เข้าระบบอัตโนมัติ

มังกรทลายฟ้าใครอ่านบ้างเข้ามาเลย


  • 1
jinnaottojinnaotto
#1   jinnaottojinnaotto    [ 01-04-2008 - 10:13:59 ]

ตอนนี้ผมอ่านของท่าน จำลอง พิศนาคะครับ ไปซื้อมาจากงานหนังสือ กำลังสนุกเลยมาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ครับ


นิยายวรยุทธของกิมย้ง / มังกรทลายฟ้า (...บแขะเฮ้ง) หรือ ลำนำจอมยุทธ์





มังกรทอง เทพบุตรทลายฟ้า มังกรทลายฟ้า


ชื่อภาษาอังกฤษ Way of the Heroes, Ode to the Gallantry
ชื่อภาษาไทย มังกรทอง, เทพบุตรทลายฟ้า, มังกรทลายฟ้า

หลังจากกิมย้ง จบ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ก็ต่อด้วย เฮียบแขะเห็ง (Xia Ke Xing) เป็นเรื่องความยาวขนาดกลาง เรื่องที่ 12 นับเป็นการผ่อนคลาย ก่อนบรรเลง ยิ้มเย้ยยุทธจักร

จำลอง พิศนาคะ แปลเรื่อง เฮียบแขะเห็ง (Xia Ke Xing) เป็นเจ้าแรก ใช้ชื่อ มังกรทอง เล่มเล็ก 20 เล่มจบ จัดพิมพ์โดย สนพ เพลินจิตต์ เมื่อ ปี 2510




ติงติงตังตัง น. นพรัตน์ หยิบเรื่องนี้มาแปล เมื่อ ปี พ.ศ. 2521 ใช้ชื่อ เทพบุตรทลายฟ้า เล่มเล็ก 20 เล่มจบเช่นกัน จัดพิมพ์โดย สนพ บรรณกิจ ในปี 2532 สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง เอามาพิมพ์ และแปลี่ยนชื่อ เป็น มังกรทลายฟ้า

เข้าใจว่าที่เปลี่ยนชื่อเพราะตัวเอกไม่ได้มีบุคคลิก "เทพบุตร" หากเป็น "มังกร" กลับพอคล้ายบ้าง ส่วนคำว่าทลายฟ้านั้น มาจากชื่อ เจี๊ยะพั่วเทียน (เจี๊ยะเป็นแซ่ พั่วเทียนแปลว่าทลายฟ้า) ชื่อตัวเอกในเรื่อง แต่คุณจะเจอชื่อที่มารดาเรียกมัน "ไอ้ลูกสำส่อน" อ่านแค่ตรงนี้ ก็ชวนฉงนแล้ว คนอะไรชื่อ ไอ้ลูกสำส่อน แถม ชื่อจริงว่าอะไรก็ไม่ค่อยจะแน่ใจ

เรื่องนี้สนุกมาก ๆ อ่านแล้วต้องอมยิ้ม และบางตอนต้อง หัวเราะออกมาดัง ๆ ตั้งหลายครั้ง

เรื่องนี้เป็นเรื่องของฝาแฝดที่มีอุปนิสัยแตกต่างกัน คนหนึ่งสัตย์ซื่อ อีกคนหนึ่งเลวทราม กิมย้งแสดงให้เห็นว่า คนดีฟ้าคุ้มครองอย่างไร

บางส่วนจากคำอธิบายในหนังสือสกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก

...บแขะเฮ้ง (เสียเค่อสิง) เรื่องนี้มีฉบับแปลของน.นพรัตน์ ชื่อไทยว่า "เทพบุตรทลายฟ้า" เป็น การตั้งชื่อใหม่ตามลักษณะตัวเอกในเรื่อง ถ้าแปลให้ใกล้เคียงชื่อจีนน่าจะเป็น "จริยาจอมยุทธ์" เรื่องนี้เป็น เส้นทางน้อยที่กิมย้งแหวกไปสู่ทางใหญ่สายใหม่ ไม่ใช่งานเด่นแต่มีประดิษฐการใหม่ แสดงให้เห็นว่ากิมย้ง เป็นนักเขียนที่ไม่ยอมย่ำรอยตัวเองเลย ก้าวใหม่จะสั้นยาวประสบความสำเร็จแค่ไหนก็ต้องก้าวออกไป

ข้อเด่นอีกประการหนึ่งของเรื่องนี้คือบทบาทของตัวละครหญิงที่ต้องเกี่ยวข้องพัวพันกับชายฝาแฝด คู่หนึ่งซึ่งรูปร่างเหมือนกัน คนหนึ่งซื่อสัตย์จริงจังจนเป็นคนเครียด อีกคนหนึ่งกลอกกลิ้งมีมารยาน่ารัก ทั้งที่รู้ชัดแต่เธอผู้นี้ก็เลือกแฝดคนหลัง เรื่องนี้สะท้อนธรรมชาติที่ผู้หญิงหลายคนมักปฏิเสธได้อย่างสม จริงยิ่งนัก เหง่ยคังถึงกับฝากบอกผู้ชายทั้งโลกว่าอย่าเป็นคนเครียด มิฉะนั้นจะไม่มีโชคในเรื่องผู้หญิง

คำตามโดยท่านกิมย้ง (จากหนังสือมังกรทลายฟ้า ฉบับ SIC พิมพ์ครั้งที่สอง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 แปลโดยท่าน น.นพรัตน์)

เพราะบุคคลสองคน มีใบหน้าคลับคล้ายก่อเกิดเป็นความเข้าใจผิดนานัปการ ตำนานเรื่องราวอันเก่าแก่ เช่นนี้ ไม่อาจนับเป็นโครงเรื่องอันหนักแน่นในนวนิยายได้ แม้ว่าวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์เคยใช้พี่ชายน้องชาย ฝาแฝด พี่สาวน้องสาวฝาแฝดเป็นพล็อตเรื่องอยู่บ่อยครั้ง แต่ผลงานเหล่านี้ไม่อาจนับเป็นบทละครที่ดี ที่สุดของท่าน

นวนิยายเฮียบแขะเหง (มังกรทลายฟ้า) เรื่องนี้ ที่ข้าพเจ้าต้องการเขียนคือความรักความผูกพันที่เจี๊ยะเช็ง สองสามีภรรยามีต่อผู้บุตร ดังนั้นเจี๊ยะพั่วเทียนกับเจี๊ยะตงเง็ก มีเค้าหน้าคลับคล้ายหาใช่หลักสำคัญของ เรื่องไม่

เมื่อฤดูหนาวปี ค.ศ.1975 ในข้อเขียนที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่นิตยสารเม้งป่อรายเดือนครบรอบสิบปี ที่ใช้ หัวข้อเรื่องว่า "สิบปีแห่งเม้งง้วย (1) ร่วมยามนี้" ข้าพเจ้าได้ยกอ้างคำอธิษฐานต่อเทวรูปในศาลบูชาของ เจี๊ยะเช็งสองสามีภรรยา บัดนี้แก้ไขขัดเกลาต้นฉบับใหม่ อดน้ำตาคลอหน่วยไปกับข้อความท่อนนี้มิได้

การอธิบายที่เต็มฝืนนานัปการ มาเป็นผลเสียต่อเจตนาเดิมของผู้แต่ง กลับก่อเกิดเป็นข้อขัดข้องอย่าง ใหญ่หลวง เฮียบแขะเห็ง (มังกรทลายฟ้า) เขียนเมื่อสิบสองปีก่อนก็มีความตั้งใจถ่ายทอดเจตนารมณ์นี้ ระหว่างนี้ศึกษาพระคัมภีร์พุทธศาสนา ยิ่งเน้นย้ำความรู้สึกดังกล่าว ในคัมภีร์ปัญญาบารมีของลัทธิมหายาน ตลอดจนคำสอนแห่งสัจธรรมของพระโพธิสัตว์เล้งชิ่ว (2) ล้วนพยายามล้างคำอรรถาธิบายต่างๆ เห็นว่า ข้ออธิบายทั้งหลายทั้งปวง รังแต่ทำให้ผู้ศึกษาบังเกิดความเพ้อเจ้อ ขัดกับการเห็นซึ้งถ่องแท้ ดังนั้นเน้น การ "ไม่ปรุงแต่ง" "ไม่ยึดอยู่" "ไม่กระทำ" "ไม่ประสงค์" มาตรว่าความคิดที่เป็นอกุศลไม่พึงมี ความคิด โดยชอบก็ไม่อาจมี ในคัมภีร์กิมกังเก็ง (3) มีคำกล่าวไว้ "ทุกสิ่งที่เป็นลักษณ์ล้วนเป็นความเพ้อเจ้อ" "ธรรม ยังพึงสละ อย่าว่าแต่อธรรม" "ที่พระยูไลสอนไว้ไม่ควรยึดถือ ไม่พึงบอกกล่าว มิใช่ธรรม ไม่ใช่ธรรม" ก็ เกิดจากเจตจำนงดังกล่าวเอง

ระหว่างที่เขียน เฮียบแขะเห็ง (มังกรทลายฟ้า) กล่าวได้ว่าไม่ได้ทำความรู้จักกับพระคัมภีร์ในศาสนาพุทธ คัมภีร์กิมกังเก็ง (3) เพิ่งเริ่มท่องสวดเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีก่อน การศึกษาวิชาปัญญาบารมีและ คำสอนแห่งสัจธรรม ยิ่งเป็นเรื่องเมื่อระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปีนี้ ย่อมไม่เข้าใจโดยลึกซึ้งถ่องแท้

กิมย้ง
กรกฎาคม 1977

(1) หมายถึงนิตยสารเม้งป่อรายเดือน
(2) ชื่อพระโพธิสัตว์ ถือจุติที่ชมพูทวีป หลังจากที่พุทธองค์ดับขันธ์ไป 700 ปี
(3) ชื่อพระคัมภีร์ที่แพร่หลายเล่มหนึ่ง มีชื่อเต็มว่า พระคัมภีร์กิมกังปัวเยียกปอล้อมิกเก็ง

ปัจจุบัน หาอ่านได้ทั้ง 2 สำนวน ทั้ง มังกรทองของ จำลอง พิศนาคะ พิมพ์โดย สนพ สร้างสรรค์ และ มังกรทลายฟ้า ของ น. นพรัตน์ พิมพ์โดย สนพ สยามอินเตอร์คอมิกส์





มือกระบี่ไร้นาม
#2   มือกระบี่ไร้นาม    [ 01-04-2008 - 10:37:19 ]

ผมเคยดูนะครับ และเท่าที่รู้ เห็นว่า มันจะมีฉบับดังอยู่สองฉบับ คือ มังกรแก้ว มังกรทอง ของ จำลองพิศนาคะ และของน.นพรัตน์ เนื้อเรื่องไม่รู้ว่าจะเหมือนกับการอ่านหรือเปล่า



ลูกปลาน้อย
#3   ลูกปลาน้อย    [ 02-04-2008 - 09:35:08 ]

เคยอ่านเป็นการ์ตูนครับ6เล่มจบ ดีเหมือนกันเรื่องนี้วาดออกมามันส์มาก แต่งโดย กิมย้งนี่ครับ





jinnaottojinnaotto
#4   jinnaottojinnaotto    [ 03-04-2008 - 11:20:36 ]

ในการ์ตูนผมอ่านแล้วค่อนข้างบิดเบือนไม่ตรงตามต้นฉบับครับ



jinnaottojinnaotto
#5   jinnaottojinnaotto    [ 03-04-2008 - 11:21:42 ]

แต่ก็มันดี



เดียวดายแสวงพ่าย
#6   เดียวดายแสวงพ่าย    [ 05-04-2008 - 23:27:02 ]

ข้าเองก้อเคยอ่านแบบการ์ตูนขอรับ


รู้สึกวิชาจะเวอร์ไปหน่อย



copter
#7   copter    [ 25-06-2008 - 11:25:43 ]

ต้องอ่านหนังสือ ครับ จิตนาการ ฉากต่อสู้ได้มันสุดๆเลยอย่าบอกเลย



ชานน
#8   ชานน    [ 04-09-2014 - 09:59:39 ]    IP: 202.151.5.29

การ์ตูนน่าจะมีเรื่องเพ็กฮวยเกี่ยมบ้างนะครับอยากเห็น



กิมย้วย
#9   กิมย้วย    [ 27-10-2014 - 02:27:20 ]

ที่จริงเรื่องนี้จะอธิบายว่าทำไมผู้หญิงชอบคนเลว



  • 1
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube