เข้าระบบอัตโนมัติ

เทพเจ้าจีน


  • 1
  • 2
รักคือสิ่งใด
#1   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:26:43 ]

พระศรีศากยมุณี

พระศรีศากยมุณี คนโบราณเรียกว่า ปฐมพระพุทธรูป เชื่อกันว่า ท่านเป็นผู้สั่งสอนศาสนิกชนในปัจจุบัน

การบูชา

1.มีน้อยคนที่นับถือท่านองค์เดียว ชาวพุทธมักจะบูชา เจ้าเเม่กวนอิม พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
2.ควรสักการะด้วยผลไม้ ดอกไม้สด อัญมณี เสื้อผ้า ห้ามบูชาเนื้อสัตว์
3.การบูชาท่านไม่ควรหวังผลทางวัตถุ
4.การอธิษฐานต่อท่านควรขอสติปัญญา ไม่ใช่หวังผลทางโลก



พระโพธิสัตว์กวนอิม

เจ้าเเม่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีคนนับถือกันมาก ช่วยให้คนพ้นทุกข์ ขอให้มีจิตใจเคารพบูชาอย่างซื่อตรง พร้อมท่องชื่อท่าน

จะได้รับการคุ้มครองให้เป็นสุข หากต้องการขอบุตร ให้บูชากวนอิมส่งบุตร อยากหายไข้ บูชากวนอิมกิ่งหยก

ข้อควรระวังในการบูชา

1.ควรตั้งรูปปั้นหันไปทางทิศตะวันออก จะเพิ่มอานุภาพให้บ้านเรือนสงบสุข
2.เว้นเเตว่าที่บ้านกินเจ มิฉะนั้นห้ามตั้ง รูปปั้นท่านหันทางโต๊ะกินข้าว
3.รูปปั้นไม่ควรเอาหลังพิงห้องน้ำหรือหันเข้าห้องน้ำ
4.อย่าตั้งรูปปั้นหันหน้าเข้าประตูห้อง หลีกเลี่ยงคุณไสย



พระอมิตพุทธ

พระอมิตพุทธ เป็นใหญ่ทางดินเเดนสุขาวดีในทิศเหนือ สำหรับมนุษย์เมื่อตายไปเเล้ว หากไม่มีกรรมดีมากพอจะหลุดพ้น

จะเวียนว่ายตายเกิดตามผลกรรมของตนเอง ใน 6 ภูมิ คือ มนุสสภูมิ อสุรกายภูมิ เปรตภูมิ ดิรัจฉานภูมิเเละนรกภูมิ

เมื่อเกิดในสวรรค์ เสวยผลบุญหมด ก็มาเกิดในโลกมนุษย์ เมื่อหมดกรรมดีก็เกิดในอสุรกายภูมิ เเต่โชคร้ายก็ตกนรกโลกันต์

ซึ่งเป็นขุมลึกที่สุด หากได้ท่องชื่ออมิตพุทธ จะนำทางไปยังเเดนสุขาวดี ทางทิศประจิม ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด

การบูชา

อมิตพุทธจะประสบความสุขนิรันด์ ไม่ว่าจะปัจจุบันหรืออนาคตการสักการะคล้ายเจ้าเเม่กวนอิม



พระยูไล

ศาสนิกชนในญี่ปุ่นหรือไต้หวัน ส่วนใหญ่จะนับถือพระโพธิสัตว์มากที่สุด รองลงมาคือ อมิตพุทธ เเละไม่น้อยที่นับถือพระยูไล

การบูชา

ท่องชื่อท่านไปด้วยจะดีมาก การบูชาท่านจะช่วยให้ทุกสิ่งสมปราถนา ส่วนข้อห้ามในสักการะนั้นเหมือนพระเเม่กวนอิม




พระโมคคัลลานะ

โดยปกติเเล้ว พระพุทธองค์หนึ่ง จะมีผู้ติดตามซ้าย ขวา 2 องค์ เพื่อช่วยเผยเเพร่ธรรมะ เช่น ผู้ติดตามพระอมิตพุทธคือ

พระเเม่กวนอิมเเละพระโพธิสัตว์ต้าซื่อ ผู้ติดตามพระยูไลคือ เทพสุริยันเเละจันทรา ผู้ติดตามพระพุทธเจ้าคือ พระโมคคัลลานะ

เเละพระสารีบุตร รูปปั้นพระโมคคัลลานะเป็นสีขาว อยู่ในปางนั่ง เป็นตัวเเทนความรู้เเละเหตุผล เเละความมีเหตุผลทำให้

ช่วบมนุษย์หลุดพ้นจากจากการเวียนว่ายตายเกิดไปสู่ เเดนสุขาวดีเบื้องประจิม อธิษฐานเพื่อให้หายเจ็บป่วยต่อท่านได้


พระสารีบุตร

พระสารีบุตรตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ รูปปั้นของท่านถือดาบทอง นั่งบนหลังสิงโต

เเสดงถึงอานุภาพเเละสติปัญญาสูงสุด เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ในการช่วยเผยเเพร่ธรรมะ

ข้อสำคัญในการบูชา

1.ห้ามใช้เนื้อสัตว์สักการะบูชา ใช้เฉพาะดอกไม้เเละผลไม้สดกับอัญมณี
2.การบูชาท่าน จะนำความมั่งมีศรีสุขมาให้เเละจะมีสติปัญญาดี



พระโพธิสัตว์ตี้ฉาง

พระโพธิสัตว์ตี้ฉาง ยังคงผูกพันกับโลกเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ มีความปราถนาสูงสุด ที่จะทำให้มนุษย์หลุดจาก

วัฏจักรสงสาร ตราบใดที่มนุษย์ไม่ยอมหลุดพ้น ท่านไม่ยอมบวชเป็นพระยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่

โดยทั่วไป ห่กเจ็บไข้ได้ป่วย กิจการไม่เจริญ สามารถอธิษฐานให้ดีขึ้นก่อนได้ การท่องบทสวด เชื่อว่าจะทำให้คนท่องไม่ตกนรก

ไปเกิดบนสวรรค์ เสวยสุข รวมทั้งปลอดภัยจาก ภูตผี อายุยืน

การบูชา

ท่านด้วยดอกไม้เเละผลไม้ก็พอ หรือนำเสื้อผ้าผู้ป่วย ของรักผู้ป่วย วางไว้ข้างหน้ารูปปั้นท่านอธิษฐานเเล้วได้ผลดี เเต่ห้ามไหว้เนื้อสัตว์




เง็กเซียนฮ่องเต้

ตามปรัชญาของลัทธิเต๋า ได้เเบ่ง สวรรค์ โลกมนุษย์เเละยมโลกไว้ ชัดเจน บนสวรรค์เเบ่งเป็น 3 ชั้นชั้นละ 30000เมตร

-สวรรค์ตะวันออก มีเทพซานกวานเป็นผู้ดูเเล เกี่ยวกับเรื่อง ความสุข อายุยืน ภัยพิบัติ สะเดาะเคราะห์ ไถ่บาป

-สวรรค์ด้านใต้ มีเทพเหวินเหิงเฉิง ดูเเลเกี่ยวกับหน้าที่เทพ การเลื่อนชั้นพิจารณาความผิดเทพ

-สวรรค์ตะวันตก เป็นที่ประทับของพระศรีศากยมุณี

-สวรรค์ด้านเหนือ มีเทพชื่อเวยเป็นผู้ดูเเล เกี่ยวกับเรื่องความม่งมีศรีสุข ภัยพิบัติโชคลาภ

เง็กเซียนฮ่องเต้ ดูเเลเทพที่ปกครองสวรรค์ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ตรงกลางปกครอง 316 ชั้นฟ้า 3000โลกเเละบาดาลอีก 72 เเห่ง รวมทั้งหมด 4ส่วน

ข้อสำคัญในการบูชา

เนื่องจากเง็กเซียนฮ่องเต้เป็นผู้ดูเเลเรื่องใหญ่ๆ หากขอพรคงไม่สัมฤทธิ์ผล ควรขอพร เทพที่อยู่ใกล้มนุษย์จะดีกว่า





เล่าจื่อ

ท่านเล่าจื่อคือเจ้าลัทธิเต๋าชื่อ หลี่เอ่อ เรียกอีกชื่อว่า เล่าจื่อ เล่ากันว่า ท่านเกิดมาก็มีผมขาวหมดทั้งศีรษะ จึงเรียกเล่าจื่อ

(บุตรผู้เฒ่า ) บนศีรษะมีรัศมีจันทราสูงประมาณ 1 ฟุต 2 นิ้ว มีฟัน 48 ซี่ ใบหน้าสีทอง วิชาเทพเเละเซียน ตานฉือ เทพเเละภูตผีล้วนเป็น (ม่ายรู้อารายข้อมูลมังหายไปอะขอรับ - -) ของเล่าจื่อ

ข้อสำคัญในการบูชา

1.ผู้นับถือเต๋าล้วนเเต่บูชาท่านเล่าจื่อจะทำให้ทุกอย่างราบรื่น
2.ลัทธิเต๋าเน้นความบริสุทธ์ว่างเปล่าควรบูชา อาหารเจ



กวนอู

เทพกวนอู เป็นเทพที่ชาวฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ ให้ความนับถือกันมาก ท่านเป็นเทพที่มีความซื่อสัตย์เเละเชื่อกันว่าสามารถขจัด ภูตผีปีศาจได้ ตามร้านค้า บ้านเรือนล้วนเเต่นับถือถือเทพเจ้าองค์นี้ คนพาลถอยห่าง เเละทรัพสมบัติเจริญรุ่งเรือง

ข้อสำคัญในการบูชา

1.ควรหันหน้าท่านหาประตูใหญ่
2.อย่าหันหน้าท่านไปทางทิศตะวันออก
3.ที่ฐานบูชา ควรมีโคมไฟสว่างตลอดเเละถ้าเป็นสีเเดงจะเพิ่มพลังมั่งมีศรีสุข
4.ใช้ผลไม้บูชาดีกว่าเนื้อสัตว์ 5. ไม่ควรตั้งท่านไว้ในที่สกปรก 6.หันหน้าท่านเข้าหาโต๊ะกินข้าวก็ได้



ไทเฮาสวรรค์

สมัยก่อนชาวประมงออกทะเลจับปลามักจะนับถือไทเฮาสวรรค์ ท่านจะคุ้มครองให้เดินเรือปลอดภัยท่านมีชื่ออีกชื่อที่คนรู้จักคือ เจ้าเเม่ทับทิม

ข้อสำคัญในการบูชา

1.หากในบ้านมองเห็นทะเลให้ตั้งไทเฮาสวรรค์หันหน้าทะเล
2.ถ้าไม่ได้อยู่ใกล้ทะเล ให้ตั้งรูปปั้นไปทางทิศเหนือ



ฮก ลก ซิ่ว

เเบ่งเป็นเทพฮก ถือทารกในมือเเสดงถึงลูกหลานเต็มบ้าน ท่าทีอ่อนโยน เทพฮกสีสันเเวววาว เทพซิ่ว มือถือผลท้อเซียน ใบหน้าเ...่ยวย่นเเสดงถึงอายุยืน สุขภาพเเข็งเเรง ปราศจากภัยพิบัติ เทพลกจะคาดเข็มขัดสีหยก มือถือหยกปราถนา อำนวยยศศักดิ์เเละทรัพย์สินเงินทองให้มนุษย์ ส่วนอีก 2 องค์ ดูเเลอายุเเละความผาสุก

ข้อสำคัญในการบูชา

1.ควรบูชาทั้ง 3 องค์ ไม่ควรเจาะจงบูชาองค์ใดองค์หนึ่ง
2.หันหน้ารูปปั้นเข้าสู่ตัวบ้าน
3.ควรบูชาขนมหวานเเละเหล้าหวาน



เเปดเซียน

เเปดเซียนที่ชาวจีนชนบทนับถือคือ ฮั่นถงหลี ฉางกั่วจิ้ว หลี่ถงปิน หันเซี่ยงจื่อ หลานไฉ่เหอ เหอเซียนกู่ จางกั๋วเหลา เเละเถี่ยกว๋ายหลี่เเต่ละเซียนมีความชำนาญ เเต่ละด้าน หากบูชาร่วมกันจะเข็มเเข็ง

ข้อสำคัญในการบูชา

1.การบูชาไม่มีข้อห้ามมากนัก เเต่ถ้านับถือพระโพธิสัตว์ด้วย ให้ถือพระโพธิสัตว์ เป็นหลัก เเปดเซียนขนาบซ้ายขวา
2.อย่าบูชาหลีจู่หรือเซียนเถี่ยกว๋ายเลี่ด้วยกัน นอกนั้นบูชาคู่ไหนก็ได้
3.ใช้ผักผลไม้บูชา



นาจา

รัชทายาทองค์ที่ 3 นาจา เป็นโอรสองค์ที่3 ของเทพทัวต่าหลี่จิ้ง มีพี่ชายคือ กิมจา มู่จาเเต่นาจาไม่ถูกกับพระบิดา จึงตัดขาด อาจารย์ของนาจาคือ เทพไท่อี่ในลัทธิเต๋าเป็นองครักษ์เง็กเซียนฮ่องเต้

ข้อสำคัญในการบูชา

1.หากตั้งพระโพธิสัตว์ ให้ตั้งพระโพธิสัตว์ไว้ตรงกลาง เเละนาจาไว้ซ้ายขวา
2.บูชานาจาเเล้ว ห้ามบูชาเทพทัวต่า เพราะพ่อลูกไม่ถูกกันเเละห้ามบูชาเทพมังกร เพราะเป็นอริกัน



หงอคง

เเม้ว่าหงอคงจะมีการบันทึกในเรื่องไซอิ๋ว เเตพระไตรปิฎกกลับไม่กล่าวถึง หงอคงเกิดมาในลัทธิเต๋าหลายหน มีอิทธิฤทธิ์มากมายเเละเเปลงกายได้ 72 ท่า บูชาท่านเพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี

ข้อสำคัญในการบูชา

1.ต่อหน้าห้ามเอ่ยคำว่า หม่าหลิว (ม้าสีเพลิง) เรียกท่านว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่หรือเเห่งปราชญ์
2.บูชารูปปั้นหงอคง ห้ามวางรูปปั้นพระถังซัมจั๋งในบ้าน เพราะอิทธิฤทธิ์หงอคงมีจำกัด
3.หงอคง หงไห่เอ๋อเเละนาจา ภูตกระบือเข้ากันไม่ได้
4.ใช้ผลไม้บูชาโดยเฉพาะกล้วย ห้ามใช้เนื้อสัตว์
5.คนที่เกิดปีขาลไม่ควรบูชา หงอคง เพราะใน12นักษัตร ปีวอกไม่ถูกกับปีขาล



flyzzseedzxzx
#2   flyzzseedzxzx    [ 20-04-2008 - 01:31:18 ]

โหท่าน เชียวชาญยิ่งนัก ข้าชื่นชมเลย



รักคือสิ่งใด
#3   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:37:38 ]

4 ยอดสมบัติของชาวจีน



สยบทั่วเเผ่นดิน
#4   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 20-04-2008 - 01:37:50 ]

มะ....มีพระ อมิตตาพุทธด้วย นี่?.........



รักคือสิ่งใด
#5   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:38:27 ]

1.พู่กัน



นับตั้งแต่โบราญมาแล้ว ที่คนจีนใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ตนประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจารึกเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งปวง อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ว่านี้ คนจีนเรียกว่า “เหวิน ฝวงซื่อเปา” แปลว่า สมบัติสี่อย่างในห้องหนังสือ

จตุรพิธสมบัติในที่นี้หมายถึงสมบัติล้ำค่าสี่อย่างที่ต้องมีอยู่ในห้องหนังสือของขุน
นางบัณฑิตทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ พู่กัน กระดาษ หมึก และจานหมึก คนจีนใช้ชุดเครื่องเขียนสี่อย่างนี้ทั้งการเขียนหนังสือ การเขียนภาพ และยังรวมไม่ถึงการเขียนลายมือเชิงศิลปะที่เรียกกันว่า “ซูฝ่า” ซึ่งอยู่ก่ำกึ่งระหว่างงานเขียนกับงานศิลปะ จนเป็นเหมือนกับฝาแฝดกับงานเขียนภาพอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว

ภายหลังจากยุคที่ต้องใช้การสลักบนกระดูกสัตว์เพื่อการทำนาย และการสลักบนไม้ ซีกไม้ไผ่ และหิน เพื่อจารึกเหตุการณ์เรื่องราวแล้ว คนจีนจึงเริ่มประดิษฐ์ “พู่กัน” อุปกรณ์การเขียนที่แสนมหัศจรรย์นี้ขึ้น เพื่อใช้แทนการสลักคำอักษรที่ทั้งเสียเวลาและยุ่งยาก แน่นอนว่าการจะใช้พู่กันได้ ย่อมต้องมีอุปกรณ์อื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือน้ำหมึกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หกแต่น่าเสียดายที่พู่กันเป็นเครื่องเขียนที่ดูแลรักษายากและชำรุดเสียหายง่าย เราจึงไม่ใคร่พบเห็นพู่กันโบราณที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน

แม้จะไม่มีพู่กันโบราณให้ดู แต่ข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ก็ช่วยให้เรารู้ว่า พู่กันโบราณทำจากขนสัตว์หลายชนิดทีเดียว มีตั้งแต่ขนและหนวดของสัตว์สี่เท้าอย่าง หมู กระต่าย แพะ (ทั้งแพะขาว แพะดำ และแพะเหลือง) ม้า กวาง ชะมด หนู เสือ สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก และนาก เป็นต้น ขนจากสัตว์ปีกเช่น ขนห่าน ขนเป็ด ขนไก่ ไก่ฟ้า นกยูง เป็นต้น รวมไปถึงหนวดและเส้นผมของคน เช่น ผมเด็กทารกแรกเกิด นี่เป็นการแบ่งตามชนิดของขนที่นำมาทำพู่กัน แต่หากแบ่งกันตามคุณสมบัติของพู่กันแล้ว ก็จะได้พู่กันขนแข็ง ขนอ่อน และถ้าแบ่งตามวัสดุที่นำมาใช้ทำตัวพู่กันและกรรมวิธีประดิษฐ์ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น พู่กันไม้รวก ไผ่ ไม้กฤษณา ไม้จันทร์ และไม้หอมอื่นๆ รวมทั้งงาช้าง นอแรด เขาวัว เขากวาง กระดองเต่ากระ หรือแม้แต่กระเบื้องเคลือบก็มี นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ และลงรักลงสีอีกด้วย หรืออาจประดับตกแต่งด้วยหยก แก้ว ลูกปัด ทอง เงิน เป็นต้น

การขุดพบเครื่องเคลือบดินเผาที่มีลวดลาย และกระดูกสัตว์ที่มีอักขระโบราณจารึกไว้ซึ่งเรียกกันว่า กระดูกมังกร ที่มีไว้เพื่อใช้ในการทำนายในสมัยราชวงศ์ซางและก่อนหน้านั้น ช่วยให้เรามองเห็นร่องรอยการเขียนหนังสือของคนจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ชัดเจนข
ึ้น ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์ตงโจวหรือกว่าสองพันปีที่แล้ว คนจีนเริ่มมีพู่กันใช้กันแล้ว จากหลักฐานคือซีกไผ่ และผ้าแพรต่วนที่มีคำอักษรจีนจารึกไว้ด้วยการใช้พู่กันเขียน โดยพู่กันเล่มเก่าแกที่สุดเท่าที่เคยมีการขุดค้นพบในปัจจุบันมาจากสุสานของเจิงโหวอี
้ ในมณฑลหูเป่ย ต่อมาก็มีการขุดพบพู่กันอีกหลายเล่ม ต่างยุคต่างสมัยกัน เช่น พู่กันสมัยจั้นกั๋ว (Warring states) ขุดพบที่เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน พู่กันสมัยราชวงศ์ฉินขุดพบที่หูเป่ยและกานซู พู่กันในสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบจากสุสานหม่าหวางทุยอันเลื่องชื่อในมณฑลหูหนาน พู่กันในสมัยราชวงศ์ซีจิ้น ขุดพบในเมืองวูเวย และยังมีการขุดพบอีกใน ตุนหวง มองโกเลียใน เป็นต้น พู่กันที่ขุดพบเหล่านี้ถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่ง ที่คนโบราณทิ้งทอดไว้ให้เราได้ศึกษาเรื่องราวของจีนโบราณได้เป็นอย่างดี

หากแต่คนจีนกลับเชื่อกันว่า เมิ่งกัวแม่ทัพใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฉินเป็นคนประดิษฐ์พู่กันขึ้นเป็นคนแรกตามบันทึกของจ
างหัวขุนนางใหญ่และนักวรรณกรรมในสมัยราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. ๗๗๕-๘๔๓) ที่ระบุไว้ในหนังสือ “ป๋อวู่จื่อ” ของเค้า “เมิ่งกัวประดิษฐ์พู่กัน” ยกเมิ่งกัวขึ้นเป็นบิดาแห่งพู่กันจีนไป

แม้ว่าจากหลักฐานการขุดพบพู่กันโบราณที่มีมาก่อนสมัยของเมิ่งกัวจะสามารถยืนยันได้ว่
า เมิ่งกัวมิใช่ผู้แรกที่ประดิษฐ์พู่กันก็ตาม ตึความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ พู่กันในสมัยของเมื่งกัวมีความประณีตสวยงามมาก หานอวี้กวีอีกคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์ถังเขียนไว้ใน “เหมาอิ่งจ้วน” ว่าแม่ทัพเมิ่งกัวยกทัพลงใต้ไปปราบปรามแคว้นฉู่ และถือโอกาสขึ้นเขาไปล่ากระต่ายเพื่อเอาขนมันมาทำพู่กันถวายแด่ ฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) และในหนังสือเล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของ

ซือหม่าเชียนก็บึนทึกไว้ในทำนองเดียวกันนี้ หากแต่เอเติมรายละเอียดว่า ฉินสื่อหวงตี้ทรงโปรดพู่กันเล่มนี้มาก ถึงกับยกเมืองให้เมิ่งกัวปกครอง พู่กันเล่มนี้จึงถูกเรียกว่า “ก่วนเฉิง” หมายถึงการดูแลปกครองเมือง ก่อนหน้าที่ฉินสื่อหวงตี้จะรวบรวมแผ่นดินจีนเข้าเป็นปรึกแผ่น แต่ละแคว้นเรียกพู่กันในชื่อที่แตกต่างกันไปหลากหลายชื่อ แต่หลังจากที่พระองค์รวบรวมหกแคว้นเข้าเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ทรงโปรดให้เรียกพู่กันว่า “ปี่” เป็นบรรทัดฐานเดียวกันทั้งประเทศ

ล่วงเข้าในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศจีนมีความรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมที่สุดยุคหน
ึ่ง ได้มีการค้นพบกระดาษของจีน ทำให้พู่กันได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น พู่กันของยุคนี้เรียกว่า พู่กันขนผสม เพราะมีการนำเอาขนของสัตว์หลายๆ ชนิดมาผสมทำเป็นหัวพู่กัน ดังนั้นขนพู่กันจะมีทั้งขนแข็งและอ่อนปนกัน และยังมีการตกแต่งตัวด้ามของพู่กันให้ดูสวยงามขึ้นด้วย

ถังปิ่งจวินเขียนไว้ในหนังสือ “เหวินฝางซื่อข่าวถูซัว” ว่า “พู่กันที่ประดิษฐ์ในสมัยฮั่นนิยมดิ้นด้วยทอง ประดับด้วยหยกเนื้อดี ร้อยห้อยด้วยไข่มุก แต่งด้วยหยกเขียว ตัวด้ามถ้ามิได้ทำจากนอแรดก็ต้องทำด้วนงาช้าง จึงสวยงามยิ่งนัก”

นี่แสดงให้เห็นว่า พู่กันในสมัยฮั่นมิใช่เพียงเครื่องเขียนสำหรับเขียนหนังสือและวาดภาพอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นงานศิลปะไปเสียแล้ว จึงมักมีชื่อของช่างทำพู่กันสลักไว้บนด้ามพู่กันเสมอ และเรื่องที่คงไม่มีใครคิดถึงก็คือ พู่กันได้กลายเป็นเครื่องประดับกายอย่างหนึ่งไปด้วย เรียกกันว่า “ไป๋ปี่” คือพู่กันใหม่ที่ยังไม่เคยจุ่มหมึกเขียนมาก่อน บัณฑิตและขุนนางมักนิยมเอามาเสียบเอาไว้ที่มวยผม โดยเฉพาะพวกขุนนางสมัยฮั่นมักนิยมปักพู่กันเข้าเฝ้าด้วยเสมอ เพื่อความสะดวกเวลาถวายงานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ด้ามของพู่กันในสมัยนี้จึงค่อนข้างยาวมาก

ความนิยมนี้เลิกไปในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น ทำให้ตัวด้ามของพู่กันหดสั้นลงกว่าเดิม ในสมัยสามก๊กซึ่งเป็นยุคก่อนหน้านี้ มีช่างพู่กันอยู่คนหนึ่งชื่อ เว่ยตั้น ซึ่งเป็นชาวเมืองซีอานในแคว้นเว่ย (หรือวุยก๊ก) ได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องของพู่กันไว้ด้วยชื่อ “ปี่จิง” พู่กันที่เค้าประดิษฐ์มีชื่อเสียงไปทั่ว จนคนเอาชื่อของเค้ามาตั้งเป็นชื่อพู่กันว่า “เว่ยตั้นปี่”

ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง พู่กันเปลี่ยนหน้าตาไปอีก หัวพู่กันสั่นและแข็ง เมืองซวนเฉิงในมณฑลอันฮุยเป็นแหล่งรวมช่างพู่กันฝีมือดีมีชื่อหลายคน เช่น หวงฮุย พู่กันของเค้ามีหัวสั้นและแหลมคล้ายเดือยไก่ จึงเรียกว่า “พู่กันเดือยไก่”

ช่างพู่กันอีกคนหนึ่งไม่ทราบชื่อที่แน่นอน ทราบเพียงว่าแซ่เฉิน พู่กันของเค้าได้รับความนิยมมากในหมู่จิตรกรและนักเขียนภาพอักษร ถึงขนาดว่านักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงอย่าง หลิ่วคงฉวน เคยไปขอพู่กันจากเค้า เรื่องราวนี้มีบันทึกอยู่ใน “เหวินเจี้ยนโห้วลู่” ของเส้าป๋อในสมัยราชวงศ์ซ่ง

ช่างพู่กันในสมัยเดียวกันที่มีฝีมือดีอีกคน แซ่จูเก๋อ ตัวพู่กันทำจากขนสัตว์สองชนิดผสมกัน ทำให้คงทนกว่า พู่กันของช่างตระกูลจูเก๋อก็มีชื่อเสียงพอๆ กับของตระกุลเฉิน และก็เป็นที่นิยมของนักเขียนศิลปะลายมืออักษณจีนและกวีเหมือนกัน ใน “เจียงเปี่ยวจื้อ” ของเติ้งเหวินเป่าบันทึกว่า “หวางฉงเชียนชอบการเขียนภาพอักษรและกำลังหัดเขียนศิลปะภาพอักษรแบบข่ายซู ใช้พู่กันของตระกูลจูเก๋อ ราคาเล่มละ ๑๐ ตำลึงทอง ถือเป็นสุดยอดพู่กันในสมัยนั้น ด้วยเขียนแล้วตัวอักษรดูมีพลัง และชวนพิศวงหวางฉงเชียนจึงตั้งฉายาให้ว่า เสียงซวนเป๋าโจ่ว (พู่กันที่เขียนได้พลิ้วไหวมาก)”

พู่กันจากเมืองซวนเฉิงจึงเป็นพู่กันชั้นดีมีคุณภาพ กระทั่งกลายเป็นเครื่องราชบรรณการที่ต้องนำขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดินทุกปี พู่กันที่ถูกเก็บรักษาอยู่ที่ญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีทั้งด้ามที่ทำจากไผ่ลาย ไผ่ลายเหลี่ยมงาช้าง งาช้างทั้งด้าม และด้ามที่ตกแต่งด้วยเพชรพลอย พู่กันสมัยราชวงศ์ถังจึงมีความหลากหลายและงดงามมาก

เนื่องจากพู่กันในสมัยถังมีหัวสั่นและแข็งเกินไป ทำให้อุ้มหมึกได้น้อยจึงแห้งเร็ว จึงเกิดพู่กันขึ้นอีกชนิดหนึ่งมีหัวยาวและอ่อนนุ่มมากขึ้น อันถือเป็นการปฏิวัติการทำพู่กันก็ว่าได้ เพราะมันทำให้เกิดลีลาการเขียนภาพอักษรแบบใหม่ ที่ดูพลิ้วไหว มีอิสระไร้ขีดจำกัดขึ้นในยุคปลายราชวงศ์ถัง

มาถึงในสมัยซ่ง ศิลปะการทำพู่กันเปลี่ยนไปจากเดิมที่สืบทอดกันมาแต่สมัยจิ้น โดยค่อยๆ เริ่มนิยมพู่กันที่มีหัวอ่อนนุ่มขึ้น ปลายพู่กันไม่แหลมนัก และใช้ขนไม่มาก ช่างพู่กันที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้มีหลายคน เช่น จูเก๋อเกา ทายาทจากตระกูลช่างพู่กันในเมืองซวนเฉิง ซูเส้อ หรือ ซูตงปอกวีเอกสมัยนั้นเคยพูดถึงพู่กันจากช่างคนนี้ว่า “มีแต่ (พู่กัน) ของจูเก๋อเกาเท่านั้นที่ดี คนอื่นๆ ทำเลียนแบบก็เรียนได้แต่รูป หาได้เคล็ดลับ (การทำพู่กัน) ไม่ ซึ่งกลับสู่พู่กันธรรมดามิได้ เปรียบเหมือนการเริ่มเรียนกวีนิพนธ์ของตู้ฝู่ ที่มักได้แต่ความหยาบและง่ายมาเท่านั้น”

ช่างพู่กันอีกคนที่ได้รับการเล่าขานจากกวีเอกซูตงปอ คือ เฉิงอี้ ซูตงปอชมพู่กันของเค้าว่า ทำได้สวยงามประณีตและคงแบบอย่างของคนโบราณไว้ ทำให้เขียนหนังสือได้พลิ้วและเบามือ

หวงถิงเจียนกวีดังอีกคนในสมัยซ่ง เขียนถึงลวิเต้าหยวนช่างพู่กันผู้พัฒนาวิธีการทำพู่กันเสียใหม่ ไว้ใน “ซานกู่ปี่ซัว” ว่า “ลวิต้เต้าหยวนคนเมืองอี้โจว (ในมณฑลอันฮุย) รู้วิธีทำพู่กันจากเหยวจ้งเจียง เคยทำพู่กันให้เรากว่าสิบด้าม ไม่มีด้ามไหนเลยที่ไม่ถูกใจ” และหวงถิงเจียนยังพูดถึงลวิเต้าเหยินช่างพู่กันผู้เอาข้อเด่นของพู่กันเมืองซวนโจวมา
สร้างสรรค์ค์ใหม่ว่า “ลวิเต้าเหยินคนเมืองเส้อโจว ไม่ได้ทำพู่กันเป็นอาชีพเพราะยากจน เค้าจึงทำพู่กันได้ดี”

ในสมัยหนานซ่งมีช่างพู่กันชื่อ วังป๋อลี่ ทำพู่กันมีชื่อเสียงโด่งดัง เจ้าเมืองฮุยโจวได้นำพู่กันของวังป๋อลี่ขึ้นถวายพระเจ้าหลี่จง พร้อมกับกระดาษจากร้านเฉิงซินถัง หมึกของหลี่ถิง และจานหมึกจากเมืองหยางโถหลิ่ง โดยเรียกรวมกันว่า “ซินอันซื่อเป่า” หรือจตุรพิธสมบัติจากซินอัน

มาถึงสมัยที่มองโกลครองอำนาจในจีนราชวงศ์หยวน พู่กันจากเมืองซวนโจวในมณฑลอันฮุยเริ่มเสื่อมความนิยมลง โดยมีพู่กันจากเมืองหูโจวและเจียซิ่งในมณฑลเจ้อเจียง ขึ้นมาเป็นที่นิยมแทน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะราชวงศ์หนานซ่งซึ่งกำลังถอยหนีการรุกรานจากกองทัพมองโกล ได้ย้ายศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมมาอยู่ที่เมืองหางโจว ทำให้กิจการพู่กันที่มีอยู่เดิมในเมืองหูโจวเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะในตำบลส้านเหลียน

มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงจีนจื้อสุ่ยซึ่งเป็นหลานรุ่นที่ 7 ของหวางซี (นักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์สุย) เคยจาริกมาที่ตำบลนี้ และจำวัดอยู่ที่วัดหย่งซินซึ่งอยู่ข้างๆ ศาลบูชาเมิ่งกัวผู้ที่คนจีนนับถือว่าเป็นพู่สร้างพู่กันขึ้นมาคนแรก หลวงจีนจื่อสุ่ยมักพูดคุยเรื่องการทำพู่กันกับช่างทำพู่กันเสมอ เพราะท่านชอบศิลปะการเขียนภาพอักษร เชื่อกันว่าท่านใช้พู่กันไปทั้งสิ้นถึงห้าสิบ...บใหญ่ พู่กันเหล่านั้นถูกเอาไปฝังไว้ในสวนเสี่ยว (ปัจจุบันอยู่แถวท่าเรือเมืองส้านเหลียน) เรียกว่า “สุสานพู่กัน” เมื่อท่านมรณภาพไป ศพของท่านก็ถูกนำมาฝังไว้ข้างๆ สุสานพู่กันแห่งนี้

หลังจากที่มองโกลได้ครอบครองแผ่นดินจีนทั้งหมดและตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมา ก็ได้เกิดช่างพู่กันชื่อดัง ในมณฑลเจ้อเจียงขึ้นอีกหลายคน และเพื่อให้ผู้ปกครองชาวมองโกลพึงพอใจ ช่างเหล่านี้ได้ช่วยกันทำ “พู่กันหลวง” ที่แสนจะวิจิตรประณีตและงดงามขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดิน พู่กันจากเมืองหูโจวจึงมีชื่อเสียงไปทั่วแผ่นดิน

พู่กันจากเมืองหูโจวเรียกว่า “หูปี่” ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ นั่นคือ ปลายแหลม ขนเรียบ หัวกลมสวย และ แข็งแรง โดยใช้ขนแกะ กระต่าย และอีเห็น มาประดิษฐ์อย่างประณีตถึง 17 ขั้นตอน จึงจะได้พู่กันชั้นดีซักด้าม

มาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง พู่กันที่ใช้กันในวังเรียกว่า “อวี้ปี่” (พู่กันหลวง) และพู่กันที่ใช้ในหน่วยงานราชการ เนื่องจากเป็นพู่กันสำหรับบุคคลสำคัญของบ้านเมือง ดังนั้น จึงต้องมีความประณีตงดงามเป็นพิเศษ ต้องใช้แต่ขนสัตว์ชั้นดีเยี่ยม ขึ้นขนาดมีการไล่สีเป็นชั้นๆ ในส่วนที่เป็นหัวของพู่กัน นอกจากนี้ยังเกิดพู่กันแบบใหม่ๆ เพื่อสนองการเขียนศิลปะลายมือตัวใหญ่เป็นพิเศษ รวมทั้งหัวพู่กันที่ทำยาวมากขึ้น เพื่อให้อุ้มน้ำหมึกได้มากขึ้น ตัวด้ามทำจากไม้ไผ่สลักลวดลาย แท่งหยก งาช้าง ทอง กระเบื้อยงเคลือบ และอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมทั้งตกแต่งลวดลายเช่น มังกร โป๊ยเซียน ค้างคาว เงินกษาปณ์โบราณ ทิวทัศน์ เป็นต้น

ช่างพู่กันฝีมือดีในสมัยราชวงศ์หมิง เช่น ซือเหวินย่ง ชาวอู๋ซิ่งในมณฑลเจ้อเจียง พู่กันที่เค้าทำส่วนมากจะทำไว้ให้ฮ่องเต้และขุนนางผู้ใหญ่ ชื่อ “ซือเหวินย่ง” นี้ก็เป็นชื่อที่พระเจ้าหงลี่พระราชทานให้

ส่วนในสมัยราชวงศ์ชิงก็มีโจวหู่เฉินเป็นช่างพู่กันฝีมือดี ทำจนขยายกิจการไปเปิดสาขาถึงเซี่ยงไฮ้ มีประวัติกว่า 100 ปี หวางย่งชิงเป็นช่างทำพู่กันที่หวงวิชามาก เขาไม่รับศิษย์ และไม่เปิดร้านขาย แต่จะรับทำพู่กันอยู่กับบ้าน

เนื่องจากส่วนหัวของพู่กันนั้นรักษายากและชำรุดง่าย ทำให้เหล่านักสะสมจึงมักจะดูที่การประดับตกแต่งตัวด้ามเสียมากกว่า แต่คนโบราณจะดูที่หัวพู่กันด้วย เพราะหัวพู่กันแบบดังเดิมนั้นมักจะสั้นและใหญ่ รูปร่างคล้ายกับหน่อไม้ หัวพู่กันแบบนี้เวลาแต้มหมึกจรดลงบนกระดาษจะให้น้ำหนักดี ได้ลายเส้นหนา และยังคงทนอีกด้วย หัวพู่กันอีกแบบจะกลมมน ขาวสะอาดและอ่อนนุ่ม รูปร่างคล้ายกับดอกจำปีที่กำลังจะแย้มบาน ให้ความรู้สึกที่งดงามจับตา

แต่ตัวด้ามของพู่กันดูจะเป็นที่สนใจมากกว่า เพราะมักจะประดับด้วยหยกบาง อัญมณีบ้าง อย่างที่ถังปิ่งจวินเขียนไว้ในปี พ.ศ. 2321 ว่า พู่กันสมัยฮั่นมักนิยมประดับด้วยทอง หยก ไข่มุก ตัวด้ามทำจากนอแรดไม่ก้องาช้าง สวยงามยิ่งนัก นี่เองทำให้พู่กันมิได้เป็นแค่เครื่องเขียนอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นงานศิลปะและของเก่าที่น่าสะสมอีกด้วย ตัวอย่างเช่น พู่กันลายหงส์มังกรจากสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังเดิมที่กรุงปักกิ่ง พู่กันเหล่านี้มักมีปลอกสวมหัวพู่กันด้วย และทุกด้ามมีการลงรักเป็นพื้นก่อนเขียนรูปเป็นภูเขา มังกรล่อแก้ว คลื่นทะเลโถมถาใส่โขดชะง่อนหินผา ด้วยลายเส้นเพียงไม่กี่เส้น ก็สามารถแสดงให้เห็นถึงความเวิ้งว้างของท้องทะเลและท้องฟ้า ช่วยขับให้มังกรที่กำลังไล่งับลูกแก้วไปมากลางหู่เมฆด้วยลีลาอันสง่างามดูเด่นขึ้น นอกจากนี้ตัวด้ามและปลอกพู่กันยังเลี่ยมทองให้ดูทรงคุณค่าขึ้น ส่วนหัวพู่กันนั้น สีขนมันวาว กลมและแข็งแรง มีรูปร่างคล้ายลิ่ม มีคุณสมบัติครบถ้วนคือ แหลม เรียบ กลม และแข็งแรง ถือเป็นของล้ำค่าที่เป็นหลักฐานยืนยันมาตรฐานการทำพู่กันในสมัยหมิงได้เป็นอย่างดี



รักคือสิ่งใด
#6   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:39:25 ]

ขาดเกินอะไร ท่าเตาเพิ่มเติมได้นะคะ แลกเปลี่ยนความรู้กันหน่ะ



รักคือสิ่งใด
#7   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:41:05 ]

2. จานหมึก



จานหมึกอาจเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่เราไม่ค่อยคุยเคยกันนัก และอาจทำให้เราคิดว่าคงมีลักษณะคล้ายกับจานสีของฝรั่ง แท้จริงแล้วจานหมึกของจีนมีความแตกต่างกับจานสีของฝรั่งมาก มีหลักฐานยืนยันว่าคนจีนเริ่มจานหมึกกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน หลิวซีเขียนไว้ในหนังสือชื่อ “ซื่อหมิง” ว่า “จานหินเรียบมันเรียกว่า เยี่ยน ใช้ฝนหมึกและหยดน้ำ” จานหินเรียบมันที่กล่าวถึงนี้คือจานหมึกนั่นเอง

ข้อมูลทางด้านโบราณคดีบอกเราว่า จานหินเรียบมันที่ว่านี้ น่าจะค่อยๆ วิวัฒนาการมากจาโม่หินในสมัยยุคหินใหม่ โม่หินและแกนโม่ที่ขุดพบในเมืองซีอัน มีอายุราวๆ 7000 ปีนั้น ยังคงมีรอยสีที่ถูกบดให้เห็นติดอยู่ และยังมีการขุดพบภาชนะผสมสีในสุสานทั้งที่เมืองอันหยางและเมืองลั่วหยาง นี่แสดงให้เห็นว่าโม่หินและภาชนะผสมสีเหล่านี้น่าจะเป็นต้นกำเนิดของจานหมกในยุคต่อม
า หลักฐานเหล่านี้ยืนยันได้ว่าจานหมึกจีนน่าจะมีอายุเก่าแก่พอๆ กับพู่กัน หมึก และกระดาษแน่นอน

จานหมึกในยุคแรกๆ ของจีนทำจากหิน จานหมึกในสมัยจั๋นกั๋วหรือยุค Warring states ที่ขุดพบในสุสานของฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อปี พ.ศ.2518 ทำจากหินกรวดขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายไข่ห่าน ส่วนหมึกได้จากแร่ธาตุธรรมชาติ และการฝนหมึกก็ยังต้องใช้สากบดหมึกให้ละเอียด สากบดหมึกอยู่คู่กับจานหมึกมาจนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงหมดบทบาทไป เพราะมีการทำหมึกแท่งที่สามารถใช้ฝนกับจานหมึกได้เลย ดูจากส่วนนี้แล้วคนจีนน่าจะใช้สากบดหมึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง รวมเวลากว่า 3000 ปี จนค่อยๆหมดบทบาทไปละไม่มีใช้แล้วในปัจจุบัน

จานหมึกสมัยราชวงศ์ฮั่นได้พัฒนากรรมวิธีการทำไปอย่างเห็นได้ชัด เกิดมีจานหมึกที่ทำจากวัสดุหลายๆ ชนิดขึ้น เช่น หิน ดินเผา สำริด กระเบื้อง เป็นต้น จานหมึกดินเผาโบราณที่มีชื่อเสียงคือ จานหมึก “เฉิงหนี” ในสมัยราชวงศ์ถัง จานหมึกชนิดนี้มีวิธีการทำที่แปลกมาก ก่อนอื่นต้องถ่วงถุงผ้าแพรไว้ที่ก้นแม่น้ำเฝินซึ่งอยู่ในมณฑลซานซี เป็นเวลาหนึ่งปี จึงนำถึงขึ้นจากแม่น้ำ เพื่อเอาดินทรายที่น้ำพัดเข้ามาในถุงใช้ทำจานหมึกดินเผา

ในสมัยราชวงศ์ฮั่นเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น มักนิยมจานหมึกหินที่มี 3 ขา แต่ละขาจะสลักลวดลายรูปเท้าสัตว์เอาไว้ นอกจากนี้ยังมีจานหมึกรูปเต่าบ้าง รูปภูเขาบ้าง มาในสมัยราชวงศ์ฝ่ายเหนือ (เป่ยเฉา) กลับนิยมจานหมึกที่มี 4 ขา แกะสลักลวดลายง่ายๆ เรียบๆ ดูมีชีวิตชีวา

ในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้นได้มีการทำจานหมึกกระเบื้องดินเผากันแล้ว โดยไม่เคลือบตรงส่วนของก้นจานเพื่อให้ใช้ฝนหมึกได้ดี มักทำเป็นรูปกลมแบนมีขา จีนเริ่มมีจานหมึกกระเบื้องเคลือบใช้กันในสมัยหนานเป่ยฉาว ซึ่งเป็นช่วงที่จีนแบ่งแยกเป็นราชวงศ์เหนือกับราชวงศ์ใต้ โดยเป็นจานหมึกกระเบื้องสีครามมีรูปร่างคล้ายบุ้งกี๋ที่ด้านหนึ่งกลมและมี 2 ขา เป็นแม่แบบจานหมึกรูปบุ้งกี๋ที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ถังด้วย

เนื่องจากนับแต่สมัยราชวงศ์สุยเป็นต้นมา หมึกจีนได้รับการพัฒนาไปมากจนเนื้อหมึกมีคุณภาพดีขึ้นจนไม่ต้องใช้บดกับหินอีก ปัญญาชนจีนจึงมีความต้องการที่จะได้จานหมึกที่มีคุณภาพดีขึ้นเพื่อนำมาใช้กับหมึกที่
ว่านี้ ดังนั้น เนื้อและรูปร่างของจานหมึกในสมัยราชวงศ์ถังจึงได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก จานหมึกรูปบุ้งกี๋ รูปเต่า จึงกลายเป็นสิ่งที่ปัญญาชนจีนนิยมกันมาก

มาในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีจานหมึกกระเบื้องเคลือบลายครามและสีเขียวใบไม้ จานหมึกกลายเป็นน้ำพุมังกร และจานหมึกที่มีหลุมใส่หมึก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจานหมึกที่ทำจากกระเบื้องของวังหลวงในสมัยราชวงศ์ฮั่น

จานหมึกได้กลายเป็นของรักของหวงสำหรับขุนนางละปัญญาชนของจีนในสมัยโบราณ จนได้ชื่อใหม่อีกหลายชื่อเช่น สือซวีจง (หินอ่อนน้อม) จี๋โม่โหว (เสนาบดีผู้ให้หมึก) ว่านสือจวิน (ท่านหมื่นหิน) สือเซียงโหว (เสนาบดีแห่งบ้านหิน) เที่ยเมี่ยนซ่างซู (ราชเลขาฯ ผู้เที่ยงธรรม) เป็นต้น

ปัญญาชนจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง จะนิยมใช้จานหมึกที่ทำจากหินกันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะจานหมึกหินคุณภาพดีจากตำบลต้วนซี อำเภอเกาเอี้ยว มณฑลกวางตุ้ง จานหมึกชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ปัญญาชนและจิตรกรในนามของ “ต้วนเยี่ยน” จานหมึกหินคุณภาพดีอีกชนิดหนึ่งเป็นจานหมึกที่ทำกันอยู่ใน อำเภอเส้อ มณฑลอันฮุย เรียกกันว่า “เส้อเยี่ยน” ซึ่งมีชื่อเสียงไม่แพ้ชนิดแรก จานหมึกที่นิยมใช้กันในสมัยนั้นคือ จานหมึกที่คว้านหลังจานให้โหว่ ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก และมีน้ำหนักเบา วางแล้วไม่โคลงเคลง จานหมึกหินได้ค่อยๆ เข้ามาเป็นที่นิยมแทนจานหมึกดินเผา จะมีก็แต่จานหมึกดินเผา “เฉิงหนี” เท่านั้นที่ยังได้รับความนิยมอยู่เช่นเดิม จานหมึกสมัยซ่งจะดูสวยแบบเรียบๆ และใช้งานได้ทนทาน ซึ่งดูดีกว่าจานหมึกสมัยราชวงศ์หยวน เพราะจานหมึกสมัยหยวนจะดูหยาบกว่าแต่ก็เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงค์ชิง ปัญญาชนจีนเริ่มไม่นิยมจานหมึกหินลายใยสีแดงจากมณฑลซานตง แต่กลับไปนิยมจานหมึกหินชนิด “ต้วนเยี่ยน” และ”เส้อเยี่ยน” เช่นเดียวกับสมัยซ่ง หากแต่จานหมึกสมัยนี้จะต้องใช้หินเนื้อดี พอถีพอถันเรื่องรูปทรง มีการแกะสลักอย่างสวยงาม และต้องมีคำกวีนิพนธ์ หรือคำจารึกจากกวีคนดังสลักไว้บนจานหมึกด้วย กระทั่งกล่องใส่จานหมึกก็ต้องมีการประดับตกแต่งให้สวยงาม ทำให้เกิดช่างทำจานหมึกฝีมือดีขึ้นหลายคน เช่น กู้เอ้อเหนียง วังฟู่ชิ่ง เป็นต้น เนื่องจากการคัดเลือกใช้แต่หินเนื้อดี รูปทรงหลากหลายแบบ และความวิจิตรงดงาม ทำให้จานหมึกในสมัยนี้ทรงคุณค่าการใช้สอยจริง โดยมีคุณค่าทางศิลปะที่ล้ำค่า ทำให้จานหมึกจากสมัยนี้เป็นของสะสมของเหล่าขุนนางและปัญญาชนอย่างแพร่หลาย

ช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิง ช่างทำจานหมึกต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสลักลวดลายที่ละเอียดและประณีตบนตัวจานหมึ
กกันมากขึ้น ทำให้เกิดจานหมึกประเภทนี้ขึ้นไม่น้อย รูปทรงของจานหมึกก็หลากหลายขึ้นด้วย แต่ยังคงรูปทรงของสมัยราชวงศ์สุยไว้เป็นสำคัญ แต่รูปทรงอื่นๆ ก็มี เช่น แปดเหลี่ยม ปล้องไผ่ ใบบัว ใบตอง แอ่งเว้า และรูปกาน้ำ เป็นต้น

ขุนนาง ปัญญาชน จิตรกร และผู้รักนิยมในจตุรพิธสมบัติ ยังพิถีพิถันกับเรื่องสีสัน ลวดลาย เสียง ความนุ่มลื่น ตลอดจนปีที่ทำ หินที่ใช้ และคำจารึกบนตัวจานหมึก คุณสมบัติเหล่านี้ต้องเพียบพร้อมครบถ้วน จึงจะถือว่าเป็น “สมบัติ” จริงๆ นี่เองทำให้จานหมึกกลายเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ต้องมีอยู่บนโต๊ะทำงานของเหล่าขุน
นาง ปัญญาชน และศิลปินทั้งหลายอย่างขาดมิได้ ทั้งยังกลายเป็นผลงานศิลปกรรมที่เหล่านักสะสมนิยมสะสมอีกด้วย

ความรุ่งเรื่องในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อ ทำให้จานหมึกพลอยได้รับการพัฒนาด้วยวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น แม้ว่าจานหมึกหินหรือดินเผาจะยังเป็นที่นิยมมากที่สุด แต่ก็เกิดจานหมึกที่ทำจากหยกทั้งก้อน หยกผสมหิน ทราย และเหล็กไม่ต่ำกว่าสิบชนิด

และเนื่องจากเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และขุนนางผู้ใหญ่ในราชวงศ์ชิง ต่างผูกพันกับดินแดนแมนจูซึ่งเป็นบ้านเกิดของตน จึงมีการสนับสนุนจานหมึกหิน “ซงฮัว” จากแถบแม่น้ำหุนถง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจานหมึกหลวง

แต่จานหมึกจากแหล่งอื่นก็ยังเป็นที่นิยมกันทั่วไป เช่น จานหมึกด้วนเยี่ยนจากมณฑลกวางตุ้ง จานหมึกเส้อเยี่ยนจากมณฑลอันฮุย จานหมึกหินลายในสีแดงจากมณฑลซานตง และจานหมึกเถาสือจากมณฑลกานซู เพราะจานหมึกเหล่านี้ใช้วัสดุที่แข็งแรง เนื้อเนียนละเอียดลื่น และฝนหมึกได้ดี ทั้งยังมีลวดลายสวยงาม โดยเฉพาะจานหมึกเฉิงหนีที่ใช้ถุงผ้าแพรดักเก็บดินจากแม่น้ำเฝิน นำมาตั้งทอ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นเผาให้แข็งเป็นก้อนก่อนที่จะนำมาแกะสลักขึ้นรูปเป็นจานหมึก จึงเป็นจานหมึกเนื้อดีและแข็งดุจหิน

จานหมึกจีนมีด้วยกันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะจำแนกกันตามเนื้อวัสดุ หรือตามรูปทรงการตกแต่งก็ตาม หากแต่จานหมึกที่มีชื่อเสียงและดีที่สุดนั้น เห็นจะมีแค่สองชนิดเท่านั้น คือ จานหมึกต้วนเยี่ยน กับจานหมึกเส้อเยี่ยน

จานหมึกต้วนเยี่ยน จากหลักฐานทางโบราณคดีบอกเราว่า คนจีนเริ่มทำจานหมึกชนิดนี้กันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าถังเกาจง (หลี่หยวน) แห่งราชวงศ์ถัง หรือราวๆ พ.ศ.1161-1169 และมีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ตวนซีเยี่ยนสื่อ” (ประวัติจานหมึกเมืองตวนซี) เขียนชมจานหมึกชนิดนี้ไว้ว่า “มีน้ำหนักดีแต่เบา เนื้อแข็งแต่ก็นุ่มเนียน ฝนหมึกเงียบแต่ไม่มีเสียง กดแล้วเหมือนกดลงบนผิวเด็ก นุ่มนิ่มอบอุ่นและไม่ลื่น”

คนจีนถือว่าจานหมึกชนิดนี้ดีที่สุด แต่มันก็มีคุณภาพลดหลั่นลงมาตามคุณภาพของเนื้อหินที่นำมาใช้ มีต้นกำเนิดจากเมืองเล็กๆ ชื่อเกาเอี้ยว ซึ่งก่อนสมัยราชวงศ์ถังเมืองนี้ขึ้นอยู่กับเมืองตวนโจว (ซึ่งปัจจุบันคือเมืองเจ้าชิ่ง มณฑลกวางตุ้ง) เมืองนี้มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ ฝู่เคอซาน เชิงเขาลูกนี้ในเขตพื้นที่น้ำขึ้นท่วมถึง ตรงบริเวณที่ห่างจากแม่น้ำไป 2 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศจะค่อยๆ เป็นเนินสูงขึ้น ตรงบริเวณแถวนี้แหละ ที่เป็นแหล่งหินสำหรับใช้ทำจานหมึก โดยถ้ำหินที่อยู่ล่างสุดที่มีน้ำท่วมตลอดทั้งปีคือแหล่งที่มีหินคุณภาพดีที่สุด

ในสมัยโบราณการนำหินออกมาจากถ้ำที่จมอยู่ใต้น้ำนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรอให้น้ำในแม่น้ำลดต่ำสุดในทุกปี ซึ่งตกราวๆ ช่วงต้นฤดูหนาว ถึงจะลงไปในถ้ำได้ โดยต้องใช้คนถึง 70 คนนั่งร้านเรียงต่อๆ กัน ถึงจะลงไปยังถ้ำได้ และใช้ภาชนะตักน้ำขึ้นมาเป็นทอดๆ เพื่อวิดน้ำ ใช้เวลาราวๆ เดือนเศษ น้ำในถ้ำจึงจะแห้งขอด แล้วถึงจะสามารถเข้าไปเอาหินในถ้ำได้ พอปีหน้าน้ำก็จะขึ้นมาท่วมอีก หากแต่หินในถ้ำแห่งนี้ได้หมดไปตั้งนานแล้วตั้งแต่สมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง แม้จะมีการบุกเบิกหลุมใหม่สำหรับขุดหิน หรือเอาหินจากถ้ำที่อยู่สูงขึ้นไป แต่ก็ไม่สามารถหาหินคุณภาพดีเช่นนั้นได้อีกแล้ว

จุดเด่นของจานหมึกชนิดนี้คือไม่ทำให้ขนพู่กันเสียหายและยังฝนหมึกได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังมีลายเส้นงดงาม ที่ขึ้นชื่อลือชาก็ได้แก่ ลายหัวปลา ลายใบกล้วย ลายดอกไม้ ลายลูกไฟ ลายน้ำแข็ง เป็นต้น

จุดเด่นอีกอย่างคือ มีหลุม เชื่อกันว่าหินอ่อน (หินอายุน้อย) จะมีหลุมมาก หินแก่จะมีหลุมน้อย และทำให้มีการคัดคุณภาพจานหมึกกันจากลักษณะหลุม ดีที่สุดคือหลุมที่น้ำถ่ายเทได้ ความจริงแล้ว หลุมที่ว่านี้เป็นแค่ลายหินที่ทำให้ดูสวยขึ้นเท่านั้น ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพหินแต่อย่างใด ดีไม่ดีถ้าเกิดมีหลุมในตำแหน่งที่ไม่ควรมีทำให้ฝนหมึกยาก ก็กลายเป็นว่าไม่ดีไปเสียอีก

เรื่องสีของตัวจานหมึกเองก็สำคัญเพราะเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับคุณภาพด้วย จานหมึกต้วนเยี่ยนมีสีม่วงแก่ สีนิล และสีขาว (เทา) ที่ดีที่สุดคือจานหมึกสีขาว และที่แย่ที่สุดคือสีม่วง

อันที่จริง จานหมึกต้วนเยี่ยนนี้เริ่มแรกเดิมทีก็ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ โดยไม่มีการสลักตกแต่งลวดลายอันใดทั้งสิ้น ตัวจานจึงดูธรรมดามากและออกจะหยาบไปด้วยซ้ำ หลี่เจ้าคนในสมัยราชวงศ์ถังเขียนไว้ใน “ถังกั๋วสื่อปู่” ว่า “จานหมึกสีม่วงจากเมืองตวนโจว ใช้กันทั่วแผ่นดินไม่ว่ายากดีมีจน”

การพัฒนาฝีมือและรูปทรงให้ประณีตสวยงามขึ้นมาเริ่มหลังจากที่มีเรื่องเล่ากันว่า ช่างทำจานหมึกเฒ่าผู้หนึ่งเดินทางผ่านแม่น้ำตวนซี เห็นกระเรียนสองตัวตกลงไปในน้ำ เค้าจึงเหวี่ยงแหออกไปหวังจะจับนกทั้งสองตัวนี้ แต่กลับได้หินประหลาดที่มีร่องแตกขึ้นมาก้อนหนึ่ง และดูเหมือนจะมีเสียงนกกระเรียนร้องดังออกมาจากข้างใน เค้าจึงพยายามแงะเข้าไปในร่องหิน จนหินแตกออกมาเป็นสองก้อน และกลายเป็นจานหมึกสองอัน แต่ละอันมีรูปกระเรียนเกาะบนต้นสน พอข่าวนี้แพร่ออกไปพวกช่างทำจานหมึกรายอื่นๆ ก็เลยพากันเอาอย่าง จนกลายเป็นการแกะสลักลวดลายต่างๆ เช่น ภูเขา สายน้ำ รูปคน ดอกไม้ใบหญ้า นกและสัตว์ต่างๆ เป็นต้น จนจางจิ่วเฉิงกวีชื่อดังในสมัยราชวงศ์ซ่งถึงกับเขียนชมลวดลายบนจานหมึกมาแล้วว่า


“จานหมึกต้วนวีนี้อัศจรรย์ ลายม่วงมันประกายรุ้งยามราตรี”

จานหมึกต้วนเยี่ยนที่มีประวัติมานานกว่า 1300 ปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาในช่วงกลางราชวงศ์ถัง ได้เริ่มพัฒนาการทำจานหมึกชนิดนี้ให้มีคุณค่าทางศิลปะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ก็เกิดมีการทำจานหมึกต้วนเยี่ยนในหลากหลายรูปแบบ ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง การทำจานหมึกชนิดนี้ได้พัฒนามาจนถึงขั้นสูงสุด เป็นงานฝีมืออันประณีตยิ่ง และเกิดรูปทรงต่างๆ หลากหลาย เช่น รูปไข่ ขวาน ระฆัง พิณโบราณ ส่วนลวดลายก็มักจะทำเรียนแบบของโบราณ และเพิ่มลวดลายอื่นๆ เช่น ภูเขาสายน้ำ หญิงสาว สิงสาราสัตว์ ดอกไม้ เป็นต้น ทำให้จานหมึกต้วนเยี่ยนค่อยๆกลายเป็นงานประดิษฐ์กรรมทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์ จนเจ้าเมืองจะต้องนำขึ้นถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้าแผ่นดินมาตลอดทุกยุคทุ
กสมัย เรียกกันว่า หวงเยี่ยน หรือหินหลวง

การที่จานหมึกชนิดนี้มีชื่อเสียงดีและราคาแพง นอกจากใช้หินธรรมชาติเนื้อดี คือ อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ เนียนละเอียด ชุ่มชื่น แข็งแรง และเนื้อแน่นแล้ว ยังมีเรื่องของฝีมือการทำที่ละเอียดประณีตด้วย กรรมวิธีการทำก็ละเอียดทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกหิน ตัดหิน ขนส่ง คัดหิน ขึ้นรูป สลัก ฝนกลึง ชะล้าง และประดับตกแต่ง กว่าจะได้ผลงานที่ยอกเยี่ยมสักชิ้น ต้องผ่านขั้นตอนการทำงานถึงกว่าสิบขั้นตอน ว่ากันว่าพอทำเสร็จเป็นจานหมึกแล้ว จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ แค่เป่าลมลมหายใจรดใส่จานหมึกก็สามารถฝนหมึกได้แล้ว

จานหมึกตวนเยี่ยนที่มีชื่อเสียง เช่น จานหมึกที่มีชื่อว่า “เชียนจินโหวหวางเยี่ยน” (พระยาวานรทองพันชั่ง) ถือว่าเป็นจานหมึกโบราณหนึ่งในสี่อันที่มีอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง อีกใบที่มีชื่อเสียงคือ “จินมาวอวี้เตี๋ยเยี่ยน” (แมวทองผีเสื้อหยก)

หลักการเลือกจานหมึกตวนเยี่ยนชั้นดีนั้น เวลาใช้ฝ่ามือแนบลงไปบริเวณส่วนที่ใช้ฝนหมึก จะติดสีหมึกเขียวคราม และรู้สึกเหมือนมีไอน้ำอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอากาศจะร้อนจัดหรือหนาวเหน็บก็ตาม

จานหมึกตวนเยี่ยนที่ดีท่สุด คือจานหมึกที่ทำจากหินในบ่อเก่า หรือที่เรียกว่า “เหล่าเคิง” จัดว่าเป็นหินเนื้อดีที่สุด เนื้อหินมีสีม่วงแกมนิล เนื้อหินหนาและบริสุทธิ์ เวลาเคาะจะมีเสียงเหมือนเคาะไม้ จานหมึกที่ทำจากหินเนื้อดีชนิดนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ แม้ในฤดูหนาว น้ำหมึกในจานก็จะไม่เหือดแห้งเหมือนจานหมึกชนิดอื่น ประกอบกับมีลวดลายหินที่สวยงาม เช่น ลายใบตองอ่อน ลายกุหลาบ สีเขียวหยก ลายเส้นเงินทอง เป็นต้น โดยเฉพาะลายใบตองอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบตองอ่อนเริ่มผลิบาน แลดูสวยงามน่าอัศจรรย์ยิ่ง และถ้าเป็นจานหมึกที่มีหลุมหรือมีตาด้วย ก็ยิ่งล้ำค่าหายากนัก ถือเป็น “สมบัติ” อันแท้จริง และสุดยอดจานหมึกล้ำค่าที่แท้จริงคือ จานหมึกตานกขุนทอง ที่เรียกว่า ตานกขุนทองนี้หมายถึงจุดกลมที่มีลายสีขาว แดง และเหลืองอยู่ด้านบน จานหมึกบางอันมีลายที่ว่านี้ซ้อนกันหลายเส้น ดูไปเหมือนตาสัตว์ ความมีค่าอีกอย่างคือ การมีคำจารึกของบุคคลที่มีชื่อเสียงสลักอยู่บนจานหมึก แม้กระทั่งของเรียนแบบก็มี เรื่องราคา ไม่ต้องพูดถึง รับรองว่าเราๆ ท่านๆ ไม่กล้าหยิบมาเชยชมแน่นอน

ในปี พ.ศ.2536 มีการประมูลจานหมึกต้วนเยี่ยนที่ทำจากหินบ่อเก่าคู่หนึ่ง ที่มีลายสลักเป็นรูปต้นสนและมีหลุมที่กล่าวมานี้ ขนาดยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ถูกประมูลไปในราคาถึง 368000 เหรียญฮ่องกง หรือราวๆ 2000000 บาทเลยทีเดียว

จานหมึกเส้อเยี่ยน เป็นจานหมึกอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่กับจานหมึกต้วนเยี่ยน ว่ากันว่าจานหมึกต้วนเยี่ยนใช้กันมาทุกยุค ทุกสมัย แต่พอมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าหลีโหวจู่ (หลี่วี่ ราวๆ พ.ศ.1506-1518) เริ่มขาดแคลนหินจากแม่น้ำตวนซีที่จะนำมาใช้ทำจานหมึก จึงเริ่มมีการใช้จานหมึกเส้อเยี่ยนที่ผลิตจากเมืองเส้อโจว (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอวู่หยวน มณฑลอันฮุย) แทน และชื่อของเมืองนี้ก็เป็นที่มาของชื่อจานหมึกชนิดนี้ด้วย

ความจริงแล้ว จานหมึกชนิดนนี้มีใช้กันมาก่อนรัชสมัยของพระเจ้าหลีจู่เสียอีก โดยเริ่มปรากฏชื่อจานหมึกชนิดนี้ในสมัยราชวงศ์ถัง สถานที่อันเป็นแหล่งวัตถุดิบอันเป็นแหล่งที่จะนำมาใช้ทำจานหมึกชนิดนี้อยู่ในอำเภอต่
างๆ ของเมืองเส้อโจว เช่น อำเภอเส้อ อำเภอซิวหนิง อำเภอฉีเหมิน อำเภออี และอำเภอวู่หยวน โดยที่อำเภอสุดท้ายเป็นแหล่งวัดุดิบที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่การขุดหาวัดถุดิบเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ขุดบ้างไม่ขุดบ้าง เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ

หงจิ่งป๋อในสมัยราชวงศ์ซ่ง เขียนเล่าความเป็นมาไว้ใน “เส้อเยี่ยนผู่” ว่า “ในสมัยพระเจ้าเสวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1256-1285) มีนายพรานคนหนึ่งหาไล่ล่าสัตว์มาจนถึงบริเวณที่เรียกว่า ฉางเฉิงหลี่ พลันเห็นหินที่อยู่ในลำธารเรียงซ้อนทับกันประดุจกำแพงเมือง หินแต่ละก้อนเกลี้ยงเกาประดุจหยก จึงนำกลับมาทำจานหมึก”

หลิ่วกงฉวน นักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระเจ้าเสี้ยนจง (พ.ศ.1349-1364) ได้จัดจานหมึกทั้งสี่ชนิดคือ ตวนเยี่ยน เส้อเยี่ยน เถาเยี่ยน และเฉิงหนี เป็นจานหมึกสำคัญของจีน จนปัญญาชนในรัชสมัยพระเจาอี้จงแห่งราชวงค์ถัง (พ.ศ.1403-1417) อย่างหลี่ซานฝู่ ถึงกับเขียนบทกลอนชมจานหมึกเส้อเยี่ยนไว้ว่า

“เที่ยวขุดหาศิลางามเชิงดอยนั้น
ก้อนเท่าคันทัพพีกลมเหลี่ยมสวย
รักน้ำหมึกจึงสร้างปัญญารวย
จะใช้ฉวยทุกคราพึงเจียมใจ
มีลวดลานคล้ายคลื่นครือครือซัด
จงหมั่นปัดละอองฝุ่นให้ผ่องใส
จะพินิจพิศมองเชิญตามใจ
แปลกไฉนมีค่าดังพันทอง”

จากบทกลอนนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่บ่งบอกว่า จานหมึกเส้อเยี่ยนในฐานะที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังแล้ว หากแต่เริ่มน้ำขึ้นถวายให้พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกันในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ถัง
ความเป็นมาที่ทำให้จานหมึกเส้อเยี่ยนเป็นที่รู้จักกันในหมู่ขุนนาง ปัญญาชน และศิลปินจีน มีบันทึกอยู่ใน “ชิงอี้ลู่” ว่าในปีไคผงศกที่ 2 (พ.ศ. 1451) พระเจ้าต้าจู่แห่งราชวงศ์เหลียง (จูเวิน) ได้ให้กิ่งไผ่เป่าเซียงแก่เสนาบดีจางเหวินเว่ยและหยางเส้อคนละ 20 กิ่ง และจานหมึกหลงหลินเยว่อีกคนละ 1 ชิ้น กิ่งไผ่เป่าเซียง ก็คือกิ่งไผ่ลายม่วงที่ไว้สำหรับทำด้ามพู่กัน ส่วนจานหมึกหลงหลินเยว่ คือจานหมึกที่มีลายคล้ายกับเกล็ดมังกรและมีรูปทรงเป็นรูปเดือน ทำจากเมืองเส้อโจว พระเจ้าหลีจู่ (หลี่วี่) เห็นจานหมึกเส้อเยี่ยนถึงกับออกปากชมว่า “นับเป็นสุดยอดในแผ่นดิน” พระองค์จึงให้จัดตั้งกองงานจานหมึกขึ้นที่เมืองเส้อโจวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้หลี่เส้าเป็นเจ้าพนักงานจานหมึก และส่งโจวฉวยจือช่างหลวงงานศิลามาเก็บรวบรวมหินเนื้อดีเพื่อทำจานหมึกให้แก่ทางราชสำ
นักโดยเฉพาะ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินให้ความสำคัญถึงขนาดนี้ จึงทำให้อาชีพช่างทำจานหมึกในเมืองเส้อโจวเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก ราคาจานหมึกก็พุ่งสูงขึ้นมากด้วย และถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนที่พระเจ้าแผ่นดินถึงกับจัดตั้งกองงานจ
านหมึกขึ้น ยุคนี้จึงเป็นยุคที่รุ่งเรื่องที่สุดของจานหมึกเส้อเยี่ยน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นช่วงที่จานหมึกมีการพัฒนามาก หลังจากที่ราชวงศ์หนานถังล่มสลายไปแล้ว การขุดหินจากเมืองเส้อโจวเพื่อใช้ทำจานหมึกก็หยุดลง นานถึง 50 ปี กระทั่งในช่วงปี พ.ศ.1577-1581 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเหยินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง เฉียนเซียนจือเจ้าเมืองเส้อโจวในเวลานั้นได้ออกตรวจบริเวณพื้นที่ที่หลี่เส้าเว่ยเคย
ขุดหิน พบว่าได้ถูกน้ำท่วมกลายเป็นลำธารสายใหญ่ไปแล้ว จึงสั่งลอกลำธารให้น้ำไหลกลับไปยังเส้นทางเดิม และเริ่มขุดหินมาทำจานหมึกอีกครั้ง

ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าเหยินจง หวางจวินอี้ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนใหม่ได้สานงานนี้ต่อ จึงมีการขุดหาหินขนานใหญ่กันอีกหลายครั้ง ทำให้มีจานหมึกเส้อเยี่ยนคุณภาพดีและประณีตออกสู่สายตาขุนนางปัญญาชนและศิลปินอยู่เส
มอๆ จนเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น บรรดานักเขียน ปัญญาชน จิตรกร ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างชื่นชมจานหมึกชนิดนี้ ด้วยเห็นว่าหินมีหลากสี เนื้อเนียนดี จึงถือเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาจานหมึกทั้งหลาย กวีและนักเขียนหลายคนเช่น หงจิ่งป๋อ หูจื่อ ซูตงปอ (ซูเส้อ) โอวหยางซิว ไช่เซียง โจว...ต้า หวงซานกู่ ฯลฯ ต่างก็เขียนความเรียงและร้อยกลองชมจานหมึกชนิดนี้กันไว้หลายชิ้นทีเดียว จนมาถึงสมัยพระเจ้าหลี่จงแห่งราชวงศ์หนานซ่ง (ซ่งใต้ พ.ศ.1768-1807) เจ้าเมืองเส้อโจวจะต้องจัดหาจานหมึกเส้อเยี่ยนขึ้นถวายพระองค์เป็นประจำทุกปี และต้องเป็นชนิดที่เรียกว่า “หลงเหว่ยเยี่ยน” ซึ่งถือเป็นจานหมึกชั้นดีที่สุด

ในสมัยราชวงศ์หยวน ช่วง พ.ศ.1807-1837 วังเยว่ซานายอำเภอของอำเภอวูหยวนได้เกณฑ์ชายฉกรรจ์หลายหมื่นคนไปขุดเอาหินเพื่อมาทำจ
านหมึกเพื่อสนองความละโมบของขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลาย จนหินหมดทั้งภูเขา และมีเหตุเขาถล่มทับคนตายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อบ่อหินเก่าถูกน้ำท่สมหมด ก็หันไปขุดที่บ่อหินจิ่งจู๋ ขุดกันเป็นเดือนเป็นปี จนในที่สุดบ่อนี้ก็พังุบลงในปี พ.ศ.1882 เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ดดยละเอียดว่า
“ในคืนวันที่ 18 เดือน 10 เสียงน้ำไหลบ่าเข้าท่วมดังประดุจเสียงฟ้าผ่า จนกระเบื้องหลังคาที่อยู่ฝั่งตรงข้ามลำธารสั่นสะเทือนไปหมด ผู้คนและส่ำสัตว์ต่างแตกตื่นตระหนกตกใจ หลายปีก่อนหน้านี้คนงานเคยบอกข้าพเจ้าว่า หินในบ่อจิ่งจู๋ถูกขุดไปจนหมดสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าไม่เชื่อ สุดท้ายก็เป็นความจริง เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วสองครั้งในรอบ 60 ปี น่าเสียใจมาก”
เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจึงได้เลิกขุดกันไปเป็นเวลานาน โดยไม่มีการขุดอีกเลยในสมัยราชวงศ์หมิง จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าคังซีและพระเจ้าหย่งเจิ้ง

ในสมัยราชวงศ์ชิง ก็ไม่มีการขุดอีกเช่นกัน แม้จะมีช่างจานหมึกในท้องถิ่นจับกลุ่มกัน หาเก็บหินเนื้อดีตามปากบ่อ ริมลำธาร เชิงเขา ริมฝั่งแม่น้ำ นำกลับไป ทำเป็นจานหมึกออกขาย ก็พอช่วยรักษาจานหมึกชนิดนี้ไว้ได้บ้าง แต่ก็ต้องถือว่าจานหมึกเส้อเยี่ยนมาถึงยุคตกต่ำสุดขีดจริงๆ เมื่อเทียบกับจานหมึกตวนเยี่ยนที่มีการขุดและทำกันมาตลอด และมีจานหมึกต้วยเยี่ยนหินเนื้อดีทยอยออกมาในช่วงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงอยู่เ
สมอ

จนถึงในรัชสมัยของพระเจ้าเฉียนหลง ถึงได้กลับมาขุดหินเพื่อทำจานหมึกกันใหม่ แต่จะทำกันกี่ครั้งนั้น ยังหาหลักฐานตรวจสอบมิได้ รู้เพียงว่าครั้งสุดท้ายขุดกันในปี พ.ศ.1320 เฉิงเหยานักวิชาการที่มีชื่อเสียงในอำเภอเส้อได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “บันทึกจานหมึก” ว่า “ในสมัยพระเจ้าเฉียนหลง เดือนห้า ข้าพเจ้าเดินทางกลับจากเมืองหลวงมายังเมืองเส้อ จากนั้นจัดแจงขุดเอาหินจากหลงเหว่ยมาฝนทำจานหมึก เพื่อนำถวายเป็นเครื่องบรรณาการ”

เมื่อเป็นการขุดหินทำจานหมึกเพื่อนำถวายกันเช่นนี้ก็ย่อมต้องทำการกันอย่างใหญ่โตแน่
และนี่ก็เป็นบันทึกชิ้นเดียวที่ยืนยันการขุดหินทำจานหมึกเส้อเยี่ยนกันในรัชสมัยของพ
ระเจ้าเฉียน หลง ซึ่งในช่วงเวลาเกือบ 500 ปี นับตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ซ่งจนถึงต้นราชวงศ์ชิง ไม่เคยมีการขุดหินเมืองเส้อโจวมาทำจานหมึกกันอย่างจริงจังเลยสักครั้ง

ในปีพ.ศ.2453 หม่าเหลียนเจี่ย แม่ทัพใหญ่ในมณฑลอันฮุย ได้สั่งให้ทหารซึ่งประจำอยู่ที่อำเภอวู่หยวนขุดหินที่นั่นมาทำจานหมึก แต่เนื่องจากแม่ทัพผู้นี้ไม่เคยศึกษาประวัติความเป็นมา จึงขุดได้แต่เศษหินเท่านั้น ในช่วงแรกที่จีนเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบบสาธารณรัฐ การทำจานหมึกเส้อเยี่ยนได้มาถึงจุดใกล้สิ้นสุด ร้านขายจานหมึกในอำเภอเส้อซึ่งเหลืออยู่เพียงร้านเดียวชื่อ วัง
อี้ซิ่ง (หรืออีกชื่อคือ หานเป่าซื่อ) แต่ก็ผลิตแต่จานหมึกด้อยคุณภาพที่ทำจากหินที่สั่งซื้อจากทางเจียงซี จานหมึกเหล่านี้ไม่มีคุณสมบัติเฉกเช่นจานหมึกเส้อเยี่ยนอีกแล้ว ร้านนี้ปิดตัวลงไปในช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น พวกช่างทำจานหมึกต่างหันไปทำอาชีพอื่น หรือไม่ก็แยกย้ายหนีภัยสงครามกันไป

การที่จานหมึกเส้อเยี่ยนมีชื่อเสียงและทรงคุณค่า นอกจากฝีมือการแกะสลักอันประณีตวิจิตรแล้ว เนื้อหินดีที่หายาก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งเพราะหินจากเมืองเส้อ หรือที่คนจีนเรียกว่าเส้อสือนี้ มีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อแน่นแข็ง ชุ่มชื้น มันเงาและบริสุทธิ์ ลายหินมีความละเอียดประณีตเป็นธรรมชาติ สีดุจหยกเขียว และยังไม่อมน้ำรับหมึกดีไม่ทำให้พู่กันเสียหาย ใส่น้ำแล้วจะไม่เหือดแห้ง และล้างทำความสะอาดง่าย กวีและศิลปินจีนหลายคนชื่นชมจานหมึกชนิดนี้กันมาก ถึงกับชมว่า จานหมึกเส้อเยี่ยนนี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็ก และมีเนื้อดุจผิวของหญิงสาว

เนื้อหินของจานหมึกเส้อเยี่ยนและจานหมึกตวนเยี่ยนมีความแตกต่างกันมาก คนจีนให้คำนิยามคุณสมบัติของจานหมึกเส้อเยี่ยนว่า “เจียนหรุ่น” ซึ่งหมายถึงแข็งและเรียบเนียน ขณะที่ตวนเยี่ยนจะต้องเป็นแบบ “เวินหรุ่น” หรือนุ่มและเรียบเนียน



รักคือสิ่งใด
#8   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:41:50 ]

3. หมึกจีน



คนจีนค้นพบหมึกในช่วงปลายยุคหินใหม่ เกือบจะเป็นเวลาเดียวกับที่พู่กันด้ามแรกถูกประดิษฐ์ขึ้นมา นับตั้งแต่นั้นมาหมึกจีนก็อยู่คู่กับผลงานเขียนและงานศิลปะต่างๆ ของจีนมาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานยืนยันว่าบรรพบุรุษของจีนรู้จักใช้สีดำมาแต่งแต้มงานศิลปะกันแล้วตั้งแต
่ในยุคหินใหม่ โดยมีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาของยุคนี้ ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้มีทั้งที่แต้มลายสีแดง สีเทา และสีดำ ซึ่งมีความสวยงามมาก โบราณวัตถุเหล่านี้ถูกขุดพบตามโบราณสถานต่างๆ นับร้อยแห่งทั้งประเทศจีน

ถัดมาในสมัยราชวงศ์ฉิน ซึ่งอยู่ในช่วงราว 850-550 ปีก่อนพุทธกาล โดยได้ขุดพบกระดองเต่าและกระดูกสัตว์จากโบราณสถานในยุคนี้ และพบว่าบนกระดองสัตว์เหล่านี้มีรอยหมึกจารึกตัวอักษรไว้ และมักเขียนไว้บนด้านหน้า นี่แสดงว่า คนจีนในยุคนั้นมีความรู้เรื่องการใช้หมึกเขียนหนังสือไว้บนกระดองกระดูกสัตว์กันแล้ว
และยังมีการใช้สีชาด (สีแดง) ผสมหมึกดำเพื่อให้ตัวอักษรดูเด่นชัดขึ้น

เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่บันทึกเรื่องของหมึกไว้คือ “ส้างซู” โดยบันทึกการลงโทษด้วยการสักตัวหนังสือลงหมึกไว้บนหน้าผากนักโทษ และ “อี้หลี่” บันทึกการใช้หมึกทาเชือกเพื่อตีเส้นตรงในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าคนจีนใช้หมึกกันมาช้านานแล้ว

หมึกที่คนจีนใช้มาจากไหน อย่างหนึ่งมาจากธรรมชาติ คือหมึกหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และคราบเขม่าที่เกาะแน่นเป็นก้อนอยู่ใต้ท้องกระทะและหม้อสามขา หนังสือชื่อ “ซู่กู่ซูฝ่าจ่วน” (ชุมชุนงานศิลปะการเขียนศิลปะลายมือพู่กันสมัยโบราณ) ได้บันทึกไว้ว่า “สิงอี๋เริ่มทำหมึก โดยใช้คำ "เฮย" (HEI-ดำ) ผสมกับคำ ถู่ (TU-ดิน) ได้คำ (MO-หมึก) หมึกได้จากการเผาด้วยถ่านหิน จัดเป็นพวกดิน” แสดงว่าคนจีนเริ่มทำหมึกใช้กันมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าโจวซวนหวาง หรือราว 284-238 ปีก่อนพุทธกาล

หมึกที่คนทำขึ้นหรือหมึกประดิษฐ์ย่อมดีกว่าหมึกธรรมชาติแน่นอน ทั้งในเรื่องของคุณภาพ คุณค่าการใช้งาน และความสวยงาน แล้วในที่สุด คนจีนก็ค่อยๆเลิกใช้หมึกธรรมชาติกันไป หมึกประดิษฐ์ทันในหลายรูปแบบ จนกระทั่งเริ่มใช้แม่พิมพ์ทำกัน

วัตถุดิบสำคัญที่คนโบราณใช้ทำหมึก เช่น เขม่าถ่านจากไม้สน ไม้แวร์นิช และไม้ถง โดยเลือกใช้เขม่าถ่านไม้สนก่อน หากไม่ค่อยมีจึงค่อยใช้เขม่าถ่านจากไม้แวร์นิชและไม้ถง เขม่าถ่านที่จะใช้ทำหมึกเป็นวัตดุดิบกึ่งสำเร็จรูป จะต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ อีก เช่น ผสมกาว นวด นึ่ง และปั้นเป็นแท่ง ถึงจะออกมาเป็นแท่งหมึกสำเร็จรูป

ในสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการทำหมึกคือ เขม่าถ่านจากไม้สน แต่ก็มีการใช้เขม่าถ่านไม้แวร์นิชและไม้ถงด้วย จนมาถึงสมัยราชวงศ์ตงฮั่น (ฮั่นตะวันออก) เนื่องจากมีการคิดค้นทำกระดาษและปรับปรุงพู่กันให้ดีขึ้น ก็เลยมีการปรับปรุงคุณภาพของหมึกให้ดีขึ้นด้วย เพื่อสนองความต้องการใช้งาน ทั้งงานเขียนหนังสือและงานจิตรกรรม

ในสมัยราชวงศ์จิ้น ได้ค้นพบกาวผสมในหมึก และปรับปรุงฝีมือในการทำให้ดีขึ้นด้วย มาในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ทางการเริ่มให้ความสำคัญกับการทำหมึกมากขึ้น มีการจัดตั้งโรงงานของทางการขึ้นผลิตหมึกเพื่อใช้ในงานราชการ และได้ขยายแหล่งผลิตจากเมืองฝูฟ่งไปจนถึงเมืองอี้สุ่ย เมืองลู่โจว เพราะเมืองเหล่านี้มีไม้สนเนื้อดีเป็นที่ขึ้นชื่อมาก จึงถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตหมึก ในปลายสมัยราชวงศ์ถัง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายระส่ำระสายอันเนื่องมาจากกรณีกบฏ เป็นเหตุให้ผู้คนอพยพลงใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีช่างทำหมึกอยู่ด้วย ถึงกับส่งผลให้การผลิตหมึกย้ายฐานการผลิตจากเหนือลงมาใต้ และนับแต่นั้นมา หมึกที่ผลิตจากเมืองฮุยโจว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเมืองเส้อ มณฑลอัยฮุย ก็ครองตลาดในจีนแบบไร้คู่แข่งมาตลอด

ในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หยวน หมึกจากเมืองฮุยโจวก็ยังครองตลาดอยู่ต่อไป และเริ่มมีการนำเอาสมุนไพรมาผสมลงในหมึก ช่วงเวลานี้เองที่ปัญญาชนจีนและศิลปินเริ่มสะสมแท่งหมึกกัน นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เริ่มมีการผลิตแท่งหมึกเป็นงานศิลปะอีกอย่างหนึ่งด้วย

ก่อนสมัยราชวงศ์หมิงและชิง เมืองฮุยโจวคือแหล่งผลิตแท่งหมึกที่เจริญรุ่งเรืองมาก แท่งหมึกจากเมืองนี้มีชื่อเสียงดีมาก มาในสมัยราชวงศ์หมิง การผลิตแท่งหมึกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นทั้งในแง่ของวิธีการผลิตและแง่ของฝีมือช่างเ
ชิงศิลปะ วิธีการผลิตแท่งหมึกจากเขม่าไม้ถงและไม้แวร์นิช ซึ่งแต่ก่อนถือเป็นสูตรลับไม่ยอมเปิดเผยให้คนนอกรู้ ก็ไม่เป็นความลับอีกต่อไปจึงเริ่มใช้วิธีนี้กันอย่างกว้างขวาง แท่งหมึกที่ทำด้วยวัสดุและกรรมวิธีที่ว่านี้ จะแลดูดำเงาเป็นมันขลับและมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ

ส่วนใครกันแน่ที่เป็นคนทำ (แท่ง) หมึกคนแรก หลอซินในสมัยราชวงศ์หมิงผู้ป็นเจ้าของหนังสือ “วู่หยวน” ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “สิงอี๋ทำหมึก จึงเริ่มมีการใช้หมึกเขียนหนังสือแบบอักษรโจ้วไว้บนผ้าไหม” โจ้วเป็นแบบตัวอักษรจีนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งต่อมาเรียกว่าต้าจ้วน สิงอี๋คนนี้อยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าซวนหวางแห่งราชวงศ์โจวนี่เอง แต่หลอซินบอกว่านี่เป็นเพียงตำนานเรื่องเล่าเท่านั้น

แต่เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้บันทึกไว้ว่า คนจีนคนแรกที่ทำหมึกคือ เหวยต้าน ชื่อรอง จ้งเจียง ในสมัยสามก๊ก เค้าไม่ได้เป็นเพียงช่างทำหมึกเท่านั้น แต่ยังเป็นนักเขียนภาพอักษรอีกด้วย และถึงกับมีคนชมหมึกที่เค้าทำว่า “หมึกของจ้งเจียงหยดหนึ่งดังลงรัก”

แต่ช่างทำหมึกที่มีชื่อเสียงที่สุดกลับเป็นสองพี่น้องแซ่ซี จากแถบลุ่มแม่น้ำอี้สุ่ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย พวกเค้าได้ผสมกาวที่ทำจากเขากวางใส่ในแท่งหมึกด้วย ทำให้แท่งหมึกดูนวลอิ่มและเนียนละเอียด เขียนแล้วหมึกเป็นมันวาวดังลงรักไว้ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หนานถัง สองพี่น้องได้อพยพลงใต้มาลงหลักปักฐานอยู่ที่มณฑลอันฮุย และเนื่องจากพระเจ้าหลี่อี้ชื่นชอบหมึกที่พวกเค้าทำมาก จึงพระราชทานแซ่หลี่อันเป็นพระราชสกุลให้พวกเค้า ทำให้หมึกของสองพี่น้องสกุลนี้ได้ชื่อว่า “หลี่โม่” (หมึกสกุลหลี่) และพลอยได้ราคาดีไปด้วย ถึงกับกล่าวขาลกันว่า “ทองคำหาง่าย หมึกหลี่โม่หายาก” หมึกหลี่โม่ที่ว่านี้ ต่อมาคือ หมึกของหลี่เยนกุยอันลื่อชื่อนี่เอง

แหล่งทำหมึกของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงอยู่ในเขตหว่านหนานเสียเป็นส่วนใหญ่ และเกิดแตกสาขาออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมาจากอำเภเส้อ เช่น เฉิงจวินฝางที่ใช้วิธีลงรัก ฟางหวีหลู่ทำหมึกที่เรียกว่า “จิ๋วเสียนซานจี๋” และวังจงซานจากอำเภอซิวหนิงคือคนคิดค้นแท่งหมึก “จี๋จิ่นโม่” ช่างทำหมึกจึงเริ่มอวดฝีมือช่างเชิงศิลปะด้วยการสลักลวดลายบนแท่งหมึก และประดับกล่องใส่แท่งหมึกอย่างวิจิตรงดงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนางานศิลปะขั้นสูงยิ่งของจีน เช่น งานจิตรกรรม การเขียนภาพอักษร งานแกะสลัก เป็นต้น แม่พิมพ์แท่งหมึกของช่างทำหมึกที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนี้ มักจะใช้ผลงานภาพเขียนศิลปะอักษร คำกวีนิพนธ์ และคำจารึกต่างๆ มาสลักไว้บนแท่งหมึก โดยเฉพาะงานศิลปะการแกะสลักภาพเขียนหรืองานศิลปะอักษรขนาดจิ๋ว จะส่งผลให้แท่งหมึกราคาสูงยิ่ง

ในสมัยราชวงศ์ชิง มณฑลอันฮุยยังคงเป็นแหล่งผลิตหมึกที่สำคัญของจีน แท่งหมึกจีนนอกจากจะสิ่งจำเป็นสำหรับงานเขียนและงานจิตรกรรมแล้ว ตัวมันเองยังกลายเป็นงานศิลปะที่เน้นความวิจิตรงดงามกันมากขึ้น การออกแบบลวดลายเป็นไปอย่างประณีตยิ่งนัก จนทำให้แท่งหมึกกลายเป็นของสะสม นักสะสมคนสำคัญอย่างเฉาอิ่น ก็ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชสำนักชิงให้ดูแลการผลิตหมึก แท่งหมึกที่สลักลวดลายไกหว่านทอผ้า และลายดอกฝ้าย น่าจะบ่งบอกถึงมาตรฐานและเอกลักษณ์ของช่างฝีมือหลวงในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ส่วนช่างทำหมึกฝ่ายชาวบ้านที่มีทั้งฝีมือและชื่อเสียง เห็นจะได้แก่เฉาซู่กง วังจิ้นเซิ่ง วังเจี๋ยเจี้ยน และหูไคเหวิน ถือเป็น 4 ตระกูลใหญ่แห่งวงการหมึกจีน

หมึกจีนโบราณ หากจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งานแล้ว จะได้ดังนี้

• แท่งหมึกธรรมดา เป็นหมึกที่ใช้เขียนหนังสือกันทั่วๆ ไปมีรูปทรงเรียบๆ ชื่อหมึกและชื่อช่างหรือร้านที่ทำ มักจะเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงหรือน้ำเงินธรรมดา

• แท่งหมึกบรรณาการ เป็นหมึกที่บรรดาเจ้าเมืองตามหัวเมืองในสมัยโบราณ สั่งให้ช่างทำหมึกทำขึ้นเพื่อนำขึ้นถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นการเกณฑ์เก็บแท่งหมึกเหล่านี้จะมีชื่อผู่ถวายสลักอยู่บางแท่งอาจมีชื่อช่างท
ำหมึกด้วย และส่วนมากจะเป็นของล้ำค่าราคาดี

• หมึกหลวง เป็นหมึกสำหรับให้ฮ่องเต้ใช้โดยเฉพาะจึงเริ่มมีการแต่งตั้งขุนนางเพื่อดูและการผลิตม
าตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในสมัยราชวงศ์ชิง แท่งหมึกหลวงมีด้วยกันสองชนิดคือ ชนิดที่ผลิตโดยกองกิจการภายในราชสำนักกับชนิดที่ผลิตโดยช่างทำหมึกเมืองฮุยโจว โดยแท่งหมึกชนิดแรกจะไม่ค่อยมีให้พบเห็นนอกรั่วพระราชวังมากนัก แต่ก็ไม่สามารถประเมินราคาค่างวดได้เช่นกัน

• แท่งหมึกทำกันเอง เป็นแท่งหมึกที่ผู้ทำทำขึ้นเองตามความต้องการของตน ใน “จดหมายเหตุเมืองเส้อ” ได้ระบุไว้ว่าหมึกที่ทำกันเองในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง มีสองชนิดคือ ชนิดที่นักเขียนและศิลปินทำขึ้นเองอย่างที่ใจชอบ และชนิดที่มีไว้สะสม

• แท่งหมึกสำหรับสะสม เป็นหมึกที่ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อใช้งาน แต่มีไว้เพื่อสะสม ส่วนมากจะมีรูปทรงกะทัดรัด มีขนาดพอเหมาะ ใช้วัสดุชั้นดี ทำโดยช่างฝีมือชั้นครู จึงมีคุณค่าทางศิลปะสูง นับเป็นของล้ำค่า

• แท่งหมึกสำหรับเป็นของกำนัลของฝาก มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ แท่งหมึกของขวัญวันเกิด วันสมรส และของกำนัลที่ให้กันเองในหมู่บัณฑิต หมึกพวกนี้มักเน้นรูปลักษณ์ภายนอก และมีการตกแต่งบรรจุที่วิจิตรประณีต แต่มักใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำ

• แท่งหมึกสมุนไพร ทำขึ้นเพื่อใช้บำบัดโรค มักทำจากเขม่าถ่านไม้สน บางแท่งอาจมีชื่อช่างทำหมึก หรือชื่อร้านยาสลักเอาไว้ด้วย

นี่เป็นการจำแนกหมึกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างจากการจำแนกชนิดของหมึกที่จิตรกรจีนที่ใช้เขียนภาพหรือคัดลายมือ มักจำแนกตามวัสดุที่ใช้ โดยทั่วไปจะมีด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกเรียกว่า “อิ๋วเอียนโม่” คือแท่งหมึกที่ได้จากการเผาน้ำมันจากไม้ถงหรือไม้แวร์นิช คุณสมบัติพิเศษของหมึกชนิดนี้คือให้สีดำเลื่อมมันขลับ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “ซงเอียนโม่” ได้จากการเผากิ่งไม่สนให้เกิดเขม่าถ่าน ซึ่งจะนำไปทำหมึกอีกทีหนึ่ง คุณสมบัติพิเศษของหมึกชนิดนี้คือมีสีดำด้านไม่มันเงา ปกติแล้วการเขียนภาพจีนจะใช้หมึกชนิดแรกมากกว่า ส่วนชนิดหลังจะใช้ในกรณีเช่น ใช้แต้มดำในภาพเขียนสี หรืออะไรบางอย่างที่ไม่ต้องการความมันเงา เช่น ผีเสื้อสีดำ เส้นไหมสีดำ เป็นต้น การเลือกหมึกสำหรับภาพเขียนของเลือกแท่งหมึกที่แข็ง ให้น้ำหมึกเนียนละเอียด และต้องดูที่สีของหมึกด้วย ดีที่สุดคือสีดำขลับ ถ้าออกสีม่วงด้วยแล้วถือเป็นยอดหมึก รองลงมาคือสีดำล้วนและดำนิลตามลำดับ หมึกที่ออกแดงเหลืองมัน หรือขาวถือว่ามีคุณภาพแย่ สุดท้ายให้ดูกาวที่ผสมอยู่ในแท่งหมึก ต้องพอเหมาะพอควร เพราะถ้ามีมากไปหมึกจะเหนียวติดขนพู่กัน แต่ถ้าน้อยเกินไปน้ำหมึกก็จะไม่ข้น

การฝนหมึกจะต้องใช้น้ำเปล่าสะอาด เวลาฝนให้ออกแรงสม่ำเสมอ ค่อยๆ ฝนไปช้าๆ เพื่อให้น้ำหมึกที่ออกมาข้นและเนียนเสมอกัน และควรใช้หมึกที่เพิ่งฝนเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้หมึกหดตัว ซึ่งจะใช้การไม่ได้ แต่ก็มีจิตรกรบางคนนิยมใช้หมึกที่หดตัวแล้วเขียนภาพเช่นกัน ซึ่งต้องถือเป็นกรณีพิเศษจริงๆ

ปัจจุบันมีการทำน้ำหมึกสำเร็จรูปสำหรับการเขียนภาพจีน ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ ความจริงน้ำหมึกที่ว่านี้มีการทำกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงแล้ว





รักคือสิ่งใด
#9   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 01:42:59 ]

4. กระดาษ



กระดาษเป็น 1 ใน 4 ของสิ่งประดิษฐ์ที่ทรงความหมายยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโลกจากจีน อีก 3 สิ่งที่เหลือคือ การพิมพ์ ดินปืน และเข็มทิศ หากไม่มีการค้นพบกระดาษของชาวจีน โลกคงจะขาดสิ่งที่ใช้บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวไปได้อีกหลายร้อยหลายพันปีทีเดียว แต่กลับไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ทราบเพียงว่าเป็นนักพรตเต๋าผู้หนึ่งที่ทำการเล่นแร่แปลธาตุขึ้นมาจนได้ดินปืน และกระดาษก็เช่นกัน

ความจริงแล้ว กระดาษมิใช่สิ่งเดียวที่บันทึกสิ่งที่คนเรารู้จัก ก่อนจะมีการประดิษฐ์กระดาษ มนุษย์เคยใช้ผนังถ้ำ กระดูกสัตว์ กระดองเต่า ซีกไผ่ แผ่นไม้ และผ้าแพร่ในการจารึก หรือเขียนหนังสือมาแล้ว

คนจีนมีสำนวนที่ว่า “ฟู่เสวียอู่เชอ” แปลว่า มีความรู้ห้าคันรถ หรือมีความรู้มากนั้นเอง ที่มาของสำนวนนี้มากจาก หุ้ยซือ นักวิชาการชื่อดังสมัยจั่นกั๋ว ที่เวลาไปไหนมาไหนจะต้องเอาหนังสือไปด้วยถึงหาคันรถ ที่ต้องเอาไปมากมายขนาดนั้นก็เพราะสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ เวลาจะเขียนหรือบันทึกอะไรต้องสลักจารึกลงบนซีกไม้ไผ่ หรือแผ่นไม้ ซึ่งมีน้ำหมักมาก และไม่สะดวกเวลาจะอ่านหรือพกติดตัวไปไหนมาไหนด้วย

ต่อมาคนจีนเริ่มเขียนหนังสือลงบนผ้าแพรไหมเนื้อเบา แต่ผ้าพวกนี้มีราคาแพงมาก คนที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพวกคนรวยหรือขุนนางเท่านั้น แต่คนจีนก็ฉลาดจากแนวคิดเรื่องการใช้ผ้าไหมบางเบานี้ มีการนำเอาเศษของเหลือใช้เช่นพวก เศษเชือกปอ เศษผ้า ฯลฯ มาทำเป็นแผ่นใยจากพืชไว้สำหรับเขียนหนังสือเรียกว่า “หมาจื่อ” แผ่นใยพืชนี้นี้ดูภายนอกแล้วประกอบด้วยกลุ่มเส้นใยพืชที่สั้นยาวไม่เท่ากัน ดังนั้น มันจะนับเป็นกระดาษหรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันไม่รู้จบ

สีฟ่านเย่ได้บันทึกไว้ใน “โห้วฮั่นซู” ของเค้าว่า ไช่หลุนได้อธิบายถึงขั้นตอนการทำกระดาษให้พระเจ้าเหอตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่นฟังโดยละเอ
ียดว่า เค้าเอาเปลือกไม้ เศษเชือกปอและเศษผ้า มาทำเป็นกระดาษ คนจีนจึงเริ่มเชื่อกันมากว่าครึ่งศตวรรษว่า ไช่หลุนคนนี้แหละเป็นคนแรกที่คิดค้นทำกระดาษขึ้นในปี พ.ศ.648 แต่มีหลักฐานมากมายที่ระบุได้ว่าชาวจีนมีการทำกระดาษที่ว่านี้กันมานานแล้ว เช่น เศษกระดาษชิ้นหนึ่งที่พบในบริเวณโบราณสถานที่เคยเป็นจุส่งสัญญาณควันไฟในมณฑลซินเกีย
งสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อปี พ.ศ.2476 จากการตรวจสอบพบว่า เป็นกระดาษหมาจื่อในรัชสมัยของพระเจ้าซวนตี้แห่งราชวงศ์ซีฮั่น นับเป็นกระดาษใยพืชที่เก่าแก่ที่สุดนับตั้งแต่เคยขุดค้นพบมา นอกจากนี้ ยังมีการขุดพบกระดาษแบบนี้ในมณฑลกานซูและมณฑลส่านซีด้วย และในปี พ.ศ.2529 มีการค้นพบแผนที่โบราณสมัยซีฮั่นที่มณฑลกานซู

จากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่าคนจีนมีกระดาษใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซีฮั่น หรือเมื่อราวๆ พ.ศ.443 ก่อนที่ไช่หลุนจะมาทำกระดาษเกือบ 200 ปี เลยทีเดียว และคนจีนก็ใช้กระดาษ “หมาจื่อ” นี้ เป็นเครื่องมือในการบันทึกเรื่องราว เขียนหนังสือและเขียนภาพกันมาร่วมพันปี นับจากสมัยราชวงศ์ฮั่นถึงราชวงศ์ถัง

แล้วไช่หลุนที่คนจีนเชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กระดาษขึ้นคนแรกคือใคร ? ไช่หลุนเป็นขันทีในพระเจ้าเหอตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่น เค้าเป็นคนปรับปรุงเทคนิคการทำกระดาษให้สมบูรณ์ขึ้น กระดาษของไช่หลุนจึงเหนียวและแข็งกว่า นักประวัติศาสตร์เรียกว่า กระดาษไช่โหว (โหว เป็นตำแห่งขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยโบราณ) หลังพุทธศตวรรษที่ 10 เทคนิคการทำกระดาษที่ไช่หลุนค้นพบ ได้ถูกเผ่ยแพร่ไปยัง เกาหลี ญี่ปุ่น อาหรับ และยุโรป ช่วนให้อารยธรรมของโลกก้าวหน้าไปอีกก้าวใหญ่

นอกจากกระดาษ “หมาจื่อ” แล้ว เอกสารประวัติศาสตร์จีนได้พูดถึงกระดาษชนิดอื่นอีก เช่น ในจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” กล่าวไว้ในบทพระประวัติพระนางจ้าวว่า “พระเจ้าอู่ตีพบว่าในตะกร้ามีห่อยา 2 เม็ด พร้อมหนังสือเขียนมาในกระดาษเฮ้อถี” เหยียนซือกู่อธิบายไว้ในเชิงอรรถของจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” ว่า “เฮ้อถี คือกระดาษบางชิ้นเล็กๆ” และเค้ายังอ้างคำอธิบายของเมิ่งคังที่บอกว่า “ถี เปรียบเช่นพื้นหลัง ย้อมกระดาษให้เป็นสีแดงแล้วเขียนหนังสือ เหมือนเช่นกระดาษสีเหลือง” จากคำอธิบายนี้ช่วยให้เรารู้ว่า กระดาษเฮ้อถีคือกระดาษบางชิ้นเล็กๆ ที่ย้อมเป็นสีแดง และเมื่อลองคำนวณเวลาดูแล้วเป็นปี พ.ศ.439 นี่แสดงว่าคนจีนมีกระดาษเนื้อค่อนข้างดีใช้กันตั้งแต่สมัยซีฮั่น ซึ่งตรงกับหลักฐานทั้งหลายที่ขุดพบตามโบราณสถานหรือสุสานโบราณ ที่ล้วนแล้วแต่บ่งบอกว่าอยู่ในสมัยราชวงศ์ซีฮั่นเกือบทั้งสิ้น

กระดาษที่พบในยุคนี้เป็นกระดาษที่พัฒนาขึ้นจาก “ซีกไผ่” และ “ผ้าแพรไหมเนื้อบาง” ที่มีไว้สำหรับเขียนหนังสือ และเป็นไปได้ว่า คนจีนในยุคนั้นจะใช้ทั้งสามสิ่งนี้สำหรับเขียนหนังสือ นอกจากนี้ หลักการเบื้องต้นของเทคนิคในการทำกระดาษสมัยซีฮั่นก็คือรากฐานของเทคนิคการทำกระดาษใ
นยุคปัจจุบันนั่นเอง

เนื่องจากสังคมจีนสมัยนั้น มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เมื่อสังคมเจริญขึ้น ก็เกิดความต้องการกระดาษที่ดีขึ้น เบา และราคาถูก ตรงนี้แหละที่ไช่หลุนเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ

แม้ว่าไช่หลุน (Chi Lun) จะไม่ใช่ผู้ที่ประดิษฐ์กระดาษขึ้นเป็นคนแรก แต่ถ้าบอกว่าเค้าเป็นคนแรกที่ค้นพบเทคนิคการทำกระดาษที่สมบูรณ์ก็คงไม่ผิดนัก แม้ว่ากระดาที่เค้าทำขึ้นจะเป็นชนิดที่ 4 แล้วก็ตาม เพราะก่อนหน้านี้คนจีนมีกระดาษใช้กันแล้วถึง 3 ชนิดคือ กระดาษผ้าธง กระดาษผ้าไหม กระดาษเฮ้อถี ในจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” บันทึกว่า

“ไช่หลุน ชื่อรองว่า จิ้งจ้ง ได้ถูกนำตัวเข้าถวายการรับใช้วังหลวงเมื่อปี พ.ศ.614 (เหตุการณ์ที่ทำให้ไช่หลุนต้องถูกนำตัวเข้าวัง เพราะ หลิวอิงซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ฉู่หวาง ถูกใส่ร้ายว่าวางแผนการเป็นกบฏ ทำให้ไช่หวี่ที่ปรึกษาของเค้าพลอยโดนกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ไช่หลุนซึ่งเป็นลูกชายจึงถูกจับตอน และนำตัวเข้าถวายงานในวังหลวงที่กรุงลั่วหยางขณะมีอายุได้เพียง 12 ปีเท่านั้น) หลังจากเข้าวังหลวงได้ 2 ปี ไช่หลุนก็ได้รับความไว้วางใจจากรพสนมเอกซ่งกุ้ยเหยิน ผู้ที่พระเจ้าจางตี้รักใคร่เป็นที่สุด ให้เป็น ‘เสี่ยวหวงเหมิน’ (มีฐานะเป็นพระสหายร่วมเรียนกับพระโอรสในพระสนมเอกซ่งกุ้ยเหยิน และเนื่องจากไช่หลุนเป็นคนรักการเรียนและเรียนรู้ไว พระเจ้าจางตี้ทรงโปรดให้เลื่อนเค้าเป็นขันทีน้อย สามารถเข้าของห้องพระสมุดได้อย่างอิสระ)
หลังจากที่พระเจ้าจางตี้สรรคตแล้ว พระเจ้าเหอตี้ทรงขึ้นครองราชย์ ไช่หลุนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ‘จงฉางซื่อ’ (คล้ายตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำให้เค้ามีส่วนร่วมในข้อราชการสำคัญ) ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.632 และในช่วงที่พระนางฮองไทเฮากำลังประชวรหนักนั้นเอง ก็เกิดการวางแผนคิดก่อกบฏขึ้น ไช่หลุนนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าเหอตี้ พระองค์จึงโปรดให้มีการจับกุมตัวผู้คิดก่อการกบฏทั้งหมด และให้ประหารชีวิตทั้งหมดเก้าชั่วโคตร โดยไม่ฟังคำคำทัดทานของไช่หลุน ทำให้เค้ารู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ และเป็นสาเหตุให้ไช่หลุนต้องออกจากราชการในภายหลัง”

ไช่หลุนเริ่มสนใจคิดปรับปรุงกรรมวิธีการทำกระดาษ และทำสำเร็จในปี พ.ศ.648 พระเจ้าเหอตี้ชื่นชมความสามารถของเค้านัก และสั่งให้เผยแพร่กระดาษนี้ออกไปให้ทั่วถึง จนคนทั่วไปเรียกกระดาษนี้ว่า กระดาษไช่โหว

กรรมวิธีที่ไช่หลุนใช้ในการพัฒนากระดาษคือ เค้าใช้ตะแกรงที่สานด้วยตอกคู่เส้นเล็กๆ วางไว้กับวงกบไม้สี่เหลี่ยม จากนั้นเอาจุ่มลงไปในกระบะที่ใส่วัสดุที่ใช้ทำกระดาษ แกว่งให้วัสดุเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในตะแกรง เกลี่ยให้เรียบเสมอกันแล้วจึงยกขึ้นจากกระบะ วงกบไม้จะช่วยไม่ให้วัสดุไม่ไหลกลับลงไปในกระบะอีก และต้องถือตะแกรงให้ราบขนานกับพื้นเพื่อกรองเอาน้ำออก จนเหลือแต่เส้นใยกระดาษอยู่บนตะแกรง แล้วจึงนำไปตาก

นอกจากคิดค้นวงกบไม้และตะแกรงเส้นตอกแล้ว วัสดุที่นำมาทำกระดาษของเค้าก็เป็นสิ่งที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงถือเป็นการค้นพบที่สำคัญอย่างยิ่ง

แม้ไช่หลุนจะมีตำแหน่งทางราชการใหญ่โต และอยู่ใกล้ชิดฮ่องเต้ แต่ชะตากรรมของเค้าในบั้นปลายกลับน่าสลดยิ่ง มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่คนซึ่งสร้างคณูปการอันยิ่งใหญ่ให้กับชาวจีน และชาวโลก จะต้องมาจบชีวิตด้วยการดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เนื่องจากพระสนมเอกซึ่งเป็นย่าของเค้าถูกใส่ร้ายนั้นเอง

หลังยุคของไช่หลุน คนจีนเริ่มใช้วัสดุเพื่อทำกระดาษหลากหลายมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น มีการใช้เปลือกหวาย ฟางข้าว เปลือกส้ม เปลือกต้นหม่อน ตำแย ฯลฯ ในสมัยราชวงศ์ตงจิ้นมีการใช้กัญชามาทำกระดาษซึ่งทำให้ได้กระดาษเนื้อเหนียวแข็งแรง ขาวสะอาด และน้ำซึมยาก

มาในสมัยที่จีนแตกเป็นราชวงศ์ต่างๆ กว่า สิบราชวงศ์นั้น ที่อำเภอเส้ออำเภออี้มณฑลอันฮุยของราชวงศ์ฝ่ายใต้ ได้มีการผลิตกระดาษเงินวาวและขาวบริสุทธิ์ และเป็นต้นกำเนิดกระดาษที่ขึ้นชื่อมากชนิดหนึ่งของจีนที่เรียกว่า “ซวนจื่อ” กระดาษมีคุณภาพดีจนพระเจ้าอู่ตี้แห่งราชวงศ์
เหลียง (ราชวงศ์ฝ่ายใต้) ถึงกับทรงนิพนธ์บทกลอนชมกระดาษว่า

“ขาวพิสุทธิ์เงาวาวราวหิมะ
จตุระดุจกระดานหมากรุกหนอ
จักเล่าเรื่องและบันทึกก็ดีพอ
ฤาจะขอเปรียบอวนแหที่เคยทำ”

จะเห็นได้ว่ากระดาษในสมัยนั้นมีคุณภาพดีพอสมควรทีเดียว และในปี พ.ศ.728 เทคนิคการทำกระดาษของจีนก็เริ่มแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น

แล้วยุคทองของกิจการกระดาษก็มาถึงอย่างรวดเร็ว เมื่อจีนกลับมาเป็นปรึกแผ่นอีกครั้งในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง เริ่มมีกระดาษหลายรูปแบบหลากชนิด โดยสมัยราชวงศ์สุยคนจีนมีกระดาษย้อมสีใช้กันแล้ว ในสมัยราชวงศ์ถังยังคงมีการพัฒนากระดาษหมาจื่อกันต่อไป กระดาษ “หมาจื่อ” ที่มีชื่อเสียงมาจากเมืองหยางโจว และยังมีการทำกระดาษชนิดหนึ่งโดยใช้เปลือกไม้จันทร์เป็นวัสดุสำคัญ เรียกว่ากระดาษ “ซวนจื่อ” ซึ่งถือเป็นกระดาษเนื้อดีของจีนในสมัยนั้น โดยเนื้อกระดาษขาวสะอาด แข็งแรง นุ่มเนียนละเอียด เรียบ และสีไม่ตก กระดาษชิ้นหมึ่งอาจยาวถึง 50 เชียะ หรือราว 15 เมตร และถูกจัดเป็นของสำหรับใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะ

กระดาษย้อมสีก็มีความสำคัญมากในสมัยราชวงศ์ถัง เช่นกระดาษแข็งสีเหลือง งเป็นกระดาษย้อมสีที่ขึ้นชื่อมากชนิดหนึ่ง เพราะมีการชุบกาวและฉาบไขเทียน เพื่อให้กระดาษหนา แข็งแรงและลื่นมัน จากนั้นจึงใช้น้ำยาย้อมให้เป็นสีเหลืองอีกที กระดาษชนิดนี้จะไม่มีมอดกัดกิน ไม่ขึ้นรา และกันน้ำได้ เหมาะที่จะใช้จารึกคัมภีร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกระดาษย้อมสีคุณภาพดีสำหรับเขียนจดหมายเกิดขึ้นด้วยเช่น “กระดาษสู่เจียน” จากมณฑลเสฉวน ซึ่งมีด้วยกันถึง 10 สี เช่น แดงเข้ม ชมพู เหลืองสด เป็นต้น

ในสมัยราชวงศ์ถังนี่เอง ที่เทคนิคการทำกระดาษของจีนแพร่ไปยังอาหรับ จากนั้นก็แพร่ถึงยุโรป จนคนทั่วโลกยอมรับว่า นี่คือสิ่งประดิษฐ์สำคัญจากจีน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง คนจีนหันมาใช้ไม้ไผ่และเปลือกต้นหม่อนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Paper mulberry เป็นวัสดุสำคัญในการทำกระดาษแทนต้นปอ จนได้พัฒนากระดาษจากไผ่ที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ ซึ่งช่วงนั้นกำลังเฟื่องฟูขึ้น ทำให้กระดาษชนิดนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาเทคนิคการแปรรูปกระดาษให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากเนื้อกระดาษจะเนียนละเอียดแล้ว ยังมีการใช่วัสดุอื่นมาช่วยเสริม เช่น ไขเทียนหรือขี้ผึ้ง แป้งเปียก หน่อต้นก๊อก กาวจากสัตว์ สารส้ม ฯลฯ โดยมีการแต่งด้วยเงินหรือทองเพื่อให้กระดาษวาวเงา ลื่น และสวยขึ้น

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง การทำกระดาษของจีนพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะกระดาษ “เจียนจื่อ” และ “ซวนจื่อ” ทำได้ประณีตมากขึ้น จึงมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง

ในทางเทคนิคมีการทากาว ใส่สารส้มเติมไขเทียน ย้อมสี พิมพ์ลาย บดเรียบอาบมัน อาบเงินอาบทอง เป็นต้น ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จดีทีเดียว และบังมีการค้นพบวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การพิมพ์สอดสี พิมพ์ลายนูน ทำเป็นกระดาษ “เจียนจื่อ” เนื้อดีที่ประณีตสวยงามไว้หลากหลายรูปแบบสำหรับงานเขียนหนังสือหรือจดหมายโดยเฉพาะ

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการขยายพื้นที่ประกอบกิจการทำกระดาษ “ซวนจื่อ” ออกไปอย่างกว้างขวาง จนเกิดกระดาษอีกมากมายหลายชนิด และยังมีกระดาษชนิดพิเศษที่มีชื่อเสียงอีกไม่น้อย เช่น กระดาษผ้าที่ทำจากอำเภอหวี่ในมณฑลหูหนาน และกระดาษนุ่มจากอำเภอไหลหยางในมณฑลหูหนาน เป็นต้น ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง จีนได้นำเข้าเทคโนโลยีการทำกระดาษด้วยเครื่องจักร ซึ่งช่วยพักดันให้กิจการทำกระดาษของจีนก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวใหญ่ และเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคโนโลยีของจีนในสมัยนี้ ได้ล้าหลังกว่าทางยุโรปและอเมริกาแล้ว

ในสมัยนั้นมีการทำกระดาษที่มีคุณภาพดีออกมาเป็นจำนวนมาก ด้วยวัสดุที่คัดสรรมาอย่างดี ทำกันอย่างประณีตและมีหลากหลายรูปแบบ โดยกระดาษส่วนใหญ่จะมีใช้กันเฉพาะในวังหลวงเท่านั้น เนื่องจากเป็นงานฝีมือดีและมีคุณค่าทางศิลปะสูง กระดาษส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน หากแต่ถูกเก็บสะสมไว้โดยบรรดานักเขียนและปัญญาชนผู้หลงใหลมัน และด้วยคุณค่าที่เป็นของโบราณ ในยุคหลังจึงมีการทำเรียนแบบขึ้น ซึ่งต้องใช้ความรู้พอสมควรที่จะแยกแยะได้ว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม ถ้าระดับมืออาชีพทำกัน ก็คงต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ทั้งเนื้อกระดาษ รูปแบบ ลวดลาย ถึงจะบอกได้ว่าเป็นกระดาษโบราณหรือไม่ และเป็นของสมัยใด แต่หากจะมองกันด้วยตาเปล่าคร่าวๆ ก็คงพอได้ เช่น กระดาษโบราณมักมีสีซีด แต่จะดูมันเงาเรียบเสมอกันมากกว่า ไม่มีสิ่งใดปลอมปน สีภายนอกจะดูซีดเก่า แต่เนื้อกระดาษจะต้องมีสีสดใหม่ และถ้าเป็นกระดาษโบราณชนิดหนา กระดาษมักจะกรอบ ขาดยุ่ยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย และส่วนมากจะมีลายพาดเฉียง
แต่ถ้าเป็นกระดาษทำปลอมเรียนแบบ สีจะไม่ซีดเก่าตามธรรมชาติ แต่มักใช่สีย้อมให้ดูเก่า และสีออกเหลืองแบบฟางข้าว ผิวและเนื้อในกระดาษจะถูกย้อมเป็นสีเดียวกันหมด กระดาษเนื้อบางจะขาดยุ่ยง่าย ส่วนกระดาษชนิดหนาจะขาดยุ่ยยาก และถ้าบังเอิญขาด เศษกระดาษก็จะเป็นชิ้นใหญ่และมีลายตรง
การรู้จักดูกระดาษโบราณมีประโยชน์มากที่จะช่วยให้เราดูออกว่าภาพเขียนหรือหนังสือโบร
าณเหล่านั้น เป็นของเก่าจริงหรือไม่ ภาพเขียนและภาพอักษรอายุนับพันปีอันล้ำค่าของจีนที่ยังเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ล้วนแต่ใช้กระดาษ “ซวนจื่อ” ทั้งสิ้น

นอกจากรู้จักการจำแนกกระดาษโบราณแล้ว ยังควรจะรู้จักชนิดของกระดาษจีนด้วย ซึ่งแยกตามคุณสมบัติการดูดซับน้ำหมึกออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
กระดาษชนิดดูดซึมหมึกได้น้อย กระดาษชนิดนี้ส่วนมากจะทำจากเส้นใยไผ่ ผิวกระดาษค่อนข้างมันเรียบ น้ำหมึกมักเกาะตัวอยู่บนผิวกระดาษ ไม่กระจายซึมลงไปง่ายๆ สีสันจึงสดใสกว่า ที่สำคัญได้แก่กระดาษ “เจียนจื่อ” กระดาษชนิดนี้ใช้สำหรับเขียนหนังสือ จดหมาย หรืองานเอกสาร เช่น
กระดาษเฉิงซินถัง เป็นกระดาษที่ใช้สำหรับการเขียนภาพอักษรและภาพเขียนมาตั้งแต่สมัยหนานถังของมณฑลอันฮ
ุย มีคุณสมบัติพิเศษคือ บาง แข็ง เรียบลื่น เนื้อแน่นเนียน ขาวสะอาด ดูดซึมหมึกได้น้อย จัดเป็นกระดาษชั้นเลิศสำหรับงานประเภทภาพเขียน ในอดีตเคยเป็นกระดาษที่พระเจ้าหลี่วี่แห่งราชวงศ์หนานถังชื่นชอบมากที่สุด จนกลายเป็นกระดาษที่มีใช้กันอย่างยาวนานในราชสำนักจีน ปัญญาชนและศิลปินจีนรุ่นหลังถือว่า กระดาษชนิดนี้เป็นผลงานล้ำค่าสำหรับงานศิลปะ แต่ถ้ามีคุณภาพต่ำกว่านี้จะเรียกว่า “วี่สุยจื่อ” ต่ำลงมาอีกเรียก “หลึ่งจินจื่อ”

อันที่จริงมณฑลอันฮุยเป็นแหล่งสำคัญของการทำกระดาษอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่ยังมีฐานะเป็นเขตการปกครองชั้น “โจว” ในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง กระดาษจากเขตนี้ก็เป็นที่ชื่นชอบกันมากในหมู่ปัญญาชน กวี และศิลปินนักเขียนนักเขียนภาพอักษร หรือที่เมืองจีนเรียกว่า “ซูฝ่าเจีย” เรียกได้ว่าตั้งแต่สามัญชน ขุนนาง ไปจนถึงพระเจ้าแผ่นดิน

พระเจ้าหลี่วี่กษัตริย์ผู้เป็นทั้งกวีและศิลปินแห่งราชวงศ์หนานถัง ชื่นชอบกระดาษชนิดนี้จนถึงกับรับสั่งให้สร้างหอสำหรับเก็บกระดาษชนิดนี้ เรียกว่า หอเฉิงซิน และกลายเป็นทีมาของชื่อกระดาษชนิดนี้ ใน “จดหมายเหตุเมืองฮุยโจว” บันทึกว่า “ที่อำเภออีและอำเภอเส้อมีการทำกระดาษดีๆ มากมาย ที่ขึ้นชื่อมีหนิงซวงและเฉิงซิน ชนิดหลังนี้ แผ่นหนึ่งยาว 50 เชียะ บางเสมอเท่ากันตั้งแต่ต้นจรดปลาย”

กวี ศิลปิน ปัญญาชน และขุนขนางจีนที่ชื่นชอบกระดาษชนิดนี้อาทิเช่น ซูตงปอ (หรือซูซื่อ) กวีและศิลปินนักเขียนสมัยซ่ง สนิทสนมกับพานกู่ช่างทำหมึก จานหมึก และกระดาษชนิดนี้มาก จนซูตงปอถึงกับบอกว่า “ทั้งสองเหมือนทำบุญร่วมน้ำหมึกกันมา”

เหมยหยาวเฉิน กวีสมัยเป่ยซ่ง ซึ่งเป็นชาวอันฮุยแท้ๆ ได้เขียนบทกลอนชมว่า

“กระดาษเฉินซินจากซินอัน
ลื่นกว่าจันทร์น้ำแข็งสัมผัสรู้
ช่างกระดาษพานโหวนั้นยอดครู
เขายังรู้จานหมึกลายหางมังกร”

เมื่อคราวที่ต่งฉีชางจิตรกรจีนสมัยหมิง ได้กระดาษชนิดนี้มา เค้าถึงกับพูดด้วยความรู้สึกจากใจว่า “ไม่กล้าเขียนอะไรลงไปบนกระดาษนี้”

ภาพเขียน “ม้าห้าตัว” ของหลี่กงหลิน จิตรกรชื่อดังสมัยซ่ง ภาพศิลปะลายมือ “ฉุนฮั่วเก๋อเทีย” ที่ระบายมาจากลายมือ สลักบนศิลาในสมัยซ่งเมื่อ พ.ศ.1543 ซึ่งเป็นภาพระบายลายมือเขียนราว 420 ภาพ ศิลปินนักเขียนที่ส่วนมากเป็นขุนนางผู้ใหญ่ตามรับสั่งของพระเจ้าไท่จง ก็ใช้กระดาษเฉิงซินจื่อนี้

นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง “โอวหยางซิว” ก็ใช้กระดาษชนิดนี้ บันทึกหนังสือประวัติศาสตร์ (ฉบับยกร่าง) ไว้สองเล่ม คือ “ซินถังซู” (จดหมายเหตุราชวงศ์ถังใหม่) และ “ซินอู่ไต้สื่อ” (ประวัติศาสตร์ห้าราชวงศ์ใหม่)

กระดาษเฉิงซินจื่อ จะได้รับคำชมมากมาย ทั้งในแง่ของเทคนิคการทำเช่นที่บันทึกในเอกสารประวัติศาสตร์ว่า “ขาวดุจหยก เรียบเงาแต่ไม่ลื่น เบาดุจเส้นผม ม้วนเก็บไว้ไม่ยับ” หรือในแง่ศิลปะ เช่น “เนื้อบางดุจเยื่ยไข่ แข็งแรงบริสุทธิ์ดุจหยก เนียนบางเป็นมันเงา เหนือกว่ากระดาษชนิดใดๆ ในสมัยนั้น”

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่กระดาษชนิดนี้จะถือเป็นเครื่องบรรณาการที่ล้ำค่ามาตลอด และแม้ว่าราชวงศ์หนานถังของพระเจ้าหลี่วี่จะล่มสลายไป แต่กระดาษชนิดนี้กลับไม่ล้มหายตายจากตามไปด้วย

กระดาษ “สู่เจียน” มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ว่ากันว่าเป็นกระดาษที่ทำด้วยกรรมวิธีโบราณอย่างที่ไช่หลุนเคยทำ และทำกันในแคว้นซีสู่ หรือเสฉวนในปัจจุบัน จึงได้ชื่อตามสถานที่ให้กำเนิด ตัวอย่างของกระดาษชนิดนี้ได้แก่กระดาษ “เซียเทาเจียน” ซึ่งเป็นกระดาษที่รู้จักกันดีตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ถัง และยุคห้าราชวงศ์ คนที่ทำกระดาษชนิดนี้ชื่อ เซียเทาชาวเมืองฉางอันสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อบิดาต้องย้ายไปรับราชการที่เสฉวน เธอก็ย้ายตามบิดาไปด้วย หลังจากบิดาเสียชีวิตไปแล้วชีวิตของเธอก็ตกต่ำลง จนต้องกลายเป็นนางขับขายเสียงเพลง และเนื่องจากเธอชอบเรื่องกาพย์กลอนโคลงกวี และรู่สึกว่ากระดาษในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป เธอจึงแนะนำให้ช่างทำกระดาษให้มีขนาดเล็กลง เล่ากันว่าเซียเทาเคยโรยกลีบดอกไม่ไว้บนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นลายแต้มบนกระดาษอันเป็นที่มาของการย้อมสี แต่สีที่ย้อมมักหลุดลอกง่ายไม่ทนทาน จึงเหมาะสำหรับใช้เขียนอะไรเล่นๆ เท่านั้น

กระดาษอีกชนิดหนึ่งคือ “เซี่ยกงเจียน” เป็นกระดาษย้อมสีเหมือนกัน คนทำชื่อ เซี่ยจิ่งชู มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ.1562-1637 ซึ่งตรงกับช่วงสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกระดาษที่เซียเทาทำ จึงได้ออกแบบทำขึ้นมาทั้งหมด 10 สี เพื่อใช้เขียนจดหมายโดยเฉพาะ กระดาษชนิดนี้มีสีสันสดใสสวยงาม และมีชื่อเสียพอๆ กับกระดาษเซียเทา

กระดาษ “จ้างจิงจื่อ” หรือ “จินสู้เจียน” พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่งส่งเสริมพระพุทธศาสนา จึงเกิดความต้องการกระดาษที่จะใช้พิมพ์พระคัมภีร์มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการนี้เวลานั้นที่เมืองเส้อโจวในเมืองเส้อโจว มณฑลอันฮุยมีการทำกระดาษแข็งสีเหลือง มีลายเส้นแต้มสีจางบ้างเข้มบ้าง สำหรับพิมพ์พระคัมภีร์ เรียกว่า ล่าหวงจิงจื่อ หรือจินสู้เจียน ชื่อหลังนี้ได้มาจากชื่อวัดจินสู้ ซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาจิงสู้ในเมืองไห่เหยียน มณฑลเจ้อเจียง เนื่องจากทางวัดได้สั่งซื้อกระดาษชนิดนี้ป็นจำนวนมากเพื่อใช้คัดลอกพระคัมภีร์ คุณสมบัติของกระดาษชนิดนี้คือ แข็ง เงาวาวกึ่งโปร่งใส กันน้ำกันมอดได้ดี มี 2 สี คือสีเหลืองกับสีขาว อายุการใช้งานยาวนาน แม้จะผ่านไปนับพันปี กระดาษก็ยังดูเหมือนใหม่

นอกจากนี้ คนในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงยังมักใช้กระดาษที่เรียกว่า หนีจินเจียนและล่าเจียน ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นนัก กระดาษชนิดหนึ่งที่ใช้กันอยู่ใยปัจจุบันทำจากญี่ปุ่นชื่อ “โทริชิ” ซึ่งมีราคาแพงมาก และไม่ทนทาน จึงไม่มีประโยชน์ใช้สอยจริง

กระดาษที่ซึมซับน้ำหมึกได้ดี
กระดาษชนิดนี้ส่วนมากทำจากเส้นใยเนื้อไม้ ผิวกระดาษหยาบฝืด ไม่มันเงาเหมือนเช่นกระดาษ “เจียนจื่อ” น้ำหมึกจะซึมแผ่ออกอย่างง่ายดายทันทีที่แตะถูกกระดาษ ถ้าจะใช้เขียนหนังสือต้องผสมกาวหรือลงไขก่อน กระดาษชนิดนี้แม้จะมีมาทีหลัง แต่ก็มีบทบาทอย่างสำคัญในงานศิลปะจีนต่างๆ จนกลายเป็นกระดาษที่มีชื่อเสียงและทรงคุณค่าที่สุดไปแล้ว



๐คุณชายไร้เงา๐
#10   ๐คุณชายไร้เงา๐    [ 20-04-2008 - 01:54:23 ]

พรุ้งนี้จะมาอ่านนะคับ วันนี้อ่านไม่ไหว...



vมังกรหลับv
#11   vมังกรหลับv    [ 20-04-2008 - 12:25:48 ]

เอามาจากเว็บthaisamkokปะ ที่นั่นมีความรู้ดีๆเยอะแยะคับ เคยอ่านผ่านตามาหมดแย้วอะนิ



รักคือสิ่งใด
#12   รักคือสิ่งใด    [ 20-04-2008 - 18:57:35 ]

ใช่แล้ว่ทานขงเบ้ง ข้าน้อยเอามากจากที่นั่น



กั๊วเต็งอั๊ก
#13   กั๊วเต็งอั๊ก    [ 21-04-2008 - 06:47:27 ]

แล้วพระแม่หนี่วาผู้อุดรูรั่วบนสวรรค์.....เทพบิดร ผานกู่ผู้สร้างโลกและพิภพ.....พระโพธิสัตว์กษิติครรภ์ผู้โปรดสัตว์ในนรก....และเทพยมบาลทุกตำหนัก(เปาปุ้นจิ้นเมื่อตายแล้วก็จุติในนรกไปเป็นยมบาล)
ท่านไม่บูชาเรอะ



กั๊วเต็งอั๊ก
#14   กั๊วเต็งอั๊ก    [ 21-04-2008 - 06:53:04 ]

และนี่คือประวัติเปาปุ้นจิ้นไปจุติเป็นยมบาลตำหนัก5 มีนามว่าใหม่ว่าเซินหลออ๋อง
"ข้าพเจ้าเป็นคนในสมัยราชวงศ์ซ่ง ชื่อเปาบุ้นจิ้น เป็นเทพบุ้นเขกมาจุติ ด้วยตอนคลอดจากท้องมารดามีผิวหนังสีดำทั้งตัว จึงมีชื่อเล่นว่า ดำ บิดาชื่อ เปาไหว มารดาชื่อ นางโจว มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ พี่ชาย 2 คน ข้าพเจ้าเป็นคนเล็กสุด ทางบ้านมีอาชีพทำไร่นา ฐานะค่อนข้างดี ตอนเด็กไปเรียนหนังสือที่หมู่บ้านใกล้เคียง อายุ 16ปีสอบได้ซิ่วไฉ ต่อมาได้เข้าเมืองหลวง สอบได้จิ้นซื่อ ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเมืองติ้งเย่น ระหว่างอยู่ในตำแหน่งได้ทำคดี “โคมดำ” เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาดจนเกิดความผิดพลาด ทำให้ผู้ต้องหาถูกลงทัณฑ์จนเสียชีวิต จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง จากนั้นชีวิตต้องระหกระเหินอยู่หลายปี ต่อมาได้ถูกเสนอเป็นเจ้าเมืองไคฟง ระหว่างอยู่ในตำแหน่งนี้ได้คลี่คลายคดีมากมาย ตัดสินคดีอย่างยุติธรรมโดยไม่เกรงกลัวอำนาจอิทธิพลผู้ใด ทุกครั้งตัดสินคดีโดยยึดหลักกฎหมาย ผู้คนจึงเรียกข้าพเจ้าว่า “เปาชิงเทียน” หลังจากกลับสู่สวรรค์ได้รับราชโองการรับตำแหน่งยมบาลตำหนัก 5 ตราบจนปัจจุบัน"
เอามาจากเว็บ http://www.mindcyber.com



๐วีรบุรุษสวนท้อ๐
#15   ๐วีรบุรุษสวนท้อ๐    [ 10-05-2008 - 20:28:53 ]

แล้วท่านพอ จะมีประวัติ เทพ ไท่ส่างเหล่าจิน บ้างปะครับ



vมังกรหลับv
#16   vมังกรหลับv    [ 15-05-2008 - 21:08:15 ]

ไท่ส่างเหล่าจิน นี่ก็คน เดียวกับ เหล่าจื่อ ใช่ปะคับ



ธิดาเทพ
#17   ธิดาเทพ    [ 16-05-2008 - 22:10:22 ]

มี2คน ค่ะ ไท่ซ่านเหล่าจิน กับไท่ไป่จินซิน 2คนนี้ ก็น่าจะเป็นผู้ช่วย เง้กเซียนนะค่ะ แล้วก้เก่งทางด้านพวกปรุงยาวิเศษอะไรพวกนี้แหละ



pumkin
#18   pumkin    [ 16-05-2008 - 23:49:34 ]

โอยยยยยยยยยยยยยย
น่าปวดหัวยิ่งนักแค่อ่านพู่กันอันเดียวยังปวดหัวมากแล้วอ่านหมดนี้ข้าน้อยไม่ตายหรอคับเอางี้เด๋วพุ่งนี้ข้าน้อยจะมาอ่านไหม่นะคับ



simayi
#19   simayi    [ 13-02-2009 - 00:48:13 ]

นับถือทุกองค์ยกเว้นกวนอู



vมังกรหลับv
#20   vมังกรหลับv    [ 13-02-2009 - 20:37:14 ]

ทำไมอคติ อย่างงั้นหละคับ เทพกวนอูมีตัวตนจริงๆนะคับ ถึงท่านไม่ชอบเล่าปี่ แต่ท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเกลียดกวนอูตามไปด้วย มันคนละคนกันคับ



  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube