เข้าระบบอัตโนมัติ

ประวัติศาสตร์จีน ลำดับราชวงศ์กษัตริย์ต่างๆในประวัติศาสตร์จีน


  • 1
  • 2
เตียบ่อกี้
#1   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 22:22:23 ]

มังกรหยกแกะสลักยุค 8,000 ปีก่อน


"ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า “การสละราชบัลลังก์” ซึ่งยุคนี้ผู้คนยังมีความเท่าเทียมกัน ทรัพย์สินทั้งหมดถือเป็นของส่วนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการแย่งชิงและโจรผู้ร้าย นักโบราณคดีเรียกสังคมในยุคนี้ว่า ‘สังคมเอกภาพ’"

ผู้คนจากประเทศต่าง ๆทั่วโลกต่างก็มีวิถีในการอธิบายถึงที่มาของฟ้าดินและมนุษย์ที่แตกต่างกัน ประเทศจีนก็มีเรื่องราวตำนานของผานกู่เบิกฟ้าแยกดินและเทพหนี่อัวสร้างมนุษย์ที่เล่าขานกันต่อมา ทว่า ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทางโบราณคดีและมนุษย์โบราณ รวมถึงทางธรณีวิทยา ได้เปิดเผยความลับต้นกำเนิดของแผ่นดิน และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลกมนุษย์ ปัจจุบันนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและมนุษย์โบราณได้ขุดพบซากฟอสซิลของมนุษย์ ซึ่งมีอายุกว่า 3,000,000 ปีในทวีปอาฟริกา ดังนั้น จึงเชื่อถือกันว่าทวีปอัฟริกาเป็นสถานที่ต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์

สำหรับในประเทศจีนนั้น ที่อำเภออูซานในมณฑลฉงชิ่งก็ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลโบราณของ ‘มนุษย์อูซาน’ที่มีอายุกว่า 2,000,000 ปี นอกจากนี้ ยังพบซากฟอสซิลมนุษย์โบราณจำนวนมากในบริเวณกว้างอาทิ มนุษย์หยวนเหมย มนุษย์หลันเถียน มนุษย์ปักกิ่ง และ มนุษย์ถ้ำ เป็นต้น ดังนั้น นักโบราณคดีจีนจึงได้เสนอว่า พื้นที่ในแถบเอเชียอาคเนย์ ก็เป็นแหล่งต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

การปรากฏตัวขึ้นของมนุษย์ถือเป็นผลจากการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งได้พัฒนาตัวเองจากเผ่าพันธุ์ของวานร จากการศึกษาและค้นคว้าของนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมนุษย์โบราณในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า เผ่าพันธุ์วานรในยุคโบราณและมนุษย์ในยุคแรกเริ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแนวคิดเรื่อง ‘จากวานรสู่มนุษย์’นี้ ก็ได้มีหลักฐานยืนยันมากขึ้น

ที่มาของวิวัฒนาการมนุษย์มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมากกับการใช้แรงงาน เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ยุคแรกทำขึ้นเองนั้นได้แก่เครื่องมือหินกระเทาะ ซึ่งนักโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเครื่องมือหินในยุคหลังที่เป็นเครื่องมือที่เกิดจากการฝนหรือลับ ดังนั้นพวกเขาจึงแบ่งยุคของการใช้เครื่องมือหินที่เกิดจากการกะเทาะนี้ว่า ยุคหินเก่า ส่วนช่วงเวลาที่มีการใช้วิธีการฝนหินในการสร้างเครื่องมือหิน เรียกว่า ยุคหินใหม่

ยุคหินเก่า

เพื่อสะดวกในการศึกษาทางโบราณคดี พวกเขายังแบ่งแต่ละยุคออกเป็น 3 ตอนได้แก่ ตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย โดยยุคหินเก่าที่แบ่งเป็น 3 ตอน นั้นจัดแบ่งตามลักษณะพิเศษของการยืนตัวตรงของมนุษย์ ได้แก่ มนุษย์วานร มนุษย์โบราณ และมนุษย์ยุคใหม่ ซึ่งเครื่องมือหินที่ผลิตในยุคหินเก่าตอนต้นนั้น มีลักษณะที่เรียบง่าย หยาบ หนาและหนัก รวมทั้งมีลักษณะพิเศษที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือได้หลายชนิด เมื่อมาถึงยุคหินเก่าตอนปลายนั้น เครื่องมือหินที่ทำการผลิตออกมานั้นมีขนาดเล็กลงและหลากหลายมากขึ้น โดยแบ่งเป็นชนิดของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ขุดพบได้แก่ ธนู หอกพุ่ง เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการขุดเจาะ อีกทั้งยังพบเครื่องมือหินส่วนหนึ่งที่เกิดจากการฝนหินหรือลับหินอีกด้วย


เครื่องมือหินกระเทาะแห่งยุคหินเก่า

"จากการกินอาหารที่สุกในยุคหินเก่านี้เอง ได้ช่วยลดกระบวนการในการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายมนุษย์ได้รับสารอาหารที่มากขึ้น และทำให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตเปลี่ยนแปลงไป และเร่งการเจริญเติบโตทางสมองยิ่งขึ้น มนุษย์ปักกิ่งเมื่อ 300,000 ปีก่อน มีปริมาตรสมองโดยเฉลี่ย 1,059 มล. ในขณะที่ มนุษย์ถ้ำซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลา 100,000 ปีก่อน มีขนาดสมองเฉลี่ย 1,200 – 1,500 มล. ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาตรสมองของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน"

ในยุคหินเก่านั้น ผู้คนต้องยังชีพด้วยการเก็บผลไม้ป่าและการตกปลาล่าสัตว์ พวกเขาไม่รู้จักการสร้างบ้าน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันตามโพรงถ้ำ ในยุคหินเก่าตอนต้นนั้น ผู้คนรู้จักการใช้ไฟแล้ว โดยเริ่มจากการเก็บกิ่งไม้ที่เกิดจากไฟไหม้ป่า ต่อมาภายหลังจึงรู้จักวิธีการจุดไฟด้วยตัวเอง เช่นการตีหินให้เกิดประกายไฟ การฝนไม้ให้เกิดความร้อน เป็นต้น และการรู้จักใช้ไฟนี้เองมีส่วนสำคัญต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก พวกเขาเริ่มใช้ไฟส่องทาง ขับไล่สัตว์ป่าที่ดุร้าย ขับไล่ความหนาวเย็น และยังได้เปลี่ยนแปลงความเคยชินจากการบริโภคอาหารดิบมาเป็นอาหารสุกอีกด้วย

และเนื่องจากการกินอาหารที่สุกแล้วนี้เอง ยังได้ช่วยลดกระบวนการในการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายมนุษย์ได้รับสารอาหารที่มากขึ้น และทำให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตเปลี่ยนแปลงไป ช่วยเพิ่มความแข็งแรงต่อร่างกาย และเร่งการเจริญเติบโตทางสมองยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น มนุษย์ปักกิ่งเมื่อ 300,000 ปีก่อน มีปริมาตรสมองโดยเฉลี่ย 1,059 มล. ในขณะที่ มนุษย์ถ้ำซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลา 100,000 ปีก่อน มีขนาดสมองเฉลี่ย 1,200 – 1,500 มล. ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาตรสมองของมนุษย์ในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีขนาดความสูงที่ใกล้เคียงกับชาวจีนทางภาคเหนืออีกด้วย ปัจจุบันนี้ ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุในยุคหินเก่า กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ 20 กว่ามณฑลทั่วประเทศ อันแสดงถึงขอบเขตในการดำเนินชีวิตของคนในยุคนั้น ซึ่งกินพื้นที่กว้างขวางพอสมควรทีเดียว

ยุคหินใหม่
เมื่อถึงช่วงเวลา 10,000 ปีก่อน มนุษย์เข้าสู่ยุคหินใหม่ ซึ่งในยุคนี้ภูมิอากาศบนโลกทวีความอบอุ่นขึ้น ผู้คนทยอยกันเดินทางออกจากบริเวณป่าเขา ย้ายเข้าสู่พื้นที่ราบ เพื่อปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ผู้คนเลือกที่จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใกล้แหล่งน้ำ สร้างบ้านเรือน เริ่มผลิตเครื่องปั้นดินเผา เกิดเป็นสังคมเกษตรยุคแรกเริ่ม เริ่มต้นการดำเนินชีวิตที่เป็นหลักแหล่ง ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคการขุดเจาะและฝนลับเครื่องมือหินมีมากขึ้น เครื่องมือที่สร้างขึ้นมีรูปแบบมากขึ้นแตกต่างไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบว่าลักษณะการกระจายตัวของแหล่งโบราณวัตถุยุคหินใหม่ที่พบในประเทศจีน มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างประชากรของจีนในยุคนี้เป็นอย่างมาก โดยมีการรวมตัวหนาแน่นอยู่ในเขตริมฝั่งแม่น้ำทางภาคตะวันออก สำหรับอาหารที่ใช้ในการบริโภค หากเป็นทางตอนใต้ก็เพาะปลูกข้าว ส่วนทางตอนเหนือก็ปลูกข้าวโพด ซึ่งเมื่อ 9,000 ปีก่อน ก็เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวแล้ว ดังนั้นจึงเป็นการบ่งบอกว่าต้นกำเนิดของข้าวในจีนไม่ได้มาจากอินเดีย

ในช่วง 8,000 ปีก่อน พวกเขาก็เริ่มรู้จักการแกะสลักหยก คิดค้นวิธีการทอผ้า เครื่องดนตรีก็มีการแบ่งเสียงเป็น 7 ระดับ โดยสามารถบรรเลงในระดับเสียงต่าง ๆได้แล้ว อีกทั้งยังพบว่ามีการแกะสลักเป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆอีกด้วย นอกจากนี้ ในบรรดาวัตถุโบราณในสมัย 7,000 ปีก่อนที่ขุดพบนั้น มีซากเรือขุดและพายที่ทำจากไม้ ซึ่งแสดงว่าได้มีการสร้างพาหนะในการเดินทางทางน้ำและได้มีการเลี้ยงวัวเพื่อใช้สอย เมื่อถึงยุคของวัฒนธรรมหยั่งเสาเมื่อ 6,000 ปีก่อน ก็ได้มีการผลิตเครื่องลายครามลวดลายต่าง ๆที่งดงาม อีกทั้งยังมีการสร้างกำแพงเมืองขนาดเล็กด้วยเทคนิคการกระทุ้งดินให้แน่นอีกด้วย เมื่อถึงยุค 5,000 ปีก่อนก็สามารถเพาะเลี้ยงตัวไหม และใช้ใยไหมมาทักทอเป็นผ้าได้ อีกทั้งยังมีความสามารถในการผลิตทองแดง และสร้างเครื่องมือสำริดชิ้นเล็ก ๆได้แล้ว

นอกจากนี้ บริเวณเมืองโบราณในแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำฮวงโห ยังได้ขุดพบหลักฐานที่เป็นตัวอักษรซึ่งมีอายุประมาณ 4,000 ปีอีกด้วย อักษรโบราณดังกล่าวจารึกเรื่องราวต่าง ๆเกี่ยวกับเทพแห่งเกษตรกรรมที่ได้เพาะปลูกธัญพืช เรื่องราวของชายาของจักรพรรดิเหลืองหรือหวงตี้ นามเหลยจู่ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นการทอผ้า เรื่องราวเกี่ยวกับขุนนางของหวงตี้ที่ประดิษฐ์ตัวอักษร รถ เรือและสงครามระหว่างหวงตี้กับชือโหยว เป็นต้น การค้นพบเหล่านี้เองได้แสดงว่าตำนานเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องที่เล่าขานกันมา พวกมันสะท้อนถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาล

มนุษย์เมื่อครั้งโบราณอยู่อาศัยร่วมกันเป็นชุมชน ดังนั้นการขุดพบแหล่งโบราณคดีในปัจจุบันจึงมักสามารถเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ร่วมกันของชุมชนนั้น เช่น จากการฝังศพสามารถทราบถึงลำดับในการฝัง เมื่อกาลเวลาผ่านไป จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการแบ่งตัวของเซล ซึ่งต้องแยกตัวออกไปตั้งหลักฐานของชนเผ่ายังที่แห่งใหม่ ระหว่างพวกเขาร้อยรัดสัมพันธ์กันทางสายเลือด เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หวงตี้หรือจักรพรรดิเหลืองหัวหน้าเผ่าหัวเซี่ยซึ่งเป็นต้นตระกูลชนชาติจีน

"อิทธิพลของชนเผ่าหัวเซี่ยขยายออกไปจนจรดมณฑลชานตงในปัจจุบัน ภายหลัง เพราะเพื่อการแย่งชิงอำนาจกัน หวงตี้และเหยียนตี้ได้ทำสงครามกันที่ปั่นเฉวียน สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้ซึ่งเดิมครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือก็แผ่ขยายอิทธิพลลงใต้ จนถึงลุ่มน้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ถึงตอนนี้ชนเผ่าหัวเซี่ยก็แผ่ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หวี เซี่ย และโจวในยุคต่อมา ล้วนเป็นเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งสิ้น"

เมื่อถึงยุคสังคมดั้งเดิมตอนปลาย ก็มีชนเผ่าต่าง ๆและชุมชนมากมายอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินจีน นักโบราณคดีได้จัดหมวดหมู่ชุมชนเหล่านี้ออกเป็น ‘เผ่าหัวเซี่ย ’ ‘เผ่าตงอี๋ (’และ ‘เผ่าเหมียวหมาน’ โดยชนเผ่าหัวเซี่ยอยู่ภายใต้การนำของหวงตี้และเหยียนตี้ ซึ่งแต่เดิมกลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในแถบมณฑลเสียซีในปัจจุบัน ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปทางทิศตะวันออก บ่อยครั้งที่พวกเขาต้องทำสงครามกับชนเผ่าตงอี๋ที่มาจากตะวันตกและพวกเหมียวหมานที่มาจากทิศเหนือ

จากตำนานว่าด้วยสงครามที่จัวลู่ หวงตี้และเหยียนตี้รบชนะชนเผ่าตงอี๋ที่นำโดยชือโหยว ทำให้อิทธิพลของชนเผ่าหัวเซี่ยขยายออกไปจนจรดมณฑลชานตงในปัจจุบัน ภายหลัง เพราะเพื่อการแย่งชิงอำนาจกัน หวงตี้และเหยียนตี้ได้ทำสงครามกันที่ปั่นเฉวียน สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้ซึ่งเดิมครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือก็แผ่ขยายอิทธิพลลงใต้ จนถึงลุ่มน้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ถึงตอนนี้ชนเผ่าหัวเซี่ยก็แผ่ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หวี เซี่ย และโจว ในยุคต่อมา ล้วนเป็นเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งสิ้น

สังคมก่อนประวัติศาสตร์นั้น เนื่องจากกำลังการผลิตยังน้อย ผู้คนจึงได้แต่อาศัยการรวมพลังกันจึงจะสามารถอยู่รอดได้ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำงานและมีการแบ่งสันปันส่วนอาหาร และเพื่อการอยู่รอดอีกทั้งมีการพัฒนาต่อไปนี้เอง พวกเขาจึงต้องคัดเลือกหัวหน้าที่ฉลาด มีความสามารถและยุติธรรม เพื่อเป็นผู้นำในการผลิต และสามารถต่อสู้กับผู้รุกรานจากภายนอกอีกด้วย

คำเล่าขานในประวัติศาสตร์โบราณระบุว่า เหยา สืบทอดให้ซุ่น ซุ่นสืบทอดให้หวี่ หวี่สืบทอดให้เกาเถา และเมื่อเกาเถาตายลง อี้ ซึ่งได้รับเลือกเป็นทายาทสืบตำแหน่งหัวหน้าก็จะทำหน้าที่นำเผ่าต่อ หัวหน้าเผ่าผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดแต่อย่างใดเลย พวกเขาต่างได้รับเลือกจากความสามารถแท้ๆ โดยทางประวัติศาสตร์แล้วเราเรียกวิธีปฏิบัติเช่นนี้ว่า “การสละราชบัลลังก์” ซึ่งยุคนี้ผู้คนยังมีความเท่าเทียมกัน ทรัพย์สินทั้งหมดถือเป็นของส่วนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการแย่งชิงและโจรผู้ร้าย นักโบราณคดีเรียกสังคมในยุคนี้ว่า ‘สังคมเอกภาพ

ชุมชนในยุคนั้น ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติที่รุนแรงท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาตัวเอง อันจะเห็นได้จากเรื่องเล่าขานโบราณเกี่ยวกับต้าหวี่ปราบอุทกภัย โดยเริ่มจากสมัยเหยาที่ต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งร้ายแรง จึงสั่งให้กุ่น ซึ่งเป็นบิดาของหวี่ไปหาทางแก้ไข กุ่นได้ใช้วิธีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทว่าหลังจากทำงานด้วยความอุตสาหะอยู่ 9 ปี ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น เมื่อซุ่นสั่งให้หวี่กั้นน้ำ หวี่ที่ได้รับสืบทอดประสบการณ์จากกุ่น จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีการขุดคลองเพื่อชักน้ำ เขามุ่งมั่นนำพาพลเมืองให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถึงกับไม่กลับบ้าน เป็นเวลา 8 ปี (บ้างว่า 13 ปี) ในที่สุดก็สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นผลสำเร็จ เรื่องเล่าขานนี้ได้สะท้อนถึงสภาพจิตใจของชุมชนที่ไม่หวั่นหวาดครั่นคร้ามต่อภัยธรรมชาติ

เมื่อกำลังการผลิตมีเพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลผลิตที่เหลือจากความต้องการ เหล่าเชลยศึกที่ถูกจับมาก็ไม่ถูกสังหาร แต่จะถูกนำตัวมาเป็นทาสเพื่อบังคับให้เป็นแรงงานในการผลิต โดยผลผลิตที่ได้จะตกเป็นของนายทาสนั้น สภาพการณ์เช่นนี้ ได้ก่อรูปรากฏการณ์สำคัญคือ การยึดกรรมสิทธิครอบครองทรัพย์สิน นักโบราณคดีได้ค้นพบว่าในวัฒนธรรมหลงซาน นั้น ในการฝังศพ นอกจากโลงที่บรรจุศพนั้นแล้ว ยังมีข้าวของเครื่องใช้ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงฐานะความร่ำรวยทางสังคม บางหลุมมีเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก หยกหินประดับ งาช้างและเขี้ยวฟันล่างของหมู เป็นต้น บางหลุมศพมีขนาดไม่ใหญ่นักและมีเครื่องปั้นดินเผาเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีศพที่ฝังโดยไม่มีโลง อีกทั้งไม่มีสิ่งของที่ฝังพร้อมศพมาด้วย มีบ้างถึงกับถูกทิ้งอยู่ตามอุโมงค์ห้องใต้ดินหรือแม้แต่ลำห้วย

ทั้งนี้ ก็เพราะได้มีกลุ่มผู้นำจำนวนหนึ่งใช้อำนาจสิทธิพิเศษสร้างความร่ำรวย ทำให้เกิดความแตกต่างของกลุ่มคนรวยคนจน จนกลายเป็นความเหลี่ยมล้ำที่รุนแรงในสังคม สภาพโครงสร้างสังคมที่ยังเป็นยุคดึกดำบรรพ์นี้ เริ่มกลายเป็นสังคมลำดับชั้นขึ้น อันเป็นสัญญาณของการสิ้นสุดยุคสมัย ระหว่างนี้ เริ่มมีการทำสงครามแย่งชิงทรัพย์สินเงินทองและแรงงานทาสระหว่างชนเผ่าเกิดขึ้น และเพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู ก็ได้มีการสร้างคูกำแพงเมือง อีกทั้งยังมีการผลิตอาวุธเพื่อเตรียมพร้อมรบทุกเมื่ออีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดกฎระเบียบใหม่ ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นำชนเผ่าที่ได้รับสิทธิพิเศษ พวกเขาละทิ้งหลักปฏิบัติเดิมของสังคมเอกภาพ การ ‘สละราชบัลลังก์’ ถูกระบบใหม่กลืนหายสูญพันธุ์ไปในที่สุด

สังคมเอกภาพดับสูญลงเมื่อเซี่ยหวี่ตายลง บุตรชายของหวี่ก็สังหารอี้เพื่อแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้า และเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าโดยสายเลือดในระบบวงศ์วานว่านเครือ ซึ่งเรียกกันว่าสังคมกินดีอยู่ดี จากนั้นมา ประวัติศาสตร์จีนก็ก้าวเข้าสู่ราชวงศ์แรกที่มีการสืบทอดบัลลังก์อำนาจโดยสายเลือด นั่นคือ สมัยราชวงศ์เซี่ย








เตียบ่อกี้
#2   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 22:25:35 ]

ราชวงศ์เซี่ย (2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


ราชวงศ์เซี่ยถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่เริ่มระบบการปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับยุคสมัยเซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่ ถึงลวี่กุ่ย หรือเซี่ยเจี๋ย ในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน

การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว เป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่ บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่าง ๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของเขา

กลุ่มฮู่ซื่อไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบ การคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กานฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น เครื่องมือเสื่ยงทาย

ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อย ๆพัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาดประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้

ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คังได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋วสังหารแล้ว เส้าคัง (ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา

นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันว่า ‘ไท่คังเสียเมือง อี้ยึดครองเซี่ย และเส้าคังฟื้นฟูเซี่ย ’ "ติ่ง" ทำจากดินเผา เป็นเครื่องมือในการหุงหาอาหาร

เมื่อถึงปลายราชวงศ์เซี่ย ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวาย ภายนอกก่อหวอดไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย ได้ขึ้นครองบัลลังก์(ช่วงก่อนคริสศักราช 1763 ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย ร่ำดื่มสุรานารีทุกคืนวัน โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์

ไพร่ฟ้าจึงพากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้าง ‘ฟ้ากำหนด’ กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนันเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน





เตียบ่อกี้
#3   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 22:45:12 ]

ราชวงศ์ซาง(1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


"ติ่ง" 4 ขา สมัยซาง ใช้ในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและบ่งบอกฐานะทางสังคม

ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์”

มังกรหยกสลัก เครื่องประดับสมัยซาง

เมื่อราชวงศ์ซางสืบทอดอำนาจแทนราชวงศ์เซี่ยแล้ว ก็ถือเป็นยุคสมัยที่สองของประเทศจีนที่มีสืบทอดอำนาจแบบสันตติวงศ์ จากสมัยของรัชสมัยไท่อี่หรือซางทัง จนถึง ตี้ซิ่งหรือซางโจ้ว ทั้งสิ้น 17 รุ่น 31 รัชกาล รวมระยะเวลากว่า 600 ปี

หลังจากที่ซางทังก่อตั้งประเทศแล้ว เนื่องจากได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์เซี่ย จึงเลิกการกดขี่บังคับราษฎรเช่นอย่างในสมัยของเซี่ยเจี๋ย โดยหันมาใช้หลักเมตตาธรรมในการปกครอง ทำให้การเมืองภายในของราชวงศ์ซางค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ไม่ค่อยมีความขัดแย้ง สภาพทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพ กำลังทหารก็เข้มแข็งมากขึ้น จึงเริ่มทำสงครามกับแว่นแคว้นรอบนอก ซึ่งโดยมากก็ประสบชัยชนะ ดังในบันทึกของเมิ่งจื่อ เมธีแห่งสำนักปรัชญาของขงจื้อ ระบุไว้ว่า ‘ทังสู่สนามรบโดยไร้ผู้ต่อต้าน’ สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การปกครองของซางทัง จีนได้กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งทางการทหาร

“ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซางทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์”

หยกสลักรูปคน เครื่องประดับสมัยซาง


ในรัชสมัยของซางทังผู้ปกครองพระองค์แรก มีเสนาบดีที่ฉลาดปราดเปรื่องคอยช่วยเหลืออยู่ถึง 2 คน ได้แก่ อีหยิ่น และจ้งฮุย จากหลักฐานบันทึกว่า พวกเขาทั้งสองมีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดินไม่น้อยทีเดียว โดยหลังจากพวกเขาดำรงตำแหน่งเสนาบดีซ้ายขวาแล้ว ก็มีผลงานดีเด่นในการบริหารบ้านเมือง รักษาความสงบ และพัฒนาการผลิต เป็นต้น หลังจากจ้งฮุยเสียชีวิต บทบาททางการเมืองของอีหยิ่นก็ยิ่งโดดเด่นมากขึ้น จนกลายเป็นเสนาบดีเก่าแก่คนสำคัญในรัชสมัยซางทังจนถึงไท่เจี่ย

หลังจากซางทังสิ้นพระชนม์ เนื่องจากบุตรชายคนโตไท่ติง ได้เสียชีวิตไปก่อน ดังนั้นราชบัลลังก์จึงตกเป็นของบุตรชายคนรองชื่อไว่ปิ่ง เมื่อไว่ปิ่งเสียชีวิต น้องชายของเขาจงเหยิน ก็สืบตำแหน่งต่อมา เมื่อจงเหยินสิ้นชีวิตลง ราชบัลลังก์ก็ส่งผ่านไปยังบุตรชายของไท่ติง อันได้แก่ ไท่เจี่ย ซึ่งก็ถือว่าเป็นรุ่นหลานของซางทัง

จากบันทึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยชนเผ่ายิน กล่าวว่า “ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซางทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์ จากนั้น ไท่เจี่ยก็ปกครองแผ่นดินด้วยเมตตาธรรม กระทั่งเหล่าขุนนางยอมสยบ ไพร่ฟ้าอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นี่เป็นเรื่องเล่าที่แสดงว่า อีหยิ่นเป็นผู้ธำรงการปกครองโดยหลักธรรม ทำให้ราชวงศ์ซางสามารถปกครองแผ่นดินด้วยความสงบร่มเย็นมาเป็นเวลานาน และได้กลายเป็นเรื่องเล่าขานต่อมา จนทำให้ชื่อเสียงของอีหยิ่น ได้รับการเชิดชูและนำมาใช้เรียก ผู้ที่มีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงส่ง

จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิงนับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซาง อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ราชวงศ์ซางก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง จนสุดท้ายในรัชสมัยผานเกิงได้ย้ายเมืองหลวงไปเมืองยิน


หงส์หยกสลัก เครื่องประดับสมัยซาง

ทว่า การปกครองด้วยการแบ่งชนชั้น ย่อมไม่อาจสลายความละโมบในอำนาจและการแก่งแย่งผลประโยชน์ภายในวังหลวงได้ บันทึกประวัติศาสตร์ของชนเผ่ายิน ระบุไว้ว่า “นับแต่รัชสมัยจ้งติงเป็นต้นมา ผู้ปกครองได้ละทิ้งความชอบธรรม แต่งตั้งเชิดชูแต่พวกพ้อง เหล่าญาติมิตรต่างพากันแบ่งฝักฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจ เกิดความวุ่นวายไม่หยุดหย่อน เป็นเหตุให้เหล่าขุนนางกบฏก่อศึกล้มล้างราชบัลลังก์”

จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิงนับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซาง อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง

มีหลักฐานระบุว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง ได้แก่ รัชสมัยจ้งติงย้ายจากเมืองป๋อไปเมืองอ๋าว รัชสมัยเหอตั้นเจี่ยย้ายจากอ๋าวไปเมืองเซี่ยง รัชสมัยจู่อี่ย้ายไปเมือง... รัชสมัยหนันเกิงย้ายไปเมืองอั่นและรัชสมัยผานเกิงย้ายจากเมืองอั่นไปเมืองเป่ยเหมิงหรือเมืองยิน

ภาชนะบรรจุเหล้ารูปนกทำด้วยสำริด สมัยซาง

ทว่าในปัจจุบัน นักโบราณคดียังค้นพบหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ของสมัยซางเพียง4แห่ง ได้แก่ ร่องรอยโบราณสถานเอ้อหลี่โถวที่เมืองเหยี่ยนซือ เมืองซางโบราณที่เมืองเจิ้นโจวและเมืองเหยี่ยนซือ อีกทั้งซากเมืองยินโบราณที่อันหยางเท่านั้น ร่องรอยของนครโบราณที่ค้นพบมีอาณาบริเวณที่กว้างขวางมาก โดยมีพื้นที่เฉลี่ยมากกว่า 30,0000 – 40,000 ตารางเมตร สำหรับซากทางโบราณคดีที่ขุดพบได้แก่ ร่องรอยของฐานรากพระราชวัง สุสานและโรงงานหัตถกรรม เป็นต้น ในบริเวณซากเมืองโบราณเอ้อหลี่โถว ยังพบร่องรอยพระราชวังครอบคลุมพื้นที่ถึง 10,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ที่เมืองเหยี่ยนซือและเจิ้งโจวยังค้นพบกำแพงเมืองขนาดใหญ่ สำหรับซากเมืองยินที่เมืองอันหยาง ก็พบลานบูชาเทพเจ้าขนาดมหึมาในบริเวณสุสานกษัตริย์อีกด้วย

จากจารึกหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณนี้ได้ทราบว่า ในสมัยซางได้มีการจัดระเบียบโครงสร้างของรัฐอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีการแบ่งเป็นหน่วยงานราชการ การตระเตรียมคลังอาวุธยุทโธปกรณ์ มีระบบการปกครอง การกำหนดกฎหมายและการลงโทษ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีเพียงแต่ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจากเมืองต่างๆดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่อาจแกะรอยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของเหตุการณ์จากหลักฐานเหล่านี้ จะมีก็เพียงข้อสันนิษฐานว่า ซากเมืองยินที่อันหยางเป็นนครหลวงของราชวงศ์ซาง ตั้งแต่รัชสมัยของผานเกิงและผู้ปกครองในยุคต่อมาจวบจนสิ้นราชวงศ์เท่านั้น ที่ค่อนข้างเป็นที่น่าเชื่อถือได้

ในรัชสมัยของอู่ติง ถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของยุคสำริดเลยทีเดียว ได้พบว่ามีร่องรอยการใช้เทคนิคในการแยกหลอมอย่างแพร่หลาย มีการหลอมสร้าง ‘โอ่วฟางอี๋’ที่เป็นภาชนะใส่เหล้าในสมัยโบราณและ ‘ติ่ง’ซึ่งมีรูปร่างเป็นหม้อโลหะขนาดใหญ่ มีสามขาใช้ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าและใช้แสดงศักดิ์ฐานะทางสังคม ที่เป็นเครื่องใช้โลหะขนาดใหญ่ได้แล้ว

ภาชนะบรรจุเหล้าทำด้วยสำริด สมัยซาง

การโยกย้ายนครหลวงของราชวงศ์ซางดังกล่าว ทำให้นักโบราณคดีตั้งข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน ทว่าจากบันทึกซ่างซูในสมัยผานเกิง จะพบว่าการย้ายนครหลวงกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ถึงแม้ว่าในบันทึกผานเกิงได้กล่าวถึงสาเหตุการย้ายเมืองหลวงว่า ‘เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร’ทว่า สำหรับผู้ที่ไม่ยอมฟังคำสั่งแล้วเขาได้กล่าวไว้ว่า ‘ข้าฯจะประหารให้สิ้น มิให้เชื้อร้ายลามสู่นครหลวงแห่งใหม่’ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงการต่อสู้ภายในที่ดุเดือด หลังจากย้ายนครหลวงมาที่นครยินแล้ว การขัดแย้งภายในราชวังหลวงก็ผ่อนคลายลง จึงเริ่มมีการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น รัชสมัยของผานเกิงจึงถือเป็นยุคฟื้นฟู และได้วางรากฐานในการเข้าสู่ยุคทองในรัชสมัยอู่ติง

อู่ติงเป็นบุตรของเซี่ยวอี่ ซึ่งเป็นน้องของผานเกิง ดังนั้นอู่ติงจึงเป็นหลานของผานเกิงนั่นเอง เมื่อผานเกิงยังเยาว์วัยนั้น เซี่ยวอี่ผู้เป็นบิดาได้ส่งให้เขาไปใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านระยะหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงทราบดีถึงความลำบากยากแค้นของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้น เมื่อเขาขึ้นสู่อำนาจจึงมุ่งมั่นบริหารแผ่นดินด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ในรัชสมัยนี้ อู่ติงได้ยกทัพปราบปรามชนเผ่ารอบข้างไม่น้อย การใช้กำลังทหารมีตั้งแต่การใช้กำลังพลนับพัน จนถึงที่เป็นทัพใหญ่บางครั้งถึงหมื่นคน การปราบปรามครั้งนี้ ราชวงศ์ซางได้ขยายดินแดนออกไปไม่น้อย กวาดต้อนตัวประกันกลับมาจำนวนมาก ดังนั้นจึงพบความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่จากการขุดพบเป็นจำนวนมาก เช่น จากซากพระราชวัง สุสานและโรงงาน เป็นต้น

ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์”

ภาชนะบรรจุเหล้ารูปหมูทำด้วยสำริด สมัยซาง

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนากำลังการผลิตที่เป็นเครื่องมือสำริดในยุคนี้อีกด้วย ที่โดดเด่นคือ ได้พบว่ามีร่องรอยการใช้เทคนิคในการแยกหลอมอย่างแพร่หลาย จากการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากโลหะ เช่นทองแดง ตะกั่ว และดีบุก อีกทั้งปริมาณการผลิตเครื่องมือสำริดก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีการหลอมสร้าง ‘โอ่วฟางอี๋’ที่เป็นภาชนะใส่เหล้าในสมัยโบราณและ ‘ติ่ง ซึ่งมีรูปร่างเป็นหม้อโลหะขนาดใหญ่ มีสามขาใช้ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าและใช้แสดงศักดิ์ฐานะทางสังคม ที่เป็นเครื่องใช้โลหะขนาดใหญ่ได้แล้ว ในรัชสมัยของอู่ติงนี้ ถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของยุคสำริดเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการทอ การแพทย์ การคมนาคมและดาราศาสตร์ เป็นต้น ความเจริญในยุคอู่ติงนี้ ยังเป็นรากฐานความรุ่งเรืองทางสังคมในปลายราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวตะวันตกในยุคต่อมา

ในปี 1899 ได้มีการค้นพบจารึกอักษรจารบนกระดูก ของสมัยซางโดยบังเอิญ การค้นพบครั้งนี้ ทำให้ข้อถกเถียงเรื่องการคงอยู่ของราชวงศ์ซาง เป็นที่รับรองโดยทั่วไป และถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซางเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์อีกด้วย สำหรับอักษรจารกว่า 150,000 ชิ้นที่พบบริเวณซากเมืองยินในอันหยางนั้นเนื้อหาประกอบด้วย จารึกเสี่ยงทาย ซึ่งเป็นบันทึกสภาพสังคมและเรื่องราวต่าง ๆในสมัยราชวงศ์ซางโดยทั่วไป เมื่อผ่านการเรียบเรียงและทำการศึกษาวิจัยแล้ว พบว่า จารึกเหล่านี้ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการเปิดเส้นทางการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์ซาง

ขวานสำริดรูปหน้าสัตว์ สมัยซาง

การบูชาเทพเจ้ามีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในประเทศจีน ซึ่งนักโบราณคดีต่างก็ได้ค้นพบหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สังคมเกษตรกรรมเป็นต้นมา ผู้คนก็พากันร้องขอให้เทพประทานลมฝนที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมาให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดามาก การเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือการนับถือผี ก็มีที่มาจากความต้องการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วในครอบครัว จึงเกิดการสมมติเป็นภาพจากที่เคยพบเห็น ผู้คนเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ก็เพื่ออ้อนวอนขอให้บรรพบุรุษให้ความคุ้มครองปกปักษ์รักษา ในสมัยเซี่ย ได้เริ่มมีการสักการะฟ้าเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการนับถือศาสนา เนื่องจากผู้ปกครองสูงสุดในขณะนั้น ต้องการปกป้องอำนาจของตน จึงนำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและลัทธิการบูชาธรรมชาติมารวมกัน เกิดเป็น ‘ฟ้า’ หรือ ‘ฮ่องเต้’ ซึ่งมีลักษณะของเทพเจ้าขึ้นมา

จากหลักฐานดังกล่าว ได้พบว่า ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่พบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์” โดยใช้คำขวัญว่า “ฟ้ากำหนด” เพื่อกระตุ้นความฮึกหาญของกองทัพและเหล่าผู้ร่วมสวามิภักดิ์และเป็นการแสวงหาความชอบธรรมเมื่อก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ โดยเชื่อว่า เทพแห่งฟ้าและเทพแห่งดินหรือซางอ๋อง นั้นเป็นสิ่งคู่กัน เพื่อปฏิบัติภารกิจจากฟ้า เทพแห่งดินจึงต้องใช้พิธีกรรมในการติดต่อกับฟ้า ดังนั้น ขณะที่ซางอ๋องเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จึงใช้เครื่องบูชาทั้ง 5 สิ่ง เพื่อทำพิธีที่บริเวณลานเซ่นไหว้ในเขตสุสานหลวงบริเวณเมืองยินหรืออันหยางในปัจจุบัน นักโบราณคดีได้ขุดพบร่องรอยการบูชาในหลุมฝังศพนับพันแห่ง และพบว่าในสมัยอู่ติง นั้น ถึงกับมีการใช้คนหลายร้อยคนเป็นเครื่องสังเวยในพิธีบูชาดังกล่าวอีกด้วย ทำให้เห็นว่าในสมัยซางนั้นให้ความสำคัญต่อการเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นอย่างมาก เนื่องจากฮ่องเต้ก็คือเทพเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเทพที่เป็นบรรพบุรุษนั่นเอง

ขวานสำริดรูปหน้าคน สมัยซาง


หลังจากอู่ติงสิ้นพระชนม์ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองก็สิ้นสุดลงภายในเวลาไม่นานนัก เมื่อมาถึงรัชสมัยของจู่เกิง และจู่เจี่ย จวบกระทั่งรัชสมัยตี้อี่และตี้ซิ่งนั้น ศึกขัดแย้งทางการเมืองภายในก็ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก ขุนนางรอบข้างต่างลุกฮือขึ้นต่อต้าน แม้ว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงนี้ แต่ซางโจ้วหรือตี้ซิ่ง กลับไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ทั้งไม่รับฟังคำตักเตือนจากผู้หวังดี ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งยิ่งโหมกระพือความขัดแย้งภายในเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ก็เปิดศึกกับเผ่าตงอี๋ เพิ่มภาระอันหนักอึ้งให้กับประชาชน และทำให้สูญเสียกำลังทหารภายในประเทศอีกด้วย ดังนั้น เมื่อโจวอู่หวัง ยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน ซางโจ้วจึงได้แต่รวบรวมกำลังพล เพื่อออกไปรับศึก ผลสุดท้ายกำลังทหารฝ่ายซางขาดกำลังใจในการรบ กลับเป็นฝ่ายยอมแพ้เปิดทางให้กับโจวอู่หวัง เมื่อเห็นดังนั้น ซางโจ้วจึงหอบทรัพย์สมบัติหลบหนีไปยังเมืองลู่ไถ สุดท้ายเสียชีวิตที่นั่น ราชวงศ์ซางจึงถึงกาลสิ้นสุด.
















เตียบ่อกี้
#4   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 22:51:07 ]

ราชวงศ์โจวตะวันตก (1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

แผนที่แว่นแคว้นต่าง ๆและเมืองหลวงเฮ่าจิงสมัยโจวตะวันตก

" โจวอู่หวังจึงเลือกใช้นโยบาย ‘เมืองหน้าด่าน’ โดยมอบหมายให้ญาติพี่น้องและขุนนางที่มีความดีความชอบออกไปปกครองยังดินแดนต่าง ๆ ตั้งให้เป็นผู้ครองแคว้น โดยผู้ครองแคว้นจะได้รับอำนาจในการปกครองดินแดนรอบนอกผืนหนึ่ง อีกทั้งพวกเขาเหล่านั้นยังถือเป็นผู้พิทักษ์ราชสำนักโจวอีกด้วย "

โจวมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมอาศัยอยู่ในแถบเสียกาน ต่อมาอพยพไปตั้งรกรากยังโจวหยวนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอฉีซานมณฑลส่านซีของจีน เมื่อ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าต้นตระกูลโจวก็มีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น พวกเขาทางหนึ่งรวบรวมรัฐเล็ก ๆรอบข้างเข้ามา อีกทางหนึ่งโยกย้ายนครหลวงจากโจวหยวนมายังดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเฟิง หรืออำเภอฉางอานในปัจจุบัน โดยตั้งเป็นเมืองเฟิงจิง จากนั้นแพร่ขยายอิทธิพลไปทางทิศตะวันออก ทำให้เกิดข้อพิพาทกับราชวงศ์ซาง

ขณะนั้นราชวงศ์ซางในรัชสมัยตี้ซิ่งหรือซางโจ้วนั้น ได้กักขังซีป๋อชั่ง(หรือต่อมาเป็นโจวเหวินหวังผู้นำของราชวงศ์โจว)ไว้ที่โหย่วหลี่มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ขุนนางของโจวถวายหญิงงามและเพชรนิลจินดามากมายให้แก่ซาง ตี้ซิ่งจึงยอมปล่อยตัวซีป๋อชั่ง เมื่อซีป๋อชั่งกลับถึงรัฐของตน ก็เร่งระดมพลเพื่อยกทัพบุกซาง ในเวลานั้น การเมืองภายในราชวงศ์ซางล้มเหลวฟอนเฟะ เกิดการแตกแยกทั้งภายในนอก โจวเหวินหวัง เห็นว่าสถานการณ์สุกงอมแล้ว ขณะตนใกล้สิ้นลมจึงกำชับสั่งเสียให้บุตรชายไท่จื่อฟา หรือโจวอู่หวัง รวบรวมไพร่พลยกทัพบุกซาง


ป้อมที่คุมขังโจวป๋อชั่งหรือโจวเหวินหวัง


เมื่อโจวอู่หวังขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากโจวเหวินหวัง ก็กรีฑาทัพครั้งใหญ่โดยมี พลรถ 300 พลทหารราบ 450,000 หน่วยกล้าตาย 3,000 มุ่งสู่ตะวันออก ระหว่างทางบรรดารัฐเล็ก ๆได้แก่ ยง สู เชียง จง เวย หลู เผิง ผู เป็นต้นต่างยอมสวามิภักดิ์เข้าร่วมกับกองทัพ โจวอู่หวังได้ประกาศโทษทัณฑ์ความผิดของซางโจ้ว ซางโจ้วจึงจัดทัพ 170,000 ออกมาสู้รบด้วยโจวอู่หวัง ทว่าเหล่าทหารของซางไม่มีกำลังใจสู้รบ ต่างพากันทิ้งอาวุธหลบหนี เป็นเหตุให้ทัพโจวได้ชัยชนะ ฝ่ายซางโจ้วหลบหนีไป ภายหลังเสียชีวิตที่ลู่ไถ ราชวงศ์ซางจึงล่มสลาย นับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์จีนก็เข้าสู่ยุคราชวงศ์โจว

โจวอู่หวังเมื่อได้ชัยชนะเหนือซางแล้ว ก็เข้าครอบครองดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของซาง อีกทั้งยังปราบปรามรัฐเล็ก ๆ รอบข้าง ทว่าปัญหาอันหนักอึ้งที่โจวอู่หวังต้องเผชิญก็คือการจะรักษาผืนแผ่นดินตะวันออกนี้ไว้ได้อย่างไร ดังนั้น เขาจึงเลือกใช้นโยบาย ‘เมืองหน้าด่าน’ โดยมอบหมายให้ญาติพี่น้องและขุนนางที่มีความดีความชอบออกไปปกครองยังดินแดนต่าง ๆ ตั้งให้เป็นผู้ครองแคว้น โดยผู้ครองแคว้นจะได้รับอำนาจในการปกครองดินแดนรอบนอกผืนหนึ่ง อีกทั้งพวกเขาเหล่านั้นยังถือเป็นผู้พิทักษ์ราชสำนักโจวอีกด้วย

นอกจากนี้ โจวอู่หวังยังแต่งตั้งให้อู่เกิง บุตรของซางโจ้วดูแลแคว้นซาง เพื่อสามารถควบคุมชาวซางต่อไป โดยส่งน้องชายของเขา ได้แก่ ก่วนซู่ ไช่ซู่ และฮั่วซู่ ให้คอยตรวจสอบอู่เกิง นอกจากนี้ ยังแต่งตั้งให้โจวกงตั้น ไปปกครองแคว้นหลู่ ส่วนเจียงซ่างไปปกครองแคว้นฉี และเส้ากงซื่อ ไปครองแคว้นเอี้ยน

หลังจากโจวอู่หวังสิ้นพระชนม์ เฉิงหวัง บุตรชายของเขาได้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่เนื่องจากยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงมอบหมายให้โจวกงตั้นหรือโจวกง เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เป็นเหตุให้ก่วนซู่และไช่ซู่ไม่พอใจโจวกง จึงปล่อยข่าวใส่ร้ายโจวกงกล่าวหาว่าวางแผนชิงบัลลังก์ ต่อมา อู่เกิงก็เข้าร่วมกับก่วนซู่และไช่ซู่รวบรวมแว่นแคว้นเล็ก ๆ ทางภาคตะวันออก อันได้แก่สวี เหยี่ยน ป๋อกู เป็นต้น เพื่อเป็นฐานก่อการกบฏ โจวกงจึงต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม โดยใช้เวลา 3 ปี สุดท้ายจึงสามารถปราบกบฏอู่เกิง ก่วนซู่และไช่ซู่ลงได้ ประหารอู่เกิงและก่วนซู่ เนรเทศไช่ซู่ จากการปราบกบฏครั้งนี้ ทำให้ราชวงศ์โจวมีรากฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้น

สืบเนื่องจากโจวอู่หวังเมื่อล้มล้างราชวงศ์ซางแล้ว ก็กลับไปนครหลวงเฮ่าจิง (ย้ายมาจากเฟิงจิง)แล้วพบว่า ระยะทางระหว่างเมืองเฮ่าจิงกับศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่อยู่ห่างไกลกันเกินไป ดังนั้นจึงคิดจะย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ในแถบลุ่มแม่น้ำอีและแม่น้ำลั่ว ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชนเผ่าเซี่ยมาแต่เดิม แต่ความคิดนี้ยังไม่ทันได้เป็นจริง ก็ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน จากจารึกที่ขุดได้จากเมืองเป่าจีพบว่า โจวเฉิงหวัง เมื่อได้สืบทอดราชบัลลังก์แล้ว ก็ได้สานต่อแนวปณิธานของโจวอู่หวัง โดยกำหนดตั้งเมืองหลวงใหม่บริเวณลุ่มแม่น้ำอีและแม่น้ำลั่วซึ่งอยู่ใกล้เมืองลั่วหยัง ในปัจจุบัน โดยใช้เมืองใหม่นี้เป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ ซึ่งก็สามารถร่นระยะทางไปได้มากทีเดียว

เพราะเพื่อการนี้ เฉิงหวังได้เคยแต่งตั้งให้เส้ากงซื่อหรือเส้ากง ไป ‘สำรวจ’ละแวกเมืองลั่วหยัง ไม่นานนัก เมืองหลวงแห่งใหม่คือ ลั่วอี้หรือนครหลวงตะวันออก ก็รวมเข้ากับเมืองเฮ่าจิง เมืองหลวงเดิมซึ่งโจวอู่หวังได้สร้างไว้ กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การปกครอง และการทหารของราชวงศ์โจวตะวันตก และเพื่อล้มล้างแนวคิดกอบกู้บ้านเมืองของประชาชนชาวซาง เฉิงหวังจึงอพยพชาวยินหรือซางเข้าสู่เมืองเฉิงโจวเมืองหลวงแห่งใหม่

"เมื่อโจวหวังพระราชทานที่ดินและไพร่พลให้แก่บรรดาเจ้าแคว้นนั้น ก็ต้องจัดพิธีรับที่ดินและไพร่พลนั้น เหล่าเจ้าครองแคว้นที่ได้รับการแต่งตั้ง ต้องมีกำหนดเวลาแน่นอนเพื่อเข้าเฝ้าโจวหวัง โดยมีภารกิจในการปกป้องราชสำนักโจว พวกเขายังจะต้องส่งบรรณาการให้กับโจวหวังด้วย (รวมทั้งการเกณฑ์ทหารไพร่พล) หากไม่ส่งบรรณาการก็จะถือว่าคิดการก่อกบฏต่อราชสำนัก

ขวานสำริดซึ่งโจวอู่หวังพระราชทานเป็นเครื่องยศให้คังซู่เมื่อครั้งไปครองเมืองเว่ย


เนื่องจากโจวกง ได้สำเร็จราชการเมื่อครั้งอยู่ที่นครเฮ่าจิงหรือนครหลวงตะวันตกมาโดยตลอด ดังนั้นบุตรชายคนโตของเขาชื่อป๋อฉิน จึงได้รับสืบทอดตำแหน่งเจ้าแคว้นหลู่ต่อจากบิดา ในปัจจุบันได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีพบซากเมืองโบราณแห่งนี้ที่เมืองชวีฝู่ของมณฑลซานตง

ส่วนเจียงซ่าง ที่ได้รับแต่งตั้งไปครองแคว้นฉี ปัจจุบันคือเมืองหลินจือในมณฑลซานตง และเส้ากง ที่ครองแคว้นเอี้ยน ปัจจุบันคือเขตฝางซานในปักกิ่ง ก็ได้มีการขุดพบซากเมืองและสุสานของเจ้าแคว้นเอี้ยนอีกด้วย

ภายหลังเหตุการณ์ปราบกบฏอู่เกิงสงบราบคาบลง โจวอู่หวังก็ได้พระราชทานดินแดนซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอู่เกิงให้กับน้องชายชื่อคังซู่ โดยแต่งตั้งเป็นเจ้าแคว้นเว่ย ซึ่งปัจจุบันได้ขุดพบซากเมืองโบราณของแคว้นเว่ยในอำเภอซวิ่นมณฑลเหอหนัน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้แต่งตั้งเวยจื่อ ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดาของซางโจ้วกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง ที่ไม่ได้เข้าร่วมในการก่อกบฏอู่เกิงขึ้นเป็นเจ้าแคว้นซ่ง ปัจจุบันคือเมืองซางชิวในมณฑลเหอหนัน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแคว้นเว่ย

ต่อมา เมื่อโจวเฉิงหวัง ปราบแคว้นถัง ได้แล้ว ก็มอบดินแดนที่ยึดมาได้ให้กับถังซู่อวี๋ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องปกครอง แล้วตั้งเป็นแคว้นจิ้น ปัจจุบันมีการขุดพบร่องรอยทางโบราณคดีที่เขตต่อแดนระหว่างเมืองอี้และฉวี่เยว่ในมณฑลซานซี

บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นเหล่านี้ มักมีเรื่องขัดแย้งกันบ้าง มีสัมพันธไมตรีต่อกันบ้าง บางครั้งยังคานอำนาจซึ่งกันและกันเอง สภาพการปกครองเช่นนี้ส่งผลให้ในช่วงต้นของราชวงศ์โจวมีความสงบและมั่นคงทางการเมือง ดังคำกล่าวที่ว่า ‘ยุคทองแห่งเฉิงหวัง 40 ปีไม่ต้องใช้โทษทัณฑ์’ แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมในสมัยโจวเฉิงหวังภายหลังเหตุการณ์ปราบกบฏอู่เกิงแล้ว ราชวงศ์โจวได้มีความสันติสุขระยะหนึ่ง

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ไพร่พลชาวโจวกลับต้องผ่านการศึกสงคราม เพื่อขยายดินแดนออกไปทางตอนใต้อันได้แก่ ปา ผู เติ้ง ฉู่ ทางตอนเหนือจรดดินแดนซู่เซิ่น เอี้ยน ป๋อ ทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเล ทิศตะวันตกจรดกาน ชิง รวมเป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่กว่าในสมัยราชวงศ์ซางเสียอีก

ราชวงศ์โจวได้วางระบบการปกครองภายในที่ค่อนข้างจะประสบผลสมบูรณ์ มีการกำหนดบทลงโทษที่เป็นระบบกว่าในสมัยซาง มีการเตรียมกองกำลังทหารเป็นจำนวนมากกว่าสมัยซาง ถึงกับมีคำกล่าวว่า ‘ภายใต้แผ่นฟ้านี้ ผืนดินและไพร่พลล้วนเป็นของโจวหวัง*’ ดังนั้น เมื่อโจวหวังพระราชทานที่ดินและไพร่พลให้แก่บรรดาเจ้าแคว้นนั้น ก็ต้องจัดพิธีรับที่ดินและไพร่พลนั้น เหล่าเจ้าครองแคว้นที่ได้รับการแต่งตั้ง ต้องมีกำหนดเวลาแน่นอนเพื่อเข้าเฝ้าโจวหวัง โดยมีภารกิจในการปกป้องราชสำนักโจว พวกเขายังจะต้องส่งบรรณาการให้กับโจวหวังด้วย (รวมทั้งการเกณฑ์ทหารไพร่พล) หากไม่ส่งบรรณาการก็จะถือว่าคิดการก่อกบฏต่อราชสำนัก ต้องได้รับโทษทัณฑ์ ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป บรรดาเจ้าครองแคว้นก็มักมีการตัดแบ่งหรือแลกเปลี่ยนดินแดนกันเอง จึงค่อย ๆเปลี่ยนที่ดินเป็นของตนเอง ขณะเดียวกันก็มีการบุกเบิกผืนที่ดินทำกินแหล่งใหม่มากขึ้น เมื่อมีที่นาเป็นของตัวเองมากขึ้น ย่อมก่อให้เกิดภาวะที่เป็นการบ่อนทำลายต่อระบบการทำนารวมเกิดขึ้น

ในสมัยโจวตะวันตกนี้สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีความก้าวหน้ายิ่งกว่าราชวงศ์ซาง มีการใช้ทาสจำนวนมากในกระบวนการผลิต ก่อให้เกิดภาวะแรงงานเหลือใช้ในสังคม ซึ่งทำให้อาชีพงานช่างฝีมือต่าง ๆได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น การผลิตเครื่องมือสำริดก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก นอกเหนือจากโรงงานเครื่องมือสำริดที่ควบคุมโดยราชสำนักแล้ว เหล่าเจ้าครองแคว้นต่างก็มีโรงงานสำริดเป็นของตนเอง เครื่องมือสำริดยิ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น จนแทบจะครอบคลุมในทุกด้านของวิถีชีวิต อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความเจริญในสาขาอาชีพอื่น ๆอีกด้วย

การใช้ตัวอักษรก็ยิ่งแพร่หลายมากขึ้น นอกจากการจารอักษรลงบนกระดูกสัตว์แล้ว ในบรรดาแผ่นจารึกที่ทำจากทองแดงนับหมื่นชิ้นที่ขุดพบล้วนมีจารึกตัวอักษร ซึ่งบันทึกเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ชิ้นที่พบบันทึกอักษรมากที่สุดมีถึง 499 ตัวอักษร เทียบเท่ากับเอกสารชิ้นหนึ่งในเวลานั้นเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในเชิงวิชาการและเทคโนโลยีทางด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การช่างทอง การก่อสร้าง ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์เป็นต้น ความสำเร็จเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตและการผลิตของคนในสมัยนั้น นักโบราณคดีได้ขุดพบเครื่องมือเหล็กกล้าที่สร้างจากแรงงานมนุษย์ภายในสุสานสมัยปลายราชวงศ์โจวตะวันตก ซึ่งแสดงว่า อย่างน้อยในสมัยนั้น ผู้คนเริ่มรู้จักเทคนิคในการตีเหล็กแล้ว การค้นพบครั้งนี้ บ่งชี้ว่าในขณะที่มนุษย์ปรับตัวอยู่ในท่ามกลางการต่อสู้ของโลกภายนอก ก็ได้ศึกษาและฝึกฝนทักษะวิธีการใหม่ ๆที่ให้ผลที่ดีกว่าเดิม

อักษรจีนที่แกะสลักลงบนภาชนะ ‘กุ้ย’

เมื่อมาถึงรัชกาลโจวลี่หวัง ภายในเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นตามลำดับ ลี่หวังที่ขูดรีดภาษีอย่างหนัก ข่มเหงราษฎร อีกทั้งปิดกั้นผู้คนไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์การปกครอง จนกระทั่งก่อนคริสต์ศักราช 841 เกิดการลุกฮือภายในขึ้น ลี่หวังหนีไปเมืองจื้อ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอฮั่วในมณฑลซานซี) ประชาชนจึงพากันสนับสนุนให้โจวติ้งกง และเจามู่กง ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ร่วมกันบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่มีการบันทึกเหตุการณ์โดยระบุเวลาที่แน่นอน

ต่อมาเมื่อโจวเซวียนหวัง ได้สืบบัลลังก์ต่อมา เนื่องจากได้รับบทเรียนข้างต้น จึงปรับเปลี่ยนนโยบายการปกครองเสียใหม่ และเพื่อขจัดภัยคุกคามจากชนเผ่าหรงตี๋ ที่อยู่ทางตอนเหนือ จึงต้องทำศึกป้องกันอาณาเขตอีกครั้ง สุดท้ายได้รับชัยชนะกลับมา นอกจากนี้ยังประสบชัยในการสงครามกับแคว้นจิงฉู่ และหวยอี๋ ดังนั้น จึงได้รับการเรียกขานเป็นยุค ‘ฟื้นฟู’ ทว่า สังคมโดยรวมยังคงตกอยู่ภายใต้มรสุมแห่งความขัดแย้งภายในต่อไป


วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นในห้วงประวัติศาสตร์มักจะไม่เท่าเทียมกัน อาทิ ในสมัยซางและโจวดินแดนในเขตจงหยวน ได้เข้าสู่ความรุ่งเรืองของยุคสำริด ในขณะที่ดินแดนรอบนอกของโจว ยังคงล้าหลังอยู่มาก ดังนั้น ภายใต้แรงดึงดูดของผลประโยชน์และเงินทอง สงครามระหว่างชาวโจวและแว่นแคว้นอื่น ๆก็มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งโจวเจาหวัง ยกทัพบุกชนเผ่าหมาน ซึ่งอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำฉางเจียง(แยงซีเกียง)และแม่น้ำฮั่นสุ่ย แต่ต้องรับศึกหนักจากการต่อต้านอย่างเข้มแข็งของชาวเผ่าหมาน กองทัพของโจวสูญเสียกำลังไพร่พลแทบหมดสิ้น เจาหวังเองก็สิ้นชีพที่แม่น้ำฮั่นสุ่ย การศึกครั้งนี้ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในยุคต้นราชวงศ์โจวตะวันตกเลยทีเดียว

นับแต่นั้นมาราชวงศ์โจวตะวันตกก็ขาดความสามารถในการควบคุมแว่นแคว้นต่าง ๆทางตอนใต้ไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าภายหลังโจวมู่หวัง และโจวเซวียนหวัง ก็เคยยกทัพลงใต้ ทว่ายังคงไม่อาจพลิกผันสถานการณ์ใดๆได้มากนัก ชนเผ่าตงอี๋ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกก็เริ่มรุกล้ำเข้ามาในชายแดนโจว ทำให้โจวต้องมีการศึกรบติดพันมาโดยตลอด

ครั้งหนึ่ง แคว้นเอ้อ ไม่ยอมส่งบรรณาการให้กับโจว ทั้งยังยกไพร่พลรุกเข้ามาถึงรอบนอกเมืองลั่วอี้ นครหลวงตะวันออก ทำความตื่นตระหนกให้กับบรรดาขุนนางในราชสำนัก โจวเซวียนหวังจัดส่งกองทัพพิทักษ์นครหลวงทั้งสอง เข้าต่อกร แต่ก็ไม่อาจต้านทานไว้ได้ ภายหลังได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากบรรดาเจ้าแคว้นที่อยู่รอบข้าง จึงสามารถเอาชนะได้ในที่สุด

ยังมีพวกเฉวี่ยนหรง ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดในยุคโจวตะวันตก ในรัชกาลโจวมู่หวัง พวกเฉวี่ยนหรงเริ่มแข็งแกร่งขึ้น กั้นขวางหนทางการติดต่อของราชวงศ์โจวกับแคว้นต่าง ๆในแถบตะวันตกเฉียงเหนือ ดังนั้น โจวมู่หวังจึงต้องยกกองทัพปราบเฉวี่ยนหรงจนได้ชัยชนะ จึงโยกย้ายชาวเฉวี่ยนหรงจำนวนหนึ่งมาสู่ดินแดนไท่หยวน เปิดเส้นทางติดต่อระหว่างโจวและแคว้นต่าง ๆทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ภายหลังพวกเฉวี่ยนหรงยังคงบุกรุกตามชายแดนโจวอีกหลายครั้ง ต่อมาในรัชสมัยโจวโยวหวัง ซึ่งเป็นบุตรของโจวเซวียนหวัง ลุ่มหลงในตัวนางสนมเปาซื่อ ถึงกับคิดสังหารรัชทายาทอี๋จิ้ว เพื่อแต่งตั้งบุตรชายของนางเปาซื่อนามป๋อฝู เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ เนื่องจากมารดาของอี๋จิ้วเป็นบุตรีของเจ้าแคว้นเซิน เป็นเหตุให้เจ้าแคว้นเซินร่วมมือกับพวกเฉวี่ยนหรงบุกโจมตีโจวตะวันตก สังหารโจวโยวหวัง ณ เชิงเขาหลี่ซาน อีกทั้งฉวยโอกาสปล้นสะดมทรัพย์สินมีค่าภายในเมืองไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์โจวตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย











เตียบ่อกี้
#5   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 22:57:22 ]

สมัยชุนชิวจั้นกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ห้านักปราชญ์ซึ่งถือเป็นผู้นำทางความคิดในสมัยชุนชิวจั้นกว๋อได้แก่ เหลาจื่อ สวินจื่อ จวงจื่อ ม่อจื่อและขงจื่อ ตามลำดับจากซ้ายมาขวา


“การแย่งชิงอำนาจเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำในจงหยวนนั้น เริ่มต้นจาก ฉีหวนกงเจ้าแคว้นฉีมอบหมายให้เสนาบดีก่วนจ้ง แก้ไขปรับปรุงระบบการปกครองภายใน ทำให้แคว้นฉีเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งยังดำเนินกุศโลบายเรียกร้องให้ ‘พิทักษ์โจว ปราบอี๋’ นั่นคือพิทักษ์ราชสำนักโจวและร่วมมือปราบปรามชนเผ่านอกจงหยวน”

ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ผู้นำจะรักษาฐานอำนาจการปกครองของตนโดยมีตำแหน่ง ‘เจ้าแห่งฟ้า’ ซึ่งมีศักดินาสูงสุด อีกทั้งสามารถห้ามไม่ให้บรรดาเจ้าแคว้นร่วมมือหรือรบพุ่งซึ่งกันและกัน เมื่อโจวผิงหวัง ย้ายเมืองหลวงไปตะวันออก (ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โจวตะวันตกและเริ่มเข้าสู่ยุคโจวตะวันออก) ราชสำนักโจวก็อ่อนแอลง จึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือเหล่าแว่นแคว้นต่าง ๆอีก ทำให้เกิดเป็นสภาวะสุญญากาศทางการเมืองขึ้นในภูมิภาคนี้

ขณะเดียวกัน ชนเผ่าหมาน อี๋ และหรงตี๋ ที่อยู่รอบนอกตามตะเข็บชายแดน ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากแผ่นดินจงหยวน(ดินแดนแถบที่ราบภาคกลางของจีน) อีกทั้งมีการผสมผสานระหว่างชนเผ่า ทำให้ชุมชนเหล่านี้เจริญก้าวหน้าตามติดมาอย่างกระชั้นชิด ในขณะที่แว่นแคว้นต่าง ๆในแถบจงหยวนมีเงื่อนไขของความเจริญรุดหน้าที่ไม่ทัดเทียมกัน มีบ้างเข้มแข็ง บ้างอ่อนแอ ดังนั้น ทั่วทั้งภูมิภาคจึงเกิดการจับขั้วของอำนาจระหว่างแคว้น มีทั้งความร่วมมือและแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ดังนั้น ในยุคราชวงศ์โจวตะวันออกจึงเป็นยุคที่มีความพลิกผันทางการเมืองอย่างสูง แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการรวมประเทศจีนในอนาคต

โจวผิงหวังเมื่อย้ายนครหลวงไปยังตะวันออก ดินแดนฝั่งตะวันตกก็กลายเป็นแคว้นฉิน ครอบคลุมเขตแดนของชนเผ่าหรง และดินแดนโดยรอบ กลายเป็นแคว้นที่เข้มแข็งทางตะวันตก สำหรับแคว้นจิ้น ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานซี ส่วนแคว้นฉี และหลู่ อยู่ในมณฑลซานตง แคว้นฉู่ อยู่ในมณฑลหูเป่ย สำหรับปักกิ่งและดินแดนทางตอนเหนือของมณฑลเหอเป่ยในปัจจุบันเป็นแคว้นเอี้ยน นอกจากนี้ทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียงก่อเกิดเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆมากมาย อาทิ แคว้นอู๋ แคว้นเยว่ เป็นต้น ล้วนเกิดจากการรวบรวมแว่นแคว้นเล็กที่อยู่โดยรอบเขตแดนของตน จนกระทั่งมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเองประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงกลายสมรภูมิเลือดแห่งการแย่งชิงอำนาจของเจ้าแคว้นเหล่านี้

การแย่งชิงอำนาจเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำที่ครองอำนาจเด็ดขาดในจงหยวนนั้น เริ่มต้นจาก ฉีหวนกงเจ้าแคว้นฉีมอบหมายให้เสนาบดีก่วนจ้ง แก้ไขปรับปรุงระบบการปกครองภายใน ทำให้แคว้นฉีเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งยังดำเนินกุศโลบายเรียกร้องให้ ‘พิทักษ์โจว ปราบอี๋’ นั่นคือพิทักษ์ราชสำนักโจวและร่วมมือปราบปรามชนเผ่านอกจงหยวน อาทิเช่น ร่วมมือกับแคว้นเอี้ยนปราบชนเผ่าหรง หรือร่วมมือกับแคว้นต่าง ๆหยุดยั้งการรุกรานของชนเผ่าตี๋ เป็นต้น


นอกจากนี้ ในปี656 ก่อนคริสตศักราช แคว้นฉียังร่วมกับแคว้นหลู่ ซ่ง เจิ้ง เฉิน เว่ย สวี่ และเฉา ยกทัพปราบแคว้นฉู่ เพื่อทวงถามบรรณาการให้กับราชสำนักโจว แต่เดิมแคว้นฉู่มีกำลังทหารที่เข้มแข็ง แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการศึกปีแล้วปีเล่า อีกทั้งระย่อต่อความฮึกหาญของฉีหวนกง จึงได้แต่ยอมทำสัญญาสงบศึก หลังจากนั้น ฉีหวนกงก็เรียกชุมนุมบรรดาเจ้าแคว้นต่าง ๆอีกหลายครั้ง ราชสำนักโจวก็ส่งตัวแทนเข้าร่วมการชุมนุมด้วย ยิ่งเป็นการเสริมสร้างอำนาจบารมีให้กับฉีหวนกงกลายเป็นผู้นำในดินแดนจงหยวน

เมื่อแคว้นฉีเป็นใหญ่ในดินแดนจงหยวน แคว้นฉู่ซึ่งจึงได้แต่ขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ เมื่อสิ้นฉีหวนกงแล้ว แคว้นฉีเกิดการแย่งชิงอำนาจภายใน เป็นเหตุให้อ่อนแอลง แคว้นฉู่จึงได้โอกาสขยับขยายขึ้นเหนือมาอีกครั้ง ซ่งเซียงกง เจ้าแคว้นซ่งคิดจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำจงหยวนแทนฉีหวนกง จึงเข้าต่อกรกับแคว้นฉู่ สุดท้ายแม้แต่ชีวิตก็ต้องสูญสิ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ แคว้นพันธมิตรที่เคยอยู่ภายใต้การนำของแคว้นฉี อาทิ แคว้นหลู่ ซ่ง เจิ้ง เฉิน ไช่ สวี่ เฉา เว่ย เป็นต้น ต่างก็พากันหันมาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับแคว้นฉู่ แทน

ในขณะที่แคว้นฉู่คิดจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวนนั้นเอง แคว้นจิ้น ก็เข้มแข็งขึ้นมา -- จิ้นเหวินกง หลังจากที่ระหกระเหินลี้ภัยการเมืองไปยังแคว้นต่าง ๆนั้น เมื่อได้กลับสู่แว่นแคว้นของตน ก็ทำการปรับการปกครองภายในครั้งใหญ่ เพิ่มความเข้มแข็งทางการทหาร อีกทั้งยังคิดแย่งชิงตำแหน่งผู้นำจงหยวน

ขณะนั้นโจวเซียงหวัง ผู้นำของราชวงศ์โจวตะวันออกถูกบุตรชายสมคบกับชาวตี๋ ขับไล่ออกจากวัง จิ้นเหวินกงเห็นว่าเป็นโอกาสในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวน จึงนัดแนะบรรดาเจ้าแคว้นต่าง ๆ เพื่อล้มบัลลังก์ขององค์ชายผู้ทรยศ จากนั้นจัดส่งโจวเซียงหวังกลับสู่ราชสำนักโจว จึงได้รับ ‘ธวัชเชิดชูเกียรติ’ ต่อมาในปี 632 ก่อนคริสตศักราช กองทัพของจิ้นและฉู่สองแคว้นเข้าปะทะกันที่เมืองผู ทัพจิ้นได้ชัยเหนือทัพฉู่ หลังการศึกครั้งนี้ จิ้นเหวินกงเรียกประชุมแคว้นพันธมิตร โจวหวังก็เข้าร่วมประชุมด้วย และได้ประทานตำแหน่ง ผู้นำจงหยวนให้กับจิ้นเหวินกง

ในช่วงเวลาแห่งการแย่งตำแหน่งผู้นำจงหยวนระหว่างแคว้นจิ้นและฉู่นั้นเอง แคว้นฉี และฉินได้กลายเป็นขั้วมหาอำนาจทางทิศตะวันออกและตะวันตกไป ในช่วงปลายยุคชุนชิว แคว้นฉู่ร่วมมือกับฉิน แคว้นจิ้นจับมือกับฉี สองฝ่ายต่างมีกำลังที่ทัดเทียมกัน ทว่า สภาวะแห่งการแก่งแย่งตำแหน่งผู้นำจงหยวนกลับทวีความขัดแย้งทางการเมืองภายในของแต่ละแคว้นมากขึ้น ดังนั้น จึงถึงจุดสิ้นสุดของยุคผู้นำที่ ‘ชูธงนำทัพ’ออกปราบปรามบรรดาชนเผ่าภายนอก เมื่อถึงปีก่อนคริสตศักราช 579 แคว้นซ่งทำสัญญาพันธมิตรกับแคว้นจิ้นและฉู่ว่าต่างฝ่ายจะไม่โจมตีกัน มีการส่งทูตเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างกัน จะให้ความช่วยเหลือเมื่ออีกฝ่ายตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และจะเข้าร่วมรบต้านทานศัตรูจากภายนอก

‘ธงนำทัพ’เป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความร่วมมือและการแย่งชิงอำนาจของผู้นำจงหยวน การยกเลิก‘ธงนำทัพ’ยังเป็นการสะท้อนถึงความพยายามของบรรดาแว่นแคว้นเล็ก ๆที่ต้องการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากการควบคุมของแคว้นมหาอำนาจอีกด้วย

ในปี 575 ก่อนคริสตศักราช แคว้นจิ้นและฉู่เปิดศึกครั้งใหญ่ที่เยียนหลิง ฉู่พ่ายแพ้ และเมื่อปี 557 ก่อนคริสตศักราช สองแคว้นเปิดศึกอีกครั้งที่จั้นป่าน ฉู่พ่ายแพ้อีกครั้ง ในช่วงเวลานี้ ก็มีการศึกระหว่างแคว้นอีกหลายครั้งเช่น แคว้นจิ้นกับฉิน จิ้นกับฉี จิ้นล้วนเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ จนกระทั่งปี 546 ก่อนคริสตศักราช แคว้นซ่ง ร่วมกับแว่นแคว้นอื่นอีกนับสิบแคว้น ทำสัญญาทางไมตรีกับจิ้นและฉู่อีกครั้ง โดยสัญญาดังกล่าวระบุว่า “นับแต่นี้ไป บรรดาเจ้าครองแคว้นเล็ก ๆทั้งหลายจะจัดส่งบรรณาการให้กับแคว้นจิ้นและฉู่โดยเท่าเทียมกัน” ดังนั้น แคว้นจิ้นและฉู่จึงถือว่าได้แบ่งปันอำนาจกันฝ่ายละกึ่งหนึ่ง

ในขณะที่แคว้นจิ้นและฉู่เข้าแย่งชิงอำนาจผู้นำจงหยวนนั้นเอง ทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียงก็ได้ก่อเกิดแคว้นอู๋ และแคว้นเยว่ ขึ้น แคว้นจิ้นได้จับมือกับแคว้นอู๋ เพื่อต้านทานอำนาจฉู่ ดังนั้น ระหว่างแคว้นอู๋และฉู่จึงเกิดศึกกันหลายครั้ง ในปี 506ก่อนคริสตศักราช แคว้นอู๋ยกทัพบุกแคว้นฉู่ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยสามารถรุกเข้าถึงเมืองหลวงของฉู่ นับแต่นั้นมา กำลังอำนาจของแคว้นฉู่ก็ถดถอยลง

ในขณะที่แคว้นจิ้นจับมือแคว้นอู๋เพื่อจัดการแคว้นฉู่ แคว้นฉู่ก็ร่วมมือกับแคว้นเยว่เพื่อป้องกันอู๋ ดังนั้น ระหว่างแคว้นอู๋และแคว้นเยว่จึงเกิดศึกไม่ขาด เจ้าแคว้นอู๋นามเหอหลี เสียชีวิตในสมรภูมิรบ ราชบุตรฟูไช สาบานว่าจะพิชิตโกวเจี้ยน เจ้าแคว้นอู๋ เพื่อล้างแค้นให้กับบิดา และในปีถัดมาเมื่อโกวเจี้ยนยกทัพมาอีกครั้งจึงต้องพ่ายแพ้กลับไป โกวเจี้ยนแสร้งว่ายอมศิโรราบ ถึงกับยอมทน ‘นอนบนพื้นหญ้า ลิ้มชิมดีขม’ เพื่อสั่งสมกำลังพล รอจังหวะโอกาสอันดีขณะที่ฟูไชเจ้าแคว้นอู๋ขึ้นเหนือเพื่อช่วงชิงตำแหน่งผู้นำจงหยวนกับแคว้นจิ้นนั้นเอง โกวเจี้ยนก็ยกทัพบุกเมืองหลวงของแคว้นอู๋ ฟูไชได้แต่รีบกลับมาเจรจายอมสงบศึก แต่ต่อมาอีกไม่นานนัก แคว้นเยว่ก็สามารถบุกทำลายแคว้นอู๋ลงได้อย่างราบคาบ จากนั้นโกวเจี้ยนก็ขยายอิทธิพลขึ้นเหนือ เพื่อเข้าร่วมชุมนุมเจ้าแคว้นเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวน

ในยุคชุนชิว [ปี 770-476 ก่อนคริสตศักราช] นี้ ความร่วมมือและสู้รบของแคว้นต่าง ๆ นอกจากเป็นการกระตุ้นความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของแว่นแคว้นและดินแดนต่าง ๆแล้ว ยังมีส่วนช่วยเร่งเร้าการหลอมรวมเผ่าพันธุ์ระหว่างชนเผ่าให้เป็นหนึ่งเดียวอีกด้วย หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โยกย้ายผลัดเปลี่ยนฝักฝ่ายแล้ว บรรดาเจ้าแคว้นขนาดเล็กก็ทยอยถูกกลืนโดย 7 นครรัฐใหญ่ และแคว้นรอบข้างอีกสิบกว่าแคว้น

“ฉินหวังเจิ้ง หรือต่อมาจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้สืบราชบัลลังก์นครรัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่นเว่ยเหลียว หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการถากถางเส้นทางในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 นครรัฐ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครองของนครรัฐทั้ง 6 อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า กระทั่งทลายอำนาจของ 6 นครรัฐอำนาจใหญ่ และประเทศจีนก็รวมเป็นหนึ่งเดียว”

ยุคจั้นกว๋อ

เมื่อเข้าสู่ยุคจั้นกว๋อ หรือยุคสงคราม [ปี 475-221 ก่อนคริสตศักราช] จึงมีสภาพโดยรวมดังนี้ นครรัฐฉู่ คุมทางตอนใต้ นครรัฐเจ้า คุมทางเหนือ นครรัฐเอี้ยน คุมตะวันออกเฉียงเหนือ นครรัฐฉี คุมตะวันออก นครรัฐฉิน คุมตะวันตก โดยมีนครรัฐหาน นครรัฐวุ่ย อยู่ตอนกลาง ซึ่งในบรรดานครรัฐทั้ง 7 นี้ มี 3 นครรัฐใหญ่ที่ครอบคลุมดินแดนลุ่มน้ำหวงเหอหรือฮวงโหจากทิศตะวันตกสู่ตะวันออกอันได้แก่นครรัฐฉิน วุ่ยและฉี ซึ่งมีกำลังอำนาจยิ่งใหญ่ทัดเทียมกัน

นับจากวุ่ยเหวินโหว เจ้านครรัฐวุ่ยขึ้นสู่อำนาจในช่วงก่อนคริสตศักราช 400 ซึ่งอยู่ในยุคปลายชุนชิวเป็นต้นมา ก็ได้นำพาให้นครรัฐวุ่ยก้าวขึ้นสู่ความเป็นรัฐมหาอำนาจในแผ่นดินจงหยวน เมื่อนครรัฐวุ่ยเข้มแข็งขึ้น เป็นเหตุให้นครรัฐหาน เจ้า และฉินต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งกันไม่หยุดหย่อน

ในช่วงก่อนคริสตศักราช 354 นั้นเอง นครรัฐเจ้า โจมตีแคว้นเว่ย นครรัฐวุ่ยเห็นว่าแคว้นเว่ยเป็นแคว้นในปกครองของตน จึงนำทัพบุกนครหานตาน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของนครรัฐเจ้า นครรัฐเจ้าหันไปขอความช่วยเหลือจากนครรัฐฉี นครรัฐฉีจึงส่งแม่ทัพเถียนจี้ ไปช่วยนครรัฐเจ้า เถียนจี้ใช้กลศึกของซุนปิน เข้าปิดล้อมนครต้าเหลียง เมืองหลวงของวุ่ย เวลานั้นถึงแม้ว่ากองทหารของวุ่ยจะสามารถเข้าสู่นครหานตานได้แล้ว ทว่ากลับจำต้องถอนกำลังเพื่อย้อนกลับไปกอบกู้สถานการณ์ของรัฐตน สุดท้ายเสียทีทัพฉีที่กุ้ยหลิง ถูกตีแตกพ่ายกลับไป และในปีถัดมา นครรัฐวุ่ยและหานก็ร่วมมือกันโจมตีทัพฉีแตกพ่าย เมื่อถึงปี 342 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐวุ่ยโจมตีนครรัฐหาน นครรัฐหานขอความช่วยเหลือจากนครรัฐฉี นครรัฐฉีจึงมอบหมายให้แม่ทัพเถียนจี้ออกศึกอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีซุนปินเป็นที่ปรึกษาในกองทัพ วางแผนหลอกล่อให้ทัพวุ่ยเข้าสู่กับดักที่หม่าหลิง ที่ซึ่งธนูนับหมื่นของทัพฉีเฝ้ารออยู่ ความพ่ายแพ้คราวนี้ผังเจวียน แม่ทัพใหญ่ของนครรัฐวุ่ยถึงกับฆ่าตัวตาย รัชทายาทของนครรัฐวุ่ยถูกจับเป็นเชลย ‘การศึกที่หม่าหลิง’ จึงนับเป็นการศึกครั้งสำคัญในยุคจั้นกว๋อ เนื่องจากได้สร้างดุลอำนาจทางตะวันออกระหว่างนครรัฐฉีและนครรัฐวุ่ยให้มีกำลังทัดเทียมกัน

ส่วนนครรัฐฉิน ภายหลังการปฏิรูปของซางเอียง โดยหันมาใช้กฎหมายในการปกครองแล้ว สามารถก้าวกระโดดขึ้นสู่ความเป็นรัฐมหาอำนาจที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดา 7 นครรัฐ ดังนั้นจึงเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลสู่ตะวันออก เริ่มจากปราบซันจิ้น** (ได้แก่นครรัฐหาน เจ้าและวุ่ย) โดยเข้ายึดดินแดนฝั่งตะวันตกของนครรัฐวุ่ย จากนั้นขยายออกไปยังทิศตะวันตก ทิศใต้และเหนือ เมื่อถึงปลายปี 400 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉินก็มีดินแดนกว้างใหญ่ใกล้เคียงกับนครรัฐฉู่

ในขณะที่นครรัฐฉินเข้าโรมรันพันตูกับซันจิ้นนั้น นครรัฐฉีก็แผ่ขยายอำนาจออกไปทางตะวันออก ในปี 315 ก่อนคริสตศักราช เจ้านครรัฐเอี้ยนสละบัลลังก์ให้แก่เสนาบดีจื่อจือ เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายภายใน นครรัฐฉีจึงฉวยโอกาสนี้บุกโจมตีนครรัฐเอี้ยน แต่สุดท้ายประชาชนนครรัฐเอี้ยนลุกฮือขึ้นก่อหวอด เป็นเหตุให้กองทัพฉีต้องล่าถอยจากมา ขณะเดียวกัน รัฐที่สามารถต่อกรกับนครรัฐฉินได้มีเพียงนครรัฐฉีเท่า กลยุทธชิงอำนาจใหญ่ที่สำคัญในขณะนั้นคือ ฉินและฉี ต้องหาทางให้นครรัฐฉู่มาเสริมพลังของตนให้ได้


การปฏิรูปทางการเมืองของนครรัฐฉู่ล้มเหลว เป็นเหตุให้รัฐอ่อนแอลง แต่ก็ยังมีดินกว้างใหญ่ไพศาล อีกทั้งประชากรจำนวนมากเป็นกำลังหนุน นครรัฐฉู่ร่วมมือกับนครรัฐฉีต่อต้านฉิน ส่งผลกระทบต่อการขยายดินแดนของนครรัฐฉิน ดังนั้นเอง นครรัฐฉินจึงส่งจางอี้ ไปเป็นทูตสันถวไมตรีกับนครรัฐฉู่ ชักชวนให้ฉู่ละทิ้งฉีเพื่อหันมาร่วมมือกับนครรัฐฉิน โดยฉินจะยกดินแดนซาง กว่า 600 ลี้ให้เป็นการแลกเปลี่ยน ฉู่หวยหวัง เจ้านครรัฐฉู่ละโมบโลภมากจึงแตกหักกับนครรัฐฉี ต่อเมื่อเจ้านครรัฐฉู่ส่งคนไปขอรับที่ดินดังกล่าว นครรัฐฉินกลับปฏิเสธไม่รับรู้เรื่องราว ฉู่หวยหวังโมโหโกรธา จึงจัดทัพเข้าโจมตีนครรัฐฉิน แต่กลับเป็นฝ่ายแพ้พ่ายกลับมา นครรัฐฉู่เมื่อถูกโดดเดี่ยวและอ่อนแอ นครรัฐฉินจึงบุกเข้ายึดดินแดนจงหยวนได้อย่างวางใจ โดยเริ่มจาก นครรัฐหาน และวุ่ย จากนั้นเป็นนครรัฐฉี

เมื่อถึงปี 286 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉีล้มล้างแคว้นซ่ง เป็นเหตุให้แคว้นใกล้เคียงหวาดระแวง นครรัฐฉินจึงนัดหมายให้นครรัฐหาน เจ้า วุ่ยและเอี้ยนโจมตีนครรัฐฉีจนแตกพ่าย นครรัฐเอี้ยนที่นำทัพโดยแม่ทัพเล่ออี้ ฉวยโอกาสบุกนครหลินจือเมืองหลวงของนครรัฐฉีและเข้ายึดเมืองรอบข้างอีก 70 กว่าแห่ง ฉีหมิ่นหวัง เจ้านครรัฐฉีหลบหนีออกนอกรัฐ สุดท้ายถูกนครรัฐฉู่ไล่ล่าสังหาร นครรัฐฉีที่เคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรต้องจบสิ้นลงในลักษณะนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ นครรัฐฉินจึงได้โอกาสแผ่อิทธิพลเข้าสู่ภาคตะวันออก

ในปี 246 ก่อนคริสตศักราช ฉินหวังเจิ้ง (หรือต่อมาคือฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน) ได้สืบราชบัลลังก์นครรัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่นเว่ยเหลียว หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการถากถางเส้นทางในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 นครรัฐ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครองของนครรัฐทั้ง 6 อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า เมื่อถึงปี 230 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉินโจมตีนครรัฐหานแตกพ่ายไป เมื่อถึงปี 221 ก่อนคริสตศักราชกำจัดนครรัฐฉีสำเร็จ จากนั้น 6 นครรัฐต่างก็ทยอยถูกนครรัฐฉินกวาดตกเวทีอำนาจใหญ่ไป นับแต่นั้นมา ประเทศจีนก็รวมเป็นหนึ่งเดียว


ปัจจัยเร่งการรวมแผ่นดิน อาจกล่าวได้ว่า การรวมแผ่นดินจีนของนครรัฐฉิน เกิดขึ้นจากแนวทางวิวัฒนาการของสังคมมาตั้งแต่สมัยชุนชิว หากเทียบกับสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกและตะวันออกแล้ว จะเห็นว่ามีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆเช่น การทำเหมืองแร่ การแพทย์ การหลอมโลหะ ฯลฯ ซึ่งมีผลงานใหม่ ๆออกมามากมาย อาทิ เทคนิคการขุดบ่อโดยทำคันกั้นปากบ่อไม่ให้ดินถล่มลงมา ทำให้ต่อมาสามารถขุดหลุมลึกเพื่อทำเหมืองทองแดงได้ และเมื่อได้เรียนรู้กรรมวิธีในการทำให้ยางเป็นกำมะถันแล้ว ก็สามารถขยายผลโดยนำทองแดงที่ได้จากเหมืองมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานฝีมือในการเชื่อมโลหะ การเลี่ยม การทำทองและเทคนิคการหลอมโลหะด้วยแบบพิมพ์ขี้ผึ้ง เป็นต้น ทำให้ประเทศจีนก้าวสู่ความรุ่งเรืองของยุคสำริด

เมื่อยุคเหล็กกล้าปรากฏขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางสมัยจั้นกว๋อ ซึ่งขณะนั้น เครื่องมือทางการเกษตรและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆที่ทำด้วยเหล้ากล้า ได้ค่อย ๆเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางการผลิตในสังคมอย่างมาก การแบ่งงานในสังคมมีความละเอียดซับซ้อนมากขึ้น แต่ละสาขาอาชีพมีความเติบโตก้าวหน้า มีการผลิตและการเคลื่อนตัวของสินค้าขนานใหญ่ กิจการค้าขายที่เติบโตราวกับติดปีก การขยายตัวของผลผลิตนี้ก่อเกิดเป็นชนชั้นเจ้าที่ดินกลุ่มใหม่ขึ้น ส่งผลคุกคามต่อวิถีการผลิตแบบเก่า นำสู่การปฏิรูปทางการผลิตครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ทว่า ระบอบการปกครองแบบศักดินาก็เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกและสงครามโรมรันพันตู อันสร้างความเสียหายให้กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล เป็นต้นเหตุแห่งการสูญเสียทั้งกำลังคนและแรงงานฝีมือจำนวนมาก จากการบาดเจ็บล้มตายในสมรภูมิรบอันยาวนาน

ขณะเดียวกัน ก็มีกฎข้อห้ามและด่านตรวจจำนวนมากระหว่างนครรัฐต่างๆ ซึ่งขัดขวางการเลื่อนไหลของศิลปวัฒนธรรมในสังคม ดังนั้น จึงมีแต่การรวมแผ่นดิน ที่สามารถผลักดันให้สังคมมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เกษตรกร และประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างรอคอยและมุ่งหวังการรวมแผ่นดิน แม้ว่าจะต้องอาศัยการทำสงคราม และในที่สุด การพลิกโฉมครั้งสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ชนชาติจีน ก็เป็นจริง

ฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งได้แล้ว ก็ริเริ่มระบบการปกครองแบบใหม่อีกครั้ง โดยยกเลิกระบบเมืองหน้าด่าน หันมาแบ่งเป็นเขตการปกครอง รวบอำนาจการปกครองให้ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง อีกทั้งจัดวางมาตรฐานของระบบตัวอักษร การชั่งตวงวัด ถนนหนทางและเส้นทางการคมนาคม ให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วประเทศ ส่งผลต่อสภาพสังคมจีนอย่างมากมายมหาศาล การที่ฉินรวมประเทศจีนเป็นหนึ่ง ได้ทำให้จีนก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่

*ยุคชุนชิว ในภาษาจีนหมายถึงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เป็นการสื่อถึงสภาพความเป็นไปในยุคชุนชิวว่าเหมือนดั่งฤดูกาลแห่งความเปลี่ยนแปลงที่พลิกผันไม่แน่นอน

**ซันจิ้น มาจากแคว้นจิ้นอันยิ่งใหญ่ในสมัยชุนชิว ภายหลังแตกออกเป็นสามนครรัฐได้แก่ นครรัฐหาน เจ้าและวุ่ย
















เตียบ่อกี้
#6   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 23:02:06 ]

ราชวงศ์ฉิน


“ฉินผู้ผนึกรวมแผ่นดินใหญ่แห่งจีนและแชมป์สร้างสิ่งมหัศจรรย์โลก ดับวูบลงในชั่วเวลาอันแสนสั้น เนื่องเพราะการใช้อำนาจเหล็กอย่างโหดร้ายทารุณ ทว่า อิทธิพลฉินก็หยั่งรากครอบงำจีนในหลายด้านมาตลอดประวัติศาสตร์กว่า 2 พันปี รวมทั้งคุณูปการอันมหาศาลในการช่วยรักษาเอกภาพแผ่นดินจีนมาตลอดด้วยมาตรฐานวัฒนธรรมที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงสร้างขึ้น”

กำแพงเมืองจีน หนึ่งในผลงานมหัศจรรย์ของจิ๋นซีฮ่องเต้

การปฏิรูปซางหยางขับดันให้การพัฒนาของฉิน 1 ใน 7 รัฐใหญ่แห่งยุคจ้านกั๋วหรือยุคสงคราม พุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว พลังอันแข็งแกร่งทางทหารและความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ฉินพิชิตรัฐใหญ่ทั้งหกได้อย่างง่ายดาย ระหว่าง 26 ปี นับจากช่วงที่ฉินหวางเจิ้งก้าวสู่บัลลังก์กษัตริย์ กระทั่งปีที่เขาสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนที่เรียกกันว่าฉินสื่อหวงตี้หรือในภาษาแต้จิ๋วที่คุ้นหูคนไทยคือ จิ๋นซีฮ่องเต้ พระองค์พิชิตชัยชนะในการรัมโรมศึกกับบรรดารัฐใหญ่ร่วมยุคสมัยทั้งหมดได้แก่ หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ในที่สุด ฉินก็บรรลุการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นแผ่นดินใหญ่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง

ฉินสื่อหวงตี้ได้กำหนดมาตรการหลายอย่างเพื่อสร้างเสริมความแข็งแกร่งแก่อำนาจส่วนกลาง และรวบรวมเอกภาพแห่งชาติ อำนาจสูงสุดอยู่ในมือของจักรพรรดิ ขณะที่เหล่าขุนนางใหญ่มีสิทธิเพียงถกเถียงและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการของรัฐ โดยไม่มีสิทธิในการตัดสินใจใดๆ สำหรับรัฐบาลกลางประกอบด้วย 3 ขุนนางใหญ่คือ เฉิงเซี่ยง(อัครเสนาบดี) เป็นผู้ช่วยมีอำนาจรองจากจักรพรรดิช่วยบริหารบ้านเมือง ยวี่สื่อต้าฟู(ที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ) คอยกำกับดูแลข้าราชบริพารทุกระดับชั้น และไท่เว่ย(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) รับผิดชอบกิจการทหาร ดินแดนทั้งหมดถูกแบ่งเป็นเขตการปกครอง 36 แห่ง ซึ่งแบ่งย่อยออกไปเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน รัฐอนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งมีระบบทะเบียนสำมะโนประชากรที่เป็นเอกภาพและเหนียวแน่นบังคับใช้ทั่วประเทศ อีกทั้งมีการสร้างมาตรฐานระบบภาษาเขียน ระบบเงินตรา มาตราชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นแกนที่คอยรวบรวมเอกภาพของแผ่นดินจีนตลอดประวัติศาสตร์กว่า 2,000 ปี ตลอดจนมีการสร้างถนนหนทาง ลำคลองขนาดมหึมา

นอกจากนี้ กลุ่มคนร่ำรวยถูกย้ายให้มาอาศัยอยู่ในเมืองหลวงคือเสียนหยาง เพื่อขยายความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของใจกลางประเทศ ส่วนประชาชนทั่วไปก็ถูกส่งไปยังเขตกันดารไกลปืนเที่ยงเพื่อทำไร่ทำนา ส่วนพวกนักโทษอาชญากรก็ถูกอัปเปหิไปต่อสู้ป้องกันประเทศตามเขตแนวหน้าชายแดน สื่อหวงตี้นั่นเอง ที่ทรงดำริเชื่อมกำแพงของแว่นแคว้นต่างๆในยุคจ้านกั๋ว เป็นกำแพงเมืองมหัศจรรย์ที่ยาวที่สุดในโลก เพื่อสกัดกั้นชนเผ่าซงหนู

สื่อหวงตี้ใช้อำนาจเหล็กอย่างหฤโหด อาทิ การสังหารนักคิดนักปราชญ์จำนวนมากโดยการฝังทั้งเป็น อาทิ กลุ่มลัทธิขงจื่อกว่า 400 คน เผาหนังสือคัมภีร์ที่แตกแถว เกณฑ์แรงงานทาสไปสร้างกำแพงเมือง พระราชวัง สวน และสุสานกระทั่งล้มตายกันไปเป็นเบือนับล้าน ขณะที่รีดนาทาเร้นส่วยภาษีจากประชาชน สื่อหวงตี้ก็ใช้ชีวิตสุดหรูฟู่ฟ่า ใช้เงินราวเศษกระดาษในการท่องเที่ยวสำราญไปทั่วประเทศ

การบังคับใช้แรงงานทาสอย่างทารุณอย่างไม่จบสิ้น ภาระภาษีอันหนักอึ้งของประชาชน และการลงทัณฑ์อาชญากรอย่างโหด...ม กลายเป็นแรงกระตุ้นมรสุมแห่งความเกลียดชังและความไม่พอใจที่เริ่มพุ่งพวยและระเบิดในปลายรัชสมัยของสื่อหวงตี้

หุ่นปั้นดินเผากองทัพนักรบในมหาสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้อันลือลั่น


สื่อหวงตี้สวรรคตในปีก่อนค.ศ.210 ซึ่งเป็นปีที่ 37 ของการครองราชย์เหนือรัฐฉิน ระหว่างเดินทางกลับจากการตรวจราชการจากดินแดนทางใต้ อัครเสนาบดีหลี่สือ และจ้าว กาวขันทีผู้ทรงอิทธิพล ก็ได้วางแผนปลงพระชนม์องค์รัชทายาทฝูซู และประกาศตั้งหูฮ่ายพระอนุชาของฝูซู เป็นองค์รัชทายาท ซึ่งทรงก้าวสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิองค์ที่สอง

หูฮ่ายเป็นหุ่นเชิดของจ้าว กาว และทรงใช้อำนาจเหล็กอัน...มเกรียมเสียยิ่งกว่าจักรพรรดิพระองค์แรก กระทั่งปี 209 ก่อนค.ศ. ซึ่งเป็นปีที่ 2 ในการครองราชย์ของจักรพรรดิองค์ที่สอง การลุกฮือใหญ่ของชาวนาซึ่งมีเฉิน เซิ้ง และอู๋ กว่าง เป็นผู้นำ ก็ได้ระเบิดขึ้น จากนั้น คลื่นมหาชนทั่วดินแดนได้ผลึกกำลังกันลุยศึกโค่นล้มอำนาจฉินได้แก่ ประชาชนตามท้องถิ่นชนบท กองกำลังที่ยังเหลือรอดของเหล่าผู้ปกครองอดีตรัฐใหญ่ทั้งหก กลุ่มข้าราชการระดับล่างในรัฐบาลฉิน ตลอดจนกลุ่มทหารติดอาวุธในบางพื้นที่ และกองกำลังแห่งฉินก็พ่ายยับอย่างสาหัสสากรรจ์

เซี่ยงหวี่ทายาทขุนนางในอดีตรัฐใหญ่ทั้งหก และหลิว ปังข้าราชการระดับล่างในรัฐบาลฉินผู้มีแนวคิดแบบรากหญ้า ต่างนำทัพของตนลุยฝ่าด่านเข้าโจมตีฉิน ขณะเดียวกัน จ้าว กาวได้ปลิดชีพทั้งหลี่ ซือ และฝูซูจักรพรรดิองค์ที่สอง จากนั้น ก็เชิดจื่อ อิงพระนัดดาของจักรพรรดิองค์แรกสู่บัลลังก์ ในปี 207 ก่อนค.ศ. กองกำลังเซี่ยงหวี่โจมตีทัพฉินแตกกระจุย นอกจากนี้ ทัพฉินยังพ่ายยับอย่างหนักในสนามรบจู้ลู่ ปีเดียวกัน จื่อ อิงก็สังหารจ้าว กาว ปีถัดมา หลิว ปังก็บุกทะลวงไปถึงชานเมืองป้าส้างประชิดเซียนหยาง ในที่สุด จื่อ อิงก็เสด็จออกจากเมืองหลวงและยอมยกธงขาว ปิดม่านราชวงศ์ฉินอันยิ่งใหญ่ จากนั้น เซี่ยงหวี่ซึ่งตั้งตัวเป็น ‘กษัตริย์แห่งฉู่’ และหลิว ปังเป็น ‘กษัตริย์แห่งฮั่น’ ในปี 202 ก่อนค.ศ. เซี่ยงหวี่อัตวินิบาตกรรมหนีความอัปยศพ่ายแพ้ และหลิวปังก็ทะยานสู่บัลลังก์จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น

แม้ราชวงศ์จะครองแผ่นดินเพียงชั่วเวลาอันแสนสั้นเพียง 15 ปี แต่อิทธิพลของฉินผู้รวบรวมจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ยืนยงเหนือประวัติศาสตร์มาตลอดนับพันปี ดินแดนฉินคือประเทศจีนปัจจุบัน ยกเว้นพรมแดนด้านตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการรวบอำนาจสู่ส่วนกลางอย่างสิ้นเชิงของฉิน เป็นแบบอย่างของราชวงศ์ต่อๆมา กำแพงเมืองจีนยังยืนผงาดมาถึงวันนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีอำนาจเผด็จการของยุคราชวงศ์ไหน ดุเดือดเทียมทานฉินได้ ด้วยเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้ราชวงศ์ฉินดับวูบในชั่วเวลาอันแสนสั้น.






เตียบ่อกี้
#7   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 23:06:31 ]

ราชวงศ์ฮั่น

หลิวปัง ได้ตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น แล้วยกเลิกกบิลเมืองอันโหด...ม ของฉินซีฮ่องเต้ทั้งหมด โดยสัญญากับราษฎรไว้ดังนี้ ใครฆ่าคนตายต้องถูกประหาร ใครลักขโมย หรือปล้นสดมภ์ต้องถูกลงโทษ ในต้นราชวงศ์ฮั่นนั้น บ้านเมืองยากจนมาก เนื่องจากเพิ่งผ่านสงครามมา หลิวปังจึงปล่อยให้ราษฎรทำมาหากิน โดยเก็บภาษีเพียง ๑/๓๐ ของที่เก็บเกี่ยวได้ เพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง หลังหลิวปังครองราชย์ไม่นาน ด้วยความระแวง ก็ได้ถอดผู้ช่วยมือดีทั้ง ๓ ออกจากตำแหน่ง พอตอนปลายยุคหลิวปัง หลี่ฮองเฮาได้กุมอำนาจ หลังจากหลิวปังสวรรคต หลี่ฮองเฮาก็ใช้อำนาจกำจัดคนที่ขัดกับนางเสีย แถมยังทำให้หลิวอิง หรือฮั่นฮุ่ยตี้ฮ่องเต้สติแตกไป ทำให้นางมีอำนาจโดยสมบูรณ์ พอนางสวรรคต บรรดาเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ก็จัดการล้างโคตรเสียเลย แล้วยกหลิวเหิง โอรสอีกองค์ของหลิวปังขึ้นครองราชย์เป็น ฮั่นเหวินตี้ ฮ่องเต้องค์นี้ปกครองได้ดี ห่วงใยราษฎรและสมถะ พระเจ้าฮั่นจิงตี้ ฮ่องเต้องค์ถัดมาก็เช่นกัน สมัยของสองพระองค์นี้ บ้านเมืองฟื้นฟูได้อย่างสมบูรณ์ แต่พอถัดมา ในสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ (หลิวเช่อ) ฮ่องเต้องค์ที่ ๕ ได้มีการบุกเบิก ทางสายไหม (Silk Route) ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ตะวันตกของจีน ในการค้าขายต่างๆ แต่ก็ได้นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม และความงมงายต่างๆ การท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลือง ผลาญเงินที่สะสมไว้จากสองรัชสมัยก่อนจนหมด จนเกิดกบฏชาวนา จึงได้สำนึกและขอโทษประชาชน ต่อมา ในยุคพระเจ้าฮั่นหยวนตี้ มีนางงามผู้กู้ชาติอีกคน คือ หวังเจาจวิน ผู้ถูกส่งไปอภิเษก กับกษัตริย์เผ่าซงหนู เพื่อกระชับไมตรี ทำให้เว้นว่างจากสงครามไปหลายสิบปี พุทธศาสนาก็เข้าสู่จีน ในราชวงศ์ฮั่นนี่เอง พระเจ้าหมิงตี้ ก็ได้ส่งคาราวานไปอัญเชิญพระคัมภีร์ต่างๆ มาประดิษฐาน และพระองค์ยังเป็นพุทธมามกะด้วย ราชวงศ์นี้ มีความเจริญมากในสาขาต่างๆ มีการทำกระดาษ พิมพ์หนังสือได้แล้ว ในช่วงกลางราชวงศ์ จากความเละเทะในราชสำนัก หวางหม่างได้ชิงราชบัลลังก์ ตั้งราชวงศ์ซินขึ้นมา แต่ครองบัลลังก์ได้เพียงสิบกว่าปี หลิวซิ่ว เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ได้ทำสงครามยึดอำนาจคืน ตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาใหม่ แล้วย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง ได้นามว่า พระเจ้าฮั่นกวงอู่ตี้ สมัยนี้เรียกว่า ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ตงฮั่น) ในยุคนี้ ได้มีการบุกเบิกลัทธิจริยธรรม มีการคัดเลือกผู้มีจริยธรรม ให้ทางส่วนกลางพิจารณาหาตำแหน่งให้ ในปลายราชวงศ์ฮั่น ฮ่องเต้อ่อนแอมาก เนื่องจากมีการแต่งงานกันในหมู่เครือญาติ ทำให้ฮ่องเต้หลายๆ องค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเล็ก มิหนำซ้ำ ขันทีมีอิทธิพลสูงมากในราชสำนัก เนื่องจากใกล้ชิดฮ่องเต้มาก เป็นเหตุให้เกิดระส่ำระสายในราชวงศ์ สมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาด หลิวเป้ย (เล่าปี่) เชื้อพระวงศ์, เตียวหุย และกวนอู สามพี่น้องร่วมสาบาน ได้ปราบปรามโจรจนราบคาบ หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าฮั่นเลนเต้สิ้นพระชนม์ ขันทีได้เหิมเกริมหนักขึ้น โฮจิ๋น พี่ชายของฮองเฮา ได้ให้ทหารเข้ามาฆ่าขันทีในวัง แต่ไม่หมด จึงถูกขันทีซ้อนแผน ปลอมราชโองการของฮองเฮา เรียกโฮจิ๋นเข้าวัง แล้วดักฆ่าเสีย โจโฉ ได้ยกทหารเข้าฆ่าขันทีจนสิ้นซาก แต่ว่า ต่อมา ตั๋งโต๊ะ แม่ทัพอีกคนหนึ่ง ได้เข้ามาในวัง แล้วบีบไม่ให้รัชทายาทได้ครองราชย์ ให้องค์ชายรองครองราชย์แทน พระนามว่า พระเจ้าฮั่น...นเต้ ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ส่วนตั๋งโต๊ะตั้งตัวเป็นพระมหาอุปราช กุมอำนาจในมือ แถมต่อมายังลอบสังหารรัชทายาท และพระมารดาอีก ทำให้คนอื่นไม่พอใจมาก ต่อมา ลิโป้ ลูกบุญธรรมของตั๋งโต๊ะได้ฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย (ตอนนี้ในเรื่องสามก๊กว่า เป็นเพราะมารยาหญิงชื่อเตียวเสี้ยน แต่จริงๆ เป็นอย่างไรไม่รู้ เพราะเตียวเสี้ยนไม่มีตัวตนอยู่จริง) ลูกน้องของตั๋งโต๊ะที่เหลืออยู่ ได้คุกคามพระเจ้าฮั่น...นเต้ ต่อมา โจโฉได้มาช่วยปราบ และสวมรอยเป็นพระมหาอุปราชตามตั๋งโต๊ะไปอีกคน ทำให้คนอื่นไม่พอใจมาก เกิดการแตกแยกก๊กต่างๆ มากมาย แล้วเหลืออยู่ ๓ ก๊ก คือแคว้นสู่ของหลิวเป้ย เว่ยของโจโฉ และอู๋ของซุนกวน ดังในพงศาวดารสามก๊ก แล้วก็รบพุ่งกันอยู่นาน หลังจากโจโฉตาย โจผีลูกโจโฉ ได้บีบให้พระเจ้าฮั่น...นเต้ให้สละบัลลังก์ หลังจากเป็นฮ่องเต้หุ่นอยู่ราว ๓๐ ปี ราชวงศ์ฮั่นก็ถูกถอนอาณัติไปเพียงเท่านี้ แล้วตั้งเป็นราชวงศ์เว่ยขึ้นมา การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนสุดท้าย หลังจากนั้นอีกเกือบห้าสิบปี แคว้นสู่ล่มสลายลงเป็นแคว้นแรก หลังจากนั้น สุมาเอี๋ยนได้ชิงบัลลังก์จากราชวงศ์เว่ย ตั้งเป็นราชวงศ์จิ้น แล้วทำสงครามปราบแคว้นอู๋ได้สำเร็จ การสู้รบอันยาวนานก็สิ้นสุดลง ราชวงศ์จิ้นอยู่ได้ไม่นานนัก จากความอ่อนแอของกษัตริย์ ทำให้ประเทศจีนก็ถูกโจมตีจากภายนอก จนราชวงศ์จิ้นต้องย้ายเมืองหลวงไปทางใต้ เรียกว่า ราชวงศ์ตั้งจิ้น แผ่นดินจึงแตกแยกออกเป็นเหนือ-ใต้ ทางใต้มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามากมาย คือ ราชวงศ์จิ้น, ซ่ง, ฉี, เหลียง, เฉิน ส่วนทางเหนือ เป็นแดนแห่งอนารยชน มีราชวงศ์ต่างๆ คือ เว่ยเหนือ, เว่ยตะวันออก, ฉีเหนือ, เว่ยตะวันตก, โจวเหนือหรือเป่ยโจว ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นี้ มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) ผู้เป็นอาจารย์องค์แรก ของพุทธศาสนานิกายเซ็น (ที่ไม่ใช่กินข้าวกับแม่ค้าแล้วเซ็น) ที่เน้นการถ่ายทอดสัจธรรมจากจิตสู่จิต ท่านเข้ามาในสมัยราชวงศ์เหลียง (ใต้) รัชกาลของพระเจ้าเหลียงบู้ตี้ ฮ่องเต้องค์นี้ศรัทธาในพุทธศาสนามาก แต่ถูกยอกย้อนเป็นปริศนาธรรมจากท่าน ทำให้ไม่พอใจมาก ท่านเห็นว่าคงจะคุยกันยาก จึงหยุดเสวนาด้วย (มีหนังสือประวัติฮ่องเต้องค์นี้ เขียนไว้ว่า ทรงสร้างความเจริญไว้มากมาย แต่ตอนท้ายสุด ได้ไปบำเพ็ญธรรมในป่าถ้ำ และชดใช้หนี้กรรมเก่า ที่เคยสร้างไว้ในชาติก่อนกับลิง ซึ่งได้มาเกิดเป็นแม่ทัพ ทำให้ต้องอดอาหารตายในถ้ำนั่นเอง แต่ก็ได้บรรลุธรรมในที่สุด *ผมไม่แน่ใจเหมือนกันเพราะในหนังไม่ได้ว่าถึง ก็ฟังหูไว้หูนะครับ) ต่อมา ท่านได้ไปนั่งเข้าฌาณที่ถ้ำแห่งหนึ่งทางเหนือนานหลายปี โดยไม่แตะต้องอาหารหรือน้ำเลย (ไม่แน่ใจว่า ๗ หรือ ๙ ปี) จนมีศิษย์ผู้หนึ่งที่ศรัทธาแรงกล้ามาก มานั่งเฝ้าท่านหน้าถ้ำ (ในหนังจะเห็นว่า ยอมสละแขนเพื่อให้ท่านยอมสอนให้) ท่านเห็นใจในความตั้งใจ จึงถ่ายทอดสัจธรรมให้ และตำแหน่งของท่านด้วย ความแตกแยกของจีนกว่าสี่ร้อยปีนี้ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมจีนพอสมควร เนื่องจากมีอารยธรรมของอนารยชนเข้ามาผสมด้วย ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ การให้อิสระและสิทธิกับผู้หญิงมากขึ้น จากเดิมที่เคยกดขี่แทบติดดิน (ดูได้จากกรณีของบูเช็กเทียน) ผู้ชายให้การยอมรับหญิงที่เคยมีสามีแล้ว (สามีตาย) จนนำมาเป็นภรรยาได้ (ถ้าเป็นแต่ก่อนน่ะเรอะ เมินซะเถอะอีนาย! แต่ช้าก่อน... ก่อนจะนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อหาความชอบธรรมให้ตัวเองในการเสียตัวก่อนแต่งงาน ขอให้สังเกตว่า ผู้ชายสมัยนั้นจะให้การยอมรับหญิงที่ "เป็นม่าย" ซึ่งหมายความว่าเคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว ไม่ใช่เสียตัวให้ผู้ชาย โดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกรณีเสียตัวก่อนแต่งงานแบบสมัยนี้นี่ ไม่รู้แฮะว่ารับกันได้ไหม อย่าลืมว่า คนสมัยก่อนเขารักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่ามกันพร่ำเพรื่อเหมือนสมัยนี้) ในปลายราชวงศ์เป่ยโจว (เหนือ) หยางเจียน ซึ่งเป็นข้าราชการของราชวงศ์เป่ยโจว ได้อาศัยอิทธิพลของวงศ์ตระกูล ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย จากบรรดาเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ ซึ่งได้พยายามลอบสังหาร และใส่ไฟจะให้โดนประหารหลายครั้ง แต่สุดท้าย จากความช่วยเหลือของเหล่าขุนนาง ก็ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ และในที่สุด ก็บีบให้ฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยโจวสละราชสมบัติ แล้วตั้งราชวงศ์สุยขึ้น จากนั้น ก็สามารถทำสงครามกับราชวงศ์เฉิน (ใต้) รวมแผ่นดินเหนือใต้ได้สำเร็จ ยุติความแตกแยกของจีนลง



เตียบ่อกี้
#8   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 23:10:22 ]

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)

ประวัติศาสตร์ความพ่ายแพ้ของเซี่ยงอี่ว์หรือฉ้อปาอ๋อง ที่นำสู่การพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์จีนได้ถูกนำมาสร้างเป็นบทละครร้องในปักกิ่งโอเปร่า โดยมากมักแสดงตอน ‘ป้าหวังเปี๋ยจี’ซึ่งเป็นตอนที่ฉ้อปาอ๋องล่ำลานางสนมคนโปรด ก่อนจะฆ่าตัวตายที่ริมฝั่งแม่น้ำอูเจียง

ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือปฐมกษัตริย์ฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น2ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก

หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ในราชวงศ์ฉินสิ้นพระชนม์ลง อำนาจของราชวงศ์ฉินคลอนแคลน มีการลุกฮือขึ้นก่อการจากกบฏชาวนาและบรรดาเชื้อสายเจ้าผู้ครองแคว้นเดิม มีการตั้งตัวเป็นใหญ่ในทุกหัวระแหง หลิวปังก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เพาะสร้างอำนาจขึ้นจากขุมกำลังเล็ก ๆ ต่อมาได้กรีฑาทัพเข้านครเสียนหยางปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กับเซี่ยงอี่ว์หรือฉ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง หลังจากสะสมกำลังพลกล้าแกร่งขึ้น จึงเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่ การศึกครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า สงครามฉู่ฮั่น กินเวลานาน 4 ปี จนกระทั่งถึงปี 202 ก่อนคริสตศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักรพรรดิ์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่น

ราชลัญจกรหยกของหลี่ว์ฮองเฮาในฮั่นเกาจู่ สลักคำว่า ‘หวงโฮ่วจือสี่’ ซึ่งหมายถึงราชลัญจกรในฮองเฮา

ระบบบริหารการปกครองของราชวงศ์ฮั่นโดยรวมแล้วยังคงยึดรูปแบบเช่นเดียวกับราชวงศ์ฉิน แต่เนื่องจากราชวงศ์ฉินที่ปกครองอย่างเข้มงวดเป็นเหตุให้ล่มสลายอย่างรวดเร็ว ฮั่นเกาจู่ จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม อีกทั้งพระราชทานรางวัลเป็นเสบียงอาหารและตำแหน่งทางราชการ นอกจากนี้ ยังเข้าควบคุมพ่อค้าที่ร่ำรวย ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้สภาพสังคมได้มีเวลาในการฟื้นฟูและจัดระเบียบใหม่ และกลับสู่ความสงบสุขที่เคยเป็น

จวบจนรัชสมัยของเหวินตี้ และจิ่งตี้ ในอีกกว่า 60 ปีให้หลัง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรม มีการจัดเก็บภาษีแต่น้อยและเกณฑ์แรงงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการเยียวยาจนกระทั่งเริ่มมีความเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกลือ ธุรกิจเหล็กกล้า งานหัตถกรรม และการค้าขายต่างก็ขยับขยายเติบโตขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นได้มีการปูนบำเหน็จให้กับบรรดาขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก ดังนั้นอำนาจของเจ้านายเหล่านี้จึงนับวันจะแกร่งกล้าขึ้น ในรัชสมัยจิ่งตี้จึงเกิดเหตุการณ์ ‘กบฏ7แคว้น’ขึ้น หลังจากกบฏถูกปราบราบคาบลง อิทธิพลอำนาจของเหล่าขุนนางก็อ่อนโทรมลง อำนาจจากส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น เมื่อถึงรัชสมัยอู่ตี้ (ระยะเวลาครองราชย์ 54 ปี ถือเป็นกษัตริย์ชาวฮั่นที่ครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดของจีน) จึงถือเป็นยุคทองของฮั่นตะวันตก เศรษฐกิจรุ่งเรือง ทรัพย์สินในทองพระคลังล้นเหลือ

ในรัชสมัยอู่ตี้ มีการกำหนดเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้ภายในประเทศ มีข้อห้ามในการหลอมสร้างเหรียญกษาปณ์เป็นส่วนตัว ธุรกิจหลอมเหล็กกลายเป็นกิจการของรัฐ มีการตรากฎหมายการขนส่งลำเลียง วางข้อกฎหมายระเบียบใบอนุญาตต่าง ๆ ทำให้รายได้ท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ฮั่นอู่ตี้จึงหันไปสนใจนโยบายต่อต่างแดน เช่น ชนเผ่าซงหนูที่คอยรบกวนอยู่ทางชายแดนภาคเหนือมาเป็นเวลานาน ฮั่นอู่ตี้ก็ได้ยกทัพออกปราบถึง 3 ครั้งครา ขับไล่ชนเผ่าซงหนูให้ถอยร่นกลับเข้าไปยังดินแดนทะเลทรายทางตอนเหนือ นำสันติสุขมายังดินแดนชายขอบตะวันตกของจีน อีกทั้งยังบุกเบิกพื้นที่ทำไร่นาในแถบดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน จัดตั้งระบบไฟสัญญาณแจ้งเหตุตามชายแดน และยังส่งจางเชียนไปเป็นทูตสันถวไมตรียังดินแดนตะวันตก เพื่อเปิดเส้นทางการค้าออกไปยังดินแดนเอเชียกลาง อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ ‘เส้นทางสายไหม’

หวังเจาจวิน ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่ยอดหญิงงามแห่งยุคของจีน

การบุกเบิกเส้นทางสายไหมนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก ด้วยเส้นทางการค้าทางบก ฮั่นอู่ตี้รับฟังความคิดเห็นของต่งจงซู เชิดชูแนวคิดขงจื้อละทิ้งปรัชญาแนวคิดสำนักอื่น ศึกษาคัมภีร์อู่จิง ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของปัญญาชน ในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นเหตุให้แนวคิดขงจื้อ ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดสร้างหอสมุดแห่งชาติ เพื่อจัดเก็บแผนภาพและตำรับตำรา อันเป็นแหล่งบ่มเพาะทางความรู้ และมีความเจริญทางวัฒนธรรมอย่างมากตามมา ดังเช่นที่นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จีนซือหม่าเชียน ได้จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงที่มาของชนชาติจีนจนถึงปัจจุบัน

เมื่อมาถึงรัชสมัยของเจาตี้ และเซวียนตี้ นั้น แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงก้าวไปข้างหน้า ทว่า กลับแฝงเร้นไว้ด้วยเงามืดของการเมือง เกิดการซ่องสุมอำนาจและความพยายามในการล้มล้างฐานอำนาจเดิม ทำให้ชาวเมืองพากันหวั่นหวาดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนนโยบายต่อชนเผ่านอกด่านคือ ซงหนู ได้หันมาใช้การผูกมิตรแทน โดยมีการจัดส่งองค์หญิงหรือบุตรสาวของเจ้านายชั้นสูงไปแต่งงานกับหัวหน้าเผ่านอกด่าน จนเกิดเป็นตำนานของหวังเจาจวิน

ในรัชสมัยฮั่นหยวนตี้ กลุ่มขุนนางที่ไม่มีเชื้อสายชนชั้นสูงมีอำนาจมากขึ้น ระบอบการปกครองล้มเหลว เกิดการขัดแย้งทางชนชั้นและการลุกฮือของกบฏชาวนาอยู่เสมอ เมื่อถึงรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้ กลุ่มตระกูลหวังซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระมารดาของเฉิงตี้เข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ ตระกูลหวังมีพี่น้อง 4 คนและหลานชายชื่อหวังหมั่ง เข้ารวบตำแหน่งหัวหน้าทางการทหารและพลาธิการไว้ได้ อีกทั้งยังร่ำรวยทรัพย์สินมหาศาล

พอล่วงเข้ารัชสมัยฮั่นอัยตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถูกกบฏชาวนาสั่นคลอนราชบัลลังก์จนแทบไม่อาจยืนหยัดต่อไปได้ หวังหมั่งนำความคิดเรื่อง ‘สืบทอดบัญชาสวรรค์’ มาใช้เพื่อการแก้ไขวิกฤตอีกครั้ง แต่ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว เมื่อฮั่นผิงตี้ ขึ้นครองบัลลังก์ หวังหมั่งกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งจึงเร่งกำจัดศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสมัครพรรคพวก หาทางซื้อใจประชาชนและปัญญาชน เพื่อสนับสนุนฐานอำนาจแห่งตน เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ (ค.ศ. 8-23)นับแต่นั้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลาย

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติจีน หรือที่ต่อมาเรียกกันว่าชาวฮั่น หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์จีนที่สามารถรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งแล้ว ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่าง ๆได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆเข้าด้วยกัน เมื่อถึงสมัยฮั่นตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษาอักษร การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติฮั่น’นับแต่นั้นมา ชนชาติฮั่นซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับให้เป็นกลุ่มผู้นำในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยฮั่นต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวฮั่นตลอดมา.


ชุดหยก ทำจากแผ่นหยกนับพันชิ้นเรียงร้อยด้วยเส้นไหมทองคำ


ใช้ห่อหุ้มศพของกษัตริย์หรือชนชั้นสูงในสมัยนั้น โดยเชื่อว่าหยกเป็นสิ่งบริสุทธิ์จะช่วยรักษาสภาพศพไม่ให้เน่าเปื่อย









เตียบ่อกี้
#9   เตียบ่อกี้    [ 26-01-2008 - 23:13:57 ]

ฮั่นตะวันออก (คริสตศักราช 25 – 220)


"กวงอู่ตี้ " - ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อดีตผู้นำกองกำลังลี่ว์หลิน "หลิวซิ่ว"


นับแต่หวังหมั่ง ถอดถอนหยูจื่ออิง ยุวกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เพื่อตั้งตนเป็นใหญ่ โดยจัดระเบียบการปกครองใหม่และก่อตั้งราชวงศ์ซิน ขึ้น แต่ความล้มเหลวของระเบียบใหม่ได้สร้างกระแสต่อต้านจากประชาชน เกิดเป็นกบฏชาวนาในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ กองกำลังคิ้วแดง ที่นำโดยฝานฉงจากแถบซานตง และกองกำลังลี่ว์หลิน ซึ่งนำโดยหลิวซิ่ว จากหูเป่ย เป็นต้นโดยในบรรดากองกำลังเหล่านี้ ถือว่ากองทัพของหลิวซิ่วมีกำลังกล้าแข็งที่สุด

ภายหลังการศึกที่คุนหยัง ชัยชนะอย่างเด็ดขาดของกองกำลังลี่ว์หลินต่อกองทัพราชวงศ์ใหม่ ทำให้หลิวซิ่วถือเป็นโอกาสเข้ากลืนขุมกำลังติดอาวุธขนาดเล็กทางตอนเหนือ ขยายฐานกำลังไปยังเหอเป่ย ซึ่งเป็นดินแดนทางภาคเหนือของจีนในปัจจุบัน เมื่อถึงกลางปีคริสตศักราช 25 หลิวซิ่วก็ตั้งตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้ครองดินแดนเหอเป่ย ภายใต้สมญานามว่า กวงอู่ตี้ และใช้ชื่อราชวงศ์ฮั่นตามเดิม โดยทางประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคนี้เป็นฮั่นตะวันออก เนื่องจากนครหลวงตั้งอยู่ที่เมืองลั่วหยัง

ภารกิจแรกของกวงอู่ตี้คือการปราบกองกำลังคิ้วแดงที่กำลังปิดล้อมเมืองฉางอัน เมื่อถึงปีรัชสมัยที่ 12 ก็สามารถปราบก๊กของกงซุนซู่ในเสฉวนลงอย่างราบคาบ รวมประเทศจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง จากนั้นตามมาด้วยประกาศปลดปล่อยแรงงานทาส ซึ่งถือเป็นการปลดปล่อยแรงงานการผลิตครั้งใหญ่ นอกจากนี้ ยังซ่อมสร้างการชลประทานทั่วประเทศ รื้อฟื้นภาคการเกษตรให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เมื่อถึงรัชสมัยหมิงตี้ ก็ยกเลิกการผูกขาดการค้าเกลือและเหล็กกล้า อีกทั้งธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจหลอมและหล่อทองแดง ธุรกิจผ้าไหมเป็นต้น ทำให้บ้านเมืองและการค้าขายในยุคฮั่นตะวันออกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เมืองลั่วหยังกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าของประเทศ ส่วนศูนย์กลางทางภาคใต้ ได้แก่ เมืองหยังโจว จิงโจว อี้โจว ก็มีความเจริญในด้านธุรกิจหัตถกรรม จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในรัชสมัยจางตี้ และเหอตี้ ถึงกับมีการเดินทางออกไปติดต่อเชื่อมสัมพันธไมตรียังดินแดนฝั่งตะวันตก เพื่อสานต่อแนวการค้าบนเส้นทางสายไหม ขณะเดียวกัน บรรดาเจ้าที่ดินทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ต่างก็อยู่ในช่วงสั่งสมกำลังบารมี ภายหลังรัชสมัยเหอตี้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางชั้นสูงต่างก็มีอำนาจที่เข้มแข็งมากขึ้น มักปรากฏว่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางผลัดกันหรือร่วมมือกันเข้ากุมอำนาจในระหว่างการผลัดแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง ในสี่รัชสมัยต่อมาอันได้แก่ ซุ่นตี้ ช่งตี้ จื้อตี้และเหิงตี้ กษัตริย์ทั้ง 4 มีเชื้อพระวงศ์เหลียงจี้ คอยเป็นที่ปรึกษาว่าราชการให้ถึง 20 ปี สั่งสมเงินทองทรัพย์สินกว่า 3,000 ล้าน

ภายหลังยุคกลางของฮั่นตะวันออก กลุ่มครอบครัวตระกูลใหญ่เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพเป็นขั้วการเมืองแบบผูกขาด เมื่อถึงยุคปลายของฮั่นตะวันออก ได้เกิดกระแสการวิพากษ์การเมืองจากกลุ่มปัญญาชนและขุนนางผู้น้อยส่วนหนึ่ง ที่ต้องการแสดงความไม่พอใจต่อระบบการเมืองการปกครองในสมัยนั้น จนเกิดวิกฤตทางการเมือง หลังสิ้นรัชสมัยเหิงตี้ เหล่าขุนนางก็ยิ่งฮึกเหิมในอำนาจ ถึงกับมีการซึ้อขายตำแหน่งทางการเมืองกันอย่างเปิดเผย อำนาจบ้านเมืองล่มสลาย สังคมเต็มไปด้วยคนจรไร้ถิ่นฐาน เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า

เมื่อถึงรัชสมัยหลิงตี้ เกิดกบฏโพกผ้าเหลืองทางภาคเหนือ เข้าล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บรรดาเจ้าที่ดินที่มีกำลังกล้าแข็งต่างก็ฉกฉวยโอกาสนี้พากันตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ จนท้ายสุดหลงเหลือเพียง 3 กลุ่มอำนาจใหญ่นั่นคือ วุ่ย สู และอู๋ หรือที่เรารู้จักกันในนามของ ‘สาม ก๊ก’นั่นเอง


"ฮั่นซู" หนังสือที่มีการจดบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนชาติฮั่น

สำหรับความเจริญก้าวหน้าในด้านวัฒนธรรมและวิทยาการในสมัยฮั่นตะวันออกนั้นมีมากมาย อาทิ ในยุคต้นของราชวงศ์ ก่อเกิดนักคิดแนววัตถุนิยมที่โดดเด่นคือหวังชง ส่วนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ก็มีการจดบันทึกประวัติศาสตร์ชนชาติฮั่น ทางด้านวรรณคดีที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยได้แก่บทความเชิงปกิณกะและเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ ในช่วงปลายราชวงศ์ยังก่อเกิด สัตตกวีแห่งยุค ได้แก่ข่งหยง เฉินหลิน หวังชั่น สวีกั้น หยวนอวี่อิงหยังและหลิวเจิน ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นส่งอิทธิพลถึงยุคสามก๊กในเวลาต่อมา

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว จากการคิดค้นของจางเหิง สร้างขึ้นในคริสตศักราช 132 ถือเป็นเครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลก

ในช่วงกลางของฮั่นตะวันออก ยังมีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง จางเหิง ซึ่งเป็นทั้งนักคิด นักกวี และนักวิชาการ โดยเขาได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาวและเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่สามารถใช้ในทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย ในรัชสมัยเหอตี้ ก็ยังมีไช่หลุน ผู้ซึ่งได้ปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตกระดาษจากพืช ซึ่งทำให้ราคากระดาษถูกลง และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อันเป็นการสร้างคุณูปการต่อชาวโลกครั้งยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ องค์ความรู้ต่าง ๆในด้านการเกษตร การคำนวณและการแพทย์ ต่างก็ประสบความก้าวหน้าใหญ่ ศาสนาพุทธและเต๋าที่ทรงอิทธิพลล้ำลึกทางความคิด วัฒนธรรมและวิถีชีวิตในสังคมจีน ก็ล้วนเจริญรุ่งเรืองขึ้นในยุคนี้เอง






เตียบ่อกี้
#10   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 08:42:17 ]

สามก๊ก (คริสตศักราช 220 – 280)

สามก๊กเป็นยุคสมัยที่เกิดจากสภาพการคานอำนาจกันของกองกำลัง 3 ฝ่ายอันได้แก่ ก๊กวุ่ย ก๊กสู และก๊กอู๋ ที่ต่างก็แย่งชิงกันเป็นใหญ่ โดยช่วงปีค.ศ. 220 นั้นเป็นเวลาที่วุ่ยขึ้นครองอำนาจใหญ่แทนราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และเมื่อถึงปีค.ศ. 280 ราชวงศ์จิ้น ปราบก๊กอู๋ได้สำเร็จรวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกันอีกครั้ง*

ก่อนจะมาเป็นสามก๊ก

ปีค.ศ. 189 ปลายยุคฮั่นตะวันออก ฮั่นหลิงตี้ เสด็จสวรรคต รัชทายาทหลิวเ...ยนสืบทอดราชบัลลังก์ต่อมาเป็นฮั่นเส้าตี้ แต่พี่ชายของเหอไทเฮาคบคิดกับขุนนางฝ่ายกลาโหมหยวนเส้าหรืออ้วนเสี้ยว กวาดล้างขุนนางที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นเหตุให้บ้านเมืองระส่ำระสายอย่างหนัก ต่งจัวหรือตั๋งโต๊ะ ที่เป็นขุนนางครองเมืองปิงโจวใช้สถานการณ์วุ่นวายดังกล่าว เป็นข้ออ้างยกกองกำลังเข้าลั่วหยังเพื่อให้ความช่วยเหลือ เมื่อกองทัพของตั๋งโต๊ะเข้าสู่ลั่วหยังแล้ว ก็ถอดถอนฮั่นเส้าตี้และสถาปนาหลิวเสีย ผู้เป็นน้องขึ้นเป็นฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า ฮั่นเสี้ยนตี้ โดยตั๋งโต๊ะกุมอำนาจสั่งการไว้ในมือ เป็นเหตุให้ขุนนางเก่าที่ไม่เห็นด้วยลุกฮือขึ้นต่อต้าน เกิดเป็นสงครามภายในติดตามมา อ้วนเสี้ยว


ฝ่ายอ้วนเสี้ยวนั้น เมื่อตั๋งโต๊ะกรีฑาทัพเข้าลั่วหยัง ก็หลบหนีไปยังเมืองจี้โจว(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ยทางภาคเหนือของจีน) เรียกร้องให้บรรดาผู้ครองแคว้นรอบนอกรวมกำลังกันเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ ซึ่งก็ได้รับเสียงสนับสนุนให้อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำ เมื่อถึงปีค.ศ. 190 ตั๋งโต๊ะบีบบังคับฮั่นเสี้ยนตี้เสด็จลี้ภัยไปยังนครฉางอัน ในขณะที่กองกำลังของตั๋งโต๊ะเต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจกัน อีก 3 ปีต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร (เป็นที่มาของตำนานการเสียสละของเตียวเสี้ยน หนึ่งในสี่หญิงงามแห่งยุคของจีน) ตั๋งโต๊ะถูกสังหาร บ้านเมืองจึงเกิดโกลาหลครั้งใหญ่

ท่ามกลางความวุ่นวายนี้ เฉาเชาหรือโจโฉซึ่งเคยประกาศตัวเป็นแนวร่วมกับอ้วนเสี้ยวเมื่อครั้งต่อต้านตั๋งโต๊ะนั้น หลังจากสยบกองกำลังโพกผ้าเหลืองกว่าสามแสนไว้ได้แล้ว ก็สั่งสมอำนาจขึ้นเป็นใหญ่ในดินแดนเหอหนัน ปีค.ศ. 196 บีบบังคับให้ฮั่นเสี้ยนตี้เสด็จย้ายที่ประทับไปยังเมืองสวี่ชางในเหอหนันแล้ว ก็เข้ากุมอำนาจสั่งการเหล่าขุนนางทั้งปวง และหันมาประจันหน้ากับฝ่ายอ้วนเสี้ยวที่เป็นใหญ่ในแถบเหอเป่ย เมื่อถึงปีค.ศ. 200 สองฝ่ายทำศึกตัดสินแพ้ชนะที่กวนตู้ โจโฉเป็นฝ่ายชนะเข้าครองที่ราบภาคกลางและภาคเหนือของจีนไว้ได้

เมื่อถึงปีค.ศ. 208 โจโฉกรีฑาทัพลงใต้ ปราบหลิวเปี่ยวที่ครองเมืองจิงโจวในขณะนั้น หลิวเป้ยหรือเล่าปี่ที่เป็นเชื้อพระวงศ์ของฮั่นอาศัยอยู่ด้วยหลิวเปี่ยวต้องอพยพลงใต้อีกครั้ง นำกำลังที่หลงเหลืออยู่น้อยนิดร่วมมือกับซุนเฉวียนหรือซุนกวนที่คุมอำนาจอยู่ในเจียงตง(ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแยงซี) และแล้วด้วยปัญญาของจูเก๋อเลี่ยงหรือจูกัดเหลียง(ขงเบ้ง)ที่เป็นมันสมองฝ่ายเล่าปี่และกำลังทหารจากซุนกวนผนึกกำลังต้านทัพใหญ่ของโจโฉในการศึกที่ชื่อ... ผลคือโจโฉพ่ายแพ้ย่อยยับ จำต้องล่าทัพกลับไปภาคเหนือ ขณะที่เล่าปี่ฉวยโอกาสเข้ายึดจิงโจวกลับคืนมา อีกทั้งเข้ายึดเฉิงตูเป็นที่มั่น ก่อเกิดเป็นสภาพขุมกำลังสามเส้าคานอำนาจกัน อันเป็นที่มาของยุคสมัยสามก๊ก

สภาพสามเส้าคานอำนาจเหนือใต้

โจโฉตั้งตัวเป็นวุ่ยอ๋อง ต่อมาปีค.ศ. 200 โจโฉสิ้นชีวิต เฉาผี่หรือโจผีผู้เป็นบุตรชายจึงบีบบังคับให้ฮั่นเสี้ยนตี้สละราชบัลลังก์ แล้วสถาปนารัฐวุ่ยขึ้น ในปีถัดมา เล่าปี่ก็ประกาศสถาปนาตั้งตนเป็นฮ่องเต้ที่เมืองเฉิงตู ใช้ชื่อรัฐฮั่น (โดยมากเรียกสูหรือสูฮั่น) ถึงปีค.ศ. 229 ซุนกวนหรืออู๋อ๋องก็ตั้งรัฐอู๋ ประกาศตนเป็นฮ่องเต้เช่นกัน ดังนั้นจึงเกิดเป็นขุมกำลังสามเส้า กล่าวคือ วุ่ยครอบครองดินแดนทางตอนเหนือ สูครองดินแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนอู๋ครองดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ โดยสองแคว้นทางใต้ คือรัฐสูร่วมมือกับรัฐอู๋ต่อต้านรัฐวุ่ยทางภาคเหนือที่มีกำลังเข้มแข็งที่สุด

แผนที่การแบ่งอาณาเขตสมัยสามก๊ก

พัฒนาการและความล่มสลาย
ในช่วงเริ่มต้น ทั้งสามรัฐต่างก็ทุ่มเทให้กับการบริหารบ้านเมือง ฟื้นฟูระเบียบทางสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจของตน รัฐที่มีผลงานโดดเด่นก็คือรัฐวุ่ย ที่นำโดยโจโฉ ซึ่งเริ่มจากการฟื้นฟูผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการเกณฑ์กำลังทหารที่ประจำในท้องที่ทำการเพาะปลูกเป็นเสบียงต่อไป จัดการปฏิรูประบบการปกครองที่เคยเป็นจุดอ่อนของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก นั่นคือ จำกัดอำนาจของเหล่าเจ้าที่ดิน กวาดล้างอำนาจของบรรดาขุนนางและเชื้อพระวงศ์ เพื่อดึงดูดการเข้าร่วมจากกลุ่มชนชั้นระดับกลางและล่าง มีการแบ่งขุนนางปกครองท้องถิ่นออกเป็น 9 ระดับชั้น เปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากตระกูลสูงได้มีโอกาสเข้ามามีอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง

บุคคลสำคัญในก๊กวุ่ย จากซ้ายมาขวา ได้แก่ โจโฉ โจผี โจสิด สุมาอี้

ด้านศิลปะและวิทยาการนั้นก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก อาทิ ทางการแพทย์จีนได้ปรากฏบุคคลสำคัญคือ หัวถัวหรือแพทย์วิเศษฮูโต๋ ที่เป็นเอกในการผ่าตัด และกล่าวกันว่ายังมีการเริ่มใช้ยาชาในสมัยนี้อีกด้วย สำหรับด้านศาสนานั้น เนื่องจากลัทธิเต๋าของกองกำลังโพกผ้าเหลืองประสบความพ่ายแพ้ทางการเมือง จึงตกอยู่ในภาวะอ่อนแอลง ขณะที่ศาสนาพุทธที่มีการเผยแพร่เข้ามาในช่วงปลายยุคฮั่นตะวันออก ก็ฟูมฟักตัวเองในนครหลวงลั่วหยัง

หลังจากวุ่ยฉีหวัง ยุวกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ศูนย์กลางอำนาจในรัฐวุ่ยก็เริ่มคลอนแคลน เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเฉาส่วงและซือหม่าอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เฉาส่วงพ่ายแพ้ถูกสำเร็จโทษ ตระกูลซือหม่าซึ่งนำโดยซือหม่าอี้ผู้เป็นบิดา ซือหม่าซือและซือหม่าเจาสองคนพี่น้อง เข้ากุมอำนาจทางการเมืองทั้งหมดไว้ได้ ระหว่างนั้น ในปีค.ศ. 263 รัฐวุ่ยภายใต้การนำทัพของตระกูลซือหม่าบุกเข้าปราบรัฐสู ของเล่าปี่ หลังจากนั้น 2 ปี ซือหม่าเอี๋ยนบุตรของซือหม่าเจาก็บีบให้วุ่ยฉีหวังสละราชบัลลังก์ และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนวุ่ย



บุคคลสำคัญในก๊กสู จากซ้ายมาขวา ได้แก่ เล่าปี่ ขงเบ้ง กวนอู เตียหุย

รัฐสู นำโดยเล่าปี่ ก็ได้ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษาและเสนาบดี ในช่วงเวลาก่อนหลังการสถาปนารัฐสูได้ไม่นาน เล่าปี่ก็ต้องสูญเสียขุนพลคู่ใจคนสำคัญ คือ กวนอวี่หรือกวนอูและจางเฟยหรือเตียหุย ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน เป็นเหตุให้กำลังทางทหารอ่อนโทรมลง อีกทั้งเล่าปี่ไม่ฟังคำทัดทานของเหล่าเสนาอำมาตย์ เร่งทำศึกกับรัฐอู๋ เพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู สุดท้ายพ่ายแพ้ย่อยยับ เล่าปี่ล้มป่วยเสียชีวิตที่เมืองหย่งอัน บุตรชายหลิวฉานหรืออาเต๊าขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยมีขงเบ้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

ขงเบ้งเห็นว่ารัฐสูอยู่ในสภาพอ่อนแอและลำบากจากการคุกคามรอบข้าง พร้อมกันนั้นเขตพื้นที่ทางตอนใต้ (ปัจจุบันคือเสฉวนและหยุนหนันของจีน) เกิดความวุ่นวาย จึงต้องเจรจาสงบศึกกับรัฐอู๋ เมื่อถึงปีค.ศ. 225 ขงเบ้งยกทัพลงใต้ ทำศึกพิชิตใจเมิ่งฮั่วหัวหน้าชนเผ่าพื้นเมือง นำความสงบสุขคืนมาอีกครั้ง หลังจากนั้น ขงเบ้งได้แต่งตั้งชนเผ่าพื้นเมืองบางส่วนเข้ารับราชการและกองทัพ อีกทั้งมีการนำวัวและม้าที่เป็นพาหนะพื้นเมืองเข้ามาใช้ในกองทัพอีกด้วย นับแต่นั้นมา ความสัมพันธ์กับชนเผ่าพื้นเมืองทางตอนใต้ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันภาคการเกษตรและหัตถกรรมได้รับการฟื้นฟูก้าวหน้า บ้านเมืองเข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมรับการทำศึกกับก๊กวุ่ยทางตอนเหนือในอีกหลายปีต่อมา ขงเบ้งที่เร่งทำศึกแย่งชิงดินแดนภาคเหนือกับก๊กวุ่ยเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายล้มป่วยเสียชีวิตกลางคัน ก๊กสูต้องถอยทัพกลับ นับแต่นั้นมาก๊กสูก็จำต้องพลิกสถานะกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ สุดท้ายในปีค.ศ. 263 ก๊กวุ่ยยกทัพเข้ารวมก๊กสูเป็นผลสำเร็จ บุคคลสำคัญในก๊กอู๋ จากซ้ายมาขวา ได้แก่ ซุนเจี้ยน ซุนเช่อ ซุนกวน จิวยี่

ก๊กอู๋ เมื่อครั้งกองกำลังโพกผ้าเหลืองลุกขึ้นก่อการจราจล ซุนเจี้ยน ที่เป็นขุนนางมีหน้าที่เข้าปราบปรามในพื้นที่เขตเจียงหนัน เมื่อครั้งอ้วนเสี้ยวและพวกร่วมมือปราบตั๋งโต๊ะ ซุนเจียนก็เข้าร่วมด้วย ต่อมาเมื่อซุนเจียนเสียชีวิต ซุนเช่อ บุตรชายเข้าคุมกองทัพต่อ ปี 194ได้รับความช่วยเหลือจากโจวอวี่หรือจิวยี่ เสริมกำลังทางทหารให้เข้มแข็งขึ้น เริ่มขยายอำนาจออกสู่เจียงตงทางตะวันออกของลุ่มน้ำแยงซี ต่อมาเมื่อโจโฉเข้าควบคุมฮั่นเสี้ยนตี้ไว้ได้ ซุนเช่อก็หันมาเข้ากับโจโฉ และได้รับการอวยยศเป็นอู๋โหว หลังจากซุนเช่อสิ้น ซุนเฉวียนหรือซุนกวน ผู้เป็นน้องชายก็เข้าสืบทอดอำนาจต่อมา ภายหลังการศึกที่ชื่อ... เป็นเหตุให้โจโฉต้องถอยร่นกลับไปยังภาคเหนือ ซุนกวนก็เข้าคุมพื้นที่เขตตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้ เกิดเป็นกองกำลังสามเส้าต่างคุมเชิงกัน

ปัญหาที่ก๊กอู๋ต้องเผชิญคือ ต้องคอยป้องกันชาวเขาเผ่าเยว่ ที่คอยก่อความไม่สงบ และมีแรงกดดันจากกองกำลังของก๊กวุ่ยทางตอนเหนือ ในปีค.ศ. 234 ภายหลังดำเนินยุทธการปิดล้อม ทำให้ชาวเขาเผ่าเยว่วางอาวุธยอมแพ้ จากนั้นมา ชาวฮั่นและชาวเผ่าเยว่ก็มีการหลอมรวมทางชนชาติเข้าด้วยกัน สำหรับปัญหากองกำลังของก๊กวุ่ยที่กดดันอยู่ทางตอนเหนือ ก็มีการผลัดกันรุกรับ หลังจากขงเบ้งเสียชีวิตและก๊กวุ่ยปราบก๊กสูลงได้แล้ว ก๊กวุ่ยก็เพิ่มแรงกดดันทางทหารต่อก๊กอู๋มากขึ้น แต่เนื่องจากความสามารถทางน้ำของกองทัพก๊กวุ่ยมีจำกัด การสู้รบจึงยืดเยื้อยาวนานต่อมาอีกหลายปี

ในช่วงเวลา 52 ปีของการสถาปนารัฐวุ่ยนี้ ได้มีการบุกเบิกที่ดินทำการเกษตร การเมืองการปกครองก็มั่นคงมีเสถียรภาพ ดินแดนแถบเจียงหนันได้มีการพัฒนาด้านกิจการต่อเรือและการขนส่งทางน้ำอย่างมาก แม่น้ำสายต่าง ๆได้รับการเชื่อมต่อจนกลายเป็นเส้นทางการคมนาคมสายหลักจากตะวันออกสู่ดินแดนทางตอนใต้ ถึงกับมีการเดินเรือขึ้นเหนือถึงเหลียวตง ทิศใต้ล่องถึงหนันไห่หรือเขตทะเลใต้ เมื่อถึงปีค.ศ. 230 ได้มีคณะเดินเรือไปถึงเกาะไต้หวันเป็นครั้งแรกเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ราชทูตจากรัฐอู๋ยังเดินทางล่องใต้ลงไปจนถึงแถบทางตอนใต้ของเวียดนามและอาณาจักรฟูนัน(กัมพูชาในปัจจุบัน) เป็นต้น ได้มีการเผยแพร่ของพุทธศาสนาจากลั่วหยังลงสู่ดินแดนทางตอนใต้ พร้อม ๆกับลัทธิเต๋า

หลังจากซุนกวนเสียชีวิตในปีค.ศ. 252 รัฐอู๋ก็อ่อนแอลง ในขณะที่ก๊กวุ่ยที่นำโดยตระกูลซือหม่านับวันจะมีกองกำลังเข้มแข็งขึ้น หลังจากรวมก๊กสูเข้าไว้ในปีค.ศ. 263 และผลัดแผ่นดินสถาปนาราชวงศ์จิ้นในปีค.ศ. 265 ราชวงศ์จิ้นต้องวุ่นวายอยู่กับการวางรากฐานการปกครองให้กับราชวงศ์ใหม่ เป็นเหตุให้รัฐอู๋ยังสามารถประคองตัวมาได้อีกระยะเวลาหนึ่ง เมื่อถึงปีค.ศ. 269 จิ้นที่ได้ผู้เชี่ยวชาญทางน้ำจากรัฐสู เริ่มฝึกกองกำลังทางน้ำ เมี่อถึงปี ค.ศ. 279 กองทัพจิ้นก็ยกประชิดอู๋ทางตอนเหนือของลำน้ำแยงซี และสามารถเข้าถึงเมืองหลวงเจี้ยนเย่ได้ในปีค.ศ. 280 รัฐอู๋ก็ถึงกาลล่มสลาย

ในยุคสามก๊กนี้ถึงแม้ว่าจะมีการศึกสงครามอยู่เสมอ แต่สภาพบ้านเมืองยังมีความแตกต่างจากความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เนื่องจากเป็นสงครามที่ประชาชนต่างก็มุ่งหวังให้มีการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว ทางด้านกำลังทหารแล้ว ต้องถือว่าก๊กวุ่ยเข้มแข็งที่สุด รองลงมาคืออู๋ จากนั้นเป็นสูอ่อนแอที่สุด ดังนั้นภาระการรวมแผ่นดินสุดท้ายจึงตกอยู่ที่วุ่ยหรือจิ้น นับจากสภาพความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงการคานอำนาจในยุคสามก๊กแล้ว นี่คือความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง และหากนับตามช่วงเวลาของการอยู่ในอำนาจแล้ว ก๊กอู๋อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดถึง 52 ปี รองลงมาคือก๊กวุ่ย 45 ปี และสุดท้ายคือก๊กสู 43 ปี ในปีค.ศ. 280 เมื่อจิ้นอู่ตี้ แห่งราชวงศ์จิ้นยกทัพเข้ากวาดล้างก๊กอู๋ที่เหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวแล้ว ยุคสมัยของสามก๊กก็เป็นอันสิ้นสุด.



***เนื่องจากความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์จีนเกี่ยวกับการจัดแบ่งช่วงเวลาในยุคนี้แตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย คือความเห็นแรก (ปีค.ศ 220 – 265) เริ่มต้นจากที่วุ่ยทะยานขึ้นสู่อำนาจใหญ่แทนราชวงศ์ฮั่นในปีค.ศ. 220และสิ้นสุดเมื่อราชวงศ์จิ้นสถาปนาขึ้นแทนวุ่ยในปี 265 และความเห็นที่สองคือ (ปีค.ศ. 196 – 280) เริ่มต้นเมื่อตั๋งโต๊ะบีบให้ฮั่นเสี้ยนตี้องค์ฮ่องเต้หุ่นเชิดของฮั่น เสด็จออกจากนครหลวงลั่วหยังไปยังสวี่ชางในปีค.ศ. 196และสิ้นสุดในปีค.ศ. 280 เมื่อจิ้นปราบก๊กอู๋ได้สำเร็จ และรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง




เตียบ่อกี้
#11   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 08:44:40 ]

[b]จิ้นตะวันตก (คริสตศักราช 265 – 316)

ปีคริสตศักราช 265 ซือหม่าเอี๋ยนประกาศตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตกขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของสามก๊กก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง

ราชวงศ์จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น

ขณะที่ขุมกำลังจากตระกูลใหญ่เหล่านี้เติบโตขึ้น ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทว่าอำนาจการปกครองจากส่วนกลางกลับอ่อนแอลง เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในเวลาต่อมา ในยุคสมัยนี้ บ้านเมืองเสื่อมโทรม กลุ่มผู้มีอำนาจใช้ชีวิตอย่างความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันและคดโกง ขณะที่คนจนถูกเรียกเก็บภาษีแพงลิบลิ่ว เหล่าปัญญาชนที่เกิดมาท่ามกลางยุคสมัยแห่งความวุ่นวายนี้ ต่างท้อแท้สิ้นหวัง พากันหลีกหนีความเป็นจริง ไม่ถามไถ่ปัญหาบ้านเมือง ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุราและพูดคุยเรื่องราวไร้สาระ หรือเสนอแนวคิดเชิงดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ดังนั้น ศาสตร์ในการทำนายทายทักและแนวคิดเชิงอภิปรัชญา จึงเป็นที่นิยมอย่างสูง

ขณะเดียวกัน การแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในราชสำนักก็ทวีความเข้มข้นขึ้น อำนาจในการปกครองของฝ่ายราชสำนักตกอยู่ในภาวะวิกฤต จิ้นอู่ตี้เนื่องจากได้รับบทเรียนจากราชวงศ์วุ่ยที่ไม่ได้จัดสรรอำนาจให้เชื้อพระวงศ์เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นซึ่งอยู่ในตระกูลอื่นเข้าฉกฉวยอำนาจได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อรักษาพระราชอำนาจของตนไว้ จึงทรงอวยยศเหล่าเชื้อพระวงศ์ขึ้นเป็นอ๋อง ให้อำนาจในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางทหารของกลุ่มอำนาจภายนอก ทำให้เชื้อพระวงศ์เหล่านี้สามารถบัญชาการกำลังทหารจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงสมัยของจิ้นฮุ่ยตี้ การอวยยศซึ่งแต่เดิมมีจุดมุ่งหมายเพื่ออารักขาฐานอำนาจของราชสำนัก กลับเป็นบ่อเกิดของข้อขัดแย้งในการแบ่งลำดับขั้นการบริหาร ทำให้ภายในราชสำนักเกิดการแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่ บรรดาอ๋องพระราชทานต่างก็ถูกม้วนเข้าสู่วังวนแห่งอำนาจทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 291 เป็นต้นมา เมืองลั่วหยาง ได้เกิดเหตุจราจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’อ๋องทั้ง 8 ได้แก่ อ๋องเลี่ยง อ๋องเหว่ย อ๋องหลุน อ๋องจ่ง อ๋องหยิ่ง อ๋องอี้ อ๋องหยงและอ๋องเย่ว์ ต่างยกกำลังเข้าห้ำหั่นกันเกิดเป็นสงครามภายในขึ้น เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองครั้งนี้กินเวลาถึง 16 ปี ทหารและพลเรือนลัมตายนับแสน หลายเมืองถูกทำลายล้างยับเยิน เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกที่แต่เดิมก็ไม่ได้มีผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจมากนักอยู่แล้ว กลับยิ่งต้องเผชิญกับความเสียหายอย่างสาหัส สุดท้ายจิ้นฮุ่ยตี้ถูกวางยาสิ้นพระชนม์ บรรดาอ๋องต่างฆ่าฟันกันจนสิ้นเรี่ยวแรง

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจราจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย

ราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้(คริสตศักราช 220 – 589)ที่มีการปกครองแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว คำจารึกที่สลักไว้บนแผ่นไม้หน้าสุสานของหวังหมิ่น จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่อักษรจีนเริ่มพัฒนาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน



เตียบ่อกี้
#12   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 08:49:10 ]

จิ้นตะวันออก (คริสตศักราช 317 – 420)

ราชวงศ์จิ้นตะวันออกก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพโยกย้ายราชธานีของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี

สถาปนาจิ้นตะวันออก
ปีคริสตศักราช 316 เมื่อจิ้นหมิ่นตี้ ฮ่องเต้องค์สุดท้ายถูกชนเผ่าซงหนูจับเป็นเชลย ราชวงศ์จิ้นตะวันตกก็ถึงกาลอวสาน บรรดาขุนนางเก่าของราชวงศ์จิ้นที่ไม่ยอมรับในชะตากรรม ยังคงมีความเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้สถานการณ์อยู่ทุกหนแห่ง ในปีค.ศ. 317 ภายใต้การสนับสนุนจากเหล่าตระกูลชนชั้นสูงในจงหยวน(ที่ราบภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห)และเจียงหนัน(ดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียง) ซือหม่ารุ่ย ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหลางหย่าหวัง จึงตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จิ้นสืบต่อมา ทรงพระนามว่าจิ้นหยวนตี้ และสถาปนาเมืองเจี้ยนคัง(เมืองหนันจิงมณฑลเจียงซูในปัจจุบัน) ขึ้นเป็นนครหลวง ถือเป็นจุดเริ่มของจิ้นตะวันออก

จิ้นตะวันออกถึงแม้จะย้ายเมืองหลวงมายังแดนเจียงหนันทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากยังคงมีการสืบราชบัลลังก์ต่อมา จึงคงมีความมุ่งหวังที่จะรวมแผ่นดินทางตอนเหนือกลับเข้ามาอีกครั้ง ตลอดยุคสมัยนี้ มีขุนศึกที่อาสายกทัพขึ้นเหนือหลายครั้ง จู่ถี้ปราบอุดรก็เป็นครั้งหนึ่งของความพยายามในการรวมประเทศ

จู่ถี้แต่เดิมอยู่ในกลุ่มตระกูลใหญ่จากทางเหนือ ระยะแรกเมื่ออพยพลงสู่ใต้นั้น เนื่องจากยังมีสมัครพรรคพวกและประชาชนที่ภักดีอยู่ทางเหนือ จึงเห็นว่าการยกทัพขึ้นเหนือมีโอกาสประสบชัยอย่างมาก ดังนั้น ก่อนการประกาศก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันออก จึงขอการสนับสนุนจากซือหม่ารุ่ยหรือจิ้นหยวนตี้ในเวลาต่อมา เพื่อปราบกบฏฝ่ายเหนือ ซือหม่ารุ่ยแต่งตั้งจู่ถี้เป็นเจ้าเมืองอี้ว์โจวแล้วมอบเสบียงให้จำนวนหนึ่ง จู่ถี้นำกำลังข้ามแม่น้ำไป (เหนือใต้ของจีนกางกั้นด้วยแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียง) สะกดทัพของสือเล่ออีกทั้งเข้ายึดดินแดนส่วนหนึ่งของแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโหที่อยู่เหนือขึ้นไปไว้ได้ ขณะนั้นเอง ราชสำนักทางตอนใต้เกิดกบฏหวังตุนเป็นเหตุให้การยกทัพขึ้นเหนือของจู่ถี้ต้องหยุดชะงักไป จู่ถี้ยามโกรธแค้นถึงกับล้มป่วยและเสียชีวิตลงในปี 321 จากนั้นสือเล่อเข้าโจมตีเอาดินแดนเหอหนันกลับคืนไปได้ แผนการรวมประเทศครั้งนี้จึงล้มเหลวลง

การแก่งแย่งในราชสำนัก

แม้ว่าบ้านเมืองในสมัยราชสำนักจิ้นตะวันออกที่ได้รับการค้ำจุนจากบรรดากองกำลังของตระกูลใหญ่จากจิ้นตะวันตกจะมีการพัฒนาอยู่บ้าง แต่ทว่า ภายในนั้นกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้ง จากการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้าถิ่นที่มีอำนาจแต่เดิมกับกลุ่มอำนาจใหม่ที่โยกย้ายเข้ามา ซึ่งโดยมากฝ่ายตระกูลใหญ่จากจงหยวนเป็นผู้กุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ส่วนกลุ่มผู้นำฝ่ายใต้ถูกกีดกันจากวิถีทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการช่วงชิงระหว่างกลุ่มตระกูลใหญ่กับราชสำนัก หรือแม้แต่กลุ่มตระกูลฝ่ายเหนือด้วยกันเองก็มีการแย่งชิงที่ดุเดือดไม่แพ้กัน

ช่วงระหว่างปีคริสตศักราช 317 – 399 รัชสมัยจิ้นหยวนตี้ถึงจิ้นอันตี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์จิ้นตะวันออกมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงแม้ว่าระหว่างนี้มีการก่อความไม่สงบบ้างประปรายแต่ก็ถูกบรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลใหญ่ร่วมกันกดดันให้สลายตัวไปในที่สุด พัฒนาการดังกล่าว ได้ทำให้เกิดกลุ่ม 4 ตระกูลใหญ่ที่ผลัดกันขึ้นกุมอำนาจทางการเมืองในสมัยจิ้นตะวันออก อันได้แก่ ตระกูลหวัง อี่ว์ หวน เซี่ย ขณะที่กษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ เป็นเหตุให้บ้านเมืองตกอยู่ในสภาพคลอนแคลน ยากจะก้าวไปข้างหน้า

หลังจากจิ้นหยวนตี้สถาปนาจิ้นตะวันออกแล้ว หวังเต่าได้เข้ากุมอำนาจบริหารการปกครองภายใน ส่วนหวังตุนถือกำลังทหารคุมอยู่ภายนอก เป็นเหตุให้จิ้นหยวนตี้รู้สึกถึงการคุกคามจากตระกูลหวัง หลังจากจิ้นหยวนตี้เสด็จสวรรคต จิ้นหมิงตี้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ปี 324 หวังตุนป่วยหนัก หมิงตี้ฉวยโอกาสยกทัพปราบ สุดท้ายหวังตุนป่วยหนักเสียชีวิต กองกำลังที่เหลือถูกกวาดล้างสิ้น

เมื่อถึงรัชสมัยจิ้นเฉิงตี้ อี่ว์เลี่ยง อาศัยฐานะพระเจ้าอาเข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ ขณะที่อี่ว์เลี่ยงต้องการกีดกันจู่เยว์ ที่ครองเมืองอี้ว์โจว และหวาดระแวงซูจวิ้น ที่มีความชอบจากการปราบหวังตุน เมื่อถึงปี 327 อี่ว์เลี่ยงส่งสาส์นเรียกซูจวิ้นเข้าเมืองหลวง แต่ซูจวิ้นเกรงว่าอี่ว์เลี่ยงจะหาโอกาสกำจัดตน จึงชิงร่วมมือกับจู่เยว์ยกกำลังเข้าเมืองเจี้ยนคัง ต่อมาปี 329 อี่ว์เลี่ยงปราบกบฏซูจวิ้นสำเร็จ ยึดอำนาจคืนได้ทั้งหมด

ชั่วระยะเวลาสั้น ๆที่จิ้นตะวันออกสงบลงนั้น หวนเวิน ที่ครองเมืองจิงโจวในรัชสมัยจิ้นมู่ตี้ ปี 347 ยกทัพปราบแคว้นสู (มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) จากนั้นอาสาบุกขึ้นเหนือเพื่อขยายอำนาจของตน ทำให้ราชสำนักจิ้นหวาดระแวง ต่อมาแม้ว่าภายหลังหวนเวินบุกขึ้นเหนือ 3 ครั้ง รุกคืบแล้วถูกตีกลับคืน สุดท้ายยังคงไม่อาจสำเร็จกิจการใหญ่

การศึกที่ลำน้ำเฝยสุ่ย
แม้ว่าหวนเวินล้มเหลวในการยกทัพขึ้นเหนือ แต่ยังคงสามารถยึดครองอำนาจทางการเมืองไว้ได้ จวบจนปี 373 หวนเวินล้มป่วยเสียชีวิต เซี่ยอันซึ่งมาจากกลุ่มทายาทตระกูลใหญ่ จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในการบริหารบ้านเมือง

เซี่ยอันใช้การถ่วงดุลอำนาจและประสานผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ช่วยลดการกระทบกระทั่งของหลายฝ่ายลงได้ จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก และได้รับการยกย่องอย่างสูง ในช่วงเวลาดังกล่าวจิ้นตะวันออกจึงมีความสงบสุขในชั่วระยะเวลาหนึ่ง

จวบจนปี 382 ฝูเจียน ผู้นำแคว้นเฉียนฉิน ทางตอนเหนือ มีกำลังกล้าแข็งขึ้น จึงเรียกระดมกำลังพลครั้งใหญ่บุกลงมาทางใต้ เพื่อหวังรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งอีกครั้ง ขณะที่ทัพของฝูเจียนเต็มไปด้วยความฮึกเหิมลำพอง จิ้นตะวันออกก็เตรียมรับมือไว้พร้อมสรรพ สองทัพตั้งประจันกันที่สองฝั่งลำน้ำเฝยสุ่ย และด้วยการประสานของเซี่ยอัน เหล่านายทัพจากกลุ่มตระกูลใหญ่ร่วมมือประสานเสริม จนในที่สุดโจมตีทัพใหญ่ของฝูเจี้ยนแตกพ่ายกลับไป ชัยชนะของฝ่ายใต้ครั้งนี้ ทำให้แผนการรวมประเทศต้องล้มพับไปอีกครั้ง ทางตอนใต้รอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งใหญ่ เศรษฐกิจและสังคมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกช่วงหนึ่ง อันเป็นปัจจัยสำคัญสู่การต่อสู้ยึดเยื้อในสงครามแย่งชิงดินแดนที่แบ่งเป็นเหนือใต้ตั้งประจันกันในเวลาต่อมา

บ้านเมืองไม่เป็นระบบ เหตุแห่งความล่มสลาย

ภายหลังการศึกที่เฝยสุ่ย ทำให้ฝ่ายเหนือแตกแยกกันอีกครั้ง ภาวะภัยคุกคามจากภายนอก(ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผ่อนคลายลง ข้อขัดแย้งจากการแบ่งชนชั้นการปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของชนชั้นสูงและการกดขี่ขูดรีดราษฎรทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกณฑ์แรงงาน ในรัชสมัยจิ้นมู่ตี้ราษฎรถึงกับยอมเป็นคนพิการ เพราะเพื่อต้องการหลบเลี่ยงการเกณฑ์แรงงาน ชายหนุ่มไม่กล้าตบแต่งภรรยา เมื่อมีบุตรก็ไม่สามารถเลี้ยงดู ชาวนามากมายสิ้นเนื้อประดาตัว จำต้องละทิ้งถิ่นฐาน เพื่อหลบหนีการเกณฑ์แรงงาน

หลังการศึกทีเฝยสุ่ย ทำให้อำนาจทางการเมืองของเซี่ยอันกล้าแข็งขึ้น สะกิดความระแวงของจิ้นเขาอู่ตี้จึงหาทางลดอำนาจของเซี่ยอัน แล้วหันไปมอบอำนาจให้กับน้องชาย คือซือหม่าเต้าจื่อหลังจากที่เซี่ยอันเสียชีวิต ซือหม่าเต้าจื่อเข้ากุมอำนาจทางการทหารแต่ผู้เดียว เปิดศึกแย่งชิงอำนาจกับกลุ่มตระกูลใหญ่อีกครั้ง ภายหลังการหักล้างอย่างดุเดือด สภาพการณ์โดยรวมจึงกลายเป็น หวนเซวียน(บุตรชายของหวนเวิน) คุมกำลังบริเวณตอนกลางของแม่น้ำฉางเจียง หลิวเหลาคุมตอนล่างของแม่น้ำ ขณะที่เกาหย่าคุมลำน้ำหวยหนัน ขอบเขตที่ราชสำนักจิ้นสามารถควบคุมจึงเหลือเพียง 8 เมือง

ปีคริสตศักราช 399 ซือหม่าหยวนเสี่ยน สั่งระดมเกณฑ์ทหาร กลับเป็นเหตุให้เกิดจราจล กลุ่มลัทธิเต๋านิกายอู๋โต่วหมี่ได้ทำการก่อหวอดขึ้น กลุ่มแรงงานทาสและชาวนาที่อดอยากต่างก็พากันมาสมทบเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหมื่นแสนอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้นบรรดาเจ้าที่ดินจากแดนเจียงตงทั้ง 8 เมืองที่ประสบความเสียหายจากการเกณฑ์แรงงานครั้งนี้ ก็ฉวยโอกาสลุกฮือขึ้นเช่นเดียวกัน

ราชสำนักจิ้นตะวันออกเห็นว่ากองกำลังเจียงตงแข็งกล้าขึ้น จึงยกกำลังทหารเข้าล้อมปราบ จวบจนปีค.ศ. 410 จึงถูกกำจัดสิ้น การปราบปรามจลาจลครั้งนี้ ได้ทำให้กำลังทางทหารของราชวงศ์จิ้นตะวันออกอ่อนโทรมลงอย่างมาก เหิงเซวียนที่คุมกำลังอยู่ตอนกลางของลำน้ำฉางเจียงจึงฉวยโอกาสบุกเข้านครหลวงเจี้ยนคัง ปลดฮ่องเต้จิ้นอันตี้สังหารซือหม่าเต้าจื่อและหยวนเสี่ยนสองพ่อลูก สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้

ขณะนั้นกลุ่มตระกูลใหญ่ที่เคยให้การสนับสนุนต่อราชสำนักจิ้นตะวันออกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม หนึ่งเดียวที่สามารถเข้าต่อกรกับหวนเซวียนได้มีเพียงหลิวอี้ว์ที่มีกำลังเข้มแข็งขึ้นจากผลงานปราบแคว้นโฮ่วเอี้ยนและโฮ่วฉินจากทางเหนือ รวมดินแดนภาคใต้ที่สูญเสียไปกลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ปี 418 หลิวอี้ว์ระดมกำลังปราบหวนเซวียนแตกพ่ายไป จากนั้น ตั้งซือหม่าเต๋อเหวินขึ้นเป็นกษัตริย์ คืนบัลลังก์ให้กับจิ้นตะวันออก จากนั้นในปี 420 บีบให้ฮ่องเต้สละราชย์ ประกาศสถาปนารัฐซ่งแล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ มีพระนามว่า ซ่งอู่ตี้เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์จิ้นตะวันออก

เนื่องจากราชวงศ์จิ้นตะวันออกย้ายเมืองหลวงมายังเจียงหนันทางตอนใต้ เปิดโอกาสให้บรรดานักปราชญ์ผู้มีความรู้จำนวนมากเดินทางอพยพมาด้วย ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับคนทางใต้มากขึ้น เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมและสังคมประเพณี รวมทั้งงานฝีมือของทางเหนือและใต้ก็มีการผสมผสานกลมกลืนกัน ทำให้งานฝีมือในยุคจิ้นตะวันออกมีความก้าวหน้าก้าวใหญ่ นอกจากนี้ นับแต่ราชวงศ์วุ่ย ของโจโฉจากยุคสามก๊กเป็นต้นมา ประเทศจีนได้มีวิวัฒนาการด้านตัวอักษรอย่างก้าวกระโดด เมื่อถึงยุคจิ้นตะวันออก จึงกำเนิดปราชญ์ กวีและนักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อมากมาย อาทิ หวังซีจือ เซี่ยหลิงยุ่นว์ เถาหยวนหมิง เป็นต้น ได้มีการปฏิรูปรูปแบบการเขียนกาพย์กลอนครั้งใหญ่ วางรากฐานให้กับการวิวัฒนาการสู่ยุคทองของวรรณคดีจีนในสมัยราชวงศ์สุยและถังในเวลาต่อมา



เตียบ่อกี้
#13   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 08:54:40 ]

ยุค 16 แคว้นห้าชนเผ่า (คริสตศักราช 304-439)
การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน

สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนู เซียนเปย เจี๋ย ตี เชียง 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่

แคว้น ชนเผ่า / ระยะเวลา

1.เฉิงฮั่น ตี ค.ศ. 304 – 347

2.ฮั่นเจ้า ซงหนู ค.ศ. 304 – 329

3.เฉียนเหลียง ฮั่น ค.ศ. 317 – 376

4.สือเจ้า เจี๋ย ค.ศ. 319 – 351

5.เฉียนเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 337 – 370

6.หรั่นวุ่ย ฮั่น ค.ศ. 350 – 352

7.เฉียนฉิน ตี ค.ศ. 350 – 394

8.โฮ่วฉิน เชียง ค.ศ. 384 – 417

9.โฮ่วเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 384 – 407

10.ซีเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 384 – 394

11.ซีฉิน เซียนเปย ค.ศ. 385 – 431

12.โฮ่วเหลียง ตี ค.ศ. 386 – 403

13.หนันเหลียง เซียนเปย ค.ศ. 397 – 414

14.หนันเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 398 – 410

15.ซีเหลียง ฮั่น ค.ศ. 400 – 421

16.ซีสู ฮั่น ค.ศ. 405 – 413

17.เซี่ย ซงหนู ค.ศ. 407 – 431

18.เป่ยเอี้ยน ฮั่น+เฉาเสี่ยน(เกาหลี) ค.ศ. 407 – 436

19.เป่ยเหลียง ซงหนู ค.ศ. 401 – 439

20.ไต้ เซียนเปย ค.ศ. 315 – 376

อนึ่ง การแบ่งแคว้นในที่นี้ นักประวัติศาสตร์จีนมีการนับที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย บ้างไม่รวมแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่น บ้างไม่นับแคว้นไต้ซึ่งภายหลังเป็นราชวงศ์วุ่ยเหนือ

ความวุ่นวายในประวัติศาสตร์ยุคนี้ ถือเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งต่อการรวมแผ่นดินจีนในอนาคต เนื่องจากจลาจลและการสู้รบอันยาวนานนี้ได้ทำให้เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมระหว่างชนเผ่าต่างๆ ในประเทศจีน ซึ่งส่งผลต่อการวางรากฐานอาณาจักรทางตอนเหนือของจีนในเวลาต่อมา

ยุคต้น -- สถาปนาชนเผ่า

ในบรรดาชนเผ่าทั้ง 5 ผู้ที่เริ่มตั้งตนเป็นอิสระก่อนได้แก่หลี่เท่อจากชนเผ่าตี หลังจากจิ้นอู่ตี้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกสิ้นชีพลง บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างพากันแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวาย ปีค.ศ. 298 เกิดทุพภิกขภัยแห้งแล้งหนัก ชาวบ้านที่อดอยากจากแถบมณฑลกันซู่และส่านซี ต่างพากันหลบหนีลงใต้ จนถึงเขตมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มตระกูลหลี่ได้กลายเป็นผู้นำของกลุ่มอพยพนี้

ขณะที่ขุนนางท้องถิ่นพยายามบีบให้ขบวนผู้อพยพกลับไปทางเหนือ แต่เนื่องจากทางตอนเหนือเกิดจลาจลแปดอ๋องขึ้น อีกทั้งกลุ่มอพยพได้เห็นแล้วว่าเสฉวนอุดมสมบูรณ์กว่ามาก ดังนั้น หลี่เท่อจึงนำกลุ่มคนลุกฮือขึ้นก่อการและบุกเข้ายึดเมืองเฉิงตูไว้ได้ในปีค.ศ. 303 สถาปนาแคว้นเฉิงฮั่น จากนั้นขยับขยายอำนาจสู่เมืองรอบข้าง และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาแว่นแคว้นต่าง ๆของห้าชนเผ่า

หลังจากตระกูลหลี่ลุกฮือขึ้นก่อการได้ครึ่งปี หลิวหยวน ที่มาจากกลุ่มตระกูลชั้นสูงของชนเผ่าซงหนู ซึ่งเคยเป็นข้าราชสำนักของจิ้นตะวันตกนั้น หลังจากจิ้นอู่ตี้สวรรคต เกิดจลาจลแปดอ๋อง หลิวหยวนก็รวบรวมกำลังคน ก่อตั้งแคว้นฮั่น ขึ้นในปี 304 สถาปนานครหลวงที่เมืองผิงหยาง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซันซี) หลังจากหลิวหยวนสิ้น บุตรชายหลิวชง สืบทอดตำแหน่งต่อมาใน ปี 311 และ 316 หลิวชงยกทัพบุกเมืองลั่วหยางและฉางอันตามลำดับ โค่นราชบัลลังก์จิ้นตะวันตกที่เป็นศูนย์กลางอำนาจของแผ่นดินในขณะนั้นลง ย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง รวบอำนาจทางตอนเหนือกว่าครึ่งไว้ในกำมือ

ฝ่ายราชสำนักจิ้นถอยร่นลงมาทางใต้ สถาปนาจิ้นตะวันออก(317-420) ตั้งนครหลวงขึ้นใหม่ ที่เมืองเจี้ยนคัง(เมืองหนันจิง) โดยมีพื้นที่การปกครองเพียงเขตตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในปัจจุบัน

ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายนี้ มีราษฎรจากภาคกลางจำนวนมากพากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังภาคตะวันตก (มณฑลกันซู่และซินเกียงในปัจจุบัน) ซึ่งดินแดนแห่งนี้อยู่ภายใต้การอารักขาของตระกูลจางที่คุมกองกำลังที่เคยอยู่ภายใต้จิ้นตะวันตกอยู่เดิม และต่อมาได้สถาปนาเป็นแคว้นเฉียนเหลียง

หลิวหยวนเดิมมีขุนพลคู่ใจสองคน คนหนึ่งคือ สือเล่อ จากชนเผ่าเจี๋ย และหลิวเย่า ซึ่งเป็นหลานชายของหลิวหยวน หลังจากหลิวชงบุตรชายหลิวหยวนสิ้นชีวิตลง หลิวเย่าก็ช่วงชิงบัลลังก์และเปลี่ยนชื่อแคว้นจากฮั่น เป็นแคว้นเจ้า หรือที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่าฮั่นเจ้า ส่วนสือเล่อก็สถาปนาแคว้นสือเจ้า ในพื้นที่บริเวณมณฑลเหอเป่ยในปัจจุบัน แคว้นเจ้าทั้งสองประดุจน้ำกับไฟ ต่างเข้าห้ำหั่นเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน จวบจนปี 328 กองทัพของสือเจ้าบุกเข้าเมืองลั่วหยาง สังหารหลิวเย่า แคว้นฮั่นเจ้าจึงจบสิ้นลง

สือเล่อยอมรับชาวฮั่นเข้ารับราชการ จัดระเบียบกฎหมาย ตั้งโรงเรียน นำระบบการเก็บภาษีอากรจากราชวงศ์จิ้นตะวันตกมาใช้ ทำให้เป็นที่ยอมรับของชาวฮั่น ถือเป็นอัจฉริยบุคคลที่หาได้ยากแห่งยุค น่าเสียดายที่อายุสั้น หลังจากสือเล่อเสียชีวิตลง สือหู่ ผู้เป็นหลานชายเข้าสืบทอดตำแหน่ง เปิดฉากฆ่าฟันลูกหลานของสือเล่อ สุดท้ายไม่พ้นกรรมสนอง ลูกหลานล้วนเป็นเผ่าพันธุ์อกตัญญู หลังจากสือหู่ตายไป แคว้นสือเจ้าวุ่นวายหนัก สือหมิ่น ชาวฮั่นที่สือหู่ให้การเลี้ยงดู หันกลับมาใช้แซ่ฮั่นของตนตามเดิม เรียกว่า หรั่นหมิ่น เข้าล้มล้างแคว้นสือเจ้า สถาปนาแคว้นหรั่นวุ่ย ในปี 350 ภายใต้คำสั่งของหรั่นหมิ่น ชาวฮั่นที่ถูกกดขี่มานานลุกฮือขึ้นกวาดล้างชนเผ่าเจี๋ย*ที่อยู่ภายในเมืองจนเกือบหมดสิ้น

*ชนเผ่าเจี๋ย เดิมทีมีภูมิลำเนาอยู่ทางซีอี้ว์หรือภาคตะวันตกของจีน มีความแตกต่างจากชนเผ่าอื่น ๆในบรรดาห้าชนเผ่า เนื่องจากชนเผ่าซงหนู ตี เชียง เซียนเปย ล้วนเป็นชาวผิวเหลือง แต่ชาวเจี๋ยกลับมีจมูกโด่งเป็นสัน เบ้าตาลึกคม หนวดเครารกครึ้ม ดังนั้นจึงง่ายต่อการแยกแยะ

นอกจากตระกูลหลี่ที่ก่อตั้งแคว้นเฉิงฮั่นแล้ว แว่นแคว้นที่ก่อตั้งโดยชนเผ่าตีอีกแคว้นหนึ่งก็คือแคว้นเฉียนฉิน(350-394) ที่ยิ่งใหญ่จนสามารถครองแผ่นดินทางภาคเหนือของจีนเกือบทั้งหมดไว้ได้ชั่วระยะหนึ่ง แคว้นเฉียนฉินนำโดยผูหง ซึ่งแต่เดิมเข้าร่วมกับหลิวเย่าจากแคว้นฮั่นเจ้า ต่อมา ปีค.ศ. 328 แคว้นฮั่นเจ้าถูกแคว้นสือเจ้ากวาดล้าง ผูหงก็เข้าสวามิภักดิ์กับแคว้นสือเจ้า ซึ่งได้สั่งอพยพชนเผ่าตีและเชียงกว่าแสนครอบครัวเข้าสู่ส่วนกลางการปกครองของตน จากนั้นมา ชนเผ่าตีก็ได้กลายเป็นขุมกำลังทางทหารที่สำคัญของแคว้นสือเจ้า

ยุคปลายของแคว้นสือเจ้า บ้านเมืองยุ่งเหยิง ผูหงจึงเปลี่ยนมาใช้แซ่ฝู เมื่อฝูหงสิ้นชีพไป ฝูเจียน ที่เป็นบุตรชายนำทัพบุกยึดนครฉางอันคืนจากจิ้นตะวันออก* และสถาปนาแคว้นเฉียนฉินในปี 351

*เดิมฉางอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นเฉิงฮั่นตั้งแต่ปี 304 จนถึงปี 347 แม่ทัพหวนเวินจากจิ้นตะวันออกยกทัพขึ้นเหนือ ล้มล้างเฉิงฮั่น ยึดเอาดินแดนเสฉวนไป

ในบรรดาแคว้นเอี้ยน ทั้งห้านั้น ในสี่แคว้นมีเชื้อสายจากชนเผ่าเซียนเปยตระกูลมู่หรง ส่วนแคว้นเป่ยเอี้ยนนั้น เป็นแคว้นเอี้ยนเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวเกาหลีและชาวฮั่น แต่ก็มีที่มาจากแคว้นเอี้ยนของตระกูลมู่หรงเช่นเดียวกัน

หลังจากตระกูลมู่หรงล้มล้างแคว้นหรั่นวุ่ย เมื่อปีค.ศ. 352 แล้วก็สถาปนาแคว้นเอี้ยนหรือที่นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เฉียนเอี้ยน ครอบครองดินแดนทางภาคอีสานของจีนไว้ได้เกือบทั้งหมด ต่อมาถูกโค่นล้มโดยแคว้นเฉียนฉิน ในปีค.ศ. 370 จากนั้น แคว้นเฉียนฉินก็กวาดล้างแคว้นเฉียนเหลียง รวมดินแดนทางตอนเหนือของจีนเป็นหนึ่งเดียว

* ชนเผ่าเซียนเปย เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเหลียว (มณฑลเหลียวหนิงทางภาคอีสานของจีน) ดำรงชีพด้วยการทำปศุสัตว์เร่ร่อน อาศัยอยู่ (มีเชื้อสายของชาวมองโกลและแมนจู) ภายหลังถูกชนเผ่าซงหนูรุกราน ทำให้ต้องอพยพเข้ามายังภาคกลาง โดยแบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ๆ สายหนึ่งมาจากเขตต้าซิ่งอันหลิ่ง(ทางตอนเหนือของมองโกเลียในปัจจุบัน ติดกับมณฑลเฮยหลงเจียง) เรียกว่าถั้วป๋าเซียนเปย หรือเซียนเปยเหนือ อีกสายหนึ่งเรียกว่าเซียนเปยตะวันออก มาจากเขตตงหู เมื่อตงหูพ่ายแพ้แก่ชนเผ่าซงหนู ก็อพยพเข้ามายังดินแดนภาคกลาง ต่อมาหันมาใช้แซ่ตามอย่างชาวฮั่น อาทิ ตระกูลมู่หรง ตระกูลต้วน และตระกูลอี่ว์เหวิน ล้วนมาจากเซียนเปยตะวันออก

แคว้นเฉียนฉินนั้น หลังจากรวมภาคเหนือได้แล้ว ยังยกกำลังบุกลงใต้ เข้าต่อกรกับราชวงศ์จิ้นตะวันออก หวังรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวด้วยความฮึกเหิม แต่แล้วในปี 383 ต้องพ่ายแพ้แก่จิ้นตะวันออกในการศึกที่เฝยสุ่ย เป็นเหตุให้กลุ่มชนเผ่าอื่นๆ พากันลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบ แผ่นดินภาคเหนือแตกแยกเป็นเสี่ยงอีกครั้ง

ยุคหลัง - แดนมิคสัญญี

ปี 384 เหยาฉาง หัวหน้าชนเผ่าเชียง สังหารฝูเจียน ล้มล้างเฉียนฉิน สถาปนาแคว้นโฮ่วฉิน ต่อมาปี 417 ถูกจิ้นตะวันออกกวาดล้างไป

แคว้นซีฉิน สถาปนาในปี 385 โดยชนเผ่าเซียนเปย บริเวณเมืองหลันโจวมณฑลกันซู่ในปัจจุบัน ถึงปี 431 ถูกแคว้นเซี่ย ทำลายล้างไป

แคว้นโฮ่วเหลียง สถาปนาในปี 386 โดยหลี่ว์กวง ชนเผ่าตี นายทัพใหญ่แห่งแคว้นเฉียนฉิน ซึ่งถูกส่งมาอารักขาดินแดนตะวันตก (แถบมนฑลกันซู่) ถูกกวาดล้างโดยโฮ่วฉินในปี 403

ฟากฝั่งตะวันตกของโฮ่วเหลียง คือแคว้นซีเหลียง สถาปนาในปี 400 โดยหลี่ซง ต่อมาถูกเป่ยเหลียง ล้มล้างในปี 420 ปีกตะวันออกที่เป็นแคว้นหนันเหลียง ก่อตั้งโดยชนเผ่าเซียนเปยในปี 397 (แถบชิงไห่ในปัจจุบัน) ล้มล้างโดยแคว้นซีฉินในปี 414 ส่วนเป่ยเหลียงนั้น สถาปนาในปี 397 โดยชนเผ่าซงหนู ปี 439 ถุกกวาดล้างโดยวุ่ยเหนือ (ภายหลังเป็นราชวงศ์วุ่ยเหนือตั้งประจันกับราชวงศ์ใต้ต่อมาอีกร่วม 200 ปี)

ส่วนตระกูลมู่หรง หันกลับไปยึดดินแดนเหอเป่ย เหลียวหนิง และซานซี สถาปนาแคว้นโฮ่วเอี้ยน และ ซีเอี้ยน ในปี 384 ต่อมาแคว้นซีเอี้ยนถูกแคว้นโฮ่วเอี้ยนล้มล้างในปี 394 จากนั้นโฮ่วเอี้ยนถูกแทนที่โดยเป่ยเอี้ยน ในปี 407 ซึ่งภายหลังถูกกวาดล้างโดยวุ่ยเหนือ ในปี 436 ส่วนหนันเอี้ยน นั้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 398 ในแถบซานตงในปัจจุบัน และถูกล้มล้างโดยจิ้นตะวันออกในปี 410

ปี 402 ราชวงศ์จิ้นตะวันออกที่อยู่ทางตอนใต้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ หวนเซวียน ผู้กุมอำนาจทางทหารยึดเมืองหลวงเจี้ยนคังไว้ได้ ปลดจิ้นอันตี้ จากบัลลังก์ สถาปนาตนขึ้นเป็นใหญ่ ต่อมาปี 404 หลิวอี้ว์ บุกยึดเมืองหลวงกลับคืนมาได้ ประหารหวนเซวียนและพรรคพวก ช่วงเวลาของการโรมรันพันตูกันอยู่นั้น หลิวเฉียวจ้ง นายทัพที่ดูแลเมืองอี้โจว ฉวยโอกาสหันมาบุกเมืองเฉิงตู ตั้งตนเป็นอ๋อง สถาปนาแคว้นซีสู จากนั้นหลิวอี้ว์แห่งจิ้นตะวันออกใช้เวลา 9 ปี(405-413) เข้าปราบซีสูจนเป็นผลสำเร็จ เฉียวจ้งสิ้น แคว้นซีสูกลับคืนสู่จิ้นตะวันออก

แคว้นเซี่ย ก่อตั้งโดยเฮ่อเหลียนป๋อป๋อ จากชนเผ่าซงหนู ในปี 407 (เดิมอาศัยอยู่บริเวณมองโกเลียใน) หลังจากจิ้นตะวันออกเข้ากวาดล้างแคว้นโฮ่วฉิน ในปี 417 ป๋อป๋อเข้าโจมตีทัพจิ้นแตกพ่าย ยึดนครฉางอานไว้ได้ ต่อมาในปี 431 ปราบแคว้นซีฉินลงได้ แต่สุดท้ายถูกโจมตีโดยชนเผ่าเร่ร่อนถู่อี้ว์หุน แว่นแคว้นล่มสลาย

ในสมัยสามก๊ก ชนเผ่าถั้วป๋าเซียนเปย หรือเซียนเปยเหนือ* ซึ่งมีลี่เวย เป็นหัวหน้าเผ่าได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตแคว้นของก๊กวุ่ย(โจโฉ) ต่อมาในปี 314 ชนรุ่นหลังของลี่เวย สถาปนาแคว้นไต้ ปี 376 ฝูเจียนแห่งแคว้นเฉียนฉินยกทัพปราบแคว้นไต้ จากนั้นจัดส่งสืออี้เจี้ยน ที่เป็นเจ้าแคว้นให้ไปศึกษาไท่เสียว์ (ว่าด้วยการบริหารและการปกครอง เป็นศาสตร์ความรู้ขั้นสูงสำหรับชนชั้นผู้ปกครองในสมัยนั้น) หลังจากการศึกที่เฝยสุ่ย แคว้นเฉียนฉินล่มสลาย หลานชายของสืออี้เจี้ยนวัย 14 ปี ซึ่งเติบโตมาในทุ่งหญ้าทางตอนเหนือ ได้นำพาผู้คนในชนเผ่าของตนก่อตั้งแคว้นไต้ขึ้นมาอีกครั้งในปี 386 ภายหลังเรียกกันว่า เป่ยวุ่ยหรือวุ่ยเหนือ ต่อมาในปี 396 วุ่ยเหนือล้มล้างโฮ่วเอี้ยน ครอบครองภาคเหนือของจีน เมื่อถึงรัชกาลไท่อู่ตี้ ก็ได้สืบทอดปณิธานการรวมแผ่นดินต่อมา ในปี 427 ปราบแคว้นเซี่ย ปี 432 ล้างดินแดนเหลียวตงแคว้นเป่ยเอี้ยน ปี 439 ปราบเป่ยเหลียงและชนเผ่าต่าง ๆที่เหลือ นับจากนั้น ฉากสงครามแห่งความแตกแยกวุ่นวาย สงครามตะลุมบอนหมู่ทางภาคเหนือที่กินเวลายาวนานมากว่า 130 ปีก็ได้จบสิ้นลง ดินแดนภาคเหนือกลับคืนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ยุคแห่งสงครามแก่งแย่งของห้าชนเผ่าเป็นอันจบสิ้นลง


ยุค 16 แคว้นถึงแม้ว่าจะเป็นยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความแตกแยกวุ่นวาย แต่ก็ได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชาติจีนอย่างใหญ่หลวง กลุ่มชนเผ่าที่เคยอาศัยในเขตแดนห่างไกลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของจีน ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในดินแดนภาคกลางหรือจงหยวน ที่เดิมเคยปกครองโดยชาวฮั่นมาโดยตลอด เกิดการหลอมกลืนทางสายเลือดและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ในแง่การปกครองแล้ว ยังเป็นถือนิมิตใหม่ในการจัดการปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างชนเผ่าและชนชั้น เมื่อผ่านการลองผิดลองถูก มีสำเร็จและล้มเหลว ประสบการณ์ของพวกเขาเหล่านั้น ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญต่อการปฏิรูปการปกครองในยุคต่อมา







เตียบ่อกี้
#14   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:00:42 ]

ราชวงศ์เหนือใต้ (คริสตศักราช 420 – 589)

แม้เป็นช่วงเวลาเพียงระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้วัฒนธรรมฮั่นยังคงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อมา ไม่ต้องถึงกาลล่มสลายไปโดยชนกลุ่มน้อย ดังนั้น การคงอยู่ของราชวงศ์ใต้ โดยนัยทางประวัติศาสตร์ของจีน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหัวใจของการคงอยู่หรือล่มสลายของอารยธรรมจีนในดินแดนแถบนี้”

หลังจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก(ทางใต้)และยุค 16 แคว้น(ทางเหนือ)สิ้นสุดลง สภาพบ้านเมืองแบ่งแยกออกเป็นเหนือใต้ตั้งประจันหน้ากัน โดยราชวงศ์เหนือ (ค.ศ. 386 – 581) ต่อเนื่องจากยุค 16 แคว้น ปกครองโดยราชวงศ์เป่ยวุ่ยหรือวุ่ยเหนือ ซึ่งต่อมาแตกแยกออกเป็นวุ่ยตะวันออก และวุ่ยตะวันตก วุ่ยตะวันออกถูกกลืนโดยเป่ยฉี ส่วนเป่ยโจว เข้าแทนที่วุ่ยตะวันตก ต่อมาเป่ยโจวรวมเป่ยฉีเข้าด้วยกันอีกครั้ง ส่วนราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 420 – 589) ต่อเนื่องจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก มีการผลัดแผ่นดินโดยราชวงศ์ ซ่ง ฉี เหลียง เฉิน ตามลำดับ

ราชวงศ์เหนือ (ค.ศ. 386 – 581)

หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจราจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง( ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) จากนั้นทยอยกวาดล้างกลุ่มอำนาจอิสระที่เหลือ ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือในที่สุด (ค.ศ. 439)บ้านเมืองมีความสงบและมั่นคงขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง


จนกระทั่งรัชสมัยเสี้ยวเหวินตี้ ขึ้นครองราชย์(ค.ศ. 471 – 499) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งทำให้เกิดการเร่งกระบวนการหลอมรวมทางวัฒนธรรมขนานใหญ่ ภายใต้นโยบาย ‘ทำให้เป็นฮั่น’ อาทิ การใช้ภาษาฮั่นในราชสำนัก ให้ชาวเซียนเปยหันมาสวมใส่เสื้อผ้าของชาวฮั่น หรือแม้แต่เปลี่ยนมาใช้แซ่ตามแบบของชาวฮั่น* เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มชนเผ่ากับชาวฮั่นมากขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้วิธีการผูกสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วยการแต่งงานระหว่างชาวฮั่นและเซียนเปย ขณะที่ในทางการเมืองก็เพิ่มปริมาณชาวฮั่นที่เข้ารับข้าราชการเป็นขุนนางมากขึ้น รวมทั้งยังหันมาใช้ระบบการบริหารบ้านเมืองตามระเบียบปฏิบัติของชาวฮั่น และในปี 493 เสี้ยวเหวินตี้ทรงย้ายเมืองหลวงเข้าสู่ภาคกลาง – เมืองลั่วหยาง การปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคนนี้ได้ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของดินแดนทางตอนเหนือรุดหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็กลับสร้างความไม่พอใจในหมู่ชนชั้นสูงและผู้มีอำนาจทางทหารของชนเผ่า

* เดิมทีแซ่ของชนเผ่าทางเหนือจะมีตั้งแต่ 2-3 ตัวอักษร เมื่อเปลี่ยนมาใช้แซ่ตามแบบชาวฮั่น จะเหลือเพียงอักษรเดียว อาทิ ทั่วป๋า เปลี่ยนเป็น แซ่หยวน ตู๋กูหรือต๊กโกว เปลี่ยนเป็นแซ่หลิว ปู้ลิ่วกู เปลี่ยนเป็นแซ่ลู่ ชิวมู่หลิง เปลี่ยนเป็นแซ่มู่ เป็นต้น

สิ้นรัชสมัยเสี้ยวเหวินตี้ เป่ยวุ่ยเริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม กษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา ไม่สนใจปฏิรูปการปกครอง แต่กลับรื้อฟื้นระบบสิทธิประโยชน์ของชนเผ่าเซียนเปย สร้างความขัดแย้งในสังคม เมื่อถึงรัชสมัยของเสี้ยวหมิงตี้ (ค.ศ.523) เกิดกบฏ 6 เมืองขึ้น เป่ยวุ่ยเข้าสู่ภาวะจราจล อันนำสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา กลุ่มผู้มีอำนาจทางทหารหาเหตุยกพลบุกเมืองหลวงปลดและแต่งตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดตามใจตน

เมื่อถึงปี 534 เสี้ยวอู่ตี้ เนื่องจากทรงขัดแย้งกับเกาฮวน ที่กุมอำนาจในราชสำนัก จึงหลบหนีจากเมืองหลวง เพื่อขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่ ที่เมืองฉางอัน ฝ่ายเกาฮวนก็ตั้งเสี้ยวจิ้งตี้กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยย้ายเมืองหลวงไปเมืองเย่ หรือเมืองอันหยางมณฑลเหอหนันในปัจจุบัน ทางประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า วุ่ยตะวันออก (ค.ศ. 534 – 550) ส่วนเสี้ยวอู่ตี้หลังจากไปขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่ได้ไม่นานก็ถูกสังหาร จากนั้นในปี 535 อี่ว์เหวินไท่ก็ตั้งเหวินหวงตี้ ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองฉางอัน ประวัติศาสตร์จีนเรียก วุ่ยตะวันตก (ค.ศ. 535 – 557)

ต่อมาไม่นาน หลังจากเกาฮวนสิ้น บุตรชายเกาหยาง ปลดฮ่องเต้หุ่น สถาปนา เป่ยฉี ส่วนวุ่ยตะวันตกก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน อี่ว์เหวินเจวี๋ย บุตรชายของอี่ว์เหวินไท่ สถาปนา เป่ยโจว


เป่ยฉี (ค.ศ. 550 – 577) ที่มีรากฐานจากวุ่ยตะวันออก เดิมทีบ้านเมืองค่อนข้างเข้มแข็ง แต่เนื่องจากกษัตริย์รุ่นต่อมาล้วนเลวร้ายและโหด...ม ทั้งมากระแวง เปิดฉากฆ่าฟันทายาทตระกูลหยวน ซึ่งเป็นเชื้อสายจากราชวงศ์เป่ยวุ่ยและบรรดาขุนนางชาวฮั่นไปมากมาย ทำให้ราชวงศ์เป่ยฉีสูญเสียความชอบธรรมและการสนับสนุนจากกลุ่มชนเผ่าเซียนเปยเองและกลุ่มชาวฮั่น อันเป็นเหตุแห่งความล่มสลายในปี 577 เป่ยฉีก็ถูกเป่ยโจวกวาดล้าง

เป่ยโจว (ค.ศ. 557 – 581) ที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับเป่ยฉี โดยแทนที่วุ่ยตะวันตก ในระยะแรกมีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่าเป่ยฉี แต่เนื่องจากกษัตริย์โจวอู่ตี้ (ครองราชย์ปีค.ศ. 561-579) มีการบริหารการปกครองที่ได้ผล ทำให้เป่ยโจวทวีความเข้มแข็งขึ้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปฏิรูประบบกองกำลังทางทหาร โดยผสมผสานการเกณฑ์กำลังพลรบเข้ากับระบบกำลังการผลิต จนกระทั่งสามารถล้มล้างเป่ยฉี รวมแผ่นดินภาคเหนือเข้าด้วยกันในปี 577

ต่อมาปี 578 อู่ตี้สิ้น หลังจากนั้นเป็นต้นมา กำลังทางทหารของเป่ยโจวค่อยๆโยกย้ายสู่มือของหยางเจียน ผู้เป็นพ่อตาและญาติ เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย จากนั้นกรีฑาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ


ราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 420 – 589)

ค.ศ. 420 ราชวงศ์จิ้นตะวันออกล่มสลาย ทางภาคใต้ของจีนได้ปรากฏราชวงศ์ที่ก้าวขึ้นปกครองดินแดนทางตอนใต้ของจีน 4 ราชวงศ์ตามลำดับ ได้แก่ ซ่ง ฉี เหลียง และเฉิน โดยมีระยะเวลาในการปกครองค่อนข้างสั้นรวมแล้วเพียง 95 ปีเท่านั้น ในบางราชวงศ์ที่สั้นที่สุด มีเวลาเพียง 23 ปีเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่จีนมีอัตราการผลัดแผ่นดินสูงมาก


ซ่ง (ค.ศ. 420 – 479)

หลิวอี้ว์ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง ซึ่งได้พัฒนาตัวเองจนเข้มแข็งขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์จิ้นตะวันออก โดยหลิวอี้ว์ได้ชัยชนะจากการแก่งแย่งอำนาจของ 4 ตระกูลใหญ่ แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันออก ดังนั้น ในปีค.ศ. 420 หลิวอี้ว์ถอดถอนฮ่องเต้ราชวงศ์จิ้น สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยใช้ชื่อราชวงศ์ซ่ง เพื่อแยกแยะการเรียกหาออกจากราชวงศ์ซ่งในยุคหลัง ดังนั้นในยุคนี้ ประวัติศาสตร์จีนจึงเรียกว่า หลิวซ่ง

เนื่องจากหลิวอี้ว์ถือกำเนิดในชนชั้นยากไร้ อีกทั้งได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของจิ้นตะวันออก ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการต่อสู้กันเองของกลุ่มตระกุลใหญ่กันเอง ดังนั้น หลังจากที่หลิวอี้ว์ขึ้นครองบัลลังก์ ก็ไม่ให้ความสำคัญกับบรรดากลุ่มตระกูลใหญ่อีก โดยหันมาคัดเลือกกำลังคนจากกลุ่มชนชั้นล่าง และอำนาจทางการทหารก็มอบให้กับบรรดาเชื้อพระวงศ์และบุตรหลานของตน เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับการแก่งแย่งของกลุ่มชนชั้นตระกูลใหญ่ ซ้ำรอยความผิดพลาดของจิ้นตะวันออกอีก แต่ทว่า เนื่องจากในบรรดาเชื้อพระวงศ์เองก็ยังมีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง สุดท้ายต่างประหัตประหารกันและกันอย่างอเนจอนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลิวอี้ว์เองก็คาดไม่ถึง

ก่อนปี 422 หลิวอี้ว์สิ้น ซ่งเส้าตี้ และเหวินตี้ ขึ้นครองราชย์โดยลำดับ หลิวอี้หลงหรือซ่งเหวินตี้ อยู่ในบัลลังก์ 30 กว่าปี เป็นยุคสมัยที่ราชวงศ์ซ่งมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดช่วงเวลาหนึ่ง ขณะนั้น วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ของบ้านเมืองอยู่ในระหว่างขาขึ้น ระหว่างปี 430 – 451 ราชวงศ์ซ่งและเป่ยวุ่ยจากทางเหนือ เกิดสงครามเหนือใต้ สุดท้ายไม่มีผู้ชนะ ต่างต้องประสบกับความเสียหายใหญ่หลวง เป็นเหตุให้ระหว่างราชวงศ์เหนือใต้ ต่างอ่อนล้าลง ไม่มีกำลังเปิดศึกใหญ่อีก นับแต่นั้นมา ต่างฝ่ายก็คุมเชิงกันต่อมา

ปี 454 เมื่อเหวินตี้สิ้น เสี้ยวอู่ตี้ - หมิงตี้ ขึ้นครองราชย์โดยลำดับ ทั้งสองถือเป็นกษัตริย์ทรราชที่ขึ้นชื่อลือเลื่องในประวัติศาสตร์จีน อีกทั้งกษัตริย์องค์ต่อมาล้วนกระทำการ...มโหด มากระแวง ทำให้ลงมือเข่นฆ่าพี่น้องวงศ์วานอย่าง...มโหด บ้านเมืองจึงตกอยู่ในสภาพความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ระหว่างนั้น แม่ทัพฝ่ายขวา เซียวเต้าเฉิง สังหารเฟ่ยตี้ ยกบัลลังก์ให้กับซุ่นตี้ที่มีอายุเพียง 11 ขวบ ฉวยโอกาสเข้ากุมอำนาจบริหารบ้านเมือง ต่อมาในปี 479 ล้มล้างซ่ง สถาปนาราชวงศ์ฉี ทรงพระนาม ฉีเกาตี้


ฉี (ค.ศ. 479 – 502)

ราชวงศ์ฉี เป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นที่สุดในสี่ราชวงศ์ มีระยะเวลาการปกครองเพียง 23 ปีเท่านั้น ฉีเกาตี้หรือเซียวเต้าเฉิง ได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์ซ่ง จึงดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากกว่า รณรงค์ให้มีการประหยัด เซียวเต้าเฉิงอยู่ในบัลลังก์ได้ 4 ปี ก่อนเสียชีวิต ได้ส่งมอบแนวทางการปกครองให้กับบุตรชาย อู่ตี้ ไม่ให้เข่นฆ่าพี่น้องกันเอง อู่ตี้เคารพและเชื่อฟังคำสอนนี้เป็นอย่างดี ทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะสุขสงบชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากอู่ตี้สิ้น ราชวงศ์ฉีก็กลับเดินตามรอยเท้าของราชวงศ์ซ่งที่ล่มสลาย บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างจับอาวุธขึ้นเข่นฆ่าล้างผลาญญาติพี่น้องกันเอง ผู้ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ก็มักเต็มไปด้วยความหวาดระแวง บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักแทบว่าจะถูกประหารไปจนหมดสิ้น การเมืองภายในระส่ำระสายอย่างหนัก ในปีค.ศ. 501 เซียวเอี่ยน พ่อเมืองยงโจวยกพลบุกนครหลวงเจี้ยนคัง เข้ายุติการเข่นฆ่ากันเองของราชวงศ์ฉี

เหลียง (ค.ศ. 502 – 557)
เซียวเอี่ยน สถาปนาราชวงศ์เหลียง ในปีค.ศ. 502 ตั้งตนเป็นเหลียงอู่ตี้ ครองราชย์ต่อมาอีก 48 ปี ทรงนับถือพุทธศาสนาและมีความเป็นอยู่อย่างสมถะ ด้านศิลปวัฒนธรรมมีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง แต่การทหารกลับอ่อนแอลง เมื่อถึงปลายรัชกาลระบบการปกครองล้มเหลว ขุนนางครองเมือง

จวบจนปีค.ศ. 548 ขุนพลโหวจิ่ง แห่งวุ่ยตะวันออกลี้ภัยการเมืองเข้ามาพึ่งพิงราชวงศ์เหลียง แต่ภายใต้ข้อเสนอแลกเปลี่ยนที่เย้ายวนใจ ราชสำนักเหลียงคิดจับกุมตัวโหวจิ่งเพื่อส่งกลับวุ่ยตะวันออก บีบคั้นให้โหวจิ่งลุกฮือขึ้นก่อกบฏ โดยร่วมมือกับบุตรชายของอู่ตี้นาม เซียวเจิ้งเต๋อ คอยเป็นไส้ศึกภายใน จนสามารถบุกเข้านครหลวงเจี้ยนคัง ปิดล้อมวังหลวงไว้ได้ สุดท้ายเหลียงอู่ตี้ถูกกักอยู่ภายในจนอดตายภายในเมือง จากนั้นโหวจิ่งกำจัดเซียวเจิ้งเต๋อ ตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา โหวจิ่งยกทัพออกปล้นสะดมเมืองรอบข้าง

จนกระทั่งปีค.ศ. 551 เซียวอี้ โอรสอีกองค์หนึ่งของอู่ตี้ ส่งหวังเซิงเ...ยน และเฉินป้าเซียน กรีฑาทัพเข้าต่อกรกับโหวจิ่งจนแตกพ่ายไป ระหว่างการหลบหนีโหวจิ่งถูกลอบสังหารเสียชีวิต เซียวอี้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา(ปี 552-554) แต่เนื่องจากภายในราชสำนักเกิดการแก่งแย่งทางการเมือง เป็นเหตุให้บ้านเมืองระส่ำระสาย วุ่ยตะวันตกฉวยโอกาสบุกเข้ายึดเมืองเจียงหลิงสังหารเซียวอี้ ตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดของตนขึ้น เฉินป้าเซียนที่เมืองเจี้ยนคังจึงสังหารหวังเซิงเ...ยน จากนั้นตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ สถาปนาราชวงศ์เฉิน ราชวงศ์เหลียงเป็นอันจบสิ้น


เฉิน (ปี 557 – 589)

เฉินป้าเซียน ตั้งตนเป็นฮ่องเต้นามว่าเฉินอู่ตี้ ช่วงเวลาดังกล่าว แผ่นดินภาคใต้ของจีนที่ต้องตกอยู่ในภาวะวุ่นวายยุ่งเหยิงมาเป็นเวลานาน สภาพเศรษฐกิจทรุดโทรมอย่างหนัก รากฐานบ้านเมืองที่ง่อนแง่น ย่อมไม่อาจคงอยู่ได้นานนัก รัชกาลต่อมายังวนเวียนกับการทำลายล้างฐานอำนาจของคู่แข่ง ทั้งยังต้องสู้ศึกกับกองกำลังจากภาคเหนือ แม้ว่าได้วางรากฐานการปกครองในระดับหนึ่ง แต่สุดท้ายเนื่องจากกำลังทางทหารอ่อนแอ ดังนั้นอาณาเขตการปกครองของราชวงศ์เหลียง จึงเพียงสามารถครอบคลุมถึงเขตทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเท่านั้น

เมื่อถึงปี 583 เฉินเซวียนตี้ สิ้น บุตรชายเฉินซู่เป่า ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ขณะนั้น ทางตอนเหนือของจีนมีราชวงศ์สุย ที่ผงาดขึ้นมารวมแผ่นดินทางตอนเหนือของจีนไว้ทั้งหมด จากนั้นเหลือเพียงเป้าหมายการรวมแผ่นดินทางตอนใต้เพื่อเป้าหมายการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ปีค.ศ. 589 สุยเหวินตี้ หยางเจียน กวาดล้างราชวงศ์เฉินที่เหลืออยู่ ยุติความแตกแยกของแผ่นดินที่มีมีมานานกว่า 300 ปีลงในที่สุด

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างราชวงศ์ที่ปกครองดินแดนเหนือใต้ของจีนในยุคนี้คือ กลุ่มผู้ปกครองของราชวงศ์เหนือล้วนมาจากกลุ่มชนเผ่าทางเหนือ ไม่ใช่ชาวฮั่น ขณะที่ราชวงศ์ใต้สืบทอดอำนาจการปกครองจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก เกิดจากการสถาปนาราชวงศ์ของชนเผ่าฮั่นสืบต่อกันมา แม้เป็นช่วงเวลาเพียงระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้วัฒนธรรมฮั่นยังคงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อมา ไม่ต้องถึงกาลล่มสลายไปโดยชนกลุ่มน้อย ดังนั้น การคงอยู่ของราชวงศ์ใต้ โดยนัยทางประวัติศาสตร์ของจีนจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหัวใจของการคงอยู่หรือล่มสลายของอารยธรรมจีนในดินแดนแถบนี้

ในช่วงยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ เนื่องจากผู้ปกครองหันมานับถือและให้การสนับสนุนการเผยแพร่พุทธศาสนา มีการก่อสร้างวัดวาอารามและถ้ำผาสลักพระธรรมคำสอนและพระพุทธรูปมากมายเกิดขึ้น ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ ถ้ำผาม่อเกาคู ที่ตุนหวง เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเกียง ถ้ำผาหยุนกัง ที่ต้าถงมณฑลซันซี ถ้ำผาหลงเหมิน ในลั่วหยาง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแล้ว นอกจากนี้ ทางด้านวรรณกรรมก็มีความเจริญรุดหน้าอย่างมาก มีผลงานชิ้นสำคัญที่ตกทอดสู่ปัจจุบันหลายชิ้น

นับแต่ราชวงศ์จิ้นตะวันออกล่มสลาย ราชวงศ์เหนือใต้ได้กลายเป็นช่วงเวลาที่มีการแบ่งแยกการปกครองในจีน ถึงแม้ว่าความเจริญทางเศรษฐกิจมีการชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคกลางของกลุ่มชนเผ่านอกด่าน ได้เกิดการหลอมรวมชนชาติในกลุ่มลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองครั้งใหญ่ และเนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยนี้เอง ได้ทำให้กลุ่มผู้นำชนชาติทางตอนเหนือได้ถูกหลอมกลืนสู่วัฒนธรรมชาวฮั่น และเนื่องจากประโยชน์นี้เอง ที่ได้สร้างรากฐานความเป็นหนึ่งเดียวของชนชาติจีนในเวลาต่อมา ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความแตกแยกของราชวงศ์เหนือใต้ กลายเป็นคุณูปการสู่การรวมเป็นหนึ่งของชนชาติจีนและวัฒนธรรมจีนในเวลาต่อมา







เตียบ่อกี้
#15   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:06:14 ]

ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – 618)

“หลังจากได้ผ่านการต่อสู้แย่งชิงแผ่นดินกันมากว่า 270 ปี ในที่สุดหยางเจียนได้สถาปนาราชวงศ์สุย รวมแผ่นดินเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ความสงบสุขมีได้ไม่นาน เมื่อสุยหยางตี้ ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อมาเต็มไปด้วยความลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจ พร่าผลาญเงินทองในท้องพระคลังจนหมดสิ้น ใช้ทรัพยากรและแรงงานฝีมืออย่างสิ้นเปลือง ทำลายรากฐานที่สั่งสมมาจากคนรุ่นก่อน จุดไฟสงครามแย่งชิงอำนาจขึ้นอีกครั้ง”

หยางเจียน สุยเหวินตี้ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์สุย


ปลายราชวงศ์เหนือใต้ หลังจากได้ผ่านการแบ่งแยกและสู้รบกันมากว่า 270 ปี ราษฎรต่างก็มุ่งหวังการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งอีกครั้ง แต่ว่า ราชวงศ์เป่ยโจวทางเหนือและราชวงศ์เฉินทางตอนใต้ต่างไม่มีศักยภาพพอ ต่อเมื่อหยางเจียนเข้ายึดอำนาจทางการเมืองการปกครองของราชวงศ์เป่ยโจว สถาปนาราชวงศ์สุย ภารกิจการรวมแผ่นดินจึงตกเป็นของหยางเจียนหรือสุยเหวินตี้

เงื่อนไขการรวมแผ่นดิน

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา มีการอพยพเข้ามายังดินแดนภาคกลางของกลุ่มชนเผ่าต่างๆอาทิ ซงหนู เซียนเปย เชียง ตี เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิรูปขนานใหญ่สู่ความเป็นฮั่นในสมัยวุ่ยเหนือ ในรัชกาลเสี้ยวเหวินตี้ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ภาษาและวิถีการดำรงชีวิต ในระยะเวลายาวนาน ทำให้สภาพสังคมทั่วไปได้รับการหลอมกลืนสู่ความเป็นฮั่น มีการผลัดอำนาจบ่อยครั้ง ความแปลกแยกระหว่างชนเผ่าเหนือใต้จึงเบาบางลงไปมาก อันเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย ในสมัยจิ้นตะวันออกและราชวงศ์เหนือใต้ ราษฎรจากภาคเหนืออพยพลงสู่ใต้มากขึ้น เพิ่มสัดส่วนแรงงาน และเทคนิควิทยาการในการผลิตเข้ามาด้วย ทำให้เศรษฐกิจแดนเจียงหนัน*(กังหนำ) พัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่เดิมการค้าระหว่างชนชาติทางภาคเหนือและใต้ยังถูกทางการควบคุมการไปมาหาสู่อย่างเข้มงวด แต่ในยุคราชวงศ์เหนือใต้การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ทำลายข้อจำกัดนี้ไป ประกอบกับสภาพสงครามแย่งชิงได้ดำเนินมาเป็นเวลานาน จิตใจของทุกผู้คนต่างมุ่งหวังการรวมแผ่นดิน เพื่อให้เกิดสังคมที่สงบสุข


สุยรวมแผ่นดินเหนือใต้
หยางเจียน ถือกำเนิดจากตระกูลขุนนางชั้นสูงในราชวงศ์เป่ยโจว ธิดาของหยางเจียนได้เป็นฮองเฮาในรัชสมัยโจวเซวียนตี้ เมื่อปี 580 โจวเซวียนตี้สิ้น มอบบัลลังก์ให้บุตรชายวัย 8 ขวบขึ้นเป็นโจวจิ้งตี้ โดยมีหยางเจียนเป็นมหาเสนาบดีช่วยให้การดูแล แต่แล้วในปี 581 หยงเจียนปลดโจวจิ้งตี้ ตั้งตนเป็นสุยเหวินตี้ (581 – 600) สถาปนาราชวงศ์สุย โดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองต้าซิ่ง (ซีอันในปัจจุบัน) จากนั้นดำเนินนโยบายผูกมิตรกับชนเผ่าทูเจี๋ยว์ตะวันออก(เติร์ก) ทางเหนือ จากนั้นจัดกำลังบุกลงใต้ และเข้ายึดเมืองเจี้ยนคังนครหลวงของราชวงศ์เฉินได้ในปี 589 ยุติสงครามแบ่งแยกดินแดนที่ดำเนินมากว่า 270 ปีได้ในที่สุด

ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการแก่งแย่งอำนาจและเป็นการลิดรอนอำนาจในส่วนท้องถิ่น อันเป็นสาเหตุของการแตกแยกที่ผ่านมา พร้อมกันนั้นยังได้ริเริ่มระบบการสอบรับราชการขุนนางขึ้น (หรือที่รู้จักกันในนาม ‘สอบจอหงวน’) เพื่อคัดเลือกบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน และได้ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในระบบรวมศูนย์อำนาจเป็นอย่างดี

สุยเหวินตี้ทรงนับถือพุทธศาสนา โปรดการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายประหยัด ตลอดรัชสมัยมีฮองเฮาเพียงพระองค์เดียว ขณะที่รัชทายาทหยางหย่งกลับเลี้ยงดูสนม นางระบำไว้มากมาย ปี 600 สุยเหวินตี้ ทรงปลดรัชทายาทหยางหย่ง แต่งตั้งราชโอรสองค์รองหยางกว่าง ขึ้นแทน หยางกว่างร่วมมือกับอวี้เหวินซู่และหยางซู่ วางแผนแย่งชิงบัลลังก์ ปี 604 สุยเหวินตี้ สิ้นพระชนม์กระทันหัน หยางกว่างสืบราชบัลลังก์ต่อมา มีพระนามว่า สุยหยางตี้

หยางกว่างเมื่อขึ้นครองราชย์ก็ลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจ ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เกณฑ์แรงงานชาวบ้านนับล้านสร้างนครหลวงตะวันออกแห่งใหม่ที่ลั่วหยาง และอุทยานตะวันตกที่มีอาณาบริเวณกว่า 100 กิโลเมตร ซ่อมสร้างกำแพงหมื่นลี้ ยกทัพบุกเกาหลี**สามครั้ง ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วน นอกจากนี้ ยังขุดคลองต้าอวิ้นเหอ เพื่อการท่องเที่ยวแดนเจียงหนัน สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ชาวบ้านอดอยากได้ยาก มีประชาชนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารและแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นคนจรหมอนหมิ่น ไร้ที่อยู่อาศัย

** เกาหลีในยุคนี้ตรงกับสมัยสามอาณาจักร (57ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 668) : อาณาจักรโบราณทั้งสามของเกาหลี ซึ่งประกอบด้วย โคคูเรียว, แพ็กเจ, และชิลลลา ปกครองตลอดคาบสมุทรเกาหลี และแผ่นดินส่วนใหญ่ในแมนจูเรียด้วย


แผ่นดินลุกเป็นไฟ

ปี 611 หยางกว่างเร่งระดมกำลังพลทางภาคอีสานเพื่อบุกเกาหลี สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านที่ลำบากยากแค้นอยู่แต่เดิม เป็นเหตุให้เกิดการลุกฮือขึ้นของกบฎชาวนา นำโดยหวังป๋อจากนั้นก็มีกบฏชาวนาจากท้องที่ต่างๆ พากันลุกฮือขึ้นไม่ขาดสาย ปี 613 ขณะที่สุยหยางตี้ยกทัพบุกเกาหลีครั้งที่ 2 หยางเสวียนกั่นที่เป็นบุตรหลานตระกูลใหญ่ซ่องสุมกำลังพลคิดล้มล้างราชวงศ์สุย โดยมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อสุยหยางตี้ทราบข่าว ก็รีบถอยทัพกลับทันที การปราบปรามครั้งนี้มีผู้คนถูกสังหารเป็นจำนวนมาก

กบฏชาวนาที่ลุกฮือขึ้นปะทะกับทหารสุย บ้างแตกพ่าย บ้างรวมกลุ่มกัน กลุ่มก้อนที่เข้มแข็งมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กองกำลังหวากั่ง ในเหอหนัน(ภาคกลาง) นำโดยไจ๋ยั่ง และหลี่มี่ ภาคเหนือมีกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ และภาคใต้มีกองกำลังเจียงหวย ที่นำโดยตู้ฝูเวย

ก่อนการล่มสลายของราชวงศ์สุย บรรดาข้าราชสำนักต่างทยอยติดอาวุธขึ้นตั้งตนเป็นใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ หลัวอี้ ตั้งฐานที่มั่นในจั๋วจวิน (ปักกิ่งในปัจจุบัน) เหลียงซือตู สถาปนาแคว้นเหลียงที่ซั่วฟาง(มองโกเลียใน) หลิวอู่โจว ที่หม่าอี้(มณฑลซันซี) เซียว์จี่ว์ ที่จินเฉิง (หลันโจวมณฑลกันซู่) หลีกุ่ย สถาปนาแคว้นต้าเหลียงที่อู่เวย หลี่ยวน สถาปนาราชวงศ์ถังที่กวนจง เซียวเสี่ยน ตั้งตนเป็นเหลียงตี้ที่ปาหลิง(เมืองเยว่หยางมณฑลหูหนัน) เสินฝ่าซิง ตั้งตนเป็นเหลียงหวังที่เมืองอู๋ซิ่ง เป็นต้น ต่างฝ่ายเข้าร่วมในการช่วงชิงแผ่นดิน โดยถือเอากองกำลังที่ลุกฮือขึ้นเป็นกบฎที่ต้องปราบปราม



หลี่มี่ผู้นำกองกำลังหวากั่ง


กองกำลังหวากั่ง

ในปี 611 ไจ๋ยั่งนำกำลังลุกฮือขึ้นก่อการที่หวากั่งไจ(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนัน) จากนั้นผู้มีความสามารถจากซันตงและเหอหนันต่างพากันเดินทางมาเข้าร่วมด้วย ที่สำคัญคือ หลี่มี่ ซึ่งต่อมาได้มีบทบาทในกองกำลังหวากั่งอย่างสูง ในปี 617 กองกำลังหวากั่งเข้าประชิดลั่วหยาง บุกปล้นคลังเสบียงรอบข้าง นำออกแจกจ่ายราษฎร ทำให้มีคนมาเข้าร่วมด้วยมากขึ้น กลายเป็นกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในเหอหนัน ขณะเดียวกันรากฐานภายใน กลับเกิดการแตกแยกขึ้น หลี่มี่ที่เดิมถือกำเนิดจากครอบครัวขุนนางชั้นสูง หลังจากกบฏหยางเสียนกั่นประสบความล้มเหลว ก็เข้าร่วมกับกองกำลังหวากั่ง ซ่องสุมกองกำลังฝ่ายตนขึ้น จากนั้นแย่งชิงตำแหน่งผู้นำ มาเป็นเหตุให้กองกำลังหวากั่งอ่อนแอลง เมื่อถึงปี 618 สุยหยางตี้สิ้นพระชนม์ที่เจียงตู หลี่มี่นำกำลังสวามิภักดิ์หยางต้งจากราชสำนักสุย หยางต้งมอบหมายให้หลี่มี่นำกำลังปราบอวี้เหวินฮั่วจี๋ แม้จะได้ชัยชนะแต่กองกำลังหลี่มี่ต้องประสบความสูญเสียอย่างหนัก แต่แล้วถูกกองทัพของหวังซื่อชงตลบหลังโจมตีซ้ำจนแตกพ่ายไป หลี่มี่หลบหนีไปสวามิภักดิ์กับหลี่ยวน ที่สถาปนาราชวงศ์ถังในแดนไท่หยวน สุดท้ายคิดลุกฮือขึ้นก่อการทางทหารแต่ไม่สำเร็จถูกสังหารไป

กองกำลังเหอเป่ย

นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ แต่เดิมเข้าร่วมก่อการในกลุ่มของเกาซื่อต๋า ในปี 611 ภายหลังเมื่อเกาซื่อต๋าเสียชีวิตในการสู้รบ โต้วเจี้ยนเต๋อจึงกลายเป็นผู้นำต่อมา ในปี 617 โจมตีทัพสุยแตกพ่าย สร้งเกียรติภูมิในการรบครั้งใหญ่ ตั้งตัวเป็นฉางเล่อหวัง ครองดินแดนเหอเป่ยทางภาคเหนือ มีผู้มาเข้าร่วมแสนกว่าคน ต่อมาในปี 618 ราชวงศ์สุยล่มสลาย จึงสถาปนาแคว้นเซี่ย ตั้งตนเป็นเซี่ยหวัง เมืองหลวงอยู่ที่หมิงโจว (อำเภอหย่งผิงในมณฑลเหอเป่ย) จวบจนปี 621 พ่ายแพ้ให้กับหลี่ซื่อหมิน ถูกจับเป็นตัวประกัน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ปีถัดมา หลี่ซื่อหมินยกทัพปราบหลิวเฮยท่าขุนพลเอกของโต้วเจี้ยนเต๋อและกองกำลังที่เหลือจนสิ้น

ภาพสลักหนึ่งใน 6 ยอดอาชา โดยมีบันทึกว่าเคยเป็นม้าคู่ใจของโต้วเจี้ยนเต๋อ


กองกำลังเจียงหวย

ปี 613 ตู้ฝูเวย และ ฝู่กงซือ เริ่มก่อการในแถบซันตง จากนั้นเคลื่อนกองกำลังลงใต้ ครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำหวยเหอ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 617 ราชสำนักสุยได้ส่งกำลังมาปราบ แต่ถูกตีโต้กลับไป เมื่อสุยหยางตี้สิ้น ตู้ฝูเวยยอมโอนอ่อนต่อหยางต้งเชื้อพระวงศ์ในลั่วหยาง ได้รับการอวยยศ ต่อมาเมื่อราชวงศ์ถังเข้มแข็งขึ้น ก็สวามิภักดิ์ต่อหลี่ยวนที่ฉางอันในปี 622 ปีถัดมา ฝู่กงซือลุกฮือขึ้นต่อกรราชวงศ์ถัง โดยยึดครองพื้นที่ละแวกมณฑลเจียงซูและอันฮุยไว้ได้ แต่สุดท้ายพ่ายแพ้ในปี 624


การสิ้นสุดของราชวงศ์สุย

ปี 617 กองกำลังหวากั่งเข้าประชิดนครหลวงตะวันออกลั่วหยาง ขณะนั้น สุยหยางตี้เสด็จประพาสเจียงหนัน เหลือเพียงกองกำลังของหยางต้ง ที่เป็นเชื้อพระวงศ์เฝ้าเมืองลั่วหยางไว้ สุยหยางตี้เรียกระดมพลของหวังซื่อชง ซึ่งประจำอยู่ที่เจียงตู มาช่วยรักษาเมืองลั่วหยางโดยรอบ แต่ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองกำลังหวากั่ง ราชสำนักสุยถูกเหล่ากองกำลังที่ลุกฮือขึ้นบุกโจมตีจนสูญเสียพื้นที่โดยรอบไป หลี่ยวนที่เฝ้ารักษาเมืองไท่หยวนในซันซีก็ฉวยโอกาสรุกเข้าฉางอัน ตั้งตนเป็นใหญ่ที่แดนไท่หยวน

ระหว่างนั้น อวี่เหวินฮั่วจี๋ สมคบกับซือหม่าเต๋อคัน แม่ทัพกองกำลังรักษาพระองค์และทหารองครักษ์ลุกฮือขึ้นก่อการที่เมืองเจียงตู(เมืองหยังโจว มณฑลเจียงซู) สังหารสุยหยางตี้ ในปี 618 หลี่ยวนเมื่อทราบข่าวก็ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ถัง บรรดานายทัพที่คุมกองกำลังต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ แม้ว่าหวังซื่อชงจะยอมยกให้หยางต้งในลั่วหยางขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่ในเวลาไม่นานก็ใช้กำลังบุกเข้าลั่วหยางยึดเป็นฐานที่มั่นของตน แผ่นดินกลายเป็นสนามรบของการช่วงชิงอำนาจอีกครั้ง จากนั้น กลุ่มกบฎชาวนาและกองกำลังที่ตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นต่างทยอยถูกกองทัพราชวงศ์ถังกำจัดกวาดล้างไป ราชวงศ์ถังจึงสืบทอดการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุยต่อมา




แผนผังคลองขุดต้ายุ่นเหอ


ภายหลังการสถาปนาราชวงศ์สุย ศูนย์กลางอำนาจอยู่ทางภาคเหนือ สภาพเศรษฐกิจของภาคเหนือแม้ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เสบียงอาหารสำหรับเลี้ยงดูประชาชนในเมืองหลวงยังต้องอาศัยการขนส่งจากเขตเจียงหวย เนื่องจากการขนส่งทางบกทำได้ยากลำบาก ทั้งยังไม่อาจรองรับสภาพการเติบโตของเมืองได้ ดังนั้น การขุดคลองเพื่อการขนส่งทางน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางภาคอีสานและดินแดนทางตอนใต้อีกด้วย

ราชสำนักสุยได้ทุ่มเททรัพยากรและแรงงานมหาศาลเพื่อสร้างคลองขุดต้ายุ่นเหอ ที่มีขนาดความยาวทั้งสิ้นกว่า 2,500 กิโลเมตร เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 587 ใช้เวลากว่า 30 ปี โดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติของแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่แต่เดิม ผสานเข้ากับคลองขุดจากแรงงานมนุษย์เชื่อมต่อดินแดนเหนือใต้เข้าด้วยกัน โดยให้ลั่วหยางเป็นศูนย์กลาง ด้านเหนือเริ่มจากอำเภอจั๋วจวิน (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของปักกิ่ง) จนถึงสุดปลายด้านใต้ที่เมืองอี๋ว์หัง (เมืองหังโจวมณฑลเจ้อเจียง) โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คลองทงจี้ คลองหาน คลองหย่งจี้ และลำน้ำเจียงหนัน นับเป็นคลองขุดแรงงานมนุษย์ที่มีความยาวที่สุดในสมัยนั้น

คลองทงจี้ เริ่มจากอุทยานตะวันตกนครลั่วหยาง เข้าสู่แม่น้ำฮวงโห จากแม่น้ำฮวงโห ตัดคลองสู่แม่น้ำหวยเหอที่ไหลผ่านซันหยาง(ปัจจุบันคือ หวยอันในมณฑลเจียงซู ) จากที่นี่เชื่อมต่อคลองหานซึ่งเป็นคลองโบราณจากยุคชุนชิว เชื่อมลำน้ำหวยเหอกับแม่น้ำฉางเจียงที่เมืองเจียงตู (ปัจจุบันคือเมืองหยางโจว มณฑลเจียงซู) จากลั่วหยางถึงเจียงตูรวมระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จากทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง(หรือแยงซี) ต่อเชื่อมกับลำน้ำเจียงหนันอ้อมทะเลสาบไท่หูทอดยาวถึงเมืองอี๋ว์หัง(หังโจว) ระยะทางกว่า 500 เมตร ส่วนทางเหนือเป็นคลองหย่งจี้ เริ่มจากคลังเสบียงที่ลั่วโข่วใกล้เมืองลั่งหยาง ขึ้นเหนือสู่จั๋วจวิน(ปักกิ่ง) ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร

คลองขุดต้ายุ่นเหอ ถือเป็นงานวิศกรรมที่ยิ่งใหญ่อีกชิ้นหนึ่งของโลก มีอายุกว่าพันปี ได้แสดงถึงภูมิปัญญาและจินตนาการสร้างสรรค์ของคนในสมัยโบราณ และยังได้สร้างคุณูปการที่สำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของสังคมในยุคต่อมา


สะพานเจ้าโจวหรือสะพานหินอันจี้ อายุกว่า 1,400 ปี ได้ชื่อว่าเป็นสะพานโบราณที่หนึ่งแห่งแผ่นดิน

ใช้เทคนิควิศกรรมก่อสร้างสะพานหินโค้งที่ล้ำหน้า กล่าวกันว่าเป็นผลงานของหลู่ปัน ช่างฝีมือเอกแห่งยุค





เตียบ่อกี้
#16   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:10:03 ]

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907)

“กษัตริย์เปรียบเสมือนเรือ ส่วนประชาชนคือน้ำ น้ำสามารถหนุนส่งเรือให้ลอย และสามารถจมเรือได้เช่นกัน”

ราชวงศ์ถังเป็นช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนที่มีสถานะความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงต้นราชวงศ์ ประสบความสำเร็จในการสร้างกลไกการปกครองที่มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพอย่างทั่วถึงในราชอาณาจักร บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศิลปะ วรรณคดี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฯลฯ ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของศักดินาและเป็นยุคทองของวรรณคดี อาณาจักรกว้างใหญ่เป็นปึกแผ่น มั่งคั่งร่ำรวยและทรงอานุภาพที่สุดแห่งหนึ่งในโลก กล่าวได้ว่าเป็นยุคที่รุ่งโรจน์ที่สุดของจีน นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญต่อแนวคิดการสร้างชาติของชนชาติจีน ด้วยเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนเผ่าที่หลากหลาย นับตั้งแต่สมัยวุ่ยจิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ ราชวงศ์สุย จวบจนราชวงศ์ถัง ได้หลอมรวมวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆ เข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยแนวคิดการรวมประเทศอย่างมั่นคงสืบต่อมา

สถาปนาราชวงศ์ถัง

ปฐมกษัตริย์ถังเกาจู่หรือหลี่ยวน ถือกำเนิดในเชื้อสายชนชั้นสูงจากราชวงศ์เหนือ มีความเกี่ยวดองสายเครือญาติกับปฐมกษัตริย์ราชวงศ์สุยอย่างใกล้ชิด ครั้นถึงปลายราชวงศ์สุย แผ่นดินอยู่ในสภาพระส่ำระสายจากกลุ่มกองกำลังต่างๆที่ลุกฮือขึ้น ปี 617 หลี่ยวนที่รักษาแดนไท่หยวน ตกอยู่ในภาวะล่อแหลม เนื่องจากไท่หยวนเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กลุ่มกองกำลังต่างต้องการแย่งชิง ขณะเดียวกันก็ทราบว่าสุยหยางตี้ทรงระแวงว่าหลี่ยวนจะแปรพักตร์ จึงประกาศตัวเป็นอิสระจากราชสำนัก

เวลานั้น กองกำลังหวากั่ง และเหอเป่ย เข้าปะทะกับกองทัพสุย เป็นเหตุให้กำลังป้องกันของเมืองฉางอันอ่อนโทรมลง หลี่ยวนได้โอกาสบุกเข้ายึดเมืองฉางอันไว้ได้ จากนั้นตั้งหยางโย่ว เป็นฮ่องเต้หุ่น ปีถัดมา สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองเจียงตู หลี่ยวนจึงปลดหยางโย่ว ประกาศตั้งตนเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ถัง โดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองฉางอัน พร้อมกับแต่งตั้งโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมิน โอรสองค์รองเป็นฉินหวัง และหลี่หยวนจี๋ โอรสองค์เล็กเป็นฉีหวัง

ถังไท่จงหลี่ซื่อหมิน



หลี่ซื่อหมินรวมแผ่นดิน
ภายหลังสถาปนาราชวงศ์ถัง แผ่นดินยังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกองกำลังต่างๆ อาทิ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีเซียว์จี่ว์ ทางเหนือมีหลิวอู่โจว หวังซื่อชง สถาปนาแคว้นเจิ้ง ที่เมืองลั่วหยาง โต้วเจี้ยนเต๋อ ตั้งตนเป็นเซี่ยหวัง ที่เหอเป่ย (ทางภาคอีสานของจีน)

ปลายปี 618 เซียว์จี่ว์เสียชีวิตกะทันหัน เซียว์เหยินเก่า บุตรชายสืบทอดต่อมา หลี่ซื่อหมินเห็นเป็นโอกาสรุกทางทหาร ยึดได้ดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ปี 619 กลุ่มกองกำลังของหลี่กุ่ย เกิดการแย่งชิงอำนาจ จึงเป็นโอกาสให้ราชวงศ์ถังเข้าครอบครองแดนเหอซี ปี 620 กวาดล้างกลุ่มกองกำลังของหลิวอู่โจว ปลายปีเดียวกัน หลี่ซื่อหมินยกทัพใหญ่เข้าปิดล้อมหวังซื่อชงที่ลั่วหยาง โต้วเจี้ยนเต๋อยกกำลังมาช่วย แต่ถูกหลี่ซื่อหมินโจมตีแตกพ่ายไป โต้วเจี้ยนเต๋อถูกจับ ภายหลังเสียชีวิตที่ฉางอัน หวังซื่อชงได้ข่าวการพ่ายแพ้ของโต้วเจี้ยนเต๋อจึงยอมจำนนต่อราชวงศ์ถัง ปี 622 ทัพถังกวาดล้างกองกำลังเหอเป่ยที่หลงเหลือ จากนั้นกองกำลังต่างๆบ้างยอมสวามิภักดิ์ บ้างถูกปราบปรามจนราบคาบ ภารกิจเบื้องต้นในการรวมแผ่นดินถือได้ว่าสำเร็จลง ขณะที่ศึกแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เริ่มปะทุขึ้น

เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเซวียนอู่
หลี่ซื่อหมินที่นำทัพปราบไปทั่วแผ่นดิน นับว่าสร้างผลงานความชอบที่โดดเด่น เป็นที่ริษยาของพี่น้อง ประกอบกับระหว่างการกวาดล้างกองกำลังน้อยใหญ่นั้นได้เพาะสร้างขุมกำลังทางทหาร และยังชุบเลี้ยงผู้มีความสามารถไว้ข้างกายจำนวนมาก อาทิ อี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ หลี่จิ้ง ฝางเซวียนหลิ่ง เป็นต้น อันส่งผลคุกคามต่อรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นเหตุให้รัชทายาทเจี้ยนเฉิงร่วมมือกับฉีหวังหลี่หยวนจี๋เพื่อจัดการกับหลี่ซื่อหมิน ปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าวทำให้สองฝ่ายยิ่งทวีความเป็นปรปักษ์มากขึ้น

จวบจนกระทั่งปี 626 หลี่ซื่อหมินชิงลงมือก่อน โดยกราบทูลเรื่องราวต่อถังเกาจู่ ถังเกาจู่จึงเรียกทุกคนให้เข้าเฝ้าในเช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขบวนของหลี่เจี้ยนเฉิงและหลี่หยวนจี๋ผ่านเข้าประตูเซวียนอู่นั้น (ประตูใหญ่ทางทิศเหนือของวังหลวง) หลี่ซื่อหมินก็นำกำลังเข้าจู่โจมสังหารรัชทายาท และฉีหวัง เหตุการณ์ครั้งนี้ต่อมาได้รับการเรียกขานว่า เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเซวียนอู่

ภายหลังเหตุการณ์ ถังเกาจู่แต่งตั้งหลี่ซื่อหมินเป็นรัชทายาท จากนั้นอีกสองเดือนต่อมาก็ทรงสละราชย์ ให้หลี่ซื่อหมินขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ทรงพระนามว่า ถังไท่จง และประกาศให้เป็นศักราชเจินกวน (ปี 627 – 649)


ศักราชเจินกวน

ต้นศักราชเจินกวน บ้านเมืองยังอยู่ในสภาพทรุดโทรมเสียหายจากสงครามกลางเมือง ประชาชนต้องระเหเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย ถังไท่จงได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์สุย อันเป็นที่มาของคำกล่าวว่า “กษัตริย์เปรียบเสมือนเรือ ส่วนประชาชนคือน้ำ น้ำสามารถหนุนส่งเรือให้ลอย และสามารถจมเรือได้เช่นกัน” ทราบว่า การรีดเลือดกับปู ถ้าราษฎรอยู่ไม่ได้ ผู้ปกครองก็ไม่อาจดำรงอยู่เช่นกัน ดังนั้นจึงตั้งอกตั้งใจในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มกำลัง

ทรงดำเนินนโยบายที่เปิดกว้าง ผ่อนปรนการเรียกเก็บภาษี ลดการลงทัณฑ์ที่รุนแรง แต่เน้นความถูกต้องยุติธรรมมากกว่า เร่งพัฒนากำลังการผลิต จัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรได้กลับคืนสู่ไร่นาและดำเนินวิถีชีวิตตามปกติ

ช่วงเวลาดังกล่าว มีการตรากฎหมายเพิ่มขึ้น เปิดการสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการจากบุคคลทั่วไป ไม่เลือกยากดีมีจน ไม่จำกัดอยู่แต่ชนชั้นขุนนางดังแต่ก่อน ทั้งมีการตรวจตราการทำงานของบรรดาขุนนางท้องถิ่นอย่างเข้มงวด เลือกใช้คนดีมีปัญญา ถอดถอนคนเลว นอกจากนี้ ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นและคำทักท้วงจากขุนนางรอบข้าง เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดในการบริหารแผ่นดินได้อย่างทันการณ์ รอบข้างจึงเต็มไปด้วยอัจฉริยะบุคคลที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน อย่าง ฝางเซวียนหลิ่ง เว่ยเจิง หลี่จิ้ง เวินเหยียนป๋อ เป็นต้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศักราชเจินกวนมีการบริหารการปกครองที่โปร่งใสและมีเสถียรภาพ

ในด้านแนวคิดการศึกษา ถังไท่จงให้ความสำคัญต่อการรวบรวมและจัดเก็บตำรับตำราความรู้วิทยาการและประวัติศาสตร์เป็นหมวดหมู่ ทั้งยังเปิดกว้างในการนับถือและเผยแพร่แนวคิดในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น พุทธศาสนา เต๋า หยู(ลัทธิขงจื้อ) รวมทั้งศาสนาบูชาไฟของเปอร์เซีย ศาสนาแมนนี และคริสตศาสนา

เหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อการเผยแพร่พุทธศาสนา ได้แก่ หลวงจีนเซวียนจั้ง หรือพระถังซำจั๋ง ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดียอันไกลโพ้น เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา แปลเป็นภาษาจีนและเผยแพร่ออกไป ทำให้พุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ ถังไท่จงยังส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการจัดแบบแผนการศึกษา มีการสร้างสถานศึกษาสำหรับบรรดาลูกหลานผู้นำ เรียกว่า สำนักศึกษาหงเหวินก่วน เปิดสอนศาสตร์สาขาต่างๆในการเป็นผู้นำ อาทิ การบริหารการปกครอง กฎหมาย วรรณคดี อักษรศาสตร์ การคำนวณ ฯลฯ เพื่ออบรมบ่มเพาะบรรดาลูกหลานที่เป็นทายาทเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และชนชั้นสูง ทั้งยังจัดตั้งสำนักศึกษาในศาสตร์สาขาต่างๆทั่วราชอาณาจักร บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นรอบนอกจึงนิยมส่งบุตรหลานของตนเข้ามาศึกษายังนครฉางอัน ทำให้ในเวลานั้นจีนกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิทยาการต่างๆในแถบภูมิภาคนี้

ในรัชสมัยนี้ ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างการปกครอง ที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เพื่อป้องกันการก่อหวอดของผู้มีกำลังทหารอยู่ในมือดังที่ผ่านมา ข้าราชการท้องถิ่นไม่มีสิทธิเคลื่อนพล ในภาวะสงคราม ส่วนกลางจะเป็นผู้สั่งระดมพลจากที่ต่างๆ จากนั้นจัดส่งนายทัพไปบัญชาการรบ ภายหลังเสร็จศึก ทหารกลับสู่กรมกอง แม่ทัพกลับคืนสู่ราชสำนัก

ภาพเขียนจำลองเหตุการณ์คณะทูตจากถู่ฟานเข้าพบถังไท่จงเพื่อสู่ขอองค์หญิงจากราชวงศ์ถัง



การขยายแสนยานุภาพของราชอาณาจักร ถังไท่จงได้ดำเนินการทั้งด้านการทหารและการทูตไปพร้อมกัน อาทิ ในปี 630 ทัพถัง นำโดยแม่ทัพหลี่จิ้งและหลี่จี ปราบทูเจี๋ยว์ตะวันออก ขยายพรมแดนทางเหนือขึ้นไป (ปัจจุบันคือ มองโกเลียใน) ภายหลังทูเจี๋ยว์ตะวันออกล่มสลาย ถังไท่จงดำเนินนโยบายเปิดกว้างให้อิสระแก่ชนเผ่าฯในการดำรงชีวิต มีชนเผ่าทูเจี๋ยว์บางส่วนอพยพเข้ามาตั้งรกรากในฉางอัน ทั้งมีไม่น้อยที่เข้ารับราชการทหาร หลอมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมภาคกลางไป

ซงจั้นกั้นปู้หรือพระเจ้าสรองตาสันคัมโป แห่งแคว้นถู่ฟาน(ทิเบตในปัจจุบัน) ที่รวบรวมแว่นแคว้นทางตะวันตกเฉียงใต้ไว้ได้ มีกำลังรุ่งเรืองขึ้น ได้จัดส่งราชฑูตมาสู่ขอราชธิดาในถังไท่จงหลายครั้ง ในที่สุดปี 641 ถังไท่จงตัดสินใจส่งองค์หญิงเหวินเฉิง ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ความสามารถในศาสตร์ศิลป์เดินทางไปเป็นทูตไมตรีครั้งนี้ องค์หญิงเหวินเฉิงได้นำเอาศิลปะความรู้วิทยาการต่างๆ ของจีนอาทิ อักษรศาสตร์ การดนตรี การเพาะปลูก ทอผ้า การทำกระดาษและหมึก ฯลฯ ไปเผยแพร่ยังดินแดนอันห่างไกลนี้ แคว้นถู่ฟานและราชวงศ์ถังจึงรักษาไมตรีอันดีสืบมา (แม้ว่าภายหลังแคว้นถู่ฟานได้เกิดข้อขัดแย้งกับราชสำนักถังในรัชสมัยต่อมา แต่องค์หญิงเหวินเฉิงยังคงได้รับการเคารพเทิดทูนอย่างสูงในหมู่ชนชาวทิเบตจวบจนปัจจุบัน)

อย่างไรก็ตาม ปลายรัชสมัยถังไท่จง เกิดปัญหาสำคัญคือ การคัดสรรรัชทายาทที่เหมาะสม เนื่องจากในปี 643 รัชทายาทหลี่เฉิงเฉียน กับวุ่ยหวังหลี่ไท่ แก่งแย่งอำนาจกัน เมื่อถังไท่จงทราบเรื่องจึงสั่งปลดรัชทายาทและวุ่ยหวังเป็นสามัญชน แต่งตั้งหลี่จื้อ โอรสองค์ที่เก้าขึ้นเป็นรัชทายาทแทน ต่อมาในปี 649 ถังไท่จงสวรรคต หลี่จื้อจึงขึ้นเสวยราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่าถังเกาจง



ภาพลายปักอู่เจ๋อเทียนหรือบูเช็กเทียน



บูเช็กเทียน --- จักรพรรดินีหนึ่งเดียวในแผ่นดิน (624 – 705)
อู่เจ๋อเทียนหรือบูเช็กเทียน เป็นฮองเฮาในถังเกาจงหลี่จื้อ มีชื่อว่า ‘เจ้า’บิดาเป็นพ่อค้าไม้ ปลายราชวงศ์สุยได้มีการติดต่อกับหลี่ยวน ต่อมาเมื่อหลี่ยวนสถาปนาราชวงศ์ถัง ก็ติดตามมาตั้งรกรากที่นครฉางอัน เข้ารับราชการต่อมา

เมื่อบูเช็กเทียนอายุได้ 14 ปี ถูกเรียกตัวเข้าวังเป็นนางสนมรุ่นเยาว์ในรัชกาลถังไท่จงหลี่ซื่อหมิน เมื่อถังไท่จงสวรรคต จึงต้องออกบวชเป็นชีตามโบราณราชประเพณี

หลังจากถังเกาจงหลี่จื้อขึ้นครองราชย์ก็รับตัวบูเช็กเทียนเข้าวังมา ด้วยการสนับสนุนจากหวังฮองเฮาที่กำลังขัดแย้งกับสนมเซียว และต่างฝ่ายต่างคอยให้ร้ายกัน ต่อมาในปี 655 ถังเกาจงคิดจะปลดหวังฮองเฮา และตั้งบูเช็กเทียนขึ้นแทน แต่เสนาบดีเก่าแก่ ฉางซุนอู๋จี้ และฉู่ซุ่ยเหลียง แสดงท่าทีคัดค้าน ส่วนหลี่อี้ฝู่ และสี่ว์จิ้งจง แสดงความเห็นคล้อยตาม ต่อมาเมื่อถังเกาจงปลดหวังฮองเฮา แต่งตั้งบูเช็กเทียนขึ้นเป็นฮองเฮาแทน ฉางซุนอู๋จี้ ฉู่ซุ่ยเหลียงและกลุ่มที่คัดค้านต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่ง บ้างถูกบีบคั้นให้ฆ่าตัวตาย ส่วนหวังฮองเฮาและสนมเซียวก็ไม่อาจรอดพ้นชะตากรรมได้ ภายหลัง ถังเกาจงร่างกายอ่อนแอ ล้มป่วยด้วยโรครุมเร้า ไม่อาจดูแลราชกิจได้ บูฮองเฮาเข้าช่วยบริหารราชการแผ่นดิน จึงเริ่มกุมอำนาจในราชสำนัก สุดท้ายสามารถรวบอำนาจไว้ทั้งหมด

ปี 683 ถังเกาจงหลี่จื้อสิ้น รัชทายาท หลี่เสี่ยน โอรสองค์ที่สามของบูฮองเฮาขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่าถังจงจง ปีถัดมา บูเช็กเทียนปลดถังจงจงแล้วตั้งเป็นหลูหลิงหวัง จากนั้นตั้งหลี่ตั้น ราชโอรสองค์ที่สี่ขึ้นครองราชย์แทน พระนามว่าถังรุ่ยจง แต่ไม่นานก็ปลดจากบัลลังก์เช่นกัน

ระหว่างนี้ กลุ่มเชื้อพระวงศ์ตระกูลหลี่และขุนนางเก่าที่ออกมาต่อต้านอำนาจของตระกูลบูล้วนถูกกำจัดกวาดล้างอย่าง...มโหด ฐานอำนาจของกลุ่มตระกูลหลี่อ่อนโทรมลงอย่างมาก กระทั่งปี 690 บูเช็กเทียนประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว มีนครหลวงที่ลั่วหยาง ตั้งตนเป็นจักรพรรดินี ทรงอำนาจสูงสุด ด้วยวัย 67 ปี ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน

แม้ว่าการเข่นฆ่ากวาดล้างศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ ส่งผลให้บรรยากาศบ้านเมืองขณะนั้นเต็มไปด้วยความหวาดระแวงและความกลัว แต่โดยทั่วไปแล้ว สภาพเศรษฐกิจและสังคมยังมีความเจริญรุ่งเรือง บูเช็กเทียนได้ปรับปรุงระบบโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการและทหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถมากมาย ซึ่งส่งผลให้ในรัชกาลถังเสวียนจงในเวลาต่อมา แวดล้อมด้วยเสนาอำมาตย์ที่ทรงภูมิความรู้และคุณวุฒิเป็นผู้ช่วยเหลือ

เมื่อถึงปี 705 ขณะที่พระนางบูเช็กเทียนวัย 82 ปี ล้มป่วยลงด้วยชราภาพ เหล่าเสนาบดีที่นำโดยจางเจี่ยนจือ ก็ร่วมมือกันก่อการ โดยบีบให้บูเช็กเทียนสละราชย์ให้กับโอรสของพระองค์ ถังจงจงหลี่เสี่ยน ทั้งรื้อฟื้นราชวงศ์ถังกลับคืนมา ภายหลังเหตุการณ์ไม่นาน บูเช็กเทียนสิ้น

ดวงตะวันฉายแสง

ภายหลังรัชกาลของบูเช็กเทียน สภาพการเมืองภายในราชสำนักปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากถังจงจงอ่อนแอ อำนาจทั้งมวลตกอยู่ในมือของเหวยฮองเฮา ที่คิดจะยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับบูเช็กเทียน เหวยฮองเฮาหาเหตุประหารรัชทายาท จากนั้นในปี 710 วางยาพิษสังหารถังจงจง โอรสองค์ที่สามของถังรุ่ยจง นามหลี่หลงจี ภายใต้การสนับสนุนขององค์หญิงไท่ผิง ชิงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงสังหารเหวยฮองเฮาและพวก ภายหลังเหตุการณ์องค์หญิงไท่ผิงหนุนถังรุ่ยจงขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งหลี่หลงจีเป็นรัชทายาท แต่แล้วองค์หญิงไท่ผิงพยายามเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เกิดขัดแย้งกับรัชทายาทหลี่หลงจี ปี 712 ถังรุ่ยจงสละราชย์ให้กับโอรส หลี่หลงจีเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ถังเสวียนจง สิ่งแรกที่กระทำคือกวาดล้างขุมกำลังขององค์หญิงไท่ผิง นำพาสันติสุขกลับคืนมาอีกครั้ง

"ความเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากการกบฏครั้งนี้ เป็นเหตุให้ยุคทองของราชวงศ์ถังดับวูบลง อย่างไม่อาจฟื้นคืนกลับคืนมาเช่นเมื่อครั้งก่อนเก่าได้อีก"


อาทิตย์ดับยามเที่ยง
ต้นรัชกาลถังเสวียนจงบริหารบ้านเมืองอย่างจริงจัง รอบข้างแวดล้อมด้วยขุนนางผู้ทรงความรู้ความสามารถมากมาย มีการปฏิรูปการบริหารการปกครองครั้งใหญ่ ตัดทอนรายจ่ายฟุ้งเฟ้อที่เคยมีในรัชกาลก่อน ลดขนาดหน่วยงานราชการที่ใหญ่โตเทอะทะ กวาดล้างขุนนางฉ้อราษฎร์ที่มาจากการซื้อขายตำแหน่ง จัดระเบียบและรวบรวมผลงานวรรณกรรมและวิทยาการต่างๆ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด

แต่แล้วในปลายรัชสมัย เนื่องจากบ้านเมืองสงบสุขเป็นเวลานาน ถังเสวียนจงค่อยวางมือจากราชกิจ ปี 744 นับแต่รับตัวหยางอวี้หวนเป็นสนมกุ้ยเฟยไว้ข้างกาย ก็ลุ่มหลงกับการเสพสุขในบั้นปลาย ทอดทิ้งภารกิจบริหารราชการแผ่นดิน จนเป็นโอกาสให้เสนาบดีหลี่หลินฝู่ เข้ากุมอำนาจ แสวงหาอำนาจส่วนตน คอยกีดกันขุนนางและนายทัพที่มีความดีความชอบ ริดรอนขุมกำลังจากส่วนกลางในที่ไม่ใช่พรรคพวกตน ขณะที่ให้การสนับสนุนแม่ทัพชายแดนที่มาจากกลุ่มชนเผ่าภายนอก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะตึงเครียดตามแนวชายแดนกับทิเบต ทูเจี๋ยว์ เกาหลี และน่านเจ้าทางภาคใต้ กำลังทหารรับจ้างที่ต้องประจำอยู่ตามแนวพรมแดนมีจำนวนมากขึ้น แม่ทัพชายแดนจึงกุมอำนาจเด็ดขาดทางทหารไว้ได้

หลังจากหลี่หลินฝู่เสียชีวิต หยางกั๋วจง ญาติผู้พี่ของสนมหยางกุ้ยเฟยได้ขึ้นเป็นเสนาบดีแทน แต่กลับเลวร้ายยิ่งกว่า ด้วยถืออำนาจบาตรใหญ่ ฉ้อราษฎร์บังหลวง การโกงกินของขุนนางทำให้ระบบการจัดสรรที่นาและการเกณฑ์ทหารล้มเหลว กำลังทหารอ่อนโทรมลง ช่วงเวลาดังกล่าว เกิดเหตุขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างหยางกั๋วจงเสนาบดีคนใหม่กับอันลู่ซัน แม่ทัพชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้อันลู่ซันหาเหตุยกกำลังบุกเข้านครฉางอัน



ตำหนักหัวชิง อยู่ในเขตราชอุทยานในสมัยถัง สระหัวชิง เป็นที่มาของภาพกุ้ยเฟยสรงสนานอันเลื่องชื่อ (ตำหนักได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในภายหลัง)



ถังเซวียนจงและหยางกุ้ยเฟยหลบหนีลงใต้ ระหว่างทางบรรดานายทหารที่โกรธแค้นพากันจับตัวหยางกั๋วจงสังหารเสีย จากนั้นบีบบังคับให้ถังเซวียนจงประหารหยางกุ้ยเฟย จากนั้นเดินทัพต่อไปถึงแดนเสฉวน ขณะเดียวกัน รัชทายาทหลี่เฮิง หลบหนีไปถึงหลิงอู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลหนิงเซี่ย) ก็ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังซู่จง

ฝ่ายกองกำลังกบฏเมื่อได้ชัย ก็เข้าปล้นชิงทรัพย์สินราษฎร ปี 757 เกิดการแตกแยกภายใน อันลู่ซันถูกชิ่งซี่ว์ บุตรชายสังหาร ทัพถังได้โอกาสยกกำลังบุกยึดนครฉางอันและลั่วหยางกลับคืนมา แต่แล้วในปี758 สื่อซือหมิงขุนพลเก่าของอันลู่ซันก่อการอีกครั้ง ที่เมืองฟั่นหยาง(ปักกิ่ง) สังหารอันชิ่งซี่ว์ จากนั้นบุกยึดนครลั่วหยางได้อีกครั้ง ปี 761 ระหว่างยกกำลังบุกฉางอันถูกเฉาอี้ บุตรชายสังหารเช่นกัน เป็นเหตุให้กองกำลังระส่ำระสาย ทัพถังได้โอกาสร่วมกับกองกำลังของชนเผ่าหุยเหอ ตีโต้กลับคืน เฉาอี้พ่ายแพ้ฆ่าตัวตาย เหตุวิกฤตจากกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง ตั้งแต่ปี 755 – 763 จึงกล่าวได้ว่าสงบราบคาบลง



ความเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากการกบฏครั้งนี้ เป็นเหตุให้ยุคทองของราชวงศ์ถังดับวูบลง อย่างไม่อาจฟื้นคืนกลับคืนมาเช่นเมื่อครั้งก่อนเก่าได้อีก


แผนที่ราชวงศ์ถังตอนต้น

ภาพเขียนชีวิตประจำวันของผู้หญิงในสมัยถัง



ยุคเสื่อมของราชวงศ์ถัง

ระหว่างเกิดกบฏอันลู่ซัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมในเขตเมืองที่กบฏอันลู่ซันเข้าปล้นสะดมได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง กองทัพถังถูกเรียกระดมกลับเข้าสู่ส่วนกลางเป็นจำนวนมาก ป้อมรักษาการณ์เขตชายแดนว่างเปล่า เป็นเหตุให้อาณาจักรรอบนอก อาทิ ถู่ฟานหรือทิเบตทางภาคตะวันตก และอาณาจักรน่านเจ้าทางทิศใต้ต่างแยกตัวเป็นอิสระ ทั้งยังรุกรานเข้ามาเป็นครั้งคราว ช่วงปลายวิกฤตในปี 762 เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงในราชสำนักถังโดยขันทีหลี่ฝู่กั๋ว สังหารจางฮองเฮา ถังซู่จงสิ้น ขันทีหลี่ฝู่กั๋วจึงยกรัชทายาทหลี่อวี้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่าไต้จง

ภายหลังกบฎอันลู่ซัน ภาพลักษณ์ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของอาณาจักรสั่นคลอนครั้งใหญ่ บรรดาแม่ทัพรักษาชายแดนต่างสะสมกองกำลังของตนเอง แม้ว่าในนามแล้วยังรับฟังคำสั่งจากราชสำนัก แต่ไม่จัดเก็บภาษีเข้าสู่ส่วนกลาง ทั้งสืบทอดตำแหน่งแม่ทัพโดยผ่านทางสายเลือด ไม่ยอมรับการแต่งตั้งจากส่วนกลางอีก ขอบเขตอำนาจจากส่วนกลางหดแคบลง เหลือเพียงดินแดนแถบเสฉวน ส่านซีและซันซี สภาพบ้านเมืองเสื่อมทรุด ภายนอกเป็นสงครามแก่งแย่งของเหล่าขุนศึก ภายในยังมีการช่วงชิงในราชสำนัก


ยุคขันทีครองเมือง

ต้นราชวงศ์ถัง ปริมาณขันทีมีไม่มากนัก สถานภาพทางสังคมยังต่ำต้อย ไม่มีสิทธิข้องเกี่ยวทางการทหาร แต่เมื่อถึงรัชสมัยถังเสวียนจง ปริมาณขันทีเพิ่มมากขึ้น โดยหัวหน้าขันทีเกาลี่ซื่อ ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูง ช่วงปลายรัชกาลถังเสวียนจงละเลยราชกิจ หนังสือถวายรายงานทั้งหลาย ล้วนต้องผ่านเกาลี่ซื่อก่อน ทั้งมีอำนาจจัดการตัดสินชี้ขาดต่างพระเนตรพระกรรณ ขันทีผู้ใหญ่ยังเข้ารับหน้าที่สำคัญๆ อย่างการออกตรวจพล และเป็นราชทูต ตัวแทนพระองค์ฯลฯ เมื่อถึงรัชกาลถังซู่จง ขันทีหลี่ฝู่กั๋ว ที่หนุนพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ ระหว่างลี้ภัยกบฏอันลู่ซันก็ยิ่งได้รับความไว้วางพระทัย จนสามารถกุมอำนาจสั่งการทหารองครักษ์ในวังหลวงทั้งหมด

หลังจากรัชสมัยถังไต้จง(762 – 779) ขันทีมีหน้าที่เป็นตัวแทนพระองค์ออกตรวจกำลังพล ประกาศราชโองการ ตรวจตราหนังสือกราบทูล ดูแลหน่วยข่าวกรองและสืบราชการลับ และองค์รักษ์วังหลวงทั้งหมด ทั้งสามารถแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าการทหารท้องถิ่น มีอิทธิพลล้นฟ้า อำนาจในราชสำนักจึงตกอยู่ในมือของเหล่าขันที กษัตริย์ราชวงศ์ถังในรัชกาลต่อมา บ้างสิ้นพระชนม์ด้วยมือขันที และบ้างขึ้นสู่ราชบัลลังก์ด้วยมือของขันที

ยุคขันทีครองเมืองนี้ ได้นำพาสังคมสู่ภัยพิบัติ เนื่องจากขันทีไม่ได้มีฐานอำนาจจากขุนนางอยู่แต่เดิม มือเท้าที่คอยทำงานให้ก็เป็นกลุ่มพ่อค้าและอันธพาลร้านถิ่น สภาพสังคมวุ่นวายสับสน ต่างแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจส่วนตน ทั้งกษัตริย์ ขุนนางที่ไม่ยินยอมตกอยู่ภายใต้คำบงการของกลุ่มขันทีได้แต่กล้ำกลืนฝืนทน ดังนั้น จึงมักเกิดเหตุการณ์ลุกฮือขึ้นต่อต้านเป็นระยะ


ลมหายใจเฮือกสุดท้าย

ภายหลังกบฏอันลู่ซัน เศรษฐกิจสังคมเสียหายหนัก มีราษฎรสูญเสียทรัพย์สินและที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการโกงกินของข้าราชการขุนนาง ทำให้ระบบการปกครองล้มเหลว ประชาชนไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ตามปกติสุข สุดท้ายต้องลุกฮือขึ้นก่อการ

เริ่มจากปี 875 กลุ่มพ่อค้าเกลือเถื่อนหวังเซียนจือ ลุกฮือขึ้นก่อการ จากนั้นเป็นกบฏหวงเฉา ลุกฮือขึ้นหนุนเสริม ภายหลังหวังเซียนจือเสียชีวิตในการต่อสู้ หวงเฉาจึงกลายเป็นผู้นำต่อมา โดยยึดได้ดินแดนทางตอนใต้เกือบทั้งหมด จากนั้นมุ่งตะวันออกอย่างรวดเร็ว กบฏหวงเฉาสยายปีกขึ้นเหนือ ยึดได้ฉางอัน สถาปนาแคว้นต้าฉี ในปี 880 บีบให้ถังซีจง(873 – 887)หลบหนีไปยังแดนเสฉวน ภายหลัง แม้ว่ากบฏหวงเฉาถูกปราบราบคาบลง แต่ครั้งนี้ ราชสำนักได้รับความเสียหายอย่างหนัก ไม่อาจฟื้นตัวได้อีก ได้แต่รอวันดับสูญอย่างช้าๆ

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามกบฏหวงเฉาคนหนึ่งคือ จูเฉวียนจง แต่เดิมชื่อจูเวิน เคยเป็นขุนพลใต้ร่มธงของหวงเฉา แต่ภายหลังหันมาสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ถัง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าหน่วยปราบปรามในแดนเหอตง และได้รับพระราชทานนามว่าเฉวียนจง (แปลว่าซื่อสัตย์จงรักภักดี) ปีถัดมาได้เลื่อนเป็นแม่ทัพรักษาดินแดนหน่วยเซวียนอู่ พอถึงปี 884 จูเฉวียนจงร่วมมือกับหลี่เคอย่ง ชนเผ่าซาถัว เข้าปราบกองกำลังของหวงเฉา ภายหลังเหตุการณ์ กองกำลังที่นำโดย จูเฉวียนจง หลี่เคอย่อและหลี่เม่าเจิน ถือเป็นกองกำลังที่ทรงอำนาจที่สุดในขณะนั้น

กบฏหวงเฉาจบสิ้นไปแล้ว แต่การแก่งแย่งในราชสำนักยังไม่จบสิ้น ทั้งที่ความจริงอำนาจราชสำนักเหลือเพียงแต่เปลือก หลังจากถังเจาจง (888 – 904)ขึ้นครองราชย์ ก็ร่วมมือกับกลุ่มเสนาบดีชุยยิ่น เพื่อกำจัดอำนาจขันทีในวัง จึงนัดหมายกับจูเฉวียนจงให้เป็นกำลังสนับสนุนจากภายนอก ปี 903 หลังจากจูเฉวียนจงโจมตีกองกำลังของหลี่เม่าเจินที่ให้การสนับสนุนฝ่ายขันทีแตกพ่ายไป ก็นำกำลังทหารบุกเข้าฉางอัน กวาดล้างเข่นฆ่าขันทีในวังครั้งใหญ่ เป็นอันสิ้นสุดยุคขันทีครองเมือง

จูเฉวียนจงได้รับการปูนบำเหน็จความดีความชอบจากการกวาดล้างขันที ให้เป็นเหลียงหวัง กุมอำนาจบริหารแผ่นดินอย่างเบ็ดเสร็จแต่ผู้เดียว แต่แล้วในปี 904 จูเฉวียนจงสังหารเสนาบดีชุยยิ่นและถังเจาจง แต่งตั้งถังอัยตี้ วัย 13 ขวบขึ้นเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดแทน

จากนั้นในปี 907 จูเฉวียนจงปลดถังอัยตี้ ตั้งตนเป็นใหญ่ สถาปนาแคว้นเหลียงขึ้น โดยมีนครหลวงที่เมือง เ...ยนโจว (ปัจจุบันคือเมืองไคฟง) ราชวงศ์ถังจึงถึงกาลอวสาน

สถูปทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบจากห้องใต้ดินวัดฝ่าเหมิน (บน)

ภาพวาดฝาผนังจากถ้ำผาพันพระในตุนหวง ซินเกียง (ล่าง)







เตียบ่อกี้
#17   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:11:56 ]

ห้าราชวงศ์สิบแคว้น (ค.ศ. 907 – 960)

"หลังจากราชวงศ์ถังล่มสลาย แผ่นดินตกอยู่ในสภาพกลียุค แผ่นดินภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโหต่อมาอีก 54 ปี ได้มีการผลัดแผ่นดินของห้าราชวงศ์ได้แก่ โฮ่วเหลียง โฮ่วถัง โฮ่วจิ้น โฮ่วฮั่น โฮ่วโจว ขณะเดียวกัน บรรดาขุนศึกที่ครองเขตปกครองลุ่มน้ำฉางเจียงหรือแยงซี ภาคใต้และเขตชายฝั่งทะเล ต่างแยกตัวเป็นแว่นแคว้นอิสระถึงสิบแคว้น นักประวัติศาสตร์จีนจึงรวมเรียกยุคสมัยนี้ว่า สมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น"

อนึ่ง เนื่องจากชื่อแคว้นและราชวงศ์ในยุคนี้ มีการรื้อฟื้นนำชื่อราชวงศ์ในยุคก่อนมาใช้เป็นอันมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการแยกแยะความแตกต่างของยุคสมัย นักประวัติศาสตร์จีนจึงได้เพิ่มคำลงในชื่อดังกล่าว อาทิ โฮ่ว หมายถึง (ยุค)หลัง, เฉียน หมายถึง (ยุค)ก่อน, เป่ย หมายถึง (อยู่ทาง)เหนือ, หนัน หมายถึง (อยู่ทาง)ใต้ เป็นต้น


ห้าราชวงศ์ผลัดแผ่นดิน
ปลายราชวงศ์ถัง บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย บรรดาแม่ทัพนายกองที่ถูกส่งไปประจำท้องถิ่น ต่างพากันก่อหวอด เกิดศึกสงครามไม่ว่างเว้น หลังผ่านศึกตะลุมบอนหมู่มาหลายปี ในที่สุดหลงเหลือเพียงกลุ่มกองกำลังที่เข้มแข็ง ขณะที่ขุนศึกทางภาคใต้ต่างปักหลักยึดครองดินแดนของตน หันมาทำการค้าขาย ทางภาคเหนือมีจูเวิน ตั้งมั่นที่เ...ยนโจวหรือไคเฟิง เผชิญหน้ากับหลี่เคอย่ง ที่มีศูนย์กลางในแดนไท่หยวน จวบจนปี 907 จูเวินล้มล้างราชวงศ์ถัง สถาปนาแคว้นเหลียง ซึ่งนักประวัติศาสตร์จีนขนานนามว่าโฮ่วเหลียงขึ้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคห้าราชวงศ์

หลังจากสถาปนาโฮ่วเหลียง (ปี 907 – 923) จูเวินยังคงทำสงครามขยายดินแดนต่อไปจนสามารถครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและล่างไว้ได้ แต่ภายหลังถูกบุตรชายตัวเองลอบสังหาร การแก่งแย่งในราชสำนักโฮ่วเหลียง ทำให้ราชสำนักอ่อนแอลง

กองกำลังของหลี่ฉุนซี่ว์ บุตรชายของหลี่เคอย่ง คู่ปรับเก่าฉวยโอกาสจากความวุ่นวายนี้ เข้ายึดแดนเหอเป่ย สถาปนาโฮ่วถัง (ปี 923 – 936) จากนั้นบุกเข้ายึดเมืองไคเฟิงได้ในปีเดียวกัน โฮ่วเหลียงล่มสลาย

หลังจากโฮ่วถังรวบรวมดินแดนภาคเหนือไว้ได้ จึงย้ายเมืองหลวงไปยังนครลั่วหยาง ปี 925 ยกทัพลงใต้กวาดล้างแคว้นเฉียนสู ถังจวงจง หลี่ฉุนซี่ว์แม้จะเชี่ยวชาญการศึก แต่ไม่ใช่นักปกครองที่ดี ปลายรัชกาลหลงเชื่อขุนนางฉ้อราษฎร์ เป็นเหตุให้เกิดจราจลขึ้น ท่ามกลางความวุ่นวาย ถังจวงจงถูกสังหาร หลี่ซื่อหยวน บุตรบุญธรรมของหลี่เคอย่งขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่าถังหมิงจง ทรงหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตภายใน ละเว้นการสงคราม ทำให้บ้านเมืองได้รับการฟื้นฟูขึ้นในระดับหนึ่ง ปี 933 หมิงจงสิ้น เกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนัก บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะความวุ่นวายอีกครั้ง

สือจิ้งถัง ราชบุตรเขยในถังหมิงจงดำรงตำแหน่งแม่ทัพรักษาแดนเหอตง ฉวยโอกาสนี้ สวามิภักดิ์ต่อชนเผ่าชี่ตัน ถึงกับยอมเรียกหัวหน้าเผ่าชี่ตันเยลี่ว์เต๋อกวง เป็นบิดา ทั้งสัญญาจะยกดินแดนแถบเหอเป่ย ซันซีและมองโกเลียใน 16 เมือง พร้อมผ้าไหมแพรพรรณ ม้าศึกชั้นดีเป็นบรรณาการ เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางทหารในการขึ้นสู่อำนาจ ปี 936 เยลี่ว์เต๋อกวงสนับสนุนสือจิ้งถังขึ้นเป็นใหญ่ที่แดนไท่หยวน สถาปนาโฮ่วจิ้น (ปี 936 – 947) จากนั้นยกทัพบุกลั่วหยาง โฮ่วถังสิ้น

ปี 937 โฮ่วจิ้นย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองไคเฟิง เนื่องจากต้องแบกรับภาระส่งบรรณาการให้กับชี่ตันเป็นจำนวนมหาศาล ราษฎรต้องทุกข์ยากแสนเข็ญ ปี 942 สือจิ้งถังสิ้น สือฉงกุ้ย ผู้หลานขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ต้องการปลดพันธนาการดังกล่าว ชี่ตันจึงหาเหตุยกทัพลงใต้บุกโฮ่วจิ้น หลังจากการศึกโรมรันกว่า 5 ปี ในที่สุดปลายปี 946 กองทัพของชี่ตันบุกเข้าเมืองไคเฟิง โฮ่วจิ้นล่มสลาย

เยลี่ว์เต๋อกวงสถาปนาแคว้นเหลียว ขึ้นที่เมืองไคเฟิง ออกปล้นสะดมทรัพย์สินเข่นฆ่าราษฎรทั่วไป เป็นเหตุให้ราษฎรลุกฮือขึ้นต่อต้าน ทหารเหลียวจำต้องล่าถอยกลับขึ้นเหนือไป ดินแดนภาคกลางเกิดสุญญากาศทางอำนาจขึ้น หลิวจือหย่วน ที่เป็นแม่ทัพรักษาแดนเหอตง จึงเข้ายึดครองแทนที่ ในปี 947 ประกาศตัวขึ้นเป็นใหญ่ที่แดนไท่หยวน สถาปนาโฮ่วฮั่น (ปี 947 – 950) จากนั้นย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองไคเฟิง ปีถัดมาหลิวจือหย่วนสิ้น ฮั่นอิ่นตี้ บุตรชายขึ้นครองราชย์ต่อมา ในเวลานั้นบ้านเมืองทรุดโทรมเสียหายจากการปล้นชิงเข่นฆ่าของชี่ตันไม่น้อย จึงเกิดการก่อหวอดขึ้นในท้องที่ต่างๆ ปี 950 ฮั่นอิ่นตี้ทรงระแวงว่าแม่ทัพนายกองจะแปรพักตร์จึงวางแผนกำจัด หนึ่งในจำนวนนั้นคือ กัวเวย ที่กุมอำนาจทางทหารอยู่แดนเหอเป่ย แต่แผนการไม่สำเร็จ กัวเวยจึงนำทัพบุกไคเฟิง อิ่นตี้ถูกสังหาร โฮ่วฮั่นสิ้น

ปี 951 กัวเวยขึ้นครองราชย์ สถาปนาโฮ่วโจว (ปี 951 – 960) ที่เมืองไคเฟิง ดำเนินการปฏิรูปการปกครอง ผ่อนปรนการเก็บภาษี ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะผู้มีปัญญา ขจัดการโกงกินของขุนนางชั่ว กระตุ้นให้มีการเพิ่มผลผลิต สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการฟื้นฟูในระดับหนึ่ง จวบจนปี 954 กัวเวยล้มป่วยเสียชีวิตลง บุตรบุญธรรมไฉหรง ขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่า โจวซื่อจง ถือเป็นนักปกครองที่มีบทบาทอย่างสูงในประวัติศาสตร์จีน ทรงสืบทอดแนวทางปฏิรูปการเมืองการปกครองของรัชกาลก่อน ตระเตรียมกำลังพล พร้อมเปิดศึกรวมแผ่นดินอีกครั้ง ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญต่อการรวมแผ่นดินของราชวงศ์ซ่ง ในเวลาต่อมา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ปณิธานยังไม่ทันสัมฤทธิผลก็ทรงประชวรสิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี 959 ทิ้งให้บุตรชายวัย 7 ขวบขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา เป็นโจวก้งตี้

ปีถัดมา ขณะเจ้าควงอิ้น นำทัพบุกขึ้นเหนือ เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงที่เฉินเฉียว บรรดานายทัพพร้อมใจกันสนับสนุนเจ้าควงอิ้นขึ้นสู่บัลลังก์มังกร เป็นเหตุให้ต้องนำทัพกลับเข้านครหลวง ราชวงศ์โฮ่วโจวสิ้น ยุคห้าราชวงศ์ที่เต็มไปด้วยสงครามแย่งชิงบัลลังก์จึงสิ้นสุดลง





สิบแคว้น
ปลายราชวงศ์ถัง เนื่องจากเกิดศึกสงครามทางภาคเหนือ เป็นเหตุให้ราษฎรละทิ้งที่ดินทำกิน ประชากรเบาบางลง ขณะที่เงื่อนไขทางสังคมทางภาคใต้ค่อนข้างสงบมั่นคงกว่า เศรษฐกิจก็ได้รับการพัฒนารุ่งเรืองขึ้น อาจกล่าวได้ว่า ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยห้าราชวงศ์ ได้เกิดการโอนถ่ายศูนย์กลางทางเศรษฐกิจจากแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง ลงสู่เขตลุ่มแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซี

กลุ่มเมืองสำคัญทางตอนใต้ขยายตัวเติบโตขึ้น กลุ่มแรงงานฝีมืออาทิ การต่อเรือ หล่อโลหะ การพิมพ์ ทอผ้าเป็นต้น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตทวีความสำคัญขึ้น การค้าขายระหว่างท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของแว่นแคว้นทางตอนใต้ แดนเจียงหนันกลายเป็นแหล่งชุมนุมของปราชญ์กวีที่มีความสามารถ

แคว้นอู๋และหนันถัง (ปี 902 – 975)

หยางสิงมี่ ผู้สถาปนาแคว้นอู๋ เดิมเป็นแม่ทัพรักษาแดนหวยหนัน (ในมณฑลอันฮุย) แห่งราชวงศ์ถัง ปี 902 ราชสำนักถังแต่งตั้งให้เป็นอู๋หวัง พื้นที่ในปกครองได้แก่ เจียงซู อันฮุย เหอหนัน บางส่วนของหูเป่ยและเจียงซี โดยมีศูนย์กลางที่เมืองหยางโจว ภายหลังสืบทอดตำแหน่งทางสายเลือดต่อต่อมา แต่เกิดแย่งชิงอำนาจกันภายใน เป็นเหตุให้เสนาบดีสีว์เวิน มีโอกาสแทรกตัวเข้ามายึดอำนาจทางทหารไว้ จากนั้นยกบุตรคนรองของหยางสิงมี่หยางเว่ย ขึ้นครองบัลลังก์ โดยตระกูลสีว์กุมอำนาจทั้งมวลไว้

จวบจนปี 937 สีว์เวินสิ้น สีว์จือเก้า บุตรบุญธรรมของสีว์เวินขึ้นสู่อำนาจแทน เจ้าแคว้นอู๋ ‘สละราชบัลลังก์’ สีว์จือเก้าจึงกลับมาใช้แซ่หลี่ สถาปนาแคว้นหนันถัง โดยมีนครหลวงที่เมืองจินหลิง (เมืองหนันจิงในปัจจุบัน) สีว์จือเก้าดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นรอบข้าง ทำให้บ้านเมืองปลอดภัยสงคราม สภาพสังคมเศรษฐกิจได้รับการฟื้นฟูเข้มแข็งขึ้น ปี 943 สีว์จือเก้าสิ้น บุตรชายหลี่จิ่ง* ครองราชย์สืบต่อมา เป็นช่วงเวลาที่หนันถังรุ่งเรืองขึ้นมา เริ่มทำสงครามขยายอาณาเขต กลายเป็นแคว้นมหาอำนาจทางตอนใต้ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ภายในราชสำนักฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม บ้านเมืองเสื่อมทรุดลง ปี 958 หนันถังยอมสวามิภักดิ์กับราชวงศ์โฮ่วโจวพร้อมกับยอมยกดินแดนบางส่วนให้ ปี 961 หลี่จิ่งสิ้น หลี่อี้ว์** ขึ้นครองราชย์ต่อมา จวบจนปี 975 ราชวงศ์ซ่งกรีฑาทัพลงใต้ หนันถังล่มสลาย

***หลี่จิ่งและหลี่อี้ว์สองพ่อลูกได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีผู้มีความสามารถอย่างสูงในประวัติศาสตร์จีน ผลงานของทั้งสองส่งผลต่อความรุ่งเรืองเชิงวรรณคดีของราชวงศ์ซ่งในเวลาต่อมา

เฉียนสู(ปี 907 – 925)และโฮ่วสู (ปี 934 – 965)

หวังเจี้ยน พ่อเมือง...โจว มีฐานอำนาจในแดนเสฉวนและฮั่นจงตั้งแต่ปี 894 หลังจากราชวงศ์ถังล่มสลาย ก็ตั้งตนเป็นใหญ่ที่เมืองเฉิงตู สถาปนาแคว้นเฉียนสู ดินแดนในปกครองได้แก่ เสฉวน กันซู่ ส่านซีและหูเป่ย(บางส่วน) หวังเจี้ยนดำเนินนโยบายเชิงรับ ไม่เน้นการใช้กำลังทหารกับภายนอกหากไม่จำเป็น จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดินแดนแถบนี้ยังคงความสงบสุขและพัฒนาขึ้น

แต่เนื่องจากในช่วงปลายรัชกาลหวาดระแวงขุนศึกเก่าแก่ข้างกาย จึงกำจัดเสียมากมาย ภายในราชสำนักเริ่มฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ปี 918 หวังเจี้ยนสิ้น เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงในราชสำนัก สุดท้ายแม้ว่าหวังเหยี่ยน ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่ไม่สนใจราชกิจเพียงคิดหาความสำราญ ปี 925 กองทัพของราชวงศ์โฮ่วถังบุกเข้าสู่นครหลวงเฉิงตู แคว้นเฉียนสูล่มสลาย

เมิ่งจือเสียง เป็นหลานเขยของหลี่เคอย่ง ในรัชกาลถังจวงจงแห่งโฮ่วถัง เป็นที่โปรดปรานยิ่ง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ตรวจการแดนเจี้ยนหนัน(เสฉวนตะวันตก) ต่อมาเกิดเหตุวุ่นวายในราชสำนัก ถังจวงจงสิ้น ถังหมิงจงขึ้นครองราชย์ เมิ่งจือเสียงทราบว่าราชสำนักโฮ่วถังอ่อนแอลง จึงคิดตั้งตนเป็นอิสระ ไม่รับฟังคำสั่งจากส่วนกลางอีก ปี 930 เมิ่งจือเสียงชักชวนต่งจางแม่ทัพรักษาแดนเสฉวนตะวันออกลุกฮือขึ้นก่อการ แต่ภายหลังเกิดขัดแย้งกันเอง ต่งจางพ่ายแพ้ถูกสังหาร เมิ่งจือเสียงจึงสามารถยึดครองดินแดนเสฉวนทั้งหมด ฝ่ายราชสำนักโฮ่วถังได้แต่ส่งหนังสือแต่งตั้งเมิ่งจือเสียงเป็นสูหวัง (เจ้าแคว้นสู)

ปี 934 เมิ่งจือเสียงสถาปนาแคว้นโฮ่วสู ครองราชย์ได้ครึ่งปีก็สิ้น บุตรชายเมิ่งฉั่ง รับสืบทอดอำนาจต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบการปกครอง พัฒนาการผลิต ก่อตั้งสถานศึกษา สังคมเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นเขตที่มีเศรษฐกิจและวัฒนธรรมรุ่งเรืองเคียงคู่กันมากับแคว้นหนันถัง ปี 965 ถูกราชวงศ์ซ่งล้มล้างไป


แคว้นอู๋เยี่ยว์ (ปี 907 – 978)
ปลายราชวงศ์ถัง เฉียนหลิว เดิมเป็นพ่อค้าเกลือเถื่อน ต่อมาสมัครเป็นทหารรับจ้าง ไต่เต้าจนกระทั่งได้เป็นแม่ทัพรักษาดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออก กุมอำนาจในดินแดนแถบเจียงหนันไว้ได้ (มณฑลเจ้อเจียงและเจียงซู) ปี 902 ถังเจาจงตั้งให้เป็นเยี่ยว์หวัง ปี 904 ตั้งให้เป็นอู๋หวัง ภายหลังเมื่อจูเวินสถาปนาโฮ่วเหลียง ตั้งให้เป็นอู๋เยี่ยว์หวัง มีนครหลวงที่เมืองหังโจว

แคว้นอู๋เยี่ยว์แม้มีพื้นที่แคบเล็ก แต่อุดมสมบูรณ์ และถึงแม้จะมีกำลังทหารไม่มากนัก แต่แคว้นอู๋เยี่ยว์มีท่าทีอ่อนน้อมต่อราชสำนักในภาคกลาง จึงสามารถป้องกันการรุกรานจากแว่นแคว้นที่เข้มแข็งรอบข้าง สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง สังคมสงบร่มเย็น จวบจนปี 978 เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรซ่ง นับเป็นแคว้นที่มีเวลาปกครองยาวนานที่สุดในยุคนี้



ตำรา‘จิ่วจิง’ ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นในยุคนี้ อันเป็นจุดเริ่มของธุรกิจการพิมพ์ที่รุ่งเรืองและแพร่หลายสู่ประชาชนในยุคต่อมา



แคว้นฉู่ (ปีค.ศ. 897 – 951)

ปลายราชวงศ์ถัง หม่าอิน ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่หูหนัน หลังจากราชวงศ์ถังล่มสลาย โฮ่วเหลียงแต่งตั้งเป็นฉู่หวัง มีศูนย์กลางที่เมืองถานโจว(เมืองฉางซาในปัจจุบัน) หลังหม่าอินสิ้น เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในวุ่นวาย ปี 951 จึงถูกหนันถังล้มล้างไป

แคว้นหมิ่น (ปีค.ศ. 909 – 945)
ปลายราชวงศ์ถัง หวังเฉา และหวังเสิ่นจือ สองพี่น้องต่อสู้ยึดครองดินแดนฝูเจี้ยน ถังเจาจงแต่งตั้งหวังเฉาเป็นแม่ทัพรักษาดินแดน ภายหลังหวังเสิ่นจือสืบทอดตำแหน่งต่อมา ปี 909 โฮ่วเหลียงตั้งเป็นหมิ่นหวัง สภาพโดยรวมสงบมั่นคงดี แต่หลังจากหวังเสิ่นจือสิ้น การเมืองภายในปั่นป่วนวุ่นวาย ผู้สืบทอดล้วนแต่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ทั้ง...มโหดมากระแวง จนกระทั่งปี 945 ถูกแคว้นหนันถังกวาดล้างไป

หนันฮั่น (ปีค.ศ. 917 -971)
ปลายราชวงศ์ถัง หลิวอิ่น ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพรักษาแดนหลิ่งหนัน (มณฑลกว่างตงและกว่างซี) ปี 917 หลิวเหยียน น้องชายได้รับสืบทอดตำแหน่งต่อมา สถาปนาแคว้นเยี่ยว์ มีนครหลวงที่เมืองกว่างโจว ปีถัดมาเปลี่ยนชื่อเป็นฮั่น ประวัติศาสตร์ขนานนามว่า หนันฮั่น ปี 971 ถูกราชวงศ์ซ่งล้มล้างไป

หนันผิง (ปีค.ศ. 907 – 963)
ปี 907 โฮ่วเหลียงแต่งตั้งเกาจี้ซิง เป็นแม่ทัพรักษาแดนจิงหนัน(มณฑลหูเป่ย) ปี 924 โฮ่วถังแต่งตั้งเป็นหนันผิงหวัง มีศูนย์กลางที่เมืองเจียงหลิง ถือเป็นแคว้นที่มีกำลังอ่อนด้อยที่สุดในบรรดาสิบแคว้น

ปี 963 ราชวงศ์ซ่งล้มล้างไป

เป่ยฮั่น (ปีค.ศ.951 – 979)
ในบรรดาสิบแคว้น มีแว่นแคว้นหนึ่งเดียวที่อยู่ทางเหนือ คือเป่ยฮั่น ผู้ก่อตั้งคือหลิวฉง น้องชายของหลิวจือหย่วนแห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น ปี 951 เมื่อกัวเวยสถาปนาโฮ่วโจวขึ้นแทนที่โฮ่วฮั่น หลิวฉงก็เข้ายึดครองแดนไท่หยวนไว้ ตั้งตนเป็นกษัตริย์ และยังคงใช้ชื่อราชวงศ์ฮั่นสืบต่อมา ประวัติศาสตร์จีนขนานนามว่า เป่ยฮั่น(ฮั่นเหนือ)

เป่ยฮั่นเป็นแดนทุรกันดาร ราษฎรอดอยากยากจน แต่เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าชี่ตัน จึงยังคงรักษาดินแดนไว้ได้ สภาพสังคมเต็มไปด้วยข้อพิพาทขัดแย้ง ปี 979 ราชวงศ์ซ่งกรีฑาทัพเข้าสู่ไท่หยวน เป่ยฮั่นสิ้นสุดลง


ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ บริเวณพื้นที่รอบนอกเขตแดนต่อแดนของอาณาจักรจีน ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่ตั้งตนเป็นอำนาจรัฐอิสระขึ้น ที่สำคัญได้แก่ หลิวโส่วกวง สถาปนารัฐเอี้ยน ที่แดนเหอเป่ย (ปี 895 – 913) บริเวณชิงไห่และทิเบตมีถู่ฟาน แถบหยุนหนันจากแคว้นน่านเจ้าเดิม กลายเป็นต้าฉางเหอ (902~928) ต้าเทียงซิ่ง (928~929) ต้าอี้หนิง (929~ 937)ภายหลังเป็นต้าหลี่หรือตาลีฟู (937~ 1254) ภาคอีสานมีแคว้นป๋อไห่ (713~926) แถบมองโกเลียในมีชนเผ่าชี่ตัน นำโดยเยลี่ว์อาเป่าจีที่มีกำลังกล้าแข็งขึ้น ปี 916 สถาปนาแคว้นชี่ตัน จากนั้นกวาดรวมแคว้นป๋อไห่เข้าด้วยกัน นำกองกำลังรุกเข้าสู่ภาคกลาง จวบจนปี 947 เปลี่ยนชื่อแคว้นเป็นเหลียว กลายเป็นขุมกำลังที่ตั้งประจันกับราชวงศ์ซ่งเหนือ ในเวลาต่อมา





เตียบ่อกี้
#18   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:13:58 ]

ราชวงศ์เหลียว (ค.ศ. 916 – 1125)

ราชวงศ์เหลียว สถาปนาขึ้นโดยชนเผ่าชี่ตัน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเหลียวในมณฑลเหลียวหนิงและมองโกเลียใน ต่อมารุ่งเรืองขึ้นจนสามารถครอบครองดินแดนทางภาคเหนือของจีนเป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับยุคห้าราชวงศ์ และสิ้นสุดไปพร้อมกับราชวงศ์ซ่งเหนือ

แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ราชวงศ์เหลียวได้เปิดศึกสู้รบกับชาวฮั่นในดินแดนภาคกลางเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ในด้านวัฒนธรรม การบริหารการปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ ล้วนได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอย่างลึกซึ้ง

อักษรชี่ตันที่ดัดแปลงจากอักษรฮั่น (ซ้าย)อักษรฮั่น (ขวา)อักษรชี่ตัน



สร้างบ้านแปงเมือง

ปลายราชวงศ์ถัง เยลี่ว์อาเป่าจี รวบรวมชนเผ่าชี่ตันเป็นหนึ่งเดียว สถาปนาแคว้นชี่ตัน* ขึ้นในปี 916 จากนั้นปรับปรุงบ้านเมืองขนานใหญ่ คิดประดิษฐ์ตัวอักษรชี่ตัน สร้างเมืองหลวงใหม่ที่เมืองหวงตู (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นซ่างจิง ปัจจุบันอยู่ในเขตปาหลินจั่วฉีของมองโกเลียใน ปี 926 ผนวกแคว้นป๋อไห่(ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของมณฑลเหลียวหนิง เฮยหลงเจียงและเกาหลีเหนือ) รวมแผ่นดินภาคเหนือเข้าด้วยกัน

ปี 926 เยลี่ว์อาเป่าจีสิ้น เดิมอาเป่าจีแต่งตั้งเยลี่ว์ทูอี้ว์ บุตรชายคนโตเป็นรัชทายาท แต่ฮองเฮาสู้ลี่ว์ และข้าราชสำนักต่างให้การสนับสนุนเยลี่ว์เต๋อกวง บุตรชายรองที่มีความสามารถด้านการทหารขึ้นครองบัลลังก์แทน บีบคั้นให้เยลี่ว์ทูอี้ว์ต้องลี้ภัยยังราชสำนักโฮ่วถัง

เยลี่ว์เต๋อกวง(ปี 926 – 947) สานต่อแนวนโยบายของบิดา โดยใช้หลักการปกครองตาม ‘ประเพณีท้องถิ่นนิยม’ โดยจัดแบ่งข้าราชสำนักออกเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ฝ่ายเหนือเป็นข้าราชการชี่ตันปกครองดูแลชนเผ่าชี่ตันและชนเผ่าปศุสัตว์อื่นๆ โดยใช้ระเบียบปกครองของชนเผ่า ส่วนฝ่ายใต้มีทั้งข้าราชการชาวฮั่นและชี่ตัน ปกครองดูแลชาวฮั่นและป๋อไห่ ที่โดยมากทำการเกษตรอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกของแคว้น โดยใช้ระเบียบการปกครองตามแบบอย่างราชวงศ์ถัง

หอฟ้า วัดหัวเหยียนเมืองต้าถง ถือเป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมแบบเหลียวที่หลงเหลืออยู่



นอกจากนี้ เยลี่ว์เต๋อกวงยังศึกษาทางด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวฮั่น ทั้งให้ความสนใจต่อการพัฒนาด้านการเกษตร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและขุมกำลังของชี่ตันเจริญรุดหน้าเข้มแข็งขึ้น

ไม่นาน เยลี่ว์เต๋อกวงก็สบโอกาสขยายอิทธิพลเข้าสู่ภาคกลาง ปี 936 ชี่ตันยื่นมือเข้าช่วยเหลือสือจิ้งถังล้มล้างราชวงศ์โฮ่วถัง(หนึ่งในห้าราชวงศ์) สถาปนาโฮ่วจิ้นโดยได้รับมอบดินแดนแถบเหอเป่ยและซันซี 16 เมือง(ปัจจุบันได้แก่ ปักกิ่งและต้าถง) อีกทั้งบรรณาการประจำปีเป็นการตอบแทน แต่เมื่อสือจิ้งถังสิ้น ผู้สืบบัลลังก์ของสือจิ้งถังต้องการแยกตัวเป็นอิสระ กองทัพชี่ตันก็บุกเข้านครหลวงไคเฟิง ล้มล้างราชวงศ์โฮ่วจิ้นเป็นผลสำเร็จ แต่เนื่องจากกองทัพชี่ตันไม่ได้จัดกองเสบียงสนับสนุน ทหารจึงต้องออกปล้นสะดมแย่งชิงเสบียงราษฎรตลอดเส้นทางที่ผ่าน เป็นเหตุให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างรุนแรง กองทัพชี่ตันได้แต่ล่าถอยกลับภาคเหนือ




เหยือกเหล้าแก้วตกแต่งด้วยเงินและทอง ขุดพบจากสุสานขององค์หญิงเหลียว



มรสุมแย่งชิงทางการเมือง

ปี 947 ระหว่างการถอนกำลังกลับภาคเหนือ เยลี่ว์เต๋อกวงสิ้นกะทันหันในแดนเหอเป่ย ขณะที่กองทัพไม่อาจขาดผู้นำได้ ดังนั้นบรรดานายทัพจึงสนับสนุนให้เยลี่ว์หร่วน บุตรชายของเยลี่ว์ทูอี้ว์รัชทายาทองค์ก่อน ซึ่งร่วมรบอยู่ในกองทัพด้วยกันขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ทรงพระนามว่าเหลียวซื่อจง (ปี 947 – 951)

ทว่า ภายในราชสำนักเหลียว ซู่ลี่ว์ไทเฮาที่สนับสนุนหลี่หู น้องชายของเยลี่ว์เต๋อกวงเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ เมื่อทราบข่าวก็ส่งหลี่หูนำทัพมาแย่งชิงอำนาจกลับคืน แต่หลี่หูพ่ายแพ้ สองฝ่ายจึงต้องหันมาเจรจากัน

สุดท้ายแม้ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้ทายาทของทั้งสองสายสลับกันขึ้นเป็นผู้นำ โดยซู่ลี่ว์ไทเฮายอมรับให้ ‘หลานชาย’เหลียวซื่อจงครองราชย์ต่อไป แต่กระแสการแย่งชิงอำนาจภายในราชสำนักเหลียวยังไม่หมดสิ้นไป เหลียวซื่อจงใช้มาตรการรุนแรงในการกำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ทั้งให้การสนับสนุนชาวฮั่นอย่างมาก สร้างความไม่พอใจให้กับชนชั้นสูงของชนเผ่า เป็นเหตุให้มีผู้คิดก่อการโค่นล้มราชบัลลังก์หลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกปราบราบคาบลง

จนกระทั่งปี 951 ราชวงศ์โฮ่วโจวแทนที่โฮ่วฮั่น หลิวฉงทายาทราชวงศ์โฮ่วฮั่นแยกตัวออกมาสถาปนาแคว้นเป่ยฮั่น จากนั้นหันมาสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์เหลียว เพื่อขอให้เหลียวส่งกำลังคุ้มครอง เหลียวซื่อจงคิดฉวยโอกาสนี้รุกเข้าภาคกลางอีกครั้ง จึงนำทัพลงใต้มา แต่แล้วระหว่างทางเกิดเหตุกบฏขึ้น เหลียวซื่อจงถูกสังหาร หลังจากปราบกบฏลงได้ นายทัพทั้งหลายต่างยกให้เยลี่ว์จิ่ง บุตรชายของเยลี่ว์เต๋อกวงขึ้นเป็น เหลียวมู่จง กษัตริย์องค์ต่อไป

เหลียวมู่จง(ปี 951 – 969) แม้ขึ้นครองราชย์ แต่ภายในยังมีการแย่งชิงระหว่างพี่น้อง มีการก่อหวอดและกวาดล้างทางการเมืองหลายครั้ง การปกครองภายในล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง ในเวลาเดียวกัน ภาคกลางเกิดการผลัดแผ่นดิน ราชวงศ์ซ่ง เข้าแทนที่ราชวงศ์โฮ่วโจว ซ่งไท่จู่เจ้าควงอิ้นเห็นเป็นโอกาสรวมแผ่นดินทางภาคใต้ก่อน ต่อเมื่อหันกลับมาอีกครั้ง สถานการณ์ทางภาคเหนือก็เปลี่ยนไป



สัญญาสงบศึก

ปี 969 เหลียวมู่จงถูกลอบสังหาร เยลี่ว์เสียน บุตรชายของเหลียวซื่อจงจากสายรัชทายาทองค์โตขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่า เหลียวจิ่งจง (ปี 969 – 982) จากนี้ไป จนถึงรัชกาลเหลียวเซิ่งจง (983 – 1031) เมื่อผ่านการปฏิรูปครั้งใหญ่ เปลี่ยนผ่านสังคมสู่วัฒนธรรมแบบฮั่น ก็เข้าสู่ยุคทองของราชวงศ์เหลียว

ตลอดรัชกาลเหลียวจิ่งจงมีสุขภาพอ่อนแอ เซียวฮองเฮาจึงเข้าดูแลราชกิจแทนทั้งหมด ปี 979 ซ่งไท่จงแห่งราชวงศ์ซ่งผนวกแคว้นเป่ยฮั่นเข้ากับภาคกลางเป็นผลสำเร็จ ต่อมาไม่นาน เหลียวจิ่งจงสิ้น โอรสวัย 12 ขวบเยลี่ว์หลงซี่ว์ ขึ้นครองราชย์ต่อมา เป็นเหลียวเซิ่งจง ภายใต้การดูแลของเซียวไทเฮา (953 – 1009) ระหว่างนี้ ราชวงศ์ซ่งและเหลียวต่างเปิดศึกปะทะกันหลายครั้ง แต่ไม่อาจเอาชนะกันได้ การศึกในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายจากตำนานวีรกรรมอันลือลั่นของขุนศึกตระกูลหยาง

ปี 990 ดินแดนทางภาคตะวันตก (มณฑลซ่านซีในปัจจุบัน) เกิดอาณาจักรใหม่สถาปนาขึ้นในนาม ซีเซี่ย โดย หลี่จี้เชียน (963 – 1004) ** ผูกมิตรกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์ซ่งต้องเผชิญกับการคุกคามจากศึกทั้งสองด้าน เมื่อถึงปี 1004 หลังจากสู้ศึกครั้งแล้วครั้งเล่า ราชวงศ์ซ่งเหนือกับเหลียวก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน (ปัจจุบันคือเมืองผูหยางมณฑลเหอหนัน) โดยซ่งเหนือยินยอมจัดส่งบรรณาการให้เหลียวทุกปี เพื่อแลกกับข้อตกลงไม่ให้เหลียวยกกองกำลังมาปล้นสะดมราษฎรแถบชายแดนภาคเหนืออีก ขณะที่ซ่งเหนือก็ต้องยอมละทิ้งความต้องการที่จะช่วงชิงเมืองปักกิ่งและต้าถงที่เคยเสียไปกลับคืนมา ข้อตกลงดังกล่าวแลกมาซึ่งความสงบสุขของดินแดนภาคเหนือเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทั้งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการผสมผสานวัฒนธรรมชนเผ่ากับดินแดนภาคกลางในเวลาต่อมา

เจดีย์ไม้แปดเหลี่ยมที่ต้าถง สูง 5 ชั้น สร้างในปี 1056 ปัจจุบันเป็นเจดีย์ไม้ที่มีอายุเก่าแก่และสูงที่สุดในประเทศจีนที่ยังหลงเหลืออยู่



สู่เส้นทางล่มสลาย

ปี 1009 หลังจากเซียวไทเฮาปล่อยวางภารกิจทั้งมวล โดยส่งมอบอำนาจให้กับเหลียวเซิ่งจง จากนั้นไม่นานก็สิ้น เหลียวเซิ่งจงปกครองเหลียวต่อมาถึงปี 1031 สิ้น ถือเป็นยุคที่ราชวงศ์เหลียวเจริญรุ่งเรืองถึงสูงสุด สภาพสังคมเจริญรอยตามอารยธรรมของชาวฮั่นอย่างสมบูรณ์ รัชสมัยเหลียวซิ่งจง และเหลียวเต้าจง ในยุคต่อมา เกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักเหลียวเป็นระลอ

เมื่อถึงปี 1075 ภายหลังการก่อการของเยลี่ว์อี่ซิน กับจางเสี้ยวเจี๋ย รัชทายาทถูกสังหาร เกิดการกวาดล้างทางการเมืองขนานใหญ่ บ้านเมืองอยู่ในสภาพคลอนแคลนอย่างหนัก กลุ่มชนเผ่าทางเหนือพากันลุกฮือขึ้นก่อหวอดเป็นระยะ ทรัพย์สินในท้องพระคลังและกำลังทหารสูญสิ้นไปกับการปราบปรามกลุ่มกบฏ

จวบจนปี 1101 เหลียวเต้าจงล้มป่วยเสียชีวิต เทียนจั้วตี้ ขึ้นครองราชย์ต่อมา ขณะที่กองกำลังของชนเผ่าหนี่ว์เจิน ที่อยู่ตามแถบชายแดนเหลียว ภายใต้การนำของหวันเหยียนอากู่ต่า มีกำลังแข็งกล้าขึ้น เกิดการลุกฮือขึ้นที่แดนป๋อไห่ทางตะวันออกของเหลียว หลังจากเอาชนะกองทัพเหลียวที่ส่งมาปราบลงได้แล้ว อากู่ต่าก็สถาปนาแคว้นจินหรือกิม ขึ้นในปี 1115 จากนั้นบุกยึดแดนเหลียวตงฝั่งตะวันออก และเมืองสำคัญของเหลียวจนหมดสิ้น (รวมทั้งปักกิ่งและต้าถง) เทียนจั้วตี้ได้แต่หลบนีไปทางตะวันตก แต่ถูกจับได้ในที่สุด ราชวงศ์เหลียวล่มสลาย

*ชื่อแคว้นและชื่อราชวงศ์เป็นชื่อเดียวกัน แต่มีการปรับเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง อาทิ ในปี 938 ชี่ตันสถาปนาดินแดน 16 เมืองที่ได้รับมอบเป็นต้าเหลียว ปี 947 ล้มล้างราชวงศ์โฮ่วจิ้นสถาปนาต้าเหลียวขึ้นที่เมืองไคเฟิง จากนั้นปี 983 ใช้ชื่อชี่ตัน ถึงปี 1066 กลับมาใช้ชื่อแคว้นเหลียวอีกครั้ง

** เป็นชนเผ่าตั่งเซี่ยง หลี่จี้เชียน เป็นชื่อในภาษาฮั่น ใช้แซ่ตามราชวงศ์ในภาคกลางเพื่อแสดงความจงรักภักดี ภายหลังเปลี่ยนมาใช้แซ่เจ้า ตามราชวงศ์ซ่ง






เตียบ่อกี้
#19   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:18:28 ]

ซ่งเหนือ (ปีค.ศ. 960 – 1127) ภาพ “ชิงหมิงซ่างเหอถู” สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวเมืองไคเฟิงริมฝั่งแม่น้ำในเทศกาลเชงเม็ง ถือเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าแห่งยุค



การถือกำเนิดขึ้นของราชวงศ์ซ่งเหนือ ได้ยุติสภาพแตกแยกของบ้านเมืองภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ถัง แม้ว่าแผ่นดินจีนในยุคนี้ จะตกอยู่ในภาวะตั้งรับภัยคุกคามจากกลุ่มชนเผ่าทางภาคเหนือ อาทิ แคว้นเหลียว จิน และซีเซี่ย ที่มีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน แต่บ้านเมืองโดยรวมยังมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและศิลปวิทยาการ โดยครึ่งหนึ่งของสี่สุดยอดสิ่งประดิษฐ์จีนได้รับการพัฒนาจนเป็นที่แพร่หลายในยุคนี้ อีกทั้งยังเป็นยุคทองของภาพวาดและวรรณคดีจีนอีกด้วย

อนึ่ง นักประวัติศาสตร์จีนได้แบ่งราชวงศ์ซ่ง(ปี 960 – 1279) ออกเป็นสองยุคสมัย ตอนต้นได้แก่ ยุคซ่งเหนือ (960 – 1127) นครหลวงอยู่ที่เมืองไคเฟิง และตอนปลาย คือ ยุคซ่งใต้ (1127 – 1279) ย้ายนครหลวงมายังเมืองหลิงอัน (ปัจจุบันคือเมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง) ภายหลังจากทัพจินบุกเข้าทำลายเมืองหลวงไคเฟิงจนเสียหายอย่างหนัก

ซ่งรวมแผ่นดิน

แผ่นดินภาคกลาง ภายหลังโจวซื่อจง แห่งราชวงศ์โฮ่วโจวสิ้น(ราชวงศ์สุดท้ายในห้าราชวงศ์) ภายในราชสำนักอยู่ในภาวะตึงเครียด ภายนอกเผชิญภัยคุกคามจากทัพเหลียว ปี 960 เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงที่เฉินเฉียว เจ้าควงอิ้น ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพรักษาวังหลวง บัญชาการกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานั้น ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทัพใต้ร่มธง บีบให้โจวก้งตี้ วัยเจ็ดขวบสละราชย์ จากนั้นสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นแทนที่โฮ่วโจว นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เป่ยซ่งหรือซ่งเหนือ

ซ่งไท่จู่ เจ้าควงอิ้นขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ก็จัด “งานเลี้ยงสุราปลดอาวุธ” สลายกำลังของนายทหารกลุ่มต่างๆที่สนับสนุนตนขึ้นสู่บัลลังก์โดยไม่เสียเลือดเนื้อ ด้วยเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ขึ้นได้อีก ทั้งเล็งเห็นว่าการที่นายทัพคุมกำลังทหารไว้ ย่อมจะมีอำนาจพลิกฟ้าอยู่ในมือ ซ่งไท่จู่จึงใช้วิธีการเดียวกันในการโอนถ่ายอำนาจทางทหารของแม่ทัพรักษาชายแดนเข้าสู่ส่วนกลาง นอกจากนี้ เพื่อลิดรอนอำนาจขุนนางที่อาจส่งผลคุกคามต่อราชบัลลังก์ในภายภาคหน้า จึงออกกฎระเบียบใหม่ ให้มีเพียงขุนนางระดับสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาราชกิจ โดยมีกษัตริย์เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ขุนนางเป็นเพียงผู้รับไปปฏิบัติ ไม่ได้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาชี้แนะข้อราชการดังเช่นแต่ก่อน นับแต่นั้นมา อำนาจเด็ดขาดทั้งมวลจึงตกอยู่ในมือของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว

เวลานั้น รอบข้างยังประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ สืบเนื่องมาจากสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น อาทิ โฮ่วสู หนันฮั่น หนันถัง อู๋เยว่ เป่ยฮั่น เป็นต้น ดังนั้นภารกิจสำคัญของเจ้าควงอิ้นจึงได้แก่ การเปิดศึกรวมแผ่นดิน ทัพซ่งมุ่งลงใต้ ทยอยรวบรวมดินแดนภาคใต้กลับมาอีกครั้ง หลังจากปราบแคว้นหนันถังอันเข้มแข็งได้สำเร็จในปี 974 แว่นแคว้นที่เหลือต่างทยอยเข้าสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ซ่ง ปลายรัชกาล เจ้าควงอิ้นหันทัพมุ่งขึ้นเหนือ หวังรวมแคว้นเป่ยฮั่นที่หลงเหลือเพียงหนึ่งเดียว แต่แล้วสิ้นพระชนม์ลงระหว่างการศึกภาคเหนือในปี 976

ซ่งไท่จง เจ้ากวงอี้ (ปี 976 – 997) ที่เป็นน้องชายขึ้นสืบราชบัลลังก์ สานต่อปณิธานรวมแผ่นดิน โดยรวมแคว้นเป่ยฮั่นสำเร็จในปี 979 จากนั้นพยายามติดตามทวงคืนดินแดนที่เคยเสียให้กับเหลียว (ปักกิ่งและต้าถง) กองทัพซ่งเหนือเปิดศึกกับเหลียวหลายครั้ง ขณะที่แคว้นเหลียวก็หาโอกาสรุกลงใต้ กลายเป็นสภาพการเผชิญหน้ากัน จวบกระทั่งปี 1004 ล่วงเข้ารัชกาลซ่งเจินจง ซ่งเหนือกับเหลียวบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน สงครามอันยาวนานจึงยุติลง

ตัวอักษรซีเซี่ย





เปิดศึกกับซีเซี่ย

ปลายรัชกาลซ่งไท่จงเจ้ากวงอี้ ชนเผ่าตั่งเซี่ยง ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือเริ่มมีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น หันไปสวามิภักดิ์กับแคว้นเหลียว ราชสำนักซ่งจึงสั่งปิดชายแดนตัดขาดการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ทำให้เกิดธุรกิจค้าเกลือเถื่อน และการปล้นสะดมสินค้าในบริเวณใกล้เคียง สองฝ่ายปะทะกันหลายครั้งแต่ไม่อาจเอาชนะกันได้ ต่อเมื่อ ปี 1006 ภายหลังซ่งทำสัญญาสงบศึกกับเหลียว จึงหันมาผูกมิตรกับซ่งเหนือ เปิดการค้าชายแดนตามปกติ

จวบกระทั่งปี 1038 หลี่หยวนเฮ่า ผู้นำคนใหม่ในเวลานั้น สถาปนาแคว้นซี่เซี่ย ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ที่เมืองซิ่งโจว (ปัจจุบันคือเมืองอิ๋นชวน มณฑลหนิงเซี่ย) ซีเซี่ยฉีกสัญญาพันธมิตรที่มีมากว่า 30 ปี เริ่มรุกรานเข้าดินแดนภาคตะวันตกของซ่งเหนือ ขณะที่กองทัพซ่งเหนือพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า พยายามเรียกร้องให้มีการเจรจากสงบศึกแต่ไม่เป็นผล อย่างไรก็ตาม เมื่อทำศึกเป็นเวลานาน การค้าที่เคยมีต้องประสบกับความเสียหาย ซีเซี่ยกลับเป็นฝ่ายเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สุดท้าย ซีเซี่ยจึงยอมเจรจาสงบศึก โดยซี่เซี่ยยอม “สวามิภักดิ์”กับราชสำนักซ่ง ขณะที่ซ่ง “พระราชทาน” ผ้าไหมแพรพรรณ เงินทองและชาให้กับซีเซี่ย สองฝ่ายต่างรื้อฟื้นเส้นทางค้าขายระหว่างกันดังเดิม

พลิกโฉมการปกครองภายใน

เจ้าควงอิ้นและเจ้ากวงอี้สองพี่น้องที่ได้ผ่านพบความวุ่นวุ่นวายแตกแยกของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก อีกทั้งประสบการณ์ความพลิกผันทางการเมืองของตน ทราบว่า เป็นเพราะเหล่าขุนศึกมีทั้งกำลังทหารและกำลังทรัพย์อยู่ในมือ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการลิดรอนอำนาจของเหล่าแม่ทัพรักษาชายแดน ราชสำนักได้จัดส่งขุนนางฝ่ายบุ๋นออกไปทำหน้าที่ปกครองในส่วนท้องถิ่นโดยตรง มีการคัดเลือกทหารฝีมือดีจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่กองกำลังรักษาวังหลวง ทั้งให้มีการสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งประจำการทุกสามปี ส่วนด้านการเงิน ก็กำหนดให้รายรับรายจ่ายของท้องถิ่น(ภาษี เงินปี เบี้ยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ) ต้องจัดรวบรวมและแจกจ่ายจากส่วนกลาง

การปฏิรูปดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างอำนาจการปกครองส่วนกลางให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไม่มียุคใดเทียบได้ พร้อมกับได้สลายขุมกำลังท้องถิ่นลงอย่างราบคาบ ตลอดราชวงศ์ไม่มีขุมกำลังอื่นใดในแผ่นดินสามารถท้าทายราชอำนาจของกษัตริย์ได้อีก อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง ทำให้ราชสำนักซ่งต้องตกเป็นฝ่าย “ตั้งรับ” ในยุคสมัยที่รอบข้างเต็มไปด้วยชนเผ่านักรบจากนอกด่านที่ทวีความแข็งกล้าขึ้น ดูจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมนัก

เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ
ภายหลังสัญญาสงบศึกที่ฉานหยวน ซ่งเหลียวยุติศึกสงครามอันยาวนานนับสิบปี เมื่อปลอดภัยสงคราม การค้า การผลิต ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมของสองฝ่ายต่างเจริญรุ่งเรืองขึ้น พร้อมกับการขยายตัวของหน่วยงานราชการส่วนกลาง ที่ประสิทธิภาพนับวันจะถดถอยลงคลอง ทหารขาดการซ้อมรบและศึกษายุทธวิธีในการศึก กองทัพอ่อนแอลง ถึงกับมีคำกล่าวว่า ทหารม้าไม่รู้จักการใส่อานม้า ทหารราบก็รบไม่เป็น เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูก็ได้แต่ตัวสั่นงันงกด้วยความกลัวตาย ระหว่างนายทัพกับพลทหารไม่รู้จักไม่รู้ใจ ได้แต่บัญชาการรบบนแผ่นกระดาษ อันเป็นสาเหตุแห่งความแพ้พ่ายครั้งแล้วครั้งเล่าของทัพซ่ง

นอกจากนี้ หน่วยงานข้าราชการขุนนางก็มีขนาดใหญ่โตเทอะทะขึ้นทุกวัน ทั้งที่ยังมีบุคคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแต่ไม่มีตำแหน่งการงานรองรับอีกมากมายนับไม่ถ้วน กล่าวกันว่า มีอัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้ตำแหน่งงานถึงหนึ่งต่อสิบทีเดียว

ภาวะดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสการอนุรักษ์อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากเกรงว่าจะต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อันจะกระทบกระเทือนตำแหน่งของตน ในเวลาเดียวกัน บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ต่างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน กวาดเก็บทรัพย์สินเข้าพกเข้าห่อ ไม่สนใจถึงผลกระทบต่อส่วนรวม บรรยากาศดังกล่าวปกคลุมไปทั่วราชสำนักซ่ง

การขยายตัวของหน่วยงานราชการ ทำให้ราชสำนักซ่งต้องเผชิญกับวิกฤตค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จากบันทึกค่าใช้จ่ายสมัยซ่ง พบว่า เมื่อถึงรัชสมัยซ่งอิงจง(1063 – 1067)ท้องพระคลังที่ว่างเปล่ากลับมีรายจ่ายมากกว่ารายรับเป็นจำนวนมหาศาล บ่งชี้ถึงฐานะทางการเงินอันคลอนแคลนของราชสำนัก

จวนขุนศึกตระกูลหยาง


การปฏิรูปที่ไร้ผล

ปี 1022 ซ่งเจินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ ซ่งเหยินจง (1022 – 1063) ราชโอรสขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 13 ปี ดังนั้นจึงมีหลิวไทเฮาคอยดูแลให้คำปรึกษาราชกิจ ต่อเมื่อ หลิวไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี 1033 ซ่งเหยินจงจึงเริ่มบริหารราชกิจด้วยตนเอง จากนั้นไม่นาน ราชสำนักซ่งเปิดศึกกับซีเซี่ยอีกครั้ง แต่ทัพซ่งก็ต้องแพ้พ่ายเสียหายกลับมา เป็นเหตุให้ซ่งเหยินจงมีดำริที่จะปรับปรุงกองทัพและการคลังครั้งใหญ่

ปี 1043 ทรงแต่งตั้งฟ่านจ้งเยียน และคณะให้ดำเนินการปฏิรูประบบการปกครองภายใน แต่นโยบายปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนทำให้บรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลสูงศักดิ์เสียผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดเสียงคัดค้านมากมาย สุดท้าย การปฏิรูปดังกล่าวดำเนินการไปได้เพียงปีเศษก็ต้องล้มเลิกไป คณะทำงานปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่ง

ปลายรัชกาลซ่งเหยินจง หวังอันสือ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่ซ่งเหยินจงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด

ภาพวาดฝีพระหัตถ์ซ่งฮุยจง



จวบจนปี 1963 ซ่งเหยินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจงสืบราชบัลลังก์ต่อมาได้เพียง 4 ปี ก็สิ้น โอรสของซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า ซ่งเสินจง โดยมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับหนุนแนวคิดการปฏิรูปกฎหมายของหวังอันสือ

ในเวลานั้น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตทางการเงินยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น หน่วยงานราชการของราชสำนักซ่งมีขนาดใหญ่โตขึ้นกว่าเมื่อครั้งต้นราชวงศ์ถึงกว่าสิบเท่า เพียงค่าใช้จ่ายแต่ละปีของกองทัพก็ครอบคลุมรายได้กว่าครึ่งจากท้องพระคลัง ดังนั้น ซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงแต่งตั้งให้หวังอันสือเป็น ผู้นำคณะปฏิรูปกฎหมายการปกครองใหม่

ระเบียบกฎหมายใหม่ของหวังอันสือมุ่งเน้นการเก็บกวาดรายได้จากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ และเจ้าที่ดินเข้าสู่ท้องพระคลัง ลดการผูกขาดอำนาจและอภิสิทธิ์ของกลุ่มตระกูลขุนนางชั้นสูง ขณะที่กลุ่มชาวนาและราษฎรทั่วไปลดภาระในการแบกรับภาษีและการเกณฑ์แรงงาน อีกทั้งมีการปรับปรุงระบบชลประทาน ทำให้กำลังการผลิตของสังคมโดยรวมพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง มีเงินเข้าท้องพระคลังเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ระเบียบกฎหมายใหม่ยังต้องเผชิญกับกระแสการคัดค้านจากผู้เสียผลประโยชน์ ภายหลังซ่งเสินจงสิ้นในปี 1085 โอรสวัยสิบขวบขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ซ่งเจ๋อจง มีเกาไทเฮาเป็นที่ปรึกษาราชกิจ ซึ่งให้การสนับสนุนกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์แบบเก่านำโดยซือหม่ากวง ไม่นานนัก กลุ่มปฏิรูปของหวังอันสือก็ถูกขับไล่ออกจากศูนย์กลางอำนาจ ระเบียบกฎหมายใหม่ถูกยกเลิกไป การปฏิรูปของหวังอันสือจึงจบสิ้นลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของซ่งเสินจง

ต่อเมื่อเกาไทเฮาสิ้นในปี 1093 ซ่งเจ๋อจงก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายนำการปฏิรูปอีกครั้ง แต่ภายในกลุ่มปฏิรูปเองเกิดแตกความคิดเห็นเป็นหลายฝ่าย กลายเป็นการแก่งแย่งช่วงชิงคานอำนาจกันเอง จวบจนซ่งเจ๋อจงสิ้นในปี 1100 ซ่งฮุยจง ขึ้นครองราชย์ต่อมา ให้การสนับสนุนกลุ่มขุนนางไช่จิงและพวก ที่แอบอ้างการผลักดันกฎหมายใหม่ มาใช้ในการโกงกินและขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งยุคแห่งความมืดมนฟอนเฟะของราชวงศ์ซ่ง

ระบบราชการที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก อาทิ กบฏฟางล่า (1120) กบฏซ่งเจียง (1118) อันเป็นที่มาของเรื่องราวในตำนาน “วีรบุรุษเขาเหลียงซาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณดีของจีน เป็นต้น แต่สุดท้ายยังคงต้องพ่ายแพ้แก่ราชสำนักซ่งในที่สุด เหรียญกษาปณ์สมัยซ่ง (ซ้าย) ตัวอักษรเป็นเฉ่าซูหรือเส้นลายมือหวัด ซึ่งไม่เคยปรากฏในเหรียญที่ผลิตโดยราชสำนัก

คาดว่าเป็นเหรียญที่กบฏซ่งเจียงผลิตขึ้นใช้เอง (ขวา)อักษรบนเหรียญเป็นลายพระหัตถ์ของซ่งฮุยจง

กำเนิดแคว้นจินกับอวสานของซ่งเหนือ

ในเวลาเดียวกัน สถานการณ์ทางภาคเหนือก็วุ่นวายไม่ต่างกัน ราชสำนักเหลียวเกิดการแตกแยกภายใน ระบบการปกครองล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง กลุ่มชนเผ่าทางเหนือที่เคยถูกกดขี่บีบคั้นต่างลุกฮือขึ้นก่อหวอด ชนเผ่าหนี่ว์เจิน ทางภาคอีสานเริ่มมีกำลังแกร่งกล้าขึ้น

ปี 1115 อากู่ต่า ผู้นำชนเผ่าหนี่ว์เจิน สถาปนาแคว้นต้าจินหรือกิม ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียง) ทรงพระนาม จินไท่จู่ จากนั้นกรีฑาทัพบุกแคว้นเหลียว

ฝ่ายซ่งเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะยึดดินแดน 16 เมืองที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำสัญญาร่วมมือกับแคว้นจินบุกเหลียว โดยซ่งจะส่งบรรณาการที่เคยให้กับเหลียวมามอบให้แคว้นจินแทน เพื่อแลกกับดินแดน 16 เมือง(ปักกิ่ง ต้าถง)ที่สูญเสียไปกลับคืนมา

ซ่งกับจินทำสัญญาร่วมมือกันบุกเหลียว ซ่งรับหน้าที่บุกเมืองเยียนจิง(ปักกิ่ง)และต้าถง ขณะที่จินนำทัพรุกคืบกลืนดินแดนเหลียวที่เหลือ ถงก้วน นำทัพซ่งบุกเมืองเยียนจิงสองครั้งแต่ต้องพ่ายแพ้กลับมาทั้งสองหน สุดท้ายปล่อยให้ทัพจินเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดเมืองไว้ได้โดยง่าย ราชสำนักซ่งต้องรับปาก“ไถ่เมืองคืน” ด้วยภาษีรายปีที่เก็บได้จากท้องถิ่นเป็นเงินก้อนโต สถานการณ์คราวนี้เป็นเหตุให้ทัพจินเล็งเห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังฝ่ายซ่ง ดังนั้น เมื่อทัพจินล้มล้างเหลียวเป็นผลสำเร็จ ก็เบนเข็มมุ่งมายังซ่งเหนือเป็นลำดับต่อไป



ลายพระหัตถ์ซ่งฮุยจง



ปี 1125 หลังจากหวันเหยียนเซิ่นขึ้นครองราชย์เป็นจินไท่จง สืบต่อจากจินไท่จู่ผู้พี่ชายแล้ว ก็นำทัพกวาดล้างแคว้นเหลียวเป็นผลสำเร็จ ทัพจินอ้างเหตุรุกไล่ติดตามตัวนายทัพเหลียว นำทัพล่วงเข้ามาในแดนซ่ง แยกย้ายบุกแดนไท่หยวนและเยียนจิง(ปักกิ่ง) แม่ทัพรักษาเมืองเยียนจิงยอมสวามิภักดิ์ทัพจิน นำทางเคลื่อนทัพรุกประชิดเมืองหลวงไคเฟิง

ซ่งฮุยจงเมื่อได้ทราบข่าวทัพจินเคลื่อนลงใต้ รีบสละบัลลังก์ให้กับรัชทายาทส่วนตัวเองหลบหนีลงใต้ ซ่งชินจง เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกประชุมเสนาบดีคิดหาหนทางแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ กลุ่มขุนนางใหญ่สนับสนุนให้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลี้ภัย ทว่าหลี่กัง อาสาทำหน้าที่รักษาเมืองอย่างแข็งขัน หัวเมืองรอบนอกเมื่อทราบข่าวทัพจินก็รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังต่อต้านการรุกรานจากภายนอก ทัพจินเมื่อไม่สามารถเอาชัยได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เริ่มขาดแคลนเสบียง

ในเวลาเดียวกัน ซ่งชินจงแอบทำสัญญาสงบศึกกับทัพจิน โดยยินยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล อีกทั้งส่งมอบดินแดนสามเมืองให้เป็นการชดเชย ฝ่ายจินจึงยอมถอนทัพกลับภาคเหนือ ภายหลังวิกฤตหลี่กังถูกปลดจากตำแหน่ง

ราชสำนักซ่งแม้ว่ารับปากส่งมอบเมืองไท่หยวน จงซานและเหอเจียนให้กับแคว้นจิน แต่ราษฎรในท้องถิ่นต่างพากันต่อต้านทัพจินอย่างไม่คิดชีวิต ทัพจินไม่อาจเข้าครอบครองทั้งสามเมืองได้ จึงส่งกองกำลังบุกลงใต้มาอีกครั้ง แต่คราวนี้ ชาวเมืองไท่หยวนที่ยืนหยัดต่อสู้เป็นเวลานาน เกิดขาดแคลนเสบียง จึงต้องเสียเมืองในที่สุด ทัพจินรุกประชิดเมืองไคเฟิงอีกครั้ง ราชสำนักซ่งจัดส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกแต่ไม่เป็นผล ทัพจินบุกเข้าเมืองไคเฟิงกวาดต้อน ซ่งเวยจง ซ่งชินจง และเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นเชลย อีกทั้งปล้นสะดมทรัพย์สินในท้องพระคลังไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย

ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ แม้มีการศึกสงครามประปรายเป็นระยะ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังมีความสงบสุขอยู่บ้าง ดังนั้น วิทยาการความรู้ การผลิต ยังคงมีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้ นอกจากนี้ ความจำเป็นของการศึกสงคราม ราชสำนักซ่งยังได้มีการผลิตดินปืนขึ้นเพื่อใช้ในการรบเป็นครั้งแรก

ในด้านศิลปะและวรรณคดี ก็มีอัจฉริยะที่โดดเด่นปรากฏขึ้นไม่น้อย บทกวี ในสมัยซ่งได้รับการยอมรับว่า มีความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากระบบการสอบจอหงวนทำให้กลุ่มปัญญาชนได้รับอิสระในการพัฒนาตนเองขึ้นมา อาทิ หวังอันสือ ฟ่านจ้งเยียน ซือหม่ากวง เป็นต้น อีกทั้งยังได้ฝากผลงานภาพวาดฝีมือเยี่ยมไว้มากมายที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ได้แก่ฝีมือของ ซ่งฮุยจง กษัตริย์องค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่ง

นับแต่ ราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกอันยาวนานของจีนในลักษณะนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลังจากซ่งเหนือถูกล้มล้างโดยราชวงศ์จิน ได้เปิดกระแสการรุกรานจากชนเผ่านอกด่านเข้าครอบครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา





เตียบ่อกี้
#20   เตียบ่อกี้    [ 27-01-2008 - 09:20:12 ]

อาณาจักรจิน หรือ จินกั๋ว (ค.ศ.1115 – ค.ศ.1234

ภาพวาดของคนเผ่าหนี่ว์เจิน



อาณาจักรจินสร้างขึ้นโดยชนเผ่าหนี่ว์เจิน ( บรรพบุรุษของชาวแมนจู) มีหวันเหยียน อากู๋ต่า หรือชื่อที่รู้จักกันว่า ‘จินไท่จู่’ ผู้ครองอาณาจักรคนแรก เริ่มแรกสร้างเมืองหลวงอยู่ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอไป๋เฉิง ทางตอนใต้ของเมืองอาเฉิง ในมณฑลเฮยหลงเจียง ) ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองเยียนจิง (ชื่อเดิมของปักกิ่ง) และย้ายเมืองหลวงอีกครั้งมาที่ เ...ยนจิง ( ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิงในมณฑลเหอหนัน)

นานมาแล้วบรรพบุรุษของชนเผ่าหนี่ว์เจินอาศัยอยู่อาณาบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซันและลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียง เรื่องราวของชนเผ่าหนี่ว์เจินยังไม่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์จนกระทั่งในสมัยห้าราชวงศ์ที่กล่าวว่า เป็นชนเผ่าที่อยู่ในการปกครองของชนเผ่าชี่ตัน แห่งอาณาจักรเหลียว

เดือนกันยายน ปีค.ศ.1114 อากู๋ต่า หัวหน้าเผ่าหนี่ว์เจินนำกำลังเข้าต่อสู้แย่งชิงอำนาจจากพวกชี่ตันที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ที่ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำลาหลินเหอ เขตชายแดนมณฑลเฮยหลงเจียงติดกับจี๋หลิน หลังชัยชนะเหนือพวกชี่ตันสามารถล้มราชวงศ์เหลียวได้แล้ว อากู๋ต่าก็รวบรวมชนเผ่าหนี่ว์เจินที่แยกเป็นกลุ่มๆทั้งหลายเข้าเป็นปึกแผ่นและสร้างอาณาจักรจิน ( แปลว่า ทอง) ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในปีถัดมา แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า ‘ไท่จู่’ ตั้งแต่นั้น อาณาจักรจินของชนเผ่าหนี่ว์เจินก็เจริญเติบโตเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความยิ่งใหญ่

อาณาจักรจินที่เข้มแข็งโดยการปกครองของกษัตริย์ ไท่จู่อากู๋ต่าเริ่มแผ่อำนาจและขยายอิทธิพลไปยังอาณาจักรต่างๆ โดยเข้ารุกรานเมืองสำคัญๆของอาณาจักรเหลียวที่ขณะนั้นกำลังอ่อนแอ ได้แก่ เมือง ตงจิง (ปัจจุบันคือ เหลียวหยังในมณฑลเหลียวหนิง) ซ่างจิง (อยู่ในมองโกเลียใน) จงจิง (เมืองในมองโกเลียใน) ซีจิง (ต้าถงในมณฑลซันซี) หนันจิง (ปัจจุบันคือปักกิ่ง) เมื่อเมืองทั้ง 5 แตก ราชวงศ์เหลียวก็ถึงกาลอวสาน หลังจากนั้นอาณาจักรจินที่กล้าแข็งได้ค่อยๆรุกรานต่อไปยังอาณาจักรซ่งเหนือ จนในที่สุดกองทัพแห่งอาณาจักรจินก็ล้มล้างอาณาจักรซ่งเหนือได้สำเร็จในปีค.ศ.1127 ต่อมาก็ยังมีการรบพุ่งกับกองทัพแห่งอาณาจักรซ่งใต้อยู่หลายครั้ง แต่กำลังและอำนาจของทั้งสองฝ่ายก็ยังสูสีกัน

ในขณะที่อาณาจักรจินและซ่งใต้มีอิทธิพลเคียงบ่าเคียงไหล่กันได้มีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ด้านหนึ่งอาณาจักรจินก็ยึดซีเซี่ยมาเป็นรัฐสำคัญใต้การปกครองของตน อย่างไรก็ตาม การก่อตัวขึ้นของกองทัพมองโกลอดีตศัตรูเก่าก็เริ่มเป็นภัยคุกคามของอาณาจักรจินในเวลาต่อมา

จินไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรจิน (1068-1123)



มีผู้วิเคราะห์ว่า อาณาจักรจินที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของอาณาจักรมองโกลทางเหนือ ซีเซี่ยทางตะวันตก และซ่งใต้ทางตอนใต้ หนทางที่น่าจะเป็นคือ อาณาจักรจินจำต้องดำเนินยุทธศาสตร์เป็นมิตรกับซีเซี่ยและซ่งใต้เพื่อต่อต้านมองโกล

กล่าวคือ การมีมิตรที่แน่นแฟ้นเช่นซ่งใต้ทำให้เป็นหลักประกันความปลอดภัยจากดินแดนทางใต้ และการเป็นพันธมิตรกับซีเซี่ยก็เท่ากับช่วยสกัดกั้นการเดินทัพลงใต้ของพวกมองโกล เช่นนี้แล้วอาณาจักรจินก็ไม่จำเป็นต้องพะวงต่อศึกด้านอื่น สามารถมุ่งความสนใจไปที่การเผชิญหน้ากับพวกมองโกลฝ่ายเดียว

ทว่า อาณาจักรจินผู้มั่งคั่งและโอหังกลับโดดเดี่ยวตัวเอง ละทิ้งซีเซี่ย และมาทำศึกกับอาณาจักรซ่งใต้พร้อมๆกับงัดข้อกับพวกมองโกลในเวลาเดียวกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างศัตรู 3 ด้านอย่างช่วยไม่ได้ ภายหลังเมื่อมองโกลบุกเข้าตีเมืองซีเซี่ย ซีเซี่ยได้ขอความช่วยเหลือไปยังอาณาจักรจินแต่กลับได้รับการปฏิเสธ ซีเซี่ยจึงจำต้องยอมศิโรราบให้กับพวกมองโกล เมื่อทั้ง 2 อาณาจักรรวมกำลังกันเข้าก็เดินทางมาบุกอาณาจักรจิน นั่นก็ทำให้ผู้ครองอาณาจักรจินถูกต้อนจนมุมเสียแล้ว

เพื่อผ่องถ่ายความวุ่นวายจากการถูกโจมตีจากทางตะวันตกและภาคเหนือ อาณาจักรจินได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เ...ยนจิง และพยายามที่จะเอาชนะศึกทางใต้เพื่อชดเชยการสูญเสียจากศึกทางเหนือ ในการนี้ทำให้อาณาจักรจินได้เปิดช่องให้กับพวกมองโกลเข้าพิชิตชายแดนทางเหนือและเริ่มโจมตีอาณาจักรซ่งใต้ อย่างไรก็ตามผลสำเร็จแทบไม่ได้ให้อะไรเลย การโอบล้อมจากทัพมองโกลและซ่งใต้ต่อมาค่อยๆทำให้อาณาจักรจินเสื่อมอำนาจลงและปราชัยให้กับข้าศึกในที่สุด

‘อาณาจักรทอง’ ปกครองโดยกษัตริย์ 9 พระองค์ รุ่งเรืองมาได้ 120 ปีก็เสื่อมอำนาจ ในช่วงเวลาแห่งความชีวิตชีวาอาณาจักรแห่งนี้เป็นที่อาศัยของประชากร 44.7 ล้านคน มีอาณาเขตกว้างใหญ่แผ่ขยายจากเทือกเขาซิงอันทางตอนเหนือจรดแม่น้ำหวยเหอทางตอนใต้ และกินดินแดนจากแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกไปจรดส่านซีทางภาคตะวันตก

กล่าวในแง่ระบบการเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรจินนั้น มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันในช่วงต้นและปลายสมัย ในยุคที่เป็นการอยู่รวมกันแบบชนเผ่า อำนาจบริหารเป็นการร่วมกันปกครองโดยหัวหน้าเผ่าแต่ละเผ่ากับหัวหน้าสูงสุด แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมาแล้ว หัวหน้าเผ่าและหัวหน้าสูงสุดถูกแทนที่โดยคณะผู้บริหารระดับสูง 4 คนและภายหลังเพิ่มขึ้นเป็น 5 คน ที่จะกุมอำนาจการบริหารบ้านเมืองภายใต้กษัตริย์

เทือกเขาฉางไป๋ซัน ดินแดนต้นกำเนิดของเผ่าหนี่ว์เจินผู้ก่อตั้งอาณาจักรจิน



หลังจากที่อาณาจักรจินเอาชัยเหนือสงครามน้อยใหญ่ในการโจมตีเมืองในอาณาจักรเหลียวและเมืองชายแดนของอาณาจักรซ่งสำเร็จ กษัตริย์แห่งอาณาจักรจินได้ซึมซับเอาระบบการทหารจากอาณาจักรเหล่านั้นรวบรวมเข้ามาพัฒนาเป็นระบบของตน ตั้งแต่กษัตริย์จินซีจง และกษัตริย์จินไห่หลิง ที่เริ่มเสนอให้มีการปฏิรูประบบการบริหารปกครองในอาณาจักรจินขึ้น เรื่อยมาจนถึงในสมัยของกษัตริย์จินซื่อจง ระบบการปกครองของอาณาจักรจินก็พัฒนาปรับเปลี่ยนจนสมบูรณ์เป็นระบบเฉพาะตัว ทั้งนี้มีศูนย์กลางการปกครองคล้ายรัฐบาลกลางที่ควบคุมดูแลการเมืองการปกครองในอาณาจักร ถัดลงมาเป็นหน่วยงานฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายประวัติศาสตร์ ฝ่ายงานประชาชน ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายแรงงาน นอกจากนี้ หน่วยปกครองในท้องถิ่นยังแบ่งย่อยลงไปเป็น 4 ลำดับขั้น

ด้านระบบการทหารมีรากฐานมาจากระบบที่ใช้ในชนเผ่าหนี่ว์เจิน และมีการผสมผสานกับระบบของชนเผ่าชี่ตัน ป๋อไห่ เผ่าซี และชาวฮั่น ซึ่งมีระบบในองค์กรแบบง่ายๆ เน้นหนักไปที่กองทหารม้าในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอาวุธไปด้วย กองทัพแห่งอาณาจักรจินประกอบด้วยทหารหลากหลายเชื้อชาติ มีทั้งที่เป็นทหารรับจ้างและทหารเกณฑ์ โดยมีเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งกินตำแหน่งสูงสุด ระบบนี้ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในราชวงศ์ต่อๆมาด้วย

ด้านการเกษตร การหัตถกรรมและการค้ามีความรุ่งเรืองอย่างมาก ในแต่ละท้องที่ให้ดอกผลและมีส่วนส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าด้านสังคมและเศรษฐกิจในระดับแตกต่างๆกัน

ด้านวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างของชาวหนี่ว์เจินจะได้รับการสืบทอดต่อมาพร้อมๆกับความรุ่งเรืองของอาณาจักรจิน ทว่า เมื่ออาณาจักรฮั่นยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทน อาณาจักรจินถูกรวมเป็นปึกแผ่นกับอาณาจักรฮั่นในเวลาต่อมา วัฒนธรรมต่างๆก็ถูกกลืนหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมฮั่นไปในที่สุด

อาณาจักรจินล่มสลายในปีค.ศ.1234 ในปีที่ 2 แห่งรัชกาลเทียนซิง โดยการรุกรานของกองทัพพันธมิตรแห่งอาณาจักรมองโกลและซ่งใต้ .

**** เรียบเรียงจาก บทความของศาสตราจารย์ หานจื้อหยวน แห่งสถาบันวิจัยและศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ในสังกัดบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน





  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube