เข้าระบบอัตโนมัติ

ประเทศจีน เมื่องเเห่งตำนานเเละ ความมั้งคั้ง


  • 1
  • 2
ยาจกอุดร
#1   ยาจกอุดร    [ 04-12-2007 - 01:28:45 ]



Zhonghua Renmin Gongheguo คือ ชื่อเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน คนทั่วไปมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า "จงกั๋ว" ซึ่งแปลว่า "อาณาจักรกลาง"

ที่ตั้ง จีนตั้งอยู่บนทวีปเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยรอบ 15 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้

พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง

เมืองหลวง กรุงปักกิ่งหรือเป่ยจิง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” - Beijing ) มีประชากร ประมาณ 30 ล้านคน


หอบูชาฟ้า ในวัดแห่งสวรรค์ในกรุงเป่ยจิง ( ปักกิ่ง ) เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นศูนย์กลางของจีนในพิภพนี้

ประชากร ประมาณ 1,300 ล้านคน มีประชากรมาก เป็นอันดับหนึ่งของโลก 93% เป็นชาวฮั่น ส่วนที่เหลือ 7% เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล ไตหรือไท เกาซัน รัฐบาลจีนมีนโยบายเพื่อควบคุมจำนวนประชากรชาวฮั่น ซึ่งครอบครัวหนึ่ง ควรมีบุตรเพียงหนึ่งคนเท่านั้น นโยบายนี้ไม่ได้บังคับใช้ในชนกลุ่มน้อย

วัฒนธรรมจีน การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท

โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก ( เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย ) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ

ภาษา แมนดารินเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นอีกจำนวนมาก เช่น ภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เซี่ยงไฮ้ แคะ ฮกเกี้ยน เสฉวน หูหนาน ไหหลำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ (Simplified Chinese) มีอักษรทั้งหมด 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว ก็อ่านหนังสือพิมพ์และทั่วไปได้

ประวัติศาสตร์ กว่า 4,000 - 5,000 ปี ช่วง 3,500 ปี เป็นยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์แรกสุดคือ ราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์สำคัญของจีน เช่น ฉิน ฮั่นถัง ซ่ง จีนปกครองแบบสาธารณรัฐเมื่อ ค.ศ. 1911 และเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อ ค.ศ. 1949

ภูมิอากาศ พื้นที่ภาคเหนือมี 4 ฤดู แห้งและหนาวเย็นในหน้าหนาว ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน ตอนใต้มีอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งอากาศจะแตกต่างกันตามภูมิประเทศ

ภูมิประเทศ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ซึ่งมีฤดูกาลที่แตกต่างกันไป ทางตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ทะเลทราย และที่ราบสูง และค่อยๆ ลาดลงทางทิศตะวันออก

ธงชาติ รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)

เขตการปกครอง การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) , 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) , 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)


ศาสนาและความเชื่อ

ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง ลักธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค

แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า " เทพเจ้า " ( จักรพรรดิ ) สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาวแตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง

เฟิงสุ่ย ( ฮวงจุ้ย/น้ำและลม ) เป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีมาแต่โบราณ ใช้ดึงดูดโชคลาภและปัดเป่า เคราะห์ร้ายนานา ผู้เชื่อถือศาสตร์นี้จะไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ดูเฟินสุ่ยทุกเรื่อง ทั้งการออกแบบ หาฤกษ์ยาม การตกแต่งบ้านหรือสำนักงาน เป็นต้น

อาจารย์ดูเฟินสุ่ยส่วนใหญ่จะเชื่ยวชาญการดูโหงวเฮ้ง ดูลายมือ ดูดวงจากวันเดือนปีเกิด และเวลาตกฟากด้วย นักปรัชญจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น ได้คิดค้นระบบ 12 นักษัตร อันประกอบด้วย ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุนขึ้น โดยแบ่งคนออกเป็น 12 กลุ่มตามปีเกิด และนำเอาหลักปรัชญากับตัวเลขมาคิดคำนวณเพื่อพยากรณ์โชคเคราะห์ และอนาคตของบุคคล เช่น เลขสองหมายถึงความสบาย เลขสามคือชีวิตหรือการให้กำเนิดบุตร เลขหกคือการมีอายุยืน เลขแปดคือความมั่งคั่งร่ำรวย เลขเก้าคือความเป็นนิรันดร์ เมื่อนำตัวเลขมารวมกันก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น 163 หมายถึง "การมีอายุยืนยาว" หรือ "การมีลูกดก" เป็นต้น

เงินตรา

สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเงินเหยินหมิน... ( Renminbi แปลตามตัวว่าเงินของประชาชน ) มักใช้ตัวย่อ RMB หน่วยเงินของจีนเรียกว่าหยวน ( yuan ) หนึ่งหยวนมีสิบเจี่ยว ( jiao ) หนึ่งเจี่ยวมีสิบเฟิน ( fen ) 100 เฟินเท่ากับหนึ่งหยวน ธนบัตรแบ่งออกเป็นใบละ 1 หยวน , 5 เจี่ยว , 1,2 และ 5 เฟิน

เฟินเป็นหน่วยเล็กสุด < เจี่ยวหรือเหมาเป็นหลักสิบ < จากนั้นเป็นหยวน


วันหยุดนักขัตฤกษ์

งานเทศกาลพื้นบ้านของจีน เช่น เทศกาลตรุษจีนจะถือเอาวันตามปฏิทินทางจันทรคติเป็นหลัก ดังนั้นวันที่มีการจัดงานเทศกาลดังกล่าวขึ้นจึงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่เคยตรงกันเลยในแต่ละปี ส่วนวันหยุดราชการนั้นจะถือเอาวันตามปฏิทินของทางตะวันตกเป็นหลัก

1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่

กุมภาพันธ์ : วันตรุษจีน ( กำหนดวันในแต่ละปีไม่ตรงกัน )

8 มีนาคม : วันสตรีสากล

1 พฤษภาคม : วันแรงงานสากล

4 พฤษภาคม : วันเยาวชน

1 มิถุนายน : วันเด็ก

1 กรกฎาคม : วันก่อตั้งพรรคคอมมินิสต์

1 สิงหาคม : วันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน

1 ตุลาคม : วันชาติ (สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ จีนมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเหนือพรรคก๊กหมินตั๋ง)


ศิลปะและงานหัตถกรรม

ประวัติศาสตร์อันยาวนานและความภูมิใจในอารยธรรมของตน ส่งผลให้จีนพัฒนา และสร้างงานศิลปะหัตถกรรมที่งดงาม อันทรงคุณค่ายิ่ง

ภาพเขียน

ศิลปะการวาดภาพของจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับศิลปะการเขียนอักษร ในสมัยโบราณจิตรกรจะต้องฝึกฝนศิลปะการเขียนอักษรอย่างจริงจัง ส่วนนักเขียนอักษรก็มักมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ศิลปะทั้งสองแขนงจะต้องเคียงกันในงานแต่ละชิ้น

ชาวจีนถือว่าอักษรเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม และความสมารถในเขิงอักษรศาสตร์ยังช่วยส่งบุคคลให้ ก้าวสู่สถานภาพทางสังคมที่สูงยิ่งขึ้น แม้จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย แต่ภาษาเขียนกลับมีเพียงหนึ่งเดียว ภาษาเขียนซึ่งมีเอกภาพและเป็นเครื่องมือสืบทอดประวัติศาสตร์นี้ จึงมีความสำคัญกว่าภาษาพูด

เครื่องกระเบื้องเคลือบ

ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องเคลือบขึ้นในราวศตวรรษที่ 7 แต่เครื่องเซรามิกนั้นมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่แล้ว โดยกลุ่มแม่น้ำหวงเหอและฉางเจียงนั้นเป็นแหล่งกำเนิดของภาชนะดินเผาลายหวี-ลายเชือก สีแดงและสีดำมีอายุราว 7,000 - 8,000 ปี ส่วนแหล่งอารยธรรมหยางเส้ากับหลงซาน ( 5,000 - 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ) ก็ได้พัฒนารูปแบบภาชนะดินเผาขึ้นจนมีความหลากหลายโดยใช้สีแดง ดำ และน้ำตาลเป็นหลัก และยังมีการคิดประดิษฐ์ภาชนะดินเผาลายหน้ากากมนุษย์และปลาที่มีผิวบาง แข็งแกร่งเคลือบด้วยดินเหนียวสีขาว และทรายชั้นดี
ต่อมาในยุคราชวงศ์ฮั่นได้มีการทำเครื่องเคลือบสีเทาอ่อน ผิวเหลือบเขียวเป็นมันวาวขึ้นที่เมืองเยว่โจว

ถึงยุคราชวงศ์ถังมีชื่อเสียงลือไปไกลถึงยุโรปและตะวันออกกลาง

ยุคราชวงศ์ยวน ได้มีการนำเทคนิคจากตะวันออกใกล้มาใช้เขียนลวดลายใต้ผิวเคลือบให้เป็นสีน้ำเงินสด เป็นที่รู้จักในนามเครื่องเคลือบราชวงศ์หมิง

ครั้นถึงยุคต้นราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบสีฟ้า - ขาวก็ได้รับการพัฒนาคุณภาพขึ้นจนบรรลุถึงขั้นสูงสุด


เครื่องหยก

หยกจัดเป็นอัญมณีมีค่าของจีน และเป็นหนึ่งในงานฝีมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจนถึงขั้นสุดยอดมาแต่ครั้งโบราณ

มีตำนานเล่าว่าเมื่อผานกู่สิ้นชีพ ลมหายใจของท่านได้กลายเป็นสายลมกับหมู่เมฆ เนื้อหนังกลายเป็นดิน ไขกระดูกกายเป็นหยกและไข่มุก ชาวจีนจึงเชื่อว่าหยกมีทั้งความงามและอำนาจวิเศษ คนโบราณเคยใช้หยกประกอบพิธีศาสนา ก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เครื่องหยกที่เก่าแก่ที่สุดนั้นขุดพบในชุมชนยุคหินใหม่เมื่อ 7,000 ปีก่อนที่เหอหม่าตู ความเชื่อที่ว่าหยกมีอำนาจปกปักรักษา ทำให้มีการนำหยกไปทำเป็นชุดให้กับคนตาย หยกประกอบด้วยธาตุเจไดต์และเนไฟรต์ เจไดต์นั้นมีค่ามากกว่าเพราะหายาก เนื้อแกร่ง สีใสกึ่งโปร่งแสง ในขณะที่เนไฟรต์จะมีเนื้ออ่อนกว่า สีของหยกมีหลากหลายตั้งแต่ขาวไปจนถึงเขียว ดำ น้ำตาล และแดง ชาวจีนถือว่าหยกสีเขียวมรกตเป็นหยกที่มีค่ามากที่สุด แหล่งผลิตเครื่องหยกของจีนในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองชิงเทียน (มณฑลเจ๋อเจียง) โซ่วซาน (มณฑลฝูเจี้ยน)และลั่วหยาง (มณฑลเหอหนาน)

อาหารจีน

หากจะเลือกอาหารของชาติใดขึ้นมาเป็นอาหารสากลสักชาติหนึ่ง ก็ไม่ควรมองข้ามอาหารจีน เพราะมีที่ใดในโลกบ้างที่คุณหาซื้ออาหารจีนกินไม่ได้ ?

จีนเป็นชนชาติที่ผูกพันแนบแน่นอยู่กับอาหารการกิน ปัญหาทุพภิกขภัยในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาได้บีบบังคับให้ชาวจีนต้องคิดหาวิธีใช้ และถนอมอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ชนชั้นสูงยังใช้อาหารเพื่อเครื่องแสดงออกซึ่งความมั่งคั่ง และสถานภาพอันสูงส่งของตนอีกด้วย เนื่องจากจีนมีภูมิประเทศอันหลากหลาย จีนอุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเทศและพืชผักนานาพันธุ์

ความใส่ใจในเรื่องอาหารของชาวจีนสะท้อนออกมาทางปรัชญา และวรรณคดี โดยนักปราชญ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ มักเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารด้วย เหลาจื่อสอนว่า “จงรับมือกับประเทศใหญ่ๆ ด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวลเสมือนหนึ่งท่านกำลังทำปลาตัวเล็ก ๆ”

จวงจื่อเคยแต่งโคลงแนะนำการคัดสรรพ่อครัวให้กับจักรพรรดิ ความว่า “พ่อครัวชั้นดีจะเปลี่ยนมีดใหม่เพียงปีละครั้งเพราะเขาหั่น พ่อครัวชั้นเลวจะเปลี่ยนมีดใหม่ทุกเดือนเพราะเขาสับ” ทัศนคติเช่นนี้เองที่ส่งเสริมให้อาหารจีนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีสุดในโลก

อุปกรณ์สำคัญในการทำครัวของชาวจีนมีอยู่สี่อย่าง คือ เขียง มีด กระทะก้นกลม และตะหลิว

ชาวจีนประกอบอาหารด้วยการผัดในกระทะไฟแรงเป็นหลัก เพราะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและทำให้อาหารคงคุณค่าความสดกรอบเอาไว้ได้ การทอด นึ่งและเคี่ยวก็เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก ในขณะที่การย่างและอบนั้นจะทำกันแต่ในครัวของภัตตาคารเท่านั้น อาหารจีนจะต้องถึงพร้อมทั้งสีสัน รสชาติ และหน้าตา มีอาหารอยู่เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ปรุงอย่างเดียวเดี่ยวๆ โดดๆ สิ่งสำคัญคือส่วนประกอบต่างๆ จะต้องกลมกลืนเข้ากันได้กับเครื่องปรุงรสจำพวกซีอิ้ว กระเทียม ขิง น้ำส้ม น้ำมันงา แป้งถั่วเหลือง และหอมแดง


ครับ มีคร้าวๆก็เท่านี้ละครับ ถ้ามีอะไรมากกว่านี้จะน้ำมาไห้อ่านอีก



ยาจกอุดร
#2   ยาจกอุดร    [ 04-12-2007 - 01:36:24 ]

Wushu

Wushu ( อู่ซู่ ) คือวิชาที่ว่าด้วยการใช้วิธีการในการเข้าปะทะต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ และชั้นเชิงต่อสู้เป็นหลักในการฝึก และมีหลักศิลป์กายบริหารที่สืบทอดกันมา โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก ซึ่งเป็นจุดเด่นของวิทยาการอู่ซู่

อนึ่ง คำว่า " อู่ซู่ " แปลว่า วิทยายุทธ ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวไทยรู้จักกันในนาม กังฟู ( คำว่า กังฟู เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่า " ฝีมือ " มิได้สื่อความหมายเกี่ยวกับหมัดมวยแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการเรียกขานแทนการไปฝึกฝีมือของชาวพื้นเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมา เมื่อประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เปิดประเทศ และวิชามวยของจีนเริ่มมีบทบาท จึงได้กำหนดให้ใช้คำศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ คำว่า อู่ซู่ จึงถูกเรียกขานแทนคำว่า กังฟู ) ถึงแม้ว่าศิลปวิทยายุทธของจีนจะมีจำนวนมากมายเพียงใด แต่ทุกประเภทวิชา ล้วนอยู่ภายใต้เหตุผลและหลักการหรือกฏเกณฑ์อันเดียวกันทั้งสิ้น มิอาจแตกแยกกฏเป็นอื่นใดได้ หากแต่ความแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดของประเภทวิชานั้นเป็นสำคัญ


คุณประโยชน์ของวิชาอู่ซู่

1. เป็นวิชาที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย
2. ได้ประโยชน์จากวิชาอู่ซู่เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว
3. ให้หลักปรัชญาธรรม หลักจริยธรรม และปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม
4. มีความเป็นศาสตร์และศิลป์ และให้ความบันเทิงเริงรมย์


Taijiquan (มวยไท่เก็ก)

เป็นวิชามวยที่นุ่มนวล เชื่องช้า เคลื่อนไหวแผ่วเบาแฝงเร้นซึ่งจิตสมาธิดูมีชีวิตชีวา วิชายุทธมีลักษณะเป็นวงจร ทุกท่าต่างมีรูปแบบเป็นวงกลม วิชายุทธต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงจบกระบวน วิชาไท่จี๋เฉวี๋ยนมีหลายสกุล แต่สกุลที่แพร่หลายกันมาก ได้แก่ เฉิน , หยาง , อู๋ , อู่ , ซุน รวม 5 สกุลใหญ่ ต่อมายังได้มีการแตกแขนงออกอีกมากมาย และวิชาไท่จี๋เฉวี๋ยนยังแยกออกเป็นรูปแบบวงนอก (วงกว้าง) และวงใน (วงแคบ) มือลักษณะการขยายมือ และประสานประกบ ใช้พลังในลักษณะแข็งอ่อนประสานกัน คือคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันไปในวิชาไท่จี๋เฉวี๋ยน

กู้กง - นครต้องห้าม ( The Forbidden City )



กู้กง เป็นชื่อของอดีตพระราชวังหลวงของปักกิ่ง เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า The Forbidden City หรือนครต้องห้าม เพราะถึงแม้ว่าเป็นวัง แต่ใหญ่โตกว้างขวางน่าจะเรียกว่าเมืองได้ทีเดียว



กู้กงอยู่ติดกับจตุรัสเทียนอันเหมินทางเหนือ ใครเดินเข้าไปถึงด่านแรกที่เรียกว่าประตูอู่เหมิน อย่าเพิ่งดีใจว่าต่อไปก็ใกล้ถึงตัววังแล้ว และต่อไปเมื่อผ่านเข้าไปจนถึงพระที่นั่งสวยงามโอฬารหลังสองสามสี่ ที่ตั้งห่างไกลกันมาก ก็อย่าเพิ่งดีใจอีกเช่นกัน เพราะยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ถ้าจะเดินดูให้ทั่วต้องใช้เวลาทั้งวัน ถ้าจะดูละเอียดต้องใช้เวลาสักหนึ่งเดือน แต่ถ้ามีเวลาครึ่งวันอย่างดิฉัน - ก็ต้องจ้ำพรวดๆ อย่าได้นั่งพักหรือแวะหยุด แล้วค่อยไปเอาเท้าแช่น้ำอุ่นจัดๆ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว



พระที่นั่งหลังแรก ชื่อ ไท่เหอเตี้ยน (แปลว่าความกลมกลืนสูงสุด) แต่ก่อนจะไปถึง ต้องข้ามแม่น้ำทองคำ (จินสุ่ยเหอ) ซึ่งมีสะพานหินอ่อนทอดข้าม ๕ สะพาน มาถึงลานกว้างใหญ่ขนาด ๓๐๐๐๐ ตารางเมตรเสียก่อน มีทางลาดเหมือนพรมผืนยาว อันเป็นทางเสด็จของฮ่องเต้ยามประทับเกี้ยวมาที่ไท่เหอเตี้ยนในวาระสำคัญ เช่นวันขึ้นครองราชย์ วันปีใหม่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันประกาศรายชื่อผู้สอบเป็นบัณฑิตจีน ข้างไท่เหอเตี้ยนมีเต่าโลหะและนกกะเรียนตัวใหญ่มากตั้งประดับ เป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาว และมีนาฬิกาแดดแบบโบราณด้วย



ผ่านไท่เหอเตี้ยน ก็จะล่วงเข้าด่านสองคือพระที่นั่ง จงเหอเตี้ยน (ความกลมกลืนสมบูรณ์แบบ) เป็นที่แวะพักของฮ่องเต้เวลาเสด็จออกมาจากข้างใน มีบันไดทอดขึ้น ระหว่างบันไดเป็นทางหินอ่อนแกะสลักลายมังกรนูนอย่างวิจิตพิสดาร ที่นี่เป็นที่เสด็จออกรับบรรณาการ " จิ้มก้อง " จากแว่นแคว้นอาณาจักรต่างๆ



พระที่นั่งแห่งที่สาม เป่าเหอเตี้ยน (ความกลมกลืนที่ดำรงอยู่) เป็นสถานที่จัดเลี้ยงในวันปีใหม่ ในสมัยฮ่องเต้หย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ราชวงศ์สุดท้ายของจีน) ใช้เป็นที่สอบจิ้นสือหรือนักศึกษาทั้งหลายเพื่อเข้ารับราชการ



พระที่นั่งทั้งสามมีชื่อรวมกลุ่มกันว่า ซานต้าเตี้ยน (แปลว่าพระที่นั่งทั้งสาม) ที่จัดกลุ่มรวมกันไว้ก็เพราะสร้างพร้อมกันใน ค.ศ. ๑๔๒๐ โดยพระบัชญาของฮ่องเต้หย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง (ราชวงศ์ก่อนสุดท้ายของจีน) ฮ่องเต้องค์นี้เป็นผู้สถาปนาปักกิ่งหรือเป่ยจิงขึ้นเป็นเมืองหลวง พระที่นั่งสามองค์ที่ว่านี้เป็นพระราชวังชั้นนอก ทำนองเดียวกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ไพศาลทักษิณ และอมรินทร์วินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ถัดจากนี้เข้าไปก็คือเขตพระราชฐานชั้นใน แบบ "ฝ่ายใน" ของเรา (ที่แม่พลอยเข้าไปอาศัยอยู่นั่นน่ะค่ะ) เริ่มต้นที่ประตู เชียนชิงเหมิน (บริสุทธิ์สรวงสวรรค์) พอพ้นเข้าไปก็เป็นพระที่นั่ง ตำหนักน้อยใหญ่สลับอุทยานอีกหลายแห่ง เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ ฮองเฮา นางสนมกำนัลอีกมากมาย ดูคล้ายๆ กับไทยตรงที่มีเพียงผู้ชายคนเดียวคือฮ่องเต้ เจ้านายขุนนางที่เป็นชายไม่มีสิทธิ์จะล่วงล้ำเข้าไป แต่แตกต่างกันตรงที่ไทยเราใช้ผู้หญิงด้วยกันเป็นผู้ควบคุมดูแลผู้หญิงในเขตพระราชฐานชั้นใน อย่างพวกยามที่เฝ้าประตูก็คือโขลนผู้หญิง แต่ในพระราชวังของจีน มีขันทีเป็นผู้ดูแลอีกทีหนึ่ง พวกนี้คือชายที่ถูกตอนทางเพศไปแล้วเพื่อไม่มีโอกาสจะไปก่อความสัมพันธ์กับนางในได้ อยุธยาของเราก็มีเหมือนกันในสมัยพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า "นักเทศขันที" เข้าใจว่าสั่งมาจากเปอร์เชียไม่ใช่จีน แต่มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่มีธรรมเนียมเอาขันทีมาไว้ในราชสำนักอีก



ตำหนักใหญ่น้อยในพระราชวังโบราณมีมากมายดูกันไม่ทั่ว ส่วนใหญ่จะปิดเอาไว้ มีร่องรอยทรุดโทรมไปตามเวลา แต่ทางการก็บูรณะไว้อย่างดี ขณะเดินชมก็เห็นความเป็นจริงเรื่องอนิจจังไม่เที่ยง มันเป็นที่เกิดของเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของแหล่งอารยธรรมใหญ่ของตะวันออก นับเวลาได้ต่อเนื่องหลายศตวรรษ มีความยิ่งใหญ่อลังการตัดกับความยากจนข้นแค้นของประชาชนภายนอก ความหรรษาตรงข้ามกับความหฤโหดแอบแฝงอยู่เบื้องหลังในยามลงโทษ หรือผลัดเปลี่ยนแผ่นดินด้วยการกบฏหรือลอบปลงพระชนม์ เป็นที่รวมของหญิงงามมากที่สุด ทรัพย์สมบัติอเนกอนันต์ที่สุด และความร่าเริงบันเทิงใจราวกับสรวงสรรค์ แต่ก็เจือปนด้วยความทุกข์ทรมานและความตายของบุคคลตั้งแต่สูงสุดจนต่ำต้อยที่สุดในสถานที่นี้เช่นกัน


พระราชวังฤดูร้อน "อี้เหอหยวน" ( วังฤดูร้อน )

สวนสาธารณะ "อี้เหอหยวน" หรือวังฤดูร้อน วังฤดูร้อนหรือที่เรียกกันว่า สวนสาธารณะอี้เหอหยวนนั้น ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง เป็นพระราชอุทยานที่มีทัศนียภาพที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๙๐ เฮกต้าร์ ประกอบด้วยเนื้อที่ที่เป็นนํ้า ๓ ส่วน เนื้อที่ที่เป็นดิน ๑ ส่วน

เมื่อศตวรรษที่ ๑๒ จักรพรรดิองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์จินทรงมีพระราชโองการให้สร้างที่ประทับแรมขึ้นที่นี่เป็นครั้งแรก ต่อมาในหลายราชวงศ์มีการสร้างเสริมเติมต่อหลายครั้ง พระจักรพรรดิเฉียงหรงแห่งราชวงศ์ชิงทรงมีพระราชโองการให้สร้างขยายอุทยานแห่งนี้ให้กว้างออกไปและทรงให้ชื่อว่า อุทยาน "ชิงอีหยวน" เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๐ อุทยานแห่งนี้ถูกทหารพันธมิตร อังกฤษ - ฝรั่งเศสเผาทําลาย ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๘ พระนางซูสีได้ใช้งบประมาณกองทัพเรือของชาติซี่งเป็นเงินแท่ง ๕ ล้านตําลึงมาสร้างอุทยานนี้ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น "อี้เหอหยวน" อุทยานนี้มีชื่อเลื่องลือไปทั่วโลก ก็ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม

อุทยานอี้เหอหยวนประกอบด้วยสองส่วนคือ เขา "ว่านโซ่วซาน" และ ทะเลสาบ "คุนหมิงหู" บนเขาว่านโซ่วซานได้สร้างวิหาร ตำหนัก พลับพลา และเก๋งจีนอันงดงามไว้หลายรูปหลายแบบ ตั้งอยู่ลดหลั่นรับกันกับภูมิภาพ ที่เชิงเขามีระเบียงทางเดินที่มีระยะทางไกลถึง ๗๒๘ เมตร ลัดเลาะไปตามริมทะเลสาบคุนหมิงหู ในทะเลสาบคุนหมิงหูมีเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง มี สะพาน ๑๗ โค้งอันสวยงามเชื่อมติดกับฝั่ง ทั่วทั้งอุทยานจัดไว้ได้สัดส่วนงดงามตระการตาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะในการสร้างอุทยานของจีน

หอฟ้าเทียนถาน (Temple of heaven)

หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่ และลานหยวนชิว เป็นต้น

เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม

ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. ๑๔๒๐ ห่างจากปัจจุบัน ๕๐๐ กว่าปี เป็นรูปทรงกลมหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ไม่มีขื่อและอกไก่ อาศัยเสาไม้ ๒๔ ต้น เป็นโครงยึดไว้ซึ่งได้ชื่อว่า "ตําหนักไม่มีขื่อ" ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์

ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม ๓ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

ตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนาม"เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์" ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพงเบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง ก็จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม

สุสาน 13 กษัตริย์ หรือวังใต้ดิน ( สือซานหลิง )

สุสานสือซานหลิงหรือ ๑๓ สุสานของราชวงศ์หมิงตั้งอยู่ทางชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ห่างจากตัวเมือง ๕๐ กว่ากิโลเมตร เป็นสถานที่บรรจุพระศพของพระจักรพรรดิราชวงศ์หมิง ๑๓ องค์ ในบรรดา ๑๓ สุสานนี้ สุสานแห่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและน่าสนใจที่สุดคือสุสาน "ฉางหลิง"ที่มีสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตมหึมาบนผิวดินกับสุสาน "ติ้งหลิง"หรือ "วังใต้ดิน"ที่ได้ขุดพบ


สุสานฉางหลิงเป็นสุสานของจักรพรรดิ "จูตี้" ซึ่งครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. ๑๔๐๒ - ๑๔๒๔ ในสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งก่อสร้างสําคัญในบริเวณสุสานนี้มีพระโรงหลิงเอินซึ่งใหญ่โตเท่ากับพระที่นั่งไท่เหอในพระราชวังโบราณ แต่ที่เด่นกว่าพระที่นั่งไท่เหอก็คือ เสา ขื่อ อกไก่ ระแนง ตลอดจนชายคาของพระที่นั่งล้วนสร้างด้วยไม้ที่มีชื่อว่า "หนานมู่" ซึ่งมีเนื้อไม้ที่แข็งละเอียดและมีกลิ่นหอม เสาขนาดใหญ่ ๓๒ ต้นในพระโรงหลิงเอินใช้ไม้หนานมู่ทั้งนั้น


สุสานติ้งหลิงซึ่งได้ขุดแล้วและเรียกกันว่า "วังใต้ดิน" นั้นประกอบด้วยห้องสูงใหญ่ ๕ ห้อง สร้างด้วยหินทั้งหมด ไม่มีเสา ใช้หินสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ก่อกันเข้าเป็นรูปโค้ง เป็นที่เก็บพระศพของพระเจ้า "จู้อี้จุน" ซึ่งครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. ๑๕๗๓ - ๑๖๒๐ กับมเหสีสององค์ในสมัยราชวงหมิง

อูเจิ้น มณฑลเจ้อเจียง

"อูเจิ้น" เป็นท้องถิ่นเก่าแก่ อุดมไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตำบลอูเจิ้นตั้งอยู่ในเมือง "ถงเซียง" มณฑลเจ้อเจียงทางภาคตะวันออกของจีน อยู่ริมคลองขุด "ต้ายุ่นเหอ" ซึ่งเป็นคลองขุดที่ยาวที่สุดของโลก ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้เพียง ๑๐๐ กิโลเมตร และห่างจากเมืองหางโจวเมืองท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเพียง ๖๐ กิโลเมตร ตำบลอูเจิ้ง มีประวัติอารยธรรมที่ยาวนานถึง ๗๐๐๐ ปี และมีประวัติในการสร้างตำบลที่นานกว่า ๑๓๐๐ ปี เป็นตำบลที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่และอุดมสมบูรณ์ ภายในตำบลอูเจิ้นมีแม่น้ำลำธารไหลผ่านสลับกันไปมา มีบ้านเรือนของชาวบ้านมากมาย ที่สร้างขึ้นตามริมแม่น้ำ นักท่องเที่ยวมักจะได้เห็นสะพานเล็ก น้ำที่ไหลเอื่อยๆ อยู่ตามแม่น้ำลำธาร และบ้านเรือนของชาวบ้านที่มีรูปทรงอันสวยงามเป็นธรรมชาติและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน นับเป็นทัศนียภาพที่มีความงามพิเศษที่เป็นแบบฉบับของหมู่บ้านตำบลริมแม่น้ำทางภาคใต้ของจีน และที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือ ตำบลอูเจิ้นเปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในสมัยโบราณของจีนนั้น มาตรฐานสำคัญในการวัดระดับการศึกษาก็คือ การสอบขุนนางระดับที่เรียกกันว่า "เคอจี้" ซึ่งมีการสอบแบ่งสาขาชิงตำแหน่งขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ เริ่มมีแต่สมัยราชวงศ์สุยถานจนกระทั่งราชวงศ์ชิง ผลสำเร็จในการสอบขุนนางระดับเคอจี้ของตำบลอูเจิ้นนั้นน่าทึ่งมาก กล่าวคือ ตามการบันทึกทางประวัติศาสตร์ในช่วงหลายร้อยปี ตั้งแต่ราชวงศ์ซ้องจนถึงราชวงศ์ชิงของจีน ชาวตำบลอูเจิ้นที่สอบได้ตำแหน่งบัณฑิตระดับต่างๆมีมากถึงกว่า ๒๐๐ คน จากสภาพตำบลเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียงไม่กี่หมื่นคนอย่างอูเจิ้น แต่กลับมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและน่าภูมิใจเช่นนี้นั้นนับว่าหาได้น้อยนักในสมัยโบราณของจีน ในศตวรรษที่ ๒๐ ตำบลแห่งนี้ก็ได้เกิดบุคคลที่ขึ้นชื่ออีกหลายต่อหลายคน รวมทั้ง เหมา ตุ้น ปรมาจารย์วรรณคดียุคปัจจุบันที่ขึ้นชื่อของจีน หยวน ตั๋วเฮ่อ - หนึ่งในบรรณาธิการที่ทรงอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติการรายงานข่าวยุคปัจจุบัน และ ซุนมู่ซิน - จิตรกรที่มีชื่อเสียงของจีน เป็นต้น

ลำดับราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีน

ราชวงศ์ ช่วงปี (ค.ศ.)
The Xia Dynasty ( เซี่ย ) ( 2140 - 1711 B.C. )
The Shang Dynasty ( ซาง ) ( 1711 - 1066 B.C. )
The Zhou Dynasty ( โจว )
The Western Zhou ( 1066 - 771 B.C. )
The Eastern Zhou ( 770 - 256 B.C. )
The Qin Dynasty ( ฉิน ) ( 221 - 206 B.C. )
The Han Dynasty ( ฮั่น )
The Western Han ( 206 B.C. - 25 A.D. )
The Eastern Han ( 25 - 220 )
The Three Kingdom of Wei , Shu, Wu ( 220 - 280 )
The Jin Dynasty( จิ้น )
The Western Jin ( 265 - 317 )
The Eastern Jin ( 317 - 420 )
The Northern and Southern Dynasty ( 420 - 589 )
The Sui Dynasty ( สุย ) ( 581 - 618 )
The Tang Dynasty ( ถัง ) ( 681 - 807 )
The Five Dynasties ( 807 - 906 )
The Song Dynasty ( ซ่ง )
The Northern Song ( 906 - 1127 )
The Southern Song ( 1127 - 1279 )
The Liao Dynasty ( เลี๋ยว ) ( 907 - 1125 )
The Jin Dynasty ( จิน ) ( 1115 - 1234 )
The Yuan Dynasty ( หยวน ) ( 1206 - 1368 )
The Ming Dynasty ( หมิง ) ( 1368 - 1644 )
The Qing Dynasty ( ชิง ) ( 1616 - 1911 )
The Republic of China ( 1912 - 1949 )
The People"s Republic of China ( founded on October 1,1949 )

ครับ เท่าที่หามา



สยบทั่วเเผ่นดิน
#3   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 04-12-2007 - 09:01:26 ]

ท่านพ่อบุญธรรม นำมาจากหนังสือการท่องเที่ยวประเทศจีน หรือป่าว ขอรับ......

ข้าน้อยกำลังหาซื้ออยู่เลย ที่ใดมีขายบ้างน่ะขอรับ .......



ยาจกอุดร
#4   ยาจกอุดร    [ 04-12-2007 - 11:07:15 ]

เอามาจากเวปไซ ของไทยเรา เเต่ มีเเต่ขอมูลประเทศจีน

หนังสือ หาตาม ซีเอ็ด บู๊คก็น่าจะมี



สยบทั่วแผ่นดิน
#5   สยบทั่วแผ่นดิน    [ 04-12-2007 - 12:20:24 ]

ท่านพ่อบุญธรรม ข้าน้อยอยากรู้ว่าแพงไหมน่ะขอรับ .......

ใครแต่ง .....ขอรับ



สยบทั่วเเผ่นดิน
#6   สยบทั่วเเผ่นดิน    [ 04-12-2007 - 12:27:18 ]

Hey! จาก 4 นั่นไม่ ใช่ข้าน้อยนะ ขอรับ !



ยาจกอุดร
#7   ยาจกอุดร    [ 04-12-2007 - 14:13:29 ]

กรรม ไม่เเพงหรอกครับ เเต่อย่าเล่นแบบนี้สิครับ คนอื่นเขา เดือดร้อน



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#8   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 04-12-2007 - 16:55:27 ]

อขบคุณท่นพ่อบุณธรรมที่ชี้แนะข้าน้อยครับ ทําให้ข้าน้อยได้รู้อะไรต่างเกี่ยวกับประเทศจีนเยอะเลย แต่ถ้าใครอยากจะถามความเป็นมาของราชวงศ์จีนราชวงศ์ไหนถามผมได้นะครับ



มือกระบี่ไร้นาม
#9   มือกระบี่ไร้นาม    [ 04-12-2007 - 17:02:40 ]

ขอบคุณมากครับ แต่ก็อยากจะรู้อีกว่า จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนตรงกับพระมหากษัตริย์เราพระองค์ใด



vมังกรหลับv
#10   vมังกรหลับv    [ 04-12-2007 - 18:56:50 ]

น่าจะประมาณ ร.7 นะ



vมังกรหลับv
#11   vมังกรหลับv    [ 04-12-2007 - 18:58:04 ]

ดีคับ ดีๆ กระทู้ดี



vมังกรหลับv
#12   vมังกรหลับv    [ 04-12-2007 - 19:03:39 ]

ปีหน้านี้ครบ 100 ปีซูซีไทเฮาตายแล้วใช่ไหมเนี่ย



มือกระบี่ไร้นาม
#13   มือกระบี่ไร้นาม    [ 04-12-2007 - 19:25:54 ]

ขอบคุณท่านมังกรหลับที่บอกครับ



vมังกรหลับv
#14   vมังกรหลับv    [ 04-12-2007 - 19:29:19 ]

หึหึ



ยาจกอุดร
#15   ยาจกอุดร    [ 04-12-2007 - 23:35:10 ]

อืม ไห้การตอบรับดี ครับ ขอบคุนครับ ที่เข้ามาอ่านกัน



โดดเดี่ยวหมื่นลี้
#16   โดดเดี่ยวหมื่นลี้    [ 05-12-2007 - 11:37:52 ]

เราว่าต่อไปจีนต้องครองโลกแน่เลยอ่ะ



ยาจกอุดร
#17   ยาจกอุดร    [ 05-12-2007 - 12:20:38 ]

น้องโดดเดี่ยวหมื่นลี้ โดดเดี่ยวอยู่คนเดียวไม่เหงาหรอ ไห้พี่อยู่เป็นเพื่อนไหมจ๊ะ

เเล้วทำไมจีนถึงครองโลกละครับ




จอมยุทธ์มังกรน้อย
#18   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 05-12-2007 - 13:23:56 ]

ตอบ คห. 8

ถ้าถามว่าตรงกับกษัตริย์ไทยสมัยใด ก็คือ สมัย ช่วงปลายของ รัชกาลที่ 5 ของไทย จนถึงช่วงต้นของรัชกาลที่ 6 ของไทยครับ



vมังกรหลับv
#19   vมังกรหลับv    [ 25-12-2007 - 08:35:32 ]

อืมๆ ผมแค่เดาๆ คงต้องให้ปรมาจารย์ มังกรน้อย ชี้แนะ



จอมยุทธ์มังกรน้อย
#20   จอมยุทธ์มังกรน้อย    [ 25-12-2007 - 13:44:56 ]

มิกล้า มิกล้า หรอกครับ ข้าน้อยก็พอรู้นิดหน่อยครับ



  • 1
  • 2
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube