เข้าระบบอัตโนมัติ

ประวัติศาสนาพุทธ


  • 1
  • 2
อิตเต็งไต้ซือ
#1   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:03:37 ]

ประวัติศาสนาพุทธ

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือ หลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ผู้ให้ กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ซี่งเป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนาง สิริมหามายา แห่ง กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในสมัยที่ พระองค์ ยังไม่ได้ออกบวช มีพระนามว่าสิทธัตถะในขณะที่ยัง ทรง เป็นเด็กอยู่ก็ทรงศีกษาศิลปวิทยาการ ในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก ด้วยกันจนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลาย สาขา



( แผนที่แสดงสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน)

......เมื่อพระสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราและมี โอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล ชีวิตในฆราวาสวิสัยของพระองค์มีแต่ความสมหวัง ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาเมื่อ มีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ของโลกและ ทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขนานาประการ สละ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง และมิตร สหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้น ทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนม์ ได้ ๓๕ พรรษา จึงได้ตรัสรู้คือรู้แจ้งในความจริงแห่งโลก เป็นพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า
........... เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียเพื่อ หาทางที่จะนำ ประชาชนไปสู่ ความ พ้นทุกข์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ปรากฎว่าประชาชน ชาวอินเดียใน สมัยนั้นได้หันมานับถือ พระพุทธศาสนาและเข้ามา บรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนอยู่จนกระทั่งมี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงปรินิพพาน
.............หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ก็ยังช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พระเจ้า อโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏาลีบุตร่วมกับคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสงฆ์ออกประกาศ พระพุทธศาสนา ทั้งภาย ในและ ภายนอกประเทศอินเดีย คณะสงฆ์สายหนึ่งได้ เข้ามายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขต ประเทศพม่าและไทยในปัจจุบันนี้ พระพุทธ- ศาสนาได้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้ ตามลำดับ จนกระทั่ง ถึงสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติเรื่อยมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้แม้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยก็ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรง เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัคร ศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือ พระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็ พระราชทานความอุปถัมภ์ แก่ศาสนาอื่น ๆ ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนากับ ชนชาติไทย คลุกเคล้ากันมาเป็นเวลายาว นาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติไทยก็ได้รับการหล่อหลอมจาก พระพุทธศานาทั้งสิ้น

ประวัติศาสนา

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือ หลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ผู้ให้ กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ซี่งเป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนาง สิริมหามายา แห่ง กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในสมัยที่ พระองค์ ยังไม่ได้ออกบวช มีพระนามว่าสิทธัตถะในขณะที่ยัง ทรง เป็นเด็กอยู่ก็ทรงศีกษาศิลปวิทยาการ ในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก ด้วยกันจนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลาย สาขา

.................เมื่อพระสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราและมี โอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล ชีวิตในฆราวาสวิสัยของพระองค์มีแต่ความสมหวัง ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาเมื่อ มีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ของโลกและ ทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขนานาประการ สละ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง และมิตร สหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้น ทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนม์ ได้ ๓๕ พรรษา จึงได้ตรัสรู้คือรู้แจ้งในความจริงแห่งโลก เป็นพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า
........... เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียเพื่อ หาทางที่จะนำ ประชาชนไปสู่ ความ พ้นทุกข์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ปรากฎว่าประชาชน ชาวอินเดียใน สมัยนั้นได้หันมานับถือ พระพุทธศาสนาและเข้ามา บรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนอยู่จนกระทั่งมี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงปรินิพพาน
.............หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ก็ยังช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พระเจ้า อโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏาลีบุตร่วมกับคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสงฆ์ออกประกาศ พระพุทธศาสนา ทั้งภาย ในและ ภายนอกประเทศอินเดีย คณะสงฆ์สายหนึ่งได้ เข้ามายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขต ประเทศพม่าและไทยในปัจจุบันนี้ พระพุทธ- ศาสนาได้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้ ตามลำดับ จนกระทั่ง ถึงสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติเรื่อยมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้แม้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยก็ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรง เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัคร ศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือ พระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็ พระราชทานความอุปถัมภ์ แก่ศาสนาอื่น ๆ ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนากับ ชนชาติไทย คลุกเคล้ากันมาเป็นเวลายาว นาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติไทยก็ได้รับการหล่อหลอมจาก พระพุทธศานาทั้งสิ้น


ประวัติศาสดา(ศาสนาพุทธ)

ประวัติศาสดา พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ้งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงมีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ้งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวหะ เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติได้เสด็จกลับกรุงเทวหะแต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี ซึ้งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ พระนางก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรสข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระราชกุมารได้รับขนานพระนามว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์) ประสูติได้ 7 วันพระราชมารดาก็สวรรคต พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมาตุกา ได้รับเป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารแทน พระราชกุมารสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างเท่าที่จำเป็นสำหัรบพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากพระครูวิศวามิตร เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตตาแห่งเทวหนครทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติแทนจึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นทรงสร้างปราสาท 3 หลัง สำหรับประทับ 3 ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็ทรงมิได้หมกหมุ่นในความสุขเหล่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับทรงคิดไว้ว่า ชีวิตทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นและวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนในที่สดพระองค์ก็ได้ตัดสินใจเสด็จออกผนวชในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีอธิฐานเพศบรรพชิตริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาหลังพระราหุลประสูติได้เล็กน้อย

จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ศึกษาในสำนักอาฬาลดาบสและอุทกดาบสรามบุตรจนสิ้นความรู้ของอาจารย์จึงทรงลาอาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรที่อุรุเวลวเสนานิคมในช่วงนั้นมีปัญจวัคคีย์มาคอยปฏิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานพระวรกายในที่สุดทรงกระทำ ทุกรกิริยา ก็ทรงไม่สามารถบรรลุได้ จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพัยรทางจิตจนเกิดพระปัญญาได้ตรัสรู้ความจริงอันสูงสุด เรียกว่า อริยสัจ4 คือ

1.ทุกข์ได้แก่ความทุกข์หรือปัญญาชีวิตทั้งหมด 2. สมุทัยได้แก่สาเหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา

3.นิโรธ ได้แก่ความดับทุกหรือการหมดปัญหา 4.มรรคได้แก่ทางดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา

พระองค์ทรงตัสรู้คาวมจริงอันประเสริฐนี้ในเวลาย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษาพระ-องค์จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธหรือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ง ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปแสดงธรรมโปรดปัญจัคคีย์การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่า ธัมจักรกัปปวัคนสูตร ปัญจัคคีย์ได้ทรงขอผนวชในพระพุทธศาสนาต่อจากนี้ได้มีผู้เลื่อมเข้ามาบวชประพฟติตามอย่างพระอง์เคลื่อนที่ตามลำดับจนมีพระสงฆ์มากขึ้น และพระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคงในแคว้นมคธ โดยพระบรมราชูปถัมป์ของพระเจ้าพิมพิสาร และในกาลต่อมาทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นโกศลของพระเจ้าปเสนที่โกศล เมื่อประดิษพระพุทธศานาแพร่หลายแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ที่ป่าสาระ นอกกรุงกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละภาคเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็ทรงปรินิพพาน

วาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 อย่างคือ

1. ตอนเที่ยงทรงแก้ปัญหาเทวดาที่มาทูลถาม

2. ตอนใกล้รุ่งทรงสอดส่องพระญาณหาบุคลผู้มีอุปนิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้

3. ตอนเช้าตรู่ทรงออกบิณฑบาต โดยโปรดสัตว์ตามที่ปรากฏในพระญาณของพระองค์

4. ตอนบ่ายทรงแสดงธรรมแด่ประชาชน

5. ตอนค่ำทรงแสดงธรรมแด่ภิกษุ

นอกจากนี้แล้วยังทรงบำเพ็ญจริยา 3 คือ

1. โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก

2. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพวกญาติ

3. พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า




อิตเต็งไต้ซือ
#2   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:24:07 ]

ปรับปรุง
ช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ศาสนาพุทธแบบทิเบตได้แผ่จากตอนเหนือของมองโกเลียขึ้นไปยังชุมชนเบอร์ยาเทียในบริเวณ Baikal และอีกส่วนหนึ่งได้แผ่มาจากทิเบตโดยตรง ต่อมาด้วยพระเจ้าซาร์ไม่ต้องการจะให้พวกทิเบตและแมนจูมีอิทธิพลในประเทศ จึงมีการแต่งตั้งตำแหน่งหัวหน้าลามะขึ้น เพื่อให้เป็นผู้นำของพุทธศาสนาในเบอร์ยาเทีย ให้เป็นอิสระจากมองโกล ในปี 1741 จักรพรรดินีอลิซาเบธได้ยอมรับนิกายลามะในเบอร์ยาเทียอย่างเป็นทางการและจัดให้มีการต
ั้งวัดลามะ 11 แห่งขึ้นโดยมีลามะกว่า 150 คน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนาในรัสเซียอย่างเป็นทางการ
มีการเปิดโรงเรียนที่วัดลามะและพิมพ์หนังสือ ในศตวรรษที่ 18 ศาสนาพุทธแนวทิเบตจากมองโกเลียได้มาถึงชาวเตอร์กิคในทูวา ศาสนาพุทธในทูวามีความใกล้ชิดกับมองโกเลียมากกว่าในเบอร์ยาเทีย นอกจากนี้ยังอยู่ร่วมกันกับความเชื่อเรื่องพ่อมดหมดผีในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยผู้คนบางครั้งก็มักจะปรึกษาทั้งหมอผี บางครั้งก็เข้าไปปรึกษาพระ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 พวกคาลมิกซ์ได้เริ่มอพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำโวลก้าและแม่น้ำด
อน ทางตอนเหนือของทะเลสาบแคสเ...ยน โดยคนกลุ่มนี้พาความเชื่อเรื่องพุทธศาสนานิกายทิเบตมาด้วย ผู้นำของศาสนาพุทธนิกายทิเบตในคาลมาเคียได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ของรัสเซีย ศาสนาพุทธในคาลมิกซ์เป็นอิสระจากอิทธิพลของมองโกลและขึ้นตรงกับทิเบต
ในปี 1846 มีวัดกว่า 34 แห่งในเบอร์ยาเทีย มีการนำเข้าตำราและคัมภียร์ต่างๆทั้งจากทิเบต จีน และมองโกล
ถึงปี 1887 มีโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือกว่า 29 แห่ง พิมพ์หนังสือเป็นภาษาทิเบตและมองโกลกว่า 2000 เล่ม มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาศาสนศาสตร์ชั้นสูง Duinkhor Kalachakra ที่วัดลามะ Aginsk
รัฐบาลพระเจ้าซาร์อนุญาตให้มีการสร้างวัดพุทธที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับมองโกลและทิเบต โดยทุนสนันสนุนจากดาไล ลามะ และเงินบริจาคที่มาจากเบอร์ยาเทียและคาลมาเคีย
ในช่วงปี 1930 วัดในเบอร์ยาเทีย คาลมาเคีย และทูวา ถูกกดดันจนต้องปิดตัวลง จากพวกคอมมิวนิสต์ พระลามะถูกจับเนรเทศ ไม่ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับของญี่ปุ่น หรือศัตรูของประชาชน

วัดในทูวาและคาลมาเคียถูกพรรคคอมมิวนิสต์เผาทำลายโดยไม่เหลือซาก โดยในคาลมาเคียเหลือวัดเพียงแห่งเดียวที่ไม่ถูกทำลาย
จวบจนกระทั่งปี 1948 จึงได้มีการสร้างวัดใหม่ที่ Ivolga ใกล้กับ Ulan-Ude เมืองหลวงของเบอร์ยาเทีย และมีการเปิดตึกๆหนึ่งของวัด Aginsk ขึ้นมาอีกครั้ง

กระทั่งล่วงเข้าสู่ยุคปฏิรูปของกอบาชอฟ จึงได้มีการฟื้นฟูวัดที่ถูกทำลายในเขตไบคาล คาลมาเคียและทูวา อีกครั้ง รวมทั้งมีการจัดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ด้วย มีการส่งปฏิสังขรและส่งมอบวัดในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบอร์กคืนให้กับชาวพุทธ และมีการเปิดสถาบันพุทธศาสนาที่วัด Ivolga อีกด้วย
ปัจจุบัน รัสเซียมีประชากร143,420,309คน มีชาวพุทธ 0.5% จำนวน 700,000คน



อิตเต็งไต้ซือ
#3   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:26:27 ]

พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พระพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน) ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็นจริง เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญาอันยิ่งของพระพุทธองค์เอง พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คืออริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ กล่าวคือในกระบวนการคิดของโลกศาสนา พระพุทธศาสนาได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามในนามศาสนาหรือการเผยแผ่ศาสนา เพราะให้เสรีภาพในการพิจารณาด้วยปัญญา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอิสระเสรีภาพ กล่าวคือไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพในการปลดเปลื้องทุกข์โดยไม่ต้องรอการดลบันดาล พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีผู้นับถือจำนวนมากหลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะในประเทศทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

พระศาสดาของพระพุทธศาสนาคือ พระพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า "ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ" พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทรงมีพระปัญญาอันเลิส สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ว่องไว ทรงมีความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาการหลายสาขา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า พระราหุล แม้ชีวิตในฆราวาสวิสัยจะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขสมบัติเพียงใด พระองค์ก็ทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปในทางที่จะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ทั้งมีพระกรุณาประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงทรงสละความสุขนานาประการเสด็จออกผนวชขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ยังมิได้บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนในแคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ประชาชนในสมัยนั้นหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก

การบำเพ็ญกรณียกิจทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรกที่ีทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” ด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศของพระพุทธองค์ ยังผลให้มหาชาชาวโลกได้ผ่องใสพ้นทุกข์เป็นอันมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธสาวกทั้งหลายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พุทธศักราช ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏลีบุตรร่วมกับคณะสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระสงฆ์คณะหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขตประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชนชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทยล้วนได้รับการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนา และดำรงมั่นคงคู่ไทยตลอดมา



อิตเต็งไต้ซือ
#4   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:27:10 ]

มีซำๆ กัน มั้ง เเต่ เอามาจาก หลายๆ เวป



สยบทั่วเเผ่นดิน
#5   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 07-05-2008 - 23:28:28 ]

อะ...อืม........ หัวข้อดี มีสาระ



สยบทั่วเเผ่นดิน
#6   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 07-05-2008 - 23:28:45 ]

ขอบคุณ ท่านอา ขอรับ .........



อิตเต็งไต้ซือ
#7   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:29:21 ]

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งการพ้นทุกข์หรือพ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากโลภ โกรธ หลง และอวิชชา (การไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ) เน้นการปฏิบัติด้วยปัญญา การทำความเข้าใจ และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง จนมองเห็นเหตุและผล และความเป็นไปตามธรรมชาติที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร จนสามารถนำตัวเองออกจากวัฏจักรท่ทำให้เกิดทุกข์ หรือวัฏสงสาร

สรณะอันประเสริฐของพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้"พระธรรม" แล้วทรงสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาและฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์แปลว่าหมู่,ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก

หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะเรียกว่า "พระธรรมวินัย" ประกอบด้วย "พระธรรม" คือความรู้ในสัจธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วและได้นำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย" คือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ออกบวช เพื่อให้ผู้บวชสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีกฏเกณฑ์เป็นคณะสงฆ์ อันเป็นชุมชนตัวอย่างที่ดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์ โดยมีหมวดอภิธรรมไว้อธิบายคำจำกัดความของศัพท์ในหมวดพระธรรม และมีหมวดอภิวินัยไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัย ในภายหลังเมื่อเริ่มมีการบันทึกคำสอนทั้งหลายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่าคัมภีร์พระธรรม และคัมภีร์พระวินัย พระเถระผู้ทรงคุณในยุคสมัยนั้นได้เรียบเรียงคำอธิบายในหมวดอภิธรรมเพิ่มเติมอย่างละเอียด จนสามารถบันทึกเป็นคัมภีร์ "พระอภิธรรม" ต่างหาก เมื่อรวมเรียกทั้งสามคัมภีร์แล้ว บันทึกหลักธรรมคำสอนทั้งหมดในศาสนาพุทธจึงเรียกว่า พระไตรปิฏก

พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะมีผู้นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย

ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษาและฝึกฝนตามคำสอนเพื่อความหลุดพ้นจะเรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และ พระภิกษุณีสงฆ์ (หญิง) ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่าฆราวาส หรือ อุบาสก (ชาย) / อุบาสิกา (หญิง) โดยเมื่อรวมบุคคลสี่ประเภทคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะเรียกว่า พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้

หลักการสำคัญของพุทธศาสนา
พุทธศาสนา สอน "สัจธรรม" คือความจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งปวง
หัวใจของพุทธศาสนา (โอวาทปาติโมกข์) คือ " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้ผ่องใส"
พุทธศาสนา กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นตาม เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป
อริยสัจ 4 สอนให้เข้าใจถึงหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ (มีความยากลำบาก หรือ มองตัวปัญหา) สมุทัย (ความทุกข์นั้นมีสาเหตุให้เกิด หรือ มองสาเหตุของปัญหา) นิโรธ (ความหมดสิ้นแห่งทุกข์ หรือ มองจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา) มรรค (วิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ หรือ ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ)
สติปัฏฐาน 4 เป็นวิธีฝึกฝนกายและจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ โดยเฉพาะเจาะจงแล้วหมายถึงมรรคองค์ที่ 7 คือสัมมาสติ แต่โดยกว้างแล้วหมายถึงหลักการฝึกฝนโดยรวมทั้งหมดเพื่อให้เกิดนิโรธ
ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะสากลที่มีในทุกสิ่งดังนี้คือ อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป) ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้) อนัตตา (ความไม่มีแก่นสารอะไรให้ถือเอาเป็นตัวตนของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)
กฎแห่งกรรม กรรม คือการกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาสั่งการโดยจิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำที่ดี (บุญ/กุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลางๆ อันทำให้มีผลของการกระทำตามมา โดยผลของการกระทำจะไม่สูญหายไปไหน แต่รอเวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ โดยไม่สามารถนำบุญกับบาปมาหักล้างกันได้โดยตรง กฎแห่งกรรมนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดความเป็นไปของแต่ละจิตวิญญาณในสังสารวัฏ
นิพพาน คือสภาพที่พ้นออกไปเหนือโลก ออกไปจากสังสารวัฏ เป็นอิสระจากพันธนาการทุกอย่าง เป็นความสุขอันแท้จริง เป็นเป้าหมายอันสูงสุดที่พระพุทธศาสนาสอนให้บรรลุถึง
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน)
สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิ คือมิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุด ที่รองรับการเกิดของสิ่งมีชีวิต การเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงยึดเอาว่าสิ่งต่างๆ มีตัวตน ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว คือการดำเนินตามเส้นทางอริยมรรค
สรุปหลักการปฏิบัติตามทางของพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ จะมีอยู่ 3 ประการคือ
ละเว้นอกุศล (ความไม่ฉลาด) ทางกาย วาจา จิตใจ
หมั่นสร้างกุศล (ความฉลาด) ทางกาย วาจา จิตใจ
ฝึกจิตให้หลุดพ้น (จากความไม่รู้สัจจธรรม ที่พันธนาการจิตไว้)
อีกนัยหนึ่งเมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนคือ

ศีล (ฝึกกายและจิตให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น)
สมาธิ (ฝึกความตั้งมั่นของจิต จนเกิตสติรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง)
ปัญญา (ให้จิตพิจารณาความเป็นจริง จนกระทั่งทำลายอวิชชาความไม่รู้ ได้ในที่สุด)

ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนานับเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุง และแก้ไขสังคมอินเดียในยุคนั้นให้ดีขึ้นจากสภาพการณ์หลายอย่าง เช่น จากการกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน การถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด การใช้สัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ ตลอดจนการกดขี่สตรี พุทธศาสนาจึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น

ศาสนาแห่งความรู้และความจริง

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ และธรรมที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 ก็เป็นความจริงอย่างแท้จริง ทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา

ศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ซึ่งต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้า ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศาสนาอเทวนิยม

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้าดลบันดาลทุกสิ่ง ผู้สร้างทุกสิ่ง แม้กระทั่งโลก เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาไม่เชื่อในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงเรียกว่าศาสนาอเทวนิยม คือ ศาสนาที่ไม่เชื่อในพระเจ้า

ศาสนาแห่งสันติภาพ

ในกระบวนการนักคิดของโลกศาสนา พุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ ให้เสรีภาพในการพิจารณาให้มีปัญญากำกับศรัทธา ในขณะที่หลายศาสนาแสดงว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะวิพากษ์วิจารณ์พระเจ้าไม่ได้

นิกาย

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท หรือ หินยาน และ มหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยคือ การแบ่งเป็น 3 นิกายคือ

เถรวาท (Theravāda) หรือ หินยาน (Hinayāna-ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก (Tipitaka) แพร่หลายอยุ่ในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และ บางส่วนของประเทศเวียดนามส่วนมากเป็นชาวเขมร บังกลาเทศ และ มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวสยาม
อาจาริยวาท (Ācāriyavāda) หรือ มหายาน (Mahāyāna-ยานใหญ่) แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย ภูฏาน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และ สิงคโปร์ และบางส่วนของ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวจีน เนปาล บรูไนส่วนมากเป็นชาวจีน ฟิลิปปินส์ส่วนมากเป็นชาวจีน อุซเบกิสถาน และ ทาจิกิสถาน
วัชรยาน (Vajrayāna) หรือ มหายานพิเศษ ปัจจุบันมีใน อินเดียบริเวณลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีร์ และในรัฐสิกขิม ประเทศเนปาล ภูฏาน ปากีสถาน มองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองทิเบต

สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

วัด ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณร เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้า การทำวัตรเย็น อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย



อิตเต็งไต้ซือ
#8   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:29:56 ]

ขอบ คุณ หลาน เตา เรา2คนมาช่วยกัน ทำ ดีไหม



อิตเต็งไต้ซือ
#9   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:33:16 ]

คัมภีร์ในพุทธศาสนา

คัมภีร์ในพุทธศาสนา

มีบทความ 8 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 8 หน้า

กาลามสูตร

คันถรจนาจารย์

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

พระวินัยปิฎก

พระสุตตันตปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก

พระไตรปิฎก

อรรถกถา



อิตเต็งไต้ซือ
#10   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:33:49 ]

กาลามสูตร

กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล เรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ

๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา

๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา

๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่


ปัจจุบันได้เกิดแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อนบรรจุไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในประเทศพัฒนาแล้ว เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking)




อิตเต็งไต้ซือ
#11   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:34:16 ]

คันถรจนาจารย์

คันถรจนาจารย์ (อ่านว่า คันถะรดจะนาจาน) แปลว่า อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์, อาจารย์ผู้แต่งตำรา ใช้เรียกภิกษุที่เป็นนักปราชญ์ ฉลาดรู้ในคัมภีร์ รู้แจ้งคำสอนทางพระพุทธศาสนา และเชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ ได้แต่งตำราหรือหนังสือที่อธิบายขยายความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นบ้าง ข้อวินิจฉัยบ้างไว้ส่วนหนึ่ง เรียกว่า พระคันถรจนาจารย์

คันถรจนาจารย์ เรียกย่อยออกไปอีกเป็น พระอรรถกถาจารย์ คือผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถาบ้างพระฎีกาจารย์ คือผู้แต่งคัมภีร์ฎีกาบ้าง




อิตเต็งไต้ซือ
#12   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:35:19 ]

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลาง เดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงถึง

ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ
ปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
อริยสัจสี่

ส่วนที่สุดสองอย่าง

ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน(เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ปฏิปทาทางสายกลาง

ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด คือ

ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)
ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

อริยสัจสี่

อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ

ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด
อริยสัจสี่นี้

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้.
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย
ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ




อิตเต็งไต้ซือ
#13   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:35:52 ]

พระวินัยปิฎก

พระวินัยปิฎก (บาลี : วินยปิฏก) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าสงฆ์ ทั้งภิกษุ และภิกษุณี

ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์

เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่

ภาค 1 สุตตวิภังค์
ภาค 2 ขันธกะ
ภาค 3 ปริวาร
ในภายหลังมีการแบ่งเป็น 5 ส่วน และถือเอาเป็นหลักในการจำแนกหมวดพระวินัยมาจนปัจจุบัน ดังนี้

มหาวิภังค์ เนื้อหาเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการบัญญัติพระวินัย และข้อวินัยของพระสงฆ์ 220 ข้อ กับวิธีพิจารณาข้อพิพาทอีก 7 ข้อ รวม 227 ข้อ
ภิกขุนีวิภังค์ กล่าวถึง วินัยของพระภิกษุณี ที่ไม่ซ้ำกับพระภิกษุ 130 (ภิกษุณีมีวินัย 311 ข้อ)
มหาวรรค แบ่งได้เป็น 10 หมวดย่อย หรือ 10 ขันธกะ กำเนิดภิกษุสงฆ์ และกิจการเกี่ยวแก่ภิกษุสงฆ์ ได้แก่ มหาขันธกะ, อุโบสถขันธกะ, วัสสูปนายิกาขันธกะ, ปวารณาขันธกะ, จัมมขันธกะ, เภสัชชขันธกะ, กฐินขันะกะ, จีวรขันธกะ, จัมเปยยขันธกะ และโกสัมพิขันธกะ
จุลวรรค แบ่งเป็น 12 หมวดย่อย หรือ 12 ขันธกะ เกี่ยวกับระเบียบความเป็นอยู่ของภิกษุ ภิกษุณี และเรื่องสังคายนา ได้แก่ กรรมขันธกะ, ปริวาสิกขันธกะ, สมุจจยขันธกะ, สมถขันธกะ, ขุททกวัตถุขันธกะ, เสนาสนขันธกะ, สังฆเภทขันธกะ, วัตตขันธกะ, ปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ, ภิกขุนีขันธกะ, ปัญจสติกขันธกะ และสัตตสติกขันธกะ
ปริวาร เป็นข้อปลีกย่อยต่างๆ และคู่มือถามตอบซักซ้อมเกี่ยวกับพระวินัย



อิตเต็งไต้ซือ
#14   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:36:23 ]

พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในสามปิฎก หรือพระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม

พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ชาดก หรือ เรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์

พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร




อิตเต็งไต้ซือ
#15   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:36:53 ]

พระอภิธรรมปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก เป็นชื่อของปิฎกหนึ่งในสามปิฎกหรือพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม

พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรมที่เป็นปรมัตถ์หรือพระธรรมระดับสูง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นหลักธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์เหมือน พระสุตตันตปิฎก นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 42,000 พระธรรมขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ คือ สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ใช้อักษรย่อว่า สัง วิ ธาิ ปุ ก ย ป อักษรย่อ 7 คำนี้ เรียกกันว่า หัวใจพระอภิธรรม



อิตเต็งไต้ซือ
#16   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:40:14 ]

พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่

พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ
พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว[1] พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน[2] พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษาปริยัติศาสน์จากพระไตรปิฎก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

พระไตรปิฎกมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ออกเป็นหมวดหมู่ และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว ในระยะแรก พระไตรปิฎกถ่ายต่อกันมาโดยการท่องจำปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 460 จึงมีการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสืบทอดมาพร้อมกับพระไตรปิฎก จากสมัยพุทธกาลจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2,500 ปี พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

หมวดหมู่ในพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎก นอกจากจะเป็นที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังได้จัดหมวดหมู่คำสอนเหล่านั้นให้เป็นระเบียบพร้อมๆ กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการท่องจำ ความง่ายต่อการแบ่งหน้าที่รักษา และความไม่ลำบากในการศึกษาค้นคว้า

คำสอนทั่วไปในพระพุทธศาสนาสามารถแบ่งได้กว้างๆ เป็น วินัย และ ธรรม โดย วินัย จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบัญญัติของคณะสงฆ์ สำหรับเป็นข้อบังคับในการปฏิบัติตัวของผู้ออกบวชเท่านั้น ส่วน ธรรม เป็นคำสอนที่ครอบคลุมพุทธบริษัททั้งหมด ซึ่งสามารถแยกได้อีกเป็นสองชนิด คือ

ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ โต้ตอบกับบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องๆ ในแต่ละเรื่องจะเรียกว่า สุตตะ หรือ สูตร หนึ่งๆ ในพระไตรปิฎกจะรวบรวมธรรมแบบนี้ไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า สุตตันตะ หรือ พระสูตร
ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามเนื้อหา ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่าเป็นวิชาการล้วนๆ เช่น เมื่อยกเรื่องขันธ์ 5 มา ก็อธิบายโดยละเอียดว่าขันธ์ 5 คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร จนจบเรื่องขันธ์ 5 ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกจะจัดอยู่ในประเภท อภิธัมมะ หรือ พระอภิธรรม
เมื่อรวม พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม เข้าด้วยกัน ก็จะเกิดสามหมวดหมู่ใหญ่ ประกอบกันได้กลายเป็นพระไตรปิฎกขึ้นมา


[แก้] หมวดหมู่ย่อย
ในหมวดหมู่ใหญ่ทั้งสามของพระไตรปิฎก ยังสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยได้อีก ซึ่งแสดงได้ดังแผนผังต่อไปนี้



ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

สมัยพุทธกาล
การรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งที่นิครนถนาฏบุตร ศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตลง และสาวกของท่านไม่ได้เก็บรวบรวมคำสอนไว้ ทำให้เหล่าผู้นับถือศาสนาเชนจึงเกิดการแตกแยก และถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วศาสดาของตนสอนไว้เช่นไร พระจุนทเถระทราบเรื่องจึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำสังคายนา[3] เพื่อรักษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป[4]

เมื่อพระสารีบุตรทราบถึงเรื่องราวปัญหาของศาสนาเชน ก็ได้แสดงวิธีสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างต่อหน้าที่ประชุมคณะสงฆ์ โดยรวบรวมข้อธรรมต่างๆ ให้อยู่ตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการแก่หลักธรรมที่พระสารีบุตรแสดงไว้[5]

ทั้งนี้ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก แต่ก็มีคำเรียกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า พฺรหฺมจริย หรือพรหมจรรย์[6] และ ธมฺมวินย หรือธรรมวินัย[7]

ปฐมสังคายนา

การทำสังคายนาครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น

มูลเหตุในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อพระมหากัสสปเถระทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน บรรดาลูกศิษย์พระมหากัสสปเถระเมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ แต่มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ ยังปรากฏผู้มีใจวิปริตจากธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ถ้าปล่อยไว้นานเข้า คำสอนทางพระพุทธศาสนาอาจถูกบิดเบือนไปได้ จึงริเริ่มวางแผนการทำสังคายนา

การสังคายนาครั้งที่สอง

การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสะ กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว

การสังคายนาครั้งที่สาม

การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 235 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป

ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศานาไปประดิษฐานในลังกา รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย

การสังคายนาครั้งที่สี่

การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ การสังคายนาครั้งนี้มีลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาผสม ทำให้ฝ่ายเถรวาทไม่นับว่าเป็นหนึ่งในการสังคายนา


การสังคายนาครั้งที่ห้า

การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 460 ที่อาโลกเลณสถาน มตเลชนบท ประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษร

ปัญหาการนับครั้งการสังคายนา

การนับครั้งการสังคายนามีความแตกต่างกันในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นอกจากนี้ แม้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกันเองก็ยังนับครั้งการสังคายนาไม่ตรงกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

ประเทศศรีลังกา นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายกระทำเมื่อ พ.ศ. 2408 โดยการสังคายนาครั้งนี้เป็นที่รู้กันเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น
ประเทศพม่า นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และนับการสังคายนาครั้งที่ 2 ที่ลังกาเป็นครั้งที่ 4 ที่ประเทศพม่า และนับการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้าย หรือครั้งที่ 6 ในพม่า มีชื่อเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 การทำสังคายนาครั้งนี้ทำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และคำแปลเป็นภาษาพม่า โดยได้เชิญพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมพิธี โดยเฉพาะจากประเทศ พม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และกัมพูชา
ประเทศไทย นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และครั้งที่ 1-2 ที่ลังกา แต่ในหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา ของสมเด็จพระวันรัต ได้นับเพิ่มอีก 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 956 ในลังกา โดยพระพุทธโฆสะได้แปลและเรียบเรียงอรรถกถา ซึ่งถือว่าเป็นการชำระอรรถกถา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนา
ครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 1587 ในลังกา โดยพระกัสสปเถระเป็นประธานรจนาอรรถกถาต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการชำระอรรถกถา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนาเช่นกัน
ครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2020 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา
ครั้งที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2331 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เชิงอรรถ

โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
(สุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อ 141)
^ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
(สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สังฆาฎิสูตร ข้อ 272)
^ การทำสังคายนา คือการรวบรวมคำสอนทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ พร้อมจัดหมวดหมู่ให้จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวน สวดสาธยายพร้อมกันเพื่อเป็นแบบแผนในการทรงจำสืบต่อมา โดยคำว่า สังคายนา หรือ สังคีติ นี้ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สวดพร้อมกัน (สํ หมายถึง พร้อมกัน คายน หรือ คีติ หมายถึง การสวด)
^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน ปาสาทิกสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน สังคีติสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
^ จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง



อิตเต็งไต้ซือ
#17   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:42:12 ]

อรรถกถา

อรรถกถา (อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ที่ไขความพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง

อรรถกถาเป็นชื่อของคัมภีร์หรือหนังสือที่แต่งอธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง เป็นหนังสือที่มีอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกรุ่นหลังๆ มาก

ผู้แต่งหนังสืออรรถกถา เรียกกันว่า พระอรรถกถาจารย์ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และได้แต่งหนังสืออรรถกถาอธิบายไว้หมดครบทั้งหมด

คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก (บางส่วน)

คัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

มหาวิภังค์ ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

ภิกขุนีวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

มหาวรรค ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

มหาวรรค ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

จุลวรรค ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

จุลวรรค ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

คัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี

ทีฆนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี

สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี

สังยุตตนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี

อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี

อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี

อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี

อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี

ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา

ขุททกนิกาย ธรรมบท มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธัมมปทัฏฐกถา

ขุททกนิกาย อุทาน-อิติวุตตกะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ขุททกนิกาย สุตตนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา

ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ขุททกนิกาย เถรคาถา-เถรีคาถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา

ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา

ขุททกนิกาย มหานิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา

ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธรรมปกาสินี

ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี

ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี

ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มธุรัตถวิลาสินี

ขุททกนิกาย จริยาปิฎก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

คัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก

ธัมมสังคณ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ อัฏฐสาลินี

วิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัมโมหวิโนทนี

ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

กถาวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ยมก ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ยมก ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๑ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๒ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๓ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๔ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๕ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

ปัฏฐาน ภาค ๖ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี





อิตเต็งไต้ซือ
#18   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:42:32 ]

พระอภิธรรมปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก เป็นชื่อของปิฎกหนึ่งในสามปิฎกหรือพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม

พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรมที่เป็นปรมัตถ์หรือพระธรรมระดับสูง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นหลักธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์เหมือน พระสุตตันตปิฎก นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 42,000 พระธรรมขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ คือ สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ใช้อักษรย่อว่า สัง วิ ธาิ ปุ ก ย ป อักษรย่อ 7 คำนี้ เรียกกันว่า หัวใจพระอภิธรรม




อิตเต็งไต้ซือ
#19   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:45:38 ]

อภิธานศัพท์พุทธศาสนา

อภิธานศัพท์พุทธศาสนา โดยทั่วไปคำว่า "อภิธานศัพท์" จะหมายถึงเอกสารหรือหนังสือรวบรวมคำศัพท์เฉพาะเรื่องที่เป็นการขยายความของคำศัพท์นั้นให้เข้าใจมากขึ้นกว่าการให้เฉพาะคำแปล เช่น อภิธานศัพท์แพทย์ เป็นการอธิบายคำศัพท์ทางการแพทย์ให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น

อภิธานศัพท์พุทธศาสนา จึงเป็นการรวบรวมคำอธิบายหรือการขยายคำศัพท์ทางพุทธศาสนาให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไว้เป็นเอกสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิก ซึ่งอาจมีการยกตัวอย่างหรือมีการเปรียบเทียบเกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะคำนั้นๆ ให้ชัดเจนไม่ไขว้เขว ต่างกับคำว่า "ศัพท์" ที่เป็นการให้เฉพาะคำแปลสั้นๆ ดังพจนานุกรมทั่วไป

บทความในหมวดหมู่ "อภิธานศัพท์พุทธศาสนา"

อภิธานศัพท์พุทธศาสนา

กฐิน
กตัญญู
กตัตตากรรม
กตเวที
กถา
กถามรรค
กบิลพัสดุ์
กรรม
กรรมฐาน
กรรมบถ
กรรมวาจาจารย์
กรุณา
กสิณ
กหาปณะ
กัณฑ์
กัณหปักษ์
กัป
กัปปิยการก
กัปปิยะ
กัปปิยโวหาร
กัลปนา
กัลยาณจิต
กัลยาณชน
กัลยาณธรรม
กัลยาณปุถุชน
กามคุณ
กามราคะ
กายกรรม (พุทธศาสนา)
กายคตาสติ
กายทุจริต
กายิกสุข
การกสงฆ์
กาลกิริยา
กาลทาน
กาลามสูตร
กาลิก
กาสาวพัสตร์
กิเลส
กุฏิ
กุลทูสก
กุลุปกะ
กุศล
กุศลกรรม
กุศลกรรมบถ
กุสินารา
เกจิอาจารย์
กเฬวราก

ขันติ
ขันธ์
ขาทนียะ
ขีณาสพ

คณปูรกะ
ครุกรรม
ครุธรรม
คฤหัสถ์
คอสอง
คันถธุระ
คันถรจนาจารย์
คันธมาทน์
คัมภีร์
คาถา
คามวาสี
คาวุต
คิลาน
คิลานปัจจัย

คืบพระสุคต
เครื่องราง
แคว้นมคธ

จริต
จตุปัจจัย
จังหัน
จาคะ
จาตุทสี
จาตุมหาราชิกา
จาตุรงคสันนิบาต
จิตตุปบาท
จิรัฐิติกาล
จีวร

ชมพูทวีป
ชาดก

ญาณ
ญาณทัสสนะ
ญาตัตถจริยา
ญายธรรม
ญายปฏิปันโน

ฐานานุกรม
ฐานานุรูป

เณรหน้าไฟ

ดาบส
เดียรถีย์

ตจปัญจกกรรมฐาน
ตถตา
ตถาคต
ตบะ
ตรัสรู้
ตลกบาตร
ตักบาตรเทโว
ตัณหา
ติสรณคมนูปสัมปทา
ตู่พุทธพจน์
ไตรครอง
ไตรจีวร
ไตรทวาร
ไตรภูมิ
ไตรรัตน์
ไตรลักษณ์
ไตรสรณคมน์
ไตรสิกขา

ถาน
ถีนมิทธะ
ถูปารหบุคคล
เถรวาท
เถยจิต

ทศพิธราชธรรม
ทาน
ทำบุญ
ทิฏฐิ
ทุกข์
เทวโลก
เทศน์
เทศน์แจง
เทโวโรหนะ
โทสะ

ธรรม
ธรรมกาย
ธรรมขันธ์
ธรรมจักร
ธรรมทาน
ธรรมยุตินิกาย
ธุดงค์

นรก
นวกรรม

นวังคสัตถุศาสน์
นวโกวาท
นิคหกรรม
นิคหกรรม 1
นิคหกรรม 2
นิพพาน
นิมนต์
นิมิต (กรรมฐาน)
นิมิต (เขตแดน)
นิวรณ์
นิโรธ
นิโรธสมาบัติ
น้ำมนต์

บทสวดสรภัญญะ
บรรพชา
บังสุกุล
บาป
บิณฑบาต
บุคลาธิษฐาน
บุญ
บุญกิริยาวัตถุ
บุญนิธิ
บูชา
เบญจกัลยาณี
เบญจธรรม
เบญจางคประดิษฐ์

ปกรณ์
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิบัติบูชา
ปฏิปทา
ปฐมเทศนา
ประเคน
ปริตร
ปรินิพพาน
ปริพาชก
ปรโตโฆสะ
ปัจจัย
ปัจจุธรณ์
ปัจเจกพุทธเจ้า
ปัญจวัคคีย์
ปัญญา
ปัพพาชนียกรรม
ปาพจน์
ปาราชิก
ปุจฉาวิสัชนา
เปรียญ

ผ้าป่า

พระคันธกุฎี
พระคาถาชินบัญชร
พระพุทธเจ้า
พระมหา
พระวินัยปิฎก
พระสงฆ์
พระสังฆราช
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระอรหันต์
พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอานนท์
พระอารามหลวง
พระเจ้าจักรพรรดิ
พระโคตมพุทธเจ้า
พระไตรปิฎก
พหูสูต
พัทธสีมา
พาราณสี
พาหุสัจจะ



อิตเต็งไต้ซือ
#20   อิตเต็งไต้ซือ    [ 07-05-2008 - 23:49:54 ]

ภาษาบาลี

ภาษาบาลี (ภาษาบาลี : ปาลิ) (पाऴि) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่างๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

สถานภาพ
ร้อยกรอง และงานประพันธ์อื่นๆ แม้กระทั่งการพูดเพื่อสื่อสารระหว่างผู้รู้ภาษาบาลีด้วยกัน (เช่น การประชุมนานาชาติ)

กำเนิดและพัฒนาการ

ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่า ภาษามคธ หรือ ภาษามาคธี อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่า ภาษาบาลี และมาคธีนั้นเป็นภาษาทางภาคใต้ของอินเดีย บางท่านระบุว่าเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษา ทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช

ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท)เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวาง ทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:

ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
บางทีก็เป็นคำสมาสยาวๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว

ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร

เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลี ให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวน มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

หน่วยเสียงในภาษาบาลี

หน่วยภาษาบาลี แบ่งเป็นหน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้

หน่วยเสียงสระ มีด้วยกัน 8 ตัว หรือ 8 หน่วยเสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี เอ อุ อู โอ
หน่วยเสียงพยัญชนะ มีด้วยกัน 33 ตัว หรือ 33 หน่วยเสียง (ในภาษาสันสกฤต มี 35 หน่วยเสียง)โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว และพยัญชนะอวรรค 8 ตัว


การอ่านภาษาบาลี ที่เขียนด้วยอักษรไทย

การใช้อักษรไทยเขียนภาษาบาลีในปัจจุบันจะพบเห็นได้สองแบบ

การเขียนแบบดั้งเดิม พบเห็นได้ในพระไตรปิฎกหรือในที่ที่ต้องการเขียนอย่างเป็นทางการ วิธีการอ่านเหมือนอ่านภาษาไทยปกติแต่มีหลักเพิ่มเติมดังนี้
พยัญชนะที่ไม่มีสระ อ่านเสมือนมีสระอะ ประสมอยู่ เช่น เทว อ่านว่า เท-วะ
พยัญชนะที่มี พินทุ ข้างใต้ ถือเป็นตัวสะกด หรือเสียงกล้ำ เช่น พฺรหฺม อ่านว่า พระ-ห์มะ (อักษรโรมัน คือ bra-hma), วณฺณ อ่าน วัณ-ณะ, เทฺว อ่าน ทะเว (ออกเสียง ท ไม่เต็มเสียง ให้ควบ ท+ว)
พยัญชนะที่มีนิคหิตอยู่ข้างบน ออกเสียงนาสิก หรือเหมือนสะกดด้วย "ง" เช่น อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง, กึ (สระอิ + นิคหิต ไม่ใช่สระอึ) อ่านว่า กิง
สระเอ ที่สะกดด้วย ย ให้ออกเสียงคล้ายสระไอ ไม่ใช่สระเอย เช่น อาหุเนยฺโย อ่าน อา-หุ-ไน-โย (ไม่ใช่ เนย-โย เพราะภาษาบาลีไม่มีสระเออ, a-hu-ney-yo)
การเขียนแบบง่าย พบเห็นได้ตามหนังสือบทสวดมนต์ทั่วไปที่ต้องการให้ชาวบ้านอ่านได้ง่าย วิธีการอ่านจึงเหมือนอ่านภาษาไทยปกติ
มีการเขียนสระอะให้เห็นชัดเจน เช่น เทวะ และไม่มีการใช้พินทุหรือนิคหิต เนื่องจากเขียนตัวสะกดให้เห็นชัดอยู่แล้วเช่น วัณณะ, อะระหัง
ตัวควบกล้ำจะใช้ยามักการบอกการควบกล้ำ เช่น พ๎รห๎ม, เท๎ว
สระเอ ที่สะกดด้วย ย ก็ยังคงให้ออกเสียงในทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพียงแต่จะเขียนต่างกันเล็กน้อย เช่น อาหุเนยโย

ไวยากรณ์

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง


การผันคำนาม (Noun Declension)

ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

ลิงก์ (Gender) หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
วจนะ (Number) หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
การก (Case) คือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
ปฐมา (Nominative) เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อัน...)
ทุติยา (Accusative) เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
ตติยา (Instrumentive) เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย...)
จตุตถี (Dative) เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
ปัญจมี (Ablative) เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
ฉัฏฐี (Genitive) เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
สัตตมี (Locative) สถานที่ (ที่..., ใน...)
อาลปนะ (Vocative) อุทาน (ดูก่อน...)
สระการันต์ (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่างๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่างๆ กันไป
ตัวอย่างเช่น คำว่า สังฆะ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์จะผันเป็น สังโฆ, ประธานพหูพจน์เป็น สังฆา, กรรมเอกพจน์เป็น สังฆัง, กรรมรองเอกพจน์เป็น สังฆัสสะ ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ก็ผันเป็น ภิกขุ, ประธานพหูพจน์เป็น ภิกขะโว หรือ ภิกขู, กรรมเอกพจน์เป็น ภิกขุง, กรรมรองเอกพจน์เป็น ภิกขุสสะ หรือ ภิกขุโน ฯลฯ


การผันคำกริยา (Verb Conjugation)

คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัยและใส่วิภัตติ ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค

การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
วัตตมานา (Present - Indicative) กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
ปัญจมี (Present - Imperative) ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
สัตตมี (Present - Optative) ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
ปโรกขา (Indefinite Past) กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (Tense นี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว)
หิยัตตนี (Definite Past) กริยาอดีต
อัชชัตตนี (Recently Past) กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้ หรือในวันนี้
ภวิสสันติ (Future) กริยาที่จะกระทำ
กาลาติปัตติ (Conditional) กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)
บท (Voice) ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร
ปรัสสบท (Active) เป็นการกระทำอันส่งผลกับผู้อื่น
อัตตโนบท (Reflective) เป็นการกระทำอันส่งผลกับตัวเอง หรือมีสภาวะเป็นอย่างนั้นอยู่เอง
วจนะ (Number) เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
บุรุษ (Person) บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
บุรุษที่หนึ่ง หมายถึงผู้อื่น (เขา)
บุรุษที่สอง หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ)
บุรุษที่สาม หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน)




  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube