เข้าระบบอัตโนมัติ

ประวัติศาสตร์จีนโดยย่อ อ้างอิงจาก http://se-ed.net/twc/article/liofan/history.htm


  • 1
fhasatumton
#1   fhasatumton    [ 11-07-2007 - 17:27:49 ]    IP: 58.9.125.11

ยุคก่อนราชวงศ์ (ประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อน)
ฝูซี
แรกเริ่มเดิมทีนั้น นักประวัติศาสตร์มีความเชื่อกันหลายสาย บางสายเชื่อว่า ชาวจีนอพยพมาจากทะเลสาบแคสเปียน บางสายก็เชื่อว่า ชาวจีนตั้งอยู่ที่จีนมานานแล้ว ไม่ได้อพยพมาแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร (เหมือนกับที่เคยเถียงกันว่า คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตหรือเปล่านั่นแหละ) แต่ในจีน ก็มีตำนาน "ผันกู่เบิกฟ้า" ซึ่งว่ากันเสียจนกลายเป็นอภินิหารตำนานเทพไปเลย อย่างไรก็ตาม ในยุคแรกๆ จีนใช้วิธีการคัดเลือกกษัตริย์ขึ้นมาปกครองบ้านเมือง โดยคัดเลือกจากความสามารถและคุณธรรม บางทีก็อาจจะใช้วิธีเลือกตั้งจากขุนนาง ไม่ใช่การส่งต่อบัลลังก์ทางสายเลือด ยุคนี้บางทีเรียกว่ายุค "ซันหวงอู่ตี้" (สามจักรพรรดิห้ากษัตริย์) กษัตริย์แต่ละองค์ ก็ต้องแข่งกันแสดงความสามารถ ให้เป็นที่ประจักษ์ มิฉะนั้นก็อาจจะถูกดีดลงจากบัลลังก์ได้ เชื่อกันว่า กษัตริย์องค์แรกชื่อ ฝูซี หรือฟูสี ซึ่งนิทานพื้นบ้านบางแห่งถือเป็นเทพเจ้า ผู้ให้กำเนิดชนชาติจีนไป กษัตริย์ที่เด่นๆ ในยุคนี้มีหลายองค์ เช่น หนี่วา น้องของฝูซี ซึ่งมีตำนานเรื่องหนี่วาซ่อมฟ้า เสินหนง หรือเสินหนุง ซึ่งภายหลัง คนยกย่องให้เป็นเทพแห่งเกษตรกรรมไป เหยา-ซุ่น ซึ่งท่านเหลี่ยวฝานเอ่ยถึงบ่อยๆ (ซุ่นองค์นี้เอง ที่เป็น ๑ ใน ๒๔ ยอดกตัญญูของจีน (ยี่จั๊บสี่ห่าว) จนฟ้าดินส่งช้างกับนกมาช่วยทำไร่ไถนา) หวงตี้ (จักรพรรดิเหลือง) และอีกหลายองค์ บางสมัย มีคนเก่งมากๆ โดยเฉพาะเรื่องแก้น้ำท่วม (เรื่องน้ำท่วม ถือเป็นปัญหาคอขาดบาดตายในสมัยนั้น ใครแก้ได้ ยศถาบรรดาศักดิ์ลอยมาถึงที่ แต่ถ้าแก้ไม่ได้ หัวก็ลอยออกจากบ่าเหมือนกัน) ชาวบ้านก็อาจเลือกตั้งให้เป็นกษัตริย์อีกองค์ ให้บริหารคู่กับกษัตริย์ปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยของอวี่ ชาวบ้านเห็นว่า ราชโอรสเหมาะสมที่จะสืบราชสมบัติที่สุด จึงยุให้อวี่ยกราชสมบัติให้ไป ตอนแรกอวี่ก็ไม่เห็นด้วย ตั้งขุนนางคนอื่นเป็นแทน แต่ภายหลังโอรสก็ได้ครองบัลลังก์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสืบราชสันตติวงศ์ และเริ่มยุคราชวงศ์ด้วย (และเป็นการเริ่มยุคแห่งการชิงดีชิงเด่นอีกต่างหาก)
ราชวงศ์เซี่ย (ประมาณ ศตวรรษที่ ๒๒-ศตวรรษที่ ๑๗ ก่อนคศ.)
เป็นราชวงศ์แรกของจีน มีอายุราว ๔๐๐ ปี ตอนแรกๆ คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้นมาเท่านั้น เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่ปัจจุบัน เริ่มมีการขุดพบหลักฐานเมืองเก่า ในสมัยราชวงศ์เซี่ยได้แล้ว ซึ่งบ่งบอกว่า ราชวงศ์เซี่ยมีการเริ่มระบบทาส ซึ่งนอกจากเอาไว้ใช้งานแล้ว ยังใช้ในการบูชายัญอีกด้วย ตอนท้ายราชวงศ์ต้องพินาศด้วยฤทธิ์เหล้า เนื่องจากกษัตริย์องค์สุดท้าย ซึ่งมีชื่อว่า เจี้ย หรือที่รู้จักในนาม "เซี่ยเจี้ย" ปกครองบ้านเมืองด้วยน้ำจัณฑ์ โหดร้าย และอาละวาดอยู่เนืองๆ ในที่สุด ทัง เจ้าผู้ครองแคว้นซาง จึงปฏิวัติดีดเจี้ยกระเด็นตกบัลลังก์ แล้วตั้งราชวงศ์ซางขึ้นมาแทน
ราชวงศ์ซาง/อิน/อินซาง (ประมาณ ศตวรรษที่ ๑๗-ศตวรรษที่ ๑๑ ก่อนคศ.)
เดิมชื่อราชวงศ์ซาง ต่อมาย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอิน จึงเปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์อิน บางคนก็เรียกราชวงศ์อินซาง เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก ราชวงศ์นี้ ได้มีการขุดพบหลักฐานมากมาย จึงเชื่อว่ามีอยู่จริง โดยหลักฐานที่ขุดได้ เป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป และเชื่อถือในอำนาจแห่งสวรรค์มาก ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ซางมีกษัตริย์ ๓๐ องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือโจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมา โจวอู่หวัง (จีฟา) เจ้าผู้ครองแคว้นโจว ทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติสวรรค์" หรือ "เทียนมิ่ง" (คำว่าเทียนแปลว่าสวรรค์) ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริงๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย
เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ซางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก
เล่าสู่กันฟัง มีหนังสือเล่มหนึ่ง บอกว่า ที่ห้องพระแห่งหนึ่งทางไต้หวัน มีปีศาจมาเข้าร่างของเด็กสาวคนหนึ่ง แสดงท่าทางเหมือนกับปลา ได้จ้องดูผู้มาเข้าฟังธรรมะด้วยท่าทางเคียดแค้น แล้วแนะนำตัวว่าเป็นปีศาจปลา ซึ่งเดิมก็คือนางสนมต๋าจีของโจ้วนั่นเอง ปีศาจตนนี้เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นต้นกำเนิด แห่งความโหดร้ายทั้งปวง ของพระเจ้าโจ้ว เช่น การฆ่าปี่ก้าน ขุนนางผู้พยายามขัดขวางตน หรือการแหวะหัวใจพระเจ้าอาของโจ้ว (แต่ในประวัติศาสตร์บางเล่มเขียนไว้ว่า ปี่ก้านคือพระเจ้าอาของโจ้ว ซึ่งเราก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่) และได้เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยนั้นไว้ตรงกับประวัติศาสตร์ เนื่องจาก ตนเองถูกส่งมา "ปราบ" โจ้วโดยเฉพาะ เพราะโจ้วทำตัวไม่ดี ต่อมา เมื่อตายลง เนื่องจาก "ทำเกินหน้าที่" มากเกินไป (เพราะฆ่าคนเป็นผักปลา) จึงต้องตกนรก และเกิดเป็นสัตว์มากว่าสามพันปีแล้ว ยังไม่ได้ไปเกิดเป็นคนเลย ชาติสุดท้าย ก็มาเกิดเป็นปีศาจปลา เป็นเจ้าแห่งปลาอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ปีศาจนางต๋าจียังได้ประณามคนเดี๋ยวนี้ว่า เห็นแก่ตัวที่สุด ไม่เคยคิดถึงหัวอกผู้อื่น กินเนื้อผู้อื่นได้อย่างไม่ละอายใจต่อบาปกรรม ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว พวกเราไม่มีสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะไปกินเนื้อเขา ต่อให้ไม่ได้ฆ่าเองก็ตาม นางปีศาจยังอาฆาตอีกว่า นางมีความแค้นผู้ที่กินปลาอย่างมาก หากว่าพวกเรายังไม่เลิกกินเนื้อสัตว์ ยังไม่รีบทำความดี ยังทำหัวหมออ้างเหตุผลสารพัดสารพันอยู่ นางจะไม่มีวันปล่อยให้พวกเรา ได้พบกับทางสว่างเป็นอันขาด จะพยายามขัดขวางทุกวิถีทาง เพื่อให้ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ทุกคน ต้องไปลงนรกเช่นเดียวกับนาง แต่ถ้าหากพวกเราสำนึกตัว เลิกกินเนื้อสัตว์ แล้วหมั่นทำกุศลแล้ว นางจะไม่เอาผิดใดๆ ซึ่งในหนังสือจริงๆ นั้น นางปีศาจได้พูดจาวกไปเวียนมา เหมือนคนบ้า จนคนอ่าน (ผมนี่แหละ) เวียนหัว เพราะพูดซ้ำๆ ซากๆ อยู่ได้ นอกจากนั้น ยังพูดเหมือนกับว่าตัวเองยังเป็นสนมเอกอยู่ (ยังไม่หายเมา) ก็สุดแต่จะคิดกันไปนะครับ... แต่ที่แน่ๆ ถ้านางปีศาจมีจริง ต้องอบรมการสื่อสารข้อมูลกับชาวบ้านใหม่ เพราะน้ำเยอะเหลือเกิน เนื้อมีนิดเดียว (อ่านดูแล้วบางทีก็มึนๆ ไม่รู้ว่าต้องการจะสื่ออะไรกับคนอ่านกันแน่) ที่เอามาเล่านี่ ก็ถือว่าเล่าสู่กันฟัง หากมีสาระชวนคิดก็เอาไปประยุกต์ใช้ แต่ถ้าไม่มี ก็ถือซะว่าอ่านนิทานเล่นก็แล้วกัน
ราชวงศ์โจว (เริ่มประมาณ ๑๑๒๓ ปีก่อนค.ศ. หรือ ๕๘๐ ปีก่อนพ.ศ.)
โจวอู่หวัง
หลังจากโจวอู่หวัง (จีฟา) โค่นราชวงศ์ซางลงแล้ว ได้ตั้งราชวงศ์โจวขึ้นแทน ได้เริ่มการปกครองด้วยระบบศักดินา คือแยกแผ่นดินออกเป็นแคว้นต่างๆ แล้วส่งเชื้อพระวงศ์แซ่ "จี" ของพระองค์ให้เป็นอ๋องไปปกครอง (ปัจจุบัน ไม่ค่อยพบคนแซ่จี ส่วนใหญ่จะเป็นแซ่โจวมากกว่า) โดยพระองค์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญให้แก่บ้านเมืองมาก ทั้งด้านการเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ ราชวงศ์โจวมีอายุยาวนานกว่าราชวงศ์อื่นๆ คือ ประมาณ ๘๐๐ ปี แต่มีช่วงเวลา ที่เข้มแข็งจริงๆ ราวๆ ๓๕๐ ปี ที่เรียกว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก หรือซีโจว ซึ่งตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเฮ่าหรือเมืองซีอาน
ต่อมา สมัยของโจวอิวหวาง กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ซึ่งหลงใหลมเหสีมาก มเหสีมีนามว่า เปาสี นางเป็นคนยิ้มไม่เป็น ทำให้อิวหวางกลุ้มใจมาก ถึงกับตั้งรางวัลไว้พันตำลึง สำหรับผู้ที่ออกอุบายให้นางยิ้มได้ วันหนึ่ง ได้ทำตัวเป็นเด็กเลี้ยงแกะ จุดพลุให้อ๋องต่างๆ เข้าใจว่า ข้าศึกมาบุกเมืองหลวงแล้ว เมื่อยกทัพมาถึงกลับไม่มีอะไร ทำให้เปาสียิ้มหัวเราะออกมาได้ อ๋องต่างๆ โกรธมาก แล้วในที่สุด ก็มีข้าศึกยกมาตีเมืองหลวงจริงๆ อิวหวางได้จุดพลุขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีอ๋องคนไหนเชื่อ เลยไม่มีใครยกทัพมาช่วย ข้าศึกจึงตีเมืองได้ อิวหวางถูกฆ่าตาย เปาสีถูกจับตัวไป ยิ้มของนางจึงเรียกว่า "ยิ้มพันตำลึงทอง" กลายเป็นยิ้มราคาแพง ที่นำความวิบัติมาสู่ราชวงศ์โจว เหตุการณ์นี้เรียกว่า "จุดไฟล้อเจ้าเมืองเล่น" ต่อมา พวกอ๋องต่างๆ ได้ยกทัพมาช่วยตีข้าศึก แล้วตั้งโจวผิงหวาง โอรสของโจวอิวหวาง เป็นกษัตริย์ต่อไป ราชวงศ์โจวจึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ลั่วหยาง (ลกเอี๋ยง) ทางตะวันออก เรียกว่า ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือตงโจว หลังจากนั้น ราชวงศ์โจวก็บัญชาอ๋องต่างๆ ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจาก เกิดขึ้นโดยการโอบอุ้มของเหล่าอ๋อง เป็นกษัตริย์หรือประมุขเพียงในนาม

การ "จุดไฟล้อเจ้าเมืองเล่น"
ยุคชุนชิว (๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ.๖๗ หรือ ๗๗๐ ปีก่อนค.ศ.-๔๗๖ ปีก่อนค.ศ.)

ไซซี
เป็นยุคที่ราชวงศ์โจวอ่อนแอลงและไม่มีบทบาทอะไรเลย กษัตริย์ก็เอาแต่เสพสุข แว่นแคว้นต่างๆ แตกแยกกัน เป็นก๊กเป็นเหล่าต่างๆ จิตใจคนเริ่มต่ำทรามลง แคว้นต่างๆ ทำสงครามกลืนกันอุตลุตไปหมด ประวัติศาสตร์จีนช่วงนี้ จะกล่าวถึงเหตุการณ์และบุคคลสำคัญในแคว้นต่างๆ ไว้มากมาย แต่หาที่กล่าวถึงราชวงศ์โจวตรงๆ แทบไม่ได้เลย บุคคลที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ก็เช่น ขงจื่อ ผู้ตั้งลัทธิหลู เหลาจื่อ ผู้ตั้งลัทธิเต๋า จวงจื่อ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนกับหวูอ๋องฟูไซ คู่ปรับคู่เอก (โกวเจี้ยนรบแพ้แคว้นหวู และถูกจับตัวไปเป็นเชลยอยู่หลายปี ต่อมาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ โกวเจี้ยนได้คิดแก้แค้น จึงทำตัวติดดินโดยการนอนฟาง และแขวนดีไว้ปลายที่นอน ก่อนนอนก็จะชิมน้ำดีขมๆ เป็นการเตือนตัวเองไม่ให้ลืมความแค้น จนกลายเป็นสำนวน "นอนฟางชิมดีขม" จากนั้นก็พัฒนาแคว้นเยว่ขึ้นแบบเงียบๆ พร้อมกันนั้น ก็ใช้ "แผนสาวงาม" ส่งไซซี นางงามผู้ใช้มารยาหญิง ไปยั่วยวนฟูไซจนลุ่มหลง และไม่เป็นอันพัฒนาบ้านเมือง ทำให้แคว้นหวูอ่อนแอลง จากนั้นโกวเจี้ยนก็ยกทัพมาตีและกลืนแคว้นหวูได้สำเร็จ), ไซซี นางงามผู้ใช้มารยาหญิงเพื่อกู้ชาติบ้านเมือง, ซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามชื่อดัง (แต่ก็ต้องสยบให้กับมารยาหญิงของไซซี) ในหนังสือประวัติเจ้าแม่กวนอิมเล่มหนึ่ง ก็เขียนไว้ว่า เจ้าแม่กวนอิมก็ประสูติในยุคชุนชิวนี่เอง แต่ประเทศซิงหลินของพระองค์ อยู่ห่างจากจงหยวนของจีนมาก จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบนัก (รู้ไว้ใช่ว่านะครับ จริงๆ เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ เพราะไม่มีใครเกิดทันยุคนั้น หรืออาจจะเคยเกิดทันแต่ลืมไปหมดแล้ว) ขงจื่อ (Confucius)
ยุคจ้านกว๋อ/เลียดก๊ก (พ.ศ.๖๘-๓๒๒ หรือ ๔๗๕ ปีก่อนค.ศ.-๒๒๑ ปีก่อนค.ศ.)
ความแตกแยกในยุคชุนชิวได้บานปลายขึ้นอีก แว่นแคว้นต่างๆ จึงรบกันอุตลุตไปหมด เพื่อชิงความเป็นใหญ่ จึงมีแต่ความวุ่นวายไปหมดทั้งแผ่นดิน (กลายเป็นแดนมิคสัญญี) แคว้นต่างๆ นับร้อยกลืนกันเอง จนเหลือเพียงไม่กี่แคว้นใหญ่ๆ เท่านั้น เช่น ฉู่, เจ้า, หาน, เว่ย, ฉิน เป็นต้น กษัตริย์ราชวงศ์โจวก็อ่อนแอมาก ไม่สามารถปราบปรามแคว้นต่างๆ ได้ ตัวราชวงศ์โจวเองก็แทบจะไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว กลายสภาพเป็นแคว้นเล็กๆ แคว้นหนึ่งเท่านั้น แคว้นใหญ่ๆ ก็พยายามพัฒนาตัวเอง เพื่อหวังจะได้เป็นหนึ่งในแผ่นดิน
ในเวลานั้น แคว้นฉินถือเป็นแคว้นหนึ่ง ที่ได้มีการพัฒนามาจนเข้มแข็งมาก โดยการปฏิรูปของซางยาง นักปฏิรูปจอมโหด (ประวัติย่อๆ ของซางยางคือ เดิมเป็นคนแคว้นเว่ย ซึ่งอ๋องแคว้นเว่ยมองข้าม เลยมาสวามิภักดิ์แคว้นฉิน และได้แสดงความสามารถให้ฉินเซี่ยวอ๋องได้ประจักษ์ ต่อมา ได้ปฏิรูปกฎหมายต่างๆ โดยเน้นการเกษตรและการทหาร ภายใต้ความโหด...มของกฎหมาย ระหว่างที่มีอำนาจ ได้สั่งประหารคนไปมากมาย ลงโทษคนของรัชทายาทอย่างเฉียบขาด แถมยังได้ยกทัพไปตีแคว้นเว่ยบ้านเกิดอีกด้วย ภายหลังที่ฉินเซี่ยวอ๋องสิ้นพระชนม์ลง ฉินฮุ่ยอ๋องรัชทายาทได้ครองราชย์ ซางยางก็หนีหัวซุกหัวซุน (เพราะเคยมีกรณีพิพาทกับฉินฮุ่ยอ๋องมาก่อน) แต่ก็แพ้ภัยกฎหมายของตัวเอง เลยไม่มีใครกล้าให้ที่พำนัก แต่ต่อมา โดนผู้ที่เคยโดนสั่งลงโทษหักหลัง จับตัวไปให้ทางการ จึงถูกประหารโดยการฉีกร่าง (ห้าม้าแยกร่าง)) ฉินอ๋องได้ตีแคว้นต่างๆ ไว้ในอำนาจ และโค่นราชวงศ์โจวลงได้ จนมาถึงสมัยของฉินอ๋องอิ๋งเจิ้ง ได้ตีแคว้นต่างๆ ได้จนหมดทุกแคว้น รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ โดยการช่วยเหลือของหลี่ซือ อัครเสนาบดีจอมโหด อิ๋งเจิ้งจึงได้สถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้น แล้วบังคับให้ชาวจีนทั้งแผ่นดิน เรียกตัวเองว่า ชาวฉิน เป็นการตั้งชื่อประเทศ (จีน มาจาก ฉินหรือจิ๋น) เป็นครั้งแรก
ราชวงศ์ฉิน (พ.ศ.๓๒๒-๓๓๖ หรือ ๒๒๑ ปีก่อนค.ศ.-๒๐๗ ปีก่อนค.ศ.)
ฉินซีฮ่องเต้ (อิ๋งเจิ้ง)
ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "โอรสแห่งสวรรค์" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู" ซึ่งมีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า เดิมกษัตริย์ไทยก็เรียกตัวเองว่า "กู" เหมือนกัน และคำนี้มีความหมายยิ่งใหญ่มาก แต่ไหงกลับกลายเป็นคำหยาบไปได้ก็ไม่ทราบ) มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข ๑ เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง พระโอรสองค์อื่นๆ นอกจากรัชทายาทไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์
ต่อมา ฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซงหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน
ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว (เหตุการณ์นี้เรียกว่า "เผาตำราฝังบัณฑิต" หรือ "เฝินซูเคิงหลู") แม้แต่รัชทายาทฝูโซว (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง จนมีเรื่องเล่ากันว่า ฉวีฝูอ้างว่าเป็นนักบวช ขออนุญาตไปหายาอายุวัฒนะ และนำเด็กชายหญิงพรหมจรรย์ไปด้วย ๕๐๐ คู่ สุดท้ายก็ไปแล้วไปลับ และไปตั้งรกรากที่ญี่ปุ่นแทน เชื่อกันว่าคนเหล่านี้เอง ที่เป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันในญี่ปุ่นก็ยังมีศาลเจ้าของฉวีฝูอยู่หลายแห่ง สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนักและสิ้นชื่อลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูโซว รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห้ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดีหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูโซวและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห้เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหด...ม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของเจ้าเกา ขันทีตัวแสบ ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห้ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ (ปัจจุบันยังหาสุสานฝังศพไม่พบ พบแต่สุสานกองทัพดินเผาหรือปิงหม่าหย่ง มีบันทึกไว้ว่า สุสานจริงๆ นั้น เลิศหรูอลังการมาก กินพื้นที่มหาศาลใต้ภูเขาลี่ซัน อุดมไปด้วยอาวุธลับ ซึ่งจะทำงานอัตโนมัติ เวลามีผู้บุกรุก และมีทะเลสาบที่เป็นปรอท เรือมังกรขนาดใหญ่ บรรทุกโลงศพไว้ โดยปรอทจะหมุนเวียนอยู่ ราวกับว่าเป็นน้ำตก ลำธารจริงๆ ปัจจุบัน จากข้อมูลล่าสุด ทางนักสำรวจได้ตรวจบริเวณ ที่เชื่อว่าเป็นสุสานฉินซีจริงๆ พบว่ามีปริมาณปรอทอยู่สูงมาก เป็นการยืนยันความมีจริงได้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่กล้าขุด เนื่องจากกลัวจะเสียหาย หรืออีกนัยหนึ่ง อาจจะเนื่องจากต้องระวังอาวุธลับก็เป็นได้) และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏชาวนาขึ้น นำโดยเฉินเซิงกับอู๋กว่าง


ภาพวาดสุสานฉินซีฮ่องเต้
ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ก็เป็นอีกทีมหนึ่ง ที่ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา ๓ คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห้ แล้วตั้งจื่ออิง น้องของหูไห้เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย (สำหรับประวัติของเจ้าเกา ขันทีผู้ล้มราชวงศ์ฉินนี้คือ เดิมทีเป็นคนแคว้นเจ้า ต่อมาพ่อแม่ถูกทหารแคว้นฉินฆ่าตาย จึงเก็บความแค้นไว้ในใจ และได้เดินทางมาแคว้นฉินเพื่อหาทางแก้แค้น ถึงกับยอมถูกตอนเป็นขันที ต่อมา เมื่อมีโอกาสเป็นใหญ่ จึงได้ใช้ในการล้างแค้น จนแคว้นฉินล่มลงสมปรารถนา เปิดตำนาน "ขันทีจอมโฉด" ขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ จนบางคนเรียกขันทีว่า "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์") จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ (พระราชวังอาฝางกงนี้ ว่ากันว่าใหญ่โตมโหฬาร และโอ่อ่าอลังการมาก จนหลิวปังถึงกับตกตะลึงเมื่อเข้าไปครั้งแรก มีรูปหล่อโลหะขนาดมหึมาอยู่สิบกว่าตัว ซึ่งหลอมมาจากอาวุธที่ริบมาจากชาวเมือง ใช้เวลาเผาถึงสามเดือนกว่าจะหมด ถ้าหากไม่ถูกเผา ก็คงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกคู่กับกำแพงเมืองจีน ชนิดพระราชวังปักกิ่งชิดซ้าย) ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด

ราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ.๓๓๗-๗๖๓ หรือ ๒๐๖ ปีก่อนค.ศ.-ค.ศ.๒๒๐)
ฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) หวังเจาจวิน
หลิวปัง ได้ตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น แล้วยกเลิกกบิลเมืองอันโหด...ม ของฉินซีฮ่องเต้ทั้งหมด โดยสัญญากับราษฎรไว้ดังนี้ ใครฆ่าคนตายต้องถูกประหาร ใครลักขโมย หรือปล้นสดมภ์ต้องถูกลงโทษ ในต้นราชวงศ์ฮั่นนั้น บ้านเมืองยากจนมาก เนื่องจากเพิ่งผ่านสงครามมา หลิวปังจึงปล่อยให้ราษฎรทำมาหากิน โดยเก็บภาษีเพียง ๑/๓๐ ของที่เก็บเกี่ยวได้ เพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง หลังหลิวปังครองราชย์ไม่นาน ด้วยความระแวง ก็ได้หาเรื่องถอดผู้ช่วยมือดีทั้ง ๓ ออกจากตำแหน่ง และยังหาเหตุประหารอีกด้วย พอตอนปลายยุคหลิวปัง หลี่ฮองเฮาได้กุมอำนาจ หลังจากหลิวปังสวรรคต หลี่ฮองเฮาก็ใช้อำนาจกำจัดคนที่ขัดกับนางเสีย แถมยังทำให้หลิวอิง หรือฮั่นฮุ่ยตี้ฮ่องเต้สติแตกไป (โดยการตัดแขนขานางสนมคนโปรดของหลิวปัง แล้วขังไว้ในหลุมอาจม จากนั้นก็เรียกหลิวอิงไปดู) ทำให้นางมีอำนาจโดยสมบูรณ์ พอนางสวรรคต บรรดาเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ก็จัดการล้างโคตรเสียเลย แล้วยกหลิวเหิง โอรสอีกองค์ของหลิวปังขึ้นครองราชย์เป็น ฮั่นเหวินตี้ ฮ่องเต้องค์นี้ปกครองได้ดี ห่วงใยราษฎรและสมถะ พระเจ้าฮั่นจิงตี้ ฮ่องเต้องค์ถัดมาก็เช่นกัน สมัยของสองพระองค์นี้ บ้านเมืองฟื้นฟูได้อย่างสมบูรณ์ แต่พอถัดมา ในสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ (หลิวเช่อ) ฮ่องเต้องค์ที่ ๕ ได้มีการบุกเบิก ทางสายไหม (Silk Route) ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ตะวันตกของจีน ในการค้าขายต่างๆ หนังสือประวัติศาสตร์ "สื่อจี้" ซึ่งเขียนโดย ซือหม่าเชียน ก็ได้เขียนขึ้นในสมัยนี้ แต่ตอนท้าย ก็ได้นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม และความงมงายต่างๆ การท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลือง ผลาญเงินที่สะสมไว้จากสองรัชสมัยก่อนจนหมด จนเกิดกบฏชาวนา จึงได้สำนึกและขอโทษประชาชน ต่อมา ในยุคพระเจ้าฮั่นหยวนตี้ มีนางงามผู้กู้ชาติอีกคน คือ หวังเจาจวิน ผู้ถูกส่งไปอภิเษก กับกษัตริย์เผ่าซงหนู เพื่อกระชับไมตรี ทำให้เว้นว่างจากสงครามไปหลายสิบปี พุทธศาสนาก็เข้าสู่จีน ในราชวงศ์ฮั่นนี่เอง พระเจ้าหมิงตี้ ก็ได้ส่งคาราวานไปอัญเชิญพระคัมภีร์ต่างๆ มาประดิษฐาน และพระองค์ยังเป็นพุทธมามกะด้วย ราชวงศ์นี้ มีความเจริญมากในสาขาต่างๆ มีการทำกระดาษ (ฝีมือขันทีชื่อ ไช่หลุน) พิมพ์หนังสือได้แล้ว
ในช่วงกลางราชวงศ์ จากความเละเทะในราชสำนัก หวางหม่างได้ชิงราชบัลลังก์ ตั้งราชวงศ์ซินขึ้นมา แต่ครองบัลลังก์ได้เพียงสิบกว่าปี หลิวซิ่ว เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ได้ทำสงครามยึดอำนาจคืน ตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาใหม่ แล้วย้ายเมืองหลวงจากฉางอานไปลั่วหยาง ได้นามว่า พระเจ้าฮั่นกวงอู่ตี้ สมัยนี้เรียกว่า ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ตงฮั่น) ในยุคนี้ ได้มีการบุกเบิกลัทธิจริยธรรม มีการคัดเลือกผู้มีจริยธรรม ให้ทางส่วนกลางพิจารณาหาตำแหน่งให้
ฮั่นกวงอู่ตี้ (หลิวซิ่ว)
รูปวาดเตียวเสี้ยน
ในปลายราชวงศ์ฮั่น ฮ่องเต้อ่อนแอมาก เนื่องจากมีการแต่งงานกันในหมู่เครือญาติ ทำให้ฮ่องเต้หลายๆ องค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเล็ก มิหนำซ้ำ ขันทีมีอิทธิพลสูงมากในราชสำนัก เนื่องจากใกล้ชิดฮ่องเต้มาก เป็นเหตุให้เกิดระส่ำระสายในราชวงศ์ สมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาด หลิวเป้ย (เล่าปี่) เชื้อพระวงศ์, จางเฟย (เตียวหุย) และกวนอวี่ (กวนอู) สามพี่น้องร่วมสาบาน ได้ปราบปรามโจรจนราบคาบ หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าฮั่นเลนเต้สิ้นพระชนม์ ขันทีได้เหิมเกริมหนักขึ้น โฮจิ๋น พี่ชายของฮองเฮา ได้ให้ทหารเข้ามาฆ่าขันทีในวัง แต่ไม่หมด จึงถูกขันทีซ้อนแผน ปลอมราชโองการของฮองเฮา เรียกโฮจิ๋นเข้าวัง แล้วดักฆ่าเสีย เฉาเชา (โจโฉ) ได้ยกทหารเข้าฆ่าขันทีจนสิ้นซาก แต่ว่า ต่อมา ต่งจั๊ว (ตั๋งโต๊ะ) แม่ทัพอีกคนหนึ่ง ได้เข้ามาในวัง แล้วบีบไม่ให้รัชทายาทได้ครองราชย์ ให้องค์ชายรองครองราชย์แทน พระนามว่า พระเจ้าฮั่นเสี้ยนตี้ (...นเต้) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ส่วนต่งจั๊วตั้งตัวเป็นพระมหาอุปราช กุมอำนาจในมือ แถมต่อมายังลอบสังหารรัชทายาท และพระมารดาอีก ทำให้คนอื่นไม่พอใจมาก ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) ลูกบุญธรรมของต่งจั๊วได้ฆ่าต่งจั๊วเสีย (ตอนนี้ในเรื่องสามก๊กว่า เป็นเพราะมารยาหญิงชื่อเตียวเสี้ยน แต่จริงๆ เป็นอย่างไรไม่รู้ เพราะเตียวเสี้ยนไม่มีตัวตนอยู่จริง) ลูกน้องของต่งจั๊วที่เหลืออยู่ ได้คุกคามพระเจ้าฮั่นเสี้ยนตี้ ต่อมา เฉาเชาได้มาช่วยปราบ และสวมรอยเป็นพระมหาอุปราชตามต่งจั๊วไปอีกคน ทำให้คนอื่นไม่พอใจมาก เกิดการแตกแยกก๊กต่างๆ มากมาย แล้วเหลืออยู่ ๓ ก๊ก คือแคว้นสู่ของหลิวเป้ย เว่ยของเฉาเชา และอู๋ของซุนฉวน (ซุนกวน) ดังในพงศาวดารสามก๊ก แล้วก็รบพุ่งกันอยู่นาน หลังจากเฉาเชาตาย เฉาพี (โจผี) ลูกเฉาเชา ได้บีบให้พระเจ้าฮั่นเสี้ยนตี้ให้สละบัลลังก์ หลังจากเป็นฮ่องเต้หุ่นอยู่ราว ๓๐ ปี ราชวงศ์ฮั่นก็ถูกถอนอาณัติไปเพียงเท่านี้ แล้วตั้งเป็นราชวงศ์เว่ยขึ้นมา
การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนสุดท้าย หลังจากนั้นอีกเกือบห้าสิบปี แคว้นสู่ล่มสลายลงเป็นแคว้นแรก หลังจากนั้น ซือหม่าเอี๋ยน (สุมาเอี๋ยน) ได้ชิงบัลลังก์จากราชวงศ์เว่ย ตั้งเป็นราชวงศ์จิ้น แล้วทำสงครามปราบแคว้นอู๋ได้สำเร็จ การสู้รบอันยาวนานก็สิ้นสุดลง
ราชวงศ์จิ้นอยู่ได้ไม่นานนัก จากความอ่อนแอและความฟุ้งเฟ้อของกษัตริย์ ทำให้ประเทศจีนก็ถูกโจมตีจากภายนอก ผสมกับกบฏภายในและภายนอก (กบฏชาวนา) จนราชวงศ์จิ้นต้องย้ายเมืองหลวงไปทางใต้ เรียกว่า ราชวงศ์ตั้งจิ้น แผ่นดินจึงแตกแยกออกเป็นเหนือ-ใต้ (เรียกว่า ยุคราชวงศ์เหนือใต้หรือหนานเป่ยเฉา) ทางใต้มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามากมาย คือ ราชวงศ์จิ้น, ซ่ง, ฉี, เหลียง, เฉิน ส่วนทางเหนือนั้นชนกลุ่มน้อยครองอยู่ มีราชวงศ์ต่างๆ คือ เว่ยเหนือ, เว่ยตะวันออก, ฉีเหนือ, เว่ยตะวันตก, โจวเหนือหรือเป่ยโจว ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นี้ มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ พระโพธิธรรม (ต๋าโมหรือตั๊กม้อ) ผู้เป็นอาจารย์องค์แรก ของพุทธศาสนานิกายเซ็น (ที่ไม่ใช่กินข้าวกับแม่ค้าแล้วเซ็น) ที่เน้นการถ่ายทอดสัจธรรมจากจิตสู่จิต ท่านเข้ามาในสมัยราชวงศ์เหลียง (ใต้) รัชกาลของพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ (เหลียงบู้ตี้) ฮ่องเต้องค์นี้ศรัทธาในพุทธศาสนามาก แต่ถูกยอกย้อนเป็นปริศนาธรรมจากท่าน ทำให้ไม่พอใจมาก ท่านเห็นว่าคงจะคุยกันยาก จึงหยุดเสวนาด้วย (มีหนังสือประวัติฮ่องเต้องค์นี้ เขียนไว้ว่า ทรงสร้างความเจริญไว้มากมาย แต่ตอนท้ายสุด ได้ไปบำเพ็ญธรรมในป่าถ้ำ และชดใช้หนี้กรรมเก่า ที่เคยสร้างไว้ในชาติก่อนกับลิง ซึ่งได้มาเกิดเป็นแม่ทัพ ทำให้ต้องอดอาหารตายในถ้ำนั่นเอง แต่ก็ได้บรรลุธรรมในที่สุด *ผมไม่แน่ใจเหมือนกันเพราะในหนังไม่ได้ว่าถึง ก็ฟังหูไว้หูนะครับ) ต่อมา ท่านได้ไปนั่งเข้าฌาณที่ถ้ำแห่งหนึ่งทางเหนือนานหลายปี โดยไม่แตะต้องอาหารหรือน้ำเลยเป็นเวลา ๙ ปี จนมีศิษย์ผู้หนึ่งที่ศรัทธาแรงกล้ามาก มานั่งเฝ้าท่านหน้าถ้ำ (ในหนังจะเห็นว่า ยอมสละแขนเพื่อให้ท่านยอมสอนให้) ท่านเห็นใจในความตั้งใจ จึงถ่ายทอดสัจธรรมให้ และตำแหน่งของท่านด้วย เรื่องราวของฮัวมู่หลาน หญิงผู้ออกรบแทนบิดา ก็เกิดในยุคนี้เช่นกัน โดยเกิดในสมัยเป่ยเว่ย (เว่ยเหนือ)
ความแตกแยกของจีนกว่าสี่ร้อยปีนี้ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมจีนพอสมควร เนื่องจากมีอารยธรรมของชนกลุ่มน้อยเข้ามาผสมด้วย ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ การให้อิสระและสิทธิกับผู้หญิงมากขึ้น จากเดิมที่เคยกดขี่แทบติดดิน ผู้ชายให้การยอมรับหญิงที่เคยมีสามีแล้ว (สามีตาย) จนนำมาเป็นภรรยาได้ (ถ้าเป็นแต่ก่อนน่ะเรอะ เมินซะเถอะอีนาย! แต่ช้าก่อน... ขอให้สังเกตว่า ผู้ชายสมัยนั้นจะให้การยอมรับหญิงที่ "เป็นม่าย" ซึ่งหมายความว่าเคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว ไม่ใช่เสียตัวให้ผู้ชาย โดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกรณีเสียตัวก่อนแต่งงานแบบสมัยนี้นี่ ไม่รู้แฮะว่ารับกันได้ไหม) ในปลายราชวงศ์เป่ยโจว (เหนือ) หยางเจียน ซึ่งเป็นข้าราชการของราชวงศ์เป่ยโจว ได้อาศัยอิทธิพลของวงศ์ตระกูล ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย จากบรรดาเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ ซึ่งได้พยายามลอบสังหาร และใส่ไฟจะให้โดนประหารหลายครั้ง แต่สุดท้าย จากความช่วยเหลือของเหล่าขุนนาง ก็ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ และในที่สุด ก็บีบให้ฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยโจวสละราชสมบัติ แล้วตั้งราชวงศ์สุยขึ้น จากนั้น ก็สามารถทำสงครามกับราชวงศ์เฉิน (ใต้) รวมแผ่นดินเหนือใต้ได้สำเร็จ ยุติความแตกแยกของจีนลง
ราชวงศ์สุย (พ.ศ.๑๑๒๔-๑๑๖๐ หรือ ค.ศ.๕๘๑-๖๑๗)
สุยเหวินตี้ (หยางเจียน)
หยางเจียน ได้ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าสุยเหวินตี้ ปกครองบ้านเมืองด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ มีคุณธรรม ทำให้บ้านเมืองฟื้นสภาพได้อย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง เกิดภัยพิบัติขึ้น พระเจ้าสุยเหวินตี้ทราบว่า ราษฎรกินฟองเต้าหู้กับรำข้าว ก็ทรงตั้งพระทัยว่า จะไม่เสวยเนื้อสัตว์กับเหล้าอีก นอกจากนั้น พระเจ้าสุยเหวินตี้ ยังเป็นกษัตริย์องค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ที่ไม่มีสนม (หรือว่าง่ายๆ ก็คือ มีเมียคนเดียวนั่นเอง เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนสมัยนี้ ถึงอาจจะไม่ค่อยเต็มพระทัยก็เหอะ) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลัวมเหสี หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ จวบจนพระมเหสีคือพระนางตู๋กู



fhasatumton
#2   fhasatumton    [ 11-07-2007 - 17:31:59 ]    IP: 58.9.125.11

ยังไม่จบ เดี๋ยวมาต่อนะครับ



vมังกรหลับv
#3   vมังกรหลับv    [ 11-07-2007 - 19:04:08 ]

ก็ดีคับเป็นความรู้ดีคับ แต่ในบางส่วนก็พอรู้มาบ้างแล้วคับ



fhasatumton
#4   fhasatumton    [ 06-08-2007 - 15:59:23 ]    IP: 58.9.127.2

ยุคสามก๊ก (พ.ศ.๗๖๓-๘๐๘ หรือ ค.ศ.๒๒๐-๒๖๕)
หลังจากแผ่นดินแบ่งออกเป็น ๓ แคว้น (ก๊ก) แล้ว การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนสุดท้าย หลังจากนั้นอีกเกือบห้าสิบปี หลังจากหลิวเป้ยเสียชีวิตไป รัชทายาทได้ครองราชย์ต่อ ภายใต้การดูแลของจูเก่อเลี่ยง (จูกัดเหลียง/ขงเบ้ง) แต่รัชทายาทไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้น หลังจากจูเก่อเลี่ยงเสียชีวิต แคว้นสู่จึงล่มสลายลงเป็นแคว้นแรก หลังจากนั้น ซือหม่าเอี๋ยน (สุมาเอี๋ยน) ได้ชิงบัลลังก์จากราชวงศ์เว่ย ตั้งเป็นราชวงศ์จิ้น แล้วทำสงครามปราบแคว้นอู๋ได้สำเร็จ การสู้รบอันยาวนานก็สิ้นสุดลง

ราชวงศ์จิ้น (พ.ศ.๘๐๘-๙๖๓ หรือ ค.ศ.๒๖๕-๔๒๐)
ราชวงศ์จิ้นช่วงแรกเรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันตก บ้านเมืองเพิ่งสงบจากสงครามยุคสามก๊กได้ไม่นาน แต่แล้ว เมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากความอ่อนแอและความฟุ้งเฟ้อของกษัตริย์ ทำให้ประเทศจีนก็ถูกโจมตีจากภายนอก ผสมกับกบฏภายในและภายนอก (กบฏชาวนา) จนถึงปี ค.ศ.๓๑๗ (พ.ศ.๘๖๐) ซือหม่าลุ่ยก็ได้ย้ายเมืองหลวงของราชวงศ์จิ้นไปทางใต้ เพื่อหนีภัยสงคราม เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันออก แต่ก็ไม่ได้คิดจะรวมประเทศแต่อย่างใด ส่วนทางเหนือ ก็มีชนกลุ่มน้อยต่างๆ เข้ายึดครองและสร้างอาณาจักรของตนเองมากมาย ประเทศจึงแตกออกเป็นเหนือ-ใต้
ยุคราชวงศ์เหนือใต้หรือหนานเป่ยเฉา (พ.ศ.๙๖๓-๑๑๓๒ หรือ ค.ศ.๔๒๐-๕๘๙)

ซ้าย พระโพธิธรรม (ต๋าโม๋/ตั๊กม้อ) ขวา วัดเส้าหลิน
ในยุคนี้ ทางเหนือของจีนกับทางใต้ของจีนจะแยกกันบริหาร ทางใต้มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามากมาย คือ ราชวงศ์จิ้น, ซ่ง, ฉี, เหลียง, เฉิน ส่วนทางเหนือนั้นชนกลุ่มน้อยครองอยู่ มีราชวงศ์ต่างๆ คือ เว่ยเหนือ, เว่ยตะวันออก, ฉีเหนือ, เว่ยตะวันตก, โจวเหนือหรือเป่ยโจว ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นี้ มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ พระโพธิธรรม (ต๋าโม๋หรือตั๊กม้อ) ผู้เป็นอาจารย์องค์แรก ของพุทธศาสนานิกายเซ็น (ที่ไม่ใช่กินข้าวกับแม่ค้าแล้วเซ็น) ที่เน้นการถ่ายทอดสัจธรรมจากจิตสู่จิต ท่านเข้ามาในสมัยราชวงศ์เหลียง (ใต้) รัชกาลของพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ (เหลียงบู้ตี้) ฮ่องเต้องค์นี้ศรัทธาในพุทธศาสนามาก แต่ถูกยอกย้อนเป็นปริศนาธรรมจากท่าน ทำให้ไม่พอใจมาก ท่านเห็นว่าคงจะคุยกันยาก จึงหยุดเสวนาด้วย (มีหนังสือประวัติฮ่องเต้องค์นี้ เขียนไว้ว่า ทรงสร้างความเจริญไว้มากมาย แต่ตอนท้ายสุด ได้ไปบำเพ็ญธรรมในป่าถ้ำ และชดใช้หนี้กรรมเก่า ที่เคยสร้างไว้ในชาติก่อนกับลิง ซึ่งได้มาเกิดเป็นแม่ทัพ ทำให้ต้องอดอาหารตายในถ้ำนั่นเอง แต่ก็ได้บรรลุธรรมในที่สุด *ผมไม่แน่ใจเหมือนกันเพราะในหนังไม่ได้ว่าถึง ก็ฟังหูไว้หูนะครับ) ต่อมา ท่านได้ไปนั่งเข้าฌาณที่ถ้ำแห่งหนึ่งทางเหนือ (ใกล้วัดเส้าหลิน) โดยไม่แตะต้องอาหารหรือน้ำเลยเป็นเวลา ๙ ปี จนมีศิษย์ผู้หนึ่งชื่อฮุ่ยเข่อที่ศรัทธาแรงกล้ามาก มานั่งเฝ้าท่านหน้าถ้ำ (ในหนังจะเห็นว่า ยอมสละแขนเพื่อให้ท่านยอมสอนให้) ท่านเห็นใจในความตั้งใจ จึงถ่ายทอดสัจธรรมให้ และตำแหน่งของท่านด้วย เรื่องราวของฮัวมู่หลาน หญิงผู้ออกรบแทนบิดา ก็เกิดในยุคนี้เช่นกัน โดยเกิดในสมัยเป่ยเว่ย (เว่ยเหนือ)


ฮัวมู่หลาน ซ้าย ในการ์ตูน ขวา ในงิ้ว
ความแตกแยกของจีนอันยาวนานนี้ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมจีนพอสมควร เนื่องจากมีอารยธรรมของชนกลุ่มน้อยเข้ามาผสมด้วย ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ การให้อิสระและสิทธิกับผู้หญิงมากขึ้น จากเดิมที่เคยกดขี่แทบติดดิน ผู้ชายให้การยอมรับหญิงที่เคยมีสามีแล้ว (สามีตาย) จนนำมาเป็นภรรยาได้ (ถ้าเป็นแต่ก่อนน่ะเรอะ เมินซะเถอะอีนาย! แต่ช้าก่อน... ขอให้สังเกตว่า ผู้ชายสมัยนั้นจะให้การยอมรับหญิงที่ "เป็นม่าย" ซึ่งหมายความว่าเคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว ไม่ใช่เสียตัวให้ผู้ชาย โดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกรณีเสียตัวก่อนแต่งงานแบบสมัยนี้นี่ ไม่รู้แฮะว่ารับกันได้ไหม) ในปลายราชวงศ์เป่ยโจว (เหนือ) หยางเจียน ซึ่งเป็นข้าราชการของราชวงศ์เป่ยโจว ได้อาศัยอิทธิพลของวงศ์ตระกูล ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย จากบรรดาเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ ซึ่งได้พยายามลอบสังหาร และใส่ไฟจะให้โดนประหารหลายครั้ง แต่สุดท้าย จากความช่วยเหลือของเหล่าขุนนาง ก็ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ และในที่สุด ก็บีบให้ฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยโจวสละราชสมบัติ แล้วตั้งราชวงศ์สุยขึ้น จากนั้น ก็สามารถทำสงครามกับราชวงศ์เฉิน (ใต้) รวมแผ่นดินเหนือใต้ได้สำเร็จ ยุติความแตกแยกของจีนลง
ราชวงศ์สุย (พ.ศ.๑๑๒๔-๑๑๖๐ หรือ ค.ศ.๕๘๑-๖๑๗)
สุยเหวินตี้ (หยางเจียน)
หยางเจียน ได้ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าสุยเหวินตี้ ปกครองบ้านเมืองด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ มีคุณธรรม ทำให้บ้านเมืองฟื้นสภาพได้อย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง เกิดภัยพิบัติขึ้น พระเจ้าสุยเหวินตี้ทราบว่า ราษฎรกินฟองเต้าหู้กับรำข้าว ก็ทรงตั้งพระทัยว่า จะไม่เสวยเนื้อสัตว์กับเหล้าอีก นอกจากนั้น พระเจ้าสุยเหวินตี้ ยังเป็นกษัตริย์องค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ที่ไม่มีสนม (หรือว่าง่ายๆ ก็คือ มีเมียคนเดียวนั่นเอง เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนสมัยนี้ ถึงอาจจะไม่ค่อยเต็มพระทัยก็เหอะ) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลัวมเหสี หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ จวบจนพระมเหสีคือพระนางตู๋กูจากไป จึงมีสนม (ดีแตก?)
เดิมที พระเจ้าสุยเหวินตี้ตั้งหยางหย่ง เป็นรัชทายาท แต่ต่อมา หยางกว่าง โอรสอีกองค์ ได้ให้ร้ายพี่ชายตนเอง อีกทั้งพระนางตู๋กูก็ลำเอียง ให้ร้ายลูกตนเองด้วย ทำให้ทรงถอดหยางหย่งออก ให้เนรเทศไปนอกวัง แล้วตั้งหยางกว่างแทน จนในที่สุด พระเจ้าสุยเหวินตี้ประชวร เล่ากันว่า หยางกว่างพยายามปลุกปล้ำซวนฮัวฮูหยิน (สนมของพระเจ้าสุยเหวินตี้ หลังจากฮองเฮาสิ้นแล้ว) ทำให้พระเจ้าสุยเหวินตี้ถึงกับว่า "อ้ายสัตว์! แล้วการใหญ่ของกูจะมอบหมายให้มันได้อย่างไร ตู๋กูเอ๋ย เจ้าทำร้ายข้าเสียแล้ว" แล้วให้อำมาตย์ไปตามหยางหย่งมาเข้าเฝ้า แต่หยางกว่างไปจับตัวไว้เสียก่อน จากนั้นพระเจ้าสุยเหวินตี้ก็สิ้นพระชนม์อย่างลึกลับ เล่าลือกันมากว่า หยางกว่างปลงพระชนม์พระบิดาตนเอง
ต่อมา หยางกว่างขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าสุยหยางตี้ ปกครองด้วยความโหด...มทารุณ ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย สู้รบไม่หยุดหย่อน (สู้กับเกาหลีด้วย) ท่องเที่ยวไม่เลิกรา เกณฑ์คนไปสร้างโน่น สร้างนี่ไม่หยุด โดยเฉพาะได้เกณฑ์คนไปขุดคลองยาวเหยียด ที่เรียกว่า "ลำน้ำเลือด" หรือต้ายุ่นเหอ (คลองใหญ่) จากเหนือจรดใต้ ยาวร่วมๆ สองพันกิโลเมตร (คลองนี้ใช้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำมาแต่โบราณ จนทุกวันนี้ก็ยังใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี) จนคนทนไม่ไหว ลุกขึ้นก่อการกบฏไปทั่วเมือง หลี่หยวน ลูกพี่ลูกน้องของหยางกว่าง ได้ก่อการกบฏด้วย บุกเข้าตีเมืองหลวงได้ จนสุยหยางตี้ต้องหนีไปเฉิงตู และถูกพวกกบฏปลงพระชนม์ในที่สุด หลังจากนั้น หลี่หยวนก็ปราบก๊กต่างๆ ได้สำเร็จ ตั้งราชวงศ์ถังขึ้น

ลำน้ำเลือด
ราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑-๑๔๔๙ หรือ ค.ศ.๖๑๘-๙๐๖)
ถังเกาจู่ (หลี่หยวน)
ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลายๆ ด้าน หลี่หยวนได้ตั้งตัวเองเป็น พระเจ้าถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ในที่สุด ก็เกิดกรณีศึกสายเลือดขึ้นที่ประตูเสวียนอู่ (เสวียนอู่เหมิน) หลี่ซื่อหมินได้สังหาร หลี่เจี้ยนเฉิง รัชทายาท และหลี่หยวนจี๋ และทำให้พระเจ้าถังเกาจู่ตั้งตนเป็นรัชทายาท และต่อมาพระเจ้าถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ซ่างอ๋อง (สมเด็จพระราชบิดา)
ถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน)
หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ ลักษณะเด่นของถังไท่จงคือ ทรงรู้จักใช้คน ฟังคน แม้อาจจะขัดพระทัยบ้าง (คุณสมบัตินี้หายากแฮะ แม้แต่ในบรรดาผู้นำที่ชอบอ้างว่า อั๊วเป็นโคตะระ "ประชาธิปไตย") พระองค์ทรงนำเว่ยเจิง คนของหลี่เจี้ยนเฉิง ที่เพิ่งโดนสังหารมาเป็นที่ปรึกษา (สรุปง่ายๆ คือ เอาคนของศัตรูมาใช้งาน หรือเอาศัตรูมาเป็นมิตรน่ะแหละ แสดงว่าถังไท่จงก็ไม่ธรรมดา เพราะถ้าพลาดท่าหรืออ่อนหัดล่ะก็ เสร็จ!!) หรือกระจกบานใหญ่ให้ตนเอง (กล่าวว่า เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ถังไท่จงเรียกเว่ยเจิงมาหา และเว่ยเจิงได้ทูลว่า หากอดีตรัชทายาทเชื่อฟังตน ที่เคยให้คำแนะนำและทัดทานไว้ ก็จะไม่พบจุดจบเช่นนี้ ทำให้ถังไท่จงพอพระทัยมาก) ซึ่งเว่ยเจิงก็ได้สนองตอบเป็นอย่างดี ด้วยการกล้าโต้แย้งทุกเรื่องที่เห็นว่า จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน โดยไม่กลัวว่าตัวเองจะโดนประหาร ซึ่งหลายครั้ง ก็หวุดหวิดจะโดนประหารเข้าจริงๆ เหมือนกัน แต่ก็รอดได้ตลอด และเนื่องจากเว่ยเจิงจะโต้แย้งด้วยความมีเหตุผลทุกครั้ง ทำให้ถังไท่จงต้องรับฟังทุกครั้งไป และให้ความนับถือมาก จนถึงกับให้เป็นพระอาจารย์ของรัชทายาท เมื่อเว่ยเจิงเสียชีวิตไป พระองค์เสียพระทัยมาก ถึงกับกล่าวว่า พระองค์ได้สูญเสียกระจกบานสำคัญไปแล้ว
ถังไท่จงได้พยายามฟื้นเศรษฐกิจขึ้นมาจนเจริญรุ่งเรือง จนกล่าวกันว่า ของหล่นบนพื้นไม่หาย นอนไม่ต้องปิดประตู (จริงรึเปล่าหว่า?) ยุคของพระองค์ จัดเป็นยุคทองของราชวงศ์ถังทีเดียว จนคนจีนภูมิใจมาก ถึงกับเรียกตนเองว่า "คนของถัง" ("ถังเหยิน" ในภาษาจีนกลางหรือ "ตึ่งนั้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว) มีการขยายอาณาเขตไปอีกมาก ต่อมา มีอยู่ปีหนึ่ง มีภัยพิบัติ พระถังซำจั๋งจึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่อศึกษาและอัญเชิญคัมภีร์ต่างๆ มาที่จีน ต้องเผชิญกับความทุรกันดารของทะเลทราย เทือกเขาสูงชัน และภูมิประเทศที่ยากลำบาก (แต่ไม่มีปีศาจนะครับ) จนไปถึงวัดนาลันทา และได้ศึกษาจนเชี่ยวชาญ (สมัยนั้น วัดนาลันทายังไม่ถูกมุสลิมเข้ามาทำลาย) และศึกษาที่อื่นๆ จนแตกฉาน แล้วจึงเดินทางกลับจีน นำความรู้มาเผยแพร่
ตอนปลายยุคเจินกวน (รัชสมัยของถังไท่จง) เกิดความขัดแย้งในบรรดาองค์ชาย ๓ องค์ ของถังไท่จง สุดท้าย ถังไท่จงได้เลือกหลี่จื้อ ซึ่งอ่อนโยนกว่าคนอื่น (เพื่อกันไม่ให้อีกสองคนถูกฆ่า) เป็นรัชทายาท หลังจากถังไท่จงสิ้นพระชนม์แล้ว (เพราะเสวยยาอายุวัฒนะ) หลี่จื้อได้ครองราชย์ นามว่า ถังเกาจงฮ่องเต้ แล้วไปสึกอดีตสนมของพระบิดา นามว่า นางอู่เหม่ยเหนียง (อู่ไฉเหยิน) มาเป็นสนมเอก (ว่ากันว่า สองคนนี่ปิ๊งกันตั้งแต่ก่อนที่ถังไท่จงจะสิ้นพระชนม์แล้ว หลังจากถังไท่จงสิ้นพระชนม์ นางอู่เหม่ยเหนียงได้ไปบวชชี เพื่อหนีประเพณีที่จะต้องตายตามฮ่องเต้) จากนั้น อู่เหม่ยเหนียงได้บีบคอลูกตนเอง แล้วป้ายความผิดให้มเหสีหวัง ของถังเกาจง ทำให้ถังเกาจงถอดนางลงเป็นไพร่ แล้วตั้งอู่เหม่ยเหนียงเป็นมเหสีแทน นางได้ลอบวางยาพิษสนมเซียวซู่ และพระนางหวัง แล้วเปลี่ยนชื่อแซ่ของทั้งสอง ไปในความหมายที่ไม่ดี ถอดๆ ตั้งๆ รัชทายาทหลายครั้งหลายหน นางได้แทรกแซงการบริหารบ้านเมือง ของถังเกาจงมาตลอด พอถังเกาจงสิ้นพระชนม์ นางก็ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นโจว ได้ชื่อว่าอู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) (ตรงนี้มีเรื่องเล่าว่า ตอนต้นราชวงศ์ถัง มีคำทำนายไว้ว่า ราชวงศ์ถังจะโดนหญิงแซ่อู่โค่นล้ม ถังไท่จงก็ทรงทราบดี และแซ่อู่ของอู่เหม่ยเหนียงนั้นตรงเป๊ะๆ กับคำทำนาย ทำให้ถังไท่จงไม่เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้นาง แต่ถ้าจะว่าไป พระองค์ก็พลาดตรงไม่เขี่ยให้นางพ้นไปจากวัง ทำให้นางสามารถฟื้นมาโค่นราชวงศ์ได้ในภายหลัง) แล้วสังหารองค์ชายแซ่หลี่ ของราชวงศ์ถังกว่า ๕๐ องค์ และคนอื่นๆ อีกมากมายที่ขวางทางนาง ในทางการเมืองแล้ว จะปกครองด้วยความ...มโหด ใครขวางทางนาง จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก แม้แต่ผู้ที่นางไว้ใจก็ตาม (หากเหลิง) ยกเว้นติเหยินเจี๋ย มหาอุปราชผู้จงรักภักดี กล้าคัดค้านโดยไม่เกรงอาญา (ติเหยินเจี๋ยผู้นี้ ว่ากันว่าตงฉิน และเก่งกาจไม่แพ้เปาบุ้นจิ้นทีเดียว แถมยังตัดสินคดีแบบถี่ยิบ แต่ไม่ดังเท่าเปาบุ้นจิ้น นอกจากนั้น ยังมีความกตัญญูที่เลื่องลือ จนถูกจัดอยู่ในหนึ่งใน ๓๖ ยอดกตัญญู) อย่างไรก็ดี ความโหด...มของนางก็ไม่ลามไปถึงนอกวัง นางปกครองบ้านเมืองได้ดี พัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองได้ จนเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้รุ่นถัดไป จึงทำให้คนโดยมากไม่เดือดร้อนนัก อู่เจ๋อเทียนเป็นพุทธศาสนิกชนที่จัดว่าใช้ได้คนหนึ่ง (ถ้าไม่ดูพฤติกรรมที่...มโหดของนาง) ชอบทำบุญเลี้ยงพระ สร้างวัดวาอาราม (ว่ากันว่า ที่ถ้ำหลงเหมิน มีพระพุทธรูปที่อู่เจ๋อเทียนสั่งให้สร้างขึ้น โดยแกะสลักใบหน้าเหมือนใบหน้าของนาง) แต่งหนังสือทางพุทธศาสนา หลังจากราชวงศ์โจวดำเนินมาสิบปีเศษ อู่เจ๋อเทียนก็ชรามากแล้ว นางคิดจะยกบัลลังก์ให้เชื้อพระวงศ์แซ่อู่ (บู) ของนาง แต่โดนติเหยินเจี๋ยคัดค้านสุดฤทธิ์ และบรรดาขุนนาง อำมาตย์ รวมทั้งองค์หญิงไท่ผิง ราชธิดา และเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ถังอื่นๆ ได้บีบให้นางลงจากบัลลังก์ในที่สุด ไม่นานหลังจากนั้น นางก็สิ้นพระชนม์ จากนั้น หลี่เสียนขึ้นครองราชย์ ราชวงศ์โจวก็เปลี่ยนกลับเป็นถังเหมือนเดิม

อู่เจ๋อเทียน
ไม่นานหลังจากราชบัลลังก์ก็กลับสู่ทายาทสกุลหลี่อย่างเต็มตัว หลี่หลงจี๋ได้แย่งชิงบัลลังก์กับองค์หญิงไท่ผิง ซึ่งองค์หญิงไท่ผิงนี้ ก็คิดจะเป็นฮ่องเต้หญิงต่อจากพระมารดา (อู่เจ๋อเทียน) แม้ว่าจะเคยร่วมมือกับหลี่หลงจี๋ บีบให้อู่เจ๋อเทียนลงจากบัลลังก์ แล้วคืนบัลลังก์ให้หลี่หลงจี๋ ซึ่งต่อมาได้เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ แต่ต่อมากลับคิดจะเป็นฮ่องเต้เสียเอง และได้วางแผนจะลอบปลงพระชนม์ถังเสวียนจง แต่แผนแตกจึงโดนชิงลงมือจัดการเสียก่อน หลังจากศึกชิงบัลลังก์จบลง ช่วงแรกเรียกว่า ศักราชไคหยวน เรียกอีกอย่างว่า ยุครุ่งเรืองไคหยวน ถังเสวียนจงฮ่องเต้ก็ปกครองบ้านเมืองได้ดี บ้านเมืองสงบสุข เจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงเสียอีก (ส่วนหนึ่งมาจากรากฐานที่อู่เจ๋อเทียนวางไว้) มีกวีชื่อดังในสมัยนี้คือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู่ พอย่างเข้าสู่ศักราชเทียนเป่า เข้าสู่ยามชรา เสวียนจงเกิดหลงระเริง เนื่องจากความรุ่งเรือง จึงละเลยราชกิจ แถมมเหสีและสนมได้ตายไปหมดแล้ว ก็เกิดอาการ "โคแก่หิวหญ้าอ่อน" ได้ไป "ยึด" หยางยิหวน พระสนมผู้เลอโฉม แถมยังมีทรวดทรงอวบอัด (แต่กลิ่นตัวแรงชะมัด -ตามคำบรรยายในหนังสือ) ของหลี่เม่า ราชโอรส มาเป็นสนมของตนเอง จากนั้น ก็หลงใหลแต่นางสนมหยางกุ้ยเฟยผู้นี้ จนไม่เป็นอันบริหารบ้านเมือง ยกให้หยางกว๋อจง พี่ชายหยางกุ้ยเฟย ซึ่งเป็นกังฉินบริหารแทน จนเกิดกลียุคไปทั้งแผ่นดิน เกิดกบฏอันลู่ซานขึ้น (อันลู่ซานผู้นี้ เดิมที หยางกุ้ยเฟยเคยรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เล่าลือกันว่า ทั้งสองเป็นชู้กัน ถังเสวียนจงก็ทรงทราบแต่ไม่ว่ากระไร เพราะสมัยนั้น ผู้ชายไม่ค่อยถือเรื่องนี้นัก แถมพระองค์เองก็เจ้าชู้ใช่ย่อย) หยางกว๋อจงได้พาเสวียนจงและหยางกุ้ยเฟยหนีไป ทหารที่ไปด้วยก็ฆ่าหยางกว๋อจงเสีย แล้วบังคับให้เสวียนจงประหารหยางกุ้ยเฟย แถมประณามหยางกุ้ยเฟยว่าเป็นตัวกาลีด้วย ทำให้เสวียนจงฮ่องเต้ จำใจต้องประทานผ้าให้หยางกุ้ยเฟยผูกคอตาย เมื่ออายุได้ ๓๘ ปี ชนรุ่นหลังจัดให้หยางกุ้ยเฟยเป็นหนึ่งในสี่ยอดหญิงงามของจีน แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นหนึ่งในหญิงงามล่มเมืองด้วย ส่วนถังเสวียนจงก็จัดได้ว่าเป็นฮ่องเต้ 2 in 1 คือ เป็นฮ่องเต้ที่นำพาราชวงศ์สู่จุดสูงสุดและจุดหายนะในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับฮ่องเต้อีกหลายๆ องค์ในราชวงศ์หลังๆ (ว่ากันว่า ถังไท่จงเองถ้าไม่ชิงสวรรคตไปก่อน ก็อาจจะกลายเป็นฮ่องเต้ 2 in 1 เช่นกัน เพราะช่วงบั้นปลายก็เริ่มเลอะๆ เลือนๆ และทำอะไรไม่เข้าท่าเหมือนกัน)

หยางกุ้ยเฟย
หลังจากนั้น ราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ อันเนื่องจากฮ่องเต้อ่อนแอ และขันทีมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดกบฏซ้ำแล้วซ้ำเล่า แถมแม่ทัพก็พยายามไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจ จนสุดท้าย แม่ทัพชื่อจูเวิน ก็ปลงพระชนม์ถังอ้ายจง ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถัง เป็นอันสิ้นราชวงศ์ แล้วก็ตั้งราชวงศ์เหลียงของตนเองขึ้นมา
ยุคห้าราชวงศ์หรืออู่ไต้สือกว๋อ (พ.ศ.๑๔๕๓-๑๕๐๓ หรือ ค.ศ.๙๐๗-๙๖๐)
หลังจากจูเวินล้มราชวงศ์ถังแล้ว ก็มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นมามีอำนาจเป็นเวลาสั้นๆ รวม ๕ ราชวงศ์คือ เหลียง, ถัง, จิ้น, ฮั่น, โห้วโจวหรือโจวยุคหลัง และยังมีแคว้นย่อยๆ อีก ๑๐ แคว้น กลายเป็นความแตกแยกอย่างหนักอีกยุคคล้ายๆ กับยุคหนานเป่ยเฉา เรียกยุคนี้ว่า อู่ไต้สือกว๋อ หรือห้ายุคสิบแคว้น จัดว่าเป็นกลียุคของจีนได้เหมือนกัน เพราะมีแต่ความวุ่นวาย คนไร้ศีลธรรมไปทั้งแผ่นดิน ตั้งแต่ฮ่องเต้ไปยันสามัญชน มีการคิดวิธีลงโทษที่โหด...มและแปลกๆ ขึ้นมาหลายอย่างด้วย แม้ว่าบางราชวงศ์หรือบางแคว้นจะยังมีความรุ่งเรืองอยู่บ้าง แต่ภาพรวมก็ยังติดลบอยู่ดี จึงเรียกอีกชื่อว่า "อู่จี้" (ห้ายุคยอดแย่) จนถึงราชวงศ์โห้วโจว มีข่าวลือว่า พวกซี่ตานหรือคีตานได้ยกทัพมารุกราน (ชื่อที่ฝรั่งเรียกจีนว่า คาเธย์ ก็มาจากคีตานนี่เอง) เจ้าควงอิ้น แม่ทัพใหญ่จึงได้ยกทัพไปสู้ เมื่อถึงอำเภอเฉินเฉียว บรรดาแม่ทัพนายกอง ก็ได้ร่วมกันเอาฉลองพระองค์ฮ่องเต้มาคลุมตัวเจ้าควงอิ้น แล้วยกย่องให้เป็นฮ่องเต้ (เล่ากันว่าเป็นแผนของเจ้าควงอิ้น ที่จะทำรัฐประหารอยู่แล้ว) ซึ่งเจ้าควงอิ้นก็ออกคำสั่ง ไม่ให้ทำให้ฮ่องเต้เดิม ซึ่งยังมีพระชนมายุน้อย กับไทเฮาตกพระทัย ไม่ให้รังแกอำมาตย์ ไม่ให้ปล้นคลัง มิฉะนั้นจะไม่ยอมรับ พวกแม่ทัพนายกองก็ยอมทำตาม เจ้าควงอิ้นจึงกลับไปชิงบัลลังก์มาได้ แล้วตั้งตำแหน่งใหม่ให้ฮ่องเต้เดิมกับไทเฮา แล้วให้ไปอยู่ที่วังตะวันตก ตั้งราชวงศ์ซ่งขึ้นมา แล้วจึงทำสงครามรวมแผ่นดินใหม่ การรัฐประหารครั้งนี้เรียกว่า รัฐประหารเฉินเฉียว
ราชวงศ์ซ้อง/ซ่ง (พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒ หรือ ค.ศ.๙๖๐-๑๒๗๙)
ซ่งไท่จู่ (เจ้าควงอิ้น) เปาเจิ่ง (เปาบุ้นจิ้น)
เจ้าควงอิ้นได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหารของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวงกลัวจะยึดอำนาจ (ในยุคอู่ไต้สือกว๋อ แม่ทัพมีอำนาจมาก เลยมีรัฐประหารบ่อยๆ) โดยการเลี้ยงเหล้าบรรดาแม่ทัพในพระราชวัง แล้วแสร้งทำโศกเศร้าว่า ทรงนอนไม่หลับมาตลอด เนื่องจากกลัวจะโดนยึดอำนาจโดยบรรดาแม่ทัพ ทำให้แม่ทัพที่เข้าร่วมงานเกิดอาการหนาวๆ ร้อนๆ แล้วลาออกเป็นแถวๆ ทำให้การทหารอ่อนแอ (นับว่าเจ้าควงอิ้นยังใจดีอยู่บ้าง ที่ไม่ประหารใครซี้ซั้ว แม้แต่ฮ่องเต้องค์เก่า) อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และแม้ว่าการทหารจะอ่อนแอ แต่ราชวงศ์ซ่งวางระบบเกี่ยวกับขันทีไว้ค่อนข้างดี จึงไม่เคยมีปัญหาเรื่องขันทีเลย แม้ว่าจะมีฮ่องเต้เด็กหลายองค์ ก็นับว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่ง เพราะลำพังแค่ปัญหาเดิมๆ ก็จะแย่แล้ว ทั้งฮ่องเต้หน่อมแน้ม การทหารอ่อนแอ หรือกังฉินครองเมือง ยุคแรกของราชวงศ์ซ่ง เรียกว่า ราชวงศ์ซ่งเหนือ ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ไคเฟิง (ไคฟง) เปาเจิ่งหรือเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคซ่งเหนือ ในสมัยของเหยินจงฮ่องเต้ ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน คดีเด่นๆ ก็เช่น คดีประหารราชบุตรเขย คดีประหารเปาเหมี่ยนซึ่งเป็นหลานท่านเอง ส่วนตอนอื่นๆ ในหนังนั้น หลายตอนแต่งเพิ่มเติมซะมากกว่า เพราะมีข้อมูลว่า เปาบุ้นจิ้นได้เป็นเจ้าเมืองไคเฟิงไม่นานนัก ท่านยังต้องไปรับตำแหน่งอื่นๆ อีกเยอะ (สำหรับอายุขัยของท่านเปา ยังไม่ชัดเจนนัก บางแหล่งข้อมูลบอกว่า อายุขัย ๑๐๔ ปี แต่บางแหล่งบอกว่า ท่านเสียชีวิตในบ้านพัก ตอนที่อายุไม่มากนัก ทุกวันนี้ ยังมีศาลและรูปปั้นของท่านในเมืองไคเฟิง) และอย่าเข้าใจผิดว่าท่านเปาบุ้นจิ้นเป็นโสด เพราะในหนังสือมีพูดถึง "ฮูหยิน" ของท่านไว้เช่นกัน ในตำนานเปาบุ้นจิ้นกล่าวไว้ว่า ท่านเปาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตั้งแต่อายุเพียง ๑๙ ปี (ในประวัติบอกว่า พอได้ตำแหน่ง มารดาท่านก็เสียชีวิตไป ท่านจึงไว้ทุกข์ที่บ้านเป็นเวลา ๑๐ ปี จนถึงอายุ ๒๙ จึงไปรับราชการ) ขณะนั้น ว่าที่ภรรยาของท่าน อายุได้ ๑๖ ปี แต่มีคนมาทาบทามไว้แล้วด้วย หลังได้รับแต่งตั้ง ท่านเปาทูลลากลับบ้าน ระหว่างที่ท่านกำลังเดินทาง ว่าที่ภรรยาของท่านได้เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีเทวดามาเข้าฝันว่า นางถูกลิขิตมาแล้ว ว่าจะต้องเป็นภรรยาของเจ้าเมืองคนใหม่ ซึ่งกำลังเดินทางมา และจะมาพักที่บ้าน ให้แต่งงานกับท่านผู้นั้น หลังจากตื่นขึ้นมา นางก็พบว่า อาการป่วยหายไป จึงได้บอกกับพ่อแม่ พ่อแม่ของนางก็เชื่อ จึงรอดู ในที่สุด ท่านเปาก็มาพักที่บ้านจริงๆ จึงได้ถามท่านเปาว่า เป็นเจ้าเมืองคนใหม่หรือไม่ ท่านก็ตอบว่าจริง พ่อแม่ว่าที่ภรรยาท่านจึงได้เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นให้ฟัง ท่านเปาจึงกล่าวว่า ท่านไม่ขัดข้อง แต่ขอไปบอกกับทางบ้านก่อน ซึ่งที่สุดแล้ว ทางบ้านท่านก็ไม่ขัดข้อง จึงได้แต่งงานกันในเวลาต่อมา ถือเป็นตำนานของ "สวรรค์ลิขิต" ให้มีคู่อีกตำนานหนึ่ง แต่จะจริงหรือเปล่าอันนี้ก็ไม่ทราบได้ อีกทั้งท่านเคยพูดไว้ว่า ลูกหลานของท่านที่เป็นข้าราชการนั้น หากทุจริตแล้วห้ามกลับมาเหยียบที่บ้านอีก ขุนศึกตระกูลหยาง ก็มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัยห้ายุคสิบแคว้น และต่อมาจนถึงราชวงศ์ซ่งเหนือด้วย โดยตัวเด่นของตระกูลหยางมีสามรุ่นคือ หยางเยี่ย, หยางเหยียนเจา (สมญานามจากแคว้นเหลียวคือ "หยางลิ่วหลาง") และหยางเหวินกว่าง เรื่องราวของ "วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน" ทั้ง ๑๐๘ คน (สุ่ยหู่จ้วน หรือ ซ่งเจียง หรือซ้องกั๋ง) เช่น อู่ซง (บู๊สง) หลู่จื้อเซิน หลินชง เป็นต้น ที่ลุกขึ้นมาสู้เนื่องจากทนพวกกังฉินครองเมืองไม่ไหว ก็เกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ซ่งใต้ (แต่มีคนแต่งเป็นเรื่องราวจริงๆ สมัยราชวงศ์หมิง)
ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย (ซีเซี่ย) พวกซี่ตาน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต พอปลายราชวงศ์ซ่งเหนือ ชนกลุ่มน้อยทางเหนือบางส่วนก็โดนกลืนกันเอง จนพวกเซี่ยกับซี่ตานตกอันดับไป แต่ก็มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาสวมรอยแทน บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองหลวงไคเฟิงได้ในปี ค.ศ.๑๑๒๗ (พ.ศ.๑๖๗๐) ฮ่องเต้ราชวงศ์ซ่งเหนือโดนจับเป็นเชลย ๒ องค์ เจ้าโก้ว เชื้อพระวงศ์ได้ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ชื่อ ซ่งเกาจง แล้วต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่หลินอัน (หังโจว) ยุคนี้มีชื่อเรียกว่า ราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แม้ว่าจะมียอดขุนพลดังเช่น งักฮุยหรือเยว่เฟย ซึ่งกล้าหาญและเก่งกาจมาก (เยว่เฟยคนนี้รักษาระเบียบวินัยอย่างเข้มงวด กองทัพของเขาได้รับการยกย่อง ว่าเป็นกองทัพที่แม้หนาวตายก็ไม่รื้อบ้าน ยอมอดตายแต่ไม่ปล้นจี้ หากลูกน้องทำผิด เขาก็ลงโทษไม่มียกเว้น แม้แต่ลูกชายตนเองตกม้าตอนฝึกซ้อม ยังโดนสั่งลงโทษเหมือนกับทหารทั่วๆ ไป กองทัพของเขารบไม่เคยแพ้แม้แต่ครั้งเดียว แต่ดันมาแพ้พวกเดียวกันเองที่เป็นกังฉิน) แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ได้เรื่องมากเช่นกัน แถมยังมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู ดังเช่น ฉินฮุ่ยหรือฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ชนิดที่ว่า กองทัพของเยว่เฟยบุกจนเกือบจะยึดไคเฟิงคืนได้แล้ว แต่ฉินฮุ่ยได้สมคบกับพวกจิน (ราชวงศ์ซ่งจะเจรจาสงบศึกกับพวกจิน แต่พวกจินตั้งแง่ว่า ต้องประหารเยว่เฟยก่อนจึงจะเจรจาด้วย) ให้ซ่งเกาจงเรียกตัวเยว่เฟยกลับมาจากศึก (ตอนที่เยว่เฟยจะถอนทัพนั้น ว่ากันว่าชาวบ้านออกมาร้องไห้และขอร้องไม่ให้กลับ เยว่เฟยเองก็ไม่อยากจะถอนทัพ แต่ฉินฮุ่ยได้ให้เจ้าโก้วออกป้ายทองคำเรียกตัวถึงสิบกว่าป้าย แม้จะถูกระงับได้ส่วนหนึ่ง แต่ป้ายสุดท้ายก็ทำให้เยว่เฟยจำต้องกลับ) พอกลับถึงเมืองหลวง ฉินฮุ่ยก็ใส่ความและสังหารเยว่เฟยกับลูกชายเสีย ด้วยข้อหา "อาจจะเป็นกบฏ" (มีขุนนางถามฉินฮุ่ยว่า เยว่เฟยมีความผิดอะไรจึงต้องประหาร แต่ฉินฮุ่ยกลับตอบว่า "อาจจะมีก็ได้" ทำให้ฮือฮามาก ต่อมา ประโยคนี้ก็ได้กลายเป็นประโยคที่ใช้อ้างอิงในทำนองใส่ความคนอื่น) จนทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง (ถึงกับมีคนปั้นแป้งทอดน้ำมัน ให้เป็นรูปฉินฮุ่ยกับเมีย เรียกว่า "ฮุ่ยทอดน้ำมัน" (โหยวจ๋าฮุ่ย ในภาษาจีนกลาง หรือ อิ่วจาก้วย ในภาษาแต้จิ๋ว) และ "ผีทอดน้ำมัน" จนเป็นขนมยอดฮิตในหลินอัน และกลายเป็นตำนานปาท่องโก๋ แถมยังปั้นรูปปั้นฉินฮุ่ยกับเมีย คุกเข่าไว้หน้าศาลของเยว่เฟย ให้คนมาถ่มน้ำลายรด เป็นการล้างแค้น) ตอนหลังฉินฮุ่ยป่วยตาย ฮ่องเต้ยังอุตส่าห์ปูนบำเหน็จให้อีก (เชื่อเลย) แต่พอรัชกาลหลังจากนั้น ฮ่องเต้ก็ได้ยึดคืน และคืนความเป็นธรรมให้กับเยว่เฟย ตามที่ทายาทของเยว่เฟยร้องขอ (ดูรายละเอียดใน ๓๖ ยอดกตัญญู เรื่องของงักฮุย) หลังจากนั้น ราชวงศ์ซ่งก็ร่วมมือกับพวกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี พวกจิน, เซี่ยกับซี่ตาน แต่พอจัดการเสร็จ มองโกลก็ไม่หยุดแค่นั้น กลับหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง นอกจากนี้ กองทัพมองโกลยังแผ่แสนยานุภาพไปทั่ว จนถึงยุโรป อินเดีย จนเป็นที่หวาดกลัวของคนสมัยนั้นมาก พอเจงกิสข่านเสียชีวิต ฮูปิเล่ หลานปู่ของเจงกิสข่านได้ขึ้นเป็นข่านต่อ ชื่อว่า กุบไลข่าน และได้สืบเจตนารมณ์ของปู่ต่อ โดยการเข้าโจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งใต้บางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง สุดท้าย ก็มีขุนนาง หรือขันทีก็ไม่แน่ใจ อุ้มเจ้าปิ่ง ฮ่องเต้เด็กองค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ่ง โดดน้ำตายหนีความอัปยศ เป็นอันสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน

รูปปั้นเยว่เฟยหรืองักฮุย

รูปปั้นฉินฮุ่ยกับภรรยาที่ศาลของเยว่เฟย
ราชวงศ์หยวน/หงวน/มองโกล (พ.ศ.๑๘๒๓-๑๙๑๑ หรือ ค.ศ.๑๒๘๐-๑๓๖๘)
กุบไลข่าน
กุบไลข่านโค่นราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงสามารถชนะใจชาวจีนได้ และเป็นฮ่องเต้มองโกลพระองค์เดียว ที่ชาวจีนยอมรับ (เดิมทีนั้น พวกมองโกลขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องความโหด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากวิถีชีวิตเดิม ที่อยู่ในทุ่งหญ้า ทะเลทราย แถมยังเร่ร่อนไปเรื่อยๆ) นอกจากนี้ กุบไลข่านยังพยายามขยายดินแดนไปกว้างไกลมาก ถึงกับยกทัพเรือจะไปตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงไม่สำเร็จ
กุบไลข่านสนใจทางอักษรศาสตร์และวรรณกรรมมาก จึงส่งเสริมบทประพันธ์ต่างๆ ปรากฏว่า บทงิ้วในสมัยกุบไลข่านดีมาก จนไม่มีบทงิ้วสมัยใดเทียบได้ การติดต่อกับต่างประเทศ ก็เป็นไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นมาร์โคโปโล สมณทูตจากวาติกัน ก็ได้มาเยือนแดนจีนในยุคของกุบไลข่านนี่เอง
พอสิ้นยุคของกุบไลข่าน ก็ไม่มีกษัตริย์มองโกลองค์ใดเด่นเหมือนพระองค์ แถมพวกมองโกลยังออกกฎที่กดขี่ชาวฮั่นอย่างมาก จึงได้มีการพยายามโค่นล้มราชวงศ์หยวนอยู่ตลอดเวลา ฮ่องเต้องค์ต่อๆ มาของราชวงศ์หยวน ส่วนใหญ่ครองราชย์ไม่นานนัก และจะได้ครองราชย์ โดยการแย่งชิงอำนาจกัน เนื่องจากมองโกลไม่มีกฎแน่นอน เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ จวบจนฮ่องเต้องค์สุดท้าย หยวนซุ่นตี้ ซึ่งครองราชย์นานกว่าองค์ก่อนๆ ในยุคนี้ มีความวุ่นวายมาก เกิดภัยพิบัติขึ้นหลายที่ เชื้อพระวงศ์กับขุนนาง ก็ร่วมกันข่มเหงชาวบ้าน จึงมีกบฏเกิดขึ้นทั่วไป (ถึงตอนนี้ มีตำนานเกี่ยวกับวันไหว้พระจันทร์ว่าไว้ตรงช่วงนี้คือ พวกมองโกลบังคับให้ชาวฮั่นปลดอาวุธให้หมด และยังต้องเลี้ยงดูพวกมองโกลอีกด้วย จึงได้มีคนคิดทำขนมไหว้พระจันทร์ โดยสอดไส้จดหมายนัดหมายวันสังหารมองโกลไว้ข้างใน แต่ทำทีหลอกพวกมองโกลว่า ทำขนมไหว้พระจันทร์มาตามประเพณีเฉยๆ พอถึงวันที่ระบุไว้ คนจีนก็พร้อมใจกันฆ่ามองโกลตายทุกบ้าน แล้วลุกฮือขึ้นมาต่อต้านพร้อมกัน)
ครั้งนั้น มีชายผู้หนึ่งชื่อ



fhasatumton
#5   fhasatumton    [ 06-08-2007 - 16:00:31 ]    IP: 58.9.127.2

ราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗ หรือ ค.ศ.๑๓๖๘-๑๖๔๔)

หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง)

มงกุฎสมัยราชวงศ์หมิง ซ้าย มงกุฎฮ่องเต้ ขวา มงกุฎฮองเฮา
จูหยวนจาง ตั้งพระนามตนเองว่า หมิงไท่จู่ฮ่องเต้หรือหงหวู่ ได้ดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ด้วยความประหยัดมัธยัสถ์ ผ่อนปรน แก่ประชากรส่วนใหญ่ แต่ในทางการเมืองแล้ว ทรงมีความโหด...มเอาการ จนได้ชื่อว่า "ทรราชผู้ผ่อนปรน" ดังกรณีของหูเหวยยง ซึ่งตอนแรกทรงไว้ใจมาก แต่ตอนหลัง หูเหวยยงได้ก้าวก่ายฎีกาของพระองค์ รับสินบน สมคบกับโจรจะก่อกบฏ จึงทรงประหารเขาเสีย พร้อมกับพวกที่เกี่ยวข้องอีกกว่า ๓๐,๐๐๐ คน หรือ ในกรณีของหลานอี้ แม่ทัพใหญ่ ซึ่งใช้อำนาจข่มเหงราษฎร ขนสินค้าหนีภาษี จึงทรงประหารเขา พร้อมกับคนที่พัวพันถึง ๑๕,๐๐๐ คน พวกข้าราชการที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็ถูกประหารแล้วถลกหนังมายัดฟาง แขวนประจาน รวมทั้งผู้ต่อต้านด้วย ทรงรักษากฎหมายเข้มงวดมาก ครั้งหนึ่ง พระโอรสได้พยายามห้ามปราม ขณะที่พระองค์จะประหารผู้ที่บริสุทธิ์ ก็ทรงลืมตัว จะทำร้ายพระโอรส แต่ในที่สุดก็สำนึกได้ แล้วร้องไห้เข้ากอดกันทั้งพ่อลูก

หย่งเล่อ (จูตี้)
พระราชวังปักกิ่ง (กู้กง)

สุสานราชวงศ์หมิง (สุสาน ๑๓ กษัตริย์)
หอสังเวยเทวดาชิเหนียนเทียน
ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของหมิงไท่จู่คือ การใช้ศักราชเดียวตลอดทั้งรัชกาล (ปี "หงหวู่" หรือ "หงหวู่" ศก) ไม่เปลี่ยนศักราชพร่ำเพรื่อเหมือนในราชวงศ์ก่อนๆ ซึ่งเป็นแบบอย่างให้ฮ่องเต้องค์ต่อๆ มา รวมถึงราชวงศ์ชิงนำมาใช้ด้วย การที่ใช้ศักราชเดียวตลอดทั้งรัชกาลนี้ ทำให้ราษฎรนำชื่อศักราชมาใช้เรียกเป็นชื่อฮ่องเต้ (เช่น หย่งเล่อ, ฉงเจิน, คังซี ล้วนเป็นชื่อศักราชทั้งสิ้น) ปลายสมัยพระองค์ รัชทายาทจูเปียว ซึ่งมีจิตใจอ่อนโยน ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อน หมิงไท่จู่เศร้าพระทัยมาก จึงตั้งลูกของจูเปียวเป็นรัชทายาท ทำให้โอรสองค์อื่นๆ ไม่พอใจมาก ครั้นต่อมา หมิงไท่จู่สวรรคต รัชทายาทได้ขึ้นเป็น เจี้ยนเหวินฮ่องเต้ หรือฮุ่ยตี้ฮ่องเต้ (ในจอมใจจักรพรรดิ เรียกว่า "เจี้ยนเหวินตี้") ต่อมาไม่นาน เจ้าเอี้ยนอ๋อง จูตี้ อาคนที่ ๔ ของเจี้ยนเหวินตี้ (โอรสองค์ที่ ๔ ของหมิงไท่จู่) ซึ่งครองเมืองปักกิ่ง ได้ก่อกบฏ และเข้าตีเมืองหนานจิงได้ เจี้ยนเหวินตี้ได้หายไปอย่างลึกลับ บางกระแสว่า พระองค์สิ้นพระชนม์ตอนกรุงแตก แต่บางกระแสก็ว่า พระองค์ปลอมเป็นภิกษุ หลบหนีออกไปจากเมือง หรือบางกระแสก็ว่า พระองค์หนีออกไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เจ้าเอี้ยนอ๋องได้ขึ้นครองราชย์ นามว่า หย่งเล่อหรือเฉิงจู่ฮ่องเต้ กล่าวกันว่า หย่งเล่อกังวลกับคำครหาของผู้อื่นมาก เกี่ยวกับเรื่องที่ชิงราชบัลลังก์หลานตัวเอง จึงพยายามหาทางแก้ต่างให้ตัวเองตลอดเวลา ต่อมา ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ปักกิ่ง และได้ก่อสร้างพระราชวังปักกิ่งขึ้น (จริงๆ ไม่ได้เป็นคนสร้างเองหรอก แต่เป็นคนออกคำสั่งให้สร้างต่างหาก) โดยใช้ศิลปะตามแบบของสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง หย่งเล่อเป็นผู้ริเริ่มการค้าขาย กับต่างประเทศมากมาย เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่จีน โดยได้ให้ เจิ้งเหอ (ซันเป่ากงหรือซัมปอกง) ขันทีคนสนิทล่องเรือออกไปในมหาสมุทร รวม ๗ ครั้ง จนมีศาลเจ้าซันเป่าในหลายประเทศ รวมทั้งไทยด้วย (ว่ากันว่า การล่องเรือนี้ มีการเมืองแอบแฝงด้วย นั่นคือ ไปสืบหาตัวเจี้ยนเหวินตี้ พระนัดดาที่โดนแย่งราชบัลลังก์ว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่) มีการจัดทำหนังสือ "หย่งเล่อต้าเตี่ยน" รวบรวมสรรพวิทยาการในสมัยนั้นไว้ รวม ๑๑,๐๙๕ เล่ม แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณสามร้อยกว่าเล่มทั่วโลก (โดนชาวตะวันตกขโมยและเผาทำลายสมัยบุกจีน) ในสมัยนี้ มีชนเผ่าทะมู่เออร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจงกิสข่าน นำโดย พระเจ้าทะมู่เออร์แห่งซามัลข่าน (บางเล่มเรียกว่า ทาเมอร์เลน) ได้โจมตีชาวบ้านเขาไปทั่ว บุกถึงอินเดีย และรบชนะอินเดีย แถมยังเผาเมืองเดลลีจนราบ (ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า พวกคนโบราณนี่ทำไมเวลาตีเมืองได้แล้ว เป็นต้องเผาเมืองทุกที ไม่รู้มันจะอะไรกันนักกันหนา) ได้ยกทัพมาจะตีจีนให้ได้ แต่ว่าระหว่างทาง ทะมู่เออร์ได้สิ้นชื่อลงกลางทาง ทำให้ความทะเยอทะยานของเขาสิ้นสุดลง จีนซึ่งตั้งรับอยู่แล้วจึงส่งทูตไปสักการะศพ และความตึงเครียดก็จบลงด้วยดี
ทาเมอร์เลน (ทะมู่เออร์) เจิ้งเหอ
พอสิ้นสมัยหย่งเล่อ ฮ่องเต้องค์ต่อๆ มาก็ไม่มีอะไรเด่นนัก และในยุคหลังๆ ของราชวงศ์หมิง ขันทีเริ่มมีบทบาท (ในทางที่เสียๆ) มากขึ้น เริ่มใกล้ชิดกับฮ่องเต้ จนกลายเป็นหอกข้างแคร่ และเริ่มมีอำนาจเหนือฮ่องเต้ และใช้อำนาจในการฉ้อราษฎร์บังหลวงมากขึ้น (ส่วนใหญ่ ขันทีจะมีจิตใจผิดปกติอยู่เสมอ อาจเนื่องมาจาก มีส่วนประกอบไม่ครบเหมือนผู้ชายอื่นๆ ก็เป็นได้ ทำให้พยายามแก้จุดด้อยของตนเอง ด้วยความฉ้อฉลและอำมหิต) ดังเช่น หวางเจิน ในสมัยอิงจงฮ่องเต้ (จูชีเจิน) ในช่วงปี พ.ศ.๑๙๗๘-๑๙๙๒ (ค.ศ.๑๔๓๕-๑๔๔๙) โดยเดิมที หมิงไท่จู่ ได้ตั้งแผ่นเหล็กจารึกกฎมณเฑียรบาลไว้ ห้ามมิให้ขันทีเข้ามายุ่งเกี่ยว กับการบริหาร มิฉะนั้นจะถูกประหาร แต่หวางเจินตัวแสบ อาศัยจังหวะ ที่ไทเฮาสิ้นพระชนม์ ทำลายแผ่นเหล็กนั้นเสีย และได้เข้าก้าวก่ายการบริหาร ใช้อำนาจในทางที่ผิด ข่มเหงรังแกขุนนางอื่น และประชาชน จนในที่สุด ก็ถูกฆ่าตายในทัพหลวง แต่จูชีเจิน ก็ถูกข่านแห่งมองโกล จับตัวไปเป็นเชลย เป็นที่ขายหน้าอย่างยิ่ง แต่ก็ปล่อยตัวมาในภายหลัง แล้วยังอุตส่าห์สร้างศาลไว้ให้เจ้าตัวแสบหวางเจินอีก (เชื่อเขาเลย), หวางจือ ขันทีตัวแสบอีกคน ในสมัยจักรพรรดิเซียนจง ฮ่องเต้องค์ที่ ๙, หลิวจิ้น ในสมัยของเจิ้งเต๋อฮ่องเต้ หรือหมิงอู่จง (จูโฮ่วเจา) (พระเอกของเรื่อง จอมใจจักรพรรดิ) ฮ่องเต้องค์ที่ ๑๐ ซึ่งประวัติศาสตร์ระบุว่า เจิ้งเต๋อเป็นฮ่องเต้เจ้าสำราญ เป็นนักเที่ยวตัวยง อยู่ไม่ติดเมืองหลวง มักจะออกไปเที่ยวที่ต่างๆ อยู่เสมอ บางครั้งไม่กลับปักกิ่งนานเป็นเดือน เป็นปีทีเดียว จนดูเหมือนว่าจะไม่ยี่หระกับราชบัลลังก์นัก มิหนำซ้ำ ยังมีขันทีจอมอำมหิตอีกต่างหาก (ไปกันได้ดีเหลือหลาย ทั้งนายทั้งบ่าว) ซึ่งหลิวจิ้น ได้ใช้ประโยชน์จากความเจ้าสำราญ ของฮ่องเต้นี่เอง หาผู้หญิงมาบำเรอ ให้อยู่แต่ในห้องหอ ไม่ออกว่าราชการ แล้วเข้ารวบอำนาจไว้ ข่มเหงรังแกผู้อื่น วางแผนก่อกบฏ เพื่อจะเป็นฮ่องเต้เสียเอง จนขุนนางอื่นทนไม่ไหว แถมจูจื่อฟาน อ๋องแห่งราชวงศ์หมิงเอง ก่อกบฏ แล้วประกาศความผิดของหลิวจิ้น จนสุดท้ายหลิวจิ้นถูกจับได้ แล้วโดนแล่เนื้อเป็นชิ้นๆ ในยุคนี้ ญี่ปุ่นเริ่มเข้ามารุกรานจีนแล้ว
จนมาถึงสมัยของฮ่องเต้ว่านลี่ จูอี้จุน/จูอี้จิง (สมัยที่ท่านเหลี่ยวฝานมีชีวิตอยู่) ในตอนต้นของสมัยว่านลี่ พระองค์ได้ตั้งความหวังไว้ว่า จะเป็นฮ่องเต้ที่ดีให้ได้ ช่วงนั้นว่านลี่ขยันมากๆ ออกว่าราชการทุกวัน เอาใจใส่ราชกิจเต็มที่ ทำให้ช่วงนั้นราชวงศ์หมิงรอดปากเหยี่ยวปากกาจากญี่ปุ่นไปได้ (ซึ่งหากทำได้ตลอดรอดฝั่ง ราชวงศ์หมิงคงจะไม่ล่มจมหรอก) แต่แล้วพอผ่านไปราว ๒๐ ปีก็เหลว ว่านลี่ไม่ยอมออกว่าราชการเอง จากฮ่องเต้จอมขยันกลายเป็นฮ่องเต้ ค.ข.ก. (โคตรขี้เกียจ) เอาแต่เสเพลคล้ายๆ เจิ้งเต๋อ ปล่อยให้พวกขันที และข้าราชการจัดการกันเอง ทำให้บ้านเมืองระส่ำระสาย มีการคอร์รัปชั่นกันเป็นว่าเล่น แถมว่านลี่ยังครองราชย์นานมาก ยิ่งนานยิ่งเบี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ (กลายเป็น ฮ่องเต้จอมเบี้ยวราชกิจ และแน่นอน เป็นฮ่องเต้ 2 in 1 แห่งราชวงศ์หมิง) แถมยังไม่ยอมให้ข้าราชการเข้าเฝ้าด้วย ยิ่งทำให้บ้านเมืองย่ำแย่มากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้คนรุ่นหลังกล่าวกันว่า ต้นเหตุแห่งความล่มสลายของราชวงศ์หมิง ส่วนหนึ่งแล้วก็มาจากว่านลี่นี่เอง ที่เพาะปัญหาไว้มากมาย จนแก้ไม่ได้อีกแล้ว ราชวงศ์หมิงจึงอ่อนแอลงทุกที
หลังจากว่านลี่สิ้นพระชนม์ลง (สุสานหนึ่งเดียวที่ขุดพบที่สุสานราชวงศ์หมิง หรือสุสาน ๑๓ กษัตริย์ ก็คือ สุสานของว่านลี่นี่เอง) ฮ่องเต้องค์ถัดมาชื่อว่า ซีจงหรือเทียนฉี (จูอิ่วเซียว) "ฮ่องเต้ช่างไม้" (เพราะไม่ใส่ใจบริหารบ้านเมือง สนใจแต่ทางช่างไม้ มิหนำซ้ำยังอ่านหนังสือไม่ออกอีกต่างหาก ไม่รู้เหมือนกันว่า ได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทได้ยังไง? แต่ก็อย่างว่า ตัวฮ่องเต้ว่านลี่อาจจะไม่ได้แต่งตั้งเองก็ได้ ในเมื่อเป็นจอมเบี้ยวอยู่แล้ว) สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากฝีมือของ เว่ยจงเซียน ขันทีอุบาทว์ ซึ่งข่มเหงรังแกขุนนางอื่น และ วางแผนส่งลูกหลานตัวเอง เข้าครองบัลลังก์ จนชาวบ้านเรียกว่า "พญาเก้าพันปี" แต่ว่า จูอิ่วเซียวก็สวรรคตเสียก่อน (ดีแล้วที่ไปเสียก่อน ไม่งั้นหมิงซีจงอาจจะกลายเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายแทนหมิงซือจง) อนุชาของจูอิ่วเซียว ซึ่งเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง ชื่อว่า ซือจงหรือฉงเจิน (จูอิ่วเชียน) ได้ครองราชย์ต่อ ซึ่งฉงเจินได้รู้สึกแล้ว ถึงความเลวร้ายที่เกิดจากขันที จึงจัดการเช็กบิลกับเว่ยจงเซียน ทำให้เว่ยจงเซียนต้องชิงฆ่าตัวตายก่อน แต่นั่นก็สายไปเสียแล้ว สถานการณ์ในบ้านเมืองเลวร้าย เกินกว่าจะเยียวยา เกิดภัยพิบัติขึ้นในแผ่นดิน แถมยังมีสงครามจากพวกแมนจูอีกต่างหาก แล้วตัวของฉงเจินเองก็ใช่ย่อย ปล่อยข้าราชการโกงกินกันสะบั้นหั่นแหลก เอารัดเอาเปรียบประชาชน

ธงทั้งแปดของกองทัพแปดธง
ในขณะที่ราชวงศ์หมิงกำลังปั่นป่วนนั่นเอง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในดินแดนแมนจูเรีย ชนเผ่าแมนจู ซึ่งก็คือลูกหลานของเผ่าจิน/กิม ที่เป็นคู่ปรับราชวงศ์ซ่งในอดีต ได้เริ่มสร้างอาณาจักรของตนเอง นูร์ฮาซื่อ แห่งตระกูลอ้ายซินเจี๋ยหลอ ได้สถาปนาราชวงศ์ชิงของตนขึ้น ด้วยความเข้มแข็ง พัฒนากองทัพเป็นระบบ "กองทัพแปดธง" (มีทัพย่อย ๘ ทัพ โดยแต่ละทัพมีสัญลักษณ์เป็นธงที่สีไม่เหมือนกัน เน้นการสู้รบโดยใช้ธนูบนหลังม้า) เมื่อใกล้จะสิ้นใจ นูร์ฮาซื่อตั้งใจจะมอบบัลลังก์ข่านของตน ให้แก่ทอร์กุน (บางเล่มเรียก ดอร์กอน หรือ ตัวร์กูน) โอรสองค์ที่ ๑๔ แต่ว่า ทอร์กุนยังมีอายุไม่มากนัก จึงถูกฮองไทจี๋ โอรสองค์ที่ ๘ แย่งไป ตั้งชื่อให้ตนว่า เทียนซุงหรือเทียนจุง ระหว่างนั้น ราชวงศ์ชิงเริ่มทำสงครามกับราชวงศ์หมิง แล้วฮองไทจี๋ก็ประชวร สวรรคตเมื่อพระชนม์ได้ ๒๕ ปี พวกขุนนางแมนจูจึงได้เปิดสงครามน้ำลายกัน เพื่อแย่งตำแหน่งข่าน (ฮ่องเต้) กันขึ้น ปัญหาจบลงด้วยการให้ ฟุหลิน โอรสองค์ที่ ๙ ของฮองไทจี๋ เป็นฮ่องเต้ ตั้งนามว่า ซุ่นจื้อ โดยให้ทอร์กุนเป็นผู้สำเร็จราชการ
หลี่จื้อเฉิง
ย้อนกลับไปที่ราชวงศ์หมิงอีกครั้ง เนื่องจากความบีบคั้น จากภัยพิบัติและข้าราชการที่รีดนาทาเร้น หลี่จื้อเฉิง ได้ก่อกบฏชาวนาขึ้น เข้าตีเมืองต่างๆ ได้จนในที่สุด ก็เข้าถึงเมืองปักกิ่ง ราชธานี ครั้นฉงเจินรู้ก็เสียใจมาก กล่าวว่า "อนิจจา รัชกาลของเราสิ้นสุดลงแล้ว" แล้วทุกคนในท้องพระโรงก็ร้องไห้ ด้วยความเสียใจอย่างยิ่ง บรรดามเหสีและข้าราชบริพาร ต่างก็ฆ่าตัวตาย ฉงเจินยกดาบฟันแขนพระธิดาของตนขาด แต่ก็ไม่อาจฟันต่อได้อีก จึงหนีออกไปแขวนคอตายกับต้นก้ามปูต้นหนึ่งที่เขาจิ่งซัน หรือเหมยซัน (เป็นเขตพระราชฐาน) ที่อยู่หลังพระราชวังปักกิ่งนั่นเอง (ทุกวันนี้ต้นก้ามปูต้นนั้นก็ยังอยู่) ขุนนางที่ยังเหลือ จึงยอมเปิดประตูวังให้หลี่จื้อเฉิงแต่โดยดี หลังจากที่ยึดปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิง ได้ประกาศให้อู๋ซานกุ้ย ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารของราชวงศ์หมิง ประจำด่านซันไห่กวน (จุดที่กำแพงเมืองจีนบรรจบทะเล) ยอมจำนน ตอนแรก อู๋ซานกุ้ยก็ได้ทำท่าจะจำนน แต่เขาทราบว่า พ่อและเมียน้อยของเขา (เฉินหยวนหยวน) ถูกหลี่จื้อเฉิงจับไป เขาจึงไม่ยอมจำนนทันที ประกาศว่าจะแก้แค้นแทนฉงเจิน แต่เขาก็มีกำลังทหารน้อย ไม่พอต่อกรกับหลี่จื้อเฉิง จึงเริ่มสมคบกับแมนจู (ตรงนี้ อู๋ซานกุ้ยถูกสับเละในประวัติศาสตร์ว่า เป็นคนขายชาติ เพราะปล่อยให้นางงามเมืองเพียงคนเดียว มาทำให้บ้านเมืองพินาศฉิบหาย ส่วนเฉินหยวนหยวนก็ถูกประณามว่าเป็นนางผู้ล้มแผ่นดิน) ไปหาทอร์กุน ให้เขาส่งทหารมาช่วย ครั้นหลี่จื้อเฉิงรู้ว่า เขาทรยศ จึงได้ยกทัพมาปราบเอง และได้สู้กันจนฝ่ายอู๋ซานกุ้ยอ่อนแรงลง ทหารของทอร์กุนก็ได้โจมตีหลี่จื้อเฉิงอย่างดุเดือด จนต้องล่าถอยกลับไปปักกิ่ง ตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ แล้ววางเพลิงเผาพระราชวัง (อีกละ) หลังจากนั้น ทหารแมนจูก็ได้ตามไล่หลี่จื้อเฉิง จนได้ชัยชนะ หลี่จื้อเฉิงหายไปอย่างลึกลับ ไม่มีใครทราบชะตากรรมของเขาอีก (กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า คนในชาติมัวแต่กัดกันเอง ในที่สุดคนต่างด้าวก็กลายเป็นตาอยู่ เข้ามาครองแผ่นดินหน้าตาเฉย)
ทอร์กุนได้อัญเชิญซุ่นจื้อมาครองราชย์ต่อที่ปักกิ่ง ตั้งปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (เซ้งลี้ของราชวงศ์หมิงมาหมด ไม่ว่าเมืองหลวง พระราชวัง) เปิดศักราชแมนจูครองแผ่นดิน และได้ทำการกวาดล้างบรรดาอ๋อง เชื้อพระวงศ์ ของ "ต้าหมิง" จนหมด

ด่านซันไห่กวน
ราชวงศ์ชิง/เช็ง/แมนจู (พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๔ หรือ ค.ศ.๑๖๔๔-๑๙๑๑)
ซุ่นจื้อหรือฟุหลิน
ทอร์กุนได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อ เพราะซุ่นจื้อยังพระชนม์น้อยอยู่ เขาได้จัดพระราชพิธีศพให้กับฉงเจิน ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง อย่างสมพระเกียรติ ทอร์กุนผู้นี้เอง ได้ออกพระราชกฤษฎีกา ให้ชายจีนทุกคนไว้ทรงผมสุดเท่ โดยไว้ผมเปียยาว โกนข้างหน้าครึ่งหัวเหมือนชาวแมนจู โดยให้เวลาไว้ผมประมาณ ๒ อาทิตย์ หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ใครไม่ไว้เปียจะถูกตัดหัว แม้จะมีผู้คัดค้านมาก แต่เขาก็ไม่สนใจ (สังเกตผู้ที่มีอำนาจทุกคน เหมือนกันไปหมดราวกับติดไวรัส จะเอาตัวเองว่าเป็นหลัก ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น ไม่เว้นแม้แต่นักการเมืองในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน) ว่ากันว่า ผู้ถูกตัดหัวในคราวนั้น มีร่วมล้านคน จนมีคำกล่าวว่า "จะเอาผมหรือจะเอาหัว" ชาวจีนชิงชังผมทรงอุบาทว์นี้มาก เรียกว่า "ทรงขี้ข้าแมนจู" และแน่นอน ย่อมชิงชังไปถึงราชวงศ์แมนจูด้วย จึงเกิดกระแส "ล้มชิงกู้หมิง" คอยหาทางโค่นบัลลังก์ ตลอดเวลาที่แมนจูเรืองอำนาจ ทอร์กุนหลงระเริงในอำนาจมาก อาจเนื่องมาจากเก็บกดมาจากการที่ ตัวเองถูกฮองไทจี๋แย่งบัลลังก์ เขาจึงจ้องอยากได้บัลลังก์ฮ่องเต้ของซุ่นจื้อ อยู่ตลอดเวลา ชนิดเผลอไม่ได้ เขาไม่ยอมให้ซุ่นจื้อเรียนหนังสือ ไม่ว่าใครจะทัดทานก็ไม่สนใจ แถมยังพยายามยัดเยียดฮองเฮา ให้กับซุ่นจื้ออีกโดยไม่สนใจว่า ซุ่นจื้อจะรู้สึกอย่างไร โดยมีจุดประสงค์เดียวคือ กุมซุ่นจื้อให้อยู่ในกำมือตนให้ได้ มารดาของซุ่นจื้อเห็นโอรสกำลังเป็นเหยื่อ "คนโฉด" ก็ได้อภิเษกกับทอร์กุน เพื่อเบรกๆ ทอร์กุนไว้บ้าง แต่ก็ไร้ผล เพราะทอร์กุนแอบไปอภิเษกกับเจ้าหญิงของเกาหลี พยายามแย่งเมียคนอื่นมาเป็นของตน ในที่สุด กรรมก็ตามสนองเขา เมื่อเขาอาเจียนเป็นเลือดแล้วตายในที่สุด
การตายของทอร์กุน ทำให้ซุ่นจื้อได้เป็นอิสระ จึงได้พยายามศึกษาอย่างขยันขันแข็ง พยายามบริหารบ้านเมืองอย่างดี เนื่องจากขณะนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับชนชั้นอย่างมาก จึงได้พยายามให้ความสำคัญกับชาวจีนมากขึ้น ลดอิทธิพลของชาวแมนจูลง เพื่อลดความตึงเครียด จากการเผชิญหน้ากัน มีการสักการะขงจื๊อ กวนอวี่ เพื่อแสดงว่า เลื่อมใสในบุคคลเหล่านี้ (มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า การที่ยุคหลังๆ มีการยกกวนอวี่ขึ้นมาจนเป็นระดับซูเปอร์เทพ หรือแม้แต่ยกให้เป็นเง็กเซียนฮ่องเต้เลยนั้น เริ่มเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง โดยมีเหตุผลทางการเมืองแทรกอยู่ด้วย กล่าวคือ ต้องการกดไม่ให้มีคนกล่าวขานถึง งักฮุยหรือเยว่เฟยมากจนเกินไป ทั้งๆ ที่วีรกรรมของเยว่เฟยนั้น ควรจะโด่งดังกว่ากวนอวี่ด้วยซ้ำ แต่พวกแมนจูมองว่า เยว่เฟยนั้นต่อต้านพวกจินอย่างแข็งขัน ซึ่งก็คือต่อต้านพวกตนด้วย เพราะแมนจูนั้น สืบเชื้อสายมาจากพวกจิน ทำให้แมนจูไม่ปลื้มนัก จึงหาทางยกกวนอวี่ขึ้นมาแทน) พระองค์ได้ตั้งหลักศิลาจารึกนาม ฉงเจินแห่งราชวงศ์หมิงไว้ แล้วยกย่องให้เป็นผู้อุทิศตนเพื่อบ้านเมือง อู๋ซานกุ้ยก็ได้รับตำแหน่งเป็น "ผิงซีอ๋อง" เพราะมีความดีความชอบมาก ต่อมา ทรงยกน้องสาว ให้อภิเษกกับลูกชายของอู๋ซานกุ้ย และได้เก็บบทเรียนสำคัญมาก ซึ่งล้มราชวงศ์หมิงมาแล้ว มาเป็นอุทาหรณ์ นั่นก็คือ "ขันที" ตัวแสบ จะไม่ยอมให้ก้าวก่ายโดยเด็ดขาด กับทั้งลดหย่อนภาษีราษฎร เพื่อช่วยเหลือประชากร
ต่อมา ซุ่นจื้อก็ประชวรด้วยไข้ทรพิษ สิ้นพระชนม์ในขณะที่พระชนม์เพียง ๒๔ พรรษา เสวียนเยี่ย โอรสที่เหลือรอดจากไข้ทรพิษเพียงองค์เดียว ได้ครองราชย์ต่อ ตั้งนามว่า คังซี ขณะนั้นมีพระชนม์เพียง ๙ พรรษา โดยมีพระนางเสี้ยวจวงฮองเฮาคอยสนับสนุนอยู่ข้างหลัง (ว่ากันว่า พระนางเสี้ยวจวงนี้ เป็นหญิงแกร่งแห่งราชวงศ์ชิงตัวจริงยิ่งกว่าซูสีไทเฮาเสียอีก เพราะอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของฮ่องเต้ถึง ๓ องค์) ในตอนนั้น เอ๋าไป้ ได้ยึดกุมอำนาจไว้ และใช้อำนาจตามใจชอบ ทำให้ฮ่องเต้น้อย (สำนวนจีนเรียก "เสี่ยวคังซี" หรือ "คังซีน้อย") ซึ่งมีพระชนม์ขณะนั้น ๑๖ พรรษาไม่พอพระทัย จึงวางแผนใช้ขันทีเด็กที่เลี้ยงไว้ เช็คบิลกับเอ๋าไป้ เพราะพึ่งพาคนอื่นไม่ได้ เนื่องจากเป็นพวกของเอ๋าไป้หมด พอกำจัดได้ก็เช็คบิลถึงครอบครัว และพรรคพวกของเอ๋าไป้ด้วย พวกขุนนางก็ยอมซูฮกแต่โดยดี (เรื่องราวตอนนี้ มีคนเอาไปแต่งเป็นนิยายจีนเรื่อง "อุ้ยเสี่ยวป้อ") คังซีเป็นนักปกครองที่เก่งกาจคนหนึ่ง ได้สร้างความเจริญให้กับจีนมากทีเดียว ทั้งมีการสำรวจ เพื่อทำแผนที่ประเทศจีน ร่วมกับชาวตะวันตกได้อย่างทันสมัยมาก, มีการทำหนังสือรวบรวมสรรพวิทยาการ, ขุดลอกคลองต้ายุ่นเหอ และแก้ปัญหาทางชนชั้นกับชาวจีนได้ดี สมัยนี้ รัสเซียเข้ามารุกราน คังซีได้นำทัพด้วยตัวเอง และได้ชัยชนะ แถมยังได้ยึดครองไต้หวันด้วย ต่อมา อู๋ซานกุ้ยได้พยายามก่อกบฏ เขาได้ยื่นข้อเสนอให้คังซีนำชาวแมนจูทั้งหมด อพยพกลับไปตั้งอาณาจักรของตนที่แมนจูเรีย แล้วจะไม่เอาผิด โดยพยายามขอความร่วมมือจากคนอื่นๆ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ เพราะคนอื่นมองว่า เขาทรยศต่อแผ่นดินเกิดได้ (จากกรณีสมคบกับแมนจู ทำให้แมนจูเข้ามาครองจีนได้) ก็ย่อมจะทรยศกับคนอื่นได้เช่นกัน คังซีปฏิเสธข้อเสนอของเขา อู๋ซานกุ้ยกลัวจะถูกประหาร จึงชิงฆ่าตัวตายไปก่อน คังซีได้ครองแผ่นดินนานถึง ๖๑ ปี ทรงชอบการล่าสัตว์มาก ได้สร้างลานล่าสัตว์ใหญ่ไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อถึงฤดูกาล ก็จะพาขุนนางมาล่าสัตว์กัน (อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี อย่าเอาอย่าง) ในตอนปลายรัชสมัย ได้เกิดกรณี "ศึกสายเลือด" ขึ้นในหมู่โอรส องค์ชายอิ้นเจิน หรือ องค์ชาย ๔ ได้ต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท จนได้ตำแหน่งมาในที่สุด พอหลังจากนั้นไม่นาน คังซีก็สิ้นพระชนม์
กษัตริย์องค์เด่นๆ ๓ องค์แห่งราชวงศ์ชิง (จากซ้ายไปขวา เฉียนหลง, คังซี, หย่งเจิ้น)


ฮ่องเต้ปู่หลานคู่เอกแห่งราชวงศ์ชิง ซ้าย คังซี ขวา เฉียนหลง
อิ้นเจิน ได้ครองราชย์เป็น หย่งเจิ้นฮ่องเต้ จากศึกสายเลือดนี่เอง ทำให้ได้ฉายาว่า "หย่งเจิ้น จักรพรรดิกระบี่เลือด" หย่งเจิ้น ศรัทธาในศาสนาพุทธมาก สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ นอกจากนั้นยังศรัทธาในลัทธิเต๋าด้วย และยังได้พยายามผนวกทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่ไม่สำเร็จ หย่งเจิ้นปกครองด้วยความเข้มงวดกวดขัน พระองค์ได้รับนักพรตเข้ามาอยู่ในวัง ให้ปรุงยาอายุวัฒนะถวาย นี่เอง ทำให้หย่งเจิ้นสิ้นพระชนม์ หลังจากครองราชย์ได้เพียง ๑๓ ปี
เฉียนหลง (หงลี่)
จากนั้น หงลี่ โอรสคนโปรดของหย่งเจิ้น (และเป็นพระนัดดาคนโปรดของคังซีด้วย) ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่ออย่างราบรื่น อันเนื่องมาจาก การคัดเลือกรัชทายาทอย่างเป็นระบบ ของหย่งเจิ้น (ใช้วิธีเขียนพระราชโองการไว้ก่อน แล้วเก็บไว้หลังป้ายในตำหนัก โดยไม่มีใครรู้) ใช้ชื่อว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ (ตรงนี้ก็มีเรื่องซุบซิบอีกว่า เฉียนหลงไม่ใช่โอรสแท้ๆ ของหย่งเจิ้น แต่เป็นลูกชายเศรษฐีเฉินที่เมืองไห่หนิงทางใต้ ซึ่งบังเอิญเกิดวันเดียวกับธิดาของหย่งเจิ้น หย่งเจิ้นรู้เข้า จึงรับสั่งให้สับเปลี่ยนเด็ก ซึ่งเศรษฐีเฉินก็ไม่กล้าขัด และบังเอิญว่าลูกเศรษฐีเฉินฉลาด จึงเป็นคนโปรดของทั้งหย่งเจิ้นและคังซี และเมื่อครองราชย์แล้วก็เคยไปเยี่ยมญาติที่ไห่หนิงอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะประพาสทางใต้ครั้งที่ ๖) หลังจากครองราชย์ ได้สร้างความเจริญให้กับบ้านเมืองมาก (ส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านวัตถุ) มีการสั่งให้จัดทำหนังสือชุด ซื่อคู่เฉวียนซู (หนังสือชุดรวม ๔ ด้าน) รวม ๓๖,๓๐๔ เล่ม และได้แพร่ขยายอาณาเขตไปกว้างไกลมาก ประกอบกับจังหวะของเฉียนหลงค่อนข้างดี จึงมีชนกลุ่มน้อยมาสวามิภักดิ์ อีกเรื่องหนึ่งคือ เฉียนหลงได้พยายามระงับกระแส "ต้านชิงกู้หมิง" โดยใช้วิธี "แบ่งแยกแล้วปกครอง" โดยพยายามทำให้ประชาชนแตกคอกัน รวมกันไม่ติด จนไม่สามารถล้มตัวเองได้ (เอ! ทำไมคุ้นๆ หว่า? เหมือนใครก็ไม่รู้ในประเทศสารขัณฑ์เป๊ะ) จนว่ากันว่า สำนักวรยุทธ์ต่างๆ ต่างก็บรรลัยย่อยยับไปในสมัยเฉียนหลงนี่เอง จากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง นอกจากนั้น ในยุคคังซีต่อเนื่องถึงเฉียนหลง มีคนโดนจับประหารหรือขุดศพขึ้นมาประจานมากมาย เนื่องจากพยายามต่อต้านแมนจู แสดงให้เห็นว่า ฮ่องเต้เหล่านี้ก็นับว่าโหดไม่เบา ไม่รู้เป็นเพราะเหตุนี้หรือเปล่า ทายาทราชวงศ์ชิงที่หลงเหลืออยู่ปัจจุบันหลายๆ คนจึงค่อนข้างตกต่ำในชีวิต เฉียนหลงเชี่ยวชาญ และโปรดการกาพย์กลอนมาก ชนิดที่ใครต่อกลอนกับพระองค์เก่งๆ ก็จะกลายเป็นคนโปรดไปเลย เฉียนหลง เป็นฮ่องเต้ที่ค่อนข้าง อาภัพในด้านความรัก เพราะฮองเฮาฟุฉาซื่อได้จากไปตั้งแต่ยังสาว ครั้นแต่งตั้งฮองเฮาอีกองค์ ก็ผิดใจกันจนทำเรื่องผิดกฎมณเฑียรบาล (ใช้กรรไกรตัดผมตัวเอง) จนถูกลดบรรดาศักดิ์ลงตอนที่สิ้นไปแล้ว (มีบันทึกไว้เกี่ยวกับสนมของเฉียนหลงคนหนึ่ง ซึ่งมีฉายาว่า "แม่นางตัวหอม" ซึ่งระบุว่า เป็นชนเผ่าหุย ชื่อ "เซียงเฟย" มีชื่อเสียงในด้านมีกลิ่นตัวที่หอมมาก เฉียนหลงโปรดนางมาก แต่ไทเฮาของเฉียนหลงไม่โปรด จึงประทานความตายให้นาง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มีการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับนางทั้งที่บ้านเกิด ได้ความว่า นางน่าจะมีชื่อว่า "หรงเฟย" และมีข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกับเซียงเฟย ทั้งยังได้เจอหลุมศพของนางด้วย ซึ่งจากหลักฐานปอยผมในหลุมศพทำให้เชื่อว่า หรงเฟยหรือเซียงเฟยน่าจะสิ้นชีวิตตอนอายุมากแล้ว เพราะปอยผมมีสีเทาแซมด้วย แสดงว่านางมิได้ถูกประทานความตายให้ดังที่เชื่อกัน) แถมยังอาภัพในเรื่องรัชทายาทอีกด้วย พระโอรสองค์โปรด หย่งเหลียน ก็ตายตั้งแต่ยังเด็ก หย่งฉี องค์ชาย ๕ ก็ไม่มีโอกาสได้เป็นฮ่องเต้ (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังหนุ่ม) กล่าวกันว่า เฉียนหลงเป็น "ฮ่องเต้นักเที่ยว" ตัวยงองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองไปมาก ครั้นแล้ว เฉียนหลงได้พบกับ ข้าราชบริพารหนุ่มหล่อคนหนึ่ง ชื่อ เหอเซินหรือเหอคุน ต่อมา เหอเซินได้เป็นคนโปรดของเฉียนหลง (กรุณาอย่าเข้าใจผิดว่า เฉียนหลงเป็นตุ๊ด แค่เป็นคนโปรดเฉยๆ) ว่ากันว่า มาจากความหล่อเหลาของเหอเซินนั่นเอง มีครั้งหนึ่ง เหอเซินจับไต๋ของเฉียนหลงได้ ว่าหากต่อกลอนเก่งๆ จะเป็นคนโปรด จึงไปซุ่มซ้อมมือมา และต่อกลอนได้ถูกใจเฉียนหลง เฉียนหลงจึงประทานองค์หญิง ๑๐ พระธิดาองค์โปรด ให้หมั้นกับลูกชายของเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมาก็ได้อภิเษกกัน ลูกชายของเหอเซินได้เป็นราชบุตรเขย เหอเซินจึงมีบทบาทมากขึ้น เขาจึงหลงระเริงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นคนเจ้าเล่ห์ ละโมบโลภมาก คอร์รัปชั่น ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากในตอนปลายรัชกาล แทบจะกล่าวได้ว่า เฉียนหลง เป็นทั้งผู้นำความเจริญ และความวินาศ มาสู่ราชวงศ์ชิง (และเราก็เต็มใจมอบตำแหน่ง ฮ่องเต้ 2 in 1 แห่งราชวงศ์ชิงแก่เฉียนหลงนี่เอง)
เหอเซิน
เจียชิ่ง (หย่งเอี๋ยน)

ต่อมา เมื่อเฉียนหลงปีที่ ๖๐ เฉียนหลงได้ประกาศสละราชสมบัติ โดยให้ หย่งเอี๋ยน องค์ชาย ๑๕ เป็นรัชทายาท ครองราชย์เป็น เจียชิ่งฮ่องเต้ อย่างไรก็ดี เฉียนหลงยังคงกุมอำนาจบริหารต่อไป เจียชิ่งเป็นเพียงหุ่นเชิดของพระบิดาเท่านั้น ต่อมา จากความบีบคั้น พวกลัทธิบัวขาว ได้ก่อกบฏชาวนาขึ้น เป็นกบฏครั้งใหญ่ในราชวงศ์ชิง ต้องใช้เวลาปราบถึง ๙ ปี จึงจะสงบ ระหว่างนั้น เฉียนหลงก็สิ้นพระชนม์ลงอย่างตรอมใจ หลังจากเฉียนหลงสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน เจียชิ่งก็ "เช็กบิล" เหอเซินทันที จัดการปลดเขาออกจากตำแหน่ง ริบสมบัติเข้าหลวง เหอเซินรู้ชะตาตัวเองดี จึงชิงฆ่าตัวตายไปก่อน นี่ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงของเจียชิ่ง หลังจากนั้น ก็ไม่มีอะไรเด่นๆ อีก
ยุคหลังจากเฉียนหลงเป็นต้นมา เป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงตกต่ำ อันเนื่องมาจาก ฮ่องเต้ถัดๆ มา ไม่เก่งกาจอะไร ความเสื่อมที่เริ่มลุกลามมาจากปลายสมัยของเฉียนหลงเอง ผนวกกับความชิงชังของชาวจีน ที่ยังไม่เสื่อมคลาย และยังมีปัญหาแทรกซ้อนจากการรุกราน ของชาวตะวันตก ดังเช่น กรณีสงครามฝิ่น ๒ ครั้ง (ครั้งแรกปี ค.ศ.๑๘๔๐-๑๘๔๒/พ.ศ.๒๓๘๓-๒๓๘๕ ครั้งที่สองปี ค.ศ.๑๘๕๖-๑๘๖๐/พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๐๓) ซึ่งจีนยึดฝิ่นของอังกฤษไว้แล้วเผาทิ้ง แล้วปิดร้านฝิ่นของอังกฤษ ทำให้อังกฤษส่งทัพเรือ เข้ามาสู้กับจีน ซึ่งผลออกมา จีนแพ้ ต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษเช่า (ไทยเองก็โดนยึดดินแดนไปโข ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง นี่คือ บทเรียนจาก ยุคล่าอาณานิคมของพวกฝรั่ง) ฮ่องเต้ถัดจากเจียชิ่งมา ชื่อ เต้ากวง ซึ่งไม่มีผลงานเด่นๆ (นอกจากเรื่องสงครามฝิ่น) องค์ต่อมาชื่อ เสียนเฟิง ขึ้นชื่อในด้านเจ้าชู้ ทำให้ครองราชย์ได้เพียง ๑๐ ปี เสียนเฟิง ได้รับนางเยโฮนาลา มาเป็นเจ้าจอมหลัน ซึ่งมีความทะเยอทะยานมาก ต่อมาเจ้าจอมหลันได้เป็นพระนางซูสี มเหสีฝ่ายซ้าย ในรัชกาลนี้ มีกบฏไท่ผิง (ไท่ผิงเทียนกว๋อ) เกิดขึ้นในปี ค.ศ.๑๘๕๑ (พ.ศ.๒๓๙๔) ก่อการจลาจลไปทั่วทุกภาคของจีนนานถึง ๑๐ ปี ตั้งกองบัญชาการที่นานกิง กบฏไท่ผิงมีกำลังเข้มแข็งมาก ต่อสู้กับทหารของรัฐจนเกือบจะได้ชัยชนะ (ถ้าทำสำเร็จ จีนอาจจะมีราชวงศ์ใหม่เกิดขึ้น และราชวงศ์ชิงจะมีอายุเพียงสองร้อยปีนิดๆ เท่านั้น) แต่ต่อมา กบฏไท่ผิงได้มีความขัดแย้งกันภายใน มีการไล่ฆ่ากันเอง ความแตกแยกนี้ ทำให้ทหารฝ่ายรัฐกลับเป็นฝ่ายได้เปรียบ และได้ชัยชนะในที่สุด จากนั้น เสียนเฟิงสิ้นพระชนม์ โดยก่อนสิ้นพระชนม์ได้ฝากราชโองการลับไว้ฉบับหนึ่ง ให้กับมเหสีฝ่ายขวาคือ พระนางซูอัน เพื่อปราบเจ้าจอมหลัน ซึ่งได้เลื่อนเป็นพระนางซูสี มเหสีฝ่ายซ้ายแล้ว มเหสีทั้งคู่ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระโอรส ฮ่องเต้ถ่งจื้อ ซึ่งยังเยาว์อยู่ ต่อมา นางซูสีได้ใช้อุบายทำให้พระนางซูอันหลงกล แล้วยอมเผาราชโองการลับนั้นทิ้ง และยังวางยาสังหารพระนางซูอันอีกด้วย รวบอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว
ซูสีไทเฮา
พอถ่งจื้อเจริญวัยขึ้น ก็กลับสิ้นพระชนม์ลง นางซูสีตั้งพระนัดดาขึ้นเป็นฮ่องเต้ นามว่า กวงสู่ กวงสู่หวาดกลัวนางมาก ไม่กล้าหือแม้แต่นิดเดียว แม้ว่าจะพยายามปรับปรุง การเมืองการปกครองให้ทันสมัยอย่างไร ก็ทำได้เพียง ๑๐๐ วัน จึงเรียกการปฏิรูปครั้งนี้ว่า "การปฏิรูป ๑๐๐ วัน" ความลับเรื่องปฏิรูปนี้ ถูกกุนซือชื่อ หยวนซื่อไข่ ทรยศ นำไปบอกกับนางซูสีไทเฮา ทำให้กวงสู่ถูกจับไปขัง นางซูสีบริหารบ้านเมืองอย่างไม่เอาไหนอย่างยิ่ง บ้านเมืองระส่ำระสาย ประชาชนย่ำแย่ แล้วยังมีภัยจากต่างชาติมาคุกคามอีกหลายครั้ง รวมถึงสงครามฝิ่นครั้งที่ ๒ จนทำให้ต่างชาติบุกเข้ากรุงปักกิ่ง เผาทำลายพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน (เรียกว่า สงครามแปดทัพ) (ในยุคซูสีไทเฮานี้ ฝันร้ายของทุกราชวงศ์ก็ shall return อีกครั้ง นั่นคือ ขันที นั่นเอง ขันทีตัวเอกในยุคซูสีไทเฮาก็คือ หลี่เหลียนอิง ก็ทำตัวไม่ผิดแผกอะไรกับขันทีในยุคราชวงศ์หมิงเท่าไหร่ และก็เช่นเดียวกับทุกยุคทุกสมัย ขันทีจัดเป็นตัวคอร์รัปชั่นชนิดมือวางอันดับหนึ่ง ไม่แพ้พวกขุนนางหรือข้าราชการอื่นๆ ดีไม่ดีจะเหนือกว่าด้วย แม้แต่ฮ่องเต้องค์สุดท้ายยังเขียนไว้ว่า ขันทีเป็นตัวการผลาญท้องพระคลังตัวเอ้ แค่งบประมาณที่ต้องใช้ไปกับขันทีเฉยๆ ไม่นับคอร์รัปชั่นก็มหาศาลแล้ว) ในปี ค.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕ (พ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๓๘) ได้เกิดสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เรียก สงครามเจี๋ยอู่ กองทัพเรือของรัฐบาลไม่ยอมทำศึกกับญี่ปุ่น เก็บตัวอยู่แต่ในฐานทัพ จนทำให้โดนทำลายเรียบ จนปี ๒๔๔๓ (๑๙๐๐) ก็มีกบฏนักมวย (อี้เหอถวน) เกิดขึ้น สังหารชาวต่างชาติจำนวนมาก ต่างชาติจึงยกทัพมาปราบ จีนแพ้อีก เสียค่าปรับจำนวนมาก ซูสีกับกวงสู่ต้องหนีออกจากวัง ไม่นานนัก



fhasatumton
#6   fhasatumton    [ 06-08-2007 - 16:02:24 ]    IP: 58.9.127.2

ไม่นานนัก กวงสู่ก็สิ้นพระชนม์อย่างลึกลับ ลือกันว่า ถูกซูสีวางยาพิษ


ซากพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน
หลังจากกวงสู่สิ้นพระชนม์ไม่นาน พระนางซูสีก็เอาเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง ในตระกูลอ้ายซินเจี๋ยหลอ ชื่อ ฟู่อี้ (บางเล่มเรียก ปูยี) ซึ่งมีอายุเพียง ๓ ขวบ มาเป็นฮ่องเต้ ตั้งพระนามว่า ซวนถ่ง ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย ของราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนด้วย ฟู่อี้หรือซวนถ่ง ในหนัง The last emperor

ปฏิวัติซินไฮ่

อ้ายซินเจี๋ยหลอ ฟู่อี้กับหว่านหยง มเหสีคนแรก

ดร.ซุนยัดเซ็น (ซุนจงซาน)
หลังจากซวนถ่งขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน พระนางซูสีไทเฮาก็ปิดฉากชีวิตของตนเองลง บ้านเมืองก็ย่ำแย่ลงทุกที ขณะนั้น ดร.ซุนยัดเซ็น (ซุนจงซาน) ได้วางแผนที่จะโค่นอำนาจของราชวงศ์ชิงมานานแล้ว และได้รวบรวมกำลังของตนไว้ เรียกว่า พรรคก๊กมินตั๋ง ในระยะแรกๆ กำลังของก๊กมินตั๋งก็แพ้ฝ่ายรัฐบ้าง ชนะบ้าง และเนื่องจากความไม่สามัคคีกันเท่าที่ควร ทำให้ไม่สำเร็จสักที หลายครั้ง ที่แผนการถูกทหารแมนจูรู้เสียก่อน จนโดนประหารไปหลายคน จนเวลาผ่านไปถึงเดือนตุลาคม ๒๔๕๔ (๑๙๑๑) ก็เข้ายึดเมืองอู่ชาง และยึดคลังแสง พร้อมทั้งกำลังทหารส่วนใหญ่ไว้ได้ หลังจากที่กำลังทหารส่วนน้อย กำลังจะถูกตำรวจจับกุม ทำให้เกิดภาวะ "หมาจนตรอก" จนทำให้ทหารบางคน ตัดสินใจจู่โจมฝ่ายรัฐบาลทันที เพราะถ้ารอช้าก็จะโดนประหารกันหมด และประสบความสำเร็จเสียด้วย ถึงตอนนี้ ก็เป็นอันว่า สวรรค์ได้ถอนอาณัติจากแมนจูแล้ว ทางมณฑลต่างๆ ก็ได้ประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ชิง กำลังของฝ่ายปฏิวัติก็เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความร่วมมือจากนกสองหัว หยวนซื่อไข่ เข้าบีบคั้นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ชิง เพื่อให้ล้มราชวงศ์ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งประธานาธิบดี ทางฝ่ายปฏิวัติยื่นข้อเสนอให้กับราชวงศ์ชิงว่า ถ้ายอมล้มราชวงศ์ จะได้ค่าตอบแทนมากมาย แต่ถ้าไม่ยอมล้ม แม้ชีวิตก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้ และทางฝ่ายปฏิวัติได้จัดตั้งรัฐบาลของตนไว้แล้ว โดยแต่งตั้งดร. ซุนยัดเซ็นเป็นประธานาธิบดีคนแรก ซึ่งในขณะนั้น ดร.ซุนยัดเซ็นยังอยู่ที่ต่างประเทศ ในที่สุด ทางราชวงศ์ชิงก็ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องยอมสละราชสมบัติในปีถัดมา ก็เป็นอันว่า พลพรรคของดร.ซุนยัดเซ็น ก็สามารถทำการยึดอำนาจ จากราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ อย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึง ซึ่งการที่สามารถล้มได้อย่างรวดเร็วนั้น ก็คงเนื่องมาจาก ราชวงศ์ชิงนั้นเน่าเฟะเต็มที่แล้ว สะกิดนิดเดียวก็โค่น (แต่ว่ากันจริงๆ แล้ว ในตอนที่ราชวงศ์ชิงตั้งขึ้นใหม่ๆ นั้น ไม่มีใครคาดคิดว่า ราชวงศ์ของ "คนป่าเถื่อน" นี้ จะอยู่กดหัวชาวฮั่นได้ถึงสองร้อยกว่าปี แม้จะมีความพยายามโค่นราชวงศ์ชิงหลายครั้ง แต่ก็กลับทะเลาะกันเอง ไม่ค่อยสามัคคีกันนัก ทำให้ไม่สำเร็จสักที การปฏิวัติของดร.ซุนฯ ก็เช่นกัน กว่าจะสำเร็จก็เป็นสิบปี หากสามัคคีกันจริงๆ แล้ว ราชวงศ์ชิงก็คงไม่อยู่มานานขนาดนี้) การปฏิวัติราชวงศ์ชิงนี้ เรียกว่า "การปฏิวัติซินไฮ่"
หลังจากยึดอำนาจได้ไม่นาน พรรคก๊กมินตั๋งก็ส่งข่าวไปยังดร.ซุนยัดเซ็น เชิญให้กลับมาเป็นประธานาธิบดีคนแรก ในช่วงแรกๆ ของการปกครองแบบสาธารณรัฐ รัฐบาลยังคงให้ซวนถ่งพำนักอยู่ในพระราชวังได้ และคงพระราชทินนาม "ซวนถ่ง" ไว้ โดยให้อยู่ในส่วนของวังหลัง ไม่ให้มายุ่มย่ามกับท้องพระโรง ซึ่งเดิมใช้ว่าราชการ และไม่ให้รับขันทีเพิ่ม (แต่ก็ยังมีการแอบรับอยู่) โดยรัฐจะจ่ายเงินเดือนให้ ต่อมา ฝ่ายรัฐบาลได้มีมติยกเลิกอภิสิทธิ์ของราชวงศ์ชิงทั้งหมด ยกเลิกพระราชทินนาม กลับไปใช้ชื่อ "ฟู่อี้" ตามเดิม กลายเป็นสามัญชน แล้วขับออกจากพระราชวัง มิหนำซ้ำ ยังส่งทหารไปปล้นสดมภ์ และทำลายสุสานราชวงศ์ชิงอีกด้วย
หลังจากนั้น ฟู่อี้ก็ได้อพยพไปอยู่ที่เมืองเทียนสิน แล้วย้ายไปเมืองฉางชุน ทางแมนจูเรีย ด้วยความช่วยเหลือจากทหารญี่ปุ่น ซึ่งพยายามหาทางรุกรานจีน จากนั้น ได้ร่วมมือกับทหารญี่ปุ่น ตั้งประเทศ "แมนจูกัว" ขึ้น ฟู่อี้ได้ตั้งตัวเป็น จักรพรรดิคังเต๋อ กลายเป็นหุ่นเชิดของทหารญี่ปุ่น ในการรุกรานและก่อกรรมทำเข็ญกับชาวจีน (ดังในหนัง จับคนมาทำเชื้อโรค) ในระหว่างนั้น ในประเทศจีน พรรคก๊กมินตั๋งบริหารงานผิดพลาด มีการต่อต้านอย่างมาก เจียงไคเช็คก็ได้ฆ่าคนจีนไปมากมาย จนในที่สุด พรรคก๊กมินตั๋งก็พ่ายแพ้พรรคคอมมิวนิสต์ ในสงครามภายในจีน ทำให้เจียงไคเช็คต้องพาพรรคก๊กมินตั๋ง หลบไปอยู่ที่ไต้หวัน ตั้งการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นที่นั่น ทั้งได้เอาสิ่งของมีค่ามากมายในพระราชวังปักกิ่งไปไต้หวันด้วย จีนก็เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามเพราะถูกทิ้งระเบิดปรมาณู จักรพรรดิคังเต๋อหรือฟู่อี้หลบหนีไปรัสเซีย และถูกจับตัวโดยทหารรัสเซีย แล้วส่งกลับจีนในฐานะอาชญากรสงคราม ถูกส่งตัวไปขังที่สถานควบคุมอาชญากรสงคราม แล้ว "ดัดแปลง" (หรือล้างสมอง) จนกลายเป็นสามัญชนธรรมดา และได้รับนิรโทษกรรมพิเศษ ต่อมา มีการปฏิวัติวัฒนธรรม ฟู่อี้และหลี่ซู่เสียน ภรรยาคนสุดท้าย ก็ยังไม่วาย หวุดหวิดจะโดนพวกเรดการ์ดลากไปเกี่ยวด้วย (โทษฐานเป็นตัวแทนวัฒนธรรมเก่า) แต่โชคดีที่ไม่ร้ายแรงมาก เหตุร้ายผ่านไปได้ด้วยดี ในบั้นปลายชีวิต ฟู่อี้ได้รับตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งจากรัฐบาลจีน และได้กลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง รวมทั้งได้มีส่วนร่วมตรวจสอบประวัติศาสตร์จีนอีกด้วย จนในที่สุด อ้ายซินเจี๋ยหลอ ฟู่อี้ ก็ป่วยเป็นไตวายและจบชีวิตลงเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๑๐) โดยไม่มีทายาทสืบสกุลแต่อย่างใด แม้แต่กับอดีตพระเหสีและสนมก็ไม่มี (ในอดีต ฟูอี้มีมเหสี ๑ คนคือ หว่านหยง สนมอีก ๓-๔ คน เช่น เหวินซิ่ว หลี่ยุฉิน ถานอี้หลิง หว่านหยงติดฝิ่นและเสียชีวิตขณะอยู่ในแมนจูกัว เหวินซิ่วและคนอื่นๆ ก็หย่าตอนอยู่แมนจูกัวหมด ส่วนหลี่ซู่เสียน ภรรยาคนสุดท้าย ฟู่อี้มาพบและแต่งงานด้วย หลังจากได้รับนิรโทษกรรมแล้ว) หลังจากที่ใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตใน "คุก" มาตลอด (ครึ่งแรกในคุกวังหลวงหรือคุกทางจารีต ครึ่งหลังคือคุกในแมนจูกัวที่เป็นเพียงหุ่นเชิด และคุกอาชญากรสงคราม) ได้เป็นตัวของตัวเองเพียงไม่กี่ปีก่อนเสียชีวิต




fhasatumton
#7   fhasatumton    [ 06-08-2007 - 16:04:10 ]    IP: 58.9.127.2

ประวัติฉินซีฮ่องเต้
ในยุคจ้านกว๋อ แคว้นต่างๆ ทำสงครามกัน เพื่อชิงความเป็นใหญ่ บางแคว้น ถึงกับต้องส่งเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นตัวประกันแคว้นอื่น กรณีของฉินซีก็เช่นกัน อิ๋งอี้เหยิน บิดาของฉินซี เป็นหลานอ๋องแห่งแคว้นฉิน ถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่แคว้นเจ้า ต่อมา อี้เหยินได้พบกับ หลี่ปู้เหว่ย พ่อค้าใหญ่ และเล่าไอ่ ชายเจ้าสำราญ ในเมืองหานตาน เมืองหลวงแคว้นเจ้านั่นเอง หลี่ปู้เหว่ย ได้คิดจะใช้อี้เหยิน เป็นบันไดสู่อำนาจทางการเมือง จึงช่วยเหลืออี้เหยินมาตลอด ถึงกับยกนางเจ้าจี นางรำซึ่งเป็นเมียน้อยให้ จนเกิดบุตรชายขึ้น ชื่อว่า อิ๋งเจิ้ง อิ๋งเจิ้งผู้นี้เอง คือฉินซีฮ่องเต้ในเวลาต่อมา บางกระแสว่า อิ๋งเจิ้งอาจจะเป็นลูกติดของหลี่ปู้เหว่ย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัด
ต่อมา หลี่ปู้เหว่ยได้ไปวิ่งเต้นกับทางแคว้นฉิน โดยเข้าทางพระสนมหัวหยาง สนมที่ฉินอ๋องโปรดปรานที่สุด เพื่อให้รับอี้เหยินเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อจะได้เป็นรัชทายาท ในที่สุด ก็ประสบความสำเร็จ และหลี่ปู้เหว่ยก็พาอี้เหยินกลับมาแคว้นฉินได้สำเร็จ เวลานี้เอง อิ๋งอี้เหยินได้เปลี่ยนชื่อเป็น จื่อฉู่ และสุดท้าย อี้เหยินได้เป็นอ๋อง และได้ตั้งหลี่ปู้เหว่ยเป็นเสนาบดี
หลังจากนั้น อี้เหยินสิ้นพระชนม์ลงอย่างกระทันหัน อิ๋งเจิ้ง ได้เป็นอ๋องแทน ขณะนั้นมีอายุเพียง ๑๓ ปี ระหว่างนั้น หลี่ปู้เหว่ยได้ลักลอบสัมพันธ์กับไทเฮา (เจ้าจี) เมียเก่าตลอดมา จนอิ๋งเจิ้งเจริญวัยขึ้น หลี่ปู้เหว่ยกลัวอิ๋งเจิ้งจะทราบ จึงถอนตัว โดยใช้เล่าไอ่เป็นตัวแทน จนไทเฮาเจ้าจีมีลูกกับเล่าไอ่ และได้วางแผนกันจะขับอิ๋งเจิ้งลงจากบัลลังก์ เพื่อส่งลูกของตนเป็นอ๋องแทน จนถึงวันที่อิ๋งเจิ้งต้องไปทำพิธีสวมมาลา เล่าไอ่ก็ก่อกบฏขึ้นในเมืองหลวง อิ๋งเจิ้งส่งทหารมาสู้ และได้ชัยชนะ จนเล่าไอ่ต้องหลบหนีหัวซุกหัวซุน แต่เนื่องจากอิ๋งเจิ้ง ตั้งรางวัลนำจับไว้สูงมาก จึงถูกจับอย่างรวดเร็ว และถูกประหารชีวิตด้วยการฉีกร่าง ทั้งโคตรตระกูลก็โดนด้วย ส่วนไทเฮาเจ้าจีถูกเนรเทศ แต่ตอนหลังก็อนุญาตให้กลับมาได้
หลี่ปู้เหว่ยได้เรียบเรียงหนังสือ "หลี่ซื่อชุนชิว" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักการปกครองขึ้น (ปัจจุบันมีคนแปลเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ขออภัยที่จำชื่อคนเขียนไม่ได้ เพราะเห็นแค่แว้บๆ ที่ร้านดวงกมล) เพื่อหวังครอบงำอิ๋งเจิ้ง แต่ในที่สุด อิ๋งเจิ้งก็ส่งราชสาส์นตำหนิเขา สงสัยว่ามีส่วนร่วมกับการกบฏของเล่าไอ่ และขับไล่เขาไปเสฉวน หลี่ปู้เหว่ยกลัวจะถูกประหาร เลยกินยาพิษฆ่าตัวตายไปก่อน (ในหนังสืออีกเล่มกล่าวว่า อิ๋งเจิ้งได้ประทาน "สุราปลิดชีพ" ให้หลี่ปู้เหว่ย) อิ๋งเจิ้งจึงได้ปกครองเองต่อมา และทำสงครามรวมแผ่นดินได้สำเร็จ แล้วตั้งนามตัวเองว่า "ฉินซีฮ่องเต้"
สำหรับประวัติย่อของอัครเสนาบดีจอมโหด หลี่ซือ ก็คือ เดิมเป็นคนแคว้นฉู่ ต่อมา ได้มาหาความก้าวหน้าโดยมาเป็นเบ๊ของหลี่ปู้เหว่ย ครั้นหลี่ปู้เหว่ยถูกอิ๋งเจิ้งล้ม หลี่ซือหวุดหวิดจะถูกประหารชีวิต แต่ได้เขียนฎีกาถวายอิ๋งเจิ้ง จึงได้รับอภัยโทษ และได้เป็นหัวหอกในเรื่องต่างๆ แถมยังเข้ากับอิ๋งเจิ้งได้เป็นอย่างดี เนื่องจากนิยมความโหด และการสงครามเหมือนกัน หลี่ซือได้เป็นแกนนำในการออกกฎโหดๆ ทั้งหลายของราชวงศ์ฉิน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังพระราชโองการเผาตำรา ฝังบัณฑิต เนื่องจากถูกฉุนหยีเย่ บัณฑิตขี้เมา ตีกระทบในงานเลี้ยงต่อหน้าฮ่องเต้ จึงเก็บความแค้นไว้ในใจ และล้างแค้นอย่างโหด...ม ครั้นฉินซีฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ลง เจ้าเกา ขันทีจอมโหดกลัวจะเสียอำนาจ เนื่องจากฝูโซว ไม่ถูกกับเจ้าเกาและหลี่ซือ จึงชวนหลี่ซือปลอมพระราชโองการ ซึ่งเดิมให้ฝูโซวเป็นฮ่องเต้ กลายเป็นให้ฝูโซวกับเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วต่อมาหลี่ซือเริ่มเห็นความโหดของเจ้าเกา แต่ก็สายไป เมื่อถูกเจ้าเกาจับตัวไว้ และถูกสับตัวขาดสองท่อนกลางตลาด ตามกฎหมายของตัวเองเช่นเดียวกับซางยาง ปิดฉากความอำมหิตไว้เพียงเท่านั้น แถมยังถูกล้างโคตรอีก อวสานของเขา ก็ได้กลายเป็นอวสานของราชวงศ์ฉินเช่นกัน
กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีน
ที่ต้องแยกเอาเรื่องกำแพงเมืองจีนมาไว้ต่างหาก ก็เพราะไม่ต้องการให้ปะปนกับเรื่องของ ราชวงศ์ฉิน กำแพงเมืองจีน ริเริ่มสร้างในสมัยฉินซีฮ่องเต้ โดยได้สร้างต่อเติมจากกำแพงเดิมของแคว้นต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนกลุ่มอื่น ฉินซีได้ (สั่งให้) สร้างต่อกันเป็นแนวเดียว ใช้กำลังคนมากมาย คนต้องตายไประหว่างนั้นนับไม่ถ้วน ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ฮั่นอู่ตี้ได้ปรับปรุงกำแพงเดิม เป็นกำแพงหินตลอดแนว และได้สร้างประตูขึ้นทางตะวันตก เรียกว่า ประตูหยก เพื่อเป็นทางผ่านของทางสายไหม ต่อมา ราชวงศ์หยวน ได้มีการสร้างประตูขึ้นอีก มีการสลักลวดลายสวยงามมาก ครั้นมาถึงราชวงศ์หมิง ในสมัยว่านลี่ ได้มีการซ่อมแซม ต่อเติม ขยายกำแพงขึ้นทั้งแนว โดยขยายด้านความสูง ความกว้าง และขยายความยาวออกไปอีก กล่าวกันว่า กำแพงเมืองจีนในสมัยราชวงศ์หมิงนี้ ยาวถึงหมื่นกว่าลี้ (๑ ลี้ประมาณ ๓๐๐ เมตร) หรือประมาณสี่พันกม. จึงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (ว่านลี่ฉางเฉิง) และปัจจุบัน กำแพงที่เห็นๆ กันอยู่ ถ้าไม่ใช่ที่บูรณะใหม่ตอนหลัง ก็สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งนั้น หากำแพงดั้งเดิมสมัยฉินซีฮ่องเต้แทบไม่เจอแล้ว เพราะสมัยนั้น เป็นกำแพงทำจากดินอัดให้แน่น ยังไม่ใช่กำแพงหิน จนปัจจุบัน กำแพงหลายส่วนก็ผุพังไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะในทะเลทราย
แนวกำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีน ส่วนใหญ่ว่ากันว่า เริ่มต้นที่ด่านซันไห่กวน ติดกับชายทะเล (ด่านซันไห่กวน สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง โดยแม่ทัพสีต๋า ไม่ได้สร้างโดยฉินซี) เรื่อยไปทางตะวันตก ผ่านเมืองปักกิ่ง โดยมีอยู่ ๒ ช่วง ที่กำแพงวกกลับลงมาเป็นวงกลม แล้วไปตัดกับกำแพงเดิม ทั้งนี้เนื่องจาก ฉินซีฮ่องเต้ใช้สำหรับ "ขัง" อ๋องแห่งแคว้นอื่นในวงกำแพงนี้ แนวกำแพงเรื่อยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ทะเลทรายโกบี แล้วไปจบลงที่ ด่านเจียยู่กวน แต่บางกระแสว่า จากด่านซันไห่กวน กำแพงเมืองจีนยังต่อแนว ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองฉางชุนที่แมนจูเรีย ห่างจากด่านซันไห่กวนร่วม ๖๐๐ กม. (แต่พอไปดูข้อมูลในเว็บอื่นแล้ว ไม่ปรากฏข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนส่วนต่อจากซันไห่กวนเลย ก็เลยชักไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่ามีอยู่จริงหรือไม่)




  • 1
ตอบกระทู้
ชื่อ
รหัส กรอกตัวอักษร ตามภาพ
ข้อความ


emo-smile emo-happy emo-lol emo-enjoy emo-kiku emo-cool emo-hoho emo-drool emo-hungry emo-kiss emo-sorry emo-sad emo-cry emo-tear emo-question emo-doubt emo-shock emo-redface emo-plz emo-peevish emo-angry emo-moody emo-sneer emo-makefaces emo-good emo-touched emo-love emo-bore emo-tired emo-vomit
bold italic underline img link superscript subscript size color space justifyleft justifycenter justifyright quote box youtube