เข้าระบบอัตโนมัติ

จอมยุทธ์ทุกท่านเชิญลงความเห็น


จอมยุทธ์มังกรน้อย
#1   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 02-05-2008 - 13:50:51 ]

ตอนนี้มีหนังเรื่องใหม่มาแทนสามก็ก ก้คือ จิ๋นซีฮ้องเต้ ซึ่งในตอนแรกเรื่องมาเลย ก็ทีคนมารอบสังหาร แต่ก็ไม่สําเร็จ ซึ่งที่คนที่จะสังหารบอกว่า จิ๋นซีฮ้องเต้ เป็นทรราชของแผ่นดิน

ทุกท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ คิดว่าจิ๋นซีฮ้องเต้เป็นทรราชหรือไม่ครับ



vมังกรหลับv
#2   vมังกรหลับv    [ 02-05-2008 - 14:34:52 ]

แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน มีคนรักก็ต้องมีคนเกลียด คนเรามักชอบพูดแต่เรื่องชั่วๆของคนอื่นไม่ค่อยชอบพูดเรื่องดีๆ หลายๆคนจึงคิดว่า ฉินซี เป็น ทรราช ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#3   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 02-05-2008 - 15:24:52 ]

ครับ



เทพธิดา
#4   เทพธิดา    [ 02-05-2008 - 15:34:15 ]

ลตกลงเรียนที่ไหนคะ ม.เอกชน หรือรัฐบาบลหมค่ะ ท่านจอมยุทธมังกรน้อยคะ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#5   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 02-05-2008 - 16:13:38 ]

ม. รัฐบาลครับ มหาลัยราชภัฐธนบุรี



เทพธิดา
#6   เทพธิดา    [ 02-05-2008 - 16:16:27 ]

เอกอะไรคะ ประวัติศาตร์รึเปล่าคะ



vมังกรหลับv
#7   vมังกรหลับv    [ 02-05-2008 - 16:22:48 ]

ท่าน เทพธิดา ทำไมสนใจอะไรในตัวท่าน มังกรน้อยจังคับ แอบชอบเขารึป่าว



สวยใส
#8   สวยใส    [ 02-05-2008 - 16:25:40 ]

สำหรับเรา เราคิดว่า จิ๋นซีเป็นคนเก่งที่เห็นแก่ตัวอ่ะจ้ะ

ปล. คุณเทพธิดาแอบชอบคุณจอมยุทธ์มังกรน้อยหรอจ๊ะ



มือกระบี่ไร้นาม
#9   มือกระบี่ไร้นาม    [ 02-05-2008 - 17:48:33 ]

จิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีด้านดีเหมือนกันนะครับ คือการสร้างกำแพงเมืองจีน และยังมีอีก แต่ผมรู้ไม่เยอะเท่าไรนัก



มู่เนี่ยมชื้อ
#10   มู่เนี่ยมชื้อ    [ 02-05-2008 - 23:03:09 ]

ภาคผนวก ชีวประวัติของพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เมื่อ พ.ศ. 323 พระองค์ทรงรวบรวมประเทศจีนเป็นเอกภาพ ยุติการแก่งแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าบรรดาเมืองรัฐต่าง ๆ ในยุคสมัย ชุนชิว – จ้านกวอ (ชุงชิว – เจี้ยงกก..ฤดูใบไม้ผลิและฤดุใบไม้ร่วง – ยุคสงคราม หรือ เลียดก๊ก) ทรงรวบรวมอำนาจการปกครองมาสู่ส่วนกลางในยุคศักดินา พระองค์ทรงนำความเจริญมาสู่ชนชาติจีนในประวัติศาสตร์อันยาวนานแต่ละขั้นตอน

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า ยินเจิ้น (เอี่ยเจ่ง) เหตุเพราะพระองค์ทรงประสูติ ณ เมืองรัฐ จ้าว (เตียว) จึ่งมีอีกพระนามหนึ่งว่า จ้าวเจิ้น (เตียวเจ่ง)

เมื่อ พ.ศ. 297 พระองค์ในพระวัย 13 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้า ฉินหวาง ขณะนั้นอุปราช ลวี่ปุ๊เหวย (ลี่ปุกอุ้ย) และขันที เหลียวไอ่ (เลี่ยวไอ่) ครอบครองอำนาจในพระราชสำนักอย่างมิเป็นธรรม

และเมื่อพระเจ้า ยินเจิ้น ทรงมีอายุครบ 22 ปี ตามธรรมเนียมพิธีการปกครองของพระราชสำนัก ฉิน พระองค์ทรงสำเร็จราชการมีอำนาจเต็ม อุปราช ลวี่ปุ๊เหว่ย ก็หลอกใช้ เลียวไอ่ คิดโค่นล้มปฏิวัติ เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น

ฉินหวางยินเจิ้น ทรงจัดการโค่นล้มการปฏิวัติเสียแต่ต้นลม ทรงประหารขันที เหลียวไอ่ ลวี่ปุ๊เหว่ย ถูกถอดออกจากตำแหน่งอุปราช ภายหลัง ลวี่ปุ๊เหว่ย ฆ่าตัวตาย

เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น ทรงใช้ขุนนาง หลี่ซือ, เว่ยเลี่ยว, เป็นกุนซือดำเนินนโยบาย “เลี้ยงไกลพิชิตใกล้” ทรงใช้เวลาทำสงครามประมาณ 10 ปี จึ่งทรงรวบรวมเมืองรัฐ หาน, จ้าว, เยี่ยน, เว่ย, ฉุ่, และ เจ้, มาอยู่ในผังอาณาจักรของพระองค์ได้สำเร็จ

เมื่อ พ.ศ. 323 เมืองรัฐ ฉิน สามารถรวบรวมเมืองรัฐทั้งหลายในยุค จ้านกว๋อ ได้หนึ่งเดียวเป็นเอกเทศ ประเทศ ฉิน สามารถแผ่ขยายอำนาจไปถึงดินแดนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยึดได้ดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ 2 มณฑล 2 กว่าน

เริ่มรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายมากลายเป็นชนชาติ ฮั่น ในชั้นหลัง

เจ้า ฉินหวางยินเจิ้น ทรงต้องการแยกแยะความยิ่งใหญ่อันเกรียงไกรของพระองค์ จึ่งทรงยกคำว่า หวาง (อ๊วง..แปลว่าเจ้า) และคำว่า ตี้ (ตี่..กษัตริย์) รวบรวมเป็นคำเดียวกัน เรียกว่า หวางตี้ (อ่วงตี่)

ซึ่งก็คือคำว่า ฮ่องเต้ ซึ่งคนไทยเชื้อสาย ฮกเกี้ยน ได้แปลจากเรื่อง สามก๊ก จนเกิดเป็นคำมรดกวัฒนธรรมของคนไทยตกทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้ เขาได้ฝันใฝ่ว่า ลูกหลานเหลนโหลนของพระองค์ต่อ ๆ มาเป็นหมื่น ๆ ชั่วโคตรจักสามารถสืบทอดตำแหน่งและการปกครองของพระองค์ได้ พระองค์จึ่งทรงสถาปนาพระองค์เองว่า ซี่หวางตี้ (สี่อ่วงตี่..แปลว่า ฮ่องเต้ พระองค์แรก)

แต่ทำไมนักประวัติศาสตร์สันชาติตะวันตก จึ่งใช้คำว่าจักรพรรดิมาตั้งแทนสรรพนามของ ฮ่องเต้ จีนแต่ละพระองค์ ทั้ง ๆ ที่ในประวัติศาสตร์ของจีนมิได้ใช้คำว่าจักรพรรดิมาเรียกเป็นสรรพนามของ ฮ่องเต้ นอกจากคนจีนรุ่นใหม่หรือคนต่างชาติที่มิรู้เรื่องได้ใช้คำว่าจักรพรรดิมาเรียก ฮ่องเต้ ของตนอย่างมิข่วยเขินอาย

คำว่า ฮ่องเต้ เป็นสรรพนามของผู้นำสูงสุดในการปกครองระบบศักดินา คนจีนเรียกกษัตริย์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศที่มาทำสัมพันธ์ไมตรีว่า หวาง (อ๊วง..อ๋อง) ทั้งนั้น เพราะไม่มีกษัตริย์ใดยิ่งใหญ่ไปกว่า ฮ่องเต้ ของจีน

ดั่งนั้น ฮ่องเต้ จึงเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน ทั้งด้านระบบการเมือง การเศรษฐกิจ การควบคุมอำนาจทางทหาร

คำสั่งหรือพระราชโองการของพระองค์ทรงใช้คำว่า เจ้า (เจียว) หรือ จื้อ (จี่) เพื่อทรงครอบคลุมอำนาจของพระองค์ทั่วทั้งประเทศ

และเหล่าบรรดาผู้นำต่าง ๆ ของจีนยุคต่อ ๆ กันมา ก็ทรงใช้คำว่า ฮ่องเต้ เรียกตามสรรพนามเช่นเดียวกับพระองค์ ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาชั่วลูกชั่วหลาน

ผู้ที่มีอำนาจสืบทอดต่อมาจาก ฮ่องเต้ เรียกว่า “ซานกงจิ่วคิน (ซำกงกิ่วเคง) เป็นระบบการปกครองควบคุมอำนาจสู่ส่วนกลาง

ซานกง หรือ สามก๋ง ก็คือผู้นำของเหล่าบรรดาขุนนางทั้งปวง

ตำแหน่ง เฉินเซี่ยน (เซ่งเสี่ยง) คือผู้นำทางฝ่ายพลเรือน

ตำแหน่ง ไท่เว่ย (ไท้เอว่ย) คือผู้นำทางฝ่ายทหาร

ส่วนตำแหน่ง จิ่วคิน (กิวเค็ง) เป็นผู้นำทำพิธีการเซ่นไหว้ในศาลเจ้าบรรพชน

ขุนนางที่มีหน้าที่เป็นองค์รักษ์ เฝ้าประตูพระราชวังต่าง ๆ เรียกว่า หลานจงหลิน (นึ่งตงเหล็ง)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมคุกราชทัณฑ์เรียกว่า ถินเว่ย (เท่งเอว่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมการคลังเรียกว่า ตี้มี่เน่ยไส้ (ตี้บี้ไหล่ไส่)

ขุนนางที่มีหน้าที่ติดต่อกับทางด้านต่างประเทศเรียกว่า เตี้ยนเค่อ (เตี้ยงเขะ)

ขุนนางที่มีหน้าที่จัดการควบคุมพระราชวังเรียกว่า จงเจิ้น (จงเจี่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมเหล่าองค์รักษ์ดูแลประตูหอรบเรียกว่า เว่ยเว่ย (เอว่ยเอว่ย)

ขุนนางที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับโรงม้าราชรถเรียกว่า ไท่ผู่ (ไท้ผก)

และขุนนางที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลธรรมชาติและการฝีมือของประเทศเรียกว่า เส้าหู่ (เสี่ยวฮู่)

ขุนนางเหล่านี้รวมตัวกันเรียกว่า ซานกงจิ่วคิน ต่างคนต่างทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่มีอำนาจเหนือเหล่าประชาราษฎร ตั้งแต่เบื้องบนสุดถึงต่ำสุด

การแบ่งแยกดินแดนการปกครองของราชวงศ์ ฉิน โดยการแต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นต่าง ๆ ร่วมกันปกครอง เมือเริ่มแรกนั้นแบ่งเขตแดนเป็น 36 หัวเมืองขึ้น เรียกว่า กุน (กุ๋ง) แต่ครั้นถึงปลายราชวงศ์ ฉิน มีถึง 40 กว่า กุน

แต่ละ กุน มีเจ้าเมืองปกครอง มีอำนาจการปกครอง ส่วนอำนาจทางฝ่ายทหารนั้นมีนายทัพ เว่ย (เอว่ย) เป็นผู้ดูแลปกครอง และยังทรงแต่งตั้งขุนนางในตำแหน่ง กั่นอู้ไส้ (ก้ำง่อไส่) ดูแลการราชทัณฑ์และประเพณีการเซ่นไหว้

ใน กุน หนึ่งนั้นยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น เสี้ยน (กุ่ย) เสี้ยนใหญ่สามรถออกคำสั่งแก่ เสี้ยนเล็ก เสี้ยน เล็กก็ดำเนินตามคำสั่งของ เสี้ยนใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม เสี้ยน ทั้งหลาย ก็มีอำนาจควบคุมกองทัพกองทหารด้วย เสี้ยนเซี่ย (กุยเซี่ยง) หรือ เสี้ยนหลิน (กุ่ยเหล็ง) หรือ เสี้ยนฉาน (กุ่ยเจี้ยง) ดำเนินการปกครองตามนโยบายทางการเมือง ขุนนางผู้มีอำนาจเหนือกว่า เสี้ยน ต่างอบรมบัญชาการแก่เหล่า เสี้ยน ตามพระราชโองการที่ได้รับมอบหมายมา

จากตำแหนง เสี้ยน ก็มีผู้ปกครองลดหลั่นลงไปเรียกว่า เซียน (เฮีย), ถิน (เต๊ง), และ หลี่จี (หลี่กี), แต่ละ เซียน ก็มีผู้เฒ่าทั้งสาม อบรมสอนสั่งเหล่าชาวบ้านประชาชนให้เข้าใจในระเบียบพิธีกรรมต่าง ๆ และยังรับหน้าที่เป็นตุลาการผู้พิพากษา ตามเก็บภาษีที่ทางต่าง ๆ และให้ความอยู่เย็นเป็นสุขแก่เหล่าราษฎรทั่ว ๆ ไป

จาก เซียน ลงไปก็คือ ถิน (เต๊ง), แต่ละ ถิน ก็มีเจ้า ถิน ดำเนินการปกครองและเหล่าผู้ท่องเที่ยวไปมา และดูแลความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน จาก ถิน ลงมาก็คือ หลี่ (ลี้) หลี่เป็นตำแหน่งขุนนางที่เล็กที่สุด

แต่ก็ยังมีแบ่งแยกซอยลงไปอีก 10 ครัวเรือนเรียกว่า เสิ่ม (ซิ่ม), 5 ครัวเรือนเรียกว่า อู่ (โง่ว), ทั้ง เสิ่ม และ อู่ ต่างก็มีผู้นำเรียกว่าเจ้า เสิ่ม และเจ้า อู่ หากว่ามีครัวเรือนใดมีโทษความผิดมิกระจ่าง เจ้า เสิ่ม และ เจ้า อู่ ต้องร่วมฟังความพิจารณาโทษด้วย

ด้วยระบบการปกครองเช่นนี้ ตั้งแต่อำนาจรัฐบาลกลาง จนกระทั่งถึงอำนาจเบื้องปลาย เปรียบดั่ง ปิรามิด ส่งต่อลงไปเป็นทอด ๆ ซึ่งสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศจีนอย่างยิ่งในระบบการปกครองแบบศักดินา ซึ่งหลักการปกครองเช่นนี้ ในชั้นหลังของราชวงศ์ต่าง ๆ ต่างเอาแบบเป็นเยี่ยงอย่าง

การรวบรวมหนังสือจีนเป็นเอกภาพ


พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์จีนทีสำคัญพระองค์หนึ่ง ก่อนสมัย จ้านกว๋อ แต่ละท้องที่แต่ละท้องถิ่นต่างใช้ภาษจีนต่างรูปต่างแบบกัน

เมื่อราชวงศ์ ฉิน รวบรวมเมืองรัฐทั้ง 6 ได้ พระองค์ทรงใช้ หลี่ซือ และเหล่าขุนนางร่วมกันปฏิรูปภาษาจีน

เดิมที หลี่ซือ เป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เมื่อยามที่พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงเสด็จประพาสตามสถานที่ต่าง ๆ พระองค์มักทรงให้จารึกพระอักษรลงบนศิลา มีหลายแห่งจารึกด้วยลายมือของ หลี่ซือ ลายมือของ หลีซือ แพร่กระจายไปในประเทศจีนอย่างกว้างขวาง

เขาได้บรรจงคัดลายมือด้วยตัวของเขาเองจนลายมือของเขาเป็นเอกลักษณ์ของตัวหนังสือจีน ขณะเดียวกันก็บันทึกเรื่องราวเป็นตัวหนังสือใช้ประจำวัน และเผยแพร่ไปยังคนจีนใช้กันอย่างกว้างขวาง

ดั่งนั้นเขาได้ปฏิบัติการจนกระทั่งหนังสือจีนและตัวอักษรจีนเป็นของเคียงคู่กัน เป็นฝีมือการพัฒนาตัวหนังสือจีนให้ก้าวหน้าของ หลี่ซือ


การปริวัติเงินตราและหน่วยชั่งตวงวัด

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงวางรากฐานทางเศรษฐกิจของจีนให้มั่นคง เมื่อสมัย จ้านกวอ นั้น เงินตราของแต่ละเมืองรัฐต่างมีความใหญ่เล็กและมีมูลค่ามิเท่ากัน มีความแตกตางกันตามแต่ละเมืองรัฐ จึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยากพอสมควรสำหรับการค้าขายของแต่ละเมืองรัฐ

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงปริวัติเงินตราขึ้นใช้ใหม่แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ทรงบัญญัติให้ทองคำมีมูลค่าสูงสุด ทรงใช้หน่วย ยิ (เอ็ก..1 ยิ = 20 หรือ 24 ตำลึง) เป็นเครื่องคำนวณมูลค่า การใช้เงินเหรียญรูปทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมเป็นสกุลต่ำสุด มักมีมูลค่าเพียงครึ่งตำลึง

จึ่งทำให้การค้าขายแลกเปลี่ยนมีความสะดวกยิ่งขึ้น

พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ยังมีพระราชโองการบัญญัติหน่วยชั่งตวงวัดให้เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียว โดยทรงกำหนดให้ความยาว 6 เชี๊ยะ (ฟุตจีน) เท่ากับ 1 ปู้ (โป่ว) 240 ปู้ เท่ากับ 1 หมู่ (โบ่ว)

ทรงบัญญัติให้ใช้หน่วยชั่งตวงตามที่ ซานยาน (เซียงเอียง) เคยกำหนดไว้ส่งไปใช้กันถ้วนทั่วทั้งประเทศ

ด้วยการปริวัติเงินตราและกำหนดหน่วยชั่งตวงวัดด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ย่อมทำความสะดวกแก่การค้าขายและการจัดเก็บภาษีอันแม่นยำ และยังส่งเสริมการใช้แรงงานและการฝีมือเจริญแพร่หลายไปทั่วทั้งประเทศ

ปริวัติการใช้รถราเคียงคู่กับการใช้ถนนหนทาง


เพื่อเป็นการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของการคมนาคม พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงบัญญัติกำหนดความกว้างของรถแต่ละคันไม่เกินคันละ 6 เชี๊ยะ ใช้กันทั่วประเทศเหมือน ๆ กันหมด

พระองค์ทรงมีโองการให้ทำลายสิ่งกีดขวางการจราจรลงทั้งหมด จัดซ่อมสร้างถนนหนทางใหม่ โดยยึดเมืองหลวงนคร เสี้ยนหยาน (ห่ำเอี้ยง) เป็นจุดศูนย์กลาง

ทางหนึ่งไปทางทิศตะวันออกตรงไปถึงดินแดน เยี่ยนเจ้ (อี่เจ่) ทางหนึ่งไปทางทิศใต้ตัดผ่านถึงดินแดนเมืองรัฐเก่าเมืองรัฐ อู๋ (โง่ว) และ ฉู่ (ฉ่อ) ถนนสายสำคัญนี้ถูกสร้างอย่างมั่นคงเข็งแรงมีความกว้างถึง 50 ปู้ ที่ข้างทางเว้นช่วงแต่ละช่วงยาว 3 จ้าน ถูกปลูกด้วยต้นสนเขียวร่มรื่น

ต่อมาภายหลัง พระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ ทรงมีรับสั่งให้แม่ทัพ ม่งเถียน สร้างทางสายตรงจากเมือง จิ่วหยวนกุน (กิ่วง่วงกุ๋ง) ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของนคร เปาโถว (เปาเท้า) ตรงไปถึงเมืองหลวง เสี้ยนหยาน มีความยาวถึงกว่า 1,800 ลี้

และยังทรงมีรับสั่งให้ ฉานอาน (เซี่ยอัง) สร้างทางหลวง อู่ชิเต้า (โง่วเชี๊ยะเต๋า) จากเมือง กุ้ยโจว (กุ้ยจิว) ในมณฑล ยูนนาน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่แถบดินแดน หูหนาน, เจียนซี, ทรงโปรดให้ตัดสร้างถนนสายใหม่ ตัดขวางเพื่อสะดวกแก่การคมนาคมระหว่างดินแดน กว่าน ทั้งสอง (หมายถึง กว่านซี, และ กว่านจง)

สำหรับการคมนาคมทางน้ำ พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ขุดลอกคลองคูต่าง ๆ ให้ทะลุถึงกัน แม่น้ำ จี้ (จี่), ลั่ว (ลก), เว่ย (เอว่ย), และ ซื่อ (สี่), ล้วนทะลุถึงกันสามารถไปมาหาสู่กันได้ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเขื่อนกั้นน้ำต่าง ๆ กาคมนาคมทางน้ำระหว่างแม่น้ำ เซี่ยนสุ่ย (เซี่ยงจุ้ย), หนินสุ่ย (นิ่มจุ้ย), และ จูเจี้ยน (จูกัง), สามารถถึงกันได้หมด

การเป็น ฮ่องเต้ นักพัฒนาดั่งพระเจ้า ฉินซีฮ่องเต้ เมื่อสมัยก่อนยังมิเคยปรากฏ แม้นว่าจักต้องใช้แรงงานและเลือดเนื้อของเหล่าราษฎรจำนวนมากเท่าไหร่ก็ตาม

..
ข้อมูลมาจากกระทู้กำแพงเมืองจีนของท่านมังกรหลับ


ไม่ทราบเป็นตนเดียวกันไหมคะ





จอมยุทธ์มังกรน้อย
#11   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 03-05-2008 - 13:40:45 ]

อ่อ ผมเรียนด้านนิติสาตร์ครับ

ไม่ต้องอิจฉาผมหรอกครับ ท่านมังกรหลับ เป็นะรรมดาของคนหน้าตาหล่อบวกวาจาคมคายอย่างผม ที่จะมีสาวๆหน้ารักอย่างท่านธิดาเทพมาติดพัน



มหาราช
#12   มหาราช    [ 03-05-2008 - 17:35:45 ]

5555


ผมคงไม่มีหรอกมั้ง



เรื่อง ฉินซี ที่เอามาฉาย ผมดูแล้ว คิดว่า ตัวนักแสดงบางคนอ่ะ แต่งหน้าเหมือนงิ้วมาก เพียงแต่ ไม่ได้ทาหน้าขาว



vมังกรหลับv
#13   vมังกรหลับv    [ 03-05-2008 - 17:40:03 ]

เหอะๆ ผมไม่อิจฉาหรอกคร้าบ ท่านมังกรน้อยนี่entแล้วหรอคับเนี่ย แก่กว่าผมตั้ง2ปี



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#14   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 04-05-2008 - 13:28:22 ]

อืม บางทีผมดุก็นึกว่าเป็นละครงิ้วสะอีก



มู่เนี่ยมชื้อ
#15   มู่เนี่ยมชื้อ    [ 04-05-2008 - 14:37:58 ]

ยึดหลักนิติศาตร์

ก๊วยเจ๊ง เกิดมองโกล ต้องเป็นคนมองโกล สัญญากับเจงกีสข่านจะจงรักภักดี จนได้รับแต่งตั้งเป็นราชเบตรขยดาบทอง คะ

เมื่อมาเป็นแม่ทัพจีนต่อสู้มองโกล โดยไม่ได้แปลงสัญชาติ ถือว่า ก๊วยเจ๊งเป็นคนทรยศต่อแผ่นดินเกิด

เห็นด้วยไหมค๊า



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#16   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 04-05-2008 - 16:19:26 ]

เอาอีกและ จะเปิดประเด็นเรื่องนี้หรอครับ

ใช่ก๋วยเจ๋งสัญญาไว้กับเจงกิสข่าน แต่ไม่ได้สัญญากับมังไรข่านนะครับ ดังนั้น เมื่อเจงกิสข่านตาย ก๋วยเจ๋งก็ได้มาอยุ่จีนตลอด จนกลายไปเป็นคนจีนแล้ว ดังนั้น ก๋วยเจ๋งจึงเป็นคนจีนไป ไม่ได้เป็นคนมองโกลอีกแล้วครับ

ปล. ถ้าจะต่อเรื่องนี้ค่อยมาพรุ่งนี้ครับ



มังกรหยก2
#17   มังกรหยก2    [ 04-05-2008 - 23:50:14 ]

ไม่ได้ทรยศนะ ก้พ่อก๊วยเจ๋งเปนคนจีน ก๊วยเจ๋งต่อสู้เพื่อแผ่นดินบรรพบุรุษ

แล้วบุญคุนของเจงกิสข่านก้ตอบแทนไปพอแล้ว เปนคนดีจริงๆ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#18   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 05-05-2008 - 14:22:52 ]

ใช่ครับ ถ้าเอาตามนิติศาตร์ ก๋วยเจ๋งสามารถมาเป็นคนจีนได้ เพราะพ่อและแม่ก๋วยเจ๋งเป็นคนจีนครับ



มู่เนี่ยมชื้อ
#19   มู่เนี่ยมชื้อ    [ 05-05-2008 - 19:11:53 ]

หลักนิติศาสตร์

นิติ = ภาระผูกพันธ์

ศาสตร์ = วิชา ความรู้


ก๊วยเจ๊ง เกิดที่มองโกล เป็นความสัมพันธ์ ระหว่าง ก๊วยเจ๊ง และมองโกล เมือก๊วยเจ๊งสร้างนิติสัมพันธ์กับมองโกลแล้ว ย่อมเป็นพลเมืองมองโกล

ส่วนพ่อแม่ก๊วยเจ๊ง สร้างนิติสัมพันธ์กับประเทศจีน ย่อมเป็นพลเมืองจีน

ก๊วยเจ๊งจึงเป็นพลเมืองมองโกล การออกมาสู้รบกับประเทศตัวเองที่มีนิตสัมพันธ์ย่อมถือว่า ทรยศ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#20   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 06-05-2008 - 15:17:53 ]

ในตอนแรกก๋วยเจ๋งถือว่าเป็นคนมองโกลจริงๆ แต่ตอนหลังหลังจากที่ก๋วยเจ๋งลาออกจากราชการที่มองโกล ก็ย้ายถิ่นฐานมาลงปักลงรากที่จีนตลอด จนตัวเองมีลูก จึงทําให้ลูกเป็นคนจีน เมื่อลูกเป็นคนจีน พ่อแม่ก็ต้องมีหน้าที่เลี้ยงดูลูก ดังนั้น ก่วยเจ๋งจึงกลายมาเป็นคนจีนอย่างสมบูรณ์

ที่คุณบอกว่า นิติ = ภาระผูกพันธ์ ก๋วยเจ๋งก็เช่นกัน เมื่อลูกเป็นคนจีน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูกที่ประเทสจีน และตัวเองก้ยังมีสายเลือดของคนจีน ดังนั้น ก่วยเจ๋งจึงกลายเป็นคนจีนได้โดยปริยาย ดังนั้นความสัมพันธืของก๋วยเจ๋งและมองโกลจึงหมดลงไปครับ ไม่ถือว่าทรยศ ครับ



ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube