกจากจิตนี้ * (* หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นของอุปาทาน…. ผู้แปลไทย )


เมื่อท่านรู้จักวิธีเฝ้าดูรูป รูปก็ไม่ขึ้นต่อจิตและจิตก็ไม่ขึ้นต่อรูป ( ไม่มีอุปาทาน ) ทั้งรูปและจิตต่างก็บริสุทธิ์


เมื่อโมหะไม่มี จิตก็เป็นแดนแห่งพุทธะ เมื่อโมหะมี จิตก็เป็นแดนนรก (อบายภูมิ) อวิชชาสร้างความหลง และใช้จิตสร้างภพชาติให้แก่จิต ปุถุชนจึงพบตนเองเกิดอยู่ในแดนอบายภูมิเสมอ พระโพธิสัตว์มองทะลุความหลง ( โมหะ ) และไม่สร้างภพชาติให้ปรุงแต่งจิต ท่านจึงพบตนเองอยู่ในแดนพุทธะเสมอ

(ยังมีต่อ)

เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 1* - 14*

1*หมายถึง มหายาน หรือจิต จิตเท่านั้นที่สามารถจะนำคุณไปไหนต่อไหนก็ได้

2* ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และความคิด

3* คือ ขันธ์ 5 หรือองค์ประกอบของจิต ( การปรุงแต่งทางจิต ) ที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

4* ทิศทั้ง 8 บวกกับทิศเบื้องล่าง

5* อรหันต์เป็นการบรรลุขั้นที่ 4 และขั้นสุดท้ายในพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน คือ การเป็นอิสระจากกิเลส จากการเจริญสมถะ

6* เหมือนพระศากยมุนี ได้ปฏิบัติเพื่อแสวงหาการตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึง การออกบวชเป็นพระภิกษุหรือภิกษุณี

7* หมายถึง โพธิมณฑล เขตต้นโพธิ อันเป็นศูนย์กลางของทุกโลก เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าถึงสัมมาสัมโพธิญาณ คำนี้เป็นคำที่นำมาใช้เรียก พุทธาวาสด้วย

8* สถานที่ที่เหมาะแก่การเจริญภาวนาทางจิต

9* เป็นทางที่ปราศจากลัทธิสัจจนิยม และลัทธิทำลายนิยม , ทั้งความมีและไม่มี ( ภพ + ทวิภพ )

10* อริยมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย สัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีเจตนา คือความตั้งใจที่จะขจัดโมหะ หรืออวิชชาให้หมดสิ้น เพราะอวิชชาเป็นตัวเริ่มต้นของพันธนาการแห่งปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ อันเป็นลูกโซ่แห่งกรรม คือ อวิชชา , สังขาร, วิญญาณ , นามรูป , อายตนะ , ผัสสะ , เวทนา , ตัณหา , อุปาทาน , ภพ , ชาติ , ชรามรณะ สองตัวแรกเป็นจุดเริ่มต้นและตัวหลัง ๆ ก็จะดำเนินไป

11* เป็นเป้าหมายของกรรมฐาน สมาธิเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง จิตที่ไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหว เปรียบเหมือนงูที่อยู่ในปล้องไม้ไผ่

12* ได้แก่ขันธ์หรือกลุ่มกอง เป็นส่วนประกอบของ อัตตาตัวตนซึ่งปิดบังธรรมชาติที่แท้จริงเอาไว้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณนั่นเอง

13* พระนิพพานจักไม่สิ้นสุดลง จนกว่าว่าร่างกายนี้จะถูกทิ้งไว้ เบื้อง หลัง (ตาย) ก่อน

14* ลักษณะของพระนิพพาน



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#15   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 20:59:44 ]

ถ้าท่านไม่ใช้จิตปรุงแต่งจิต จิตทุกสภาพเป็นของว่าง และความคิดทุกความคิดก็หยุดนิ่ง ท่านย่อมออกจากแดนพุทธะองค์หนึ่งไปสู่อีกองค์หนึ่ง15* ถ้าท่านใช้จิตปรุงแต่งจิต จิตทุกสภาวะจะถูกรบกวน (ให้หวั่นไหว) ความคิดทุกความคิดจะตกอยู่ในความเคลื่อนไหว ทำให้ท่านออกจากนรกขุมหนึ่งไปสู่อีกขุมหนึ่ง


เมื่อความคิด (ปรุงแต่ง) เกิดขึ้น ก็เกิดกรรมดี กรรมชั่ว เกิดสวรรค์ เกิดนรก เมื่อความคิด (ปรุงแต่ง) ไม่เกิด ก็ไม่มีกรรมดี กรรมชั่ว ไม่มีสวรรค์ – นรก


กายไม่ใช่สิ่งมีอยู่หรือไม่มีอยู่ ดังนั้น อัตตาเป็นชื่อของปุถุชน อนัตตาเป็นชื่อของบัณฑิต เป็นญาณทัศนะที่ทำให้บัณฑิต ไม่ต้องทำอะไรอีกต่อไป เพราะจิตของท่านเข้าถึงความว่างและปลอดโปร่ง ดุจท้องฟ้านภากาศ


“สิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม คือความเป็นผู้ฉลาดในธรรม* อันเป็นการอยู่เหนือความรู้ของพระอรหันต์และปุถุชน” (*โยนิโสมนสิการ… ผู้แปลไทย )


เมื่อจิตถึงนิพพาน ท่านก็ไม่เห็นนิพพาน เพราะจิตคือนิพพาน ถ้าท่านเห็นนิพพานข้างนอกจิต ท่านก็กำลังหลงตัวเอง


ความทุกข์ยากลำบากทุกอย่าง เป็นพืชพันธุ์ของพุทธะ เพราะความทุกข์กระตุ้นเร่งเร้าปุถุชนให้แสวงหาปัญญา แต่ท่านอาจเพียงกล่าวว่า ทุกข์ทำให้พุทธภาวะเกิดขึ้น แต่ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์เป็นพุทธภาวะ กายและจิตของท่าน อุปมาเหมือนท้องนา ทุกข์คือเมล็ดพืช ปัญญาคือต้นกล้า พุทธภาวะคือเมล็ดข้าว


อุปมาอีกอย่างหนึ่ง พุทธภาวะในจิตเป็นเสมือนกลิ่นหอมในไม้ พุทธะเกิดจากจิตที่เป็นอิสระจากทุกข์ อุปมาเหมือนกลิ่นหอมที่เกิดจากไม้ ฉันใด ไม่มีพุทธะโดยปราศจากจิต ฉันนั้น


ถ้ามีกลิ่นหอมโดยปราศจากไม้ ก็เป็นกลิ่นหอมที่ประหลาด ถ้ามีพุทธะโดยปราศจากจิต ก็เป็นพุทธะที่ประหลาดเช่นกัน


ถ้ามีอสรพิษทั้ง 3 อยู่ในจิตของท่าน ท่านก็ตกอยู่ในดินแดน แห่งความสกปรก เมื่ออสรพิษทั้งสาม ( ความโลภ โกรธ หลง ) ออกไปจากจิตของท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความบริสุทธิ์ สะอาด


พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าท่านอยู่ในดินแดนที่มีแต่ความสกปรก พุทธภาวะก็ไม่ปรากฏ , ความเศร้าหมองและความสกปรก หมายถึง ความหลงและกิเลส อันเป็นอสรพิษร้าย , พุทธะ หมายถึง จิตที่สะอาด สว่าง สงบ ”


ไม่มีภาษาใดที่ไม่ใช่ธรรมะ ถ้าพูดทั้งวันโดยไม่ได้พูดสิ่งใด ๆ เลย คือ มรรค การนิ่งเงียบทั้งวัน แต่ยังพูดบางอย่าง (ภายใน) ไม่เป็นมรรค ดังนั้น วาจาของพระตถาคตไม่ได้อาศัยความเงียบ ทั้งความเงียบของพระองค์ ก็ไม่ได้อาศัยวาจาหรือวาจาของพระองค์ก็ไม่ได้แยกจากความเงียบ


บุคคลที่เข้าใจทั้งวาจาและความเงียบ คือบุคคลที่อยู่ในสมาธิ ถ้าท่านรู้แล้วพูด คำพูดของท่านก็อิสระ ถ้าท่านไม่รู้แล้วเงียบ ความเงียบของท่านก็เป็นความกังวล ถ้าคำพูดไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอก คำพูดนั้นก็อิสระ ถ้าความเงียบยังติดอยู่กับปรากฏการณ์ภายนอก ความเงียบนั้นก็สร้างความกังวล


ภาษาโดยเนื้อแท้ย่อมเป็นอิสระ มันไม่มีอะไรต้องทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน ) และความยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีอะไรต้องทำด้วยภาษา


ความจริง ( สัจจะ ) ไม่มีสูงไม่มีต่ำ ถ้าท่านพูดมีสูงหรือต่ำ ก็ไม่ใช่ความจริงแท้ แพ16* ไม่ใช่แพจริง ๆ แต่มันจะเป็นแพก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร คนผู้โดยสารแพนั้นสามารถข้ามน้ำได้ โดยที่ไม่ใช้ของจริง* ( *พาหนะที่ประกอบกันขึ้นด้วยไม้ไผ่หลาย ๆ ลำ แล้วใช้ลอยน้ำได้ …. ผู้แปลไทย )


ตามภาษาสมมติโลก ก็ใช้คำว่าเพศหญิง เพศชาย คนรวย คนจน แต่ในภาษาธรรม ไม่มีคำว่าเพศชาย เพศหญิง ไม่มีคนรวย คนจน


ถ้าเทพธิดา17* เข้าใจธรรมะ หล่อนก็ไม่ต้องเปลี่ยนเพศของหล่อน ( เป็นเทพบุตร ) เมื่อเด็กเลี้ยงม้าเข้าใจธรรมะ เขาก็ไม่ต้องเปลี่ยนฐานะของเขา ธรรมะ ย่อมอยู่เหนือเรื่องเพศและฐานะ


ธรรมะทำให้พวกเขาร่วมอยู่ในปรากฏการณ์บนพื้นฐานอันเดียวกัน เทพธิ***็แสวงหาอิตถีภาวะของหล่อนถึง 12 ปี ก็ไม่ประสบผลสำเร็จการแสวงหาปุริสภาวะของตนเองถึง 12 ปี ก็ไร้ผลเช่นกัน


เวลา 12 ปี หมายถึง ทวาร 12 18* คือ อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 รวมกันเป็น 12 นั่นเอง


ไม่มีจิตก็ไม่มีพุทธะ ปราศจากพุทธะก็ไม่มีจิต ในทำนองเดียวกัน ปราศจากน้ำก็ไม่มีน้ำแข็ง ปราศจากน้ำแข็งก็ไม่มีน้ำ ใครก็ตามพูดถึงการปลดเปลื้องจิต เขาย่อมอยู่ไม่ห่างจากจิต อย่ายึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์ของจิต ( นามรูป )


พระสูตรกล่าวว่า “ เมื่อท่านได้เห็นปรากฏการณ์ของจิต ท่านก็เห็นพุทธะ ” ความตอนนี้หมายถึง เป็นอิสระจากความคิดปรุงแต่ง


“ ปราศจากจิตก็ไม่มีพุทธะ ” หมายความว่า พุทธะมาจากจิต จิตให้กำเนิดแก่พุทธะ แต่ถึงแม้พุทธะมาจากจิต จิตก็ไม่ได้มาจากพุทธะ


อุปมาเหมือนปลามาจากน้ำ แต่น้ำไม่ได้เกิดจากปลา ใครก็ตามต้องการเห็นปลาก็ต้องดูที่น้ำก่อน เขาจึงจะเห็นปลา ฉันใด ใครก็ตามต้องการดูพุทธะก็ต้องมาดูจิตก่อน จึงจะเห็นพุทธะ เมื่อใดท่านเห็นปลา ท่านก็ลืมดูน้ำ และเมื่อใดท่านเห็นพุทธะ ท่านก็ลืมจิต ถ้าท่านไม่ลืมจิต จิตก็ทำให้ท่านสับสนยุ่งเหยิงเสมือนน้ำจะทำให้ท่านงง ถ้าท่านไม่ลืมมัน (ขณะที่ต้องการดูปลา)


ปุถุชนภาวะและพุทธภาวะ เป็นเสมือนน้ำกับความเย็น การที่ชีวิตได้รับความทุกข์โศกโรคภัยจากอสรพิษทั้งสามเป็นปุถุชนภาวะ การชำระจิตให้หลุดพ้นจากอสรพิษทั้งสามได้19* เป็นพุทธภาวะ ภาวะที่เยือกเย็นในน้ำแข็ง ในฤดูหนาว ก็ละลายอยู่ในน้ำแข็งในฤดูร้อน ขจัดน้ำแข็งออกไป ก็ไม่มีความเย็นเหลืออยู่ต่อไป ฉันนั้น


แน่นอนธรรมชาติของน้ำแข็งก็มาจากน้ำธรรมดา ธรรมชาติของน้ำธรรม***็คือน้ำแข็งนั้นเอง ปุถุชนภาวะก็คือพุทธภาวะนั่นเอง


ภาวะทั้งสองอยู่ในธรรมชาติเดียวกัน อุปมาเหมือนหญ้า วูต๋า ( Wu –Tra) และฟูซู 20* (Fu – Su) เกิดรวมอยู่ในรากเดียวกัน แต่ออกคนละฤดูกาล มันเป็นเพราะความหลงในความแตกต่าง จึงทำให้เราต้องใช้คำพูดแยกกันว่า ปุถุชนภาวะและพุทธภาวะ


เมื่องูกลายเป็นมังกร มันก็ไม่ได้เปลี่ยนเกล็ดของมัน เมื่อปุถุชนเปลี่ยนเป็นบัณฑิต เขาก็ไม่ได้เปลี่ยนใบหน้าของเขา เขารู้จักใจของเขาเพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญาจักษุ และเอาใจใส่ร่างกายของเขา โดยอาศัยศีลภายนอก ( วินัย )


กิเลสปลดปล่อยพุทธะ และพุทธะก็ปลดปล่อยกิเลส นี้เป็นพุทธะที่หมายถึงสมภาพ (ความยุติธรรม) กิเลสปลดปล่อยพุทธะ เพราะความทุกข์ยากลำบาก ทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกตัว และพุทธะปลดปล่อยกิเลส เพราะความรู้สึกสำนึกช่วยแก้ไข และขจัดความทุกข์ยากลำบากออกไป


เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่ต้องทนทุกข์ยากลำบาก และช่วยไม่ได้ที่ต้องทำให้เกิดความรู้สึกสำนึก ถ้าไม่มีความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งช่วยให้เกิดความสำนึกและถ้าไม่รู้สึกสำนึก ก็ไม่มีอะไรที่จะแก้ไขลบล้างความทุกข์เช่นกัน


เมื่อท่านถูกความหลงครอบงำ ก็หมายถึงพุทธะปลดปล่อยกิเลส เมื่อท่านรู้สึกสำนึกตัว ก็หมายถึงกิเลสปลดปล่อยพุทธะ พุทธะก็ไม่ได้เป็นพุทธะด้วยตนเอง แต่พุทธะต้องได้รับการปลดปล่อยจากกิเลส


พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถือว่าโมหะเป็นเสมือนบิดาของท่าน โลภะเป็นเสมือนมารดาของท่าน ความหลงและความโลภต่างก็เป็นชื่อของกิเลส โมหะและกิเลสเสมือนแขนซ้ายและแขนขวา ไม่มีอะไรแตกต่างกัน


เมื่อท่านถูกกิเลสครอบงำให้หลง ท่านก็อยู่ฝั่งนี้ เมื่อท่านรู้สึกตัวก็อยู่ฝั่งโน้น แต่เมื่อใดท่านรู้จักใจของท่านว่าเป็นความว่าง และไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอก ท่านก็อยู่เหนือความหลงและความรู้ เมื่อท่านอยู่เหนือความหลงและความรู้ ฝั่งโน้นก็ไม่มี


พระตถาคตไม่ได้อยู่ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น และท่านก็ไม่ได้อยู่กลางกระแส แต่พระอรหันต์อยู่กลางกระแส ปุถุชนอยู่ฝั่งนี้ พุทธภาวะก็อยู่ฝั่งโน้น


พระพุทธเจ้าทั้งหลายมี 3 กาย21* คือนิรมานกาย; กายจำแลง, สัมโภคกาย; รูปกาย, และธรรมกาย; รูปจริง* (*ตามคติของเถรวาท กายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา… ผู้แปลไทย )


นิรมานกาย เรียกว่า รูปอวตารก็ได้ รูปนี้แสดงตัวเมื่อกิเลส พาให้ทำดี สัมโภคกาย แสดงตัวเมื่อบุคคลเข้ารับการฝึกฝนอบรมปัญญา และธรรมกาย แสดงตัวเมื่อเขารู้สึกตัวทั่วพร้อม อยู่ในสภาวะปรมัตถ์


สัมโภคกาย เป็นอีกกายหนึ่งที่ท่านเห็นจาริกไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่สามารถจะช่วยได้ และธรรมกาย ทำให้หายสงสัย ( ในเรื่องราวของชีวิต )


พระมหาสัมมาสัมโพธิญาณ22* อุบัติขึ้นที่เชิงเขาหิมาลัยทันทีที่พบความจริง ธรรมกายไม่ได้ทำหรือพูดสิ่งใด เป็นภาวะที่สงบนิ่ง อยู่อย่างครบถ้วน แต่ที่จริงไม่ใช่พุทธะเพียงองค์เดียว อย่างน้อยก็มีถึง 3 องค์ แต่ที่พูดว่ามี 3 กายนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องให้มนุษย์เข้าใจ ซึ่งมีทั้งขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นสูง* ( * ในชีวิตจิตใจของเรา มีสภาวะธรรมที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา... ผู้แปลไทย)


คนที่มีความเข้าใจตื้น ๆ (ขั้นต้น ) คิดว่าพวกเขากำลังสั่งสมความสุข แต่เป็นการเข้าใจผิดต่อนิรมานกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนิจจัง )


คนที่เข้าใจระดับปานกลาง ( ขั้นกลาง ) คิดว่าเขากำลังทำที่สุดแห่งทุกข์ แต่เป็นความเข้าใจผิดต่อสัมโภคกายของ พระพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎทุกขัง )


คนที่เข้าใจลึกซึ้ง ( ขั้นสูง ) คิดว่าเขากำลังประสบกับพุทธภาวะ แต่เข้าใจผิดต่อธรรมกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนัตตา )


ส่วนคนที่เข้าใจลึกซึ้งที่สุด เฝ้าดูภายในใจตลอดเวลา จึงไม่มีอะไร ที่ทำให้ไขว้เขวหรือสับสน เมื่อจิตสะอาดก็เป็นพุทธะ เขาเข้าถึงญาณทัศนะของพุทธะโดยไม่ใช้จิต กายทั้งสาม ก็เหมือนกับสิ่งอื่นโดยทั่วไป ( ทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ ) เป็นสภาวะที่เข้าถึงและอธิบายไม่ได้ จิตที่ไม่มีนิวรณ์คอยขัดขวางย่อมเข้าถึงมรรค พระสูตรกล่าวว่า “ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้แสดงธรรม ไม่ได้ปล่อยกิเลส และไม่ได้ประสบพุทธภาวะ ” ฉันหมายถึงสิ่งนี้


แต่ละคนย่อมสร้างกรรม แต่กรรมไม่ได้สร้างคน พวกเขาสร้างกรรมในชีวิตนี้ และรับผลของกรรมในชีวิตต่อไป พวกเขาไม่เคยพ้นกรรม เป็นเพียงบางคนที่เจริญมรรคสมบูรณ์แล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม


พระสูตรกล่าวว่า “ ใครไม่สร้างกรรม ก็เข้าถึงธรรม ” นี้ไม่ใช่พูดด้วยความว่าง ท่านอาจสร้างกรรมได้ แต่ไม่ต้องสร้างตัวเองในการกระทำนั้น เพราะเมื่อท่านสร้างกรรม ( ด้วยอัตตา ) ท่านก็ต้องเกิดใหม่ตามผลกรรมของท่าน


ดังนั้น เพราะกรรมอาศัยคนเกิด คนก็ต้องพึ่งกรรม ถ้าคนไม่สร้างกรรม กรรมก็ไม่ติดตามคน ในทำนองเดียวกัน บุคคลสามารถขยายมรรคให้กว้างได้ แต่มรรคไม่สามารถขยายคนได้ ( คนขยายธรรม แต่ธรรมขยายคนไม่ได้23*)


ปุถุชนชอบสร้างกรรม และยืนยันอย่างผิด ๆ ว่า “ กรรมที่ทำไม่มีผลตอบสนอง แต่พวกเขาจะปฏิเสธทุกข์ได้หรือไม่ ? ” เขาสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ว่า สภาวะจิตปัจจุบันได้สั่งสมบ่มเพาะกรรมอะไรไว้ สภาวะจิตข้างหน้า ย่อมเก็บเกี่ยวผลของกรรมนั้นต่อไป พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร ?


แต่ถ้าสภาวะจิตปัจจุบันไม่ได้สั่งสมกรรมอันใดไว้ สภาวะจิตต่อไปก็ไม่มีกรรมอะไรที่ต้องตอบสนอง อย่าเข้าใจผิดเรื่องกรรม* (*พระบาลีว่า กมฺมุนาวฏฺฏตีโลโก = สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หรือตามกฎแห่งกรรม … ผู้แปลไทย)


พระสูตรกล่าวว่า “ แม้จะมีความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ปฏิบัติเคร่งครัด (บำเพ็ญทุกรกิริยา ) ไม่ใช่ชาวพุทธที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้น ในความคิดทำนองเดียวกันนี้ บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ หรือความยากจนก็ได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่อาจเชื่อถือได้ ”


คนที่เข้าใจคำสอนของบัณฑิตก็เป็นบัณฑิต คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนก็เป็นปุถุชน ปุถุชนที่สามารถเลิกละคำสอนของปุถุชนได้ แล้วปฏิบัติตามคำสอนของบัณฑิต เขาก็เป็นบัณฑิตได้ แต่คนโง่ในโลกนี้ย่อมมองหาบัณฑิตนอกตัวเอง พวกเขาไม่เชื่อว่าปัญญาที่มีอยู่ในใจของตนเองนั้นก็เป็นบัณฑิตได้


พระสูตรกล่าวว่า “ อย่าสอนพระสูตรนี้แก่คนที่ไม่เข้าใจ ” และพระสูตรยังกล่าวอีกว่า “ ใจคือคำสอน ” แต่คนที่ไม่เข้าใจคำสอน ย่อมไม่เชื่อใจของตนเอง เมื่อเขาเข้าใจคำสอนนี้ได้ เขาก็เป็นบัณฑิตได้


คนพาลชอบมองหาความรู้ไกลตัวเอง และไกลออกไปในทุกสิ่งที่มีอยู่ในอากาศ เช่น พระพุทธรูป ธูปเทียน และแสงสี นิมิต เป็นต้น พวกเขาสยบอยู่กับการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียปกติจิตของตนเอง ไปกับสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ


พระสูตรกล่าวว่า “เมื่อท่านเห็นว่าปรากฏการณ์ทั้งปวง ไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคต*” (* ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นตถาคต (จากพระบาลี) …. ผู้แปลไทย)


ประตูที่นำไปสู่สัจจะมีเป็นหมื่นเป็นแสน ล้วนออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์ของจิตโล่งโปร่งเหมือนอวกาศ ปรากฏการณ์เหล่านั้นก็เลือนหายไป


ความทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุดของพวกเรา เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ พวกเขากังวลถึงความตาย เมื่อพวกเขามีชีวิต ที่สุขสมบูรณ์ พวกเขาก็กังวลถึงความหิว* (* เมื่อมีชีวิตก็กลัวตาย เมื่อสบายก็กลัวความหิว ชีวิตของปุถุชนจึงหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ ... ผู้แปลไทย )


ชีวิตของปุถุชนจึงคือความไม่แน่นอนอันใหญ่หลวง (มหานิจจัง) แต่บัณฑิต ( อริยชน) ไม่กังวลถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต ไม่ยืดหดกับปัจจุบัน (ไม่ยึดติดกับปัจจุบัน) ทุกขณะจิตบัณฑิตย่อมปฏิบัติตามธรรม (มรรค)


ถ้าท่านยังไม่ตื่นตัวกับบรมสัจจะอันนี้ ท่านควรรีบเสาะแสวงหาครูในโลกนี้ หรือในโลกสวรรค์เสียโดยเร็ว อย่าหมกมุ่นอยู่กับการขาดสติของตนเองอีกต่อไปเลย

จบบทที่ 3

เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 15* - 23*

15* เป็นอาณาจักรหนึ่งที่เข้าถึงได้โดยมีส่วนร่วมในองค์พุทธะ เพื่อออกจากความเศร้าหมองสู่ความบริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงดินแดนบริสุทธิ์ ( วิสุทธิภูมิ ) ให้ดูในภาค 1 ตอนท้ายของวิมลกีรติสูตร

16* พระพุทธเจ้าทรงเปรียบคำสอนของพระองค์ว่า เหมือนแพที่ใช้ข้ามฟากของการเวียนตายเวียนเกิด อันไม่มีที่สิ้นสุด ( โอฆะสงสาร ) แต่เมื่อใช้มันจนบรรลุตามจุดประสงค์แล้ว แพก็ไม่มีประโยชน์ต่อเรา มันก็เป็นแพอยู่อย่างนั้นต่อไป

17* เป็นเทพธิดาที่กล่าวถึงในภาค 7 ของวิมลกีรติสูตร และชายเลี้ยงม้าอาจหมายถึง คนเลี้ยงม้าของพระศากยมุนีก็เป็นได้ เรื่องนี้ไม่ปรากฏชัดเจน

18* ได้แก่อายตนะทั้ง 6 และวิญญาณทั้ง 6 นั่นเอง

19* คือหลุดพ้นจากโมหะ โทสะและโลภะที่นอนเนื่องอยู่ในทวารทั้ง 3 คือ กาย วาจา ใจ เป็นทางไปสู่ความหลุดพ้น กล่าวคือความสิ้นอัตตา ( อนัตตา ) ความไม่มีรูป ( วิมุตติ ) ไม่มีตัณหา ( นิพพาน )

20* เป็นยาชนิดหนึ่ง ที่ถูกสกัดมาจากหญ้าฟูซู เป็นรากที่สองที่งอกออกมา จากรากเดิมคือ วูเต๋า ( Aconitum หรือ ภิกขุภาวะ) รากที่สองนั้นจะไม่งอก จนกว่าหญ้าชนิดดังกล่าวจะมีอายุ 2 ปี

21* ได้แก่ นิรมานกาย (พระศากยมุนี) สัมโภคกาย ( พระอามิตาภะ ) และธรรมกาย ( พระไวยฺโรจนะ )

22* การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เกิดขึ้นในหิมาลัย แต่เกิดขึ้นที่มคธรัฐ ในอินเดียโบราณ , อยู่ตอนใต้ประเทศเนปาล อย่างไรก็ตามในอดีตชาติ พระพุทธเจ้าเคยอาศัยอยู่ในป่าหิมาลัย ในคราวที่บำเพ็ญตนเป็นฤาษี ในที่นี้อาศัยความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ในอดีตนั้นจึงถือว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง

23* นี้เป็นคำกล่าวของ ศาสนาขงจื้อ (จากคำสอนโดยสังเขปของขงจื้อ,ภาคที่ 15)

มดเอ๊ก:




จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#16   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 21:00:09 ]

บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON

ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”
“ วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต ”
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
“ ( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง ”


ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้ เพราะผล , ดอก , กิ่งก้านสาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย


คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้


“ แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่าการเข้าใจ (ถูกต้อง ) ? ”


เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ เสาะแสวงหาบรมปัญญาอันลึกซึ้ง 1* พระองค์ได้ทรงรู้แจ้งชัดว่า ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เป็นภาวะที่ไร้ตัวตนบุคคลเราเขาและรู้แจ้งชัดการปรุงแต่งจิต(จิตตสังขาร) นั้นมี 2 ลักษณะ คือ บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ 2*


โดยธรรมชาติแท้ของจิตนี้ สภาพจิตทั้ง 2 อย่างนี้จึงเป็นปัจจุบันเสมอ แต่มันเกิดสลับกันเสมือนเหตุและผล ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น* (*ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา …. ผู้แปลไทย )


จิตที่บริสุทธิ์พอใจในการทำกรรมดี แต่จิตที่ไม่บริสุทธิ์คิดถึง ( ปรุงแต่ง ) แต่เรื่องชั่ว ๆ บุคคลที่ไม่ได้รับผลจากการกระทบของจิตที่สกปรกคือพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นย่อมอยู่เหนือความทุกข์ และประสบแต่ความสุขของพระนิพพาน ปุถุชนคนอื่น ๆ ย่อมถูกบีบคั้นด้วยจิตสกปรกและสับสนยุ่งเหยิงด้วยกรรมของตนเอง พวกเขาต้องท่องเที่ยวอยู่ในภูมิทั้ง 3 และได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยต่าง ๆ อันไม่อาจนับได้ เพราะจิตที่สกปรกของตนย่อมปิดบังธรรมกายของเขาทั้งหลาย


พระสูตรตอนที่ 10 กล่าวว่า “ ในกายของปุถุชนก็มีพุทธภาวะที่ไม่อาจทำลายได้เสมือนกับพระอาทิตย์ แสงของมันขยายไปทั่วอวกาศไม่มีสิ้นสุด แต่เมื่อใดมันถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบด้วยเงาทั้ง 5(ขันธ์ 5)มันก็เหมือนแสงในตุ่มน้ำถูกบังจากการเห็น”


และพระนิพพานสูตร 3* กล่าวว่า “ ปุถุชนทุกคน มีธรรมชาติแห่งพุทธะ แต่มันถูกคลอบคลุมด้วยความมืด (ของอวิชชา ) ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงได้ ธรรมชาติแห่งพุทธะของเราก็คือสติสัมปชัญญะ ( ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ) โดยการทำให้ตนเองตื่นตัวและทำให้ผู้อื่นตื่นตัวด้วย การประจักษ์แจ้งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นความหลุดพ้น ”


ความดี ( กุศลธรรม ) ทุกอย่างมีสติสัมปชัญญะเป็นรากฐาน และจากรากเหง้าแห่งสติสัมปชัญญะนี้ จึงก่อให้เกิดต้นไม้แห่งคุณธรรมขึ้น และผลิตผลออกมาเป็นนิพพาน การเฝ้าดูจิตเช่นนี้จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ( สัมมาทิฏฐิ )


ท่านกล่าวว่า “ พุทธภาวะที่แท้จริงและกุศลธรรมทั้งปวง มีสติสัมปชัญญะเป็นรากเหง้า แต่อะไรเล่าเป็นรากเหง้าของอวิชชา ? ”


จิตที่หลงผิดด้วยอวิชชา ย่อมประสบแต่ความทุกข์และภัย ความทะเยอทะยานอยากและความชั่วร้ายอันไม่รู้จักจบสิ้น อวิชชาหยั่งรากลึกลงในกิเลส 3 ประการ คือ โลภะ โทสะและโมหะ


สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส 3 ประการเหล่านี้ ย่อมรวมเอาความชั่วประการต่าง ๆ อันนับไม่ได้เข้าไว้ด้วยกัน เหมือนต้นไม้ที่มีลำต้นเพียงลำต้นเดียว แต่มีกิ่งก้านและใบมากมายมหาศาล กิเลสแต่ละตัวยังก่อให้เกิดความชั่วร้ายต่าง ๆ อีกหลายล้านตัว ที่เอาต้นไม้เป็นอุปมา ก็ยังยากที่จะเปรียบเทียบ ให้เหมาะสมได้


กิเลสทั้ง 3 ประการ ย่อมเกิดกับอายตนะทั้ง 6 4* ของเรานี้เอง เหมือนวิญญาณ 6 5* หรือโจร 6 จำพวก


ที่เรียกกิเลสพวกนี้ว่าโจร เพราะว่ามันผ่านเข้าออกตามประตู ของอายตนะ (มโนทวาร) ความโลภและความทะยานอยากอันหาขอบเขตมิได้ ทำให้หมกมุ่นอยู่ในความชั่วร้ายและปิดบังลักษณะอันแท้จริงของจิตไว้ เพราะว่าปุถุชนทั้งหลาย ถูกกิเลสตัณหา หรือพวกโจรชักนำให้ทำผิดทั้งกาย และใจ พวกเขาจึงหลงทางชีวิตและความตาย แล้วร่อนเร่พเนจรไปในภพทั้ง 6 6* และทุกข์ด้วยภัยต่าง ๆ อันหาประมาณมิได้


ทุกข์ภัยเหล่านี้ก็เป็นเสมือนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เป็นระยะทางยาวเป็นพัน ๆ ไมล์ เพราะการไหลรวมของกระแสน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่อย่างไม่ขาดสาย แต่ถ้าผู้ใดตัดต้นกำเนิดของน้ำได้ แม่น้ำก็แห้งเหือดฉันใด บุคคลที่แสวงหาการหลุดพ้น สามารถเปลี่ยนกิเลสทั้ง 3 ให้เป็นที่ตั้งของศีลและเปลี่ยนโจรทั้ง 6 ให้เป็นปารมิตา 6 เขาก็ขจัดภัยร้ายต่าง ๆ ให้แก่ตนได้ทุกครั้งหรือตลอดไป ก็ฉันนั้น


“ แต่ภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 เป็นสภาวะที่กว้างขวางหาที่สุดมิได้ ถ้าเราเอาแต่เฝ้าดูจิต เราจะสามารถหลบหลีกภัยต่าง ๆ ของจิตได้อย่างไร ? ”


กรรมในภูมิทั้ง 3 ล้วนเกิดจากจิต ถ้าจิตของท่านไม่เข้าไปในภูมิทั้ง 3 จิตก็อยู่เหนือกิเลสนั้น เพราะภูมิทั้ง 3 ก่อให้เกิดกิเลส 3 คือ ความโลภ ก่อให้เกิด ภูมิแห่งความทะยานอยาก (กามาวจรภูมิ ) ความโกรธก่อให้เกิดภูมิของรูป ( รูปาวจรภูมิ ) และความหลงก่อให้เกิดภูมิแห่งความไม่มีรูป (อรูปาวจรภูมิ ) และกรรมที่ตัณหาราคะสร้างขึ้น มีทั้งเบาและหนัก ภูมิทั้ง 3 นี้ ถูกแบ่งเป็น 6 สถาน ที่เรารู้จักกันในนามภพทั้ง 6 นั่นเอง


“ กรรมของภพทั้ง 6 เหล่านี้ แตกต่างกันอย่างไร ? ”


ปุถุชนที่ยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง 7* ย่อมทำความดีทั้ง 10 ประการ อย่างขาดปัญญา อันเป็นเหตุให้เกิดในภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 และภูมิสถานเบื้องต่ำทั้ง 3


“ อะไรคือภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 ประการนั้น ? ”


บุคคลที่ประกอบกรรมดี 8* อย่างใบ้บอดโง่เขลา และแสวงหาความสุขอย่างโง่เขลา ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรภูมิ


บุคคลที่รักษาศีล 5 9* แต่ยังลุ่มหลงในความรัก ความชัง เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์ในโทสะภูมิ ( ภูมิของยักษ์ )


ส่วนบุคคล ที่ยึดในโลกียวิสัยอย่างโง่เขลา และเชื่อในคำสอน ( ลัทธิ ) ผิด ๆ และสวดมนต์อ้อนวอนหาแต่ความสุขสบาย ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นภูต ผี ปีศาจ ในโมหะภูมิ เหล่านี้เป็นกำเนิดเบื้องสูง 3 ประการ และอะไรเล่าที่เรียกว่าภพเบื้องต่ำทั้ง 3 ?


ภูมิเหล่านี้เป็นสถานที่ของบุคคลผู้ยึดติดในความคิดที่มีกิเลสและเป็นเหตุให้เกิดความชั่ว กรรมของคนเหล่านี้เกิดจากความโลภ ซึ่งเป็นภพภูมิแห่งเปรตที่ใหญ่ที่สุด


กรรมของคนที่เกิดจากความโกรธคือ ภูมิแห่งผู้เสวยทุกข์ในนรก อันใหญ่ที่สุด และกรรมของคนที่เกิดจากความหลง คือภูมิแห่งเดรัจฉานที่ใหญ่ที่สุด


ภพชั้นต่ำ 3 ประการเหล่านี้ รวมกับภูมิสถานชั้นสูงที่กล่าวมา เป็นภูมิทั้ง 6 ( ในคติของเถรวาทหรือหินยาน กำหนดภูมิของสัตว์ที่เกิดในวัฏฏะสงสาร เอาไว้ 8 ภูมิ คือ อบายภูมิเบื้องต่ำ 4 และสุขภูมิเบื้องสูง 4 อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก, เปรต , อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน สุขภูมิ 4 คือ มนุษย์ , เทวดา , พรหม และพระอริยเจ้า แต่ในของปรมัตถ์ ภูมิทั้ง 8 หมายถึง ภูมิของจิต 8 สภาวะ หรืออารมณ์ประจำตัวของมนุษย์แต่ละคนในชีวิตประจำวัน คือแต่ละขณะจิตเสวยอารมณ์อะไร ดีหรือชั่วก็ถือว่าเขากำลังถือกำเนิดในภพภูมินั้น ๆ โดยถือเอาความรุนแรงของกิเลส 4 ตัว เป็นตัวกำหนด คือผู้เสวยอารมณ์ ดังนี้


โลภะ ก่อกำเนิด เปรต
ราคะ ก่อกำเนิด อสุรกาย – ปีศาจ
โทสะ ก่อกำเนิด สัตว์นรกชั้นต่าง ๆ
โมหะ ก่อกำเนิด เดรัจฉานระดับต่าง ๆ


ความรุนแรงและความเบาบางของกิเลสแต่ละตัว ทำให้เกิดประเภทต่าง ๆ ของภพภูมิ เช่น ใครมีความโลภอ่อน ก็เกิดเป็นเปรตระดับต่ำ ๆ


ใครมีความโลภระดับปานกลาง ก็เกิดเป็นเปรตระดับกลาง ใครมีความโลภจัดและรุนแรง ก็เกิดเป็นเปรตที่ใหญ่และมีพิษภัยร้ายกาจ ถึงขนาดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคมเลยที่เดียว * (* ที่เกิดปัญหาในสังคมโลกทุกวันนี้ ก็เพราะเปรตประเภทนี้มีมาก โลกจึงเดือดร้อน รายละเอียดและระดับต่าง ๆของพวกราคะ–โทสะ-โมหะ ก็พึงเทียบกับความโลภเอาเองเถิดและส่วนในภูมิเบื้องสูง คือสุขภูมิ 4 ประการ ก็พึงเห็นตรงกันข้ามกับพวกมีราคะ – โทสะ – โมหะ เมื่อกิเลสทั้ง 3 เบาบางหรือหมดไป ได้แก่ พวกมนุษย์,เทวดา,อินทร์พรหมและพระอริยเจ้า.... ผู้แปลไทย)


จากเรื่องนี้ ท่านจะเข้าใจเรื่องกรรมทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดถึงความทุกข์ทรมานและโทษภัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากจิตใจของท่านเอง ถ้าท่านเพียงแต่กำหนดพิจารณาจิตของตนเองเท่านั้น ย่อมอยู่เหนือความเข้าใจผิดและความชั่วทั้งหลาย และทุกข์อันเกิดจากภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 ก็สลายตัวไปเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อใดท่านเป็นอิสระจากทุกข์ ท่านก็หลุดพ้นอย่างแท้จริง


แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ หลังจากได้รับความทุกข์ยากลำบากอันมหาศาลเป็นเวลาสามอสงไขยกัลป์แล้ว 10* ฉันจึงได้บรรลุธรรม ”


“ บัดนี้ทำไมจึงกล่าวว่า การเฝ้าดูจิตธรรมดา ๆ และการเอาชนะกิเลสทั้งสามจึงจะหลุดพ้นเล่า ? ”


พระพุทธพจน์เป็นความจริง แต่คำว่า “ สามอสงไขยกัลป์ หมายถึง สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสทั้งสาม สิ่งที่เรียกว่า อสงไขย ในศัพท์ภาษาสันสกฤต ท่านหมายถึง กำหนดนับไม่ได้ ”


ภายในสภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสสามตัวนี้ก็คือ ความคิดชั่วที่กำหนดนับไม่ได้ ( มากมายมหาศาล ) ความคิดทุกความคิดจบลงครั้งหนึ่ง ก็เรียกว่า “ กัลป์หนึ่ง ” สภาพที่ไม่มีสิ้นสุดเช่นนี้ คือสิ่งที่พระองค์ทรงหมายถึง “ สามอสงไขยกัลป์ ”


“ เมื่อใดกายจริง ( ธรรมกาย ) ของท่านถูกบดบังด้วยกิเลสทั้งสาม เมื่อท่านไม่สามารถเอาชนะความชั่วอันมากมายของตนได้ ท่านจะเป็นผู้หลุดพ้นได้อย่างไร ? ”


บุคคลที่สามารถเปลี่ยนแปลงกิเลสทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธและความหลงให้เป็นวิมุติทั้งสามได้ เรียกว่าเขาได้ผ่านพ้นจาก อสงไขยกัลป์ทั้งสามได้


แต่คนยุคนี้ เป็นคนยุคสุดท้ายภายหลัง 11* เป็นปุถุชนคนหนาด้วยความโง่ พวกเขาไม่เข้าใจสิ่งที่พระตถาคต หมายถึง สามอสงไขยกัลป์


พวกเขากล่าวว่า การบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อสงไขยกัลป์ผ่านไปแล้ว ดังนั้น คนเหล่านั้นจึงนำสาวกไปสู่ทางปฏิบัติต่อพุทธภาวะ อย่างผิด ๆ


แต่พระมหาโพธิสัตว์ ได้บรรลุธรรมเพียงสมาทานปฏิบัติสามข้อ 12* เท่านั้นและปฏิบัติตามปารมิตา 6 ข้อ บัดนี้ท่านบอกให้สาวกเฝ้าดูจิต ใครจะสามารถบรรลุธรรม โดยปราศจากการอบรมบ่มเพาะระเบียบวินัยที่ดีได้อย่างไร ?


การปฏิญาณรับศีล 3 ข้อ เป็นการเอาชนะกิเลสที่ห่อหุ้มจิตได้อย่างแน่นอน คือ เมื่อท่านเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ ท่านก็สร้างกุศลธรรม อันไม่มีขอบเขตอีกสามประการ ข้อเดียวแต่รวบทุกข้อเข้าไว้


ในกรณีนี้คือ กุศลธรรมอันมหาศาลจะหลั่งไหลมาสู่จิตใจของท่านและปารมิตา 6 ก็เป็นธรรมช่วยชำระอายตนะ 6


สิ่งที่เราเรียกว่า “ ปารมิตา ” หมายถึง “ อีกฝั่งหนึ่ง หรือ ฝั่งโน้น 13* ”


เมื่อชำระมลทินทั้งหกออกจากใจได้แล้ว ( เรือ ) ปารมิตาก็นำท่านข้ามแม่น้ำแห่งวัฏฏทุกข์ ไปสู่ฝั่งแห่งโพธิญาณ ( นิพพาน)


ตามพระสูตรศีล 3 ข้อได้แก่
1. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะกำจัดความชั่วทั้งปวงให้สิ้นไป ( สพฺพปาปสฺสอกรณํ )
2. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะสั่งสมกุศลทั้งปวง ( กุสลสฺสูปสมฺปทา ) และ
3. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ( สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจเย ) * (* แต่ในคัมภีร์เถรวาทเป็น สจิตฺตปริโยทปนํ คือการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด …. ผู้แปลไทย )


“ แต่บัดนี้ท่านกล่าวว่า ให้ควบคุมจิตให้พ้นจากการครอบงำของกิเลสทั้งสามเท่านั้น ความตรงนี้ไม่ขัดกันกับความหมายในคัมภีร์หรือ ? ”


พระสูตรของพระพุทธเจ้าถูกต้องแต่นานมาแล้ว สมัยเมื่อพระมหาโพธิสัตว์กำลังสร้างสมอบรมพืชพันธุ์และโพธิญาณอยู่ ก็ได้เผชิญหน้ากับกิเลสทั้ง 3 ซึ่งทำให้พระองค์ต้องตั้งสัตย์ปฏิญาณขึ้น 3 ประการ คือ บำเพ็ญข้อห้ามแห่งศีลเพื่อเผชิญกับโลภะกิเลส พระองค์ก็ทำปฏิญาณเพื่อขจัดความชั่วให้หมดไป เมื่อบำเพ็ญสมาธิ เพื่อเผชิญกับโทสะกิเลส พระองค์ก็ปฏิญาณที่จะสั่งสมกุศลธรรมทั้งปวง และเมื่อบำเพ็ญปัญญา เพื่อเผชิญกับโมหะกิเลส พระองค์ปฏิญาณที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์


เพราะพระองค์ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ 3 ประการเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พระองค์จึงสามารถเอาชนะกิเลสทั้ง 3 และเข้าถึงโพธิญาณได้ เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสามได้แล้ว พระองค์ก็สามารถขจัดบาปอกุศลทั้งปวงออกไป และสลัดความชั่วได้หมดสิ้น เมื่อสมาทานศีล ( สัตยปฏิญาณ ) สามข้อแล้วพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไรอีก นอกจากทำความดีและสั่งสมกุศลธรรม


และเมื่อสลัดความชั่วทิ้งไปได้หมดสิ้นแล้วทรงเจริญกุศล พระองค์ก็สามารถบรรลุถึงข้อปฏิบัติทุกอย่างได้สำเร็จ และบรรลุประโยชน์ของพระองค์เท่ากับสัตว์อื่น ๆ และจาริกไปช่วยปุถุชนทุกหนทุกแห่ง


ดังนั้น พระองค์จึงได้ชื่อว่า “ ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์ ” ได้สำเร็จ


ท่านคงเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วว่า การปฏิบัติที่ท่านกำลังบำเพ็ญอยู่ มิได้อยู่แยกไปจากจิตของท่านเลย ถ้าจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิทั้งสิ้นก็บริสุทธิ์ไปด้วย


พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าจิตของเขาสกปรก สัตว์ทั้งหลายก็สกปรกด้วย ถ้าจิตของเขาสะอาด สรรพสัตว์ก็สะอาดด้วย ” และ “ การบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องชำระจิตของท่านให้สะอาด เมื่อจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิก็บริสุทธิ์ด้วย ”


ดังนั้น เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสาม ที่ครอบงำจิตใจได้ ศีลสามข้อ (ปฏิญญาสาม ) ก็สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ

(ยังมีต่อ)

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 1* - 13*

1* เป็นสำนวนแปลของหทัยสูตรว่า เป็นจุดที่พระโพธิสัตว์ เข้าถึงความเป็นพระอวโลกิเตศวร และมีปัญญาสมบูรณ์หรือเรียกว่า ปรัชญาปารมิตา ไม่ถือว่าเป็นปัญญา เพราะเป็นปัญญาวิมุติเป็นสุญญตาปัญญาและว่างเปล่า ไม่มีการแยกแยะระหว่างความว่างกับเวลา ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต


2* คำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ให้ดูใน “ ตื่นด้วยศรัทธามหายาน ” ที่กล่าวถึงความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ , การตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้


3* SUTRA OF TEN STAGES …NIRANASUTA เวลาที่แปลพระสูตรนี้คือศตวรรษที่ 5 ตอนต้น


4* ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ


5* ตัวรับรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด ลังกาวัตรได้อธิบายในความเข้าใจ การพินิจพิเคราะห์และตถาคตานุสสติโดยสรุปถึงรูปแห่งวิญญาณทั้ง 8


6* ภพชั้นต่ำเหล่านี้คือ ภพที่เป็นอยู่ของสิ่งที่ต้องเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นความคิดหลังคิด ชีวิตหลังการเป็นอยู่จนกว่าจะได้บรรลุ และพ้นไปจากสังสารวัฏนี้ เป็นความทุกข์ในวัฏฏะอันต่อเนื่อง ( ทุกในปฏิจจสมุปบาท ) ส่วนเทวดาทั้งปวงจะได้รับความสุขสบาย ในขณะที่ผู้ลงนรก ต้องได้รับความทุกข์อย่างหนักครั้งแล้วครั้งเล่า มารและมนุษย์มีทุกข์มากกว่าเหล่าเทพแต่น้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก


7* เป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การรู้แจ้ง ตรงกันข้ามกับที่นำไปสู่เป้าหมายอื่น ปฏิบัติถูกต้องหมายถึงการเฝ้าระวังรักษาจิตของตนอยู่ตลอดเวลา


8* 8 เป็นการเว้นจากอกุศลกรรม 10 อย่าง คือ การฆ่า การลักขโมย การผิดประเวณี การพูดเท็จ การใส่ร้ายผู้อื่น การพูดคำหยาบ การนินทา ความโลภ ความโกรธ และการเพิ่มพูนความเห็นผิด


9* ศีล 5 นี้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ทั่วไป เป็นข้อห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี พูดเท็จ และดื่มน้ำเมา


10* จักรวาลแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงสร้าง ช่วงดำรงอยู่ ช่วงทำลาย ในแต่ละช่วงนั้นเป็นอสงไขยกัลป์ ช่วงที่ 4 นั้นเป็นช่วงสุญญตาระหว่างจักรวาล ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพราะมันไม่มีความจำเป็น


11* ยุคสุดท้าย อายุพระพุทธศาสนายุคแรกตั้งอยู่ 500 ปี หลังจากเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องแล้วก็เริ่มเสื่อมลง ยุคที่ 2 ตั้งอยู่ 1,000 ปี ในขณะที่เข้าใจในหลักคำสอน ความเสื่อมก็เริ่มดำเนินมาเรื่อย ๆ ในยุคที่ 3 และเป็นยุคสุดท้าย เป็นช่วงที่ไม่แน่นอน สติปัญญาที่จะเข้าใจคำสอน หมดไป พระพุทธศาสนาก็จะหมดไปในที่สุด ในคัมภีร์อื่น ๆ ได้กำหนดยุคละ 500 ปี


12* ศีล 5 สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ศีล 8 สำหรับอุบาสก อุบาสิกา และศีล 10 สำหรับภิกษุสามเณรและแม่ชี ประเภทแรกคือศีล 5 นั้น เป็นคำสั่งให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดประเวณี กล่าวเท็จ และเสพของมึนเมาทุกประเภท จากศีล 5 ข้อนี้ ถ้าเพิ่มอีก 3 ข้อ ก็เป็น ศีล 8 คือเพิ่มข้อห้ามที่ไม่ให้ประดับตกแต่งตน ( ด้วยมาลา , รัตนะและน้ำอบน้ำหอมต่าง ๆ ) ห้ามเห็นแก่ความสะดวกสบายเกินไปในส่วนเกี่ยวกับกาย (คือใช้ที่นอนอันอ่อนนุ่ม) และห้ามไม่ให้บริโภคมากเกินไป (งดการฉันในเวลาหลังเที่ยง ) จากศีล 8 ข้อนี้ถ้าเพิ่มอีก 2 ข้อก็เป็นศีล 10 คือ ไม่ให้ยินดีในการดูมหรสพต่าง ๆ และไม่ให้ยินดีในความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ


13* ปารมิตาทั้ง 6 เหล่า เริ่มต้นด้วย ทาน ศีล ขันติ สัจจ์ และภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา ปารมิตานั้นอุปมาเหมือน เรือที่บรรทุกคนข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ชาวพุทธมองทาน (Charity) เป็นเหมือนความว่างเปล่า เมื่อปราศจากเรือก็ไม่อาจลอยตัวอยู่ได้ กล่าวคือ ศีลนั้นเป็นเสมือนโครงของเรือ ( กระดูกงูเรือ ) ขันติเป็นลำเรือ ( Devotion



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#17   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 21:00:29 ]

แต่พระสูตรกล่าวว่า “ ปารมิตา 6 คือ ทาน ,ศีล ,ขันติ ,จาคะ , สมาธิและปัญญา บัดนี้ท่านกล่าวว่า ปารมิตา หมายถึง จิตบริสุทธิ์ ข้อนี้ท่านหมายความว่าอย่างไร แล้วทำไมท่านจึงเรียกว่า เรือข้ามฟากเล่า ? ”


การสั่งสมอบรมบารมีธรรมทั้ง 6 หมายถึง การชำระอายตนะทั้ง 6 ให้บริสุทธิ์ โดยการเอาชนะโจรทั้ง 6 คือ

1. สลัดโจรทางตาออกไปด้วยการสลัดทิ้งซึ่งโลกธรรมทั้งหลาย * (* ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสลัดละความสนุกสนานในการดูการเห็น ในเรื่องโลกียวิสัยทั้งหลาย…. ผู้แปลไทย )

2. การกำจัดโจรทางหู ด้วยการไม่ยินดียินร้าย ในเสียงทั้งหลายทั้งปวง ( คือไม่ฟังเสียง ) เป็นการรักษาศีล

3. บังคับโจรทางจมูกให้อ่อนเชื่องลง โดยการวางจิตเป็นอุเบกขา (ไม่ยินดียินร้าย) ในกลิ่นทั้งหลาย เรียกว่ามีความอดทน ( ขันติ )

4. ควบคุมโจรทางปาก โดยการเอาชนะความกระหายอยากในรสทั้งหลาย ไม่กระหายอยากในเสียงสรรเสริญเยินยอ ไม่กระหายในการพูดคุย นี่คือ จาคธรรม

5. การปราบปรามโจรทางกาย โดยการดำรงจิตไม่ให้หวั่นไหวไปกับเวทนาทางกายสัมผัส เรียกว่าการบำเพ็ญสมาธิ

6. การทำโจรทางจิตให้อ่อนเชื่องโดยการไม่ยอมแพ้ต่อความหลง คือโมหะ แต่การเจริญสติอยู่เสมอ เรียกว่า บำเพ็ญปัญญา


การบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 นี้ จึงเป็นเสมือนการสร้างพาหนะ สำหรับขนส่ง เหมือนเรือหรือแพ เมื่อได้เป็นพาหนะที่จะขนส่งไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้น บารมีธรรม ทั้ง 6 นี้ จึงถูกเรียกว่า “ เรือข้ามฟาก ”


เมื่อคราวที่พระศากยมุนีบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านได้ดื่มนมสามถ้วยและข้าวต้มหกทัพพี 14* ก่อนหน้าการบรรลุธรรม ถ้าท่านต้องดื่มนมก่อนที่ท่านจะได้ชิมรสแห่งพุทธภาวะ เพียงแต่เฝ้าดูจิตเท่านั้น จะมีผลให้เกิดการหลุดพ้นได้อย่างไร ?


สิ่งที่ท่านพูดนั้นก็จริง,ความที่ว่าท่านบรรลุได้อย่างไรนั้น ท่านต้องได้ดื่มนมก่อนที่จะเป็นพุทธะได้ แต่นมมี 2 ชนิด ชนิดที่พระศากยมุนีดื่มนั้น คงเป็นนมที่ไม่ใช่นมธรรมดา ๆ แต่เป็นนมแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ (วิสุทธิธรรม) ที่ว่านมสามถ้วยนั้นคือ ศีล 3 ข้อ หรือปฏิญญา 3 ประการ และข้าวต้ม 6 ทัพพี หมายถึง ปารมิตา 6 ประการ เมื่อพระศากยมุนีบรรลุพระโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้ดื่มนมแห่งวิสุทธิธรรม ซึ่งพระองค์ชิมรสผลของพุทธภาวะนั้นเอง


การที่พูดว่า พระตถาคตได้ดื่มนมอันไม่สะอาดแบบโลก ๆ อันเป็นนมที่มีกลิ่นคาวนั้น เป็นการดูหมิ่นพระองค์อย่างสูง ความจริงที่กล่าวเช่นนั้น ท่านหมายถึง อมฤตธรรมเป็นธรรมอันปราศจากกิเลสตัณหา ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยจากความทุกข์ของโลกตลอดกาล


ทำไมต้องนำนมอันไม่สะอาด มาสร้างความพอใจแก่คนหิวกระหายด้วยเล่า ?


พระสูตรกล่าวว่า “ โคตัวนี้ ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่สูงหรือต่ำ มันไม่กินหญ้าหรือฟาง และไม่ใช่หญ้ากับโค และร่างของโคตัวนี้มีสีสุกใสเปล่งปลั่งเหมือนทองคำขัดเงา โคตัวนี้คือ พระไวโรจนพุทธะ ” 15* หมายถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์ ซึ่งเกิดจากธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระองค์


น้ำนมแห่งอริยมรรคของศีล 3 ข้อ และปารมิตา 6 ข้อ เพื่อบำรุงกำลังใจ แก่บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้น น้ำนมอันบริสุทธิ์เกิดจากโคเช่นนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้พระตถาคตบรรลุพุทธภาวะเท่านั้น แต่สามารถทำให้ใครก็ตามที่ดื่มแล้วย่อมบรรลุธรรมอันเลิศคือสัมมาสัมโพธิญาณได้ทั้งนั้น


ตลอดทั้งสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกปุถุชนทั้งหลายว่า พวกเขาสามารถบรรลุธรรมได้ ด้วยการประกอบกรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ เช่น การสร้างวัด , การหล่อพระพุทธรูป , การจุดธูป (กำยาน) บูชา , การโปรยข้าวตอกดอกไม้บูชา , การจุดประทีปตลอดเวลา , การปฏิบัติกิจวัตร 6 ระยะ ทั้งกลางวันและกลางคืน, 16* การเวียนเทียนรอบพระสถูป 17* เจดีย์ ,การสมาทานอดอาหารและการกราบไหว้บูชา แต่ถ้าการเฝ้าดูจิตได้รวมกิจวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยดูเหมือนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะเป็นเรื่องมากเกินความจำเป็น


พระสูตรของพระองค์นั้น ได้บรรจุปริศนาธรรม คำอุปมาเอาไว้มากมาย เพราะปุถุชนทั้งหลายมีจิตใจตื้น ( คิดตื้น ) จึงไม่เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้รูปธรรม เพื่อแสดงนัยแห่งนามธรรม * (* ใช้บุคลาธิษฐาน เพื่อแสดงธรรมมาธิษฐาน.... ผู้แปลไทย ) บุคคลผู้แสวงหาความสงบสุข โดยอาศัยการพิจารณาไปกับงานภายนอก แทนที่จะฝึกฝนอบรมในใจ มันจึงเป็นความพยายาม ที่สูญเปล่า


สิ่งที่ท่านเรียกว่า “วัด” เราเรียกว่า “ สังฆาราม ” หมายถึง สถานที่ปฏิบัติธรรมชำระจิต แต่ใครก็ตามป้องกันการเข้าไปของกิเลสทั้งสามกอง และระวังรักษาประตูคืออายตนะของตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจสงบ และยังสะอาดทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าเป็นผู้สร้างวัด ๆ หนึ่งทีเดียว


การก่อพระเจดีย์ หมายถึงว่า บุคคลผู้แสวงหาการหลุดพ้น ต้องสามารถฝึกฝนตนเองในข้อวัตรปฏิบัติได้ทุกอย่าง อริยมรรคของพระตถาคต ไม่สมควรจะตีความหมายเป็นวัตถุภายนอก บุคคลผู้แสวงหาโมกขธรรม ถือว่ารูปกายของเขานั้นเป็นเสมือนเตาหลอม , ธรรมะเป็นเสมือนไฟ ,ปัญญาเป็นเสมือนช่างผู้ชำนาญ และศีลทั้งสามข้อและปารมิตาทั้งหกข้อเป็นเสมือนแบบพิมพ์


พิมพ์เหล่านี้ ทำหน้าที่หล่อหลอมแล้ว นำมาขัดเกลาตกแต่งให้ธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริงปรากฏกายขึ้นในตนเอง และเทลงไปในแบบที่ตกแต่งด้วยระเบียบวินัยและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเขาก็สามารถสร้างภาพเหมือนที่ครบถ้วนได้โดยธรรมชาติ กายอมตะและประเสริฐ ( อริยรูป ) ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเสีย ถ้าแสวงหาสัจจธรรม แต่ไม่เรียนรู้วิธีสร้างภาพที่เหมือนจริง ( พุทธรูป ) ท่านจะได้รับประโยชน์อะไรเล่า ?


การจุดธูปบูชา ( เผากำยาน ) ไม่ได้หมายถึง การจุดธูปที่เป็นวัตถุธรรมดา แต่เป็นธูปแห่งธรรมที่ไม่อาจสัมผัสได้ ซึ่งขับไล่เอากิเลส , อวิชชา และกรรมต่าง ๆ ออกไปด้วยกลิ่นหอมของธูปนั้น ธูปที่ว่านั้นมี 5 ชนิดคือ..


ธูปดอกที่หนึ่ง หมายถึง ศีล คือการเลิกละความชั่ว และสร้างสมความดี

ธูปดอกที่สอง หมายถึง สมาธิ คือมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงในมหายานและมีความตั้งใจอันไม่หวั่นไหว

ธูปดอกที่สาม หมายถึง ปัญญา คือการเพ่งพิจารณากายและใจทั้งภายในและภายนอก

ธูปดอกที่สี่ หมายถึง วิมุติ คือการตัดบ่วงหรือเครื่องผูกของอวิชชาให้ขาด

ธูปดอกที่ห้า หมายถึง ญาณปัญญา คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรขัดข้องในทุกหนทุกแห่ง


ธูป 5 ชนิดนี้ 18* เป็นธูปที่มีคุณค่ามากที่สุดและสูงส่งกว่าธูปใด ๆ ที่จะพึงให้กันในโลก เมื่อพระพุทธองค์อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงตรัสบอกให้สาวกทั้งหลาย จุดธูปอันมีค่าเช่นนั้น ด้วยไฟแห่งสติสัมปชัญญะ อันเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ แต่สาธุชนคนทุกวันนี้ไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงของพระตถาคต พวกเขาใช้เปลวไฟธรรมดาจุดธูปหอมไม้จันทร์ หรือกำยาน แล้วสวดมนต์อ้อนวอน เพื่อขอโชคลาภซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นตามขอจริง ๆ


การบูชาพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง สำหรับการโปรยข้าวตอกดอกไม้ ก็เป็นการยึดถือสัจจะ เช่นกัน ปริศนาธรรมนี้ หมายถึง การแสดงธรรมเป็นการโปรยดอกไม้คุณธรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเชิดชูบูชาธรรมกาย


ดอกไม้คุณธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องบูชาดอกไม้คุณธรรมนี้จะสถิตย์อยู่ชั่วนิรันด์ ไม่รู้จักร่วงโรย ใครก็ตามที่โปรยดอกไม้ เช่นนี้ย่อมได้รับพรอันหาที่สุดไม่ได้ ถ้าท่านระลึกถึงพระตถาคตแล้ว ใช้ให้คนไปทำลายต้นไม้โดยการเด็ดดอกของมัน เพื่อการบูชา ท่านก็ผิด


บุคคลผู้สมาทานรักษาศีล ย่อมไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ให้ได้รับ บาดเจ็บไม่ว่าในสวรรค์หรือมนุษย์ ถ้าท่านทำสิ่งใดให้เจ็บปวด เพราะเข้าใจผิด ท่านต้องได้รับทุกข์จากสิ่งนั้น


“ แต่ผู้ใดที่ละเมิดศีลโดยเจตนา ด้วยการทำสิ่งมีชีวิตให้ได้รับความเจ็บปวดเพื่อเห็นแก่โชคลาภของตน น่าจะเป็นทุกข์มากกว่า พวกเขาจะปล่อยให้สิ่งที่เป็นพรกลายมาเป็นสิ่งโศกเศร้าได้อย่างไร ? ”


ประทีปที่ติดไว้ตลอดเวลา * (* ในศาลเจ้าหรือสถานธรรมทั่วไป เราจะพบเขาจุดประทีปไว้ตลอดวันตลอดคืน ….ผู้แปลไทย ) หมายถึง ความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ ความสว่างแจ่มใสแห่งความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อุปมาเหมือนแสงประทีปโคมไฟที่ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้นย่อมเห็นกายนี้เหมือนตะเกียงน้ำมัน ใจของเราเหมือนไส้ตะเกียง การเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเหมือนน้ำมันตะเกียง และพลังแห่งปัญญาเป็นเหมือนเปลวไฟ เมื่อจุดตะเกียงสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ให้ความสว่างไสว มันย่อมขจัดความมืด และโมหะออกไป


และเมื่อถ่ายทอดธรรมะนี้ให้แก่ผู้อื่น พวกเขาก็สามารถใช้ตะเกียงดวงหนึ่งจุดตะเกียงดวงอื่น ๆ ได้อีกเป็นพัน ๆ ดวง เช่นเดียวกันประทีปเหล่านี้ที่จุดไปยังประทีปดวงอื่น ๆ อีกนับไม่ได้ แสงแห่งประทีปย่อมสว่างไสวเป็นนิรันด์กาล


นานมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร 1 หรือโคมไฟ (ตะเกียง) นี่เป็นความหมายของชื่อของพระองค์ แต่คนเขลาไม่เข้าใจในอุปมา ปริศนาธรรมของพระตถาคต การถือมั่นด้วยความหลง และยึดติดกับสิ่ง ที่เป็นอัตตาตัวตน


พวกเขากลับไปจุดตะเกียงที่เต็มไปด้วยน้ำมันพืชทุก ๆ วัน และคิดว่าด้วยแสงสว่างที่เขาจุดไว้ในสถานธรรมนั้น


พวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่างโง่เสียนี่กระไร ?


แสงสว่างที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งรัศมีออกมาจากพระอุณาโลม 2 ซึ่งอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง สามารถเปล่งรัศมีออกไปทั่วโลก แสงจากตะเกียงน้ำมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร หรือท่านคิดอย่างไร ?


การปฏิบัติ 6 ระยะตลอดทั้งวันทั้งคืน หมายถึง การบำเพ็ญโพธิญาณในระหว่างสัมผัสทั้ง 6 นี่คือความหมายการปฏิบัติตลอด 6 ระยะ


สำหรับการเวียนเทียนรอบสถูปเจดีย์ หมายความว่า “ สถูป” คือ กายและจิตของท่าน ( รูปและนาม ) เมื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านหมุนรอบกายรอบใจของท่านโดยไม่ขาดสาย นี่เรียกว่า การเดินเวียนรอบสถูป ผู้รู้ในอดีตกาลได้ปฏิบัติตามทางสายนี้ แต่คนปัจจุบันไม่เข้าใจว่าการทำเช่นนี้หมายความว่าอย่างไร” แทนที่จะกลับไปเฝ้าดูภายใน พวกเขากลับยืนกรานเฝ้าแต่มองข้างนอก คือ ใช้รูปกายของตนเดินรอบพระสถูปภายนอกและพวกเขาทำอยู่เช่นนั้น ทั้งวันทั้งคืน ทนทำในสิ่งไร้สาระและไม่มีโอกาสได้สัมผัสกายแท้ ( ธรรมกาย ) ของตนเองอย่างใกล้ชิดเลย


การอดอาหาร ถือเป็นสัจจะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องไร้ประโยชน์เว้นแต่ว่าท่านจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของการกระทำ การอดอาหารหมายถึง การจัดระเบียบคือจัดระเบียบกายและใจของท่าน เพื่อไม่ให้ถูกกิเลสบีบคั้นหรือรบกวน และการสมาทานปฏิบัติ หมายถึง การสนับสนุนส่งเสริมระเบียบวินัยที่สอดคล้องตามธรรมะ


การอดอาหารหมายถึง การระวังป้องกันความเพลิดเพลินที่เข้ามา จากอายตนะภายนอกหก3 และกิเลสทั้งสามกองภายใน และเพียรพยายามพินิจพิจารณาเพื่อชำระกาย – ใจ ของตนให้บริสุทธิ์


การอดอาหารรวมถึงอาหาร 5 ชนิดด้วย คือ

1. ธัมมฉันทะ คือ ความพึงพอใจที่เกิดจากการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมะ

2. ความผสมกลมกลืนกับการทำสมาธิ หมายถึง ความกลมกลืนของกายและจิต จากการเห็น ที่ผ่านมาทางรูปและนาม

3. การอ้อนวอน คือ การอ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า ด้วยการขอร้องด้วยปากที่ตรงกับใจ

4. ความตั้งใจ คือตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกุศลธรรม ไม่ว่าจะอยู่ใน การยืน เดิน นั่ง หรือนอน

5. วิมุตติ คือ ทำให้จิตของท่านหลุดพ้นจากความสกปรกของโลกียวิสัย


อาหารทั้ง 5 ประการนี้ไม่ต้องอด ยกเว้นบุคคลที่กินอาหารอันบริสุทธิ์ 5 ประการนี้แล้ว เขาคิดผิดที่ว่าเขาอดอาหาร


ขณะเดียวกัน ท่านต้องหยุดกินอาหารด้วยโมหะ ( ความหลง ) ด้วย ถ้าท่านแตะต้องอาหารอีก ( ขณะทำการอดอาหาร ) ท่านก็ละเมิดการอดอาหารของท่าน และเมื่อใดท่านละเมิด ท่านก็มิได้รับอานิสงส์จากการอดอาหารนั้น


โลกนี้เต็มไปด้วยคนหลงที่ไม่รู้จักเรื่องนี้ พวกเขาทำกายและใจของเขาให้หลงเพลินในลีลาแห่งความชั่วทุกอย่าง และทอดสะพานให้แก่ตัณหาราคะของตน และไม่มียางอาย ( หิริ – โอตตัปปะ ) และเมื่อพวกเขาหยุดกินอาหารธรรมดา พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ การอดอาหาร ” ช่างงี่เง่าเสียนี่กระไร


มันก็เหมือนกับการบูชา ท่านต้องเข้าใจความหมายและรู้จัก ดัดแปลงเงื่อนไข ความหมายนั้นรวมถึงการกระทำและไม่กระทำด้วย ใครก็ตามถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดีชื่อว่าปฏิบัติตามธรรมะ


การบูชา หมายถึง การแสดงความเคารพ รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึงการเคารพสัจจธรรมในตัวของท่านและทำให้โมหะอ่อนตัวลง ถ้าสามารถขจัดปัดเป่าตัณหาลามกออกไป และพึ่งพากุศลจิต ( ความดี ) แม้ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาว่าเป็นการบูชาก็ตาม รูปแบบการบูชาเช่นนี้ เป็นรูปแบบที่ถูกต้อง


พระพุทธองค์ ต้องการให้ปุถุชนระลึกถึงการบูชา อันเป็นการแสดงออกทางจิตที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และอ่อนโยนต่อทุกสิ่ง ดังนั้น พระองค์จึงตรัสให้ปุถุชนทั้งหลายรู้จักหมอบราบกราบกราน เพื่อแสดงออกซึ่งความเคารพของเขา ให้มีการแสดงออกทั้งภายนอกและภายใน เพื่อมีความสอดคล้องกลมกลืนกันทั้งแก่นสารและรูปแบบ ( เนื้อหาและรูปแบบ ) บุคคลที่ไม่เข้าใจความหมายภายใน และมุ่งที่แสดงออกแต่อาการภายนอกแทน ไม่เคยหยุดยั้งความหลงเพลิดเพลินในอวิชชา ความเกลียดชัง และความชั่วได้เลย


ขณะที่ทำตนเองให้อ่อนน้อมจนอ่อนเพลีย ก็ไม่ได้รับประโยชน์อานิสงส์อะไรเลย เขาสามารถหลอกลวงผู้อื่นด้วยลีลาท่าทาง คือ ต่อหน้าบัณฑิตก็ยังขาด หิริ – โอตตัปปะ ต่อหน้าปุถุชนก็แสดงอาการ เหลวไหลไร้สาระ แต่พวกเขาก็หลีกไม่พ้นจากวัฏฏทุกข์ ได้รับบุญกุศลจากการทำเช่นนั้นเพียงน้อยนิดเหลือเกิน


ห้องน้ำ (อุทกฆรสูตร5) ในพระสูตรกล่าวว่า “ ด้วยการสนับสนุนการสรงน้ำพระ ประชาชนย่อมได้รับพรอย่างมากมาย ” เรื่องจะปรากฏเป็นตัวอย่าง การปฏิบัติภายนอกที่ทำให้ได้บุญ และเรื่องนี้ก็ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับการเฝ้าดูใจได้อย่างไร? * (* การสรงน้ำพระ เป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมาช้านาน โดยเฉพาะในเมืองไทย ทำกันมาจนชิน แต่ไม่มีใครคิดว่าทำเพื่ออะไร โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ประเพณีสรงน้ำพระหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนผ้า , การรับยศ เลื่อนยศ , ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ จากหนังสือเล่มนี้ เราจะรู้ความหมายของการสรงน้ำเราทำกันอยู่นั้น หมายความว่าอย่างไร ….. ผู้แปลไทย )


ในที่นี้ การสรงน้ำพระไม่ได้หมายถึงการสรงน้ำภายนอกใด ๆ เลย สมัยเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงอุทกฆรสูตร ( สูตรว่าด้วยเรื่องห้องน้ำ ) พระองค์ต้องการให้สาวกของพระองค์จดจำธรรมะ ว่าด้วย การชำระ (ขจัด ) ดังนั้นพระองค์จึงใช้กิจวัตรประจำวัน บรรจุความหมายอันแท้จริงของพระองค์ไว้ ซึ่งพระองค์ได้บันทึกไว้ ในการอธิบาย เรื่องการทำบุญจากการให้ทานวัตถุ 7 ประการ ในวัตถุ 7 ประการนั้นได้แก่

1. น้ำสะอาด
2. ไฟ , ประทีป
3. สบู่
4. ไม้สีฟัน
5. ขี้เถ้าสด
6. ยาขี้ผึ้ง
7. เครื่องนุ่งห่มภายใน


พระองค์ใช้วัตถุ 7 ประการนี้ เพื่อแสดงความหมายธรรม 7 ประการ อีกแบบหนึ่งเพื่อพัฒนาบุคคลเพื่อขจัดโมหะและสิ่งสกปรกออกจากใจที่ถูกมันห่อหุ้มอยู่


ปริศนาธรรมข้อแรก คือ ให้น้ำสะอาด ซึ่งหมายความว่า ให้รู้จักชำระส่วนเกินของชีวิตออกไป เสมือนน้ำสะอาดชำระความสกปรกของร่างกายออกไปฉันนั้น


ข้อที่ 2. ให้ไฟหรือประทีป หมายถึง ปัญญา ซึ่งรอบรู้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งรูปธรรมนามธรรม เสมือนไฟที่ทำน้ำเย็นให้อุ่นได้


ข้อที่ 3. การให้สบู่ หมายถึง การรู้จักแบ่งแยกระหว่างของสะอาดและของสกปรก ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติเพื่อเลิกละความชั่ว เสมือนสบู่ที่ใช้เพื่อขจัดความสกปรกออกไป


ข้อที่ 4. การให้ไม้สีฟัน หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสามารถชำระล้างมลทินต่าง ๆ อันเกิดจากความหลงได้ เสมือนไม้สีฟัน เมื่อเคี้ยวไม้สีฟันประจำ จะทำให้ลมหายใจสะอาด


ข้อที่ 5. การให้ขี้เถ้าสด หมายถึง อจลศรัทธา ( ความเชื่ออันไม่หวั่นไหว ) ซึ่งทำให้ขจัดความสงสัยทุกอย่างได้ เสมือนขี้เถ้าบริสุทธิ์ ใช้ทาร่างกายเพื่อป้องกันโรค * (* คนไทยชอบใช้ขมิ้นมากกว่าขี้เถ้า … ผู้แปลไทย )


ข้อที่ 6. การให้ยา – น้ำมันขี้ผึ้ง หมายถึง มีความอดทน (ขันติ ) ซึ่งสามารถจะเอาชนะความอวดดื้อถือดี และความหน้าด้านของตนเอง ได้เสมือนขี้ผึ้งซึ่งใช้นวดลำตัวให้หายปวดเมื่อยได้


ข้อที่ 7. การให้เครื่องนุ่งห่มภายใน หมายถึงให้มีหิริ – โอตตัปปะ(มียางอาย ) ซึ่งให้รู้จักแก้ไขความชั่วของตนเองอยู่เสมอ เหมือนเครื่องนุ่งห่มภายใน ใช้นุ่งห่มร่างกายเพื่อปกปิดส่วนที่น่าเกลียดน่าละอาย




จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#18   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 21:00:49 ]

ปริศนาธรรม 7 ประการนี้ เป็นความหมายที่ถูกต้องของพระสูตรซึ่งพระตถาคตเจ้าได้ตรัสบอกแก่สาวกแห่งมหายาน ให้มีสายตายาวไกล ไม่เป็นคนใจแคบด้วยทัศนะมืดมน เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทุกวันนี้ทำด้วยความไม่เข้าใจ ( ความหมายที่แท้จริง )


ห้องน้ำ หมายถึง ร่างกาย เมื่อท่านจุดไฟแห่งปัญญานั้นแล้ว อุ่นน้ำสะอาดแห่งศีลและอาบด้วยน้ำ คือ พุทธภาวะอันแท้จริงในตัวคุณ


ด้วยการส่งเสริมข้อวัตรปฏิบัติ 7 ประการนี้ ท่านก็จะเพิ่มพูนบุญกุศลของท่านได้มากขึ้น พระในยุคนั้นมีความเข้าใจเช่นนี้ ท่านจึงเข้าใจความหมายคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ท่านเหล่านั้นดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้กุศลธรรมของท่านเต็มบริบูรณ์ได้ และได้ลิ้มรสแห่งพุทธภาวะ


แต่สาธุชนปัจจุบันไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงเหล่านี้ พวกเขาสรงน้ำธรรมดา ๆ เพื่อชำระร่างกายและคิดว่าตนเองได้ปฏิบัติตามพระสูตรแต่ความจริงแล้วพวกเขาเข้าใจผิด


พุทธภาวะอันแท้จริงของเรา ไม่มีรูปลักษณ์และมลทินแห่งความทุกข์ยากลำบาก ก็ถ้าไม่มีรูปแล้ว บุคคลจะใช้น้ำธรรมดาชำระนามรูปได้อย่างไร มันทำไม่ได้ เมื่อไรเขาจึงจะตื่นตัว ?


การชำระภายในเช่นนี้ ท่านต้องเฝ้าดูมัน เมื่อใดกิเลสและอาสวะเกิดขึ้นจากตัณหา ท่านต้องเพิ่มการเฝ้าดูมากขึ้น จนให้สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งภายในและภายนอก, แต่ถ้าท่านพยายามชำระร่างกายนี้ ท่านจะต้องขัดถูมันจนกว่าจะหมด มันถึงจะสะอาด จากการอาบนี้ ท่านต้องเข้าใจว่าการอาบน้ำเพื่อชำระสิ่งสกปรกภายนอก ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน


พระสูตรกล่าวว่า “ คนที่อ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า จนหมดหัวใจเพื่อความแน่ใจที่จะได้ไปเกิดในสวรรค์ทิศตะวันตก 7 เพราะประตูสวรรค์นี้จะนำไปสู่พุทธภาวะ จะแสวงหาการหลุดพ้นด้วยการเฝ้าดูจิตไปทำไม? ”


ถ้าท่านกำลังอ้อนวอนพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำสิ่งนี้ให้ถูก ถ้าท่านเข้าใจความหมายของการอ้อนวอนไม่ถูกต้องแล้ว ท่านก็จะผิด ถ้าท่านทำสิ่งนี้ผิด ท่านก็ยังไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย


พระพุทธเจ้า หมายถึง ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกทั้งกายและใจนี่เอง จะช่วยป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป และการอ้อนวอน หมายถึง การเรียกร้องหาจิตใจ การเรียกร้องหาจิตใจตลอดเวลา เป็นระเบียบวินัย ( ธรรมวินัย ) ที่ท่านสามารถปฏิบัติตามได้ด้วยความสามารถทั้งหมดของท่าน นี่เป็นความหมายที่แท้จริงของการอ้อนวอน การอ้อนวอนขอร้องต่อพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อ้อนวอนด้วยความคิดและคำพูด


ถ้าท่านใช้ไซจับปลา (ไซดักปลา) เมื่อท่านจับได้สำเร็จ ท่านอาจลืมไซได้ ถ้าท่านใช้ภาษาเพื่อความหมาย ถ้าท่านพบความหมายแล้ว ท่านก็ลืมภาษาได้เช่นกัน


การขอร้องอ้อนวอน ด้วยการออกพระนามของพระพุทธเจ้า ท่านต้องเข้าใจธรรมะสำหรับการอ้อนวอนด้วย


ถ้าท่านไม่เอาใจใส่ในการกระทำนั้นได้ ปากของท่านก็สวดมนต์ไป ด้วยพระนามอันว่างเปล่า * (* การสวดมนต์ เป็นการอ้อนวอนแบบหนึ่ง แต่ถ้าไม่แปล ไม่เข้าใจความหมาย ก็ไร้ประโยชน์ เหนื่อยเปล่าเช่นกัน … ผู้แปลไทย )


ตราบใดที่ท่านยังได้รับความทุกข์ยากลำบาก เพราะกิเลสหรือความคิดของตนเองอยู่ จิตอันมืดมนของท่านก็จะบดบังการเห็นพระพุทธเจ้าของท่าน และความพยายามของท่านก็ทำให้เสียเวลาเปล่า การสวดมนต์และการอ้อนวอน เป็นโลกที่แยกตัวออกไป * (* กิจกรรม ที่แยกจากสังคม …. ผู้แปลไทย)


การสวดมนต์สำเร็จด้วยปาก แต่การอ้อนวอนสำเร็จด้วยใจ เพราะการอ้อนวอนออกมาจากจิต เป็นการเคาะประตู เรียกว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ( สติสัมปชัญญะ ) เท่านั้น การสวดมนต์มีศูนย์รวมอยู่ที่ปาก และปรากฏออกมาเป็นเสียง ถ้าท่านยึดติดปรากฏการณ์ขณะที่แสวงหาความหมายท่านก็จะไม่พบสิ่งใด


ดังนั้น นักปราชญ์ในอดีตจึงอบรมฝึกฝนการใคร่ครวญพิจารณา และไม่ใช้วาจา
จิตนี้เป็นแหล่งกำเนิดของกุศลธรรมทั้งปวง และจิตนี้ก็เป็นใหญ่กว่าอำนาจทั้งปวง ความสุขอันอมตะของพระนิพพาน เกิดจากจิตที่สงบการเกิดใหม่ในภูมิทั้งสามก็มาจากจิตด้วย


จิตเป็นประตูเปิดไปสู่ทุก ๆโลกและเป็นท่าน้ำข้ามไปสู่ฝั่งตรงข้ามได้ บุคคลที่รู้จักว่าประตูอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะเข้าไปคนที่รู้ว่าท่าน้ำอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะข้ามไป


บุคคลที่ฉันพบทุกวันนี้ เป็นคนตื้นเขิน เขาคิดว่าบุญเป็นสิ่งที่มีตัวตน พวกเขาจึงใช้จ่ายทรัพย์ทำบุญอย่างฟุ่มเฟือย ฆ่าเนื้อเบื่อปลาทั้งบกและทะเล พวกเขามอมเมาตัวอย่างโง่ ๆ ด้วยการสร้างสถูปเจดีย์อย่างสูงส่ง บอกให้ประชาชนบริจาคไม้และอิฐ หิน ดิน ปูน ทาสีเขียวและน้ำเงิน ( เจดีย์ที่สร้างเสร็จ )


พวกเขาทำกายและใจให้ตึงเครียด ทำตนเองให้เจ็บป่วยและนำผู้อื่นไปผิดทางและเขาไม่รู้จัก หิริ – โอตตัปปะ อย่างเพียงพอแล้วพวกเขาจะบรรลุธรรมได้อย่างไร พวกเขาเข้าไปยึดติดกับสิ่งที่เห็นภายนอกอย่างเหนียวแน่น


ถ้าท่านพูดเรื่องอนัตตาให้เขาฟัง เขานั่งนิ่งและงงงัน ชอบแสดงความเมตตาเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อชาวโลก แต่มีความโลภลามกอยู่เบื้องหลัง เขายังใบ้บอดต่อมหันตทุกข์ที่กำลังมาถึง สาวกเช่นนั้นกำลังมอมเมาตนเองด้วยสิ่งไร้สาระ หันเหจากสัจจธรรมไปสู่ความจอมปลอม พวกเขาไม่ได้พูดอะไรนอกจากขอพร เพื่อให้พบความสุขในอนาคต


ถ้าท่านสามารถเพ่งพินิจแสงสว่างภายในใจของตนอยู่เสมอ ๆ แล้วจะเห็นแสงสว่างภายนอก ท่านจะขับไล่อสรพิษทั้ง 3 ( โลภะ โทสะ โมหะ ) และโจรทั้ง 6 ( อุปาทานในอายตนะ ทั้ง 6 ) ออกไปได้ทันทีและตลอดไป กุศลธรรมและบารมีธรรมอันมากมายมหาศาลจะบังเกิดขึ้นแก่ท่าน และเป็นพาหนะนำไปสู่ประตูแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม


การรู้แจ้งแทงตลอด โลกียธรรมและโลกุตตรธรรม จะอุบัติขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าการกระพริบตาเสียอีก การรู้แจ้งธรรมจะบังเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ทำไมต้องกังวลจนผมหงอกด้วยเล่า ?
เมื่อประตูสัจจธรรมยังเปิดไม่ได้ ฉันก็เพียงได้แต่เฝ้าดูใจไปเรื่อย ๆ


เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 14* - 24*


14* หลังจากที่ได้ทรงอุทิศตนเป็นนักบวช ออกแสวงหาการปฏิบัติเป็นเวลาหลายปี โดยที่ไม่ได้รับผลสำเร็จ พระศากยมุนี ก็ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์ แล้วหันมาบริโภคข้าวมธุปายาส (ข้าวต้มใส่น้ำนม ) ซึ่งนางนันทผลาลูกสาวของหัวหน้าคนเลี้ยงวัวนำมาถวาย เมื่อทรงเสวยแล้วก็ได้นั่งประทับอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ยอมลุกจากที่นี้ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ


15* ได้แก่ พระสุริยพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมกายหรือกายแท้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นไวยโรจนะ จึงหมายถึง รูปลักษณ์ส่วนกลางที่อยู่ในวิหารของพระศากยมุนี พุทธะทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วย พระอกโภยะแห่งทิศตะวันออก , พระรัตนสัมภยะแห่งทิศใต้ , พระอมิตาภะ แห่งทิศตะวันตก , และพระอโมคสิทธิแห่งทิศเหนือ


16* ได้แก่ยามเช้า เที่ยง บ่าย เย็น เที่ยงคืนและใกล้รุ่ง


17* สถูปเป็นลักษณะดินรูปโอ่งคว่ำ หรือสิ่งก่อสร้างขึ้นมาครอบพระธาตุต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระบรมสารีริกธาตุหรือพระคัมภีร์ของพระพุทธเจ้า การเดินเวียนรอบสถูปนั้นต้องเดินเวียนขวา (ปทักษิณ) คือ ไหล่ขวาจะต้องหันเข้าหาสถูปเสมอ 8 สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะแห่งคุณสมบัติทั้ง 5 ประการของร่างกายพระพุทธเจ้า


18* พระศากยมุนีได้พบพระพุทธเจ้าทีปังกร ในปลายอสงไขย กัลป์ที่ 2 และได้ถวายดอกบัวบูชาพระองค์ 5 ดอก แล้วพระพุทธเจ้าทีปังกรได้ทรงพยากรณ์พระศากยมุนีไว้ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระพุทธเจ้าทีปังกรนั้นปรากฏพระองค์เมื่อไรก็ตาม, พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ชื่อ ปุณฑริกสูตร เมื่อนั้น


19* เป็นลักษณะแห่งมหาบุรุษอย่างหนึ่งใน 32 ประการ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง เป็นที่แผ่รังสีของพระพุทธเจ้า (อุณาโลม)


20* หมายถึง ความรู้สึกที่ดึงดูดหรือวิญญาณ 6 ประการ เป็นเครื่องเข้าไปยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน


21* เป็นคำแปลจากคำว่า ภควันต์ เป็นชื่อหนึ่งในสิบสอง ของพระพุทธเจ้า คำแปลในภาษาจีนได้ใช้คำใหม่แทน คือ World – honored one


22* แปลโดยฉีเก๋า ( Shih – kao ) ในกึ่งศตวรรษที่ 2 สูตรนี้โดยสังเขปกล่าวถึงอานิสงส์ของการสร้างที่อาบน้ำให้แก่พระภิกษุทั้งหลาย


23* เป็นหนึ่งในเครื่องนุ่งห่มประจำตัวของภิกษุทั้ง 3 ประเภท คือชุดภายในใส่เพื่อป้องกันตัณหา ผ้า 7 ชิ้นใส่เพื่อป้องกันความโกรธ และชุดที่มี 27 ชิ้นใส่ป้องกันโมหะ


24* เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสุทธิภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนแห่งพระอมิตาภะ ผู้เป็นหนึ่งในพระธยานีพุทธะทั้ง 5 พระองค์ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง กับชาวตะวันตกโดยตรง การอ้อนวอนต่อพระอามิตภะจนหมดหัวใจ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้ที่อุทิศตนเช่นนั้นจะได้ไปเกิดใหม่ในดินแดนอันบริสุทธิ์ร่วมกับพระองค์ ซึ่งถือกันว่าอยู่ห่างไกลออกไปหลายล้านไมล์ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไปเสียเลยทีเดียว การไปเกิดใหม่ที่ดินแดนแห่งนั้นครั้งหนึ่ง ผู้อุทิศตนหรืออุบาสกอุบาสิกาแทบจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ในการเข้าใจธรรมะและการบรรลุถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ (วิมุตติ)

จบ



ในสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมไม่มีอะไรที่จริงแท้ ดังนั้นเราควรเปลื้องตนออกเสียจากความคิดเห็น ถึงความจริงแท้แห่งวัตถุเหล่านั้น ใครที่เชื่อในความจริงแท้ของวัตถุ ย่อมถูกพันธนาการอยู่ด้วยความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งลวง ใครที่ตระหนักชัดถึงความจริงแท้ในตัวเขาเอง ย่อมรู้ว่า จิตที่แท้ต้องค้นหาต่างที่กับปรากฏการณ์ที่ผิด ถ้าจิตของใครถูกพันธนาการไว้ด้วยปรากฏการณ์ที่เป็นความลวงแล้ว จะไปหาความจริงแท้ได้ที่ไหน ในเมื่อปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่ความจริงแท้

สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง ใครฝึกตนเองให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ ก็ควรเป็นความสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว ความสงบนิ่ง ( เหมือนอย่างวัตถุ) ก็เป็นเพียงความสงบนิ่ง (ไม่ใช่ธฺยานะ)........”

สูตร ของเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล


“ ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ
เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”
“ วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต”
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
“ ( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง ”
ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้เพราะผล , ดอก,กิ่งก้านสาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก
ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้

“ แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่า การเข้าใจ (ถูกต้อง ) ? ”



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#19   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 21:02:49 ]

หลักการปฏิบัติธรรม...โพธิธรรมคำสอน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ

............................................

หลักการปฏิบัติธรรมอย่างง่าย

ถนนหลายสายย่อมนำไปสู่มรรค แต่โดยพื้นฐานแล้วย่อมมีทางเพียง 2 ทางเท่านั้น คือภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การเข้าถึงทฤษฎี หมายถึงการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเนื้อหาสาระในการสอน และความเชื่อที่ว่าสรรพชีวิตย่อมรวมอยู่ในธรรมชาติอันเดียวกัน แต่ความเข้าใจตามหลักทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งชัดเจน เพราะเราถูกห่อหุ้มด้วยอำนาจแห่งเวทนาและความหลง

สำหรับบุคคลที่ขจัดความหลงออกได้ ย่อมพบความจริงคือ บุคคลที่เพ่งพินิจต่อกำแพงธรรม (สุญญตาธรรม) อยู่เสมอ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในตนเองและผู้อื่น ย่อมรวมความเป็นปุถุชนและพุทธะเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคงไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับอำนาจคัมภีร์ตำรา

บุคคลเช่นนั้น ย่อมประสบกับความสำเร็จ และไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีด้วย การไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับหลักทฤษฎี เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเข้าสู่กระแสธรรม

การเข้าสู่กระแสธรรมโดยการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติที่ประกอบไปด้วยหลัก 4 ประการ (อริยสัจแบบมหายาน) เหล่านี้คือ

1. การกำหนดรู้ทุกข์
2. การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ
3. การไม่มีความทะเยอทะยาน
4. การเจริญภาวนาธรรม (อริยมรรค)


ประการที่ 1. การกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อแสวงหาอริยมรรคย่อมเผชิญกับความยากลำบาก ผู้แสวงหาย่อมคิดถึงตัวเอง (ด้วยความท้อถอยว่า) "ในกัปกัลป์ที่ผ่านไป อันกำหนดนับไม่ได้นี้ ฉันได้ใช้ชีวิตสิ้นเปลืองไปกับสิ่งไร้สาระ และเวียนว่ายไปในภพภูมิต่างๆมากมาย บ่อยครั้งที่เราโกรธอย่างไร้เหตุล และละเมิดฝ่าฝืนทำสิ่งผิดนับครั้งไม่ถ้วน

มาบัดนี้ แม้จะไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เราก็ต้องถูกลงโทษด้วยอดีตกรรม เมื่อกรรมชั่วให้ผลตอบสนอง ทั้งเทวดาและมนุษย์ก็ไม่อาจมองเห็น ฉันจะก้มหน้ารับผลกรรมอันนี้ด้วยจิตใจที่เปิดเผย และจะไม่คร่ำครวญพร่ำบ่นถึงความไม่เป็นธรรม"

พระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านพบกับความทุกข์ยากลำบากอย่าเสียใจ เพราะมันจะทำให้เกิดอุปาทาน" เมื่อเข้าใจเช่นนี้ชื่อว่าท่านทำถูกต้องกับทฤษฏี และการกำหนดรู้ทุกข์ย่อมทำให้ท่านเข้าสู่กระแสแห่งอริยมรรค


ประการที่ 2. การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ ในฐานะเราเป็นสัตว์ที่ต้องตาย เราถูกสังขารธรรมทั้งหลายครอบงำไม่ใช่ตัวเราเอง ความทุกข์ความสุขที่เราได้รับล้วนเกิดจากสังขาร (การปรุงแต่งกาย-ใจ) เราจะไม่มีความรู้สึกเป็นสุขถ้าเราประสบโชคอันยิ่งใหญ่ เช่นชื่อเสียง โภคทรัพย์ เป็นต้น อันเป็นผลของบุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญไว้ในอดีตกาล เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงโชคลาภก็หมดไป

ทำไมเราต้องยินดีพอใจในชีวิตเช่นนั้นด้วยเล่า ? เมื่อความสำเร็จและความล้มเหลวต่างก็เป็นสังขารธรรมทั้งนั้น จึงไม่ควรปล่อยจิตใจให้ฟู-แฟบไปกับสังขารเหล่านั้น ผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับกระแสแห่งความสุข ความทุกข์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคอย่างเงียบๆ


ประการที่ 3. การไม่มีความทะเยอทะยาน คนในโลกนี้ถูกความหลงครอบงำ พวกเขาจึงมักหมกมุ่นมัวเมาอยู่กับโลกธรรม ด้วยความหลงละเมอทะเยอทะยาน แต่ผู้รู้ (วิญญูชน) ย่อมตื่นตัว ท่านเหล่านั้นย่อมเลือกทำตามเหตุผลมากกว่าความเคยชิน และมีโยนิโสมนสิการ คือทำทุกสิ่งไว้ด้วยใจอันแยบคาย และปล่อยร่างกายให้เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล

ปรากฏการณ์ (รูป-นาม) ทุกอย่างเป็นของว่างเปล่า ไม่มีคุณค่าควรแก่การทะยานอยาก ความเสื่อมกับความเจริญเกิดขึ้นและดับไป สลับกันอยู่ตลอดเวลา ความยินดีพอใจอยู่ในภพทั้งสาม เป็นเสมือนการอาศัยอยู่ในเรือนที่ไฟกำลังไหม้อยู่ การมีกายนี้จึงเป็นทุกข์

มีใครบ้างที่อาศัยกายนี้แล้ว พบกับความสงบสุข บรรดาผู้ที่เข้าใจสัจธรรมข้อนี้ ย่อมถ่ายถอนตนเองออกจากภพทั้งปวงและหยุดการปรุงแต่ง หรือทะยานอยากในสิ่งใดๆ

พระสูตรกล่าวว่า "การแสวงหาด้วยความทะยานอยากย่อมเป็นทุกข์, การไม่แสวงหาด้วยความอยากย่อมเป็นสุข" เมื่อไม่ทะยานอยาก ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในกระแสแห่งอริยมรรค


ประการที่ 4. การเจริญภาวนาธรรม คำว่า ธรรม หมายถึงปรมัตถสัจจะซึ่งถือว่าธรรมชาติทั้งปวงเป็นสิ่งบริสุทธิ์ด้วยธรรมสัจจะนี้ ปรากฏการณ์ทั้งปวงจึงเป็นความว่าง กิเลสตัณหา และอุปาทาน ทั้งที่เป็นอัตตวิสัยและภาวะวิสัยเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่จริง

พระสูตรกล่าวว่า "ธรรมะ" เป็นนิชชีวะ คือ มิใช่สัตว์ บุคคล เพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายจากสัตว์บคุคลและธรรมะเป็นอนัตตา เพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายแห่งความเป็นตัวตน (ที่จะปฏิบัติตาม)

บุคคลผู้นั้นย่อมอุทิศทั้งกายชีวิต ตลอดถึงทรัพย์สมบัติให้เป็นทานโดยไม่เสียดาย และไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากการให้ ไม่ว่าเป็นวัตถุ ข้าวของเงินทอง และไม่มีความลำเอียงยึดติดในการให้ทาน และช่วยสั่งสอนให้ผู้อื่นได้ขัดเกลากิเลสโดยไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ

ดังนั้นเมื่อตนเองปฏิบัติได้สำเร็จแล้ว ก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้เขาได้เข้าถึงธรรมได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน เพราะการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นก็เป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมไปด้วย และเมื่อบำเพ็ญบารมีธรรมทั้ง 6 ประการ นั้นก็ช่วยกำจัดความหลงของตนเองไปด้วย ซึ่งไม่ต้องไปบำเพ็ญคุณธรรมอย่างอื่นอีก (นอกจากบารมีธรรม 6 ประการ)

เมื่อตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ต้องปฏิบัติธรรมอันอื่นอีกก็ได้ นี้คือความหมายของคำว่า "การปฏิบัติธรรม"



จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์
#20   จอมยุทธ์เจ้าอินทรีย์    [ 05-08-2008 - 21:07:16 ]

ชีวประวัติเพิ่มเติม จากวิกิพีเดีย
พระโพธิธรรม
พระโพธิธรรม (สันสกฤต: बोधिधमृ; อักษรโรมัน(NLAC): bōdhidhammr; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó , Dámó; เวด-จิลส์ : Tamo; ญี่ปุ่น : ダルマ ดะรุมะ; เวียดนาม: Bồ-đề-đạt-ma) แต่ในนิยายกำลังภายในเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายมหายาน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้

ตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว พ.ศ. 520 เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุก ๆ ศาสนา ตลอดจนวรรณคดี อักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค

เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง ๗ วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗ และเป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิอู่ตี้ และไม่นานต่อมาได้ก่อตั้งอารามขึ้นในเมืองลั่วหยาง และใช้เวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึง 9 ปีในการเพ่งผนังถ้ำ

ฝ่ายมหายาน ถือว่าพระโพธิธรรมเป็นพระมหาเถระองค์ที่ 28 ที่สืบสายโดยตรงมาจากพระพุทธเจ้า และยังเป็นผู้สถาปนานิกายเซนขึ้นด้วย และเนื่องจากคำสอนของท่านจะเน้นไปที่การเข้าฌาน แนวทางคำสอนของท่านจึงมักจะเรียกกันว่า ฌาน (สันสกฤต : [ธฺยาน] ध्यान : dhyan ) ในภาษาจีนเรียกว่า "ฉาน" และภาษาญี่ปุ่นว่า "เซน"

ประวัติชีวิตของท่านมักจะถือเป็นตำนาน ขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็เติบโตกลายเป็นต้นชา และตำนานยังเล่าต่อว่า ด้วยเหตุดังกล่าวภิกษุนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงเวลาทำสมาธิ

ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 1079 และมีการสร้างสถูปขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิไท่จง ในราชวงศ์ถัง




  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube